วันนี้(7 มี.ค.) ที่บ้านดำ นางแล จังหวัดเชียงราย มีการตัดสินการประกวดผลงานโครงการค่ายเยาวชนสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมสมัย ปี 2556 จัดโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย(สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) ซึ่งผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมครั้งนี้มีนักศึกษาระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี และปริญญาโท ที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรกจำนวน 68 คนมาร่วมเข้าค่ายสร้างสรรค์ผลงาน ตั้งแต่วันที่ 1-6 มี.ค. ที่ผ่านมา จากนั้น คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วย ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ได้แก่ ดร.ถวัลย์ ดัชนี ดร.กมล ทัศนาญชลี นายธงชัย รักปทุม และศ.วิโชค มุกดามณี พร้อมด้วย ศิลปินร่วมสมัย และผู้เชี่ยวชาญทางทัศนศิลป์ รวม 14 คน รวมทั้งนายเขมชาติ เทพไชย ผอ.สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย(สศร.)ร่วมพิจารณาตัดสินผลงานให้เหลือเพียง13 คน ซึ่งจะได้โอกาสเดินทางไปสร้างสรรค์ผลงานศิลปะและนำไปเผยแพร่ให้ชาวต่างชาติได้ประจักษ์ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเดือนพฤษภาคมนี้ ผลปรากฎว่า ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกระดับปริญญาตรี และเป็นตัวแทนภาค ประกอบด้วย ภาคกลาง ได้แก่ นายคียาภัทร เกตุไสว จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาลัยเพาะช่าง นายโชติพัฒน์ ปิยะนิจดำรงค์ และนายกิตติศักดิ์ เทพเกาะ จาก มหาวิทยาลัยศิลปากร นายพิชพงค์ ศรีใส มหาวิทยาลัยบูรพา ภาคเหนือ ได้แก่ น.ส.ธนัชชา ไชยรินทร์ และนายเฉลิมพร อ้วนโพธิ์กลาง จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ น.ส.นวพร ชิตท้วม มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคใต้ ได้แก่ น.ส.ยามีละห์ ดาโอะ และ นายจรุงรัตน์ รอดคืน จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ น.ส.จารุวรรณ เมืองขวา จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนระดับปริญญาโท ได้แก่ น.ส.กมลพันธุ์ โชติวิชัย นายสุรพงศ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา และนายวรัญญู ช่างประดิษฐ์ จาก มหาวิทยาลัยศิลปากร
ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ กล่าวว่า ในปีนี้นักศึกษามีการเตรียมตัวมาดีมาก มีการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม และที่น่าสนใจ มีนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกคนหนึ่ง มาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากจะเป็นนักศึกษาศิลปกรรมศาสตร์แล้ว ตนได้ทราบจากคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มช.ภายหลังว่า มีอาชีพ เป็นสัปเหร่ออยู่ที่วัดด้วย และผลงานของเด็กคนนี้ก็ได้รับรางวัลในครั้งนี้ด้วย ถือว่าเวทีการประกวดครั้งนี้เป็นการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ของผู้สร้างสรรค์งานศิลปะให้มีโอกาสได้ก้าวสู่การแสดงผลงานระดับนานาชาติ
นายเฉลิมพร อ้วนโพธิ์กลาง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ตนเป็นคนนครสวรรค์ เริ่มเข้าไปคลุกคลีกับวัดลาดค้าว อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ตั้งแต่เรียนชั้นป.4 จึงทำให้เข้าไปเห็น วิธีการเผาศพ โดยเริ่มแรกทำศพให้สุนัขก่อน เพราะสุนัขที่วัดตายเป็นจำนวนมากจึงได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ฝังศพสุนัขเป็นงานเริ่มแรก จากนั้นก็เริ่มเผาสุนัขเรื่อยมาประมาณ 30-40 ตัว ต่อมาเริ่มเห็นวิธีการเผาศพคน ก็เลยอยากลองทำดู เพราะสัปเหร่อที่วัดแก่แล้ว จึงเข้ารับการถ่ายทอดวิชาสัปเหร่อจากสัปเหร่อของวัด พร้อมกับหาข้อมูลการเผาศพจากอินเทอร์เน็ตเพื่อเพิ่มเติมความรู้ และได้เริ่มเผาศพจริงด้วยตนเอง ซึ่งขณะนั้นเรียนอยู่ชั้นป.6 อายุประมาณ 12 ปี ถือว่าได้รับตำแหน่ง สัปเหร่ออย่างเป็นทางการของวัด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันอายุได้ 23 ปีแล้ว ได้เผาศพมาแล้วประมาณ 100 ศพ ทั้งนี้การเผาศพจะมีรายได้ส่วนหนึ่งที่ญาติให้ แต่ใจจริงของตนแล้ว อยากจะช่วยเหลือการเผาศพมากกว่า ขอให้ได้ทำ แม้ไม่ได้เงินก็ไม่เป็นไร
“ตอนที่จะเข้าคณะวิจิตรศิลป์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขามีโควตารับเด็กที่มีความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผมจึงเอาภูมิปัญญาการเป็นสัปเหร่อ เพื่อไปสอบคัดเลือกที่มช. ก็ได้รับการคัดเลือกให้เข้าเรียน และเวทีประกวดนี้ ถือเป็นเวทีแรก ที่ผมได้มาเข้าค่ายและนำผลงานด้านศิลปะเข้าประกวด ภายใต้ชื่อว่า พันธะกรรม เป็นเทคนิคสื่อผสมวัสดุธรรมชาติ เป็นศิลปะกลางแจ้ง โดยมีแนวความคิดเป็นการสะเทือนในเรื่องราวสภาพการตาย ของแต่ละคน ว่ามีจริตการตายที่ต่างกัน ไม่ตามแต่เวรกรรมของแต่ละจำพวก ซึ่งได้มาจากประสบการณ์การเป็นสัปเหร่อที่ได้เห็นคนที่ใกล้ตาย คนที่ขาดใจตาย มีอารมณ์การดิ้น กระ
กระสนที่จะเอาตัวรอด จะหนีจากความตาย ผมก็เลยเอาเรื่องราววิบากกรรม อากัปกริยาต่างๆ มาสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้วัสดุทางธรรมชาติ เพราะชีวิตคือธรรมชาติ ที่สำคัญผลงานชิ้นนี้มาจากประสบการณ์ตรงที่ได้เห็นสภาพศพของคนฆ่าวัวประจำหมู่บ้าน เมื่อมีชีวิตอยู่ได้ฆ่าวัวด้วยการทุบหัว เมื่อตนเองนอนอยู่ในบ้านก็ถูกเสาไม้ล้มทับหัวจนตายเหมือนกับวัวที่ฆ่า ซึ่งเป็นเหมือนวิบากกรรมที่ได้กระทำไว้ อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผมเรียน จะหาเวลาปิดภาคเรียนกลับไปเป็นสัปเหร่อที่นครสวรรค์ และหากมีงานเผาด่วนก็จะนั่งรถจากเชียงใหม่ไปนครสวรรค์เพื่อทำหน้าที่ทันที”นายเฉลิมพร กล่าว
http://www.dailynews.co.th/education/189052
เฉลิมพร อ้วนโพธิ์กลาง นศ.มช. เป็นสัปเหร่อตั้งแต่ ป.4 ได้เป็นตัวแทนไทยแสดงศิลปะที่สหรัฐ
ดร.กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ กล่าวว่า ในปีนี้นักศึกษามีการเตรียมตัวมาดีมาก มีการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม และที่น่าสนใจ มีนักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกคนหนึ่ง มาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากจะเป็นนักศึกษาศิลปกรรมศาสตร์แล้ว ตนได้ทราบจากคณบดีคณะวิจิตรศิลป์ มช.ภายหลังว่า มีอาชีพ เป็นสัปเหร่ออยู่ที่วัดด้วย และผลงานของเด็กคนนี้ก็ได้รับรางวัลในครั้งนี้ด้วย ถือว่าเวทีการประกวดครั้งนี้เป็นการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ของผู้สร้างสรรค์งานศิลปะให้มีโอกาสได้ก้าวสู่การแสดงผลงานระดับนานาชาติ
นายเฉลิมพร อ้วนโพธิ์กลาง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ตนเป็นคนนครสวรรค์ เริ่มเข้าไปคลุกคลีกับวัดลาดค้าว อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ตั้งแต่เรียนชั้นป.4 จึงทำให้เข้าไปเห็น วิธีการเผาศพ โดยเริ่มแรกทำศพให้สุนัขก่อน เพราะสุนัขที่วัดตายเป็นจำนวนมากจึงได้รับมอบหมายจากเจ้าอาวาสให้ฝังศพสุนัขเป็นงานเริ่มแรก จากนั้นก็เริ่มเผาสุนัขเรื่อยมาประมาณ 30-40 ตัว ต่อมาเริ่มเห็นวิธีการเผาศพคน ก็เลยอยากลองทำดู เพราะสัปเหร่อที่วัดแก่แล้ว จึงเข้ารับการถ่ายทอดวิชาสัปเหร่อจากสัปเหร่อของวัด พร้อมกับหาข้อมูลการเผาศพจากอินเทอร์เน็ตเพื่อเพิ่มเติมความรู้ และได้เริ่มเผาศพจริงด้วยตนเอง ซึ่งขณะนั้นเรียนอยู่ชั้นป.6 อายุประมาณ 12 ปี ถือว่าได้รับตำแหน่ง สัปเหร่ออย่างเป็นทางการของวัด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัจจุบันอายุได้ 23 ปีแล้ว ได้เผาศพมาแล้วประมาณ 100 ศพ ทั้งนี้การเผาศพจะมีรายได้ส่วนหนึ่งที่ญาติให้ แต่ใจจริงของตนแล้ว อยากจะช่วยเหลือการเผาศพมากกว่า ขอให้ได้ทำ แม้ไม่ได้เงินก็ไม่เป็นไร
“ตอนที่จะเข้าคณะวิจิตรศิลป์ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เขามีโควตารับเด็กที่มีความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ผมจึงเอาภูมิปัญญาการเป็นสัปเหร่อ เพื่อไปสอบคัดเลือกที่มช. ก็ได้รับการคัดเลือกให้เข้าเรียน และเวทีประกวดนี้ ถือเป็นเวทีแรก ที่ผมได้มาเข้าค่ายและนำผลงานด้านศิลปะเข้าประกวด ภายใต้ชื่อว่า พันธะกรรม เป็นเทคนิคสื่อผสมวัสดุธรรมชาติ เป็นศิลปะกลางแจ้ง โดยมีแนวความคิดเป็นการสะเทือนในเรื่องราวสภาพการตาย ของแต่ละคน ว่ามีจริตการตายที่ต่างกัน ไม่ตามแต่เวรกรรมของแต่ละจำพวก ซึ่งได้มาจากประสบการณ์การเป็นสัปเหร่อที่ได้เห็นคนที่ใกล้ตาย คนที่ขาดใจตาย มีอารมณ์การดิ้น กระกระสนที่จะเอาตัวรอด จะหนีจากความตาย ผมก็เลยเอาเรื่องราววิบากกรรม อากัปกริยาต่างๆ มาสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้วัสดุทางธรรมชาติ เพราะชีวิตคือธรรมชาติ ที่สำคัญผลงานชิ้นนี้มาจากประสบการณ์ตรงที่ได้เห็นสภาพศพของคนฆ่าวัวประจำหมู่บ้าน เมื่อมีชีวิตอยู่ได้ฆ่าวัวด้วยการทุบหัว เมื่อตนเองนอนอยู่ในบ้านก็ถูกเสาไม้ล้มทับหัวจนตายเหมือนกับวัวที่ฆ่า ซึ่งเป็นเหมือนวิบากกรรมที่ได้กระทำไว้ อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผมเรียน จะหาเวลาปิดภาคเรียนกลับไปเป็นสัปเหร่อที่นครสวรรค์ และหากมีงานเผาด่วนก็จะนั่งรถจากเชียงใหม่ไปนครสวรรค์เพื่อทำหน้าที่ทันที”นายเฉลิมพร กล่าว
http://www.dailynews.co.th/education/189052