บทที่ 5
ผมไม่เคยบอกปลาเลยว่ารู้สึกอย่างไร ไม่เคยสารภาพความในใจ หรือแม้แต่พูดอะไรทำนองนั้นออกมา หวังแต่เพียงว่าเธอคงจะเข้าใจได้เอง ความคิดนี้ติดอยู่ในหัวผมมาโดยตลอด เดี๋ยวนี้ก็เช่นกัน ยังถามตัวเองอยู่บ่อยๆ ว่า ทำไมถึงไม่พูดไปตรงๆ เลยว่าชอบเธอและชอบมากๆ ด้วย เป็นเพราะแบบนี้หรือเปล่าที่ทำให้เธอเข้าใจไปเองว่า ผมชอบเธอแบบเพื่อนมากกว่าจะมองว่าเป็นผู้หญิงคนหนึ่ง
เรามักแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและคุยกันแทบทุกเรื่อง ตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ คุยกันถูกคอชนิดที่ว่า ไม่ไล่ไม่เลิก ผมเองล่ะครับที่เป็นฝ่ายถูกไล่ บ่อยเสียด้วยสิ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายชวนคุยเสียมากกว่า พูดถึงเรื่องโทรศัพท์มีอยู่ครั้งหนึ่งยังจำได้ไม่ลืม จำได้ว่าตอนนั้นสุดแสนจะเขินหลังจากถูกคนที่มาต่อแถวรอโทรศัพท์จ้องเอาๆ ราวกับโกรธกันมาแต่ชาติปางก่อน ก่อนค้อนขวับเข้าให้ หลังจากโดนแบบนี้บ่อยเข้า ผมก็เริ่มชินชาไปเองในที่สุด
“ทำอย่างไรได้ล่ะครับ ก็ผมจำเป็นต้องออกมาโทรหาเธอเกือบทุกวันนี่นา แต่หลังๆ มานี่ ผมมีเทคนิคครับ คือจะถีบจักรยานตะเวณหาตู้โทรศัพท์ที่ลึกๆ ปลอดคนหน่อย แม้ว่ามันจะวังเวงทำให้รู้สึกเสียวสันหลังอยู่บ้าง แต่เทียบกับความอึดอัดที่ถูกประชาชีจ้องเอาๆ แล้วถือว่าดีกว่าเยอะเลย”
ถ้าถามว่า อายบ้างไหม ตอบได้เลยว่า อายสิครับ อายมากด้วย...อายจนอยากจะหายตัวจากตรงไปเลย รีบถีบจักรยานกลับบ้านแทบไม่ทัน รู้สึกร้อนผ่าวที่หน้า เหงื่อแตกท่วมตัวราวกับไปออกกำลังกายมาทีเดียว” เฮ้ย...ทำไปได้นะเรา” นึกขึ้นมาทีไร อดขำในความเดียงสาของตัวเองไม่ได้เลย
นับแต่นั้นมาก็ไม่เคยรู้สึกหรือทำแบบนี้กับใครเท่านี้อีกเลย มันคงเป็นรักแรกของผมจริงๆ แต่ผมไม่เคยเล่าให้ปลาฟัง คิดว่าเธอน่าจะรู้ได้เอง เพราะมีอยู่หลายครั้งที่จู่ๆ ผมก็พูดน้อยลง แถมเสียงเบาอีกต่างหาก นั่นเป็นสัญญาณว่า เวลาของผมใกล้หมดลงแล้ว และคงทนหน้าด้านทู่ซี้ได้อีกไม่เกินห้านาที ก่อนจะรีบเผ่นออกมา
การคุยโทรศัพท์ในตอนนั้น ผมถือว่าเป็นสาระสำคัญอย่างหนึ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ ด้วยความที่อยู่ไกลกว่าคนอื่นๆ เลยต้องขยันเข้าหาหน่อย ผมเคยบอกแล้วนี่ครับ ว่าคู่แข่งผมเยอะ โดยเฉพาะเชาว์ที่อยู่ใกล้มากที่สุด ไม่รู้ว่าเขาจะขยันโทรหาเท่าผมหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ ผมมีความสุขมากที่ได้ทำแบบนี้ทุกวัน
แรกๆ อาจมีรำคาญบ้าง สังเกตจากที่พูดน้อยลง แต่ใช่ว่า...ผมไม่อยากคุยด้วยหรอกนะ เธอต่างหากล่ะที่ไม่ค่อยจะพูด เลยต้องอาศัยลูกตื้อ ขยันหาเรื่องมาเล่าให้ฟัง หลังๆ มานี่...เธอคุยเก่งขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะเลย จากอาทิตย์ละครั้งเป็นสองสามวันครั้ง พอขึ้นมอห้า...ผมก็โทรหาเธอแทบทุกวัน นอกจากโทรหาแล้วยังขยันไปหาอีกด้วย ระยะทางจากสาธุประดิษฐ์ถึงท่าน้ำเมืองนนท์ก็ไม่ได้ไกลเกินไปนัก ถึงแม้ว่าบางครั้งจะเหนื่อยแทบตายก็ตาม
“วันเสาร์ว่างไหมปลา” ผมเปิดประเด็นทันทีที่สบโอกาส แต่กว่าจะกล้าถามออกไปได้ หัวใจก็แทบจะระเบิดทีเดียว แค่นั้นยังไม่พอมันยังระรัวเต้นอยู่ในแผงอก ลุ้นกับคำตอบจนผมแทบเก็บอาการไม่อยู่ กลัวปลาจะรู้ว่าตื่นเต้นมากแค่ไหน ทั้งๆ ที่คุยโทรศัพท์กันแท้ๆ
“จะมาชวนไปไหนอีกล่ะ” ปลารู้ทัน ทำเอาผมเกือบไปต่อไม่เป็น ดีที่ว่าเตรียมคำพูดไว้ก่อนแล้ว เลยรอดตัวไป
“เปล่า...ว่าจะเอาหนังสือไปให้อ่าน เห็นว่าสนุกดีเลยนึกถึง”
“เรื่องอะไรเหรอ”
“ว้าวุ่น ของปินดา โพสยะ เคยอ่านหรือยัง เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กถาปัดจุฬา” ผมรู้ว่าเธอชอบอ่านหนังสือทำนองนี้ เลยเล่าเรียกความสนใจสะเลย แถมแอบหวังอีกด้วยว่า เสาร์นี้อาจจะได้เจอ แต่พอปลาตอบกลับมา หัวใจผมเหี่ยวทันที
“ของนกเหรอ น่าสนใจเหมือนกันนะแต่ว่าเสาร์นี้ต้องไปโรงเรียน”
“ไม่ใช่หรอก...ยืมเพื่อนมาอีกที ว่าแต่ไปทำอะไรเหรอ” ผมพูดแบบขอไปที หมดแล้วซึ่งความหวังใดๆ
“ทำกิจกรรมกับพวกที่มาสอบเทียบ ที่โรงเรียนเป็นศูนย์สอบเทียบด้วยนะ นกไม่สนใจบ้างเหรอ”
“ไม่ดีกว่าอยากจบแบบธรรมชาติ ว่าแต่ปลาเถอะ ถ้าเก็บได้หมดทุกวิชาก็ไม่ต้องมาเรียนแล้วสิ”
“เพิ่งเก็บได้สามวิชาเอง ยังเหลืออีกตั้งแยะแต่ไม่ซีเรียดอะไร แค่อยากลองวัดความรู้ดูเท่านั้นแหล่ะ ปีนี้ถ้าเก็บไม่หมดก็ไม่เอาแล้ว”
“สรุปว่า เสาร์นี้ไม่ว่าง” ผมไม่มีอารมณ์จะฟังต่อ เลยพูดตัดบท ปลาเองก็คงจะงงๆ อยู่เหมือนกัน เห็นตอบกลับมาสั้นๆ
“อืม”
หมายเหตุ : สมัยเมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ยังมีการสอบเทียบอยู่ค่ะ ไม่แน่ใจว่าเลิกมีไปตั้งแต่เมื่อไหร่เหมือนกัน
ปล. ถ้าใครเคยอ่านหนังสือพวกนี้บ้าง แสดงว่ายังอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลายมากๆเลย และคงจะทราบดีว่า ตัวละครเหล่านั้นมีสมาชิกวงเฉลียง ที่เคยโด่งดังโดนใจวัยรุ่นแม่ๆ เอ้ย วัยรุ่นตอนปลายอยู่เสียหลายคนเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมี คุณตั้วศรัญญู ซูโม่โค้ก อีกด้วย หนังสือเล่มนี้ในเวลานั้นค่อนข้างมีอิทธิพลต่อเด็กมอปลายสายวิทย์มากที่เดียวค่ะ เรียกว่าอ่านแล้วอยากเอ็นสถาปัตย์กันเป็นแถว เพราะความเพี้ยนในวีรกรรมของพวกพี่ๆเหล่านั้นนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีหนังสือร่วมสมัยเดียวกันที่ มนต้นไม้ชอบอ่านมากอีกหลายเล่มทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น กลิ่นสีและกาวแป้ง กลิ่นสีและทีแปรง บนถนนคนนอนเปง ของคุณพิษณู ศุภนิมิตร (เด็กศิลปากร) ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ เลิกเหงาเอาเท่าไหร่(คุณประภาส ชลศรานนท์) เป็นต้น (แอบสารภาพว่า ในตอนนั้นไม่เคยได้อ่านนิยายไทยเลยสักเล่มค่ะ เน้นดูละครหรือไม่ก็หนังอย่างเดียวเลย เหอๆ)
ว้าวุ่น ของ ปินดา โพสยะ (วัชระ แวววุฒินันท์ ) ค่ะ
ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ ของประภาส ชลศรานนท์
เลิกเหงาเอาเท่าไหร่
บนถนนคนนอนเปล ของพิษณู ศุภนิมิตร
กลิ่นสีและกาวแป้ง กลิ่นสีและทีแปรง ของพิษณู ศุภนิมิตร
มีต่อค่ะ
เหนือกว่ารัก บทที่ 5 โดย....อุษณกร
ผมไม่เคยบอกปลาเลยว่ารู้สึกอย่างไร ไม่เคยสารภาพความในใจ หรือแม้แต่พูดอะไรทำนองนั้นออกมา หวังแต่เพียงว่าเธอคงจะเข้าใจได้เอง ความคิดนี้ติดอยู่ในหัวผมมาโดยตลอด เดี๋ยวนี้ก็เช่นกัน ยังถามตัวเองอยู่บ่อยๆ ว่า ทำไมถึงไม่พูดไปตรงๆ เลยว่าชอบเธอและชอบมากๆ ด้วย เป็นเพราะแบบนี้หรือเปล่าที่ทำให้เธอเข้าใจไปเองว่า ผมชอบเธอแบบเพื่อนมากกว่าจะมองว่าเป็นผู้หญิงคนหนึ่ง
เรามักแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและคุยกันแทบทุกเรื่อง ตั้งแต่สากกระเบือยันเรือรบ คุยกันถูกคอชนิดที่ว่า ไม่ไล่ไม่เลิก ผมเองล่ะครับที่เป็นฝ่ายถูกไล่ บ่อยเสียด้วยสิ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นฝ่ายชวนคุยเสียมากกว่า พูดถึงเรื่องโทรศัพท์มีอยู่ครั้งหนึ่งยังจำได้ไม่ลืม จำได้ว่าตอนนั้นสุดแสนจะเขินหลังจากถูกคนที่มาต่อแถวรอโทรศัพท์จ้องเอาๆ ราวกับโกรธกันมาแต่ชาติปางก่อน ก่อนค้อนขวับเข้าให้ หลังจากโดนแบบนี้บ่อยเข้า ผมก็เริ่มชินชาไปเองในที่สุด
“ทำอย่างไรได้ล่ะครับ ก็ผมจำเป็นต้องออกมาโทรหาเธอเกือบทุกวันนี่นา แต่หลังๆ มานี่ ผมมีเทคนิคครับ คือจะถีบจักรยานตะเวณหาตู้โทรศัพท์ที่ลึกๆ ปลอดคนหน่อย แม้ว่ามันจะวังเวงทำให้รู้สึกเสียวสันหลังอยู่บ้าง แต่เทียบกับความอึดอัดที่ถูกประชาชีจ้องเอาๆ แล้วถือว่าดีกว่าเยอะเลย”
ถ้าถามว่า อายบ้างไหม ตอบได้เลยว่า อายสิครับ อายมากด้วย...อายจนอยากจะหายตัวจากตรงไปเลย รีบถีบจักรยานกลับบ้านแทบไม่ทัน รู้สึกร้อนผ่าวที่หน้า เหงื่อแตกท่วมตัวราวกับไปออกกำลังกายมาทีเดียว” เฮ้ย...ทำไปได้นะเรา” นึกขึ้นมาทีไร อดขำในความเดียงสาของตัวเองไม่ได้เลย
นับแต่นั้นมาก็ไม่เคยรู้สึกหรือทำแบบนี้กับใครเท่านี้อีกเลย มันคงเป็นรักแรกของผมจริงๆ แต่ผมไม่เคยเล่าให้ปลาฟัง คิดว่าเธอน่าจะรู้ได้เอง เพราะมีอยู่หลายครั้งที่จู่ๆ ผมก็พูดน้อยลง แถมเสียงเบาอีกต่างหาก นั่นเป็นสัญญาณว่า เวลาของผมใกล้หมดลงแล้ว และคงทนหน้าด้านทู่ซี้ได้อีกไม่เกินห้านาที ก่อนจะรีบเผ่นออกมา
การคุยโทรศัพท์ในตอนนั้น ผมถือว่าเป็นสาระสำคัญอย่างหนึ่งที่จะขาดเสียไม่ได้ ด้วยความที่อยู่ไกลกว่าคนอื่นๆ เลยต้องขยันเข้าหาหน่อย ผมเคยบอกแล้วนี่ครับ ว่าคู่แข่งผมเยอะ โดยเฉพาะเชาว์ที่อยู่ใกล้มากที่สุด ไม่รู้ว่าเขาจะขยันโทรหาเท่าผมหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ ผมมีความสุขมากที่ได้ทำแบบนี้ทุกวัน
แรกๆ อาจมีรำคาญบ้าง สังเกตจากที่พูดน้อยลง แต่ใช่ว่า...ผมไม่อยากคุยด้วยหรอกนะ เธอต่างหากล่ะที่ไม่ค่อยจะพูด เลยต้องอาศัยลูกตื้อ ขยันหาเรื่องมาเล่าให้ฟัง หลังๆ มานี่...เธอคุยเก่งขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะเลย จากอาทิตย์ละครั้งเป็นสองสามวันครั้ง พอขึ้นมอห้า...ผมก็โทรหาเธอแทบทุกวัน นอกจากโทรหาแล้วยังขยันไปหาอีกด้วย ระยะทางจากสาธุประดิษฐ์ถึงท่าน้ำเมืองนนท์ก็ไม่ได้ไกลเกินไปนัก ถึงแม้ว่าบางครั้งจะเหนื่อยแทบตายก็ตาม
“วันเสาร์ว่างไหมปลา” ผมเปิดประเด็นทันทีที่สบโอกาส แต่กว่าจะกล้าถามออกไปได้ หัวใจก็แทบจะระเบิดทีเดียว แค่นั้นยังไม่พอมันยังระรัวเต้นอยู่ในแผงอก ลุ้นกับคำตอบจนผมแทบเก็บอาการไม่อยู่ กลัวปลาจะรู้ว่าตื่นเต้นมากแค่ไหน ทั้งๆ ที่คุยโทรศัพท์กันแท้ๆ
“จะมาชวนไปไหนอีกล่ะ” ปลารู้ทัน ทำเอาผมเกือบไปต่อไม่เป็น ดีที่ว่าเตรียมคำพูดไว้ก่อนแล้ว เลยรอดตัวไป
“เปล่า...ว่าจะเอาหนังสือไปให้อ่าน เห็นว่าสนุกดีเลยนึกถึง”
“เรื่องอะไรเหรอ”
“ว้าวุ่น ของปินดา โพสยะ เคยอ่านหรือยัง เป็นเรื่องเกี่ยวกับเด็กถาปัดจุฬา” ผมรู้ว่าเธอชอบอ่านหนังสือทำนองนี้ เลยเล่าเรียกความสนใจสะเลย แถมแอบหวังอีกด้วยว่า เสาร์นี้อาจจะได้เจอ แต่พอปลาตอบกลับมา หัวใจผมเหี่ยวทันที
“ของนกเหรอ น่าสนใจเหมือนกันนะแต่ว่าเสาร์นี้ต้องไปโรงเรียน”
“ไม่ใช่หรอก...ยืมเพื่อนมาอีกที ว่าแต่ไปทำอะไรเหรอ” ผมพูดแบบขอไปที หมดแล้วซึ่งความหวังใดๆ
“ทำกิจกรรมกับพวกที่มาสอบเทียบ ที่โรงเรียนเป็นศูนย์สอบเทียบด้วยนะ นกไม่สนใจบ้างเหรอ”
“ไม่ดีกว่าอยากจบแบบธรรมชาติ ว่าแต่ปลาเถอะ ถ้าเก็บได้หมดทุกวิชาก็ไม่ต้องมาเรียนแล้วสิ”
“เพิ่งเก็บได้สามวิชาเอง ยังเหลืออีกตั้งแยะแต่ไม่ซีเรียดอะไร แค่อยากลองวัดความรู้ดูเท่านั้นแหล่ะ ปีนี้ถ้าเก็บไม่หมดก็ไม่เอาแล้ว”
“สรุปว่า เสาร์นี้ไม่ว่าง” ผมไม่มีอารมณ์จะฟังต่อ เลยพูดตัดบท ปลาเองก็คงจะงงๆ อยู่เหมือนกัน เห็นตอบกลับมาสั้นๆ
“อืม”
หมายเหตุ : สมัยเมื่อยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ยังมีการสอบเทียบอยู่ค่ะ ไม่แน่ใจว่าเลิกมีไปตั้งแต่เมื่อไหร่เหมือนกัน
ปล. ถ้าใครเคยอ่านหนังสือพวกนี้บ้าง แสดงว่ายังอยู่ในช่วงวัยรุ่นตอนปลายมากๆเลย และคงจะทราบดีว่า ตัวละครเหล่านั้นมีสมาชิกวงเฉลียง ที่เคยโด่งดังโดนใจวัยรุ่นแม่ๆ เอ้ย วัยรุ่นตอนปลายอยู่เสียหลายคนเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังมี คุณตั้วศรัญญู ซูโม่โค้ก อีกด้วย หนังสือเล่มนี้ในเวลานั้นค่อนข้างมีอิทธิพลต่อเด็กมอปลายสายวิทย์มากที่เดียวค่ะ เรียกว่าอ่านแล้วอยากเอ็นสถาปัตย์กันเป็นแถว เพราะความเพี้ยนในวีรกรรมของพวกพี่ๆเหล่านั้นนั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีหนังสือร่วมสมัยเดียวกันที่ มนต้นไม้ชอบอ่านมากอีกหลายเล่มทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น กลิ่นสีและกาวแป้ง กลิ่นสีและทีแปรง บนถนนคนนอนเปง ของคุณพิษณู ศุภนิมิตร (เด็กศิลปากร) ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ เลิกเหงาเอาเท่าไหร่(คุณประภาส ชลศรานนท์) เป็นต้น (แอบสารภาพว่า ในตอนนั้นไม่เคยได้อ่านนิยายไทยเลยสักเล่มค่ะ เน้นดูละครหรือไม่ก็หนังอย่างเดียวเลย เหอๆ)
ว้าวุ่น ของ ปินดา โพสยะ (วัชระ แวววุฒินันท์ ) ค่ะ
ขอชื่อสุธีสามสี่ชาติ ของประภาส ชลศรานนท์
เลิกเหงาเอาเท่าไหร่
บนถนนคนนอนเปล ของพิษณู ศุภนิมิตร
กลิ่นสีและกาวแป้ง กลิ่นสีและทีแปรง ของพิษณู ศุภนิมิตร
มีต่อค่ะ