สุดยอดการทำบุญที่สนิทแนบแน่นกับพระพุทธองค์-11 ชาติในเอเชียแห่ร่วมประเพณีหนึ่งเดียวในโลก-ตอกย้ำศูนย์กลางพุทธศาสนา “พระบรมธาตุมรดกโลก”
“เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู” เป็นคำขวัญของเมืองนครศรีธรรมราช ที่บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ในฐานะเมืองศูนย์กลางพุทธศาสนาในภูมิภาคอาเชี่ยน และยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน
นครศรีธรรมราชเป็นเมืองยิ่งใหญ่มาแต่ในอดีต รวมทั้งมีเมืองบริวารมากถึง 12 เมือง จึงมีการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เมือง 12 นักษัตร” ตลอดจนยังเป็นเมืองศูนย์กลางการศาสนาจนมีการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เมืองพระ” โดยมีพระบรมธาตุเจดีย์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ โดยเฉพาะพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า “พระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย” นับเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นสง่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกมายาวนานนับพันปี
“ในปัจจุบันยูเนสโกได้รับพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ขึ้นบัญชีสำรองหรือบัญชีบัญชีชั่วคราว (tentative list) และอยู่ระหว่างการพิจารณาของยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 37-38 หรือปี 2556-2557”
นครศรีธรรมราชจึงมีประเพณีที่เกี่ยวข้อง ยึดโยงกับพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะประเพณี “มาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุ” เป็นประเพณีที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งตามคติความเชื่อมาตั้งแต่โบราณหากจะทำบุญหรือกราบไหว้บูชาให้ได้กุศลจริง ๆ จะต้องปฏิบัติเฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์ หรือใกล้ชิดพระพุทธองค์ให้มากที่สุดเท่านั้น แต่เมื่อพระพุทธองค์เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว การได้ทำบุญกราบไหว้พระพุทธ รูป องค์เจดีย์ โดยเฉพาะพระบรมธาตุเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเสมือนว่าได้ทำบุญหรือกราบไหว้บูชาอย่างใกล้ชิดกับพระพุทธองค์เช่น เดียวกัน
ประวัติความเป็นมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 1773 ในพระเจ้าสามพี่น้อง คือ “พระเจ้าศรีธรรมมาโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ” กำลังเตรียมการสมโภชองค์พระบรมธาตุเจดีย์อยู่นั้น ได้ชาวพุทธกลุ่มหนึ่งจำนวนราว 100 คนจากเมืองอินทรปัต ซึ่งมีผะขาว “อริยพงษ์” เป็นหัวหน้าคณะ ได้เดินทางด้วยเรือสำเภานำ “ผ้าพระบฏ” ซึ่งเป็นผ้าที่มีลายเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ เพื่อไปบูชาพระพุทธบาทในลังกา แต่ถูกพายุพัดจนเรือแตก โดยมีผู้รอดชีวิตราว 10 คน และถูกคลื่นซัดมาขึ้นที่ปากพนังฝั่งเมืองนครศรีธรรมราช พร้อม“พระบฏ” ผืนใหญ่ยาวผืนหนึ่ง ชาวปากพนังได้เก็บผ้านั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมมาโศกราช พระองค์ได้รับสั่งให้ซักผ้าพระบฏจนสะอาด แต่ลายเขียนภาพเรื่องราวพุทธประวัติไม่ลบเลือน ยังคงสมบูรณ์ครบถ้วนทุกประการ พระเจ้าศรีธรรมา-โศกราชทรงพิจารณาเห็นว่าควรนำผ้าพระบฏนั้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุเจดีย์ ชาวอินทรปัตเจ้าของผ้าพระบฏซึ่งรอดชีวิตก็ยินดีด้วย จึงมีการแห่แหนผ้าพระบฎผืนดังกล่าวมาโอบห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ จนเกิดเป็นประเพณี “แห่ผ้าขึ้นธาตุ” สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 783 โดยนิยมปฏิบัติกันในวัน “มาฆบูชา และ วิสาขบูชา” แต่เนื่องจากในอดีตช่วงวันวิสาขบูชาเป็นช่วงฤดูฝนทำให้ยากลำบากในการเดินทาง จึงหันมาเน้นจัดแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชาเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันในวันวิสาขบูชาก็ยังมีชาวพุทธบางส่วนยังจัดกิจกรรมแห่ผ้าขึ้นธาตุเช่นกัน
นายพิชัย บุณยเกียรติ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปี 1773 โดยเมื่อปี 2553 สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ยกระดับงานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของจังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นสู่ระดับนานาชาติ ภายใช้ชื่อประเพณี “มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุนานาชาติที่เมืองนคร” สำหรับในปีนี้ “วันมาฆบูชา”ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556 จังหวัดนครศรีธรรมราชได้กำหนดจัดประเพณีนี้ขึ้นระหว่างวันที่ 21 –26 กุมภาพันธ์ 2556 โดยได้เชิญตัวแทนจาก 11 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศ ศรีลังกา จีน เนปาล บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า กัมพูชา ลาว ญี่ปุ่น อินเดีย และจากรัฐเคดาห์และปีนังประเทศมาเลเซีย รวมทั้งหัวเมือง 12 นักษัตร ในอดีตและจาก 4 ภูมิภาคของประเทศไทยมาร่วมกิจกรรม เพื่อนำผ้าพระบฏทั้งหมดไปร่วมขบวนแห่และนำขึ้นโอบห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ใน “วันมาฆบูชา” ต่อไป
นางนภสร ค้าขาย ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)สำนักงานนครศรีธรรมราช กล่าวว่าประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเมืองนคร ได้ดำเนินอยู่ด้วยพลังแห่งความเชื่อและศรัทธาในพุทธานุภาพที่กว้างไกล บนดินแดนที่หลากหลายและเป็นแผ่นดินที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งประชาชนชาวพุทธทั่วโลกจะเดินทางมาร่วมกิจกรรม สำคัญต่าง ๆ ที่กำหนดจัดขึ้นตามสถานที่ต่าง ๆ ประกอบด้วย วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สวนศรีธรรมโศกราช สนามหน้าเมือง ศาลาประดู่หกและอำเภอปากพนัง โดยมีกิจกรรมมากมาย อาทิ การสาธิตผลิตและทอผ้าพระบฎ 4 ภาค นิทรรศการศิลปกรรมเครื่องพุทธบูชา การสมโภชผ้าพระบฏพระราชทาน (ที่อำเภอปากพนัง) การสมโภชและพุทธาภิเษกผ้าพระบฏไทยและผ้าพระบฏนานาชาติ พิธีรับผ้า แห่ผ้าและถวายผ้าพระบฏพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พิธีถวายผ้าพระบฏเป็นพุทธบูชาชาการนำผ้าพระบฎขึ้นโอบห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ และเวียนเทียนมาฆบูชา
ทางด้านนายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชได้จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก อาทิ พิธีกวนข้าวมธุปายาส การทำบุญตักบาตร การสาธิตและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) การจัดตลาดนัดโบราณจำหน่ายอาหารและขนมพื้นเมือง การแสดงบนเวทีของไทยและนานาชาติ การแสดงหุ่นละครเล็กชุด “สืบสานตำนานศิลป์ จากคณะโจหลุยส์” การสัมมนาวิชาการว่าด้วยพระพุทธศาสนาในภาคใต้ การปฏิบัติธรรมเจริญไตรสิกขา และแสดงธรรม การสวดด้าน การประกวดสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะ การประกวดวาดภาพพุทธประวัติระบายสี การแข่งขันตอบปัญหาธรรมะ การประกวดการบรรยายธรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธเส้นทางพระพุทธศาสนาในนครศรีธรรมราช การท่องเที่ยวตามรอยกินรีสามพิพิธภัณฑ์ การแสดงหนังตะลุง เพลงบอก มโนราห์ และโครงการพระบรมธาตุสู่มรดกโลก เป็นต้น.
นับเป็นอีกโอกาสหนึ่งของการได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่ในทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของชาวนครศรีธรรมราช และชาวพุทธทั่วไปในวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันที่สำคัญที่สุดวันหนึ่งของศาสนาพุทธ ในช่างดังกล่าวจะมีประชาชนชาวพุทธรวมทั้งชาวต่างชาติจะเดินทางมาร่วมกิจกรรมอย่างมืดฟ้ามัวดินนับแสนคน ซึ่งทุกคนที่มาร่วมงานประเพณีเชื่อว่า “แม้ในชีวิตไม่ได้ร่วมสร้าง ขอให้ได้ซ่อมแต่ขอให้มีโอกาสร่วมแห่ผ้าขึ้นธาตุเมืองนครสักครั้ง” ถือว่าเป็นการทำบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่คติความเชื่อที่ว่า “เกิดมาหนึ่งชาติได้กราบพระบรมธาตุเมืองนครหนึ่งครั้ง” ก็ถือว่าไม่เสียที่เกิดมาในบวรพุทธศาสนา.
ที่มา
http://www.dailynews.co.th/thailand/185207
สกู๊ป : อลังการ “มาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุที่เมืองนคร”
สุดยอดการทำบุญที่สนิทแนบแน่นกับพระพุทธองค์-11 ชาติในเอเชียแห่ร่วมประเพณีหนึ่งเดียวในโลก-ตอกย้ำศูนย์กลางพุทธศาสนา “พระบรมธาตุมรดกโลก”
“เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู” เป็นคำขวัญของเมืองนครศรีธรรมราช ที่บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ในฐานะเมืองศูนย์กลางพุทธศาสนาในภูมิภาคอาเชี่ยน และยังอุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์อย่างชัดเจน
นครศรีธรรมราชเป็นเมืองยิ่งใหญ่มาแต่ในอดีต รวมทั้งมีเมืองบริวารมากถึง 12 เมือง จึงมีการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เมือง 12 นักษัตร” ตลอดจนยังเป็นเมืองศูนย์กลางการศาสนาจนมีการเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เมืองพระ” โดยมีพระบรมธาตุเจดีย์วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ซึ่งประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ โดยเฉพาะพระทันตธาตุของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่า “พระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย” นับเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นสง่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั่วโลกมายาวนานนับพันปี
“ในปัจจุบันยูเนสโกได้รับพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ขึ้นบัญชีสำรองหรือบัญชีบัญชีชั่วคราว (tentative list) และอยู่ระหว่างการพิจารณาของยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 37-38 หรือปี 2556-2557”
นครศรีธรรมราชจึงมีประเพณีที่เกี่ยวข้อง ยึดโยงกับพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยเฉพาะประเพณี “มาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุ” เป็นประเพณีที่เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งตามคติความเชื่อมาตั้งแต่โบราณหากจะทำบุญหรือกราบไหว้บูชาให้ได้กุศลจริง ๆ จะต้องปฏิบัติเฉพาะพระพักตร์พระพุทธองค์ หรือใกล้ชิดพระพุทธองค์ให้มากที่สุดเท่านั้น แต่เมื่อพระพุทธองค์เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานแล้ว การได้ทำบุญกราบไหว้พระพุทธ รูป องค์เจดีย์ โดยเฉพาะพระบรมธาตุเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าเสมือนว่าได้ทำบุญหรือกราบไหว้บูชาอย่างใกล้ชิดกับพระพุทธองค์เช่น เดียวกัน
ประวัติความเป็นมาเมื่อประมาณ พ.ศ. 1773 ในพระเจ้าสามพี่น้อง คือ “พระเจ้าศรีธรรมมาโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ” กำลังเตรียมการสมโภชองค์พระบรมธาตุเจดีย์อยู่นั้น ได้ชาวพุทธกลุ่มหนึ่งจำนวนราว 100 คนจากเมืองอินทรปัต ซึ่งมีผะขาว “อริยพงษ์” เป็นหัวหน้าคณะ ได้เดินทางด้วยเรือสำเภานำ “ผ้าพระบฏ” ซึ่งเป็นผ้าที่มีลายเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ เพื่อไปบูชาพระพุทธบาทในลังกา แต่ถูกพายุพัดจนเรือแตก โดยมีผู้รอดชีวิตราว 10 คน และถูกคลื่นซัดมาขึ้นที่ปากพนังฝั่งเมืองนครศรีธรรมราช พร้อม“พระบฏ” ผืนใหญ่ยาวผืนหนึ่ง ชาวปากพนังได้เก็บผ้านั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมมาโศกราช พระองค์ได้รับสั่งให้ซักผ้าพระบฏจนสะอาด แต่ลายเขียนภาพเรื่องราวพุทธประวัติไม่ลบเลือน ยังคงสมบูรณ์ครบถ้วนทุกประการ พระเจ้าศรีธรรมา-โศกราชทรงพิจารณาเห็นว่าควรนำผ้าพระบฏนั้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์ เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุเจดีย์ ชาวอินทรปัตเจ้าของผ้าพระบฏซึ่งรอดชีวิตก็ยินดีด้วย จึงมีการแห่แหนผ้าพระบฎผืนดังกล่าวมาโอบห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ จนเกิดเป็นประเพณี “แห่ผ้าขึ้นธาตุ” สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันเป็นปีที่ 783 โดยนิยมปฏิบัติกันในวัน “มาฆบูชา และ วิสาขบูชา” แต่เนื่องจากในอดีตช่วงวันวิสาขบูชาเป็นช่วงฤดูฝนทำให้ยากลำบากในการเดินทาง จึงหันมาเน้นจัดแห่ผ้าขึ้นธาตุในวันมาฆบูชาเป็นหลัก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันในวันวิสาขบูชาก็ยังมีชาวพุทธบางส่วนยังจัดกิจกรรมแห่ผ้าขึ้นธาตุเช่นกัน
นายพิชัย บุณยเกียรติ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ปี 1773 โดยเมื่อปี 2553 สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ยกระดับงานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของจังหวัดนครศรีธรรมราชขึ้นสู่ระดับนานาชาติ ภายใช้ชื่อประเพณี “มาฆบูชาแห่ผ้าขึ้นธาตุนานาชาติที่เมืองนคร” สำหรับในปีนี้ “วันมาฆบูชา”ตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2556 จังหวัดนครศรีธรรมราชได้กำหนดจัดประเพณีนี้ขึ้นระหว่างวันที่ 21 –26 กุมภาพันธ์ 2556 โดยได้เชิญตัวแทนจาก 11 ประเทศ ประกอบด้วยประเทศ ศรีลังกา จีน เนปาล บังกลาเทศ เวียดนาม พม่า กัมพูชา ลาว ญี่ปุ่น อินเดีย และจากรัฐเคดาห์และปีนังประเทศมาเลเซีย รวมทั้งหัวเมือง 12 นักษัตร ในอดีตและจาก 4 ภูมิภาคของประเทศไทยมาร่วมกิจกรรม เพื่อนำผ้าพระบฏทั้งหมดไปร่วมขบวนแห่และนำขึ้นโอบห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ใน “วันมาฆบูชา” ต่อไป
นางนภสร ค้าขาย ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)สำนักงานนครศรีธรรมราช กล่าวว่าประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเมืองนคร ได้ดำเนินอยู่ด้วยพลังแห่งความเชื่อและศรัทธาในพุทธานุภาพที่กว้างไกล บนดินแดนที่หลากหลายและเป็นแผ่นดินที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งประชาชนชาวพุทธทั่วโลกจะเดินทางมาร่วมกิจกรรม สำคัญต่าง ๆ ที่กำหนดจัดขึ้นตามสถานที่ต่าง ๆ ประกอบด้วย วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร สวนศรีธรรมโศกราช สนามหน้าเมือง ศาลาประดู่หกและอำเภอปากพนัง โดยมีกิจกรรมมากมาย อาทิ การสาธิตผลิตและทอผ้าพระบฎ 4 ภาค นิทรรศการศิลปกรรมเครื่องพุทธบูชา การสมโภชผ้าพระบฏพระราชทาน (ที่อำเภอปากพนัง) การสมโภชและพุทธาภิเษกผ้าพระบฏไทยและผ้าพระบฏนานาชาติ พิธีรับผ้า แห่ผ้าและถวายผ้าพระบฏพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี พิธีถวายผ้าพระบฏเป็นพุทธบูชาชาการนำผ้าพระบฎขึ้นโอบห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ และเวียนเทียนมาฆบูชา
ทางด้านนายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า จังหวัดนครศรีธรรมราชได้จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก อาทิ พิธีกวนข้าวมธุปายาส การทำบุญตักบาตร การสาธิตและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) การจัดตลาดนัดโบราณจำหน่ายอาหารและขนมพื้นเมือง การแสดงบนเวทีของไทยและนานาชาติ การแสดงหุ่นละครเล็กชุด “สืบสานตำนานศิลป์ จากคณะโจหลุยส์” การสัมมนาวิชาการว่าด้วยพระพุทธศาสนาในภาคใต้ การปฏิบัติธรรมเจริญไตรสิกขา และแสดงธรรม การสวดด้าน การประกวดสวดมนต์หมู่ทำนองสรภัญญะ การประกวดวาดภาพพุทธประวัติระบายสี การแข่งขันตอบปัญหาธรรมะ การประกวดการบรรยายธรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธเส้นทางพระพุทธศาสนาในนครศรีธรรมราช การท่องเที่ยวตามรอยกินรีสามพิพิธภัณฑ์ การแสดงหนังตะลุง เพลงบอก มโนราห์ และโครงการพระบรมธาตุสู่มรดกโลก เป็นต้น.
นับเป็นอีกโอกาสหนึ่งของการได้ทำบุญอันยิ่งใหญ่ในทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธของชาวนครศรีธรรมราช และชาวพุทธทั่วไปในวันมาฆบูชา ซึ่งเป็นวันที่สำคัญที่สุดวันหนึ่งของศาสนาพุทธ ในช่างดังกล่าวจะมีประชาชนชาวพุทธรวมทั้งชาวต่างชาติจะเดินทางมาร่วมกิจกรรมอย่างมืดฟ้ามัวดินนับแสนคน ซึ่งทุกคนที่มาร่วมงานประเพณีเชื่อว่า “แม้ในชีวิตไม่ได้ร่วมสร้าง ขอให้ได้ซ่อมแต่ขอให้มีโอกาสร่วมแห่ผ้าขึ้นธาตุเมืองนครสักครั้ง” ถือว่าเป็นการทำบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่คติความเชื่อที่ว่า “เกิดมาหนึ่งชาติได้กราบพระบรมธาตุเมืองนครหนึ่งครั้ง” ก็ถือว่าไม่เสียที่เกิดมาในบวรพุทธศาสนา.
ที่มา http://www.dailynews.co.th/thailand/185207