ภาพในอดีตชุดนี้เป็นภาพที่ถ่ายมาจาก Slide ด้วยกล้อง Canon 550D + Nikon 50/1.8 ผ่านตัว Slide duplicator ไว้ตั้งแต่ปี 2554 และเคยนำมาให้ชมแล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมาแต่มีคนอยากจะให้นำมาให้ชมกันอีกรอบก็เลยทำการ re-process อีกครั้งให้ภาพดูดีขึ้นและนำมาให้ท่านชมตามที่น้าดล nasay ขอมาจากกระทู้
http://ppantip.com/topic/30193580
ประวัติ
อำเภอทองผาภูมิ
แต่เดิมอำเภอทองผาภูมินั้นมีฐานะเป็น กิ่งอำเภอสังขละบุรี ขึ้นกับอำเภอวังกะ จนกระทั่งในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอสังขละบุรีเป็น กิ่งอำเภอทองผาภูมิ ส่วนอำเภอวังกะที่กิ่งอำเภอขึ้นตรงนั้นได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอสังขละบุรี" แทน[1] ต่อมาจึงได้มีการยกฐานะกิ่งอำเภอนี้ขึ้นมาเป็น อำเภอทองผาภูมิ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ซึ่งในขณะเดียวกันอำเภอสังขละบุรีได้ถูกยุบลงเป็นกิ่งอำเภอสังขละบุรีอีกด้วย
เขื่อนเขาแหลม
เขื่อนวชิราลงกรณ เดิมมีชื่อว่า เขื่อนเขาแหลม เป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทย ที่ดาดผิวหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อย เป็นเขื่อนเอนกประสงค์โดยมีวัตถุประสงค์ด้านผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก สร้างปิดกั้นแม่น้ำแควน้อยบริเวณตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ตัวอ่างเก็บน้ำอยู่ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีเริ่มก่อสร้างในเดือนมีนาคม 2522 เสร็จในปี 2527 เขื่อนมีความจุ 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,369 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เครื่องบริเวณปล่อยน้ำ ขนาดกำลังผลิต 100,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 300,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 760 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
อำเภอสังขละบุรี
อำเภอสังขละบุรี ในอดีตชื่อ อำเภอวังกะ ซึ่งได้รับการเปลี่ยนชื่อเมื่อ พ.ศ. 2482 (ในคราวเดียวกันกับที่ "กิ่งอำเภอสังขละบุรี" ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "กิ่งอำเภอทองผาภูมิ")[1] ต่อมาอำเภอสังขละบุรีได้ถูกลดฐานะลงให้เป็น กิ่งอำเภอสังขละบุรี เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2484[2] และต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 จึงได้ถูกยกฐานะกลับขึ้นเป็นอำเภอสังขละบุรีดังเดิม
*** ข้อมูลจากวิกิพีเดีย ***
ที่ว่าการอำเภอทองผาภูมิปี 2526
น่าจะเป็นที่ไทรโยคน้อยไม่แน่ใจครับ
แพที่เขื่อนเขาแหลม
ที่ทำการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ เขื่อนเขาแหลม
ต้นทางที่กำลังก่อสร้างใหม่เพื่อไปยังอ.สังขละบุรีแห่งใหม่ที่การไฟฟ้าฯทำการสร้างขึ้นเพื่อทดแทน อ.สังขละบุรีเก่าที่ถูกน้ำจากเขื่อนท่วม
เส้นทางสู่ อ.สังขละในยุค 2526-27 ที่ยังก่อสร้างทางไม่เสร็จ
ภาพถ่ายจากในรถที่ใช้เดินทางไปช่วงโพล้เพล้ไม่มีรถใครตามมาหรือสวนมาตลอดเส้นทางแม้แต่คันเดียว
แพริมน้ำระหว่างทางไป อ.สังขละ
อีกแห่งในบริเวณใกล้เคียงกันตลอดเส้นทางที่กำลังก่อสร้างเจอแต่รถแบคโฮที่ใช้สำหรับก่อสร้างจอดอยู่ริมทางแค่นั้น
โรงแรมศรีแดงโรงแรมแห่งแรกและแห่งเดียวในสังขละบุรียุคนั้นใช้ทราบว่าปัจจุบันยังคงดำเนินการอยู่
รุ่งส่างของคืนแรก (ที่จริงพักคืนเดียวเพราะหลงเข้าไปเอง) คนขับรถสองแถวชวนข้ามไปฝั่งพม่าเพื่อดูบ้านของกองทัพของชนส่วนน้อยมอญถูกทหารพม่าเผาผมก็กระโดดเกาะรถสองแถวของพี่เค้าไปด้วยความใจง่ายออกนอกสังขละก็เจอป้ายนี้
เจดีย์นี้ถ่ายระหว่างทางข้ามไปฝั่งพม่าไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นเจดีย์อะไร
แต่อันนี้ทราบว่าเป็นเจดีย์สมองค์ของด่านเจดีย์สามองค์ที่โด่งดังในประวัติศาสตร์ไทยในยุคที่ไทยรบกับพม่าในอดีต
หมู่บ้านมอญในฝั่งพม่า
ในตัวเมือง
รถกะบะมาจากเมืองกาญจน์ของไทย
คนมอญมีนุ่งทั้งสะโหร่ง นุ่งทั้งกางเกงยีน ผู้หญิงชอบเอาหม้อหรือของหนักๆเทินไว้บนศรีษะเดินตัวปลิว
สินค้ายอดนิยมจากฝั่งไทย อายิโนะโมะโต๊ะ ซึ่งทางมอญคงไม่ได้เอาไปรับประทานอย่างเดียวแน่ๆ
ขอบคุณทุกท่านที่แวะชม
หากท่านชอบและต้องการเก็บภาพเหล่านี้เข้าคลังช่วยกรุณากดเครื่องหมาย + มุมซ้ายด้านล่างให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
>>>>>>> [ เจาะเวลาหาอดีต : ตอน ทองผาภูมิ เขาแหลม สังขละบุรี 2526 ] <<<<<<<
ประวัติ
อำเภอทองผาภูมิ
แต่เดิมอำเภอทองผาภูมินั้นมีฐานะเป็น กิ่งอำเภอสังขละบุรี ขึ้นกับอำเภอวังกะ จนกระทั่งในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อกิ่งอำเภอสังขละบุรีเป็น กิ่งอำเภอทองผาภูมิ ส่วนอำเภอวังกะที่กิ่งอำเภอขึ้นตรงนั้นได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอสังขละบุรี" แทน[1] ต่อมาจึงได้มีการยกฐานะกิ่งอำเภอนี้ขึ้นมาเป็น อำเภอทองผาภูมิ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ซึ่งในขณะเดียวกันอำเภอสังขละบุรีได้ถูกยุบลงเป็นกิ่งอำเภอสังขละบุรีอีกด้วย
เขื่อนเขาแหลม
เขื่อนวชิราลงกรณ เดิมมีชื่อว่า เขื่อนเขาแหลม เป็นเขื่อนหินถมแห่งแรกของประเทศไทย ที่ดาดผิวหน้าด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ตั้งอยู่บนแม่น้ำแควน้อย เป็นเขื่อนเอนกประสงค์โดยมีวัตถุประสงค์ด้านผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก สร้างปิดกั้นแม่น้ำแควน้อยบริเวณตำบลท่าขนุน อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ตัวอ่างเก็บน้ำอยู่ในท้องที่อำเภอทองผาภูมิ และอำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรีเริ่มก่อสร้างในเดือนมีนาคม 2522 เสร็จในปี 2527 เขื่อนมีความจุ 8,860 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเฉลี่ยปีละ 5,369 ล้านลูกบาศก์เมตร ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 3 เครื่องบริเวณปล่อยน้ำ ขนาดกำลังผลิต 100,000 กิโลวัตต์ รวมกำลังผลิต 300,000 กิโลวัตต์ ให้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ยปีละ 760 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง
อำเภอสังขละบุรี
อำเภอสังขละบุรี ในอดีตชื่อ อำเภอวังกะ ซึ่งได้รับการเปลี่ยนชื่อเมื่อ พ.ศ. 2482 (ในคราวเดียวกันกับที่ "กิ่งอำเภอสังขละบุรี" ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น "กิ่งอำเภอทองผาภูมิ")[1] ต่อมาอำเภอสังขละบุรีได้ถูกลดฐานะลงให้เป็น กิ่งอำเภอสังขละบุรี เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2484[2] และต่อมาเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 จึงได้ถูกยกฐานะกลับขึ้นเป็นอำเภอสังขละบุรีดังเดิม
*** ข้อมูลจากวิกิพีเดีย ***
ที่ว่าการอำเภอทองผาภูมิปี 2526
น่าจะเป็นที่ไทรโยคน้อยไม่แน่ใจครับ
แพที่เขื่อนเขาแหลม
ที่ทำการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ณ เขื่อนเขาแหลม
ต้นทางที่กำลังก่อสร้างใหม่เพื่อไปยังอ.สังขละบุรีแห่งใหม่ที่การไฟฟ้าฯทำการสร้างขึ้นเพื่อทดแทน อ.สังขละบุรีเก่าที่ถูกน้ำจากเขื่อนท่วม
เส้นทางสู่ อ.สังขละในยุค 2526-27 ที่ยังก่อสร้างทางไม่เสร็จ
ภาพถ่ายจากในรถที่ใช้เดินทางไปช่วงโพล้เพล้ไม่มีรถใครตามมาหรือสวนมาตลอดเส้นทางแม้แต่คันเดียว
แพริมน้ำระหว่างทางไป อ.สังขละ
อีกแห่งในบริเวณใกล้เคียงกันตลอดเส้นทางที่กำลังก่อสร้างเจอแต่รถแบคโฮที่ใช้สำหรับก่อสร้างจอดอยู่ริมทางแค่นั้น
โรงแรมศรีแดงโรงแรมแห่งแรกและแห่งเดียวในสังขละบุรียุคนั้นใช้ทราบว่าปัจจุบันยังคงดำเนินการอยู่
รุ่งส่างของคืนแรก (ที่จริงพักคืนเดียวเพราะหลงเข้าไปเอง) คนขับรถสองแถวชวนข้ามไปฝั่งพม่าเพื่อดูบ้านของกองทัพของชนส่วนน้อยมอญถูกทหารพม่าเผาผมก็กระโดดเกาะรถสองแถวของพี่เค้าไปด้วยความใจง่ายออกนอกสังขละก็เจอป้ายนี้
เจดีย์นี้ถ่ายระหว่างทางข้ามไปฝั่งพม่าไม่ทราบเหมือนกันว่าเป็นเจดีย์อะไร
แต่อันนี้ทราบว่าเป็นเจดีย์สมองค์ของด่านเจดีย์สามองค์ที่โด่งดังในประวัติศาสตร์ไทยในยุคที่ไทยรบกับพม่าในอดีต
หมู่บ้านมอญในฝั่งพม่า
ในตัวเมือง
รถกะบะมาจากเมืองกาญจน์ของไทย
คนมอญมีนุ่งทั้งสะโหร่ง นุ่งทั้งกางเกงยีน ผู้หญิงชอบเอาหม้อหรือของหนักๆเทินไว้บนศรีษะเดินตัวปลิว
สินค้ายอดนิยมจากฝั่งไทย อายิโนะโมะโต๊ะ ซึ่งทางมอญคงไม่ได้เอาไปรับประทานอย่างเดียวแน่ๆ
ขอบคุณทุกท่านที่แวะชม
หากท่านชอบและต้องการเก็บภาพเหล่านี้เข้าคลังช่วยกรุณากดเครื่องหมาย + มุมซ้ายด้านล่างให้ด้วยครับ ขอบคุณครับ