ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 5
ภาพของเฉาจื๋อในภาพเขียนที่คัดลอกจาก "เทพธิดาแห่งแม่น้ำลั่ว" (洛神賦) ของกู้ข่ายจือ (顧愷之) จิตรกรสมัยราชวงศ์จิ้น
อ้างอิงข้อมูลตามจดหมายเหตุสามก๊กของเฉินโซ่ว ตอนประวัติเฉาจื๋อ (曹植 โจสิด) ซึ่งเรียบเรียงในสมัยราชวงศ์จิ้น กับเอกสารอื่นนะครับ
เฉาจื๋อนั้นมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมาตั้งแต่เล็ก อายุเพียงสิบกว่าปีสามารถท่องจำคัมภีร์ซือจิง《詩》และหลุนอวี่《論》ได้นับแสนคำ มีความสามารถทางอักษรศาสตร์มากจนมีชื่อเสียงเป็นกวีเอกแห่งยุคเจี้ยนอัน เป็นที่โปรดปรานของเฉาเชา (曹操 โจโฉ) มาก เมื่อเฉาเชาสร้างหอนกยูงทองแดง (銅爵臺) ที่เมืองเย่เฉิง เฉาเชาให้คนที่อยู่ที่หอแต่งบทกวี เฉาจื๋อหยิบพู่กันมาแต่งบทกวีที่งดงามไพเราะได้ทันทีทำให้เฉาเชาประทับใจมาก อย่างไรก็ตามเฉาจื๋อนั้นโดยนิสัยเป็นคนเรียบง่ายไม่สนใจที่จะวางตัวให้สง่างาม ทั้งรถม้าเสื้อผ้าเครื่องประดับล้วนไม่สง่างาม
รัชศกเจี้ยนอันปีที่ 16 (ค.ศ. 211) ได้รับบรรดาศักดิ์ผิงหยวนโหว (平原侯) มีศักดินา 5,000 ครัวเรือน
รัชศกเจี้ยนอันปีที่ 19 (ค.ศ. 214) ได้รับบรรดาศักดิ์หลินจือโหว (臨菑侯) ในปีเดียวกันเฉาเชายกทัพไปตีซุนเฉวียน (ซุนกวน) ได้มอบหมายให้เฉาจื๋อรักษาเมืองเย่เฉิง เฉาเชากล่าวว่า "เมื่อข้าเป็นนายอำเภอตุ้นชิว อายุได้ยี่สิบสามปี คิดย้อนไปถึงสิ่งที่ทำเวลานั้น ไม่เคยเสียใจในตอนนี้ บัดนี้เจ้าก็มีอายุยี่สิบสามปีเหมือนกัน ใยไม่มุ่งมั่นจะสร้างความสำเร็จ"
ครั้งหนึ่งเฉาเชาให้หานตานฉุน (邯鄲淳) ปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมาพบเฉาจื๋อ เฉาจื๋อดีใจมาก รีบเชิญเข้าไปนั่งด้านในโดยไม่ยังเจรจาใดๆ เวลานั้นอากาศร้อน เฉาจื๋อจึงให้บ่าวนำน้ำมาให้อาบ ประแป้งทาหน้า เปลือยอกเปลือยศีรษะ เต้นระบำอู่ฉุยต้วนแบบชาวหู โยนลูกบอลรำกระบี่ ปากเล่านิทานที่ยอดเยี่ยมนับพันคำ แล้วถามว่า "อาจารย์หานตาน เป็นอย่างไรบ้าง"
จากนั้นเฉาจื๋อจึงแต่งกายโพกหัวสุภาพเรียบร้อย แล้วสนทนากันเรื่องธรรมชาติของสวรรค์ ความหมายของการแบ่งลำดับชั้นและการแยกความแตกต่าง วิจารณ์ธรรมราชา ผู้สูงส่ง ขุนนางที่มีชื่อเสียง วีรชนว่ามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร ชื่นชมวรรณกรรมโคลงกลอนในอดีตและปัจจุบัน วิธีการสั่งการขุนนางและบริหารราชการ และสนทนาเรื่องขีดความสามารถของการใช้พิชัยสงครามและทหารในการซุ่มโจมตี จากนั้นจึงสั่งพ่อครัวเตรียมเนื้ออุ่นสุรามาให้ คนอื่นที่นั่งอยู่ในที่นั้นต่างนั่งนิ่งไม่กล้าสนทนาต่อกรด้วย อยู่จนเย็นหานตานฉุนจึงกลับไป หานตานฉุนจะถอนใจกล่าวถึงความสามารถของเฉาจื๋อให้คนรู้จักฟังเสมอ และยกย่องเฉาจื๋อว่า "เทวดา"
เฉาจื๋อชอบคบหากับผู้มีความสามารถ เช่น ติงอี๋ (丁儀 เตงหงี) ติงอี้ (丁廙 เตงอี้) และหยางซิว (楊修 เอียวสิ้ว) ที่กลายเป็นคนสนิท แต่แม้เฉาจื๋อจะมีปัญญา แต่เป็นคนเอาแต่ใจ ไม่ควบคุมตนเอง ชอบดื่มสุราอย่างไม่รู้กาลเทศะ
แตกต่างเฉาพี (曹丕 โจผี) ที่วางตัวได้ดีกว่าโดยแสดงออกว่าตนเองตั้งอยู่ในคุณธรรม ขยันหมั่นเพียร และกตัญญูต่อบิดา ประกอบกับเป็นบุตรคนโตถูกต้องตามธรรมเนียมด้วย จึงทำให้ได้รับการยอมรับจากคนในราชสำนักจำนวนมาก และขุนนางหลายคนก็เห็นว่าเหมาะสมที่จะเป็นทายาท (จดหมายเหตุสามก๊กระระบุว่าเฉาพีก็มีความสามารถทั้งด้านบุ๋นและบู๊ ด้านบุ๋นสามารถจนจำคัมภีร์สำคัญต่างๆ อย่างแม่นยำ และเป็นกวีที่มีความสามารถพอสมควร ด้านบู๊ก็เชี่ยวชาญการขี่ม้ายิงธนูและเพลงกระบี่)
ครั้งหนึ่ง เฉาเชาได้ถามเจี๋ยสฺวี่ (賈詡 กาเซี่ยง) เกี่ยวกับเรื่องการตั้งทายาท ก็ได้คำตอบว่า "ข้ากำลังคิดถึงหยวนเปิ่นซู (อ้วนเสี้ยว) หลิวจิ่งเซิง (เล่าเปียว) พ่อลูก" ซึ่งต่างตั้งบุตรคนเล็กเป็นทายาทจนเกิดการชิงอำนาจกัน จึงทำให้เฉาเชาตัดสินใจตั้งเฉาพีเป็นรัชทายาทในที่สุด
ในรัชศกเจี้ยนอันปีที่ 22 (ค.ศ. 217) เฉาจื๋อได้รับศักดินาเพิ่ม 5,000 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้นเป็น 10,000 ครัวเรือน แต่กลับสร้างเรื่องให้เฉาเชาไม่พอใจด้วยการนั่งรถม้าออกทางประตูซือหม่า (司馬門) ซึ่งเป็นประตูสำหรับฮ่องเต้เสด็จเข้าออก ห้ามไม่ให้จูโหว (諸侯 เจ้าศักดินา) เข้าออก ทำให้เฉาเชาโกรธมากจนสั่งประหารคนขับรถ เฉาจื๋อเป็นที่โปรดปรานน้อยลง
ต่อมาหยางซิวลักลอบเอาข้อมูลทางราชการไปบอกเฉาจื๋อเพื่อให้เตรียมพร้อมในการสร้างความประทับใจให้เฉาเชา ทำให้เฉาเชาไม่พอใจมากขึ้น ประกอบกับหยางซิวเป็นญาติกับสกุลหยวน (อ้วน) ยิ่งทำให้เฉาเชาระแวง จึงสั่งประหารหยางซิวทิ้ง ยิ่งทำให้เฉาจื๋อรู้สึกไม่สบายใจมากขึ้นไปอีก
รัชศกเจี้ยนอันปีที่ 24 (ค.ศ. 219) เฉาเชาให้โอกาสเฉาจื๋อแก้ตัว โดยตั้งเป็น หนานจงหลางเจี้ยง (南中郎將 หัวหน้าทหารรักษาพระองค์ฝ่ายใต้) ว่าที่ตำแหน่งเจิงลู่เจียงจวิน (征虜將軍 ขุนพลพิชิตโจร) ให้เป็นแม่ทัพไปช่วยเฉาเหริน (曹仁 โจหยิน) ที่กำลังโดนกวนอฺวี่ (關羽 กวนอู) ปิดล้อมอยู่ แต่เฉาจื๋อดื่มสุราจนเมามายจนทำหน้าที่ไม่ได้ ทำให้เฉาเชาเสียใจมากและต้องยกเลิกคำสั่งเสีย จดหมายเหตุเว่ยซื่อชุนชิว《魏氏春秋》ระบุว่าเพราะถูกเฉาพีมอมเหล้า
เมื่อเฉาพีขึ้นเป็นเว่ยหวัง (วุยอ๋อง) ก็จับติงอี๋ ติงอี้ รวมถึงครอบครัวที่เป็นชายทั้งหมดประหาร แล้วเริ่มใช้นโยบายควบคุมเชื้อพระวงศ์อย่างเข้มงวด ให้กลับไปอยู่ที่รัฐศักดินาของตนเองทั้งหมด
รัชศกหวงชูปีที่สอง (ค.ศ. 221) หลังเฉาพีเป็นฮ่องเต้ ก้วนจวิน (灌均) ข้าหลวงผู้คุมรัฐศักดินา (監國謁者) ต้องการเอาใจเฉาพี จึงรายงานขึ้นมาว่า เฉาจื๋อเมาสุราทำกิริยาหยิ่งผยองใช้อำนาจบาตรใหญ่ข่มขู่ผู้แทนพระองค์ จึงต้องโทษ แต่เพราะนางเปี้ยนซื่อซึ่งเป็นมารดาขอไว้ จึงเพียงแต่ลดบรรดาศักดิ์เป็นอันเซียงโหว (安鄉侯) ต่อมาย้ายไปอยู่ที่เมืองจ้วนเฉิง (鄄城) ให้มีบรรดาศักดิ์เป็นจ้วนเฉิงโหว (鄄城侯) ในเวลานั้นเฉาพียกน้องชายขึ้นเป็นหวัง/อ๋อง (王) หรือ กง (公) หลายคน มีแต่เฉาจื๋อที่ยังคงเป็นโหวอยู่ตามเดิม
รัชศกหวงชูปีที่สาม (ค.ศ. 222) เฉาจื๋อได้เลื่อนเป็นจ้วนเฉิงหวัง (鄄城王) กินศักดินาเพียง 2,500 ครัวเรือน
ในเวลานั้นเชื้อพระวงศ์ของวุยก๊กที่เป็น จูโหว และ อ๋อง มีแต่ชื่อแต่ไร้อำนาจ ในรัฐศักดินามีแต่ทหารแก่ร้อยคนเป็นองครักษ์ อยู่ห่างราชธานีพันลี้ ห้ามเข้าราชสำนัก มีขุนนางตำแหน่งฝางฝู่ (防輔) และ เจียนกั๋ว (監國) คอยจับตามองอย่างใกล้ชิด ดังนั้นสถานะของเชื้อพระวงศ์จึงไม่ต่างจากสามัญชนเลย เชื้อพระวงศ์เหล่านี้อยากจะกลายเป็นสามัญชนจริงๆ ก็ไม่ได้ กฎหมายเข้มงวดรุนแรง มีรายงานการกระทำผิดของเชื้อพระวงศ์ทุกวัน
เฉากุ่น (曹衮) ลูกเฉาเชา เป็นเป่ยไห่หวัง (北海王) เป็นคนรอบคอบและรักการเรียนไม่เคยกระทำความผิด อาลักษณ์ประจำตัวเฉากุ่นซึ่งเป็นฝางฝู่ เห็นว่าตนได้รับราชโองการให้จับตาการกระทำของอ๋อง ถ้ามีความผิดควรรายงาน แต่ถ้ามีความดีก็สมควรรายงานให้รับรู้เช่นกัน จึงได้รายงานความดีงามของเฉากุ่นไปยังราชสำนัก เมื่อเฉากุ่นรู้ก็ตกใจกลัวมาก จึงบอกกับอาลักษณ์ว่าตัวเองอยากอยู่อย่างเจียมตัว ถ้าไปกราบทูลให้ทราบยิ่งสร้างปัญหาให้ตัวเองมากขึ้นไปอีก นี่คือสภาพเชื้อพระวงศ์ในเวลานั้น
รัชศกหวงชูปีที่สี่ (ค.ศ. 233) เฉาจื๋อถูกย้ายไปกินอำเภอยงชิว (雍丘) มีบรรดาศักดิ์ยงชิวหวัง (雍丘王) ในปีนั้น เฉาพีเรียกอ๋องเชื้อพระวงศ์ให้เดินทางมาเมืองหลวง เฉาจื๋อจึงได้มีโอกาสพบกับพี่น้องอีกครั้ง
จดหมายเหตุเว่ยซื่อชุนชิวระบุว่า ครั้งนั้นเฉาจาง (曹彰 โจเจียง) เกิดเสียชีวิตอย่างกะหันทัน บรรดาอ๋องจึงถูกสั่งให้กลับรัฐศักดินา เฉาจื๋อกับน้องชายคือเฉาเปียว (曹彪) ซึ่งเป็นไป๋หม่าหวัง (白馬王) อยากใช้เส้นทางเดียวกันกลับไปทางตะวันออก แต่ข้าหลวงคุมรัฐศักดินาไม่ยอม เฉาจื๋อโกรธมาก จึงแต่งบทกวีถึงเฉาเปียวแสดงความเจ็บปวดที่พี่น้องถูกบีบให้พลัดพรากจากกัน ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นบทกวีที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเฉาจื๋อ
รัชศกหวงชูปีที่หก (ค.ศ. 225) เฉาพียกทัพไปตีรัฐอู๋ (ง่อก๊ก) ขากลับผ่านอำเภอยงชิว จึงแวะพักที่วังเฉาจื๋อ เหมือนว่าความสัมพันธ์พี่น้องจะดีขึ้นเล็กน้อย เพราะเฉาจื๋อได้เพิ่มศักดินาอีก 500 ครัวเรือน แต่หลังจากนั้นหนึ่งปีเฉาพีก็สวรรคต เฉารุ่ย (曹叡 โจยอย) โอรสได้ครองราชย์แทน
รัชศกไท่เหอปีที่หนึ่ง (ค.ศ. 227) เฉาจื๋อถูกสั่งให้ย้ายไปกินอำเภอจวินอี้ (浚儀) มีบรรดาศักดิ์จวินอี้หวัง (浚儀王) ปีถัดมาก็ถูกย้ายกลับมาเมืองยงชิวตามเดิม บ่อยครั้งที่เฉาจื๋อเสียใจที่ไม่ได้ใช้ความสามารถ จึงถวายฎีกาไปถึงเฉารุ่ยบอกเล่าความสามารถของตนเพื่อขอโอกาสพิสูจน์ตนเอง แต่ก็ถูกปฏิเสธ
รัชศกไท่เหอปีที่สาม (ค.ศ. 229) เฉาจื๋อถูกย้ายไปกินอำเภอตงเออ (東阿) มีบรรดาศักดิ์ตงเออหวัง (東阿王)
รัชศกไท่เหอปีที่ห้า (ค.ศ. 231) เฉาจื๋อถวายฎีกาขอให้เชื้อพระวงศ์ได้มีส่วนร่วมในราชการ เฉารุ่ยก็ตอบว่าเห็นว่าเชื้อพระวงศ์ถูกจำกัดอำนาจเกินไปจริง และทรงตำหนิขุนนางที่พยายามกีดกันอำนาจเชื้อพระวงศ์ เฉาจื๋อเห็นว่าเฉารุ่ยเห็นดีเห็นงาม ก็เลยส่งจดหมายพยายามแนะนำราชการงานเมืองไปหลายฉบับ เฉารุ่ยก็ตอบกลับอย่างสุภาพ แต่ก็ไม่ได้ให้เฉาจื๋อมารับราชการแต่อย่างใด
รัชศกไท่เหอปีที่หก (ค.ศ. 232) เดือนหนึ่ง เฉารุ่ยมีราชโองการเรียกให้บรรดาเชื้อพระวงศ์เข้าเฝ้า ต่อมาในเดือนสองจึงทรงตั้งเฉาจื๋อเป็นเฉินหวัง (陳王) หรืออ๋องแห่งรัฐเฉิน มอบสี่อำเภอในจังหวัดเฉินให้เป็นส่วย มีศักดินารวม 3,500 ครัวเรือน ในช่วงเวลาที่ได้อยู่ในเมืองหลวง เฉาจื๋อพยายามหาโอกาสเข้าเฝ้าเพื่อได้ปรึกษาราชการหลายครั้ง แต่ไม่เคยได้รับการตอบรับ
แม้ว่าจะเป็นอ๋อง แต่สถานะของเฉาจื๋อในตอนนั้นก็ไม่ได้มีความเป็นอยู่ที่ดีเลยตามนโยบายจำกัดอำนาจเชื้อพระวงศ์ ตามกฎมีแต่การส่งคนไร้ความสามารถมาเป็นข้ารับใช้ และให้มีแต่ทหารคุ้มกันชราทุพพลภาพไม่เกิน 200 นาย ในขณะที่เฉาจื๋อได้รับทุกอย่างเพียงครึ่งเดียว ในช่วงเวลา 11 ปีก็ถูกย้ายเมืองส่วยสามครั้ง ไม่มีโอกาสซ่องสุมอำนาจหรือติดต่อกับมิตรสหาย ทำให้เฉาจื๋อต้องอยู่อย่างเป็นทุกข์ จนตรอมใจตายขณะมีอายุ 41 ปี เหลือแต่บทกวีที่แต่งขึ้นที่สะท้อนปณิธานของตนเองที่อยากทำงานเพื่อบ้านเมืองเท่านั้น
หลังจากตายไปแล้ว เฉาจื๋อจึงได้รับพระราชทานนามย้อนหลังเป็น เฉินซือหวัง (陳思王) หรือ อ๋องแห่งเฉินผู้คิดคำนึง
ภาพของเฉาจื๋อในภาพเขียนที่คัดลอกจาก "เทพธิดาแห่งแม่น้ำลั่ว" (洛神賦) ของกู้ข่ายจือ (顧愷之) จิตรกรสมัยราชวงศ์จิ้น
อ้างอิงข้อมูลตามจดหมายเหตุสามก๊กของเฉินโซ่ว ตอนประวัติเฉาจื๋อ (曹植 โจสิด) ซึ่งเรียบเรียงในสมัยราชวงศ์จิ้น กับเอกสารอื่นนะครับ
เฉาจื๋อนั้นมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดมาตั้งแต่เล็ก อายุเพียงสิบกว่าปีสามารถท่องจำคัมภีร์ซือจิง《詩》และหลุนอวี่《論》ได้นับแสนคำ มีความสามารถทางอักษรศาสตร์มากจนมีชื่อเสียงเป็นกวีเอกแห่งยุคเจี้ยนอัน เป็นที่โปรดปรานของเฉาเชา (曹操 โจโฉ) มาก เมื่อเฉาเชาสร้างหอนกยูงทองแดง (銅爵臺) ที่เมืองเย่เฉิง เฉาเชาให้คนที่อยู่ที่หอแต่งบทกวี เฉาจื๋อหยิบพู่กันมาแต่งบทกวีที่งดงามไพเราะได้ทันทีทำให้เฉาเชาประทับใจมาก อย่างไรก็ตามเฉาจื๋อนั้นโดยนิสัยเป็นคนเรียบง่ายไม่สนใจที่จะวางตัวให้สง่างาม ทั้งรถม้าเสื้อผ้าเครื่องประดับล้วนไม่สง่างาม
รัชศกเจี้ยนอันปีที่ 16 (ค.ศ. 211) ได้รับบรรดาศักดิ์ผิงหยวนโหว (平原侯) มีศักดินา 5,000 ครัวเรือน
รัชศกเจี้ยนอันปีที่ 19 (ค.ศ. 214) ได้รับบรรดาศักดิ์หลินจือโหว (臨菑侯) ในปีเดียวกันเฉาเชายกทัพไปตีซุนเฉวียน (ซุนกวน) ได้มอบหมายให้เฉาจื๋อรักษาเมืองเย่เฉิง เฉาเชากล่าวว่า "เมื่อข้าเป็นนายอำเภอตุ้นชิว อายุได้ยี่สิบสามปี คิดย้อนไปถึงสิ่งที่ทำเวลานั้น ไม่เคยเสียใจในตอนนี้ บัดนี้เจ้าก็มีอายุยี่สิบสามปีเหมือนกัน ใยไม่มุ่งมั่นจะสร้างความสำเร็จ"
ครั้งหนึ่งเฉาเชาให้หานตานฉุน (邯鄲淳) ปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมาพบเฉาจื๋อ เฉาจื๋อดีใจมาก รีบเชิญเข้าไปนั่งด้านในโดยไม่ยังเจรจาใดๆ เวลานั้นอากาศร้อน เฉาจื๋อจึงให้บ่าวนำน้ำมาให้อาบ ประแป้งทาหน้า เปลือยอกเปลือยศีรษะ เต้นระบำอู่ฉุยต้วนแบบชาวหู โยนลูกบอลรำกระบี่ ปากเล่านิทานที่ยอดเยี่ยมนับพันคำ แล้วถามว่า "อาจารย์หานตาน เป็นอย่างไรบ้าง"
จากนั้นเฉาจื๋อจึงแต่งกายโพกหัวสุภาพเรียบร้อย แล้วสนทนากันเรื่องธรรมชาติของสวรรค์ ความหมายของการแบ่งลำดับชั้นและการแยกความแตกต่าง วิจารณ์ธรรมราชา ผู้สูงส่ง ขุนนางที่มีชื่อเสียง วีรชนว่ามีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร ชื่นชมวรรณกรรมโคลงกลอนในอดีตและปัจจุบัน วิธีการสั่งการขุนนางและบริหารราชการ และสนทนาเรื่องขีดความสามารถของการใช้พิชัยสงครามและทหารในการซุ่มโจมตี จากนั้นจึงสั่งพ่อครัวเตรียมเนื้ออุ่นสุรามาให้ คนอื่นที่นั่งอยู่ในที่นั้นต่างนั่งนิ่งไม่กล้าสนทนาต่อกรด้วย อยู่จนเย็นหานตานฉุนจึงกลับไป หานตานฉุนจะถอนใจกล่าวถึงความสามารถของเฉาจื๋อให้คนรู้จักฟังเสมอ และยกย่องเฉาจื๋อว่า "เทวดา"
เฉาจื๋อชอบคบหากับผู้มีความสามารถ เช่น ติงอี๋ (丁儀 เตงหงี) ติงอี้ (丁廙 เตงอี้) และหยางซิว (楊修 เอียวสิ้ว) ที่กลายเป็นคนสนิท แต่แม้เฉาจื๋อจะมีปัญญา แต่เป็นคนเอาแต่ใจ ไม่ควบคุมตนเอง ชอบดื่มสุราอย่างไม่รู้กาลเทศะ
แตกต่างเฉาพี (曹丕 โจผี) ที่วางตัวได้ดีกว่าโดยแสดงออกว่าตนเองตั้งอยู่ในคุณธรรม ขยันหมั่นเพียร และกตัญญูต่อบิดา ประกอบกับเป็นบุตรคนโตถูกต้องตามธรรมเนียมด้วย จึงทำให้ได้รับการยอมรับจากคนในราชสำนักจำนวนมาก และขุนนางหลายคนก็เห็นว่าเหมาะสมที่จะเป็นทายาท (จดหมายเหตุสามก๊กระระบุว่าเฉาพีก็มีความสามารถทั้งด้านบุ๋นและบู๊ ด้านบุ๋นสามารถจนจำคัมภีร์สำคัญต่างๆ อย่างแม่นยำ และเป็นกวีที่มีความสามารถพอสมควร ด้านบู๊ก็เชี่ยวชาญการขี่ม้ายิงธนูและเพลงกระบี่)
ครั้งหนึ่ง เฉาเชาได้ถามเจี๋ยสฺวี่ (賈詡 กาเซี่ยง) เกี่ยวกับเรื่องการตั้งทายาท ก็ได้คำตอบว่า "ข้ากำลังคิดถึงหยวนเปิ่นซู (อ้วนเสี้ยว) หลิวจิ่งเซิง (เล่าเปียว) พ่อลูก" ซึ่งต่างตั้งบุตรคนเล็กเป็นทายาทจนเกิดการชิงอำนาจกัน จึงทำให้เฉาเชาตัดสินใจตั้งเฉาพีเป็นรัชทายาทในที่สุด
ในรัชศกเจี้ยนอันปีที่ 22 (ค.ศ. 217) เฉาจื๋อได้รับศักดินาเพิ่ม 5,000 ครัวเรือน รวมทั้งสิ้นเป็น 10,000 ครัวเรือน แต่กลับสร้างเรื่องให้เฉาเชาไม่พอใจด้วยการนั่งรถม้าออกทางประตูซือหม่า (司馬門) ซึ่งเป็นประตูสำหรับฮ่องเต้เสด็จเข้าออก ห้ามไม่ให้จูโหว (諸侯 เจ้าศักดินา) เข้าออก ทำให้เฉาเชาโกรธมากจนสั่งประหารคนขับรถ เฉาจื๋อเป็นที่โปรดปรานน้อยลง
ต่อมาหยางซิวลักลอบเอาข้อมูลทางราชการไปบอกเฉาจื๋อเพื่อให้เตรียมพร้อมในการสร้างความประทับใจให้เฉาเชา ทำให้เฉาเชาไม่พอใจมากขึ้น ประกอบกับหยางซิวเป็นญาติกับสกุลหยวน (อ้วน) ยิ่งทำให้เฉาเชาระแวง จึงสั่งประหารหยางซิวทิ้ง ยิ่งทำให้เฉาจื๋อรู้สึกไม่สบายใจมากขึ้นไปอีก
รัชศกเจี้ยนอันปีที่ 24 (ค.ศ. 219) เฉาเชาให้โอกาสเฉาจื๋อแก้ตัว โดยตั้งเป็น หนานจงหลางเจี้ยง (南中郎將 หัวหน้าทหารรักษาพระองค์ฝ่ายใต้) ว่าที่ตำแหน่งเจิงลู่เจียงจวิน (征虜將軍 ขุนพลพิชิตโจร) ให้เป็นแม่ทัพไปช่วยเฉาเหริน (曹仁 โจหยิน) ที่กำลังโดนกวนอฺวี่ (關羽 กวนอู) ปิดล้อมอยู่ แต่เฉาจื๋อดื่มสุราจนเมามายจนทำหน้าที่ไม่ได้ ทำให้เฉาเชาเสียใจมากและต้องยกเลิกคำสั่งเสีย จดหมายเหตุเว่ยซื่อชุนชิว《魏氏春秋》ระบุว่าเพราะถูกเฉาพีมอมเหล้า
เมื่อเฉาพีขึ้นเป็นเว่ยหวัง (วุยอ๋อง) ก็จับติงอี๋ ติงอี้ รวมถึงครอบครัวที่เป็นชายทั้งหมดประหาร แล้วเริ่มใช้นโยบายควบคุมเชื้อพระวงศ์อย่างเข้มงวด ให้กลับไปอยู่ที่รัฐศักดินาของตนเองทั้งหมด
รัชศกหวงชูปีที่สอง (ค.ศ. 221) หลังเฉาพีเป็นฮ่องเต้ ก้วนจวิน (灌均) ข้าหลวงผู้คุมรัฐศักดินา (監國謁者) ต้องการเอาใจเฉาพี จึงรายงานขึ้นมาว่า เฉาจื๋อเมาสุราทำกิริยาหยิ่งผยองใช้อำนาจบาตรใหญ่ข่มขู่ผู้แทนพระองค์ จึงต้องโทษ แต่เพราะนางเปี้ยนซื่อซึ่งเป็นมารดาขอไว้ จึงเพียงแต่ลดบรรดาศักดิ์เป็นอันเซียงโหว (安鄉侯) ต่อมาย้ายไปอยู่ที่เมืองจ้วนเฉิง (鄄城) ให้มีบรรดาศักดิ์เป็นจ้วนเฉิงโหว (鄄城侯) ในเวลานั้นเฉาพียกน้องชายขึ้นเป็นหวัง/อ๋อง (王) หรือ กง (公) หลายคน มีแต่เฉาจื๋อที่ยังคงเป็นโหวอยู่ตามเดิม
รัชศกหวงชูปีที่สาม (ค.ศ. 222) เฉาจื๋อได้เลื่อนเป็นจ้วนเฉิงหวัง (鄄城王) กินศักดินาเพียง 2,500 ครัวเรือน
ในเวลานั้นเชื้อพระวงศ์ของวุยก๊กที่เป็น จูโหว และ อ๋อง มีแต่ชื่อแต่ไร้อำนาจ ในรัฐศักดินามีแต่ทหารแก่ร้อยคนเป็นองครักษ์ อยู่ห่างราชธานีพันลี้ ห้ามเข้าราชสำนัก มีขุนนางตำแหน่งฝางฝู่ (防輔) และ เจียนกั๋ว (監國) คอยจับตามองอย่างใกล้ชิด ดังนั้นสถานะของเชื้อพระวงศ์จึงไม่ต่างจากสามัญชนเลย เชื้อพระวงศ์เหล่านี้อยากจะกลายเป็นสามัญชนจริงๆ ก็ไม่ได้ กฎหมายเข้มงวดรุนแรง มีรายงานการกระทำผิดของเชื้อพระวงศ์ทุกวัน
เฉากุ่น (曹衮) ลูกเฉาเชา เป็นเป่ยไห่หวัง (北海王) เป็นคนรอบคอบและรักการเรียนไม่เคยกระทำความผิด อาลักษณ์ประจำตัวเฉากุ่นซึ่งเป็นฝางฝู่ เห็นว่าตนได้รับราชโองการให้จับตาการกระทำของอ๋อง ถ้ามีความผิดควรรายงาน แต่ถ้ามีความดีก็สมควรรายงานให้รับรู้เช่นกัน จึงได้รายงานความดีงามของเฉากุ่นไปยังราชสำนัก เมื่อเฉากุ่นรู้ก็ตกใจกลัวมาก จึงบอกกับอาลักษณ์ว่าตัวเองอยากอยู่อย่างเจียมตัว ถ้าไปกราบทูลให้ทราบยิ่งสร้างปัญหาให้ตัวเองมากขึ้นไปอีก นี่คือสภาพเชื้อพระวงศ์ในเวลานั้น
รัชศกหวงชูปีที่สี่ (ค.ศ. 233) เฉาจื๋อถูกย้ายไปกินอำเภอยงชิว (雍丘) มีบรรดาศักดิ์ยงชิวหวัง (雍丘王) ในปีนั้น เฉาพีเรียกอ๋องเชื้อพระวงศ์ให้เดินทางมาเมืองหลวง เฉาจื๋อจึงได้มีโอกาสพบกับพี่น้องอีกครั้ง
จดหมายเหตุเว่ยซื่อชุนชิวระบุว่า ครั้งนั้นเฉาจาง (曹彰 โจเจียง) เกิดเสียชีวิตอย่างกะหันทัน บรรดาอ๋องจึงถูกสั่งให้กลับรัฐศักดินา เฉาจื๋อกับน้องชายคือเฉาเปียว (曹彪) ซึ่งเป็นไป๋หม่าหวัง (白馬王) อยากใช้เส้นทางเดียวกันกลับไปทางตะวันออก แต่ข้าหลวงคุมรัฐศักดินาไม่ยอม เฉาจื๋อโกรธมาก จึงแต่งบทกวีถึงเฉาเปียวแสดงความเจ็บปวดที่พี่น้องถูกบีบให้พลัดพรากจากกัน ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นบทกวีที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเฉาจื๋อ
รัชศกหวงชูปีที่หก (ค.ศ. 225) เฉาพียกทัพไปตีรัฐอู๋ (ง่อก๊ก) ขากลับผ่านอำเภอยงชิว จึงแวะพักที่วังเฉาจื๋อ เหมือนว่าความสัมพันธ์พี่น้องจะดีขึ้นเล็กน้อย เพราะเฉาจื๋อได้เพิ่มศักดินาอีก 500 ครัวเรือน แต่หลังจากนั้นหนึ่งปีเฉาพีก็สวรรคต เฉารุ่ย (曹叡 โจยอย) โอรสได้ครองราชย์แทน
รัชศกไท่เหอปีที่หนึ่ง (ค.ศ. 227) เฉาจื๋อถูกสั่งให้ย้ายไปกินอำเภอจวินอี้ (浚儀) มีบรรดาศักดิ์จวินอี้หวัง (浚儀王) ปีถัดมาก็ถูกย้ายกลับมาเมืองยงชิวตามเดิม บ่อยครั้งที่เฉาจื๋อเสียใจที่ไม่ได้ใช้ความสามารถ จึงถวายฎีกาไปถึงเฉารุ่ยบอกเล่าความสามารถของตนเพื่อขอโอกาสพิสูจน์ตนเอง แต่ก็ถูกปฏิเสธ
รัชศกไท่เหอปีที่สาม (ค.ศ. 229) เฉาจื๋อถูกย้ายไปกินอำเภอตงเออ (東阿) มีบรรดาศักดิ์ตงเออหวัง (東阿王)
รัชศกไท่เหอปีที่ห้า (ค.ศ. 231) เฉาจื๋อถวายฎีกาขอให้เชื้อพระวงศ์ได้มีส่วนร่วมในราชการ เฉารุ่ยก็ตอบว่าเห็นว่าเชื้อพระวงศ์ถูกจำกัดอำนาจเกินไปจริง และทรงตำหนิขุนนางที่พยายามกีดกันอำนาจเชื้อพระวงศ์ เฉาจื๋อเห็นว่าเฉารุ่ยเห็นดีเห็นงาม ก็เลยส่งจดหมายพยายามแนะนำราชการงานเมืองไปหลายฉบับ เฉารุ่ยก็ตอบกลับอย่างสุภาพ แต่ก็ไม่ได้ให้เฉาจื๋อมารับราชการแต่อย่างใด
รัชศกไท่เหอปีที่หก (ค.ศ. 232) เดือนหนึ่ง เฉารุ่ยมีราชโองการเรียกให้บรรดาเชื้อพระวงศ์เข้าเฝ้า ต่อมาในเดือนสองจึงทรงตั้งเฉาจื๋อเป็นเฉินหวัง (陳王) หรืออ๋องแห่งรัฐเฉิน มอบสี่อำเภอในจังหวัดเฉินให้เป็นส่วย มีศักดินารวม 3,500 ครัวเรือน ในช่วงเวลาที่ได้อยู่ในเมืองหลวง เฉาจื๋อพยายามหาโอกาสเข้าเฝ้าเพื่อได้ปรึกษาราชการหลายครั้ง แต่ไม่เคยได้รับการตอบรับ
แม้ว่าจะเป็นอ๋อง แต่สถานะของเฉาจื๋อในตอนนั้นก็ไม่ได้มีความเป็นอยู่ที่ดีเลยตามนโยบายจำกัดอำนาจเชื้อพระวงศ์ ตามกฎมีแต่การส่งคนไร้ความสามารถมาเป็นข้ารับใช้ และให้มีแต่ทหารคุ้มกันชราทุพพลภาพไม่เกิน 200 นาย ในขณะที่เฉาจื๋อได้รับทุกอย่างเพียงครึ่งเดียว ในช่วงเวลา 11 ปีก็ถูกย้ายเมืองส่วยสามครั้ง ไม่มีโอกาสซ่องสุมอำนาจหรือติดต่อกับมิตรสหาย ทำให้เฉาจื๋อต้องอยู่อย่างเป็นทุกข์ จนตรอมใจตายขณะมีอายุ 41 ปี เหลือแต่บทกวีที่แต่งขึ้นที่สะท้อนปณิธานของตนเองที่อยากทำงานเพื่อบ้านเมืองเท่านั้น
หลังจากตายไปแล้ว เฉาจื๋อจึงได้รับพระราชทานนามย้อนหลังเป็น เฉินซือหวัง (陳思王) หรือ อ๋องแห่งเฉินผู้คิดคำนึง
แสดงความคิดเห็น
ขอทราบประวัติของโจสิด หน่อยครับ [ 3 ก๊ก ]
ด้านปัญญาถือว่ามีปัญญามาก กลอน7ก้าวหากไม่ใช้อัจฉริยะจริงๆทำไม่ได้แน่
มีเวลาให้คิดอึดใจเดียวหากพลาดขึ้นมาต้องโทษประหาร นั้นแปลว่าโจสิดต้องเป็นผู้ที่ใจเข้มแข็งมาก
เหตุใดนอกจากแต่งกลอนไม่ช่วยงานบิดาบ้างครับ ทั้งเป็นกุนซือกับช่วยวางแผนการรบ
สาเหตุที่แต่งตั้งโจผีเป็นรัชทายาท เพราะโจสิดมีผลงานแค่กลอนใช่ไหมครับ
หากโจสิดมีผลงานการรบบ้าง ตำแหน่งรัชทายาทก็อยู่ไม่ไกล เพราะโจโฉรักที่สุด
วุยก๊กอาจเปลียนจากก๊กที่มุ่งแต่ทำสงคราม มาเป็นก๊กที่เป็นมิตรกับทุกก๊กก็ได้