สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 19
ที่ดินพระราชทาน ซื้อไม่ได้ขายไม่ได้ครับ เช่าได้อย่างเดียว
เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย(ที่เป็นพื้นที่ทางการศึกษาจริง ๆ)ถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ตามโครงสร้างและการบริหารวิชาการ
พื้นที่ส่วนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ริมถนนพญาไท ด้านซ้ายของหอประชุมจุฬาฯ
พื้นที่ส่วนวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตั้งอยู่ตลอดแนวสยามสแควร์และสนามกีฬาแห่งชาติ (ยกเว้นคณะแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่บนพื้นที่สภากาชาดไทย)
พื้นที่ส่วนสังคมศาสตร์ ตั้งอยู่สองฝั่งถนนพญาไท ตลอดแนวสามย่าน
พื้นที่ส่วนมนุษยศาสตร์ ตั้งอยู่ริมถนนพญาไท ด้านขวาของหอประชุมจุฬาฯ
พื้นที่ส่วนกลาง (ที่ทำการมหาวิทยาลัย สำนักงานอธิการบดี หอสมุดกลาง หอพักนิสิต สนามกีฬา ฯลฯ) ตั้งอยู่ริมถนนพญาไท ฝั่งตรงข้ามหอประชุมจุฬาฯ
เวลาเราเดินสยาม เราจึงเห็นคณะทันตแพทย์ คณะเภสัชศาสตร์และโอสถศาลาไงครับ เพราะจุฬาฯวางผังมหาวิทยาลัยไว้เป็นหมวดหมู่อย่างดี วิชาชีพในกลุ่มเดียวกัน จะอยู่ติดกันหมดเลยครับ
ขณะนี้จุฬาฯประสบปัญหาการขยายตัวการเรียนการสอนการวิจัย เนื่องจากเวลาผ่านมาเกือบร้อยปีแล้ว มีการขยายตัวโครงสร้างวิชาการต่าง ๆ มากมาย จุฬาฯได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ของโลก มีคณะ/วิทยาลัยจำนวนมาก เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ
ขณะนี้กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพกำลังขาดแคลนอาคารเรียน บางคณะยังไม่มีตึกทำการของตนเองด้วยซ้ำ
คณะที่ยังไม่มีอาคารทำการของตนเอง ได้แต่อาศัยอาคารส่วนกลางเป็นชั้น ๆ อาศัยห้องเรียนจากตึกเรียนรวมเป็นครั้งคราวได้แก่ คณะจิตวิทยา และ คณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งไม่มีที่ตั้งคณะถาวรมา 20 กว่าปีแล้ว เนื่องจากพื้นที่มหาวิทยลัยเต็มพื้นที่ ส่วนคณะสหเวชศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา เพิ่งจะได้มีที่หายใจ มีที่ก่อตั้งคณะหลังจากได้รับที่เวนคืนจาก มศว พลศึกษา พื้นที่เดียวกันกับสนามกีฬาแห่งชาติ
รวมไปถึงคณะเกษตรที่อาจจะถูกพัฒนาขึ้นมาในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันจุฬาฯยังไม่มีหน่วยงานที่เปิดสอนทางด้านเกษตรศาสตร์เต็มรูปแบบ มีเพียงโครงการก่อตั้งที่สอนเกษตรในเชิงพาณิชยกรรมเท่านั้น ซึ่งคณะที่เปิดสอนวิชาในลักษณะนี้มีความต้องการพื้นที่จำนวนมาก
ส่วนโครงการวิจัย สถาบันวิจัยและศูนย์ความเป็นเลิศต่าง ๆ จะถูกขยายและก่อตั้งใหม่ที่วิทยาเขตสระบุรีในอนาคต
เพื่อให้วิทยาเขตพญาไทเป็นวิทยาเขตหลักในการเรียนการสอนในทุกแขนงวิชา และพื้นที่วิทยาเขตสระบุรีเป็นวิทยาเขตวิจัย
ทั้งหมดนี้เพื่อการขยายการศึกษา พัฒนาบุคลากรของประเทศ เพื่อพัฒนาชาติให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศ
มุมมองคนนอกและคนในต่างกันมาก คนนอกมักจะมองแค่สยามสแควร์ แต่คนในจะมองถึงอาคารเรียนที่ขาดแคลน ที่นิสิตกำลังประสบปัญหาอยู่ทุกวันนี้ จุฬาฯไม่มีนโยบายที่จะสร้างอาคารเรียนรวม เน้นสอนบรรยายเหมือนมหาวิทยาลัยเอกชน ที่ทำการคณะอยู่แค่ชั้นเดียว ตึกหนึ่งมีเป็นสิบคณะ
แต่จุฬาฯ มีนโยบายที่จะสร้างคุณภาพการศึกษา มีอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ ศูนย์บริการสุขภาพแก่ประชาชน ไปจนถึงสถาบันวิจัย ทั้งหมดนี้เพื่อการพัฒนาประเทศ
ทุกวันนี้มรดกทางประวัติศาสตร์วังใหม่ หรือ วังวินเซอร์ ยังคงจัดเก็บซากปรักหักพังที่พบไว้บริเวณด้านหน้าคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของวังวินเซอร์
และทุกวันนี้พื้นที่เวนคืนของ มศว พลศึกษา ได้ถูกพัฒนาเป็นสนามกีฬา สนามพักผ่อนหย่อนใจ หลาย ๆ สนามยังคงถูกรักษาและใช้ในการเรียนกรสอนของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา รวมถึงบริการวิชากีฬาแก่นิสิตต่างคณะ
และเช่นเดียวกัน สนามกีฬาคุณภาพอันเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศมากมายในสนามกีฬาแห่งชาติ ก็จะยังคงถูกรักษาไว้และใช้ประโยชน์แก่ประชาคมชาวจุฬาฯครับ
อ่านแต่ละความเห็นจะรู้เลยว่าเป็นคนนอก(ที่รู้บ้างเท่าที่รู้) หรือคนในที่เล็งเห็นถึงความสำคัญทางการศึกษาและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ขาดแคลนอยู่
ประเด็นสำคัญอยู่ที่การจัดหาพื้นที่ตั้งส่วนราชการของรัฐบาลมากกว่าครับ ไม่ใช่ให้หน่วยงานรัฐมาไกล่เกลี่ยกันเอง ซึ่งตลกจัง
กรมพลศึกษาตั้งอยู่บนพื้นที่จุฬาฯ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯตั้งอยู่บนพื้นที่สภากาชาดไทย และ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติของสภากาชาดไทยกลับตั้งอยู่บนพื้นที่จุฬาฯ
มันตลกกันไปกันมาต่างหากละครับ นี้คือประเด็นสำคัญ
เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
พื้นที่ภายในมหาวิทยาลัย(ที่เป็นพื้นที่ทางการศึกษาจริง ๆ)ถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ตามโครงสร้างและการบริหารวิชาการ
พื้นที่ส่วนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตั้งอยู่ริมถนนพญาไท ด้านซ้ายของหอประชุมจุฬาฯ
พื้นที่ส่วนวิทยาศาสตร์สุขภาพ ตั้งอยู่ตลอดแนวสยามสแควร์และสนามกีฬาแห่งชาติ (ยกเว้นคณะแพทยศาสตร์ ตั้งอยู่บนพื้นที่สภากาชาดไทย)
พื้นที่ส่วนสังคมศาสตร์ ตั้งอยู่สองฝั่งถนนพญาไท ตลอดแนวสามย่าน
พื้นที่ส่วนมนุษยศาสตร์ ตั้งอยู่ริมถนนพญาไท ด้านขวาของหอประชุมจุฬาฯ
พื้นที่ส่วนกลาง (ที่ทำการมหาวิทยาลัย สำนักงานอธิการบดี หอสมุดกลาง หอพักนิสิต สนามกีฬา ฯลฯ) ตั้งอยู่ริมถนนพญาไท ฝั่งตรงข้ามหอประชุมจุฬาฯ
เวลาเราเดินสยาม เราจึงเห็นคณะทันตแพทย์ คณะเภสัชศาสตร์และโอสถศาลาไงครับ เพราะจุฬาฯวางผังมหาวิทยาลัยไว้เป็นหมวดหมู่อย่างดี วิชาชีพในกลุ่มเดียวกัน จะอยู่ติดกันหมดเลยครับ
ขณะนี้จุฬาฯประสบปัญหาการขยายตัวการเรียนการสอนการวิจัย เนื่องจากเวลาผ่านมาเกือบร้อยปีแล้ว มีการขยายตัวโครงสร้างวิชาการต่าง ๆ มากมาย จุฬาฯได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ของโลก มีคณะ/วิทยาลัยจำนวนมาก เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ
ขณะนี้กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพกำลังขาดแคลนอาคารเรียน บางคณะยังไม่มีตึกทำการของตนเองด้วยซ้ำ
คณะที่ยังไม่มีอาคารทำการของตนเอง ได้แต่อาศัยอาคารส่วนกลางเป็นชั้น ๆ อาศัยห้องเรียนจากตึกเรียนรวมเป็นครั้งคราวได้แก่ คณะจิตวิทยา และ คณะพยาบาลศาสตร์ ซึ่งไม่มีที่ตั้งคณะถาวรมา 20 กว่าปีแล้ว เนื่องจากพื้นที่มหาวิทยลัยเต็มพื้นที่ ส่วนคณะสหเวชศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา เพิ่งจะได้มีที่หายใจ มีที่ก่อตั้งคณะหลังจากได้รับที่เวนคืนจาก มศว พลศึกษา พื้นที่เดียวกันกับสนามกีฬาแห่งชาติ
รวมไปถึงคณะเกษตรที่อาจจะถูกพัฒนาขึ้นมาในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันจุฬาฯยังไม่มีหน่วยงานที่เปิดสอนทางด้านเกษตรศาสตร์เต็มรูปแบบ มีเพียงโครงการก่อตั้งที่สอนเกษตรในเชิงพาณิชยกรรมเท่านั้น ซึ่งคณะที่เปิดสอนวิชาในลักษณะนี้มีความต้องการพื้นที่จำนวนมาก
ส่วนโครงการวิจัย สถาบันวิจัยและศูนย์ความเป็นเลิศต่าง ๆ จะถูกขยายและก่อตั้งใหม่ที่วิทยาเขตสระบุรีในอนาคต
เพื่อให้วิทยาเขตพญาไทเป็นวิทยาเขตหลักในการเรียนการสอนในทุกแขนงวิชา และพื้นที่วิทยาเขตสระบุรีเป็นวิทยาเขตวิจัย
ทั้งหมดนี้เพื่อการขยายการศึกษา พัฒนาบุคลากรของประเทศ เพื่อพัฒนาชาติให้เจริญทัดเทียมอารยประเทศ
มุมมองคนนอกและคนในต่างกันมาก คนนอกมักจะมองแค่สยามสแควร์ แต่คนในจะมองถึงอาคารเรียนที่ขาดแคลน ที่นิสิตกำลังประสบปัญหาอยู่ทุกวันนี้ จุฬาฯไม่มีนโยบายที่จะสร้างอาคารเรียนรวม เน้นสอนบรรยายเหมือนมหาวิทยาลัยเอกชน ที่ทำการคณะอยู่แค่ชั้นเดียว ตึกหนึ่งมีเป็นสิบคณะ
แต่จุฬาฯ มีนโยบายที่จะสร้างคุณภาพการศึกษา มีอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการ ศูนย์บริการสุขภาพแก่ประชาชน ไปจนถึงสถาบันวิจัย ทั้งหมดนี้เพื่อการพัฒนาประเทศ
ทุกวันนี้มรดกทางประวัติศาสตร์วังใหม่ หรือ วังวินเซอร์ ยังคงจัดเก็บซากปรักหักพังที่พบไว้บริเวณด้านหน้าคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นที่ตั้งเดิมของวังวินเซอร์
และทุกวันนี้พื้นที่เวนคืนของ มศว พลศึกษา ได้ถูกพัฒนาเป็นสนามกีฬา สนามพักผ่อนหย่อนใจ หลาย ๆ สนามยังคงถูกรักษาและใช้ในการเรียนกรสอนของคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา รวมถึงบริการวิชากีฬาแก่นิสิตต่างคณะ
และเช่นเดียวกัน สนามกีฬาคุณภาพอันเป็นประวัติศาสตร์ของประเทศมากมายในสนามกีฬาแห่งชาติ ก็จะยังคงถูกรักษาไว้และใช้ประโยชน์แก่ประชาคมชาวจุฬาฯครับ
อ่านแต่ละความเห็นจะรู้เลยว่าเป็นคนนอก(ที่รู้บ้างเท่าที่รู้) หรือคนในที่เล็งเห็นถึงความสำคัญทางการศึกษาและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ขาดแคลนอยู่
ประเด็นสำคัญอยู่ที่การจัดหาพื้นที่ตั้งส่วนราชการของรัฐบาลมากกว่าครับ ไม่ใช่ให้หน่วยงานรัฐมาไกล่เกลี่ยกันเอง ซึ่งตลกจัง
กรมพลศึกษาตั้งอยู่บนพื้นที่จุฬาฯ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯตั้งอยู่บนพื้นที่สภากาชาดไทย และ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติของสภากาชาดไทยกลับตั้งอยู่บนพื้นที่จุฬาฯ
มันตลกกันไปกันมาต่างหากละครับ นี้คือประเด็นสำคัญ
ความคิดเห็นที่ 12
จุฬาให้เช่าที่ซึ่งก็เป็นสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย เกษตรให้ทั้งสถานที่ราชการกระทรวงเกษตรมาตั้งในมหาวิทยาลัย ให้ที่เกือบ100ไร่สร้างถนนไปแล้วแต่แค่คัดค้านการสร้างทางด่วนในสถานศึกษา ในรั้วสถานศึกษาที่กระทบต่อเยาวชนที่เรียนอยู่รวมทั้งที่จะเข้าเรียนในอนาคตและบุคลากรหลายหมื่นชีวิตกลับมีคนว่าเกษตรเห็นแก่ตัว ได้ยินแล้วก็รู้สึกเสียใจ เกษตรก็มีสิทธิ์เหมือนกัน
แสดงความคิดเห็น
"จุฬาฯ จี้กรมพลศึกษาคืนที่ดิน 11 ไร่ หลังหมดสัญญาเช่า" คุณมีมุมมองในเรื่องนี้อย่างไร
จุฬาฯ เตรียมยื่นคำขาดเพื่อให้กรมพลศึกษาย้ายออกไปจากที่ดิน แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. หลังหมดสัญญาเช่า ระบุ ต้องการนำไปสร้างสถานที่ตั้งคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ยันไม่นำไปใช้ทางพาณิชย์แน่นอน
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา มีรายงานว่า ฝ่ายบริหารของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เตรียมยื่นคำขาดให้กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาย้ายออกไปจากที่ดินเช่าพื้นที่ 11 ไร่ ซึ่งตั้งอยู่ที่แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. แล้ว พร้อมทั้งเผยว่า หลังหมดสัญญาจะไม่มีการให้เช่าต่อไปอีก เพราะต้องการนำไปสร้างเป็นสถานที่ตั้งของคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยยืนยันว่าไม่ได้เอาไปใช้ในทางพาณิชย์แน่นอน
ด้านแหล่งข่าวจากฝ่ายบริหารระดับสูงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเผยถึงการเตรียมขอคืนที่ดินจากกรมพลศึกษาว่า แม้กรมพลศึกษาจะจ่ายค่าเช่าปีละ 3.3 ล้านบาท ในการเช่าที่ดินแห่งนี้ แต่นั่นไม่ใช่ประเด็นว่าค่าเช่าของเราแพง เนื่องจากเป้าหมายเดิมเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยมีหนังสือแจ้งขอคืนที่ดินเช่าไปแล้วครั้งหนึ่ง เพราะมีแผนงานที่จะนำที่ดินดังกล่าว ซึ่งเป็นที่ตั้งของสนามศุภชลาศัย สนามกีฬาแห่งชาติ ไปใช้ประโยชน์ทางด้านการศึกษา แต่ติดที่กรมพลศึกษาอ้างว่า ไม่มีที่ดิน และตอนนั้นยังสร้างอาคารกรมพลศึกษาที่ คลอง 6 อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี ไม่เสร็จ
ส่วนเรื่องค่าเช่าที่มียอดสูงถึงปีละ 153 ล้านบาทนั้น ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไม่ต้องการเงิน แต่ต้องการที่ดินมาใช้ประโยชน์และไม่ได้จะเอาที่ดินไปใช้ทางด้านการพาณิชย์เหมือนบริเวณสยามสแควร์ หรือว่าสามย่าน เรื่องนี้ทางฝ่ายจัดการทรัพย์สินและฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยในอดีต เคยแจ้งให้ผู้ใหญ่ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา แบบไม่เป็นทางการไปนานหลายปีแล้วว่า กรมพลศึกษาน่าจะไปตั้งสถานที่แห่งใหม่ที่ คลอง 6 สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ และคืนที่ดิน 11 ไร่ ให้ทางจุฬาลงกรณ์ นำที่ดินไปสร้างอาคารเรียนและที่พักของนิสิต ซึ่งยังขาดอีกมาก อย่างไรก็ตาม ถ้าหากมีรัฐมนตรีท่านใหม่ มาแทน นายชุมพล ศิลปอาชา ที่ถึงแก่อสัญกรรมก็จะมีการเจรจาในเรื่องนี้ทันที
ขอบคุณที่มาจาก : http://hilight.kapook.com/view/81918