นานๆทีจะเขียนบทความครับ เพราะขี้เกียจ และไม่รู้ว่าจะออกมาดีรึเปล่า แต่เผอิญเพิ่งไปดู Silver Linings มาแล้วพบว่า cinematic
leitmotif นี้น่าสนมาก เพราะการใช้เพลงแค่เพลงเดียว แต่กำหนดทิศทางเนื้อเรื่อง กำหนดความรู้สึกของคนดู หรือซ่อนความหมาย
ของหนัง เอาไว้ในเนื้อร้องของเพลง (ทั้งๆที่บางเรื่องเนื้อหากับเพลงไปในคนละทิศทางกัน) เป็นทริคที่ เมื่อมาลองย้อนดูแล้ว มีภาพยนตร์
หลายเรื่องที่ใช้ทริคนี้ โดยที่คนดูไม่รู้ตัว อย่างเรื่องล่าสุดเลยก็ Silver Linings Playbook กับเพลง My Cheri Amour ของ
Stevie Wonder (ในคลิปเป็น cover ของสิงโต นำโชค ใครเป็นเพื่อนกับสิงโตช่วยบอกเค้าหน่อยเร็วว่าเพลงโปรดเค้าเป็น theme
หลัก silver linings ด้วย) เป็นเพลงที่ใช้ในงานแต่งงานของพระเอกกับแฟน แต่สุดท้ายเพลงนี้ได้หลอกหลอนชีวิตของพระเอก จน
กระทั่งการมาของนางเอก
From Upon Poppy Hill กับเพลง Sukiyaki (หรือ Ue o Muite Arukō) โดย Kyu Sakamoto
ซึ่งเป็นเพลงเดียวจากเอเชียที่ขึ้นอันดับหนึ่ง Hot 100 Billboard Chart ได้ (ไม่ได้พาดพิงถึง Gangnam Style เลยนะ 5555) เพลง Sukiyaki ในวงการบันเทิงญี่ปุ่นถือว่านำมาใช้บ่อยมาก ถึงมากที่สุด (ล่าสุดที่ผมเช็คคือจาก anime เรื่อง Hyouka) ในส่วนของตัว Poppy Hill เป็นหนังที่มีลักษณะเหมือนเอา MV หลายๆ MV มาต่อๆกัน แต่เพลงที่เด่นชัดที่สุดก็คือ Sukiyaki นี่แหละครับ ถ้าจะให้เปรียบกับ
หนังไทย ก็เหมือนภาพยนตร์เรื่อง รถไฟฟ้ามาหานะเธอ มีหลายเพลง แต่เพลงที่เด่นสุดคือ "โปรดส่งใครมารักฉันที" ของวงอินสติงต์
ส่วนตัวเนื้อเพลงของ Sukiyaki ที่คนส่วนใหญ่จะเดาว่า น่าจะเป็นแนวโลกสวย (ก็ทำนองออกแนวโลกสวยซะจน MK เอาไปประกอบ
โฆษณา) ทั้งๆที่อันที่จริง เนื้อเพลงเกี่ยวกับ....
Moneyball กับเพลง The Show ของ Lenka
เป็นหนึ่งในเพลงที่ถูก cover ในโลกอินเตอร์เน็ตมากที่สุด (แม้แต่ในหนังยังเป็นการ cover ด้วยกีตาร์) เนื้อเรื่องของ Moneyball เรียกได้ว่าคล้ายกับ Silver Linings แต่เกี่ยวกับ Baseball (แทนที่จะเป็น American Football) และ Statistic และ Strategy มากกว่า แต่ Drama น้อยกว่า Comedy น้อยกว่า Romance น้อยกว่า แต่ด้วยเพลงนี้เพลงเดียว ทำให้ผมให้คะแนนโดยรวม Moneyball มากกว่า Silver Linings
Hellboy II: The Golden Army กับเพลง Can't Smile Without You ของ Barry Manilow
เดิมทีเป็นของ the Carpenters เพลงนี้ในวงการภาพยนตร์ก็ถูกใช้หลายครั้งเหมือนกันครับ แต่ไม่มีครั้งไหนจะลึกซึ้งเท่าในเรื่อง Hellboy 2
Whisper of the Heart กับเพลง Take me home, Country Road ของ John Denver
แต่เวอร์ชั่นที่ใช้ในหนังเป็นของ Olivia Newton-John เป็นที่น่าสงสัยกับการเลือกเพลงของการ์ตูนค่ายนี้ เพราะทั้งเจ้าของเพลง Sukiyaki และ Country Road ต่างเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางเครื่องบิน และผู้กำกับเรื่องนี้ก็เสียชีวิตหลังจากออกฉายได้สามปี (ด้วยวัยเพียง 47 ปี) ส่วนความสุดยอดของเรื่องนี้ ถูก described ว่าเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวของโลกแห่งความเป็นจริงและโลกแฟนตาซี โลกตะวันตกและโลกตะวันออก เป็นหนังที่'เปลี่ยนชีวิต'ของใครหลายๆคนมาแล้ว
Space Cowboys กับเพลง Fly Me to the Moon ของ Frank Sinatra
เป็นเพลงประจำชาติของการ์ตูน Evangelion ถ้าอยากรู้ว่าเพลงนี้ถูก portrayed อย่างไรใน Space Cowboys ที่นำแสดงโดย Clint Eastwood ต้องดูครับ
Brazil กับเพลง Aquarela do Brasil
อันนี้ค่อนข้างซับซ้อนหน่อยนะครับ เดิมทีเพลง Brazil เองไม่ได้ดัง แต่ Walt Disney นำเพลงนี้มาประกอบการ์ตูน Saludos Amigos เพื่อเป้าหมายเชิงการฑูตในสงครามโลกครั้งที่สอง เลยดังเปรี้ยงปร้างขึ้นมา หลังจากนั้นปี 1985 ถึงได้มีหนังเรื่องนี้ ซึ่งตั้งชื่อหนังตามเพลงเลยทีเดียว อยากบอกว่าเนื้อเพลงกับเนื้อเรื่อง contrast กันมากๆ โดยเฉพาะตอนจบที่.... นับว่าเป็นการใช้เพลงในหนังได้ดีอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับคนรุ่นหลังจะรู้จักเพลงนี้ผ่าน teaser Wall-E ของ Pixar ครับ
Inception กับเพลง Non, je ne regrette rien ของ Édith Piaf
ตอนนี้ทุกคนทราบว่าเพลงนี้ถูกใช้ในการปลุกให้ตื่นจากฝัน (ซึ่งนั่นน่าจะเพียงพอที่จะยกให้เพลงนี้เป็น leitmotif ของเรื่องนี้) แต่ยังไม่พอ ทฤษฎีใหม่คือ Score ทั้งเรื่อง Inception เป็นการนำเพลงนี้มา Slow และ Orchestrated ใหม่ ซึ่งจะเข้ากับอีกทฤษฏีนึงคือเมื่อทีมงานของพระเอกอยู่ในฝัน เหตุการณ์ต่างๆจะเกิดขึ้นเร็วกว่า เมื่อเปิดเพลงนี้จากโลกภายนอก หรือฝันที่อยู่ติ้นกว่า คนที่อยู่ในชั้นที่ฝันลึกกว่าจึงได้ยินเพลงนี้ในลักษณะ slow ซึ่งก็คือ Score ของเรื่องนี้นั่นเอง นอกจากนี้ยังมี Marion Cottilard ที่เคยแสดงเป็นนักร้องเจ้าของเพลงนี้ในเรื่อง La Vie en rose แล้วคว้ารางวัลทุกสถาบัน มาร่วมแสดงในเรื่อง Inception ด้วย (แต่เรื่องนี้ผู้กำกับบอกว่าเป็นความบังเอิญ)
เพลงแค่เพลงเดียวส่งผลต่อหนังทั้งเรื่อง (ต้อนรับการมาของ Silver Linings Playbook)
นานๆทีจะเขียนบทความครับ เพราะขี้เกียจ และไม่รู้ว่าจะออกมาดีรึเปล่า แต่เผอิญเพิ่งไปดู Silver Linings มาแล้วพบว่า cinematic
leitmotif นี้น่าสนมาก เพราะการใช้เพลงแค่เพลงเดียว แต่กำหนดทิศทางเนื้อเรื่อง กำหนดความรู้สึกของคนดู หรือซ่อนความหมาย
ของหนัง เอาไว้ในเนื้อร้องของเพลง (ทั้งๆที่บางเรื่องเนื้อหากับเพลงไปในคนละทิศทางกัน) เป็นทริคที่ เมื่อมาลองย้อนดูแล้ว มีภาพยนตร์
หลายเรื่องที่ใช้ทริคนี้ โดยที่คนดูไม่รู้ตัว อย่างเรื่องล่าสุดเลยก็ Silver Linings Playbook กับเพลง My Cheri Amour ของ
Stevie Wonder (ในคลิปเป็น cover ของสิงโต นำโชค ใครเป็นเพื่อนกับสิงโตช่วยบอกเค้าหน่อยเร็วว่าเพลงโปรดเค้าเป็น theme
หลัก silver linings ด้วย) เป็นเพลงที่ใช้ในงานแต่งงานของพระเอกกับแฟน แต่สุดท้ายเพลงนี้ได้หลอกหลอนชีวิตของพระเอก จน
กระทั่งการมาของนางเอก
From Upon Poppy Hill กับเพลง Sukiyaki (หรือ Ue o Muite Arukō) โดย Kyu Sakamoto
ซึ่งเป็นเพลงเดียวจากเอเชียที่ขึ้นอันดับหนึ่ง Hot 100 Billboard Chart ได้ (ไม่ได้พาดพิงถึง Gangnam Style เลยนะ 5555) เพลง Sukiyaki ในวงการบันเทิงญี่ปุ่นถือว่านำมาใช้บ่อยมาก ถึงมากที่สุด (ล่าสุดที่ผมเช็คคือจาก anime เรื่อง Hyouka) ในส่วนของตัว Poppy Hill เป็นหนังที่มีลักษณะเหมือนเอา MV หลายๆ MV มาต่อๆกัน แต่เพลงที่เด่นชัดที่สุดก็คือ Sukiyaki นี่แหละครับ ถ้าจะให้เปรียบกับ
หนังไทย ก็เหมือนภาพยนตร์เรื่อง รถไฟฟ้ามาหานะเธอ มีหลายเพลง แต่เพลงที่เด่นสุดคือ "โปรดส่งใครมารักฉันที" ของวงอินสติงต์
ส่วนตัวเนื้อเพลงของ Sukiyaki ที่คนส่วนใหญ่จะเดาว่า น่าจะเป็นแนวโลกสวย (ก็ทำนองออกแนวโลกสวยซะจน MK เอาไปประกอบ
โฆษณา) ทั้งๆที่อันที่จริง เนื้อเพลงเกี่ยวกับ....
Moneyball กับเพลง The Show ของ Lenka
เป็นหนึ่งในเพลงที่ถูก cover ในโลกอินเตอร์เน็ตมากที่สุด (แม้แต่ในหนังยังเป็นการ cover ด้วยกีตาร์) เนื้อเรื่องของ Moneyball เรียกได้ว่าคล้ายกับ Silver Linings แต่เกี่ยวกับ Baseball (แทนที่จะเป็น American Football) และ Statistic และ Strategy มากกว่า แต่ Drama น้อยกว่า Comedy น้อยกว่า Romance น้อยกว่า แต่ด้วยเพลงนี้เพลงเดียว ทำให้ผมให้คะแนนโดยรวม Moneyball มากกว่า Silver Linings
Hellboy II: The Golden Army กับเพลง Can't Smile Without You ของ Barry Manilow
เดิมทีเป็นของ the Carpenters เพลงนี้ในวงการภาพยนตร์ก็ถูกใช้หลายครั้งเหมือนกันครับ แต่ไม่มีครั้งไหนจะลึกซึ้งเท่าในเรื่อง Hellboy 2
Whisper of the Heart กับเพลง Take me home, Country Road ของ John Denver
แต่เวอร์ชั่นที่ใช้ในหนังเป็นของ Olivia Newton-John เป็นที่น่าสงสัยกับการเลือกเพลงของการ์ตูนค่ายนี้ เพราะทั้งเจ้าของเพลง Sukiyaki และ Country Road ต่างเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางเครื่องบิน และผู้กำกับเรื่องนี้ก็เสียชีวิตหลังจากออกฉายได้สามปี (ด้วยวัยเพียง 47 ปี) ส่วนความสุดยอดของเรื่องนี้ ถูก described ว่าเป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวของโลกแห่งความเป็นจริงและโลกแฟนตาซี โลกตะวันตกและโลกตะวันออก เป็นหนังที่'เปลี่ยนชีวิต'ของใครหลายๆคนมาแล้ว
Space Cowboys กับเพลง Fly Me to the Moon ของ Frank Sinatra
เป็นเพลงประจำชาติของการ์ตูน Evangelion ถ้าอยากรู้ว่าเพลงนี้ถูก portrayed อย่างไรใน Space Cowboys ที่นำแสดงโดย Clint Eastwood ต้องดูครับ
Brazil กับเพลง Aquarela do Brasil
อันนี้ค่อนข้างซับซ้อนหน่อยนะครับ เดิมทีเพลง Brazil เองไม่ได้ดัง แต่ Walt Disney นำเพลงนี้มาประกอบการ์ตูน Saludos Amigos เพื่อเป้าหมายเชิงการฑูตในสงครามโลกครั้งที่สอง เลยดังเปรี้ยงปร้างขึ้นมา หลังจากนั้นปี 1985 ถึงได้มีหนังเรื่องนี้ ซึ่งตั้งชื่อหนังตามเพลงเลยทีเดียว อยากบอกว่าเนื้อเพลงกับเนื้อเรื่อง contrast กันมากๆ โดยเฉพาะตอนจบที่.... นับว่าเป็นการใช้เพลงในหนังได้ดีอีกเรื่องหนึ่ง สำหรับคนรุ่นหลังจะรู้จักเพลงนี้ผ่าน teaser Wall-E ของ Pixar ครับ
Inception กับเพลง Non, je ne regrette rien ของ Édith Piaf
ตอนนี้ทุกคนทราบว่าเพลงนี้ถูกใช้ในการปลุกให้ตื่นจากฝัน (ซึ่งนั่นน่าจะเพียงพอที่จะยกให้เพลงนี้เป็น leitmotif ของเรื่องนี้) แต่ยังไม่พอ ทฤษฎีใหม่คือ Score ทั้งเรื่อง Inception เป็นการนำเพลงนี้มา Slow และ Orchestrated ใหม่ ซึ่งจะเข้ากับอีกทฤษฏีนึงคือเมื่อทีมงานของพระเอกอยู่ในฝัน เหตุการณ์ต่างๆจะเกิดขึ้นเร็วกว่า เมื่อเปิดเพลงนี้จากโลกภายนอก หรือฝันที่อยู่ติ้นกว่า คนที่อยู่ในชั้นที่ฝันลึกกว่าจึงได้ยินเพลงนี้ในลักษณะ slow ซึ่งก็คือ Score ของเรื่องนี้นั่นเอง นอกจากนี้ยังมี Marion Cottilard ที่เคยแสดงเป็นนักร้องเจ้าของเพลงนี้ในเรื่อง La Vie en rose แล้วคว้ารางวัลทุกสถาบัน มาร่วมแสดงในเรื่อง Inception ด้วย (แต่เรื่องนี้ผู้กำกับบอกว่าเป็นความบังเอิญ)