หลายๆ ปีมานี้ ผมได้รับคำถามและคำบอกกล่าวเกี่ยวกับกติกาหมากรุกไทยหลายครั้ง กับคำถามจะมีว่ากติกาหมกรุกไทยเป็นมาตรฐานไหม ?
ผมก็ตอบบ้างไม่ตอบบ้าง ในส่วนที่ตอบก็มีทั้งที่บอกไปว่าเป็นมาตรฐานบ้าง ไม่เป็นบ้างตามเรื่องตามราว (อย่างไม่มีมาตรฐาน) จริงๆ แล้วก็ขึ้นอยู่กับมุมของคำถามและตัวผู้ถามด้วย
คำบอกกล่าวส่วนใหญ่ยืนยันว่ากติกาหมากรุกไทยมีความเป็นมาตรฐานดี เมื่อถามว่าเป็นมาตรฐานอย่างไร ? ส่วนหนึ่งอธิบายไม่ได้ และส่วนหนึ่งที่อธิบายเมื่อไล่เรียงแล้วก็สรุปได้ว่าเป็นมาตรฐานแบบไทยๆ !!
เมื่อมาพิจารณากติกาหมากรุกไทยอย่างจริงจัง ก็เห็นถึงความน่าสนใจหลายประการ ซึ่งก็อาจตอบบางคำถามหรือสร้างความเข้าใจในกีฬาของไทยนี้มากขึ้น
เกณฑ์ว่ามาตรฐานในที่นี้ น่าจะมีสามวิธีเป็นตัวกำหนด คือความเป็นระเบียบแบบแผนและเป็นเหตุเป็นผลประการหนึ่ง และโดยการเปรียบเทียบกับกติกาของกีฬาอื่นที่อาจเทียบเคียงกันได้อีกประการหนึ่ง
ความเป็นระเบียบแบบแผน อันนี้จะยากสักหน่อย ต้องเอาตัวกติกามากางว่ากันขอผ่านก่อน
ความเป็นเหตุเป็นผล และการเทียบเคียงกับหมากกระดานอื่นดูจะง่ายกว่าขอยกมาว่ากัน
ที่เป็นปัญหาถกเถียงกันมากคือการจะ "เสมอ"หรือ "ไม่เสมอ" ในขณะเล่น หรือ "หลักเกณฑ์ในการเสมอ" มีความชัดเจนเพียงใด ? หากสองฝ่ายยอมตกลงกันที่จะเสมอก็เป็นอันจบปัญหาไป
ปัญหาส่วนใหญ่คือ "การนับ" ที่เข้าใจหรือไม่เข้าใจอย่างไม่ชัดเจนหลายประการ
"การนับ" ในหมากรุกไทยเป็นไป (หรือว่ากันมาว่า) โดยความเห็นใจฝ่ายเป็นรอง ซึ่งตรงนี้จะว่าไปแล้วก็ทำให้ขาดความเป็นมาตรฐานไป เพราะจะเป็นการใช้ความรู้สึกมาเกี่ยวข้องด้วย อาจมีเกณฑ์แสดงจำนวนและค่าของหมากว่าฝ่ายใดเป็นต่อเป็นรอง แต่ในการเล่นนั้นยังมีต้องเงื่อนไขอื่นๆ มาประกอบด้วย เช่น ตำแหน่งหมากมาพิจารณาประกอบ เป็นต้น มาลองไล่เรียงปัญหาเกี่ยวกับการนับดูบางส่วน
1) "จำนวนทีนับ" การนับในหมากรุกไทยมี 2 ลักษณะ คือ ศักดิ์กระดาน และศักดิ์หมาก
สำหรับศักดิ์กระดานที่ถือเอาจำนวนรวมของตาในกระดานมาเป็นจำนวนที ก็ดูจะไม่เป็นปัญหานัก แต่ศักดิ์หมากยังเป็นคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่อยู่
การนับ "ศักดิ์หมาก" ก็เช่นเดียวกับการนับศักดิ์กระดาน คือเป็นการให้โอกาสฝ่ายเป็นรองที่อาจจะรอดพ้นความพ่ายแพ้ได้หากหนีได้พ้นจากจำนวนทีที่กำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ต้องกำหนดให้ฝ่ายเป็นต่อมีโอกาสชนะมากกว่าจะเสมอ ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งหมาก และความสามารถในการไล่และหนีของผู้เล่นด้วย ตัวอย่างเช่น เรือลำเดียว ศักดิ์เรือคือ 16 ที เทียบการไล่แล้วโอกาสไล่จนจะมากกว่า แต่หากเป็นเบี้ย 3 ตัวที่มีศักดิ์การไล่เท่ากับ 64 ที จะกลับพบว่าไม่ว่าตำแหน่งหมากจะอยู่อย่างไร ฝ่ายไล่จะชนะได้แน่นอน (ยกเว้นไปติดรูปที่เสมอแน่นอน เช่นกรณี "รอดห่วง" หรือ "ห่วงแตก") แสดงว่าการนับศักดิ์เบี้ย (ที่เทียมกัน 3 ตัวขึ้นไป) ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ เลย
การนับศักดิ์หมากหากจะมีต่อไป ก็ควรได้มีการปรับจำนวนทีของศักดิ์หมากแต่ละตัว ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หากวางหมากทุกตัวโดยการสุ่มแล้ว ฝ่ายไล่มีโอกาสชนะ 70-80 % เป็นต้น (อันนี้ต้องอาศัยการคำนวณมาช่วยอย่างมาก) เป็นต้น
2) "ใครนับ ?" แม้จะทราบกันว่าการนับเป็นบทบาทของฝ่ายเป็นรองที่จะหาข้อยุติโดยการขอเสมอ จึงควรเป็นฝ่ายนับ แต่จากการแข่งขันหลายครั้ง พบว่าผู้นับอาจเป็นได้ถึง 3 ฝ่าย ดังนี้
2.1 ฝ่ายเป็นรองเป็นฝ่ายนับ อันนี้เป็นปกติธรรมดา ไม่น่ามีข้อสงสัยหรือติดใจ
2.2 ฝ่ายเป็นต่อเป็นฝ่ายนับ อันนี้ผิดปกติ อันอาจเกิดจาก ฝ่ายเป็นต่อเหลือเวลาน้อยกว่า หรือฝ่ายเป็นต่อพอใจแค่ผลเสมอ หรือฝ่ายเป็นรองชื่อชั้นเหนือกว่า เป็นต้น
2.3 กรรมการเป็นผู้นับ มักจะพบในการแข่งขันรายการสำคัญ รูปแบบนี้ เมื่อฝ่ายเป็นรองขอนับ กรรมการจะเป็นผู้ขานจำนวนทีนับให้ กลายเป็นว่ากรรมการเป็นส่วนหนึ่งของเกม ซึ่งอาจจะต้องใช้กรรมการเป็นจำนวนมากเท่าๆ กับจำนวนคู่แข่งขันจึงจะเป็นการถูกต้องตามกติกาและยุติธรรม
ใครจะเป็นฝ่ายนับหรือผู้นับจึงเป็นอีกหนึ่งความไม่มาตรฐานของหมากรุกไทยที่จะพบเห็นได้ในการแข่งต่างๆ เสมอ
3) "การเคลมเสมอ" หมายถึงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอยุติเกมโดยการเสมอได้โดยเป็นไป (หรืออ้าง) ตามกติกาได้ เช่นกรณีฝ่ายหนึ่งเหลือเพียงขุนตัวเดียว อีกฝ่ายย่อมจะขอหยุดเกมและให้เสมอได้ไม่ว่าฝ่ายเคลมจะไม่เหลือหรือเหลือหมากเท่าใดก็ตาม ในการนับศักดิ์หมากหรือศักดิ์กระดานของฝ่ายที่เป็นรอง เป็นไปเพื่อหาข้อยุติคือการขอเสมอหลังการนับสิ้นสุดลง ฝ่ายไล่จึงควรจะเคลมเสมอได้ทันทีโดยไม่ต้องให้มีการนับก็ได้ หรือนับไปแล้วก็สามารถเคลมเสมอได้ตลอดเวลา เพราะอีกฝ่าย(ที่เป็นรอง)ต้องการจะเสมอโดยการนับแล้ว หากเป็นไปเช่นนี้ ฝ่ายหนีย่อมไม่ควรที่จะกลับมาชนะได้เลย (เพราะฝ่ายไล่ควรเคลมเสมอได้ตลอดเวลา) การที่นับไปแล้ว ฝ่ายหนีกลับมาเหนือกว่าและมีโอกาสชนะแล้วหยุดนับจึงไม่ควรมี
ในหมากรุกสากล มีการกำหนดนับ 50 ที หลังจากที่ไม่มีการเดินเบี้ยหรือกินกัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจเคลมเสมอได้ ไม่เกี่ยวว่าฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบ การจดบันทึกจึงเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้อ้างอิงประกอบว่าเป็นไปตามการเคลมนั้นหรือไม่ การนับเพื่อหาข้อยุติของเกมในหมากรุกสากลจึงง่ายและจัดได้ว่ามีความเป็นมาตรฐานที่ใช้มายาวนาน
4) "การหยุดนับ" หากการนับ เป็นการหาข้อยุติเกมโดยการเสมอแล้ว ก็ควรเป็นเกณฑ์กำหนดว่าจะดำเนินไปไม่เกินจำนวนทีที่ได้มีการกำหนดแล้วนั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนทีได้แต่ควรเป็นไปในทางที่ลดน้อยลง แต่ไม่ควรมีการหยุดนับ เพราะเป็นการ
หยุดการหาข้อยุติของเกม เท่ากับยอมรับที่จะให้เกมยืดเยื้อได้ ซึ่งไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ดีหรือถูกต้อง กลายเป็นไร้หลักการหรือเกณฑ์กำหนดไป
ฯลฯ
การนับจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งในกติกาหมากรุกไทยที่ไม่ชัดเจนในหลักการ การกำหนดและการปฏิบัติ ซึ่งก็ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก เช่น การเดินล้อเลียน การจดบันทึกเกม การบังคับหงาย ฯลฯ ซึ่งแสดงถึงความไม่ค่อยเป็นมาตรฐานของกติกาหมากรุกไทยว่ามีอยู่
แล้วควรทำอย่างไรกับกติกาหมากรุกไทย ??
คงต้องขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้หมากรุกไทยเราไปในทิศทางใด ซึ่งขอยกเป็นตัวอย่างขึ้นมา 3 แนวทาง ดังนี้
1) "คงรูปแบบที่เป็นมาและเป็นอยู่นี้" ก็คงไม่ต้องทำอะไร หมากรุกไทยเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมของไทยที่สืบเนื่องยาวนานจนกลายเป็นวิถีหรือสิ่งปกติในสังคมไทยไปแล้ว เปรียบเทียบกับภาษาไทยของเราก็คงไม่ต่างกัน กล่าวคือเราก็ใช้ภาษาของเราเป็นปกติ แต่หากวันหนึ่งมีคนมาบอกว่าภาษาเราไม่มาตรฐาน เพราะตำแหน่งสระอยู่อย่างยุ่งเหยิง ทั้งอยู่หน้าหลัง บนล่างพยัญชนะ ทำให้ต้องใช้บรรทัดเพิ่ม ซึ่งอาจโดยเป็นการนำไป เปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษที่อักษรทุกตัวอยู่ในบันทัดเดียวกันทำให้สะดวกกับการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ แต่สำหรับคนไทยเราแล้ว ภาษาไทยบนคีย์บอร์ดก็ใช้งานไปปกติไม่มีปัญหาอะไร แล้วหมากรุกไทยเราจะต้องไปเปลี่ยนทำไมเมื่อเป็นความเคยชินที่เราคุ้นเคยกันแล้ว กติกาแม้จะไม่มาตรฐานแต่หากรู้และเข้าใจกันก่อนแข่งแล้ว ก็ให้ความยุติธรรมต่อผู้เล่นอย่างเท่าเทียมกัน
2) "หากต้องการให้ชาติอื่นๆ มาสนใจเล่นหมากรุกไทยมากๆ" การแก้ไขกติกาเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ แต่ก็มีคำถามว่าหากชาติอื่นมาเล่นหมากรุกไทยมากๆ แล้วเราหมายถึงคนไทยจะได้อะไร ? และในความเป็นจริงก็เป็นไปได้ยากมาก ด้วยชาติอื่นๆ แม้แต่ในอาเซียนเองต่างก็มีหมากรุกของตนเอง ทั้งหมากรุกสากลก็ยังเป็นทางเลือกแรกๆ และมีผู้นิยมเล่นมากที่สุดอยู่แล้ว จะว่าไปแล้วก็สงสัยว่าคุณค่าของหมากรุกไทยจะมีมากขนาดนั้นหรือ ในขณะที่คนไทยเราเองก็ให้ความสนใจและใส่ใจในกีฬานี้น้อยมาก ตัวอย่างชัดเจนที่อาจเห็นได้ง่ายคือจากการแข่งขันแม้กระทั่งรายการใหญ่ๆ ก็มีผู้แข่งขันและผู้ชมน้อย
3) "การส่งเสริมเพื่อเพิ่มคุณค่าให้หมากรุกไทย" เมื่อมองว่าหมากรุกไทยที่ผ่านมามีสถานะเพียงเป็นเกม (จากความไม่มาตฐานดังกล่าว?) และเป็นวัฒนธรรมที่เน้นการอนุรักษ์เพื่อให้คงอยู่ ซึ่งหากต้องการให้มีสถานะเป็นกีฬาที่ให้คุณประโยชน์และแพร่หลายยิ่งขึ้น ก็คงต้องมีการส่งเสริมเต็มที่จริงจัง รวมถึงการปรับกติกาให้เป็นมาตรฐานการส่งเสริมให้มีสถานะเป็นกีฬาเพื่อให้เกิดคุณประโยชน์ยิ่งขึ้น คืออย่างไร ? อันนี้ขอขยายความ
การเล่นหมากรุกไทยที่ผ่านมาจากอดีตหลายร้อยปีก่อนจนปัจจุบัน แม้จะตระหนักกันว่ามีเอกลักษณ์ที่แสดงคุณค่าความเป็นไทย แต่ลักษณะของกิจกรรมจะเป็นเหมือนเกมพื้นเมืองอย่างหนึ่งเท่านั้น แม้จะมีการจัดการแข่งขันและเรียกชื่อว่าเป็นกีฬาก็ตาม แต่รูปแบบและความต่อเนื่องจะเป็นในลักษณะไม่ต่างจากเกมพื้นเมืองดังกล่าว บางท่านกล่าวเลยไปถึงว่าเป็นเสมือนกิจกรรมงานวัด หรืองานเทศกาลประจำปี ซึ่งก็น่าจะใกล้เคียงกันและยืนยันถึงสิ่งที่เป็นมาดังกล่าว
ตัวอย่างหนึ่งที่อาจจะเห็นอยู่และขำกันไม่ออกคือ แม้ในกีฬาแห่งชาติจะมีประเภทกีฬาหมากกระดานอยู่ด้วย แต่เป็นหมากกระดานอย่างอื่นที่ไม่ใช่หมากรุกไทย(หรือหมากฮอสไทย) ก็ตีความหรือตั้งเป็นคำถามไปได้ต่างๆ นานา ว่ารายการนี้ไม่ใช่เป็นกีฬาแห่งชาติไทย ? หรือเป็นการสรุปให้เห็นว่าหมากรุกไทยไม่ใช่กีฬา หรือไม่ใช่กีฬาของไทย ? เป็นต้น
การส่งเสริมให้มีสถานะเป็นกีฬา เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์ยิ่งขึ้น
1 ยกระดับหมากรุกไทยให้มีสถานะเป็นกีฬา โดยได้รับการยอมรับเช่นเดียวกับกีฬาอื่นๆ
2 มีการวางกฏเกณฑ์ต่างๆ ทั้งกติกา การตัดสิน การเรียนการสอน การจัดแข่งขัน ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐาน
3 เป็นกีฬาอาชีพที่ผู้เล่นที่เก่งๆ สามารถดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติ
ตัวอย่างแนวคิดในการดำเนินการ
1 จัดตั้งองค์กรหลักหมากรุกไทย (อาจจะเป็น "สมาคมหมากรุกไทย" หรือชื่ออื่น) หมากรุกไทยคงจะเป็นกีฬาอย่างจริงจังไม่ได้หากขาดองค์กรที่จะเข้ามารับผิดชอบพัฒนาอย่างเต็มที่จริงจัง
2 กลุ่มบุคคลบริหารองค์กรตามข้อ 1 มีความเข้าใจ ความรู้ความสามารถที่จะผลักดันองค์กรให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ที่ควรหลีกเลี่ยงคือผู้ที่ยังเกี่ยวข้องกับหมากรุกไทยที่อาจมีส่วนได้เสีย เช่นผู้เล่น ผู้ผู้สอน ผู้จัดการทีม เป็นต้น เพื่อป้องกันปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน
3 การดำเนินการด้านต่างๆ เช่น
3.1 กำหนดโครงสร้าง ตำแหน่ง บทบาท อำนาจและหน้าที่ ฯลฯ
3.2 กำหนดประเภทสมาชิก คุณสมบัติ ฯลฯ
3.3 กำหนดการแข่งขันประเภทต่างๆ และเงื่อนไขประกอบ ฯลฯ
3.4 จัดทำกติกาที่เป็นมาตรฐาน
3.5 จัดทำ Ranking นักกีฬา วิธีการสะสมคะแนน ฯลฯ
3.6 จัดอบรมบุคคลากรด้านต่างๆ และการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องแก่ผู้สนใจ
3.7 จัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์อย่างเหมาะสม
ฯลฯ
เราควรจะ "ส่งเสริมหมากรุกไทยให้แพร่หลายไปทั่วโลกเลย....ดีไหมหนอ ??"
กติกาหมากรุกไทย มาตรฐานหรือไม่ ? และควรจะทำอย่างไร ??
ผมก็ตอบบ้างไม่ตอบบ้าง ในส่วนที่ตอบก็มีทั้งที่บอกไปว่าเป็นมาตรฐานบ้าง ไม่เป็นบ้างตามเรื่องตามราว (อย่างไม่มีมาตรฐาน) จริงๆ แล้วก็ขึ้นอยู่กับมุมของคำถามและตัวผู้ถามด้วย
คำบอกกล่าวส่วนใหญ่ยืนยันว่ากติกาหมากรุกไทยมีความเป็นมาตรฐานดี เมื่อถามว่าเป็นมาตรฐานอย่างไร ? ส่วนหนึ่งอธิบายไม่ได้ และส่วนหนึ่งที่อธิบายเมื่อไล่เรียงแล้วก็สรุปได้ว่าเป็นมาตรฐานแบบไทยๆ !!
เมื่อมาพิจารณากติกาหมากรุกไทยอย่างจริงจัง ก็เห็นถึงความน่าสนใจหลายประการ ซึ่งก็อาจตอบบางคำถามหรือสร้างความเข้าใจในกีฬาของไทยนี้มากขึ้น
เกณฑ์ว่ามาตรฐานในที่นี้ น่าจะมีสามวิธีเป็นตัวกำหนด คือความเป็นระเบียบแบบแผนและเป็นเหตุเป็นผลประการหนึ่ง และโดยการเปรียบเทียบกับกติกาของกีฬาอื่นที่อาจเทียบเคียงกันได้อีกประการหนึ่ง
ความเป็นระเบียบแบบแผน อันนี้จะยากสักหน่อย ต้องเอาตัวกติกามากางว่ากันขอผ่านก่อน
ความเป็นเหตุเป็นผล และการเทียบเคียงกับหมากกระดานอื่นดูจะง่ายกว่าขอยกมาว่ากัน
ที่เป็นปัญหาถกเถียงกันมากคือการจะ "เสมอ"หรือ "ไม่เสมอ" ในขณะเล่น หรือ "หลักเกณฑ์ในการเสมอ" มีความชัดเจนเพียงใด ? หากสองฝ่ายยอมตกลงกันที่จะเสมอก็เป็นอันจบปัญหาไป
ปัญหาส่วนใหญ่คือ "การนับ" ที่เข้าใจหรือไม่เข้าใจอย่างไม่ชัดเจนหลายประการ
"การนับ" ในหมากรุกไทยเป็นไป (หรือว่ากันมาว่า) โดยความเห็นใจฝ่ายเป็นรอง ซึ่งตรงนี้จะว่าไปแล้วก็ทำให้ขาดความเป็นมาตรฐานไป เพราะจะเป็นการใช้ความรู้สึกมาเกี่ยวข้องด้วย อาจมีเกณฑ์แสดงจำนวนและค่าของหมากว่าฝ่ายใดเป็นต่อเป็นรอง แต่ในการเล่นนั้นยังมีต้องเงื่อนไขอื่นๆ มาประกอบด้วย เช่น ตำแหน่งหมากมาพิจารณาประกอบ เป็นต้น มาลองไล่เรียงปัญหาเกี่ยวกับการนับดูบางส่วน
1) "จำนวนทีนับ" การนับในหมากรุกไทยมี 2 ลักษณะ คือ ศักดิ์กระดาน และศักดิ์หมาก
สำหรับศักดิ์กระดานที่ถือเอาจำนวนรวมของตาในกระดานมาเป็นจำนวนที ก็ดูจะไม่เป็นปัญหานัก แต่ศักดิ์หมากยังเป็นคำถามว่าเหมาะสมหรือไม่อยู่
การนับ "ศักดิ์หมาก" ก็เช่นเดียวกับการนับศักดิ์กระดาน คือเป็นการให้โอกาสฝ่ายเป็นรองที่อาจจะรอดพ้นความพ่ายแพ้ได้หากหนีได้พ้นจากจำนวนทีที่กำหนดไว้ แต่อย่างไรก็ต้องกำหนดให้ฝ่ายเป็นต่อมีโอกาสชนะมากกว่าจะเสมอ ซึ่งขึ้นอยู่กับตำแหน่งหมาก และความสามารถในการไล่และหนีของผู้เล่นด้วย ตัวอย่างเช่น เรือลำเดียว ศักดิ์เรือคือ 16 ที เทียบการไล่แล้วโอกาสไล่จนจะมากกว่า แต่หากเป็นเบี้ย 3 ตัวที่มีศักดิ์การไล่เท่ากับ 64 ที จะกลับพบว่าไม่ว่าตำแหน่งหมากจะอยู่อย่างไร ฝ่ายไล่จะชนะได้แน่นอน (ยกเว้นไปติดรูปที่เสมอแน่นอน เช่นกรณี "รอดห่วง" หรือ "ห่วงแตก") แสดงว่าการนับศักดิ์เบี้ย (ที่เทียมกัน 3 ตัวขึ้นไป) ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ เลย
การนับศักดิ์หมากหากจะมีต่อไป ก็ควรได้มีการปรับจำนวนทีของศักดิ์หมากแต่ละตัว ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หากวางหมากทุกตัวโดยการสุ่มแล้ว ฝ่ายไล่มีโอกาสชนะ 70-80 % เป็นต้น (อันนี้ต้องอาศัยการคำนวณมาช่วยอย่างมาก) เป็นต้น
2) "ใครนับ ?" แม้จะทราบกันว่าการนับเป็นบทบาทของฝ่ายเป็นรองที่จะหาข้อยุติโดยการขอเสมอ จึงควรเป็นฝ่ายนับ แต่จากการแข่งขันหลายครั้ง พบว่าผู้นับอาจเป็นได้ถึง 3 ฝ่าย ดังนี้
2.1 ฝ่ายเป็นรองเป็นฝ่ายนับ อันนี้เป็นปกติธรรมดา ไม่น่ามีข้อสงสัยหรือติดใจ
2.2 ฝ่ายเป็นต่อเป็นฝ่ายนับ อันนี้ผิดปกติ อันอาจเกิดจาก ฝ่ายเป็นต่อเหลือเวลาน้อยกว่า หรือฝ่ายเป็นต่อพอใจแค่ผลเสมอ หรือฝ่ายเป็นรองชื่อชั้นเหนือกว่า เป็นต้น
2.3 กรรมการเป็นผู้นับ มักจะพบในการแข่งขันรายการสำคัญ รูปแบบนี้ เมื่อฝ่ายเป็นรองขอนับ กรรมการจะเป็นผู้ขานจำนวนทีนับให้ กลายเป็นว่ากรรมการเป็นส่วนหนึ่งของเกม ซึ่งอาจจะต้องใช้กรรมการเป็นจำนวนมากเท่าๆ กับจำนวนคู่แข่งขันจึงจะเป็นการถูกต้องตามกติกาและยุติธรรม
ใครจะเป็นฝ่ายนับหรือผู้นับจึงเป็นอีกหนึ่งความไม่มาตรฐานของหมากรุกไทยที่จะพบเห็นได้ในการแข่งต่างๆ เสมอ
3) "การเคลมเสมอ" หมายถึงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขอยุติเกมโดยการเสมอได้โดยเป็นไป (หรืออ้าง) ตามกติกาได้ เช่นกรณีฝ่ายหนึ่งเหลือเพียงขุนตัวเดียว อีกฝ่ายย่อมจะขอหยุดเกมและให้เสมอได้ไม่ว่าฝ่ายเคลมจะไม่เหลือหรือเหลือหมากเท่าใดก็ตาม ในการนับศักดิ์หมากหรือศักดิ์กระดานของฝ่ายที่เป็นรอง เป็นไปเพื่อหาข้อยุติคือการขอเสมอหลังการนับสิ้นสุดลง ฝ่ายไล่จึงควรจะเคลมเสมอได้ทันทีโดยไม่ต้องให้มีการนับก็ได้ หรือนับไปแล้วก็สามารถเคลมเสมอได้ตลอดเวลา เพราะอีกฝ่าย(ที่เป็นรอง)ต้องการจะเสมอโดยการนับแล้ว หากเป็นไปเช่นนี้ ฝ่ายหนีย่อมไม่ควรที่จะกลับมาชนะได้เลย (เพราะฝ่ายไล่ควรเคลมเสมอได้ตลอดเวลา) การที่นับไปแล้ว ฝ่ายหนีกลับมาเหนือกว่าและมีโอกาสชนะแล้วหยุดนับจึงไม่ควรมี
ในหมากรุกสากล มีการกำหนดนับ 50 ที หลังจากที่ไม่มีการเดินเบี้ยหรือกินกัน ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจเคลมเสมอได้ ไม่เกี่ยวว่าฝ่ายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบ การจดบันทึกจึงเป็นหลักฐานสำคัญที่ใช้อ้างอิงประกอบว่าเป็นไปตามการเคลมนั้นหรือไม่ การนับเพื่อหาข้อยุติของเกมในหมากรุกสากลจึงง่ายและจัดได้ว่ามีความเป็นมาตรฐานที่ใช้มายาวนาน
4) "การหยุดนับ" หากการนับ เป็นการหาข้อยุติเกมโดยการเสมอแล้ว ก็ควรเป็นเกณฑ์กำหนดว่าจะดำเนินไปไม่เกินจำนวนทีที่ได้มีการกำหนดแล้วนั้น อาจมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนทีได้แต่ควรเป็นไปในทางที่ลดน้อยลง แต่ไม่ควรมีการหยุดนับ เพราะเป็นการ
หยุดการหาข้อยุติของเกม เท่ากับยอมรับที่จะให้เกมยืดเยื้อได้ ซึ่งไม่น่าจะเป็นวิธีการที่ดีหรือถูกต้อง กลายเป็นไร้หลักการหรือเกณฑ์กำหนดไป
ฯลฯ
การนับจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งในกติกาหมากรุกไทยที่ไม่ชัดเจนในหลักการ การกำหนดและการปฏิบัติ ซึ่งก็ยังมีเรื่องอื่นๆ อีก เช่น การเดินล้อเลียน การจดบันทึกเกม การบังคับหงาย ฯลฯ ซึ่งแสดงถึงความไม่ค่อยเป็นมาตรฐานของกติกาหมากรุกไทยว่ามีอยู่
แล้วควรทำอย่างไรกับกติกาหมากรุกไทย ??
คงต้องขึ้นอยู่กับว่าต้องการให้หมากรุกไทยเราไปในทิศทางใด ซึ่งขอยกเป็นตัวอย่างขึ้นมา 3 แนวทาง ดังนี้
1) "คงรูปแบบที่เป็นมาและเป็นอยู่นี้" ก็คงไม่ต้องทำอะไร หมากรุกไทยเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมของไทยที่สืบเนื่องยาวนานจนกลายเป็นวิถีหรือสิ่งปกติในสังคมไทยไปแล้ว เปรียบเทียบกับภาษาไทยของเราก็คงไม่ต่างกัน กล่าวคือเราก็ใช้ภาษาของเราเป็นปกติ แต่หากวันหนึ่งมีคนมาบอกว่าภาษาเราไม่มาตรฐาน เพราะตำแหน่งสระอยู่อย่างยุ่งเหยิง ทั้งอยู่หน้าหลัง บนล่างพยัญชนะ ทำให้ต้องใช้บรรทัดเพิ่ม ซึ่งอาจโดยเป็นการนำไป เปรียบเทียบกับภาษาอังกฤษที่อักษรทุกตัวอยู่ในบันทัดเดียวกันทำให้สะดวกกับการใช้งานบนคอมพิวเตอร์ แต่สำหรับคนไทยเราแล้ว ภาษาไทยบนคีย์บอร์ดก็ใช้งานไปปกติไม่มีปัญหาอะไร แล้วหมากรุกไทยเราจะต้องไปเปลี่ยนทำไมเมื่อเป็นความเคยชินที่เราคุ้นเคยกันแล้ว กติกาแม้จะไม่มาตรฐานแต่หากรู้และเข้าใจกันก่อนแข่งแล้ว ก็ให้ความยุติธรรมต่อผู้เล่นอย่างเท่าเทียมกัน
2) "หากต้องการให้ชาติอื่นๆ มาสนใจเล่นหมากรุกไทยมากๆ" การแก้ไขกติกาเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำ แต่ก็มีคำถามว่าหากชาติอื่นมาเล่นหมากรุกไทยมากๆ แล้วเราหมายถึงคนไทยจะได้อะไร ? และในความเป็นจริงก็เป็นไปได้ยากมาก ด้วยชาติอื่นๆ แม้แต่ในอาเซียนเองต่างก็มีหมากรุกของตนเอง ทั้งหมากรุกสากลก็ยังเป็นทางเลือกแรกๆ และมีผู้นิยมเล่นมากที่สุดอยู่แล้ว จะว่าไปแล้วก็สงสัยว่าคุณค่าของหมากรุกไทยจะมีมากขนาดนั้นหรือ ในขณะที่คนไทยเราเองก็ให้ความสนใจและใส่ใจในกีฬานี้น้อยมาก ตัวอย่างชัดเจนที่อาจเห็นได้ง่ายคือจากการแข่งขันแม้กระทั่งรายการใหญ่ๆ ก็มีผู้แข่งขันและผู้ชมน้อย
3) "การส่งเสริมเพื่อเพิ่มคุณค่าให้หมากรุกไทย" เมื่อมองว่าหมากรุกไทยที่ผ่านมามีสถานะเพียงเป็นเกม (จากความไม่มาตฐานดังกล่าว?) และเป็นวัฒนธรรมที่เน้นการอนุรักษ์เพื่อให้คงอยู่ ซึ่งหากต้องการให้มีสถานะเป็นกีฬาที่ให้คุณประโยชน์และแพร่หลายยิ่งขึ้น ก็คงต้องมีการส่งเสริมเต็มที่จริงจัง รวมถึงการปรับกติกาให้เป็นมาตรฐานการส่งเสริมให้มีสถานะเป็นกีฬาเพื่อให้เกิดคุณประโยชน์ยิ่งขึ้น คืออย่างไร ? อันนี้ขอขยายความ
การเล่นหมากรุกไทยที่ผ่านมาจากอดีตหลายร้อยปีก่อนจนปัจจุบัน แม้จะตระหนักกันว่ามีเอกลักษณ์ที่แสดงคุณค่าความเป็นไทย แต่ลักษณะของกิจกรรมจะเป็นเหมือนเกมพื้นเมืองอย่างหนึ่งเท่านั้น แม้จะมีการจัดการแข่งขันและเรียกชื่อว่าเป็นกีฬาก็ตาม แต่รูปแบบและความต่อเนื่องจะเป็นในลักษณะไม่ต่างจากเกมพื้นเมืองดังกล่าว บางท่านกล่าวเลยไปถึงว่าเป็นเสมือนกิจกรรมงานวัด หรืองานเทศกาลประจำปี ซึ่งก็น่าจะใกล้เคียงกันและยืนยันถึงสิ่งที่เป็นมาดังกล่าว
ตัวอย่างหนึ่งที่อาจจะเห็นอยู่และขำกันไม่ออกคือ แม้ในกีฬาแห่งชาติจะมีประเภทกีฬาหมากกระดานอยู่ด้วย แต่เป็นหมากกระดานอย่างอื่นที่ไม่ใช่หมากรุกไทย(หรือหมากฮอสไทย) ก็ตีความหรือตั้งเป็นคำถามไปได้ต่างๆ นานา ว่ารายการนี้ไม่ใช่เป็นกีฬาแห่งชาติไทย ? หรือเป็นการสรุปให้เห็นว่าหมากรุกไทยไม่ใช่กีฬา หรือไม่ใช่กีฬาของไทย ? เป็นต้น
การส่งเสริมให้มีสถานะเป็นกีฬา เพื่อให้เกิดคุณประโยชน์ยิ่งขึ้น
1 ยกระดับหมากรุกไทยให้มีสถานะเป็นกีฬา โดยได้รับการยอมรับเช่นเดียวกับกีฬาอื่นๆ
2 มีการวางกฏเกณฑ์ต่างๆ ทั้งกติกา การตัดสิน การเรียนการสอน การจัดแข่งขัน ที่มีประสิทธิภาพและเป็นมาตรฐาน
3 เป็นกีฬาอาชีพที่ผู้เล่นที่เก่งๆ สามารถดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติ
ตัวอย่างแนวคิดในการดำเนินการ
1 จัดตั้งองค์กรหลักหมากรุกไทย (อาจจะเป็น "สมาคมหมากรุกไทย" หรือชื่ออื่น) หมากรุกไทยคงจะเป็นกีฬาอย่างจริงจังไม่ได้หากขาดองค์กรที่จะเข้ามารับผิดชอบพัฒนาอย่างเต็มที่จริงจัง
2 กลุ่มบุคคลบริหารองค์กรตามข้อ 1 มีความเข้าใจ ความรู้ความสามารถที่จะผลักดันองค์กรให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย ที่ควรหลีกเลี่ยงคือผู้ที่ยังเกี่ยวข้องกับหมากรุกไทยที่อาจมีส่วนได้เสีย เช่นผู้เล่น ผู้ผู้สอน ผู้จัดการทีม เป็นต้น เพื่อป้องกันปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน
3 การดำเนินการด้านต่างๆ เช่น
3.1 กำหนดโครงสร้าง ตำแหน่ง บทบาท อำนาจและหน้าที่ ฯลฯ
3.2 กำหนดประเภทสมาชิก คุณสมบัติ ฯลฯ
3.3 กำหนดการแข่งขันประเภทต่างๆ และเงื่อนไขประกอบ ฯลฯ
3.4 จัดทำกติกาที่เป็นมาตรฐาน
3.5 จัดทำ Ranking นักกีฬา วิธีการสะสมคะแนน ฯลฯ
3.6 จัดอบรมบุคคลากรด้านต่างๆ และการให้ความรู้ที่เกี่ยวข้องแก่ผู้สนใจ
3.7 จัดกิจกรรมและประชาสัมพันธ์อย่างเหมาะสม
ฯลฯ
เราควรจะ "ส่งเสริมหมากรุกไทยให้แพร่หลายไปทั่วโลกเลย....ดีไหมหนอ ??"