ไหนๆ ก็ไหนๆแล้ว มาอ่านงบการเงินพื้นฐาน ให้เป็นกันนะครับ
จะได้รู้ว่า บมจ.ไหน อดีตเป็นยังไง ก่อนที่จะลงทุนกับเขา
คนใบ้หุ้นไ่ม่ดี ไม่ใช่ว่า บมจ.จะไม่ดีไปด้วยนะครับ
เริ่มต้นด้วย รูปนี้เลยนะครับ ในภาพอธิบายแล้วกันครับผม
เริ่มต้นง่ายๆ ด้วย
"กำไรสุทธิต่อหุ้น" หรือ
"EPS" ครับ
EPS สามารถบอกเราได้คร่าวๆว่า
1. บริษัทที่มี EPS เติบโตสม่ำเสมอในระยะยาว บ่งบอกว่าบริษัทมีการขายหรือบริการ
ในสินค้าที่ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น มักจะมีค่าใช้จ่ายสูง
คือ สร้างรายได้จากสินค้าหรือบริการที่ตนเองถนัดนั่นเอง
2. มองได้อีกอย่างนึง บริษัทที่มี EPS สับสน(ขึ้นๆลงๆ) อาจจะเป็นบริษัทที่ดี มีอำนาจต่อรองต่อลูกค้าสูง
เพียงแต่ว่า สินค้าเป็น Commodity ซึ่งมีต้นทุนเคลื่อนไหวตามตลาดโลก
ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงบริษัทที่มี EPS สับสน เพราะบริษัทเหล่านี้มักจะมีภูมิคุ้มกันต่อภาวะเศรษฐกิจต่ำ
เมื่อลองมาดู 10 บริษัทที่มีราคาขึ้นมา 500% ใน 10 ปี
จะเห็นว่า มี EPS ดีขึ้น..หรือแย่ที่สุดก็ "ทรงๆ"
เมื่อสังเกตดูจะพบว่าบริษัทเหล่านั้นมีความถนัดในธุรกิจของตนเอง
เช่น DCC ก็ทำแต่กระเบื้องๆๆๆ CPALL ก็ทำแต่ 7-11
PB ก็ทำแต่ขนมปังฟาร์มเฮาท์ LPN ก็ทำแต่คอนโดอย่างเดียว
มีเพียง BJC เท่านั้นที่ทำแบบจับฉ่าย...บังเอิญว่า เป็นจับฉ่ายที่มี Market Share สูง ในแต่ละ Line ที่ทำ
ส่วนเมื่อมาดู หุ้นที่ไม่ขึ้นใน 10 ปีบ้าง
จะเห็นว่า EPS ของหุ้นเหล่านั้น...สับสน...ดีบ้าง...ไม่ดีบ้างสลับกันไป
หุ้นแบบนี้ VI ไม่ชอบ....แต่จะเป็นที่ชื่นชอบของ Momentum Investor ที่เล่นตามข่าว....ตามงบพิเศษ
อัตรากำไรขั้นต้น หรือ
Gross Profit Margin ขอเรียกสั้นๆ ว่า GPM
มาจาก กำไรขั้นต้น/รายได้ .....ดังนั้นจึงมีหน่วยเป็น %
กำไรขั้นต้นมาจาก
รายได้-ต้นทุนขาย
ซึ่งต้นทุนขายเหล่านั้นมาจากตัวสินค้าเพียวๆ...ไม่เกี่ยวกับค่าผู้บริหารหรือค่าโฆษณา
GPM บ่งบอกอะไรได้บ้าง?
1. บริษัทที่จะมีความได้เปรียบในระยะยาว มักจะมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงพอควร ไม่จำเป้นต้องเพิ่มขึ้นแต่ต้องสม่ำเสมอทุกปี
เพราะนั่นหมายความว่า บริษัทมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าได้สูง
ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น
1. เวลาเราไป 7-11 เราจะไม่ไปต่อรองราคากับพนักงาน
2. เวลาเราจะดมยาสลบเพื่อฝ่าตัดที่โรงพยาบาล เราจะไม่ต่อรองกับหมอว่า "ขอดมแค่ครึ่งเดียวพอ..หมอรีบๆผ่าละกัน"
จะเห็นว่า %GPM ที่ค่อนข้างจะสูงและเสถียรนี้
แสดงความสามารถในการต่อรองกับลูกค้าที่สูง
เมื่อดูบริษัทที่ราคาไม่ไปไหนใน 10 ปี จะเห็นว่ามี GPM ที่สับสน ซึ่ง VI ควรหลีกเลี่ยงบริษัทเหล่านี้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในการขาย หรือ
SG&A to Sell
คือ ค่าโฆษณา ค่าจ้างผู้บริหาร ค่าโบนัสสำหรับดึงตัวผู้บริหารจากที่อื่น
บ่งบอกอะไรเรา??
1. หากบริษัทใดมีค่านี้เพิ่มขึ้น นั้นไม่ดีเลย เพราะหมายความว่า ต้องโฆษณาตลอด
ต้องหาผู้บริหารใหม่ตลอด หรือ ต้องจ่ายโบนัสสูงๆ เพื่อรั้งตัวผู้บริหารไว้
หมายความว่า ยังไง??
หมายความว่า...บริษัทเหล่านี้...มี
Brand ที่อ่อนแอ
ต้องเสียค่าการตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการทำธุรกิจ
ดังนั้น บริษัทที่มี Brand ที่แข็งแกร่ง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ต้องลดลงหรือมีความสม่ำเสมอ
อันนี้ เอาง่ายๆ คือ
ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี
ง่ายๆ
ยิ่งน้อยยิ่งดี...
กำไรที่ได้...ไม่ต้องเอาไปคืนเจ้าหนี้เงินกู้มาก
ควรจะดูเปรียบเทียบกับบริษัทประเภทเดียวกัน...ทำธุรกิจเหมือนกัน
จะไปเปรียบเทียบกับทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมไม่ได้
เพราะแม้จะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่โดยเนื้อของธุรกิจไม่เหมือนกัน
เช่น เราจะเอา BJC มาเปรียบกับ CPALL ไม่ได้ แม้จะอยู่ในกลุ่ม COMM เหมือนกัน
ควรเอา CPALL ไปเปรียบกับ Family Mart หรือ Lotus Express
อัตรากำไรสุทธิ หรือ
Net Profit Margin (NPM)
บ.ที่มี NPM ใน% ที่สูงและสม่ำเสมอ หมายความว่า
ธรรมชาติของธุรกิจที่บริษัทนั้นทำ..
มีความสามารถในการแข่งขันสูง
อาจจะมีบางบริษัทที่เกิดการ
"ป่องหรือยุบ" ของ NPM
เช่น ROBINS ในปี 2549 และ 2553
ให้กลับไปดูรายได้การขายหรือ Revenue ว่าปกติหรือไม่
ถ้าปกติ...ให้คาดเดาไปก่อนเลยว่ามาจาก
กำไรพิเศษแน่นอน
นักลงทุนแบบ Momentum Investor จะใช้จุดนี้แหละในการทำราคาหุ้น...จึงเป็นจังหวะดีที่ควรแบ่งขายออกไป
เพราะว่า สุดท้ายแล้วปีต่อมา....กำไรพิเศษนี้..อาจจะไม่มีอีกเลย
หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน
คือ?? หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย/ส่วนของผู้ถือหุ้น
บ.ที่มีความได้เปรียบยั่งยืน ไม่ต้องการมีหนี้หรือต้องการกู้น้อยมาก
เพราะบริํษัทเหล่านีทำกำไรได้มหาศาลและมีการ
เพิ่มกำไรสะสมเอาไว้
เมื่อต้องการจะขยายงานจะใช้กำไรนั้น..ไม่ต้องไปออกหุ้นกู้
หรือเพิ่มทุนหุ้น...การเพิ่มทุน..เราไม่ชอบ...เพราะ..เขามาขอเงินเราเพิ่ม
ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงบริษัทที่โตได้ด้วยหนี้
เพราะนอกจากเขาจะต้องกู้เงินมาดำเนินงานแล้ว
เขายังมีโอกาสเพิ่มทุนเพื่อขอเงินเราเพิ่มอีกด้วย
ดู ตัวอย่างจาก TRUE ก็ได้
หาก TRUE หรือ
บริษัทใดมีหนี้มาก
เราควรไปลงทุนผ่านทาง
หุ้นกู้...เขาต้องให้ดอกเบี้ยสูง
เนื่องจากการมีหนี้มากจะมี Credit ให้การกู้ยืมที่ไม่ดี หรือ Rating ระดับต่ำ
บริษัทเหล่านี้...
เก่งในการทำกำไร...มาใช้หนี้ ไม่ใช่...ให้ผู้ถือหุ้น
ROE
คือ กำไรสุทธิ/ส่วนของผู้ถือหุ้น
หาก บมจ.ใดมี ROE ที่สูง...หมายความว่า
บมจ.นั้น
เก่งในการหากำไร...จากกำไรสะสมที่มีอยู่
เพราะกำไรสะสมที่ไม่ได้จัดสรร..จะกลายเป็น
ส่วนของผู้ถือหุ้น
บางทีเราจะเห็นบริษัทดีๆบางบริษัทจ่ายปันผล..เตี้ยต่ำดิน
แต่มีค่า ROE สูงขึ้นเรื่อยๆ...เห็นแล้วใช่มั้ยว่า คือ บ.ใด??
เฉลย CPF
CPF เป็นบริษัทที่มีอัตราการจ่ายปันผล..ต่ำกว่าเงินฝากประจำ
มาตลอดหลายปี....แต่ราคาสูงขึ้นมามาก
เพราะ บริษัทเก่งในการใช้เงินสะสมที่มีอยู่ ต่อยอดธุรกิจต่อไป
มติในที่ประชุมถึง ไม่จำเป็นต้อง จ่ายปันผลในอัตราที่ดึงดูดให้ผู้ลงทุนมาซื้อหุ้นนั่นเอง
ROA หรือ
ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์
คือ กำไรสุทธิ/สินทรัพย์
อัตราส่วนนี้ยิ่งมีมากและเพิ่มขึ้นยิ่งดี เพราะหมายความว่า..บมจ.สามารถสร้างกำไร
จากเครื่องจักร,ที่ดิน หรือสินทรัพย์ที่มีค่าเสื่อมราคาใดๆ ได้ดีขึ้น
ไม่มีความจำเป็นต้องหาเครื่องจักรหรือที่ดินมาเพิ่ม
ข้อควรระวัง
ROA ที่สูงมากๆจะเป้นตัวเชื้อเชิญให้คู่แข่งเข้าสู่ตลาด
มาเพื่อแย่ง Market Share.....เพราะอะไร???
ดูตัวอย่างที่ บมจ. DCC ผู้ผลิตกระเบื้องรายใหญ่
และมีตัวแทนจำหน่ายทั่วทุกภาค
ด้วย ROA ถึง 46% หมายความว่า
ถ้ามีเศรษฐีคนนึง เห็นว่า แค่มีสินทรัพย์ที่เป็นโรงงาน
หรือมีสาขามากๆ เหมือน DCC ก็สามารถหาผลตอบแทน 40%
เขาจะเข้ามาทำธุรกิจ
ชีวิตจริงก็เห็นแล้วที่ บมจ.SCC ที่มีโรงงานผลิตอยู่แล้ว
สนใจเข้าซื้อ HMPRO และ GLOBAL
เพราะต้องการเพิ่มปริมาณตัวแทนจำหน่ายนั่นเอง
จบแล้วครับคร่าวๆ อาจไม่ได้ละเอียดขนาด VI สาย Fighting
ที่ต้องเข้าไปเจาะถึงแผนการในอนาคตของบริษัท ซึ่งส่วนนี้แหละสำคัญที่สุด
ในการกำหนดกำไรและราคาของบริษัทในอนาคต
และแน่นอนว่าการอ่านงบแบบนี้
ไม่ได้ถูกต้องเต็ม 100% ทั้งหมด
แต่การดูคร่าวๆ เหล่านี้จะทำให้เรา Scan บริษัทได้คร่าวๆ ลดการเสียเวลาลง
เพื่อจะได้ไป Fight กับรายละเอียดอื่นๆลึกๆ ในด้านอื่นต่อไป
ออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้คิดเองเขียนเอง เรียนจากเขามาเหมือนกัน
เรียนโดยตรงจากอาจารย์ที่เป็นนักวิเคราะห์ประจำโบรกของผม
ออกช่อง Money บ่อยๆ พูดจาน่ารักๆ เป็นกันเองสุดๆ
แล้วก็ได้เรียบเรียงเพื่อมาแลกเปลี่ยน แบ่งปันกันกับเพื่อนๆข้างนอกสินธรไปแล้ว
หากท่านใดสนใจ อยากได้งบการเงินของบริษัทใด ก็เข้าไปโหลดได้ในนี้
http://www.upload-thai.com/download.php?id=220c66e6010d4e6720ef630dd8f73bee
อาจารย์ผมแจกให้ฟรี ผมก็แจกให้ฟรีต่อไป ท่านใดใอยากให้วิทยาทานต่อก็ส่งต่อได้เลยครับ
เพราะมันก็เป็นแค่
เครื่องมือๆนึง ไม่ได้สำเร็จรูปอะไร อยู่ที่ใครจะ
ขยันหาขยันใช้
อย่าเชื่อผมมาก
ผมเป็นมาร์ฯ หากินจากค่าคอมฯของพวกท่าน
แต่ถ้าหากวันหน้า ถ้ามีโอกาสได้เข้ามาเป็นนักลงทุนเต็มตัวก็คงจะดีไม่น้อย(รอมีเงินเก็บก่อนสิ)
จะได้สนทนากันได้อย่างออกรสชาติเต็มตัว ไม่ต้องคิดพะวงหน้าพะวงหลัง
โชคดีมีกำไร เงินต้นปลอดภัยทุกท่านครับ
การอ่านอัตราส่วนทางการเงินคร่าวๆ ความรู้ป.ตรี(จ่ายก่อนค่อยอ่าน จ่ายเป็นเวลามาท่านละ 30 นาทีพอครับ ลดให้)
จะได้รู้ว่า บมจ.ไหน อดีตเป็นยังไง ก่อนที่จะลงทุนกับเขา
คนใบ้หุ้นไ่ม่ดี ไม่ใช่ว่า บมจ.จะไม่ดีไปด้วยนะครับ
เริ่มต้นด้วย รูปนี้เลยนะครับ ในภาพอธิบายแล้วกันครับผม
เริ่มต้นง่ายๆ ด้วย "กำไรสุทธิต่อหุ้น" หรือ "EPS" ครับ
EPS สามารถบอกเราได้คร่าวๆว่า
1. บริษัทที่มี EPS เติบโตสม่ำเสมอในระยะยาว บ่งบอกว่าบริษัทมีการขายหรือบริการ
ในสินค้าที่ไม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านั้น มักจะมีค่าใช้จ่ายสูง
คือ สร้างรายได้จากสินค้าหรือบริการที่ตนเองถนัดนั่นเอง
2. มองได้อีกอย่างนึง บริษัทที่มี EPS สับสน(ขึ้นๆลงๆ) อาจจะเป็นบริษัทที่ดี มีอำนาจต่อรองต่อลูกค้าสูง
เพียงแต่ว่า สินค้าเป็น Commodity ซึ่งมีต้นทุนเคลื่อนไหวตามตลาดโลก
ดังนั้นเราควรหลีกเลี่ยงบริษัทที่มี EPS สับสน เพราะบริษัทเหล่านี้มักจะมีภูมิคุ้มกันต่อภาวะเศรษฐกิจต่ำ
เมื่อลองมาดู 10 บริษัทที่มีราคาขึ้นมา 500% ใน 10 ปี
จะเห็นว่า มี EPS ดีขึ้น..หรือแย่ที่สุดก็ "ทรงๆ"
เมื่อสังเกตดูจะพบว่าบริษัทเหล่านั้นมีความถนัดในธุรกิจของตนเอง
เช่น DCC ก็ทำแต่กระเบื้องๆๆๆ CPALL ก็ทำแต่ 7-11
PB ก็ทำแต่ขนมปังฟาร์มเฮาท์ LPN ก็ทำแต่คอนโดอย่างเดียว
มีเพียง BJC เท่านั้นที่ทำแบบจับฉ่าย...บังเอิญว่า เป็นจับฉ่ายที่มี Market Share สูง ในแต่ละ Line ที่ทำ
ส่วนเมื่อมาดู หุ้นที่ไม่ขึ้นใน 10 ปีบ้าง
จะเห็นว่า EPS ของหุ้นเหล่านั้น...สับสน...ดีบ้าง...ไม่ดีบ้างสลับกันไป
หุ้นแบบนี้ VI ไม่ชอบ....แต่จะเป็นที่ชื่นชอบของ Momentum Investor ที่เล่นตามข่าว....ตามงบพิเศษ
อัตรากำไรขั้นต้น หรือ Gross Profit Margin ขอเรียกสั้นๆ ว่า GPM
มาจาก กำไรขั้นต้น/รายได้ .....ดังนั้นจึงมีหน่วยเป็น %
กำไรขั้นต้นมาจาก รายได้-ต้นทุนขาย
ซึ่งต้นทุนขายเหล่านั้นมาจากตัวสินค้าเพียวๆ...ไม่เกี่ยวกับค่าผู้บริหารหรือค่าโฆษณา
GPM บ่งบอกอะไรได้บ้าง?
1. บริษัทที่จะมีความได้เปรียบในระยะยาว มักจะมีอัตรากำไรขั้นต้นสูงพอควร ไม่จำเป้นต้องเพิ่มขึ้นแต่ต้องสม่ำเสมอทุกปี
เพราะนั่นหมายความว่า บริษัทมีอำนาจต่อรองกับลูกค้าได้สูง
ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น
1. เวลาเราไป 7-11 เราจะไม่ไปต่อรองราคากับพนักงาน
2. เวลาเราจะดมยาสลบเพื่อฝ่าตัดที่โรงพยาบาล เราจะไม่ต่อรองกับหมอว่า "ขอดมแค่ครึ่งเดียวพอ..หมอรีบๆผ่าละกัน"
จะเห็นว่า %GPM ที่ค่อนข้างจะสูงและเสถียรนี้
แสดงความสามารถในการต่อรองกับลูกค้าที่สูง
เมื่อดูบริษัทที่ราคาไม่ไปไหนใน 10 ปี จะเห็นว่ามี GPM ที่สับสน ซึ่ง VI ควรหลีกเลี่ยงบริษัทเหล่านี้
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในการขาย หรือ SG&A to Sell
คือ ค่าโฆษณา ค่าจ้างผู้บริหาร ค่าโบนัสสำหรับดึงตัวผู้บริหารจากที่อื่น
บ่งบอกอะไรเรา??
1. หากบริษัทใดมีค่านี้เพิ่มขึ้น นั้นไม่ดีเลย เพราะหมายความว่า ต้องโฆษณาตลอด
ต้องหาผู้บริหารใหม่ตลอด หรือ ต้องจ่ายโบนัสสูงๆ เพื่อรั้งตัวผู้บริหารไว้
หมายความว่า ยังไง??
หมายความว่า...บริษัทเหล่านี้...มี Brand ที่อ่อนแอ
ต้องเสียค่าการตลาดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในการทำธุรกิจ
ดังนั้น บริษัทที่มี Brand ที่แข็งแกร่ง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ต้องลดลงหรือมีความสม่ำเสมอ
อันนี้ เอาง่ายๆ คือ ค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยต่อกำไรก่อนดอกเบี้ยและภาษี
ง่ายๆ ยิ่งน้อยยิ่งดี...กำไรที่ได้...ไม่ต้องเอาไปคืนเจ้าหนี้เงินกู้มาก
ควรจะดูเปรียบเทียบกับบริษัทประเภทเดียวกัน...ทำธุรกิจเหมือนกัน
จะไปเปรียบเทียบกับทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมไม่ได้
เพราะแม้จะอยู่ในกลุ่มเดียวกัน แต่โดยเนื้อของธุรกิจไม่เหมือนกัน
เช่น เราจะเอา BJC มาเปรียบกับ CPALL ไม่ได้ แม้จะอยู่ในกลุ่ม COMM เหมือนกัน
ควรเอา CPALL ไปเปรียบกับ Family Mart หรือ Lotus Express
อัตรากำไรสุทธิ หรือ Net Profit Margin (NPM)
บ.ที่มี NPM ใน% ที่สูงและสม่ำเสมอ หมายความว่า
ธรรมชาติของธุรกิจที่บริษัทนั้นทำ..มีความสามารถในการแข่งขันสูง
อาจจะมีบางบริษัทที่เกิดการ "ป่องหรือยุบ" ของ NPM
เช่น ROBINS ในปี 2549 และ 2553
ให้กลับไปดูรายได้การขายหรือ Revenue ว่าปกติหรือไม่
ถ้าปกติ...ให้คาดเดาไปก่อนเลยว่ามาจากกำไรพิเศษแน่นอน
นักลงทุนแบบ Momentum Investor จะใช้จุดนี้แหละในการทำราคาหุ้น...จึงเป็นจังหวะดีที่ควรแบ่งขายออกไป
เพราะว่า สุดท้ายแล้วปีต่อมา....กำไรพิเศษนี้..อาจจะไม่มีอีกเลย
หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อทุน
คือ?? หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ย/ส่วนของผู้ถือหุ้น
บ.ที่มีความได้เปรียบยั่งยืน ไม่ต้องการมีหนี้หรือต้องการกู้น้อยมาก
เพราะบริํษัทเหล่านีทำกำไรได้มหาศาลและมีการเพิ่มกำไรสะสมเอาไว้
เมื่อต้องการจะขยายงานจะใช้กำไรนั้น..ไม่ต้องไปออกหุ้นกู้
หรือเพิ่มทุนหุ้น...การเพิ่มทุน..เราไม่ชอบ...เพราะ..เขามาขอเงินเราเพิ่ม
ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงบริษัทที่โตได้ด้วยหนี้
เพราะนอกจากเขาจะต้องกู้เงินมาดำเนินงานแล้ว
เขายังมีโอกาสเพิ่มทุนเพื่อขอเงินเราเพิ่มอีกด้วย
ดู ตัวอย่างจาก TRUE ก็ได้
หาก TRUE หรือบริษัทใดมีหนี้มาก
เราควรไปลงทุนผ่านทางหุ้นกู้...เขาต้องให้ดอกเบี้ยสูง
เนื่องจากการมีหนี้มากจะมี Credit ให้การกู้ยืมที่ไม่ดี หรือ Rating ระดับต่ำ
บริษัทเหล่านี้...เก่งในการทำกำไร...มาใช้หนี้ ไม่ใช่...ให้ผู้ถือหุ้น
ROE
คือ กำไรสุทธิ/ส่วนของผู้ถือหุ้น
หาก บมจ.ใดมี ROE ที่สูง...หมายความว่า
บมจ.นั้น เก่งในการหากำไร...จากกำไรสะสมที่มีอยู่
เพราะกำไรสะสมที่ไม่ได้จัดสรร..จะกลายเป็นส่วนของผู้ถือหุ้น
บางทีเราจะเห็นบริษัทดีๆบางบริษัทจ่ายปันผล..เตี้ยต่ำดิน
แต่มีค่า ROE สูงขึ้นเรื่อยๆ...เห็นแล้วใช่มั้ยว่า คือ บ.ใด??
เฉลย CPF
CPF เป็นบริษัทที่มีอัตราการจ่ายปันผล..ต่ำกว่าเงินฝากประจำ
มาตลอดหลายปี....แต่ราคาสูงขึ้นมามาก
เพราะ บริษัทเก่งในการใช้เงินสะสมที่มีอยู่ ต่อยอดธุรกิจต่อไป
มติในที่ประชุมถึง ไม่จำเป็นต้อง จ่ายปันผลในอัตราที่ดึงดูดให้ผู้ลงทุนมาซื้อหุ้นนั่นเอง
ROA หรือ ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์
คือ กำไรสุทธิ/สินทรัพย์
อัตราส่วนนี้ยิ่งมีมากและเพิ่มขึ้นยิ่งดี เพราะหมายความว่า..บมจ.สามารถสร้างกำไร
จากเครื่องจักร,ที่ดิน หรือสินทรัพย์ที่มีค่าเสื่อมราคาใดๆ ได้ดีขึ้น
ไม่มีความจำเป็นต้องหาเครื่องจักรหรือที่ดินมาเพิ่ม
ข้อควรระวัง
ROA ที่สูงมากๆจะเป้นตัวเชื้อเชิญให้คู่แข่งเข้าสู่ตลาด
มาเพื่อแย่ง Market Share.....เพราะอะไร???
ดูตัวอย่างที่ บมจ. DCC ผู้ผลิตกระเบื้องรายใหญ่
และมีตัวแทนจำหน่ายทั่วทุกภาค
ด้วย ROA ถึง 46% หมายความว่า
ถ้ามีเศรษฐีคนนึง เห็นว่า แค่มีสินทรัพย์ที่เป็นโรงงาน
หรือมีสาขามากๆ เหมือน DCC ก็สามารถหาผลตอบแทน 40%
เขาจะเข้ามาทำธุรกิจ
ชีวิตจริงก็เห็นแล้วที่ บมจ.SCC ที่มีโรงงานผลิตอยู่แล้ว
สนใจเข้าซื้อ HMPRO และ GLOBAL
เพราะต้องการเพิ่มปริมาณตัวแทนจำหน่ายนั่นเอง
จบแล้วครับคร่าวๆ อาจไม่ได้ละเอียดขนาด VI สาย Fighting
ที่ต้องเข้าไปเจาะถึงแผนการในอนาคตของบริษัท ซึ่งส่วนนี้แหละสำคัญที่สุด
ในการกำหนดกำไรและราคาของบริษัทในอนาคต
และแน่นอนว่าการอ่านงบแบบนี้ ไม่ได้ถูกต้องเต็ม 100% ทั้งหมด
แต่การดูคร่าวๆ เหล่านี้จะทำให้เรา Scan บริษัทได้คร่าวๆ ลดการเสียเวลาลง
เพื่อจะได้ไป Fight กับรายละเอียดอื่นๆลึกๆ ในด้านอื่นต่อไป
ออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้คิดเองเขียนเอง เรียนจากเขามาเหมือนกัน
เรียนโดยตรงจากอาจารย์ที่เป็นนักวิเคราะห์ประจำโบรกของผม
ออกช่อง Money บ่อยๆ พูดจาน่ารักๆ เป็นกันเองสุดๆ
แล้วก็ได้เรียบเรียงเพื่อมาแลกเปลี่ยน แบ่งปันกันกับเพื่อนๆข้างนอกสินธรไปแล้ว
หากท่านใดสนใจ อยากได้งบการเงินของบริษัทใด ก็เข้าไปโหลดได้ในนี้
http://www.upload-thai.com/download.php?id=220c66e6010d4e6720ef630dd8f73bee
อาจารย์ผมแจกให้ฟรี ผมก็แจกให้ฟรีต่อไป ท่านใดใอยากให้วิทยาทานต่อก็ส่งต่อได้เลยครับ
เพราะมันก็เป็นแค่ เครื่องมือๆนึง ไม่ได้สำเร็จรูปอะไร อยู่ที่ใครจะขยันหาขยันใช้
อย่าเชื่อผมมาก ผมเป็นมาร์ฯ หากินจากค่าคอมฯของพวกท่าน
แต่ถ้าหากวันหน้า ถ้ามีโอกาสได้เข้ามาเป็นนักลงทุนเต็มตัวก็คงจะดีไม่น้อย(รอมีเงินเก็บก่อนสิ)
จะได้สนทนากันได้อย่างออกรสชาติเต็มตัว ไม่ต้องคิดพะวงหน้าพะวงหลัง
โชคดีมีกำไร เงินต้นปลอดภัยทุกท่านครับ