ประกาศ กสทช. กับประเด็นเรื่อง วันหมดอายุระบบเติมเงิน

เมื่อตอนสายๆ ได้อ่านข่าว ข้อสรุประหว่าง กสทช. กับ 3 ค่ายมือถือ เรื่องวันหมดอายุของบัตรเติมเงิน
เลยเข้ามาหากระทู้ในพันทิป คิดว่าน่าจะมีใครตั้งไว้แล้ว แต่ก็ไม่มี (หรือผมหาไม่เจอ) ก็เลยตั้งเองละกัน


หลังจาก กสทช. ได้มีคำสั่งให้ AIS, Dtac และ Truemove ห้ามกำหนดวันหมดอายุของบัตรเติมเงินตั้งแต่วันที่ 30 พ.ค. 2555 หากไม่ปฏิบัติตามจะต้องเสียค่าปรับให้กับทาง กสทช. ซึ่งทางสามค่ายก็ได้ออกมาชี้แจงถึงปัญหาทางด้านเทคนิคทำให้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขของทาง กสทช. ได้ ดังนั้นจึงทั้งสามค่ายจึงยื่นคำขอกับทาง กสทช.เพื่อขอความเห็นชอบต่อการกำหนดวันหมดอายุของบัตรเติมเงินได้

จากเหตุผลที่ผู้ให้บริการไม่สามารถจัดการให้บัตรเติมเงินไม่มีวันหมดวันหมดอายุได้เนื่องจาก

1. จำเป็นต้องเสียเงินค่าธรรมเนียมเลขหมายโทรคมนาคมให้กับ กสทช.เดือนละ 1.07 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน

2. หากบัตรเติมเงินไม่มีการกำหนดวันหมดอายุ แล้วผู้ใช้บริการหมายเลขนั้นไม่มีการใช้งาน ไม่มีการเติมเงินเลย ต้นทุนจะตกเป็นภาระของผู้ให้บริการ

3. ถ้าไม่กำหนดวันหมดอายุจะไม่สามารถนำเลขหมายกลับไปหมุนเวียนใช้งานใหม่ได้ ทำให้ต้องจัดสรรหมายเลขใหม่เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ

ข้อมูลล่าสุดพบว่าในปัจจุบันประเทศไทยมีหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ 118 ล้านเลขหมาย แต่มีผู้ใช้จริงเพียง 83 ล้านเลขหมาย ที่หายไปกว่า 20 ล้านเลขหมายนับเป็นการสิ้นเปลืองทรัพยากรของชาติเป็นอย่างมาก ดังนั้นทาง กสทช.จึงมีข้อสรุปต่อการยื่นเรื่องขอความเห็นชอบจากทั้ง AIS, DTAC และTruemove ว่า

1. ไม่ว่าจะเติมเงินในราคาเท่าใด แม้กระทั่งต่ำสุด 10 บาท จะต้องมีวันใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 30 วัน
2. เมื่อเติมเงินไปแล้วจะเพิ่มกับจำนวนวันที่มีอยู่ รวมถึงเพิ่มระยะเวลาการสะสมวันสูงสุด 365 วัน
3. เมื่อบอกเลิกสัญญาหรือยกเลิกการใช้หมายเลขนั้นๆ ผู้ให้บริการจะต้องคืนเงินค่าบริการที่คงเหลืออยู่ในระบบให้แก่ผู้ใช้บริการ ทั้งนี้ผู้ให้บริการอาจกำหนดเงื่อนไขให้สามารถโอนเงินค่าบริการที่ชำระล่วงหน้าไว้ไปยังเลขหมายอื่นที่อยู่ในโครงข่ายเดียวกันได้
4. หากผู้ใช้บริการพบว่า เมื่อมีการเติมเงินแล้วยังไม่เข้าเงื่อนไขที่กล่าวไป 3 ข้อ สามารถแจ้งไปยังค่ายมือถือที่คุณใช้ หรือร้องเรียนกับ กสทช.ได้ที่เบอร์ 1200

สำหรับการประกาศใช้เงื่อนไขตามที่ กสทช. กำหนดออกมาจากทั้ง AIS, DTAC และ Truemove น่าจะมีออกมาในเร็วๆนี้ และเชื่อว่าเงื่อนไขที่ กสทช. กำหนดออกมาน่าจะมีผู้ใช้บริการหรืออีกหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องออกมาตั้งคำถามถึงข้อดีข้อเสียต่อวิธีปฏิบัติในการครั้งนี้แน่นอน


ที่มา
http://www.arip.co.th/news.php?id=416339
http://hitech.sanook.com/1235323/%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B8/

ผมมองว่า กสทช. ก็ยังแก้ปัญหาแบบอวยให้ค่ายมือถืออยู่ดี

1. ไม่ว่าจะเติมเงินในราคาเท่าใด แม้กระทั่งต่ำสุด 10 บาท จะต้องมีวันใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 30 วัน
2.  เมื่อเติมเงินไปแล้วจะเพิ่มกับจำนวนวันที่มีอยู่ รวมถึงเพิ่มระยะเวลาการสะสมวันสูงสุด 365 วัน
#ถ้าจะให้แฟร์ กันทั้งสองฝ่าย ก็ไม่ต้องมีวันสูงสุด พูดง่ายๆ คือ เติมเท่าไร ก็สะสมไปได้เท่านั้น แต่นี่ เพิ่มจำนวนวันให้ แต่ถ้าถึงจำนวนวันสูงสุด เติมเท่าไรก็ไม่ได้วันซะงั้น ดังนั้น จำนวนวันที่เพิ่มก็ไม่มีประโยชน์ เมื่อมีการกำหนดวันสูงสุดไว้

และในส่วนของคำชี้แจงของค่ายมือถือ

2. หากบัตรเติมเงินไม่มีการกำหนดวันหมดอายุ แล้วผู้ใช้บริการหมายเลขนั้นไม่มีการใช้งาน ไม่มีการเติมเงินเลย ต้นทุนจะตกเป็นภาระของผู้ให้บริการ
#ถ้าหมายเลขที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเลย จะปิดก็ได้ครับ แต่ก็ควรจะมีกฎที่สมเหตุสมผลกว่านี้ เช่น
- หมายเลขไม่มีการโทรเข้าโทรออกเลย ใน 60 (หรือ 90) วัน และ
- หมายเลขมียอดเงินคงเหลือน้อยกว่า 10 บาท (นับเอาจากค่าเติมเงินที่ต่ำที่สุด)
หมายเลขที่เข้าเงื่อนไขนี้ ก็สามารถปิดได้เลย โดยไม่คืนเงิน ซึ่งทางผู้บริการก็จะแบกภาระแค่ 2-3 เดือน คิดเป็นเงิน 2.17-3.21 บาท (ซึ่งบางหมายเลขก็อาจจะมีเงินเหลือมากกว่าที่แบกรับไว้ ถ้าไม่มี ก็ถือว่าเฉลี่ยๆ กันไป ถ้าไม่พอก็รับภาระบ้าง แค่นี้คงไม่ทำให้บริษัทขาดทุนหรอกมั้ง)

ตอนนี้ผมใช้รายเดือนอยู่ ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรกับเรื่องนี้ แต่รู้สึกไม่พอใจการทำงานของ กสทช. ที่ไม่ได้ช่วยผู้บริโภคเท่าไรเลย รวมทั้งข้ออ้างของค่ายมือถือด้วย ตอนผมเปลี่ยนจากเติมเงินมาเป็นรายเดือน ก็มีเงินบางส่วนที่หายไปฟรีๆ 10 กว่าบาท ผมยังไม่คิดอะไรมากเลย คุณจะแบกภาระบ้าง 1.07 บาท ทำเป็นเรื่องเยอะ เงินที่ได้ไปฟรีๆ นั่น ก็แบกภาระส่วนนี้ได้เกือบปีเลยนะครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่