ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
งานวิจัยอิสลามศึกษา พบ เด็กใต้เรียนเยอะ แต่ไม่ประสบความสำเร็จทั้งทางโลกและทางศาสนา เหตุผู้ปกครองตั้งความหวังเยอะอยากให้ลูกเป็นโต๊ะครูควบคู่ไปกับอาชีพการงานที่ดี
วันนี้ (20 ส.ค.) ที่ห้องประชุมกำแหง พลางกูร สภาการศึกษาแห่งชาติ - สภาการศึกษาแห่งชาติ จัดสัมมนารายงานผลการวิจัย “บูรณาการอิสลามศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานในโรงเรียนรัฐบาลในประเทศมาเลเซียเปรียบเทียบกับประเทศไทย” โดยนายมูหามัดรูหนี บากา ผู้ชำนาญการอิสลามศึกษา สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการศึกษาที่ 12, หนึ่งในคณะวิจัย กล่าวว่า จากการวิจัย พบว่า เด็กไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องเรียนหนักมาก แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ เพราะปัจจุบันโรงเรียนในพื้นที่ จะสอนอิลลามศึกษาควบคู่ไปกับการเรียนวิชาสามัญ รวมๆ แล้ว เด็กต้องเรียนทั้งหมด 16 วิชา เป็นวิชาสามัญ 8 กลุ่มสาระวิชา และวิชาศาสนา 8 รายวิชา ทั้ง 16 วิชานี้ ยังแตกเป็นรายวิชาย่อยมากมาย เด็กจึงต้องใช้เวลาเรียนหนักมาก แ
ต่ผลการประเมินระดับชาติที่สะท้อนออกมา กลับล้มเหลวทั้ง 2 ด้าน คะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ของเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในอันดับรั้งท้ายของประเทศ ส่วนคะแนนผลการทดสอบมาตรฐานอิลสามศึกษา หรือ I-NET นั้น คะแนนเฉลี่ยของทุกวิชาไม่ผ่านครึ่ง ยกเว้นวิชาเดียว คือ จริยธรรมที่ได้คะแนนเกินครึ่ง
ส่วนโรงเรียนรัฐในประเทศมาเลเซียนั้น แยกวิชาสามัญและวิชาศาสนาเช่นกัน แต่มีการบูรณาเนื้อหาวิชาศาสนาเข้าด้วยกันให้เหลือแค่วิชาศาสนาอิสลาม 1 รายวิชาแล้วไปแยกแยะเนื้อหาในกระบวนการเรียนการสอน เสริมด้วยวิชาภาษาอาหรับและภาษามลายูอีก 2 รายวิชา เด็กมาเลเซียจึงไม่ต้องเรียนหนักเหมือนเด็กมุสลิมใน 3 จังหวัดภาคใต้ ขณะที่ การเรียนศาสนาในมาเลเซียจะเน้นการนำมาใช้ชีวิตประจำวัน ให้เด็กสามารถประพฤติ ปฏิบัติตามหลักศาสนาได้อย่างถูกต้อง เด็กจึงค่อนข้างประสบความสำเร็จกับการเรียนอิสลามศึกษา
“สาเหตุที่ทำให้เด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ต้องเรียนหนัก เพราะความต้องการของพ่อแม่ อยากให้ลูกเป็นโต๊ะครู ขณะเดียวกัน ก็อยากให้เป็นแพทย์ไปด้วย ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้เด็กทุกคนเก่ง 2 ด้าน แต่กลับส่งผลให้ลูกตัวเองต้องเรียนหนัก ในเวลาเรียนก็ต้องเรียนวิชาสามัญอย่างหนักควบคู่ไปกับเรียนหลักศานาอิสลามรวมๆ แล้ว ต้องเรียนถึงวันละ 9 ชั่วโมง ขณะที่มาเลเซียเขาเรียนศาสนาแต่วันละ 3 ชั่วโมง ตกกลางคืน เด็กไทยต้องไปเรียนอัลกุรอานเพิ่ม เสาร์-อาทิตย์ ยังต้องไปเรียนศาสนาที่ตาดีกา แต่สุดท้ายเรียนไม่ผ่านเพราะเรียนหนักจนล้า พ่อแม่ให้ลูกเรียนเยอะโดยไม่สนใจว่า ลูกจะเรียนผ่านหรือไม่ ส่วนเด็กมาเลเซียนั้น จะเรียนศาสนาจบในระดับมัธยมต้น หลังจากนั้น ถ้าใครต้องการไปเป็นผู้รู้ ไปเป็นโต๊ะครู จึงจะเลือกเรียนศาสนาเพิ่มเติมในระดับมัธยมปลาย ส่วนเด็กอื่นๆ ก็จะเรียนเน้นหนักในสายที่ตัวเองต้องการศึกษาต่อ ” นายมูหามัดรูหนี กล่าว
ดร.ศราวุฒิ อารีย์ รองผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ ในฐานะหัวหน้าคณะวิจัย กล่าวว่า
ทิศทางการจัดการศึกษาของโลกมุสลิมนั้น เน้นการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ ให้ศึกษาความรู้ทั้งทางวิชาการ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และศาสนา
เพื่อให้เจ้าตัวสามารถทำประโยชน์ต่อมนุษยชาติได้ แต่เป้าหมายการเรียนอิสลามศึกษาในไทยนั้น เพื่อความศรัทธาต่อพระเจ้า เพราะฉะนั้น การเรียนศาสนาในไทยจึงไม่เหมือนที่อื่น นอกจากนั้น ยังมีการเน้นการเรียนแบบบูรณาการด้วย เพื่อลดภาระและเวลาเรียนลง แต่ในไทยนั้น ยังมีการบูรณาการน้อย ขณะที่การบูรณาการนั้น ควรบูรณาการถึงในระดับเนื้อหา ทำอย่างไร จะให้วิชาคณิตศาสตร์นั้น สอดแทรกการเรียนรู้หลักศาสนาเข้าไปได้ วิชาที่คล้ายๆ กัน ก็ควรรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เด็กไม่ต้องเรียนหนักและประสบความสำเร็จกับการเรียนได้
ด้าน นายประเสริฐ มัสซารี ประธานมูลนิธิสันติชน กล่าวว่า ผู้ปกครองเด็กมุสลิมในภาคใต้นั้น ไม่ต้องการให้เด็กเรียนศาสนาน้อยกว่าวิชาสามัญ เพราะตั้งความหวังอยากให้ลูกเป็นโต๊ะครู แต่ถ้าต้องเรียนหนักเช่นนั้น ปัญหาก็จะเกิดกับเด็ก เด็กต้องเรียนทุกเรื่องแต่กลับไม่ได้เรื่องซักด้าน เพราะฉะนั้น หากต้องการจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ ต้องเปลี่ยนความคิดของผู้ปกครองก่อน และต้องทำความเข้าใจให้ผู้ปกครองเข้าใจ และยอมรับการเรียนการสอนแบบบูรณาการซึ่งช่วยลดภาระการเรียนหนักให้เด็กได้
“อยากให้รื้อฟื้นนโยบายสร้างอิสลามวิทยาลัยขึ้นมา รองรับนักเรียนมุสลิมที่จบ ม.ปลาย จากทั่วประเทศ หากใครเรียนดีมีทุนไปศึกษาต่อที่ตะวันออกกลาง ขณะเดียวกัน ก็ให้การให้ทุนระดับตำบลแก่เด็กมุสลิมเรียนต่อระดับอุดมศึกษา วิธีนี้ จะช่วยแก้ปัญหา 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ทุกวันนี้ เรามีอิสลามศึกษา แต่ในพื้นที่ก็ยังมีปัญหาเยาวชน ปัญหายาเสพติด ปัญหาความเข้าใจผิดในเรื่องต่างๆ สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะเด็กในภาคใต้เรียนมากแต่กลับรู้น้อย ไม่เก่งพอจะไปแข่งสอบเข้าเรียนต่อกับเด็กจากที่อื่นๆ ได้ กลายเป็นปัญหาของภาคใต้ หากมีการให้ทุนการศึกษาแก่ทุกตำบล จะช่วยแก้ปัญหาในภาคใต้ได้มาก”
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000102439
ชี้ เด็กใต้เรียนเยอะ ไม่ประสบความสำเร็จทางโลก-ศาสนา
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
งานวิจัยอิสลามศึกษา พบ เด็กใต้เรียนเยอะ แต่ไม่ประสบความสำเร็จทั้งทางโลกและทางศาสนา เหตุผู้ปกครองตั้งความหวังเยอะอยากให้ลูกเป็นโต๊ะครูควบคู่ไปกับอาชีพการงานที่ดี
วันนี้ (20 ส.ค.) ที่ห้องประชุมกำแหง พลางกูร สภาการศึกษาแห่งชาติ - สภาการศึกษาแห่งชาติ จัดสัมมนารายงานผลการวิจัย “บูรณาการอิสลามศึกษา รูปแบบการจัดการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานในโรงเรียนรัฐบาลในประเทศมาเลเซียเปรียบเทียบกับประเทศไทย” โดยนายมูหามัดรูหนี บากา ผู้ชำนาญการอิสลามศึกษา สำนักบริหารยุทธศาสตร์และบูรณาการศึกษาที่ 12, หนึ่งในคณะวิจัย กล่าวว่า จากการวิจัย พบว่า เด็กไทยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องเรียนหนักมาก แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จ เพราะปัจจุบันโรงเรียนในพื้นที่ จะสอนอิลลามศึกษาควบคู่ไปกับการเรียนวิชาสามัญ รวมๆ แล้ว เด็กต้องเรียนทั้งหมด 16 วิชา เป็นวิชาสามัญ 8 กลุ่มสาระวิชา และวิชาศาสนา 8 รายวิชา ทั้ง 16 วิชานี้ ยังแตกเป็นรายวิชาย่อยมากมาย เด็กจึงต้องใช้เวลาเรียนหนักมาก แต่ผลการประเมินระดับชาติที่สะท้อนออกมา กลับล้มเหลวทั้ง 2 ด้าน คะแนนทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET ของเด็กใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อยู่ในอันดับรั้งท้ายของประเทศ ส่วนคะแนนผลการทดสอบมาตรฐานอิลสามศึกษา หรือ I-NET นั้น คะแนนเฉลี่ยของทุกวิชาไม่ผ่านครึ่ง ยกเว้นวิชาเดียว คือ จริยธรรมที่ได้คะแนนเกินครึ่ง
ส่วนโรงเรียนรัฐในประเทศมาเลเซียนั้น แยกวิชาสามัญและวิชาศาสนาเช่นกัน แต่มีการบูรณาเนื้อหาวิชาศาสนาเข้าด้วยกันให้เหลือแค่วิชาศาสนาอิสลาม 1 รายวิชาแล้วไปแยกแยะเนื้อหาในกระบวนการเรียนการสอน เสริมด้วยวิชาภาษาอาหรับและภาษามลายูอีก 2 รายวิชา เด็กมาเลเซียจึงไม่ต้องเรียนหนักเหมือนเด็กมุสลิมใน 3 จังหวัดภาคใต้ ขณะที่ การเรียนศาสนาในมาเลเซียจะเน้นการนำมาใช้ชีวิตประจำวัน ให้เด็กสามารถประพฤติ ปฏิบัติตามหลักศาสนาได้อย่างถูกต้อง เด็กจึงค่อนข้างประสบความสำเร็จกับการเรียนอิสลามศึกษา
“สาเหตุที่ทำให้เด็กใน 3 จังหวัดภาคใต้ต้องเรียนหนัก เพราะความต้องการของพ่อแม่ อยากให้ลูกเป็นโต๊ะครู ขณะเดียวกัน ก็อยากให้เป็นแพทย์ไปด้วย ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ที่จะให้เด็กทุกคนเก่ง 2 ด้าน แต่กลับส่งผลให้ลูกตัวเองต้องเรียนหนัก ในเวลาเรียนก็ต้องเรียนวิชาสามัญอย่างหนักควบคู่ไปกับเรียนหลักศานาอิสลามรวมๆ แล้ว ต้องเรียนถึงวันละ 9 ชั่วโมง ขณะที่มาเลเซียเขาเรียนศาสนาแต่วันละ 3 ชั่วโมง ตกกลางคืน เด็กไทยต้องไปเรียนอัลกุรอานเพิ่ม เสาร์-อาทิตย์ ยังต้องไปเรียนศาสนาที่ตาดีกา แต่สุดท้ายเรียนไม่ผ่านเพราะเรียนหนักจนล้า พ่อแม่ให้ลูกเรียนเยอะโดยไม่สนใจว่า ลูกจะเรียนผ่านหรือไม่ ส่วนเด็กมาเลเซียนั้น จะเรียนศาสนาจบในระดับมัธยมต้น หลังจากนั้น ถ้าใครต้องการไปเป็นผู้รู้ ไปเป็นโต๊ะครู จึงจะเลือกเรียนศาสนาเพิ่มเติมในระดับมัธยมปลาย ส่วนเด็กอื่นๆ ก็จะเรียนเน้นหนักในสายที่ตัวเองต้องการศึกษาต่อ ” นายมูหามัดรูหนี กล่าว
ดร.ศราวุฒิ อารีย์ รองผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์ ในฐานะหัวหน้าคณะวิจัย กล่าวว่า ทิศทางการจัดการศึกษาของโลกมุสลิมนั้น เน้นการศึกษาตลอดชีวิต โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาความเป็นมนุษย์ ให้ศึกษาความรู้ทั้งทางวิชาการ โดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และศาสนา เพื่อให้เจ้าตัวสามารถทำประโยชน์ต่อมนุษยชาติได้ แต่เป้าหมายการเรียนอิสลามศึกษาในไทยนั้น เพื่อความศรัทธาต่อพระเจ้า เพราะฉะนั้น การเรียนศาสนาในไทยจึงไม่เหมือนที่อื่น นอกจากนั้น ยังมีการเน้นการเรียนแบบบูรณาการด้วย เพื่อลดภาระและเวลาเรียนลง แต่ในไทยนั้น ยังมีการบูรณาการน้อย ขณะที่การบูรณาการนั้น ควรบูรณาการถึงในระดับเนื้อหา ทำอย่างไร จะให้วิชาคณิตศาสตร์นั้น สอดแทรกการเรียนรู้หลักศาสนาเข้าไปได้ วิชาที่คล้ายๆ กัน ก็ควรรวมเข้าด้วยกัน ซึ่งจะทำให้เด็กไม่ต้องเรียนหนักและประสบความสำเร็จกับการเรียนได้
ด้าน นายประเสริฐ มัสซารี ประธานมูลนิธิสันติชน กล่าวว่า ผู้ปกครองเด็กมุสลิมในภาคใต้นั้น ไม่ต้องการให้เด็กเรียนศาสนาน้อยกว่าวิชาสามัญ เพราะตั้งความหวังอยากให้ลูกเป็นโต๊ะครู แต่ถ้าต้องเรียนหนักเช่นนั้น ปัญหาก็จะเกิดกับเด็ก เด็กต้องเรียนทุกเรื่องแต่กลับไม่ได้เรื่องซักด้าน เพราะฉะนั้น หากต้องการจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ ต้องเปลี่ยนความคิดของผู้ปกครองก่อน และต้องทำความเข้าใจให้ผู้ปกครองเข้าใจ และยอมรับการเรียนการสอนแบบบูรณาการซึ่งช่วยลดภาระการเรียนหนักให้เด็กได้
“อยากให้รื้อฟื้นนโยบายสร้างอิสลามวิทยาลัยขึ้นมา รองรับนักเรียนมุสลิมที่จบ ม.ปลาย จากทั่วประเทศ หากใครเรียนดีมีทุนไปศึกษาต่อที่ตะวันออกกลาง ขณะเดียวกัน ก็ให้การให้ทุนระดับตำบลแก่เด็กมุสลิมเรียนต่อระดับอุดมศึกษา วิธีนี้ จะช่วยแก้ปัญหา 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ ทุกวันนี้ เรามีอิสลามศึกษา แต่ในพื้นที่ก็ยังมีปัญหาเยาวชน ปัญหายาเสพติด ปัญหาความเข้าใจผิดในเรื่องต่างๆ สาเหตุส่วนหนึ่งเพราะเด็กในภาคใต้เรียนมากแต่กลับรู้น้อย ไม่เก่งพอจะไปแข่งสอบเข้าเรียนต่อกับเด็กจากที่อื่นๆ ได้ กลายเป็นปัญหาของภาคใต้ หากมีการให้ทุนการศึกษาแก่ทุกตำบล จะช่วยแก้ปัญหาในภาคใต้ได้มาก”
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000102439