หลังงาน TME จบลง หลายๆคนก็คงได้เครืองคู่ใจหน้าใหม่ ลืมเลือนเครื่องเก่าทิ้งให้เศร้าใจกันไป แต่กับผม ก็ยังยืนยงอยู่กับเครื่องหน้ามนเครื่องเดิมของผมเองต่อไป ^^ ไม่เคยน้อยใจเพราะมันยังไม่เคยจะงอแง
แต่นานวันเข้า ของเก่าก็ต้องมีมลทินค้างคา ใช้ไปใช้มาดูเครื่องช้าๆยังไงพิกล บางคนใช้มาแรมปีบางคนใช้มาแรมเดือน ยิ่งนานยิ่งหน่วง อาจจะเป็นเพราะขยะรกเครื่องไม่เคยสังคายนา ได้เวลามาลอง "โละ ล้าง" เพื่อความสะอาดเบาสบายของเครื่อง Android แก่ๆ ในมือเรากันได้แล้วครับ
ก็เป็นทิปเล็กๆ เกร็ดน้อยๆ เอามาฝากกันนิดๆ แก้ให้หายคิดถึงเว็บPantip ใครจะหลงผิดทำตามยามว่างๆ ก็ลองกันได้ครับ ^^
1.โอนย้ายไฟล์ไม่ใช้ ค้นหาขยะก้อนใหญ่ภายในเครื่อง
ไฟล์มีเดียร้อยแปดพันเก้า ไม่ว่าจะเป็น ภาพ เพลง หนัง ไฟล์เอกสารหรือไฟล์ขยะ ทุกๆ อย่างที่ผ่านมาในช่วงเวลาหนึ่งปีคุณมีวินัยมากพอที่จะจัดเก็บเป็นที่เป็นทางไว้ตลอดเวลาหรือไม่ คำตอบสำหรับตัวผมเองคือ “ไม่” ^^ สุดจะรก เอาแค่โฟลเดอร์เก็บเพลงก็เกือบสิบโฟลเดอร์ แถมยังอยู่กันคนละที่ละทาง ตอนนี้ก็ได้เวลาที่จะจับมันมารวมกันแล้วละครับ เชื่อผมเถอะว่า ถ้าใครใช้แอนดรอยด์อยู่และมีนิสัยคล้ายผมแล้วละก็ อาจจะมีไฟล์เพลงซ้ำกันในเครื่องเป็นสิบแน่นอน ^^
วิธีจัดการกับปัญหานี้ก็คือเราจะใช้แอปพลิเคชั่นช่วยเหลือครับ เช่น Astro File Manager เพราะความสามารถของมันจะสามารถค้นหาไฟล์มีเดียได้จากทุกหน่วยความจำภายในเครื่อง โดยเราเลือกการ
ค้นหาที่ต้องการได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นภาพ เพลง หรือคลิปวีดีโอ รวมทั้งไฟล์เอกสาร ลากมันออกมาดูให้หมด อันไหนไม่ใช่ก็ลบไป หรือรวมมันย้ายไปไว้ในที่เดียวกัน และจะดีกว่ามากถ้าเราจะเอาไปฝากไว้ที่เครื่อง PC ของเราครับ
Astro File manager ยังสามารถแสดงการใช้พื้นที่บนเครื่องโทรศัพท์เราให้ดูตามประเภไฟล์ได้ด้วยว่า โฟลเดอร์ไหน และไฟล์ประเภทอะไรใช้พื้นที่ไปเท่าไหร่ แค่นี้เราก็จะเข้าถึงไฟล์ตกค้างที่เราลืมๆ ไปว่ามันอยู่ในเครื่องเราได้แล้วครับ
2.ค้นหาไฟล์ซ้ำภายในเครื่องด้วยแอป Search Dupplicate File
ปกติ Search Dupplicate File จะแสกนไฟล์ทุกๆประเภทภายในเครื่อง ขอเพียงชื่อคล้ายกันก็จะแสดงให้เราเห็นทั้งหมด ตาเราสามารถเข้าไปตีกรอบการค้นหาได้ภายในการตั้งค่าครับ จะค้นหาไฟล์ประเภทใด ขนาดประมาณไหน ก็ตั้งค่าไว้ก่อนการค้นหา
เป็นการลดไฟล์ขยะภายในเครื่องได้อย่างง่ายๆ อีกหนึ่งขั้นตอนครับ
3.จัดการบัญชีรายชื่อและข้อมูลการ Sync ที่ซ้ำซ้อน
สังคม Social Online ที่หมุนอยู่รอบตัวเรามันยากจะหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่ทุกๆ อย่างในปัจจุปัน มักจะอิงประวัติและสังคมจากแหล่ง Social ต่างๆ ที่เราใช้บริการกันอยู่ทุกวัน แต่ปัญหามันมักจะเกิดก็ตอนที่มันชักเยอะ ความซ้ำซ้อนจากความหลายหลากบริการที่เราเลือกใช้ ด้วยระบบ SNS ที่จะรวบรวมรายชื่อจากแหล่งข้อมูลของเราในแต่ละบริการมารวมกันไว้เต็มไปหมด ซ้ำกัน ซ้อนกัน มั่วซั่วอย่างที่สุด เปิดหน้ารายชื่อทีขึ้นมาเป็นหางว่าว รายชื่อจากสารพัดอีเมล จากหลายแอคเคาท์ มากันเต็มไปหมด ในบางเครื่องของระบบแอนดรอยด์อาจจะมีระบบจัดการรายชื่อ ควบรวมรายชื่อที่ซ้ำให้เราได้เสร็จสรรพ แต่บางเครื่องไม่ ฉะนั้นเราต้องหาตัวช่วยในการเข้ามาจัดการ
Dupplicate Contact คือแอปพลิเคชั่นฟรีที่จะสามารถเอามาใช้งานเพื่อช่วยในเรื่องนี้ได้ครับ ที่แนะนำเพราะนอกจากฟรีมันยังใช้งานง่ายๆ แค่กดเสิร์ช แล้วกดลบเท่านั้น เพราะเมื่อแอปมันเริ่มค้นหารายชื่อซ้ำซ้อนภายในเครื่องของเราแล้ว ก็จะแสดงรายชื่อที่ซ้ำกัน หรือหมายเลขที่มันซ้ำกัน และตัวแอปจะเลือกเก็บไว้เพียงชื่อเดียว เราสามารถตรวจทานได้ก่อนการกดลบ หรือเลือกเอาออกเอาเข้าได้เพิ่มเติม
สิ่งที่ผมชอบคือความง่ายแต่ปลอดภัย เพราะหลังจากเรากดลบแล้ว แอป Dupplicate Contact จะสร้างไฟล์ backup รายชื่อที่ลบออกไว้เอาไว้ให้ก่อนครับ ถ้าเกิดความผิดพลาด เราก็จะสามารถเรียกกลับมาเหมือนเดิมได้อย่างง่ายๆ
หลังจากลบรายชื่อซ้ำซ้อนแล้ว ก็แนะนำเพื่อนๆ เข้าไปปิดการ Sync ที่ไม่ได้ใช้ในการตั้งค่าหัวข้อ “แอคเคาท์” ภายในเครื่องด้วยครับ การ Sync ไหนเราไม่ได้ประโยชน์จากมันก็ปิดไปซะ เช่น Sync ปฎิทินจากแอคค์ที่เราไม่ได้ใช้บริการ หรือ Sync ภาพจากบริการอัพโหลดไฟล์อัตโนมัติ ปิดเพื่อลดการทำงานของตัวเครื่อง และมันหมายถึงการยืดอายุการใช้พลังงานของเครื่องในแต่ละวันได้ด้วยครับ
4.ลบแอปพลิเคชั่นไม่ใช้ เคลียไฟล์ คลีนแคช
ยิ่งเยอะยิ่งหนักเครื่อง แอปพลิเคชั่นมากมายภายในเครื่องจะเกิดประโยชน์ต่อเมื่อเราใช้ประโยชน์ แต่สำหรับแอปที่เราไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์มันก็คือขยะ และมันก็จะช่วยกันทำให้เครื่องหนัก และหน่วงมากขึ้นเรื่อยๆ ลบแอปพลิเคชั่นที่เราไม่ได้ใช้งานออกซะครับ บางคนอาจจะมองว่าการมีไว้เป็นการเตรียมพร้อม ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ แต่การเตรียมพร้อมเครื่องให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดก็เป็นการเตรียมพร้อมในอีกมุมมองหนึ่ง ต้องตัดสินใจเอาว่าแอปไหนควรอยู่ หรือแอปไหนคุณไม่ได้ไปต่อ ^^
ผมแนะนำแอปพลิเคชั่นไว้อีกตัวครับ เพื่อจะใช้มันในการเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น นั้นคือ ZD box (
http://www.appdisqus.com/androidapp/android-app-review-zdbox#respond )เจ้ากล่องสารพัดประโยชน์คู่ใจของผมนั้นเองครับ เริ่มต้นจากเราจะใช้มันในการถอนการติดตั้งแอปพลิเคชั่นที่ไม่ต้องการ ออกไปจากเครื่องเราซะก่อน ในหัวข้อ Uninstall มันสามารถถอนโปรแกรมได้ครั้งละหลายๆ ตัว ให้เรากดตรงคำว่า Batch uninstall แล้วเลือกรายชื่อของแอปที่ต้องการถอนการติดตั้งไปทีละชื่อก่อนกด Uninstall Selected แอปพลิเคชั่นที่เราเลือกไว้ก็จะโดนลบไปทีละแอป เราก็เพียงแต่กดตกลงไปเรื่อยเท่านั้นเองครับ
แอปพลิเคชั่นที่ผมแนะนำไปด้านบน เมื่อไม่ใช้แล้วก็ลบไปให้หมดด้วยนะครับ
นอกจากนั้น การที่ผมแนะนำ ZD box ไม่ใช่แต่จะให้นำมาถอนแอปออกจากเครื่องเท่านั้นครับ เราจะใช้มันเคลียไฟล์ขยะภายในเครื่องอีก เช่น แคชไฟล์ตกค้าง และ History ต่างๆ ที่ตัวเครื่องจดจำไว้ โดยมันจะอยู่ในหัวข้อ System Cleaner เข้าไปแล้วกดเคลียไฟล์ทั้งหน้า Cache cleaner และ History eraser ได้เลยครับ (ในหน้า History คือประวัติการเข้าชมหรือการค้นหาที่เราเคยเข้าไปใช้งาน ไม่อยากลบก็ไม่ต้องเข้าไปเคลียครับ)
หลังจากนั้นสุดท้ายก็ลบเจ้า ZD box ทิ้งไปได้เลย ^^
5.ลบทิ้งไฟล์ตกค้างภายในเครื่องด้วย File Manager
มาถึงเรื่องสุดท้ายที่ถือว่าเป็นจุดห่วยของระบบแอนดรอยด์ นั้นคือซากที่โดนทิ้งเอาไว้จากแอปพลิเคชั่นบางตัวที่โดนถอนออกไป แอปไปแต่ไฟล์มันไม่ไป ทิ้งไว้แต่โฟลเดอร์ส่วนตัวมันไม่อยู่แล้ว จะเจอได้เยอะมากๆ ในแอปพลิเคชั่นที่มีการสร้างข้อมูลจัดเก็บภายในเครื่องของเรา เช่น เกมที่ต้องโหลดข้อมูลเพิ่ม หรือแอปแต่งภาพที่สามารถบันทึกภาพลงเครื่อง หรือแอปดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ จากอินเตอร์เน็ต พวกนี้เวลาโดนลบ มันไม่ได้ลบโฟลเดอร์ที่มันสร้างเอาไว้ไปด้วย
วิธีแก้มีอย่างเดียวคือ “ลบเอง” – - จะเข้าไปลบโดยใช้แอปพลิเคชั่นจัดการไฟล์บนเครื่องแอนดรอยด์ของเรา หรือเชื่อมต่อกับ PC แล้วใช้โปรแกรม Windows Explorer เข้าไปลบก็ได้ครับ
เพียงมองหาโฟลเดอร์ชื่อคุ้น ที่เหมือนกับชื่อแอปพลิเคชี่นที่เราเคยติดตั้งลงเครื่องแต่ลบไปแล้ว เราสามารถลบทิ้งได้เลยครับ รวมทั้งโฟลเดอร์ที่อยู่ในโฟลเดอร์ Game ถ้าเราไม่มีเกมที่ชื่อเดียวกันกับโฟลเดอร์นั้นแล้ว ก็ลบได้ทันทีครับ ขอแค่อย่าไปยุ่งกับโฟลเดอร์ชื่อแปลกๆ หรือโฟลเดอร์ที่มีชื่อเป็นของตัวระบบอย่าง Android หรือ System ลบแค่ที่แน่ใจว่าเป็นชื่อเดียวกับแอปพลิเคชั่นที่เราถอนการติดตั้งไปแล้ว เท่านั้นพอครับ
เมื่อทำหลายๆ ขั้นตอนตามทุกอย่างที่ว่ามาข้างต้น อุปกรณ์ของเราก็น่าจะเบาสบายตัวไปได้มากโขละครับ พร้อมรับใช้เป็นเพื่อนคู่ใจไปได้ตลอดปี 2556 ครับ ^^
ขอบคุณทุกๆคนที่อ่านครับ
ขอบคุณครับ ^^
เรื่องราวอีกมากมายที่น่าสนใจ ใน www.appdisqus.com
!!![Tips] ล้างเครื่องใหญ่ประจำปี วิธีกำจัดขยะภายในเครื่อง Android ของเรา 5 ข้อ เพื่อความเบาสบาย ^^
แต่นานวันเข้า ของเก่าก็ต้องมีมลทินค้างคา ใช้ไปใช้มาดูเครื่องช้าๆยังไงพิกล บางคนใช้มาแรมปีบางคนใช้มาแรมเดือน ยิ่งนานยิ่งหน่วง อาจจะเป็นเพราะขยะรกเครื่องไม่เคยสังคายนา ได้เวลามาลอง "โละ ล้าง" เพื่อความสะอาดเบาสบายของเครื่อง Android แก่ๆ ในมือเรากันได้แล้วครับ
ก็เป็นทิปเล็กๆ เกร็ดน้อยๆ เอามาฝากกันนิดๆ แก้ให้หายคิดถึงเว็บPantip ใครจะหลงผิดทำตามยามว่างๆ ก็ลองกันได้ครับ ^^
1.โอนย้ายไฟล์ไม่ใช้ ค้นหาขยะก้อนใหญ่ภายในเครื่อง
ไฟล์มีเดียร้อยแปดพันเก้า ไม่ว่าจะเป็น ภาพ เพลง หนัง ไฟล์เอกสารหรือไฟล์ขยะ ทุกๆ อย่างที่ผ่านมาในช่วงเวลาหนึ่งปีคุณมีวินัยมากพอที่จะจัดเก็บเป็นที่เป็นทางไว้ตลอดเวลาหรือไม่ คำตอบสำหรับตัวผมเองคือ “ไม่” ^^ สุดจะรก เอาแค่โฟลเดอร์เก็บเพลงก็เกือบสิบโฟลเดอร์ แถมยังอยู่กันคนละที่ละทาง ตอนนี้ก็ได้เวลาที่จะจับมันมารวมกันแล้วละครับ เชื่อผมเถอะว่า ถ้าใครใช้แอนดรอยด์อยู่และมีนิสัยคล้ายผมแล้วละก็ อาจจะมีไฟล์เพลงซ้ำกันในเครื่องเป็นสิบแน่นอน ^^
วิธีจัดการกับปัญหานี้ก็คือเราจะใช้แอปพลิเคชั่นช่วยเหลือครับ เช่น Astro File Manager เพราะความสามารถของมันจะสามารถค้นหาไฟล์มีเดียได้จากทุกหน่วยความจำภายในเครื่อง โดยเราเลือกการ
ค้นหาที่ต้องการได้ครับ ไม่ว่าจะเป็นภาพ เพลง หรือคลิปวีดีโอ รวมทั้งไฟล์เอกสาร ลากมันออกมาดูให้หมด อันไหนไม่ใช่ก็ลบไป หรือรวมมันย้ายไปไว้ในที่เดียวกัน และจะดีกว่ามากถ้าเราจะเอาไปฝากไว้ที่เครื่อง PC ของเราครับ
Astro File manager ยังสามารถแสดงการใช้พื้นที่บนเครื่องโทรศัพท์เราให้ดูตามประเภไฟล์ได้ด้วยว่า โฟลเดอร์ไหน และไฟล์ประเภทอะไรใช้พื้นที่ไปเท่าไหร่ แค่นี้เราก็จะเข้าถึงไฟล์ตกค้างที่เราลืมๆ ไปว่ามันอยู่ในเครื่องเราได้แล้วครับ
2.ค้นหาไฟล์ซ้ำภายในเครื่องด้วยแอป Search Dupplicate File
ปกติ Search Dupplicate File จะแสกนไฟล์ทุกๆประเภทภายในเครื่อง ขอเพียงชื่อคล้ายกันก็จะแสดงให้เราเห็นทั้งหมด ตาเราสามารถเข้าไปตีกรอบการค้นหาได้ภายในการตั้งค่าครับ จะค้นหาไฟล์ประเภทใด ขนาดประมาณไหน ก็ตั้งค่าไว้ก่อนการค้นหา
เป็นการลดไฟล์ขยะภายในเครื่องได้อย่างง่ายๆ อีกหนึ่งขั้นตอนครับ
3.จัดการบัญชีรายชื่อและข้อมูลการ Sync ที่ซ้ำซ้อน
สังคม Social Online ที่หมุนอยู่รอบตัวเรามันยากจะหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะผู้ใช้สมาร์ทโฟนที่ทุกๆ อย่างในปัจจุปัน มักจะอิงประวัติและสังคมจากแหล่ง Social ต่างๆ ที่เราใช้บริการกันอยู่ทุกวัน แต่ปัญหามันมักจะเกิดก็ตอนที่มันชักเยอะ ความซ้ำซ้อนจากความหลายหลากบริการที่เราเลือกใช้ ด้วยระบบ SNS ที่จะรวบรวมรายชื่อจากแหล่งข้อมูลของเราในแต่ละบริการมารวมกันไว้เต็มไปหมด ซ้ำกัน ซ้อนกัน มั่วซั่วอย่างที่สุด เปิดหน้ารายชื่อทีขึ้นมาเป็นหางว่าว รายชื่อจากสารพัดอีเมล จากหลายแอคเคาท์ มากันเต็มไปหมด ในบางเครื่องของระบบแอนดรอยด์อาจจะมีระบบจัดการรายชื่อ ควบรวมรายชื่อที่ซ้ำให้เราได้เสร็จสรรพ แต่บางเครื่องไม่ ฉะนั้นเราต้องหาตัวช่วยในการเข้ามาจัดการ
Dupplicate Contact คือแอปพลิเคชั่นฟรีที่จะสามารถเอามาใช้งานเพื่อช่วยในเรื่องนี้ได้ครับ ที่แนะนำเพราะนอกจากฟรีมันยังใช้งานง่ายๆ แค่กดเสิร์ช แล้วกดลบเท่านั้น เพราะเมื่อแอปมันเริ่มค้นหารายชื่อซ้ำซ้อนภายในเครื่องของเราแล้ว ก็จะแสดงรายชื่อที่ซ้ำกัน หรือหมายเลขที่มันซ้ำกัน และตัวแอปจะเลือกเก็บไว้เพียงชื่อเดียว เราสามารถตรวจทานได้ก่อนการกดลบ หรือเลือกเอาออกเอาเข้าได้เพิ่มเติม
สิ่งที่ผมชอบคือความง่ายแต่ปลอดภัย เพราะหลังจากเรากดลบแล้ว แอป Dupplicate Contact จะสร้างไฟล์ backup รายชื่อที่ลบออกไว้เอาไว้ให้ก่อนครับ ถ้าเกิดความผิดพลาด เราก็จะสามารถเรียกกลับมาเหมือนเดิมได้อย่างง่ายๆ
หลังจากลบรายชื่อซ้ำซ้อนแล้ว ก็แนะนำเพื่อนๆ เข้าไปปิดการ Sync ที่ไม่ได้ใช้ในการตั้งค่าหัวข้อ “แอคเคาท์” ภายในเครื่องด้วยครับ การ Sync ไหนเราไม่ได้ประโยชน์จากมันก็ปิดไปซะ เช่น Sync ปฎิทินจากแอคค์ที่เราไม่ได้ใช้บริการ หรือ Sync ภาพจากบริการอัพโหลดไฟล์อัตโนมัติ ปิดเพื่อลดการทำงานของตัวเครื่อง และมันหมายถึงการยืดอายุการใช้พลังงานของเครื่องในแต่ละวันได้ด้วยครับ
4.ลบแอปพลิเคชั่นไม่ใช้ เคลียไฟล์ คลีนแคช
ยิ่งเยอะยิ่งหนักเครื่อง แอปพลิเคชั่นมากมายภายในเครื่องจะเกิดประโยชน์ต่อเมื่อเราใช้ประโยชน์ แต่สำหรับแอปที่เราไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์มันก็คือขยะ และมันก็จะช่วยกันทำให้เครื่องหนัก และหน่วงมากขึ้นเรื่อยๆ ลบแอปพลิเคชั่นที่เราไม่ได้ใช้งานออกซะครับ บางคนอาจจะมองว่าการมีไว้เป็นการเตรียมพร้อม ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ แต่การเตรียมพร้อมเครื่องให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุดก็เป็นการเตรียมพร้อมในอีกมุมมองหนึ่ง ต้องตัดสินใจเอาว่าแอปไหนควรอยู่ หรือแอปไหนคุณไม่ได้ไปต่อ ^^
ผมแนะนำแอปพลิเคชั่นไว้อีกตัวครับ เพื่อจะใช้มันในการเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ได้ง่ายขึ้น นั้นคือ ZD box (http://www.appdisqus.com/androidapp/android-app-review-zdbox#respond )เจ้ากล่องสารพัดประโยชน์คู่ใจของผมนั้นเองครับ เริ่มต้นจากเราจะใช้มันในการถอนการติดตั้งแอปพลิเคชั่นที่ไม่ต้องการ ออกไปจากเครื่องเราซะก่อน ในหัวข้อ Uninstall มันสามารถถอนโปรแกรมได้ครั้งละหลายๆ ตัว ให้เรากดตรงคำว่า Batch uninstall แล้วเลือกรายชื่อของแอปที่ต้องการถอนการติดตั้งไปทีละชื่อก่อนกด Uninstall Selected แอปพลิเคชั่นที่เราเลือกไว้ก็จะโดนลบไปทีละแอป เราก็เพียงแต่กดตกลงไปเรื่อยเท่านั้นเองครับ
แอปพลิเคชั่นที่ผมแนะนำไปด้านบน เมื่อไม่ใช้แล้วก็ลบไปให้หมดด้วยนะครับ
นอกจากนั้น การที่ผมแนะนำ ZD box ไม่ใช่แต่จะให้นำมาถอนแอปออกจากเครื่องเท่านั้นครับ เราจะใช้มันเคลียไฟล์ขยะภายในเครื่องอีก เช่น แคชไฟล์ตกค้าง และ History ต่างๆ ที่ตัวเครื่องจดจำไว้ โดยมันจะอยู่ในหัวข้อ System Cleaner เข้าไปแล้วกดเคลียไฟล์ทั้งหน้า Cache cleaner และ History eraser ได้เลยครับ (ในหน้า History คือประวัติการเข้าชมหรือการค้นหาที่เราเคยเข้าไปใช้งาน ไม่อยากลบก็ไม่ต้องเข้าไปเคลียครับ)
หลังจากนั้นสุดท้ายก็ลบเจ้า ZD box ทิ้งไปได้เลย ^^
5.ลบทิ้งไฟล์ตกค้างภายในเครื่องด้วย File Manager
มาถึงเรื่องสุดท้ายที่ถือว่าเป็นจุดห่วยของระบบแอนดรอยด์ นั้นคือซากที่โดนทิ้งเอาไว้จากแอปพลิเคชั่นบางตัวที่โดนถอนออกไป แอปไปแต่ไฟล์มันไม่ไป ทิ้งไว้แต่โฟลเดอร์ส่วนตัวมันไม่อยู่แล้ว จะเจอได้เยอะมากๆ ในแอปพลิเคชั่นที่มีการสร้างข้อมูลจัดเก็บภายในเครื่องของเรา เช่น เกมที่ต้องโหลดข้อมูลเพิ่ม หรือแอปแต่งภาพที่สามารถบันทึกภาพลงเครื่อง หรือแอปดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ จากอินเตอร์เน็ต พวกนี้เวลาโดนลบ มันไม่ได้ลบโฟลเดอร์ที่มันสร้างเอาไว้ไปด้วย
วิธีแก้มีอย่างเดียวคือ “ลบเอง” – - จะเข้าไปลบโดยใช้แอปพลิเคชั่นจัดการไฟล์บนเครื่องแอนดรอยด์ของเรา หรือเชื่อมต่อกับ PC แล้วใช้โปรแกรม Windows Explorer เข้าไปลบก็ได้ครับ
เพียงมองหาโฟลเดอร์ชื่อคุ้น ที่เหมือนกับชื่อแอปพลิเคชี่นที่เราเคยติดตั้งลงเครื่องแต่ลบไปแล้ว เราสามารถลบทิ้งได้เลยครับ รวมทั้งโฟลเดอร์ที่อยู่ในโฟลเดอร์ Game ถ้าเราไม่มีเกมที่ชื่อเดียวกันกับโฟลเดอร์นั้นแล้ว ก็ลบได้ทันทีครับ ขอแค่อย่าไปยุ่งกับโฟลเดอร์ชื่อแปลกๆ หรือโฟลเดอร์ที่มีชื่อเป็นของตัวระบบอย่าง Android หรือ System ลบแค่ที่แน่ใจว่าเป็นชื่อเดียวกับแอปพลิเคชั่นที่เราถอนการติดตั้งไปแล้ว เท่านั้นพอครับ
เมื่อทำหลายๆ ขั้นตอนตามทุกอย่างที่ว่ามาข้างต้น อุปกรณ์ของเราก็น่าจะเบาสบายตัวไปได้มากโขละครับ พร้อมรับใช้เป็นเพื่อนคู่ใจไปได้ตลอดปี 2556 ครับ ^^
ขอบคุณทุกๆคนที่อ่านครับ
ขอบคุณครับ ^^
เรื่องราวอีกมากมายที่น่าสนใจ ใน www.appdisqus.com