เปรียบเทียบราคา KMC-W2, KMC-W3 กับหุ้นแม่ KMC ตอนที่ 1
2 Replies
หุ้น KMC ของบริษัทกฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) กำลังจะออกวอแรนต์ตัวใหม่ KMC-W3 ให้ฟรีสำหรับผู้ถือหุ้นแม่ KMC หลังรวมพาร์ในอัตราส่วน 10 ต่อ 1 และผู้ที่จะเพิ่มทุนอัตรา 7 ต่อ 4 และจะมีการปรับราคาการใช้สิทธิอัตราการใช้สิทธิของ KMC-W2 ใหม่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ตอบแทนผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท (KMC-W2) ไม่ให้ด้อยกว่าเดิม
KMC-W2 มีอัตราการใช้สิทธิใหม่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงราคามูลค่าหุ้นที่ตราไว้จาก 10 บาทเป็นราคามูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 20 บาท* ดังนี้ 2 วอแรนต์ต่อ 1 หุ้นสามัญ ราคาใช้สิทธิ์ 2 บาท (อัตราเดิมอยู่ที่ 1 ต่อ 1 ราคาใช้สิทธ์ 1 บาท) หมดอายุ 20 ม.ย. 2558
* อาจมีการปรับสิทธ์ใหม่อีกครั้งหลังเสร็จสิ้นขั้นตอนการลดทุน + แจกวอแรนต์ + เพิ่มทุน กรุณาติดตามบทความเปรียบเทียบราคาในตอนที่ 2 ซึ่งจะเขียนอีกทีหลังมีการแจ้งอัตราการใช้สิทธิใหม่ อัตราและราคาใช้สิทธิในบทความตอนที่ 1 อาจเป็นอัตราและราคาชั่วคราวเท่านั้น
KMC-W3 มีอัตราการใช้สิทธิ 1 วอแรนต์ต่อ 1 หุ้นสามัญ ราคาใช้สิทธ์ 0.6 บาท หมดอายุ ประมาณเดือน พ.ค. 2559
ในที่ประชุม วาระที่ 7 มีการพิจารณาอนุมัติแก้ไขราคาและอัตราใช้สิทธิของ KMC-W2 แล้ว และได้มีการปรับอัตราใช้สิทธ์ใหม่ แต่ เท่าที่เข้าใจนี่เป็นอัตราและราคาใช้สิทธิของ KMC-W2 หลังขั้นตอนการรวมพาร์แค่นั้น
อัตราและราคาใช้สิทธิ KMC-W2 หลังรวมพาร์
ถ้าผ่านขั้นตอน การลดทุน + แจกวอแรนต์ KMC-W3 + เพิ่มทุน เสร็จสิ้นอาจจะมีอัตราและราคาใช้สิทธ์ใหม่ออกมา เพราะอัตราและราคาใช้สิทธิใหม่ของ KMC-W2 จากเดิม 1 ต่อ 1 หุ้นสามัญ ราคาแปลง 1 บาท เปลี่ยนเป็น 1 ต่อ 0.5 หุ้นสามัญ ราคาแปลง 2 บาท ที่เห็นด้านบน เป็นการเปลี่ยนอันเนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงราคามูลค่าหุ้นที่ตราไว้จาก 10 บาทเป็นราคามูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 20 บาท ยังไม่ได้คำนวนมาจากการเพิ่มทุนและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 3 (KMC-W3)
การปรับสิทธ์และราคาใช้สิทธิของ KMC-W2
เพราะดูจากอัตราแปลงและค่าแปลงก็พบว่าสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นสามัญที่ตราไว้จาก 10 บาทเป็น 20 บาท นั่นคือ KMC เพิ่มราคาพาร์จาก 10 บาทเป็น 20 บาท แต่ลดจำนวนหุ้นลงครึ่งนึง ส่วน KMC-W2 ก็เพิ่มค่าแปลงจาก 1 บาทเป็น 2 บาท(เท่ากับการเพิ่มราคาพาร์เป็นสองเท่า) และลดอัตราส่วนจำนวนหุ้นแม่ลงจาก 1 หุ้น เหลือ 0.5 หุ้น(เท่ากับการลดหุ้นแม่ลงครึ่งนึง) เท่ากันพอดีเลย
แต่ขั้นตอนทั้งหมดของ KMC คือ
1. รวมพาร์ 10 บาทเป็น 20 บาท และลดหุ้นลงจำนวนครึ่งนึง
2. ลดพาร์จาก 20 บาทเป็น 0.65 บาท แต่ไม่ลดจำนวนหุ้น
3. แจกวอแรนต์ KMC-W3 ฟรีให้ผู้ถือหุ้นเดิม 10 หุ้นเดิมต่อ 1 วอแรนต์
4. เพิ่มทุนหุ้นสามัญ KMC 1 หุ้นเดิมได้ 2 หุ้นเพิ่มทุน
5. แจกวอแรนต์ KMC-W3 ฟรีให้คนเพิ่มทุนในอัตรา 7 หุ้นเพิ่มทุน ได้ฟรี 4 วอแรนต์
อัตราและราคาใช้สิทธิของ KMC-W2 ใหม่ที่เห็นด้านบนจึงยังอยู่ในช่วงขั้นตอนที่ 1 สุดท้ายแล้ว KMC-W2 ก็ต้องมีมูลค่าไม่ด้อยไปกว่าเดิม เพราะใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัททุกตัวที่ออกมาจะมีการกำหนดข้อบังคับเหมือนกันทุกตัวว่าถ้ามีการเพิ่มทุนหรือทำให้มูลค่าหุ้นสามัญเปลี่ยนแปลงจะต้องมีการปรับอัตราและราคาใช้สิทธิใหม่โดยไม่ให้สิทธินั้นด้อยลงกว่าเดิม จากที่คำนวนดูพบว่าอัตราการใช้สิทธิใหม่หลังรวมพาร์ทำให้มูลค่า KMC-W2 ด้อยกว่าเดิมมาก โดยจะยกตัวอย่างให้ดูดังนี้
ตารางเปรียบเทียบราคาและอัตราใช้สิทธิ KMC-W2, KMC-W3 (อัตราใช้สิทธิอาจมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง)
จากตารางข้างบนจะพบว่าอัตราและราคาใช้สิทธิของ KMC-W3 ทำให้มูลค่าวอแรนต์มากกว่าอัตราเดิมของ KMC-W2 ที่ 1:1 ค่าแปลง 1 บาท ในขณะที่ตัว KMC-W2 มีมูลค่าลดต่ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อราคาหุ้นแม่ KMC ยิ่งราคาสูงจะพบว่าราคา KMC-W2 มีทิศทางราคาที่ไม่สอดคล้องกับอัตราเดิมและต่ำเกินจริงมากเมื่อเทียบกับ KMC-W3 ซึ่งอัตราที่ KMC-W3 ใช้ก็เป็นอัตราที่ดีกว่าอัตราเดิมของ KMC-W2 ซึ่งโดยปกติเมื่อมีวอแรนต์ใหม่ๆ ออกมา วอแรนต์ตัวใหม่มักจะมีอัตราและราคาใช้สิทธิดีกว่าตัวเก่านิดนึงถึงปานกลาง ดังนั้นอัตราและค่าแปลงของวอแรนต์ KMC-W2 ที่จะใช้จริงๆ หลังเสร็จสิ้นขั้นตอนการเพิ่มทุนน่าจะทำให้ราคาใกล้เคียงกับอัตราเดิมแต่จะทำให้มูลค่าน้อยกว่า KMC-W3 นิดนึงเท่านั้น
กราฟแนวโน้มราคา KMC-W2, KMC-W3 (อัตราใช้สิทธิอาจมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง)
จากกราฟด้านบนเป็นการจำลองอัตราการใช้สิทธิใหม่ของ KMC-W2 ที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากการรวมพาร์ เทียบกับอัตราและราคาใช้สิทธิของ KMC-W3 วอแรนต์ตัวใหม่ที่กำลังจะเข้ามาซื้อขายในตลาดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ โดยแท่งสีน้ำเงินคือหุ้นแม่ KMC ส่วนแท่งสีแดงคือ KMC-W2อยู่ด้านล่างสุดและแท่งสีส้ม KMC-W3 วอแรนต์หรือหุ้นลูกตัวใหม่ที่กำลังจะออกมา
ตารางเปรียบเทียบราคาและอัตราใช้สิทธิของ KMC-W2 อัตราใหม่กับเก่า (อัตราใช้สิทธิอาจมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง)
ถ้าเทียบราคา KMC-W2 แบบเก่ากับใหม่ จะพบว่าแตกต่างกันมาก ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ด้วยกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนของวอแรนต์ทุกตัวว่าต้องปรับสิทธิไม่ให้ด้อยกว่ามูลค่าเดิม วันนี้จึงเปรียบเทียบได้แค่อัตราและราคาใช้สิทธิของวอแรนต์ KMC-W2 อัตราใหม่หลังขั้นตอนการรวมพาร์ แต่หลังจากเสร็จสิ้นการเพิ่มทุนจนถึงช่วงที่วอแรนต์ KMC-W3 ใกล้จะออก เตรียมเข้ามาเทรดในตลาด ถึงตอนนั้นน่าจะมีอัตราและราคาใช้สิทธิใหม่ของ KMC-W2 ออกมา ก็จะได้มาเปรียบเทียบกันให้เห็นระหว่างราคาวอแรนต์ KMC-W2 กับ KMC-W3 กันอีกที ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่แน่นอนและจะใช้เทียบเคียงได้ตลอดไปต่อจากนี้ จนกว่าจะมีการเพิ่มทุนหรือเปลี่ยนแปลงมูลค่าราคาหุ้นแม่ KMC ใหม่อีกรอบ โปรดติดตามบทความเปรียบเทียบราคา KMC-W2, KMC-W3 กับหุ้นแม่ KMC ตอนที่ 2 ในโอกาสต่อไป
ว่าด้วย KMC
2 Replies
หุ้น KMC ของบริษัทกฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) กำลังจะออกวอแรนต์ตัวใหม่ KMC-W3 ให้ฟรีสำหรับผู้ถือหุ้นแม่ KMC หลังรวมพาร์ในอัตราส่วน 10 ต่อ 1 และผู้ที่จะเพิ่มทุนอัตรา 7 ต่อ 4 และจะมีการปรับราคาการใช้สิทธิอัตราการใช้สิทธิของ KMC-W2 ใหม่ เพื่อรักษาผลประโยชน์ตอบแทนผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัท (KMC-W2) ไม่ให้ด้อยกว่าเดิม
KMC-W2 มีอัตราการใช้สิทธิใหม่เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงราคามูลค่าหุ้นที่ตราไว้จาก 10 บาทเป็นราคามูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 20 บาท* ดังนี้ 2 วอแรนต์ต่อ 1 หุ้นสามัญ ราคาใช้สิทธิ์ 2 บาท (อัตราเดิมอยู่ที่ 1 ต่อ 1 ราคาใช้สิทธ์ 1 บาท) หมดอายุ 20 ม.ย. 2558
* อาจมีการปรับสิทธ์ใหม่อีกครั้งหลังเสร็จสิ้นขั้นตอนการลดทุน + แจกวอแรนต์ + เพิ่มทุน กรุณาติดตามบทความเปรียบเทียบราคาในตอนที่ 2 ซึ่งจะเขียนอีกทีหลังมีการแจ้งอัตราการใช้สิทธิใหม่ อัตราและราคาใช้สิทธิในบทความตอนที่ 1 อาจเป็นอัตราและราคาชั่วคราวเท่านั้น
KMC-W3 มีอัตราการใช้สิทธิ 1 วอแรนต์ต่อ 1 หุ้นสามัญ ราคาใช้สิทธ์ 0.6 บาท หมดอายุ ประมาณเดือน พ.ค. 2559
ในที่ประชุม วาระที่ 7 มีการพิจารณาอนุมัติแก้ไขราคาและอัตราใช้สิทธิของ KMC-W2 แล้ว และได้มีการปรับอัตราใช้สิทธ์ใหม่ แต่ เท่าที่เข้าใจนี่เป็นอัตราและราคาใช้สิทธิของ KMC-W2 หลังขั้นตอนการรวมพาร์แค่นั้น
อัตราและราคาใช้สิทธิ KMC-W2 หลังรวมพาร์
ถ้าผ่านขั้นตอน การลดทุน + แจกวอแรนต์ KMC-W3 + เพิ่มทุน เสร็จสิ้นอาจจะมีอัตราและราคาใช้สิทธ์ใหม่ออกมา เพราะอัตราและราคาใช้สิทธิใหม่ของ KMC-W2 จากเดิม 1 ต่อ 1 หุ้นสามัญ ราคาแปลง 1 บาท เปลี่ยนเป็น 1 ต่อ 0.5 หุ้นสามัญ ราคาแปลง 2 บาท ที่เห็นด้านบน เป็นการเปลี่ยนอันเนื่องมาจากมีการเปลี่ยนแปลงราคามูลค่าหุ้นที่ตราไว้จาก 10 บาทเป็นราคามูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 20 บาท ยังไม่ได้คำนวนมาจากการเพิ่มทุนและเสนอขายใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัทครั้งที่ 3 (KMC-W3)
การปรับสิทธ์และราคาใช้สิทธิของ KMC-W2
เพราะดูจากอัตราแปลงและค่าแปลงก็พบว่าสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นสามัญที่ตราไว้จาก 10 บาทเป็น 20 บาท นั่นคือ KMC เพิ่มราคาพาร์จาก 10 บาทเป็น 20 บาท แต่ลดจำนวนหุ้นลงครึ่งนึง ส่วน KMC-W2 ก็เพิ่มค่าแปลงจาก 1 บาทเป็น 2 บาท(เท่ากับการเพิ่มราคาพาร์เป็นสองเท่า) และลดอัตราส่วนจำนวนหุ้นแม่ลงจาก 1 หุ้น เหลือ 0.5 หุ้น(เท่ากับการลดหุ้นแม่ลงครึ่งนึง) เท่ากันพอดีเลย
แต่ขั้นตอนทั้งหมดของ KMC คือ
1. รวมพาร์ 10 บาทเป็น 20 บาท และลดหุ้นลงจำนวนครึ่งนึง
2. ลดพาร์จาก 20 บาทเป็น 0.65 บาท แต่ไม่ลดจำนวนหุ้น
3. แจกวอแรนต์ KMC-W3 ฟรีให้ผู้ถือหุ้นเดิม 10 หุ้นเดิมต่อ 1 วอแรนต์
4. เพิ่มทุนหุ้นสามัญ KMC 1 หุ้นเดิมได้ 2 หุ้นเพิ่มทุน
5. แจกวอแรนต์ KMC-W3 ฟรีให้คนเพิ่มทุนในอัตรา 7 หุ้นเพิ่มทุน ได้ฟรี 4 วอแรนต์
อัตราและราคาใช้สิทธิของ KMC-W2 ใหม่ที่เห็นด้านบนจึงยังอยู่ในช่วงขั้นตอนที่ 1 สุดท้ายแล้ว KMC-W2 ก็ต้องมีมูลค่าไม่ด้อยไปกว่าเดิม เพราะใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นสามัญของบริษัททุกตัวที่ออกมาจะมีการกำหนดข้อบังคับเหมือนกันทุกตัวว่าถ้ามีการเพิ่มทุนหรือทำให้มูลค่าหุ้นสามัญเปลี่ยนแปลงจะต้องมีการปรับอัตราและราคาใช้สิทธิใหม่โดยไม่ให้สิทธินั้นด้อยลงกว่าเดิม จากที่คำนวนดูพบว่าอัตราการใช้สิทธิใหม่หลังรวมพาร์ทำให้มูลค่า KMC-W2 ด้อยกว่าเดิมมาก โดยจะยกตัวอย่างให้ดูดังนี้
ตารางเปรียบเทียบราคาและอัตราใช้สิทธิ KMC-W2, KMC-W3 (อัตราใช้สิทธิอาจมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง)
จากตารางข้างบนจะพบว่าอัตราและราคาใช้สิทธิของ KMC-W3 ทำให้มูลค่าวอแรนต์มากกว่าอัตราเดิมของ KMC-W2 ที่ 1:1 ค่าแปลง 1 บาท ในขณะที่ตัว KMC-W2 มีมูลค่าลดต่ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อราคาหุ้นแม่ KMC ยิ่งราคาสูงจะพบว่าราคา KMC-W2 มีทิศทางราคาที่ไม่สอดคล้องกับอัตราเดิมและต่ำเกินจริงมากเมื่อเทียบกับ KMC-W3 ซึ่งอัตราที่ KMC-W3 ใช้ก็เป็นอัตราที่ดีกว่าอัตราเดิมของ KMC-W2 ซึ่งโดยปกติเมื่อมีวอแรนต์ใหม่ๆ ออกมา วอแรนต์ตัวใหม่มักจะมีอัตราและราคาใช้สิทธิดีกว่าตัวเก่านิดนึงถึงปานกลาง ดังนั้นอัตราและค่าแปลงของวอแรนต์ KMC-W2 ที่จะใช้จริงๆ หลังเสร็จสิ้นขั้นตอนการเพิ่มทุนน่าจะทำให้ราคาใกล้เคียงกับอัตราเดิมแต่จะทำให้มูลค่าน้อยกว่า KMC-W3 นิดนึงเท่านั้น
กราฟแนวโน้มราคา KMC-W2, KMC-W3 (อัตราใช้สิทธิอาจมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง)
จากกราฟด้านบนเป็นการจำลองอัตราการใช้สิทธิใหม่ของ KMC-W2 ที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากการรวมพาร์ เทียบกับอัตราและราคาใช้สิทธิของ KMC-W3 วอแรนต์ตัวใหม่ที่กำลังจะเข้ามาซื้อขายในตลาดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ โดยแท่งสีน้ำเงินคือหุ้นแม่ KMC ส่วนแท่งสีแดงคือ KMC-W2อยู่ด้านล่างสุดและแท่งสีส้ม KMC-W3 วอแรนต์หรือหุ้นลูกตัวใหม่ที่กำลังจะออกมา
ตารางเปรียบเทียบราคาและอัตราใช้สิทธิของ KMC-W2 อัตราใหม่กับเก่า (อัตราใช้สิทธิอาจมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง)
ถ้าเทียบราคา KMC-W2 แบบเก่ากับใหม่ จะพบว่าแตกต่างกันมาก ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้ด้วยกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนของวอแรนต์ทุกตัวว่าต้องปรับสิทธิไม่ให้ด้อยกว่ามูลค่าเดิม วันนี้จึงเปรียบเทียบได้แค่อัตราและราคาใช้สิทธิของวอแรนต์ KMC-W2 อัตราใหม่หลังขั้นตอนการรวมพาร์ แต่หลังจากเสร็จสิ้นการเพิ่มทุนจนถึงช่วงที่วอแรนต์ KMC-W3 ใกล้จะออก เตรียมเข้ามาเทรดในตลาด ถึงตอนนั้นน่าจะมีอัตราและราคาใช้สิทธิใหม่ของ KMC-W2 ออกมา ก็จะได้มาเปรียบเทียบกันให้เห็นระหว่างราคาวอแรนต์ KMC-W2 กับ KMC-W3 กันอีกที ซึ่งจะเป็นตัวเลขที่แน่นอนและจะใช้เทียบเคียงได้ตลอดไปต่อจากนี้ จนกว่าจะมีการเพิ่มทุนหรือเปลี่ยนแปลงมูลค่าราคาหุ้นแม่ KMC ใหม่อีกรอบ โปรดติดตามบทความเปรียบเทียบราคา KMC-W2, KMC-W3 กับหุ้นแม่ KMC ตอนที่ 2 ในโอกาสต่อไป