จากกระทู้ข้างล่างนี้
http://ppantip.com/topic/30178878/comment22-3
มีเรื่องราวแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับ ล้อ 700c กับล้อ 26 นิ้ว
ผมคิดว่า น่าสนใจ สำหรับผู้ที่จะตัดสินใจใช้ล้อขนาดไหน ระหว่างสองขนาดที่ว่านี้
(ล้อ 650 ผมออกความเห็นไม่ได้ครับ เพราะไม่เคยใช้)
ผมเองใช้รถจักรยาน เป็นพาหนะแทนรถยนต์ และ ชอบขี่จักรยานท่องเที่ยวแบบทัวริ่ง
แต่ละปี ระยะทางการขี่จักรยานของผม จะประมาณ 10,000-12,000 กม/ปี
แต่ละทริป เดินทางแต่ละทริป มีหลายระยะทาง ตั้งแต่ 400-500 กม ไปจนถึง 2,000-2,500 กม/ทริป
ส่วนเส้นทางก็แตกต่างกันออกไป ทางเรียบบ้าง ทางขึ้นเขาลงห้วยบ้าง
ลุยป่าลุยโคลนก็มีพอสมควร ก็เลยคิดว่าน่าจะเอาประสบการณ์ที่ผ่านมาแบ่งๆกัน
สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกจักรยาน "เพื่อขี่แบบทัวริ่ง" สักคัน
(ผมไม่ใช้คำว่าจักรยานทัวริ่ง แต่ผมใช้คำว่า ขี่แบบทัวริ่ง เพราะจักรยานหลายๆแบบสามารถเอามาขี่แบบทั่วริ่งได้)
จักรยานคันนี้ เป็นเสือภูเขาล้อตะเกียบ เฟรมเป็นโครโมลี
ล้อ 26 นิ้ว ยางที่ใช้เล็กมาก คือ Panaracer Pacela 26x1.25
เส้นทางกรุงเทพ-ห้วยขาแข้ง ไปกลับ ประมาณ 800 กม เดินทางคนเดียว
การเดินทางใช้ทางหลวงสายหลัก จากสุพรรณบุรี ไปด่านช้าง บ้านไร่ ลานสัก
บางช่วง เป็นถนนลูกรัง มีหินลอย และทางเป็นร่องน้ำ
ทางหลวงสายหลักมีเนินชันอยู่พอสมควรแต่ไม่ชันมาก
เรียกว่าเป็นความสูงชันตามภูมิประเทศ ไม่ต้องถึงกับขึ้นเขางัดเนินมากนัก
ผมไม่ใช้แฮนด์หมอบ แต่ผมใช้บาร์เอน แบบเขาควาย
การขี่ทั่วริ่งทางไกลแบบของผม มีวิธีการง่ายๆ ก็คือ
กินก่อนที่จะรู้สึกหิว
ดื่มน้ำก่อนที่จะรู้สึกกระหาย
จอดพักก่อนที่จะรู้สึกอ่อนหล้าหมดแรง
ตลอดเส้นทาง ไม่เคยมือชา เพราะไม่เคยขี่นานจนกระทั่งถึงช่วงเวลามือชา
อาการมือชาบางท่านคิดว่ามาจากตำแหน่งที่ก้มและกดแฮนด์มากเกินไป
อันนี้เรื่องจริง แต่ไม่ทั้งหมด อาการมือชา สาเหตุหลักๆมาจากการบีบแฮนด์แน่นและนานเกินไป
จนเลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงที่มือไม่พอ วิธีการก็คือ กำแฮนด์แต่หลวมๆ พอประคองๆ ไปเท่านั้น
ตลอดเส้นทางไม่มีการเจ็บก้น เพราะไม่เคยขี่จนถึงช่วงเจ็บก้นเลย เพราะจะจอดพักเสียก่อน
อาการเจ็บก้นหลายทานคิดว่ามากจาการเลือกเบาะไม่ถูก หรือไม่เหมาะสม
อันนี้เรื่องจริง แต่ก็ไม่ทั้งหมด อาการเจ็บก้น มักจะเกิดกับการเซ็ทรถให้ตำแหน่งรวมของน้ำหนัก
อยู่ที่อานหรือหลักอาน แฮนด์ยกสูงๆ ทำให้การถ่ายน้ำหนัก ลงมาอยู่ด้านหลังมาก
พื้นที่รับน้ำหนักก็คือ ก้นของเราเอง ขี่ไปสักพักก็จะเจ็บหรือชา วิธีแก้ไขก็คือ
ปรับตำแหน่งการขี่หรือการนั่งให้ก้มลงพอสมควร เป็นแบบกึ่งแข่งๆขัน น้ำหนักจะกระจายออกไปที่
สเตมและแฮนด์ บ้าง ทำให้ชลอการเจ็บก้นลง แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาการนั่งบนอานด้วย
ถ้าอยู่บนอานติดต่อกัน 2-3 ชั่วโมง ยังไงมันก็เจ็บ (มากหรือน้อยแล้วแต่ใครตรูดหนากว่ากัน)
วิธีการแก้เจ็บตรูดของการขี่ทัวริ่งก็คือ จอดให้ตรูดได้พักผ่อน ก่อนจะเจ็บ
ป.ล.กด Tag จักรยาน แต่มีศุภชลาศัย ติดมาด้วย
ไม่ได้ตั้งกระทู้ในห้อง ศุภฯ ครับ
รถจักรยานสำหรับขี่ทัวริ่ง ล้อ 700c หรือ ล้อ 26 นิ้ว
http://ppantip.com/topic/30178878/comment22-3
มีเรื่องราวแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเกี่ยวกับ ล้อ 700c กับล้อ 26 นิ้ว
ผมคิดว่า น่าสนใจ สำหรับผู้ที่จะตัดสินใจใช้ล้อขนาดไหน ระหว่างสองขนาดที่ว่านี้
(ล้อ 650 ผมออกความเห็นไม่ได้ครับ เพราะไม่เคยใช้)
ผมเองใช้รถจักรยาน เป็นพาหนะแทนรถยนต์ และ ชอบขี่จักรยานท่องเที่ยวแบบทัวริ่ง
แต่ละปี ระยะทางการขี่จักรยานของผม จะประมาณ 10,000-12,000 กม/ปี
แต่ละทริป เดินทางแต่ละทริป มีหลายระยะทาง ตั้งแต่ 400-500 กม ไปจนถึง 2,000-2,500 กม/ทริป
ส่วนเส้นทางก็แตกต่างกันออกไป ทางเรียบบ้าง ทางขึ้นเขาลงห้วยบ้าง
ลุยป่าลุยโคลนก็มีพอสมควร ก็เลยคิดว่าน่าจะเอาประสบการณ์ที่ผ่านมาแบ่งๆกัน
สำหรับผู้ที่กำลังตัดสินใจเลือกจักรยาน "เพื่อขี่แบบทัวริ่ง" สักคัน
(ผมไม่ใช้คำว่าจักรยานทัวริ่ง แต่ผมใช้คำว่า ขี่แบบทัวริ่ง เพราะจักรยานหลายๆแบบสามารถเอามาขี่แบบทั่วริ่งได้)
จักรยานคันนี้ เป็นเสือภูเขาล้อตะเกียบ เฟรมเป็นโครโมลี
ล้อ 26 นิ้ว ยางที่ใช้เล็กมาก คือ Panaracer Pacela 26x1.25
เส้นทางกรุงเทพ-ห้วยขาแข้ง ไปกลับ ประมาณ 800 กม เดินทางคนเดียว
การเดินทางใช้ทางหลวงสายหลัก จากสุพรรณบุรี ไปด่านช้าง บ้านไร่ ลานสัก
บางช่วง เป็นถนนลูกรัง มีหินลอย และทางเป็นร่องน้ำ
ทางหลวงสายหลักมีเนินชันอยู่พอสมควรแต่ไม่ชันมาก
เรียกว่าเป็นความสูงชันตามภูมิประเทศ ไม่ต้องถึงกับขึ้นเขางัดเนินมากนัก
ผมไม่ใช้แฮนด์หมอบ แต่ผมใช้บาร์เอน แบบเขาควาย
การขี่ทั่วริ่งทางไกลแบบของผม มีวิธีการง่ายๆ ก็คือ
กินก่อนที่จะรู้สึกหิว
ดื่มน้ำก่อนที่จะรู้สึกกระหาย
จอดพักก่อนที่จะรู้สึกอ่อนหล้าหมดแรง
ตลอดเส้นทาง ไม่เคยมือชา เพราะไม่เคยขี่นานจนกระทั่งถึงช่วงเวลามือชา
อาการมือชาบางท่านคิดว่ามาจากตำแหน่งที่ก้มและกดแฮนด์มากเกินไป
อันนี้เรื่องจริง แต่ไม่ทั้งหมด อาการมือชา สาเหตุหลักๆมาจากการบีบแฮนด์แน่นและนานเกินไป
จนเลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงที่มือไม่พอ วิธีการก็คือ กำแฮนด์แต่หลวมๆ พอประคองๆ ไปเท่านั้น
ตลอดเส้นทางไม่มีการเจ็บก้น เพราะไม่เคยขี่จนถึงช่วงเจ็บก้นเลย เพราะจะจอดพักเสียก่อน
อาการเจ็บก้นหลายทานคิดว่ามากจาการเลือกเบาะไม่ถูก หรือไม่เหมาะสม
อันนี้เรื่องจริง แต่ก็ไม่ทั้งหมด อาการเจ็บก้น มักจะเกิดกับการเซ็ทรถให้ตำแหน่งรวมของน้ำหนัก
อยู่ที่อานหรือหลักอาน แฮนด์ยกสูงๆ ทำให้การถ่ายน้ำหนัก ลงมาอยู่ด้านหลังมาก
พื้นที่รับน้ำหนักก็คือ ก้นของเราเอง ขี่ไปสักพักก็จะเจ็บหรือชา วิธีแก้ไขก็คือ
ปรับตำแหน่งการขี่หรือการนั่งให้ก้มลงพอสมควร เป็นแบบกึ่งแข่งๆขัน น้ำหนักจะกระจายออกไปที่
สเตมและแฮนด์ บ้าง ทำให้ชลอการเจ็บก้นลง แต่ทั้งนี้ก็ต้องขึ้นอยู่กับระยะเวลาการนั่งบนอานด้วย
ถ้าอยู่บนอานติดต่อกัน 2-3 ชั่วโมง ยังไงมันก็เจ็บ (มากหรือน้อยแล้วแต่ใครตรูดหนากว่ากัน)
วิธีการแก้เจ็บตรูดของการขี่ทัวริ่งก็คือ จอดให้ตรูดได้พักผ่อน ก่อนจะเจ็บ
ป.ล.กด Tag จักรยาน แต่มีศุภชลาศัย ติดมาด้วย
ไม่ได้ตั้งกระทู้ในห้อง ศุภฯ ครับ