พอดีเห็นมีการแชร์กันใน Facebook
จากเว็ป
http://www.phranakornsarn.com/sukhumbhand/516.html
กรุงเทพโคตรโกงกับโครงการสุดเงียบกริบ “พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 2” ใช้งบก่อสร้างประมาณ 300 ล้านบาท สร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ 2550 แต่ยังไม่เคยมีการเปิดให้บริการและในขณะเดียวกัน พิพิธภัณฑ์เด็กแห่งแรก ถูกปิดปรับปรุงไม่มีกำหนดมากว่า 3ปี
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เด็กในกรุงเทพฯ มีอยู่ 2 แห่ง แห่งแรกตั้งอยู่ที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เขตจตุจักร บนพื้นที่ 7 ไร่ ประกอบด้วยอาคารนิทรรศการ 4 หลัง มีพื้นที่ให้บริการรวมกันถึง 9,000 ตารางเมตร และพื้นที่นอกอาคารอีก 3,000 ตารางเมตร ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี 2544 ส่วนแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ มีพื้นที่ภายในอาคาร 9,779.78 ตารางเมตร พื้นที่ภายนอกอาคารและพื้นที่ต่อเนื่อง 4,242.14 ตารางเมตร และสระน้ำข้างอาคารอีก 4,451.16 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 18,473.08 ตารางเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2550 แต่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการเปิดใช้อย่างเป็นทางการ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เคยประกาศปิดปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็กแห่งแรก(จตุจักร) เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2553 ซึ่งตรงกับวันเด็ก พร้อมกับกล่าวว่า จะเปิดให้บริการอีกครั้งในวันเด็กปี 2554 แต่เมื่อวันเด็กปี 2554 ผ่านไป พิพิธภัณฑ์เด็กที่พ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กรอคอยก็ยังคงปิดตัวต่อไป โดยไม่มีวี่แววของการปรับปรุงใด ๆ ต่อมา มีป้ายนำมาติดที่รั้วของพิพิธภัณฑ์เด็ก บริเวณฝั่งตรงข้ามกับตลาดนัดซันเดย์ว่า จะเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน 2555 แต่ประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยเดิม เพราะข้ามวันเด็กมาจนปี 2556 แล้ว พิพิธภัณฑ์เด็กก็ยังปิดตัวชนิดไม่รู้วันเปิด
ขณะเดียวกัน พิพิธภัณฑ์เด็กที่ทุ่งครุสร้างเสร็จปี 2550 แต่ยังไม่สามารถเปิดใช้เป็นทางการ เพราะไม่มีผู้บริหารจัดการ หาคนไม่ได้ ทาง กทม. เคยทำหนังสือไปถึงมูลนิธิพิพิธภัณฑ์เด็กให้มาบริหารจัดการที่นี่ แต่ทางมูลนิธิฯ ก็ปฏิเสธเพราะไม่มีกำลังคน ไม่มีทุน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ ก็เลยต้องหยุดโดยสิ้นเชิง
ทั้งที่ไม่เคยเปิดให้บริการ แต่พบว่าปัจจุบันทาง กทม. กลับมีการเบิกเงินทำการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็กทุ่งครุ โดยมีการลงนามว่าจ้างบริษัท สยามไพศาลกิจ ให้เป็นผู้ปรับปรุง เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2555 วงเงินประมาณ 20 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาการปรับปรุง 310 วัน หรือแล้วเสร็จกลางปี 2556
นายมานิต เตชอภิโชค ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กล่าวว่า “พิพิธภัณฑ์ที่ทุ่งครุเกิดการชำรุด และถูกร้องเรียนว่าไม่มีความปลอดภัย อย่างราวบันไดบอบบางมาก ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านคือ ไม่รู้ว่ามันได้สเป็คหรือเปล่า แล้วมันก็เกิดรอยร้าว ทางกทม.จึงตัดสินใจรีโนเวท (ปรับปรุง)” ถามต่อว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว นายมานิตกล่าวว่า “ไม่รู้ว่ามันได้สเป็คหรือเปล่า” ไม่มีคำอธิบายมากกว่านี้
แหล่งข่าวในกทม.กล่าวว่า การก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เด็ก ทุ่งครุ ได้ว่าจ้างบริษัท เอกค้าไทย จำกัด รับผิดชอบการก่อสร้างอาคาร ส่วนบริษัท Pico (Thailand) จำกัด รับผิดชอบในส่วนของชุดนิทรรศการ ณ ขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของ กองนันทนาการ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กทม. ซึ่งดูแลในส่วนของศูนย์เยาวชน แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการรบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ จึงทำการติดต่อไปยังมูลนิธิพิพิธภัณฑ์เด็ก ให้มาเป็นผู้บริหารจัดการ แต่ทางมูลนิธิปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าวัสดุที่นำมาใช้ทำเครื่องเล่นและชุดนิทรรศการไม่มีความมั่นคง และไม่มีคุณภาพ ประการที่ 2 คือนิทรรศการการเรียนรู้ไม่ตอบโจทย์ จึงไม่สนใจ
“ถ้าเป็นภาคเอกชนที่ดูไม่ออก เขาคงตะครุบรับ เพราะได้ตึกใหม่ ได้ทุกอย่างใหม่ ไม่ต้องเสียเงิน แต่เอกชนรายนั้นไม่รับ เพราะเขาดูก็รู้ว่าต้องเอาเด็กเข้าโรงพยาบาลตลอด เพราะมันไม่ปลอดภัยเลย”
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ใครเคยไป หรืออยู่แถวนั้นบ้างครับ ขอข้อมูลหน่อย
พิพิธภัณฑ์เด็กดัมมี่ 300 ล้านบาท อันนี้จริงหรือเปล่าครับ
จากเว็ป http://www.phranakornsarn.com/sukhumbhand/516.html
กรุงเทพโคตรโกงกับโครงการสุดเงียบกริบ “พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครแห่งที่ 2” ใช้งบก่อสร้างประมาณ 300 ล้านบาท สร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ 2550 แต่ยังไม่เคยมีการเปิดให้บริการและในขณะเดียวกัน พิพิธภัณฑ์เด็กแห่งแรก ถูกปิดปรับปรุงไม่มีกำหนดมากว่า 3ปี
ปัจจุบันพิพิธภัณฑ์เด็กในกรุงเทพฯ มีอยู่ 2 แห่ง แห่งแรกตั้งอยู่ที่สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เขตจตุจักร บนพื้นที่ 7 ไร่ ประกอบด้วยอาคารนิทรรศการ 4 หลัง มีพื้นที่ให้บริการรวมกันถึง 9,000 ตารางเมตร และพื้นที่นอกอาคารอีก 3,000 ตารางเมตร ก่อสร้างเสร็จเมื่อปี 2544 ส่วนแห่งที่ 2 ตั้งอยู่ที่ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ แขวงบางมด เขตทุ่งครุ มีพื้นที่ภายในอาคาร 9,779.78 ตารางเมตร พื้นที่ภายนอกอาคารและพื้นที่ต่อเนื่อง 4,242.14 ตารางเมตร และสระน้ำข้างอาคารอีก 4,451.16 ตารางเมตร รวมพื้นที่ 18,473.08 ตารางเมตร ก่อสร้างแล้วเสร็จตั้งแต่ปี 2550 แต่ถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีการเปิดใช้อย่างเป็นทางการ
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เคยประกาศปิดปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็กแห่งแรก(จตุจักร) เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มกราคม 2553 ซึ่งตรงกับวันเด็ก พร้อมกับกล่าวว่า จะเปิดให้บริการอีกครั้งในวันเด็กปี 2554 แต่เมื่อวันเด็กปี 2554 ผ่านไป พิพิธภัณฑ์เด็กที่พ่อแม่ผู้ปกครองและเด็กรอคอยก็ยังคงปิดตัวต่อไป โดยไม่มีวี่แววของการปรับปรุงใด ๆ ต่อมา มีป้ายนำมาติดที่รั้วของพิพิธภัณฑ์เด็ก บริเวณฝั่งตรงข้ามกับตลาดนัดซันเดย์ว่า จะเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน 2555 แต่ประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอยเดิม เพราะข้ามวันเด็กมาจนปี 2556 แล้ว พิพิธภัณฑ์เด็กก็ยังปิดตัวชนิดไม่รู้วันเปิด
ขณะเดียวกัน พิพิธภัณฑ์เด็กที่ทุ่งครุสร้างเสร็จปี 2550 แต่ยังไม่สามารถเปิดใช้เป็นทางการ เพราะไม่มีผู้บริหารจัดการ หาคนไม่ได้ ทาง กทม. เคยทำหนังสือไปถึงมูลนิธิพิพิธภัณฑ์เด็กให้มาบริหารจัดการที่นี่ แต่ทางมูลนิธิฯ ก็ปฏิเสธเพราะไม่มีกำลังคน ไม่มีทุน ทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ ก็เลยต้องหยุดโดยสิ้นเชิง
ทั้งที่ไม่เคยเปิดให้บริการ แต่พบว่าปัจจุบันทาง กทม. กลับมีการเบิกเงินทำการปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็กทุ่งครุ โดยมีการลงนามว่าจ้างบริษัท สยามไพศาลกิจ ให้เป็นผู้ปรับปรุง เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2555 วงเงินประมาณ 20 ล้านบาท ใช้ระยะเวลาการปรับปรุง 310 วัน หรือแล้วเสร็จกลางปี 2556
นายมานิต เตชอภิโชค ผู้อำนวยการสำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กล่าวว่า “พิพิธภัณฑ์ที่ทุ่งครุเกิดการชำรุด และถูกร้องเรียนว่าไม่มีความปลอดภัย อย่างราวบันไดบอบบางมาก ถ้าพูดตามภาษาชาวบ้านคือ ไม่รู้ว่ามันได้สเป็คหรือเปล่า แล้วมันก็เกิดรอยร้าว ทางกทม.จึงตัดสินใจรีโนเวท (ปรับปรุง)” ถามต่อว่าทำไมจึงเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว นายมานิตกล่าวว่า “ไม่รู้ว่ามันได้สเป็คหรือเปล่า” ไม่มีคำอธิบายมากกว่านี้
แหล่งข่าวในกทม.กล่าวว่า การก่อสร้างพิพิธภัณฑ์เด็ก ทุ่งครุ ได้ว่าจ้างบริษัท เอกค้าไทย จำกัด รับผิดชอบการก่อสร้างอาคาร ส่วนบริษัท Pico (Thailand) จำกัด รับผิดชอบในส่วนของชุดนิทรรศการ ณ ขณะนั้นอยู่ในความรับผิดชอบของ กองนันทนาการ สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กทม. ซึ่งดูแลในส่วนของศูนย์เยาวชน แต่ไม่มีความเชี่ยวชาญด้านการรบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ จึงทำการติดต่อไปยังมูลนิธิพิพิธภัณฑ์เด็ก ให้มาเป็นผู้บริหารจัดการ แต่ทางมูลนิธิปฏิเสธด้วยเหตุผลว่าวัสดุที่นำมาใช้ทำเครื่องเล่นและชุดนิทรรศการไม่มีความมั่นคง และไม่มีคุณภาพ ประการที่ 2 คือนิทรรศการการเรียนรู้ไม่ตอบโจทย์ จึงไม่สนใจ
“ถ้าเป็นภาคเอกชนที่ดูไม่ออก เขาคงตะครุบรับ เพราะได้ตึกใหม่ ได้ทุกอย่างใหม่ ไม่ต้องเสียเงิน แต่เอกชนรายนั้นไม่รับ เพราะเขาดูก็รู้ว่าต้องเอาเด็กเข้าโรงพยาบาลตลอด เพราะมันไม่ปลอดภัยเลย”
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ใครเคยไป หรืออยู่แถวนั้นบ้างครับ ขอข้อมูลหน่อย