สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 6
อย่างแรกผมว่า เวลาเป็นสิ่งที่มนุษย์ นิยามขึ้นมา ไม่ใช่ค่าที่เป็นธรรมชาติ อย่าง 0 เคลวิน หรือ ความเร็วแสง
ตอนนี้เรายังไม่รู้เลยว่า เวลาเริ่มจากอะไร และการมีทฤษฎีบิ๊กแบงยิ่งทำให้เกิดข้อคำถามว่า อะไรเกิดก่อนบิ๊กแบง นักวิทยาศาสตร์หลายคนบอกปัด ว่าไม่มีอะไรเกิดก่อนบิ๊กแบง และอะไรที่เกิดก่อนบิ๊กแบงนั้นไม่มีความหมาย เพราะเราไม่สามารถไปสังเกตอะไรมันได้เลย
ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว คำว่า "ก่อน" คืออะไร?
อีกเรื่องนึง คือสิ่งที่ไอสไตน์ค้นพบ ทฤษฎีสัมพันธภาพ
เราเรียนรู้ว่า ความเร็วแสงนั้นคงที่ โดยไม่ขึ้นกับผู้สังเกต เช่น หากเราปาลูกบอลไปข้างหน้าด้วยความเร็ว v ขณะเราอยู่บนรถที่วิ่งด้วยความเร็ว x
ถ้าเราสังเกตจากในรถ บอลที่เราปาจะมีความเร็วของลูกบอลเท่ากับ v
ถ้าเราสังเกตจากคนที่ยืนที่ถนน บอลที่ปาจะมีความเร็วเท่ากับ x+v
สิ่งนี้ไม่เกิดกับแสงครับ คือ สมมติถ้าเราถือไฟฉายแล้วเปิดไฟฉายให้พุ่งไปข้างด้วยความเร็ว c ขณะเราอยู่บนรถที่วิ่งด้วยความเร็ว x
(สมมติว่าเรามีตาที่สามารถวัดความเร็วแสงได้)
ถ้าเราสังเกตจากในรถ แสงจะมีความเร็ว c
ที่น่าแปลกมากคือ แม้เราจะยืนที่ถนน เราก็จะเห็นแสงนั้นมีความเร็ว c ไม่ใช่ x+c !!!
ซึ่งไม่ว่าคุณจะส่องไปซ้ายขวาบนล่างหน้าหลัง ทุกคนจะสังเกตเห็นว่าความเร็วแสงนั้นเท่ากับ c ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม
นั่นแปลว่าอะไร ...
เนื่องจาก ความเร็ว คือ ระยะทาง หารด้วย เวลา (เอาเป็นว่า ตัวแปรของความเร็วคือระยะทางกับเวลาละกัน เพราะสูตรจริงๆมันไม่ได้ง่ายแบบ v=s/t)
การที่แสงเคลื่อนที่ได้ทางมากขึ้น หรือลดลง แต่ความเร็วยังเท่าเดิม นั่นแปลว่าอะไร แปลว่า เวลานั้นไม่เท่าเดิม เพื่อให้แสงเดินทางด้วยความเร็วเท่าเดิม(แต่ถ้าคุณเรียนรู้เพิ่มขึ้น คุณจะรู้ว่าไม่ใช่เวลาเท่านั้นที่เปลี่ยน ระยะทางก็เปลี่ยนด้วยครับ)
ตอนผมรู้เรื่องนี้ ผมรู้สึกขนลุกและทึ่งมาก เพราะมันหมายถึงเราค้นพบสิ่งที่เป็นกฏของธรรมชาติมากๆ
นั่นแปลว่า เวลาสามารถยืดหดได้ครับ ไม่ได้เป็นลักษณะของจุด เหมือนที่เราเคยเข้าใจในอดีต(เพราะอดีตเราเป็นคน define คำว่าเวลา เป็นวินาที นาที ซึ่งจริงๆแล้ว เพราะว่า คนเราไม่มีความสามารถในกับรับรู้มิติของเวลาครับ)
นั่นคือ หนึ่งนาทีของเราไม่เท่ากัน
วัตถุที่เคลื่อนที่เร็ว เวลาจะผ่านไปช้ากว่า วัตถุที่เคลื่อนที่ช้า สิ่งนี้มีผลทดลองยืนยันนะครับ ไม่ใช่เป็นทฤษฎี เค้าเอานาฬิกาอะตอมซึ่งมีความแม่นยำมาก สองอันอันนึงเอาขึ้นไปบนดาวเทียม โคจรรอบโลก อีกอันนึงอยู่บนโลก สรุปว่าตัวที่อยู่บนดาวเทียมนั้นวิ่งช้ากว่าตัวที่อยู่บนโลก
พวกนี้ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียม GPS ที่ต้องคำนวณเวลาให้สัมพันธ์กับเวลาโลก ไม่งั้นจะเกิดความคลาดเคลื่อนเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆครับ
นั่นแปลว่า หากเรามีคู่แฝด ส่งหนึ่งคนขึ้นไปบนอวกาศในยานอวกาศที่ความเร็วสูงมากๆ ส่วนอีกคนนึงอยู่บนโลก
เมื่อเวลาผ่านไป แฝดสองคนกลับมาเจอกันอีกครั้ง คนที่อยู่บนโลกอาจจะแก่มากๆแล้ว ส่วนคนที่ไปอวกาศอาจจะไม่แก่เท่าไหร่
ถามว่านี่เรียกการย้อนอดีต สำหรับคนที่อยู่บนโลก (เพราะเสมือนไปเจอตัวเองที่อยู่อวกาศที่ยังหนุ่มๆอยู่)
หรือว่านี่เรียกการเดินทางไปอนาคต สำหรับคนที่อยู่บนอวกาศ (เพราะเสมือนไปเจอตัวเองที่อยู่บนโลกตอนแก่แล้ว)
ทั้งๆที่เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นพร้อมๆกัน
ผมให้คำตอบได้เท่านี้แหละครับ ไม่รู้ว่าคำตอบผมจะช่วยรึเปล่า
ตอนนี้เรายังไม่รู้เลยว่า เวลาเริ่มจากอะไร และการมีทฤษฎีบิ๊กแบงยิ่งทำให้เกิดข้อคำถามว่า อะไรเกิดก่อนบิ๊กแบง นักวิทยาศาสตร์หลายคนบอกปัด ว่าไม่มีอะไรเกิดก่อนบิ๊กแบง และอะไรที่เกิดก่อนบิ๊กแบงนั้นไม่มีความหมาย เพราะเราไม่สามารถไปสังเกตอะไรมันได้เลย
ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว คำว่า "ก่อน" คืออะไร?
อีกเรื่องนึง คือสิ่งที่ไอสไตน์ค้นพบ ทฤษฎีสัมพันธภาพ
เราเรียนรู้ว่า ความเร็วแสงนั้นคงที่ โดยไม่ขึ้นกับผู้สังเกต เช่น หากเราปาลูกบอลไปข้างหน้าด้วยความเร็ว v ขณะเราอยู่บนรถที่วิ่งด้วยความเร็ว x
ถ้าเราสังเกตจากในรถ บอลที่เราปาจะมีความเร็วของลูกบอลเท่ากับ v
ถ้าเราสังเกตจากคนที่ยืนที่ถนน บอลที่ปาจะมีความเร็วเท่ากับ x+v
สิ่งนี้ไม่เกิดกับแสงครับ คือ สมมติถ้าเราถือไฟฉายแล้วเปิดไฟฉายให้พุ่งไปข้างด้วยความเร็ว c ขณะเราอยู่บนรถที่วิ่งด้วยความเร็ว x
(สมมติว่าเรามีตาที่สามารถวัดความเร็วแสงได้)
ถ้าเราสังเกตจากในรถ แสงจะมีความเร็ว c
ที่น่าแปลกมากคือ แม้เราจะยืนที่ถนน เราก็จะเห็นแสงนั้นมีความเร็ว c ไม่ใช่ x+c !!!
ซึ่งไม่ว่าคุณจะส่องไปซ้ายขวาบนล่างหน้าหลัง ทุกคนจะสังเกตเห็นว่าความเร็วแสงนั้นเท่ากับ c ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม
นั่นแปลว่าอะไร ...
เนื่องจาก ความเร็ว คือ ระยะทาง หารด้วย เวลา (เอาเป็นว่า ตัวแปรของความเร็วคือระยะทางกับเวลาละกัน เพราะสูตรจริงๆมันไม่ได้ง่ายแบบ v=s/t)
การที่แสงเคลื่อนที่ได้ทางมากขึ้น หรือลดลง แต่ความเร็วยังเท่าเดิม นั่นแปลว่าอะไร แปลว่า เวลานั้นไม่เท่าเดิม เพื่อให้แสงเดินทางด้วยความเร็วเท่าเดิม(แต่ถ้าคุณเรียนรู้เพิ่มขึ้น คุณจะรู้ว่าไม่ใช่เวลาเท่านั้นที่เปลี่ยน ระยะทางก็เปลี่ยนด้วยครับ)
ตอนผมรู้เรื่องนี้ ผมรู้สึกขนลุกและทึ่งมาก เพราะมันหมายถึงเราค้นพบสิ่งที่เป็นกฏของธรรมชาติมากๆ
นั่นแปลว่า เวลาสามารถยืดหดได้ครับ ไม่ได้เป็นลักษณะของจุด เหมือนที่เราเคยเข้าใจในอดีต(เพราะอดีตเราเป็นคน define คำว่าเวลา เป็นวินาที นาที ซึ่งจริงๆแล้ว เพราะว่า คนเราไม่มีความสามารถในกับรับรู้มิติของเวลาครับ)
นั่นคือ หนึ่งนาทีของเราไม่เท่ากัน
วัตถุที่เคลื่อนที่เร็ว เวลาจะผ่านไปช้ากว่า วัตถุที่เคลื่อนที่ช้า สิ่งนี้มีผลทดลองยืนยันนะครับ ไม่ใช่เป็นทฤษฎี เค้าเอานาฬิกาอะตอมซึ่งมีความแม่นยำมาก สองอันอันนึงเอาขึ้นไปบนดาวเทียม โคจรรอบโลก อีกอันนึงอยู่บนโลก สรุปว่าตัวที่อยู่บนดาวเทียมนั้นวิ่งช้ากว่าตัวที่อยู่บนโลก
พวกนี้ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีดาวเทียม GPS ที่ต้องคำนวณเวลาให้สัมพันธ์กับเวลาโลก ไม่งั้นจะเกิดความคลาดเคลื่อนเมื่อเวลาผ่านไปเรื่อยๆครับ
นั่นแปลว่า หากเรามีคู่แฝด ส่งหนึ่งคนขึ้นไปบนอวกาศในยานอวกาศที่ความเร็วสูงมากๆ ส่วนอีกคนนึงอยู่บนโลก
เมื่อเวลาผ่านไป แฝดสองคนกลับมาเจอกันอีกครั้ง คนที่อยู่บนโลกอาจจะแก่มากๆแล้ว ส่วนคนที่ไปอวกาศอาจจะไม่แก่เท่าไหร่
ถามว่านี่เรียกการย้อนอดีต สำหรับคนที่อยู่บนโลก (เพราะเสมือนไปเจอตัวเองที่อยู่อวกาศที่ยังหนุ่มๆอยู่)
หรือว่านี่เรียกการเดินทางไปอนาคต สำหรับคนที่อยู่บนอวกาศ (เพราะเสมือนไปเจอตัวเองที่อยู่บนโลกตอนแก่แล้ว)
ทั้งๆที่เรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นพร้อมๆกัน
ผมให้คำตอบได้เท่านี้แหละครับ ไม่รู้ว่าคำตอบผมจะช่วยรึเปล่า
แสดงความคิดเห็น
นักวิทยาศาสตร์ดังท่านใดพูดว่า เวลาอดีต ปัจจุบัน และอนาคต เกิดขึ้นพร้อมๆกัน
มีความหมายว่าอย่างไร ถึงพูดเช่นนี้