หมายเหตุ: มีการเปิดเผยเนื้อเรื่องสำคัญ (Spoil)
ข้อพึงพิจารณ์เบื้องต้นก่อนตัดสินใจไปดู The Grandmaster
1. แม้ชื่อไทยของหนังจะมีคำว่า “ยิปมัน” แต่ชื่อจริงๆ ของหนังคือ The Grandmaster ไม่ใช่ Ipman ดังนั้นอย่าคาดหวังว่าทั้งเรื่องจะมีแต่ยิปมัน
2. ผู้กำกับเรื่องนี้มีชื่อว่า “หว่องกาไว” หากไม่คุ้น เขาคือผู้กำกับที่เ้น้นทำหนังแบบเนิบ นุ่ม เหงา เป็นหลัก ดังนั้นอย่าคาดหวังว่านี่จะเป็นหนังแอคชั่นตลาดๆ ทั่วไป
The Grandmaster เป็นผลงานเรื่องล่าสุดของ
หว่องกาไว ที่คราวนี้หยิบเรื่องราวของยิปมัน ปรมาจารย์มวยหย่งชุนในช่วงสมัยสงครามโลกที่ 2 มาเล่าเป็นหนัง ซึ่งบอกตามตรงว่าโดยส่วนตัวเองก็ไม่ได้เป็นแฟนคลับหรือติดตามผลงานอะไรของหว่องกาไวมามากมาย รู้เพียงแต่ว่าเป็นผู้กำกับที่เน้นทำหนัง
"เหงาๆ" เป็นหลัก แต่ก็ยังติดตามอยากดูเรื่องนี้เพราะอยากรู้ว่า ผู้กำกับคนนี้จะทำยิปมันของตัวเองให้ออกมามีเอกลักษณ์และแตกต่างจากยิปมันคนอื่นๆ ที่ตอนนี้มีหนังยิปมันออกมาเยอะแยะไปหมด อีกอย่าง The Grandmaster ยังน่าสนใจตรงใช้เวลาสร้างเป็น 10 ปีกว่าจะเสร็จ ปล่อยให้ ยิปมัน Ver. เจิ้นจื่อตัน ที่สร้างทีหลัง แต่ออกมากวาดเงินและเสียงวิจารณ์ไปก่อนพอควร
ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าเทียบกับงานอื่นๆ ของหว่องกาไว The Grandmaster จัดอยู่ในระดับไหน แต่หากเทียบกับหนังยิปมันด้วยกัน The Grandmaster ถือเป็นยิปมันที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองมากๆ และมีรสชาติที่แตกต่างจากยิปมันเวอร์ชั่นอื่นโดยสิ้นเชิง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราจะชอบรสชาติแบบไหนกัน ส่วนตัวแม้จะคุ้นลิ้นและชื่นชอบรสชาติแบบยิปมัน Ver. เจิ้นจื่นตัน มากกว่า แต่รสชาติแบบ The Grandmaster ก็บอกได้เลยว่าไม่ควรพลาดเช่นกัน
สิ่งที่ The Grandmaster ให้กับเราคือการเป็นมากกว่าหนังชีวประวัติครูมวยแบบธรรมดาๆ หนังยังมี Action อยู่ในหลายๆ ฉาก แต่ก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญของเรื่องนัก ขณะที่คติ “คนจีนไม่ใช่ขี้โรคแห่งเอเชีย” กับ “ต่อต้านญี่ปุ่น” ที่พบเห็นโดยทั่วในหนังครูมวยคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยิปมัน หวงเฟยหง ฮั่วหยวนเจี๋ย ฯลฯ ก็แทบจะไม่ใช่ประเด็นหลักเลยในหนังเรื่องนี้ เพราะสิ่งที่ The Grandmaster ให้กับเรา คือการพาไปพบกับบรรดาปรมาจารย์ครูมวยในยุคนั้นที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในห้วงระยะเวลาที่ “กังฟู” อาจไม่ใช่ “ทุกอย่าง” อีกต่อไป
The Grandmaster อาจเริ่มต้นด้วยเรื่องราวของ
“ยิปมัน (เหลียงเฉาเหว่ย)” ครูมวยหย่งชุนชื่อดังแห่งฝอซาน ผู้ใช้ชีวิตอย่างปกติสุข เลี้ยงชีพด้วยเงินมรดกจากครอบครัว โดยมี
“กังฟู” คือทุกสิ่งในชีวิต แต่หลังจากนั้นไม่นาน ตัวหนังจะค่อยๆ พาเราไปรู้จักกับสังคมครูมวยในระดับปรมาจารย์ ที่ “กังฟู” หาใช่เพียงศิลปะป้องกันตัวแต่ยังเป็น
“ศิลปะการดำเนินชีวิต” ด้วย ชีวิตของปรมาจารย์ครูมวยเหล่านี้ผ่านไปแต่ละวันด้วยกันฝึกฝน ทดสอบฝีมือ และใช้ชีวิตตามแบบฉบับที่ตนยึดถือเท่านั้น ซึ่งในชีวิตแบบนี้ ยิปมันก็ถือเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง แม้อายุจะยังไม่เยอะแต่ก็สามารถเอาชนะยอดฝีมือ รวมไปถึงการเอาชนะหัวหน้าสมาคมกังฟู บิดาของ
"กงรั่วเหมย" (จางซิยี่) ได้ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ยิปมันกับกงรั่วเหมยได้รู้จักกัน
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า The Grandmaster อาจไม่ได้เน้นเรื่องราวการต่อต้านญี่ปุ่นมากนัก แต่ตัวหนังก็ใช้การทำสงครามของญี่ปุ่น เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตครูมวยเหล่านี้ “กังฟู” ที่เคยเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง กลายเป็นสิ่งไม่มีค่าเมื่อเจอกับ ”ปืน” ปรัชญาชีวิตต่างๆ ที่เคยยึดถือได้พังทหลายลง ยิปมัน กงรั่วเหมย และหม่าซัน ศิษย์ผู้พี่ของกงรั่วเหมย ถูกหว่องกาไวใช้เป็นตัวแทนภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงนั้น
ในขณะที่หม่าซันเลือกที่จะละทิ้งวิถีกังฟูไปเข้ากับญี่ปุ่น ส่วนยิปมันที่แม้จะแสดงท่าทีแข็งกร้าวในตอนแรก แต่สุดท้ายก็จำต้องปรับและย้ายไปอยู่ฮ่องกง ในช่วงนี้เอง หว่องกาไวพาเราออกจากยิปมัน และพาไปติดตามเรื่องราวของกงรั่วเหมย ที่แม้สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เธอยังคิดยึดมั่นแนวทางตามสังคมกังฟูแบบเก่า ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “การแก้แค้น” หม่าซัน ศิษย์ผู้พี่ผู้ทรยศสำนัก แม้ว่านั่นหมายความว่าเธอจะต้องละทิ้งหลายสิ่งหลายอย่างก็ตาม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ฉากหนึ่งที่ชอบมากในหนังคือ เมื่อยิปมันและกงรั่วเหมยได้มาพบกันอีกครั้งที่ฮ่องกง ยิปมันได้มอง “กระดุม” เสื้อโค้ทของเขาให้กับกงรั่วเหมย เพื่อระลึกถึงวันเก่าๆ ในความเห็นของผม กระดุมเม็ดนั้นเปรียบเสมือนชีวิตในสังคมครูมวยสมัยก่อนของยิปมัน และเป็นสังคมเดียวกับที่ทำให้ยิปมันพบกับกงรั่วเหมย เพราะกระดุมเม็ดนั้นมาจากเสื้อโค้ทที่ยิปมันตั้งใจจะใส่ไปในงานสาธิตศิลปการต่อสู้ที่ภาคเหนือ แต่ด้วยสงคราม ทำให้ยิปมันตัดสินใจขายเสื้อโค้ทนั้นเพื่อนำเงินมาประทังครอบครัว เหลือเพียงกระดุมเม็ดหนึ่งไว้ดูต่างหน้า การมอบกระดุมให้กงรั่วเหมย ก็ไม่ต่างจากการชวนกงรั่วเหมยกลับไปเหมือนเก่า ใช้ชีวิตไปในแต่ละวันโดยมี “กังฟู” เป็นแกนหลัก แม้แต่ “ความรัก” เองก็ถือกำเนิดจากกังฟู แต่แล้วกงรั่วเหมยก็เลือกที่จะคืนกระดุมเม็ดนั้นให้ เพราะการยึดมั่นในการแก้แค้น ทำให้สุดท้ายแล้วเธอไม่สามารถกลับไปสู่ชีวิตแบบเดิมได้อีกต่อไป
กิตติศัพท์เรื่องหนัง
“เหงา” ของหว่องกาไวนั้นเลื่องลือมาก ซึ่งใน The Grandmaster ก็สามารถสัมผัสถึงความเหงาในตัวหนังได้เช่นกัน แม้จะไม่ใช่แฟนหนังหว่องกาไวก็ตาม ความเหงาที่ The Grandmaster ให้กับเรา ไม่ใช่ความเหงาของการอยู่คนเดียว แต่ความเหงาของบรรดาปรมาจารย์ครูมวยที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไมุ่คุ้นเคย จากผู้ยิ่งใหญ่ กลายเป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ความรู้สึกแปลกแยกเหล่านี้ก่อให้เกิด ”ความเหงา” ขึ้นมา และคงมีแต่เพียงครูมวยด้วยกันเท่านั้นที่อาจเข้าใจความรู้สึกเช่นนี้
ในแง่นักแสดง
“เหลียงเฉาเหว่ย” ทำได้มาตรฐาน แม้ว่าเราจะรู้สึกว่าคนตรงหน้ายังเป็น ”เหลียงเฉาเหว่ย” มากกว่า “ยิปมัน” ก็ตาม อาจเพราะบทยิปมันในเรื่องนี้ก็ไม่ได้เ่ด่นมากเท่าไหร่ด้วย แต่ที่เด่นสุดๆ ทั้งบทและนักแสดงคงต้อง
“จางซิยี่” ที่แม้เรื่องนี้จะรู้สึกว่าสวยสู้เรื่องก่อนๆ ไม่ได้ แต่บทบาทของเธอเอาอยู่จริงๆ ที่น่าเสียดายหน่อยก็
“ซองเฮเคียว” ที่ในเรื่องสวยมาก แต่บทภรรยายิปมันของเธอแทบไม่มีอะไรเลย
หากให้นิยาม The Grandmaster ก็จะขอนิยามว่ามันเป็น
“หนังปรัชญากังฟู” ดังนั้นถ้าจะมาดูเพื่อเอาความมันส์คงผิดหวังเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าชอบหนังปรัชญา ภาพสวย ดนตรีเพราะ หรือชอบสไตล์หว่องกาไวอยู่แล้ว ก็น่าจะชอบเรื่องนี้ได้ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม นี่จะไม่ใช่หนังยิปมันเรื่องสุดท้ายที่เราจะได้ดูแน่นอน ที่แน่ๆ ปีนี้เรายังมี Ip Man: The Final Flight ยิปมันในวัย 50 กว่า โดยหวงซิวเซินมาให้ดูกันอีกเรื่อง
ความชอบส่วนตัว: 7/10
Blog: http://zeawleng.wordpress.com/2013/03/10/review-the-grandmaster/
[CR] [Review] The Grandmaster - ยิปมันเวอร์ชั่นใหม่ใหม่ หว่องกาไวสไตล์ [Spoil]
หมายเหตุ: มีการเปิดเผยเนื้อเรื่องสำคัญ (Spoil)
ข้อพึงพิจารณ์เบื้องต้นก่อนตัดสินใจไปดู The Grandmaster
1. แม้ชื่อไทยของหนังจะมีคำว่า “ยิปมัน” แต่ชื่อจริงๆ ของหนังคือ The Grandmaster ไม่ใช่ Ipman ดังนั้นอย่าคาดหวังว่าทั้งเรื่องจะมีแต่ยิปมัน
2. ผู้กำกับเรื่องนี้มีชื่อว่า “หว่องกาไว” หากไม่คุ้น เขาคือผู้กำกับที่เ้น้นทำหนังแบบเนิบ นุ่ม เหงา เป็นหลัก ดังนั้นอย่าคาดหวังว่านี่จะเป็นหนังแอคชั่นตลาดๆ ทั่วไป
The Grandmaster เป็นผลงานเรื่องล่าสุดของหว่องกาไว ที่คราวนี้หยิบเรื่องราวของยิปมัน ปรมาจารย์มวยหย่งชุนในช่วงสมัยสงครามโลกที่ 2 มาเล่าเป็นหนัง ซึ่งบอกตามตรงว่าโดยส่วนตัวเองก็ไม่ได้เป็นแฟนคลับหรือติดตามผลงานอะไรของหว่องกาไวมามากมาย รู้เพียงแต่ว่าเป็นผู้กำกับที่เน้นทำหนัง "เหงาๆ" เป็นหลัก แต่ก็ยังติดตามอยากดูเรื่องนี้เพราะอยากรู้ว่า ผู้กำกับคนนี้จะทำยิปมันของตัวเองให้ออกมามีเอกลักษณ์และแตกต่างจากยิปมันคนอื่นๆ ที่ตอนนี้มีหนังยิปมันออกมาเยอะแยะไปหมด อีกอย่าง The Grandmaster ยังน่าสนใจตรงใช้เวลาสร้างเป็น 10 ปีกว่าจะเสร็จ ปล่อยให้ ยิปมัน Ver. เจิ้นจื่อตัน ที่สร้างทีหลัง แต่ออกมากวาดเงินและเสียงวิจารณ์ไปก่อนพอควร
ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าเทียบกับงานอื่นๆ ของหว่องกาไว The Grandmaster จัดอยู่ในระดับไหน แต่หากเทียบกับหนังยิปมันด้วยกัน The Grandmaster ถือเป็นยิปมันที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองมากๆ และมีรสชาติที่แตกต่างจากยิปมันเวอร์ชั่นอื่นโดยสิ้นเชิง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราจะชอบรสชาติแบบไหนกัน ส่วนตัวแม้จะคุ้นลิ้นและชื่นชอบรสชาติแบบยิปมัน Ver. เจิ้นจื่นตัน มากกว่า แต่รสชาติแบบ The Grandmaster ก็บอกได้เลยว่าไม่ควรพลาดเช่นกัน
สิ่งที่ The Grandmaster ให้กับเราคือการเป็นมากกว่าหนังชีวประวัติครูมวยแบบธรรมดาๆ หนังยังมี Action อยู่ในหลายๆ ฉาก แต่ก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญของเรื่องนัก ขณะที่คติ “คนจีนไม่ใช่ขี้โรคแห่งเอเชีย” กับ “ต่อต้านญี่ปุ่น” ที่พบเห็นโดยทั่วในหนังครูมวยคนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นยิปมัน หวงเฟยหง ฮั่วหยวนเจี๋ย ฯลฯ ก็แทบจะไม่ใช่ประเด็นหลักเลยในหนังเรื่องนี้ เพราะสิ่งที่ The Grandmaster ให้กับเรา คือการพาไปพบกับบรรดาปรมาจารย์ครูมวยในยุคนั้นที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ในห้วงระยะเวลาที่ “กังฟู” อาจไม่ใช่ “ทุกอย่าง” อีกต่อไป
The Grandmaster อาจเริ่มต้นด้วยเรื่องราวของ “ยิปมัน (เหลียงเฉาเหว่ย)” ครูมวยหย่งชุนชื่อดังแห่งฝอซาน ผู้ใช้ชีวิตอย่างปกติสุข เลี้ยงชีพด้วยเงินมรดกจากครอบครัว โดยมี “กังฟู” คือทุกสิ่งในชีวิต แต่หลังจากนั้นไม่นาน ตัวหนังจะค่อยๆ พาเราไปรู้จักกับสังคมครูมวยในระดับปรมาจารย์ ที่ “กังฟู” หาใช่เพียงศิลปะป้องกันตัวแต่ยังเป็น “ศิลปะการดำเนินชีวิต” ด้วย ชีวิตของปรมาจารย์ครูมวยเหล่านี้ผ่านไปแต่ละวันด้วยกันฝึกฝน ทดสอบฝีมือ และใช้ชีวิตตามแบบฉบับที่ตนยึดถือเท่านั้น ซึ่งในชีวิตแบบนี้ ยิปมันก็ถือเป็นดาวรุ่งพุ่งแรง แม้อายุจะยังไม่เยอะแต่ก็สามารถเอาชนะยอดฝีมือ รวมไปถึงการเอาชนะหัวหน้าสมาคมกังฟู บิดาของ "กงรั่วเหมย" (จางซิยี่) ได้ อันเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ยิปมันกับกงรั่วเหมยได้รู้จักกัน
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า The Grandmaster อาจไม่ได้เน้นเรื่องราวการต่อต้านญี่ปุ่นมากนัก แต่ตัวหนังก็ใช้การทำสงครามของญี่ปุ่น เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตครูมวยเหล่านี้ “กังฟู” ที่เคยเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง กลายเป็นสิ่งไม่มีค่าเมื่อเจอกับ ”ปืน” ปรัชญาชีวิตต่างๆ ที่เคยยึดถือได้พังทหลายลง ยิปมัน กงรั่วเหมย และหม่าซัน ศิษย์ผู้พี่ของกงรั่วเหมย ถูกหว่องกาไวใช้เป็นตัวแทนภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงนั้น
ในขณะที่หม่าซันเลือกที่จะละทิ้งวิถีกังฟูไปเข้ากับญี่ปุ่น ส่วนยิปมันที่แม้จะแสดงท่าทีแข็งกร้าวในตอนแรก แต่สุดท้ายก็จำต้องปรับและย้ายไปอยู่ฮ่องกง ในช่วงนี้เอง หว่องกาไวพาเราออกจากยิปมัน และพาไปติดตามเรื่องราวของกงรั่วเหมย ที่แม้สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไป แต่เธอยังคิดยึดมั่นแนวทางตามสังคมกังฟูแบบเก่า ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ “การแก้แค้น” หม่าซัน ศิษย์ผู้พี่ผู้ทรยศสำนัก แม้ว่านั่นหมายความว่าเธอจะต้องละทิ้งหลายสิ่งหลายอย่างก็ตาม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
กิตติศัพท์เรื่องหนัง “เหงา” ของหว่องกาไวนั้นเลื่องลือมาก ซึ่งใน The Grandmaster ก็สามารถสัมผัสถึงความเหงาในตัวหนังได้เช่นกัน แม้จะไม่ใช่แฟนหนังหว่องกาไวก็ตาม ความเหงาที่ The Grandmaster ให้กับเรา ไม่ใช่ความเหงาของการอยู่คนเดียว แต่ความเหงาของบรรดาปรมาจารย์ครูมวยที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไมุ่คุ้นเคย จากผู้ยิ่งใหญ่ กลายเป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง ความรู้สึกแปลกแยกเหล่านี้ก่อให้เกิด ”ความเหงา” ขึ้นมา และคงมีแต่เพียงครูมวยด้วยกันเท่านั้นที่อาจเข้าใจความรู้สึกเช่นนี้
ในแง่นักแสดง “เหลียงเฉาเหว่ย” ทำได้มาตรฐาน แม้ว่าเราจะรู้สึกว่าคนตรงหน้ายังเป็น ”เหลียงเฉาเหว่ย” มากกว่า “ยิปมัน” ก็ตาม อาจเพราะบทยิปมันในเรื่องนี้ก็ไม่ได้เ่ด่นมากเท่าไหร่ด้วย แต่ที่เด่นสุดๆ ทั้งบทและนักแสดงคงต้อง “จางซิยี่” ที่แม้เรื่องนี้จะรู้สึกว่าสวยสู้เรื่องก่อนๆ ไม่ได้ แต่บทบาทของเธอเอาอยู่จริงๆ ที่น่าเสียดายหน่อยก็ “ซองเฮเคียว” ที่ในเรื่องสวยมาก แต่บทภรรยายิปมันของเธอแทบไม่มีอะไรเลย
หากให้นิยาม The Grandmaster ก็จะขอนิยามว่ามันเป็น “หนังปรัชญากังฟู” ดังนั้นถ้าจะมาดูเพื่อเอาความมันส์คงผิดหวังเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ถ้าชอบหนังปรัชญา ภาพสวย ดนตรีเพราะ หรือชอบสไตล์หว่องกาไวอยู่แล้ว ก็น่าจะชอบเรื่องนี้ได้ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม นี่จะไม่ใช่หนังยิปมันเรื่องสุดท้ายที่เราจะได้ดูแน่นอน ที่แน่ๆ ปีนี้เรายังมี Ip Man: The Final Flight ยิปมันในวัย 50 กว่า โดยหวงซิวเซินมาให้ดูกันอีกเรื่อง
ความชอบส่วนตัว: 7/10
Blog: http://zeawleng.wordpress.com/2013/03/10/review-the-grandmaster/