เมื่อคุณพ่อ ไปเซ็นค้ำประักัน สินเชื่อรถยนต์ แล้วคนกู้ไม่ยอมจ่าย จะทำงัยต่อดีครับ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 29
เมื่อ ไปค้ำประกัน แล้ว คนกู้ไม่จ่าย ก็ต้องติดตามเอาจาก คนค้ำครับ ถูกต้องตามกฏหมาย ยิง่คนค้ำเป็นข้าราชการ
ยิ่งปล่อยง่าย
เพราะ หนี้ไม่สูญแน่นอน

มูลหนี้นั้น ต้องดูหลายประเด็นเลยครับ ไม่เห็นตัวสัญญา เลยให้รายละเอียด ไม่ได้มาก
แต่เมื่อ มีหมายศาล ต้องไปขึ้นศาลครับ ไม่ต้องกลัว

สิ่งที่ควรทำ
0. อ่านในสัญญา ครับว่ามีข้อความว่า "ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดอย่างผู้กู้ร่วม" ในสัญญาหรือไม่? สัญญาเก่าๆ มักจะไม่ได้เขียนไว้ เพราะ จะทำให้ ผู้ค้ำสามารถ ปฎิเสธ ให้ไปติดตามหนี้จากลูกหนี้ก่อนได้ ส่วนที่เหลือจึงมาเรียกกับตัวผู้ค้ำ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 688 เมื่อเจ้าหนี้ทวงให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ ผู้ค้ำประกัน จะขอให้เรียกลูกหนี้ชำระก่อนก็ได้ เว้นแต่ลูกหนี้จะถูกศาลพิพากษา ให้เป็นคนล้มละลายเสียแล้ว หรือไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ไปอยู่แห่งใดใน พระราชอาณาเขต
มาตรา 689 ถึงแม้จะได้เรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดั่งกล่าวมาใน มาตรา ก่อนนั้นแล้วก็ตาม ถ้าผู้ค้ำประกันพิสูจน์ได้ว่าลูกหนี้นั้นมีทาง ที่จะชำระหนี้ได้และการที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้นั้นจะไม่เป็นการ ยากไซร้ ท่านว่าเจ้าหนี้จะต้องบังคับการชำระหนี้รายนั้นเอาจาก ทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อน

ถ้าในสัญญามีเขียนไว้ ก็ ต้องรับภาระ หนี้ แล้วละครับ

1. ติดตามหา ตัวลูกหนี้ให้เจอ และติดตามเอาทรัพย์ที่ลูกหนี้ มาให้ได้ ถ้าค้ำฯกู้รถ ก็หารถมาไว้ที่เราก่อน (อย่าลืม เอาราคาตลาด มาเป็นหลักฐานด้วย)
เพราะ ถ้าเอาคืนไปแล้ว
เวลาประมูลขาย มักจะขาย "คนกันเอง"ในราคา "ต่ำ"  แล้วลงว่าประมูลขายแล้วทำให้เกิดส่วนต่าง ของมูลหนี้ ขึ้น แน่นอนว่า คุณต้องหาเงินมาจ่ายเพิ่ม เสียเงินไม่ได้ของ คุ้มไหม?

ซึ่ง ถ้าจะให้ ดี ที่สุด คือ เจรจาไกล่เกลี่ย ขอแปลงสัญญา มาเป็นลูกหนี้เอง จะ คุ้มค่าที่สุด เพราะอย่างไรเสียเงินฟรี แล้วยังได้รถ และอาจจะ เสียค่าปรับเล็กน้อย ทางคุณควรเจตนา ต่อศาล ครับ ถ้าไม่ยอม ก็ เอารถไปไว้ที่ สำนักงานฝากทรัพย์ ในศาลนั้นแหละ (ดอกเบี้ยจะหยุดเดิน)

พยายามต่อรองว่า กระบวนการจัดการหลังเค้ายึดรถไปก็ต้องขายอีก สู้ให้เราผ่อนต่อ ดีกว่า เพราะ หากฟ้องร้องกันต่อไป ถึงแม้ว่าไฟฯจะชนะคดีแต่
ตามกฎหมาย ประมวลพิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286 ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น เงินหรือสิทธิเรียกร้องเป็นเงินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปนี้ ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
อนุมาตรา (2) เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ เบี้ยหวัด หรือรายได้อื่นในลักษณะเดียวกันของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือลูกจ้างในหน่วยราชการ และเงินสงเคราะห์ บำนาญ หรือบำเหน็จที่หน่วยราชการได้จ่ายให้แก่คู่สมรสหรือญาติที่ยังมีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น

ซึ่ง ไฟฯ จะไม่สามารถเรียกเงินจากมลูหนี้ตามคำพิพากษาได้
และ อายุความการบังคับหนี้ 10ปี จะอดได้เงินเปล่าๆ

อย่างไรเสีย ไฟฯ เค้าอยากได้ "เงิน" มากกว่า "รถ" เราเช่าซื้อเอง เค้าได้เงิน แล้วเราได้ทรัพย์ ก็ วิน - วิน ทั้งคู่ จะดีกว่า
เมื่อผ่อนรถ ครบแล้ว จะขายทิ้งก็เรื่องของคุณ

2. เมื่อไกล่เกลี่ยไม่ได้ ก็ เข้าสู่กระบวนการ ศาล ซึ่งแน่นอนว่า มักจะเป็น ธรรม ต่อลูกหนี้ด้วย เพราะไฟฯ มักจะได้เงินน้อยกว่าที่ต้องการ
เพราะ เราแสดงแล้วว่า พยายามต่อรอง ล่าสุด เท่าที่แนะนำไป
ตัวอย่างคำสั่งศาล ปลายเดือน พย 55 คือ
1. ให้คืนทรัพย์ คือ รถ
2. หนี้เงิน 40000 บาท + คอกเบี้ยผิดนัดชำระร้อยล่ะ 7.5 ต่อปี
3. ค่าทนายโจทก์ 3000 บาท
4. ค่าเสียหายที่เจ้าทรัพย์มิได้ใช้ประโยชน์จากรถ (ถ้าไม่คืนทรัพย์) เดือนละ 4000 ไม่กิน 6 เดือน
รวมเงิน ห้าหมื่น กว่าบาท คืนรถ ที่ สนง.ฝากทรัพย์ กรมบังคับคดี ตามคำสั่งศาล เมื่อต้นเดือนนี้เองครับ

อย่าไปเชื่อ ทนาย บ.ไฟแนทช์ ให้มาก
ลองค้นคำว่า "ชมรมหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล" นะครับ

ปล. ผมไม่ใช่ทนาย เป็นนักเรียน กฎหมาย อยู่ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่