(เอาจริงแบบแรง!ลงประกาศราชกิจจานุเบกษาสัปดาห์หน้า) กสทช.ประกาศให้ค่ายที่ประมูลคลื่นความถี่2.1GHzได้ต้องคิดค่าIC 45สตางค์

(เอาจริงแบบแรง!!ลงประกาศราชกิจจานุเบกษาสัปดาห์หน้า) กสทช.ประกาศให้ค่ายที่ประมูลคลื่นความถี่2.1GHzได้ต้องคิดค่าIC 45สตางค์

ประเด็นหลัก



เป็นการชั่วคราวสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz (ใบอนุญาต3G) โดยให้ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายคิดค่าไอซี ในอัตรานาทีละ 45 สตางค์

สำหรับบริการ Call Originate และ บริการ Call Terminate (รับสาย-โทรออก) ส่วนบริการ Call Transit (การเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการ) นาทีละ 6 สตางค์
         
ทั้งนี้คาดว่าจะนำคำสั่ง กสทช. เรื่องดังกล่าว ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ราวสัปดาห์หน้า แต่อัตราไอซีดังกล่าวจะเป็นอัตราชั่วคราว เพื่อให้ใช้ระหว่างที่ สำนักงาน กสทช. เตรียมยกร่างประกาศค่าไอซีฉบับถาวร ซึ่งต้องมีการเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะด้วย


โดยเห็นว่าในขณะนี้เป็นเวลาในช่วงของการลงทุนที่ต้องใช้ต้นทุนในการลงทุนสูง จึงเห็นควรใช้อัตรา Call Termination ที่อัตรานาทีละ 0.45 บาท จากเดิมกำหนดอัตรา 1.70 บาทต่อนาที ตามมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2556 โดยให้มีผลบังคับใช้เป็นการชั่วคราว มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง โดยจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในสัปดาห์หน้า.











___________________________________________________

กสทช. เคาะค่าไอซี3Gนาทีละ45สต.


นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช. วันนี้(13 ก.พ.) ได้เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อข่ายโทรคมนาคม(ค่าไอซี) เป็นการชั่วคราวสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz (ใบอนุญาต3G) โดยให้ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายคิดค่าไอซี ในอัตรานาทีละ 45 สตางค์

สำหรับบริการ Call Originate และ บริการ Call Terminate (รับสาย-โทรออก) ส่วนบริการ Call Transit (การเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการ) นาทีละ 6 สตางค์
         
ทั้งนี้คาดว่าจะนำคำสั่ง กสทช. เรื่องดังกล่าว ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ราวสัปดาห์หน้า แต่อัตราไอซีดังกล่าวจะเป็นอัตราชั่วคราว เพื่อให้ใช้ระหว่างที่ สำนักงาน กสทช. เตรียมยกร่างประกาศค่าไอซีฉบับถาวร ซึ่งต้องมีการเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะด้วย

http://www.moneychannel.co.th/index.php/2012-06-30-12-32-32/10563-3g-45.html

__________________________________________


กสทช. เคาะค่าไอซี 3G นาทีละ 45 สตางค์ เตรียมลงราชกิจจาฯ สัปดาห์หน้า

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช. วันนี้(13 ก.พ.) ได้เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อข่ายโทรคมนาคม(ค่าไอซี) เป็นการชั่วคราวสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz (ใบอนุญาต3G) โดยให้ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายคิดค่าไอซี ในอัตรานาทีละ 45 สตางค์ สำหรับบริการ Call Originate และ บริการ Call Terminate (รับสาย-โทรออก) ส่วนบริการ Call Transit (การเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการ) นาทีละ 6 สตางค์


โดยคาดว่าจะนำคำสั่ง กสทช. เรื่องดังกล่าว ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ราวสัปดาห์หน้า แต่อัตราไอซีดังกล่าวจะเป็นอัตราชั่วคราว เพื่อให้ใช้ระหว่างที่ สำนักงาน กสทช. เตรียมยกร่างประกาศค่าไอซีฉบับถาวร ซึ่งต้องมีการเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะด้วย (ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360742546&grpid=03&catid=03

__________________________________


กสทช.กำหนดอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่าย 3G นาทีละ 45 สต.ใช้ชั่วคราว 1 ปี


นายฐากร  ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)แถลงผลการประชุม กสทช.วันนี้ว่า ที่ประชุม กสทช. ได้เห็นชอบร่างคำสั่ง กสทช. ที่ .../2556 เรื่อง อัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นการชั่วคราวสำหรับผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications — IMT) ย่าน 2.1 GHz เนื่องจากผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz  ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมไปแล้วตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 2555  แต่ยังไม่สามารถแสดงวิธีการคำนวณอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมอาจทำให้เกิดความล่าช้าได้


สำนักงาน กสทช. จึงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาการกำกับดูแลอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อของบริการโทรศัพท์ในยุค 3G และบริษัทที่ปรึกษาได้มีการคำนวณอัตราค่าตอบแทนชั่วคราวที่เหมาะสมสำหรับผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ทั้ง 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทคเนทเวอร์ค จำกัด และ  บริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด โดยได้นำข้อมูลจากแผนธุรกิจที่ผู้รับใบอนุญาตทั้ง 3 ราย ได้ส่งมา แล้วนำมาคำนวณด้วยวิธีการคำนวณโดยเห็นว่าในขณะนี้เป็นเวลาในช่วงของการลงทุนที่ต้องใช้ต้นทุนในการลงทุนสูง จึงเห็นควรใช้อัตรา Call Termination ที่อัตรานาทีละ 0.45 บาท ตามมติ กทค. ครั้งที่ 5/2556 วันที่ 29 ม.ค. 2556 โดยให้มีผลบังคับใช้เป็นการชั่วคราว มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง

อินโฟเควสท์
http://www.ryt9.com/s/iq05/1589282

________________________________________


บอร์ด กสทช.ยึดมติ กทค. เคาะค่าเชื่อมโครงข่าย 0.45 สต./นาที

บอร์ด กสทช. เห็นชอบ เคาะอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (ไอซี) ผู้รับใบอนุญาต IMT ย่าน 2.1 GHz 0.45 สตางค์ จากเดิม 1.70 บาทต่อนาทีสตางค์ พร้อมประกาศในราชกิจจานุเบกษาสัปดาห์หน้า...

เมื่อวันที่ 13 ก.พ. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช.ว่า ที่ประชุม กสทช.ได้เห็นชอบร่างคำสั่ง กสทช. เรื่อง อัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคมเป็นการชั่วคราว (ไอซี) สำหรับผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications–IMT) ย่าน 2.1 GHz เนื่องจากผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมไปแล้วตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 2555 แต่ยังไม่สามารถแสดงวิธีการคำนวณอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม อาจทำให้เกิดความล่าช้าได้

ทั้งนี้ สำนักงาน กสทช. จึงได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาการกำกับดูแลอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อของบริการโทรศัพท์ในยุค 3จี และบริษัทที่ปรึกษาได้มีการคำนวณอัตราค่าตอบแทนชั่วคราวที่เหมาะสม สำหรับผู้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ IMT ย่าน 2.1 GHz ทั้ง 3 ราย ได้แก่ บริษัท แอดวานซ์ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด บริษัท ดีแทคเนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด โดยได้นำข้อมูลจากแผนธุรกิจที่ผู้รับใบอนุญาตทั้ง 3 ราย ได้ส่งมา แล้วนำมาคำนวณด้วยวิธีการคำนวณ โดยเห็นว่าในขณะนี้เป็นเวลาในช่วงของการลงทุนที่ต้องใช้ต้นทุนในการลงทุนสูง จึงเห็นควรใช้อัตรา Call Termination ที่อัตรานาทีละ 0.45 บาท จากเดิมกำหนดอัตรา 1.70 บาทต่อนาที ตามมติคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2556 โดยให้มีผลบังคับใช้เป็นการชั่วคราว มีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง โดยจะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาในสัปดาห์หน้า.

http://www.thairath.co.th/content/tech/326466

___________________________________

กสทช. เคาะค่าไอซี 3G นาทีละ 45 สตางค์ เตรียมลงราชกิจจาฯ สัปดาห์หน้า



นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมบอร์ด กสทช. วันนี้(13 ก.พ.) ได้เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อข่ายโทรคมนาคม(ค่าไอซี) เป็นการชั่วคราวสำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 2.1 GHz (ใบอนุญาต3G) โดยให้ผู้ประกอบการทั้ง 3 รายคิดค่าไอซี ในอัตรานาทีละ 45 สตางค์ สำหรับบริการ Call Originate และ บริการ Call Terminate (รับสาย-โทรออก) ส่วนบริการ Call Transit (การเชื่อมต่อระหว่างผู้ให้บริการ) นาทีละ 6 สตางค์


โดยคาดว่าจะนำคำสั่ง กสทช. เรื่องดังกล่าว ลงประกาศราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ได้ราวสัปดาห์หน้า แต่อัตราไอซีดังกล่าวจะเป็นอัตราชั่วคราว เพื่อให้ใช้ระหว่างที่ สำนักงาน กสทช. เตรียมยกร่างประกาศค่าไอซีฉบับถาวร ซึ่งต้องมีการเปิดรับฟังความเห็นสาธารณะด้วย (ที่มา:ประชาชาติธุรกิจออนไลน์)


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1360742546&grpid=03&catid=03


_________________________________________



ไฟเขียวลดค่าไอซี45สตางค์ต่อนาที
วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 15:07 น.

กสทช.มีมติเห็นชอบ บอร์ดกทค. เสนอปรับลดค่าไอซีนาทีละ 45 สตางค์ ชี้ส่งผลให้ค่าบริการ 3 จี เดือนเม.ย56 ถูกลง
          วันนี้(13ก.พ.)ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. เปิดเผยว่า ในที่ประชุมกสทช.มีมติเห็นชอบกับคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เรื่องอัตราค่าตอบแทนการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรคมนาคม (ค่าไอซี)ชั่วคราว ในอัตรา 45 สตางค์ ต่อ นาที  ระหว่างการโทรเข้า รับสาย และโทรออก ทั้งระหว่างเครือข่าย และการโทรในเครือข่ายเดียวกัน  จากเดิมกำหนดอยู่ที่ 1.07 บาท ต่อนาที  แก่ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ย่าน 2.1 กิกะเฮิร์ตซ หรือใบอนุญาต 3 จี ได้แก่  บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด , บริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด และบริษัท เรียลฟิวเจอร์ จำกัด  ที่จะเปิดให้บริการ 3 จี ภายในช่วงเดือนเม.ย.56 โดยเบื้องต้นคาดว่าประกาศลงราชกิจจานุเบกษาภายในสัปดาห์หน้าและมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 1 ปี หลังจากนั้นจะต้องรับฟังความเห็นสาธารณะ เพื่อเตรียมยกร่างประกาศค่าเชื่อมต่อโครงข่ายฉบับถาวรอีกครั้ง

           นายฐากร ระบุต่อว่า  สำหรับการปรับลดค่าไอซี 45 สตางค์ต่อนาที นั้นสืบเนื่องมาจากประกาศอัตราค่าบริการขั้นสูงเฉลี่ยไม่เกิน 99 สตางค์ ต่อนาที และเงื่อนไขกำหนดให้ค่ายมือถือที่รับใบอนุญาต 3 จี ปรับลดอัตราค่าบริการประเภทเสียงและข้อมูลลง 15 -20 % ดังนั้นเมื่อมีการปรับลดค่าไอซีแล้วค่าบริการมือถือก็ต้องปรับถูกลงในเดือนเม.ย.56 ที่จะมีเปิดให้บริการ 3 จี  นอกจากนี้สำนักงานกสทช.กำลังหารือแนวทางการปรับลดอัตราค่าบริการโดยวาง 2 แนวทางคือ 1. ลดอัตราค่าโปรโมชั่นลง 15 % และ2.เพิ่มอัตราค่าบริการขึ้น 15 %  โดยยึดแนวทางโปรโมชั่นหรือแพ็กเกจเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนำมาเป็นพื้นฐาน โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จเดือนก.พ.56  จากนั้นจะนำเสนอที่ประชุมกทค.พิจารณา เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนให้รับทราบ และสื่อสารได้อย่างเข้าใจถึงการได้ใช้บริการค่าโทรศัพท์ที่ถูกลง


http://www.dailynews.co.th/technology/184453
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่