กฏหมายกับการแต่งรถ โดยสรุป อุปกรณ์ตกแต่งรถอะไรบ้างที่ติดตั้งแล้วไม่ผิดกฎหมายบ้าง??
1. ท่อไอเสียรถยนต์ไม่ว่าขนาดใหญ่ หรือเล็ก จะเป็นรูปทรงอะไรก็ตามไม่ผิดกฎหมาย แต่จะต้องมีความดังของเสียงท่อไอเสีย ไม่เกิน 90 เดซิเบล (ในกรณีโดนตรวจจับ ทางตำรวจจะต้องใช้เครื่องมือตรวจเท่านั้นฟังด้วยเสียงไม่ได้)
2. สปอยเล่อร์ หรือชุดแต่งไฟเบอร์ สามารถตกแต่งได้ไม่ผิดกฎหมาย แต่วัสดุที่นำมาติดตั้งต้องแข็งแรง
3. รถโหลดเตี้ย สามารถกระทำได้ ไม่ผิด พ.ร.บ. แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 40 ซม. โดยวัดจากพื้นถึงไฟหน้ารถยนต์ของท่าน
4. รถยกสูง สามารถกระทำได้ ไม่ผิด พ.ร.บ. แต่ต้องไม่สูงเกิน 175 ซม. โดยวัดจากพื้นถึงไฟหน้ารถยนต์ของท่าน
5. เกจ์ และมาตรวัดต่าง ๆ ที่ติดตั้งภายในรถ สามารถติดตั้งได้โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด
6. ไฟโคมเหลือง หรือสปอร์ตไลท์สามารถติดตั้ง และเปิดได้แต่ไฟต้องไม่แยงตาผู้อื่น ไม่งั้นอาจโดนตักเตือนได้ เช่นเดียวกับไฟ xenon (ไฟหน้ารถสีขาวสว่าง) แต่ถ้าเป็นไฟสีอื่นที่ไม่ใช่สีขาวหรือเหลืองผิดกฎหมายทันที
7. ไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง ต้องเป็นไฟสีเหลืองส้มเท่านั้น
8. ไฟถอยหลังต้องเป็นสีขาวเท่านั้น
9. การตกแต่งป้ายทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นทะเบียนยาว (ตัดป้ายหรือไม่ตัดป้าย) ผิด พ.ร.บ. ส่วนป้ายทะเบียนแบบปรับองศาสามารถติดตั้งได้แต่เมื่อมองจากด้านหน้าแล้วต้อง เห็นป้ายทะเบียนชัดเจน
10. ล้ออัลลอยย์ (ล้อ max) จะใส่ขอบขนาดเท่าไหร่ก็ได้ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ขนาดของล้อจะต้องไม่ล้นออกมานอกตัวถัง แต่ถ้าไปดึงโป่งให้ล้อยื่นออกมาเกินกว่าตัวถังถือว่าผิดเต็ม ๆ เพราะนั่นแหละคือการดัดแปลงสภาพรถยนต์
11. สติกเกอร์แต่งรถไม่ว่าจะชิ้นใหญ่ หรือเล็กสามารถติดได้ไม่ว่าจะมากมายขนาดไหนก็ตามไม่ผิดกฎหมาย
12. กระโปรงหน้ารถสามารถทำเป็นสีดำ หรือลายคราฟล่าได้ แต่ต้องไปแจ้งการเปลี่ยนสีรถที่กรมขนส่งฯ ไม่งั้นถือว่าผิดกฎหมาย
13. การเปลี่ยนสีรถเฉพาะจุด หรือทั้งหมดต้องแจ้งที่กรมขนส่งฯ
14. การวางเครื่อง 1J หรือ 2J เมื่อวางเครื่อง + จ่ายเงินแล้ว ต้องแจ้งกรมขนส่งฯ
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ บอล รักโซดา
กฏหมายกับการแต่งรถ โดยสรุป อุปกรณ์ตกแต่งรถอะไรบ้างที่ติดตั้งแล้วไม่ผิดกฎหมายบ้าง??
1. ท่อไอเสียรถยนต์ไม่ว่าขนาดใหญ่ หรือเล็ก จะเป็นรูปทรงอะไรก็ตามไม่ผิดกฎหมาย แต่จะต้องมีความดังของเสียงท่อไอเสีย ไม่เกิน 90 เดซิเบล (ในกรณีโดนตรวจจับ ทางตำรวจจะต้องใช้เครื่องมือตรวจเท่านั้นฟังด้วยเสียงไม่ได้)
2. สปอยเล่อร์ หรือชุดแต่งไฟเบอร์ สามารถตกแต่งได้ไม่ผิดกฎหมาย แต่วัสดุที่นำมาติดตั้งต้องแข็งแรง
3. รถโหลดเตี้ย สามารถกระทำได้ ไม่ผิด พ.ร.บ. แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 40 ซม. โดยวัดจากพื้นถึงไฟหน้ารถยนต์ของท่าน
4. รถยกสูง สามารถกระทำได้ ไม่ผิด พ.ร.บ. แต่ต้องไม่สูงเกิน 175 ซม. โดยวัดจากพื้นถึงไฟหน้ารถยนต์ของท่าน
5. เกจ์ และมาตรวัดต่าง ๆ ที่ติดตั้งภายในรถ สามารถติดตั้งได้โดยไม่ผิดกฎหมายแต่อย่างใด
6. ไฟโคมเหลือง หรือสปอร์ตไลท์สามารถติดตั้ง และเปิดได้แต่ไฟต้องไม่แยงตาผู้อื่น ไม่งั้นอาจโดนตักเตือนได้ เช่นเดียวกับไฟ xenon (ไฟหน้ารถสีขาวสว่าง) แต่ถ้าเป็นไฟสีอื่นที่ไม่ใช่สีขาวหรือเหลืองผิดกฎหมายทันที
7. ไฟเลี้ยวทั้งด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลัง ต้องเป็นไฟสีเหลืองส้มเท่านั้น
8. ไฟถอยหลังต้องเป็นสีขาวเท่านั้น
9. การตกแต่งป้ายทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นทะเบียนยาว (ตัดป้ายหรือไม่ตัดป้าย) ผิด พ.ร.บ. ส่วนป้ายทะเบียนแบบปรับองศาสามารถติดตั้งได้แต่เมื่อมองจากด้านหน้าแล้วต้อง เห็นป้ายทะเบียนชัดเจน
10. ล้ออัลลอยย์ (ล้อ max) จะใส่ขอบขนาดเท่าไหร่ก็ได้ ไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ขนาดของล้อจะต้องไม่ล้นออกมานอกตัวถัง แต่ถ้าไปดึงโป่งให้ล้อยื่นออกมาเกินกว่าตัวถังถือว่าผิดเต็ม ๆ เพราะนั่นแหละคือการดัดแปลงสภาพรถยนต์
11. สติกเกอร์แต่งรถไม่ว่าจะชิ้นใหญ่ หรือเล็กสามารถติดได้ไม่ว่าจะมากมายขนาดไหนก็ตามไม่ผิดกฎหมาย
12. กระโปรงหน้ารถสามารถทำเป็นสีดำ หรือลายคราฟล่าได้ แต่ต้องไปแจ้งการเปลี่ยนสีรถที่กรมขนส่งฯ ไม่งั้นถือว่าผิดกฎหมาย
13. การเปลี่ยนสีรถเฉพาะจุด หรือทั้งหมดต้องแจ้งที่กรมขนส่งฯ
14. การวางเครื่อง 1J หรือ 2J เมื่อวางเครื่อง + จ่ายเงินแล้ว ต้องแจ้งกรมขนส่งฯ
ขอบคุณข้อมูลจาก คุณ บอล รักโซดา