มาตรฐานของอิสลาม

ขอความสันติจงมีแด่ทุกท่าน
       
      หลายครั้งหลายครา ในสังคมของการอยู่ร่วมกัน ระหว่างศาสนา
การมีข้อสงสัยต่อกันเกี่ยวกับ หลักความคิด การปฎิบัติจึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
เพราะความแตกต่าง ความหลากหลายเป็นเรื่องที่ปกติ
การเรียนรู้กันและกันย่อมส่งผลดีต่อการไช้ชีวิต

       อิสลามมองข้ามเรื่อง ชาติพันธุ์ ภาษา สีผิว หลักการปฎิบัติและศรัทธา จะมีมาตาฐานเดียวเท่านั้น
อิสลามจะไม่ใช้อารมณ์ รสนิยม จารีตประเพณี บรรพบุรุษ ญาณวิเศษ และความฝัน
หรือสิ่งอื่นใดนอกเหนือจาก คัมภีร์ อัลกุรอาน และแนวทาง(ซุนนะฮ์)ของท่านศาสนามูฮัมหมัด
เรามักจะพบโดยทั่วไปว่า หลักการที่มนุษย์คิดขึ้นเอง มักจะพบแต่ความผิดพลาด หรือบางทีก็ไช้ไม่ได้จริง

     เพราะอิสลามคือการศาสนาที่ผู้ที่ศรัทธาจะนำตัวเองเข้ามาสู่อิสลาม อย่าง 100%
ไม่ไช่ศาสนามักง่าย ที่ผู้นับถือเลือกปฎิบัติเอาแต่สิ่งที่ชอบ หรือทำแต่สิ่งที่ง่าย หรือนึกถึงศาสนาแค่ในช่วงที่ต้องการพลังทางใจ หรือทำไห้ศาสนาเป็นแค่เครื่องประดับทางใจ

     เช่น การคลุมผม(ฮิญาบ)ของสตรี หรือการห้ามดื่มสุราของมึน เมา นั้นเป็นบทบัญญัติ จำเป็นต้องกระทำ ดังนั้นถ้าเราจะพบเจอคนที่เป็นมุสลิมแล้วเค้าไม่ทำตาม คือไม่คลุมผม หรือ ดื่มเครื่องดื่มมึนเมา  
ก็ไม่ไช่ข้ออ้างได้ว่าอิสลามอนุมัติไห้กระทำด้วยกับจำนวนผู้กระทำผิดที่มากมาย
หรือการกำหนดของสังคม ขอไห้เรารับรู้ไว้แค่ว่า เขาคนนั้นกำลังละเมิดบทบัญญัติอยู่

...........................................................................................................................................

"กฏเกณฑ์ของศาสนาจำเป็นต้องอาศัยหลักฐานที่ถูกต้องและชัดเจนยืนยัน"

อธิบายคำนิยาม

          นิยามของคำว่า "กฏเกณฑ์ของศาสนา" บรรดานักวิชาการ ให้คำนิยามกฏเกณฑ์ของศาสนาไว้ว่า "เป็นคำกล่าวของอัลลอฮ์ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำของผู้ที่อยู่ในเกณฑ์บังคับของศาสนา โดยบ่งชี้เป็นคำสั่ง เป็นการเลือกกระทำ และการกำหนด"

         
สิ่งที่เป็น คำสั่งใช้ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

    ประเภทที่ 1 ใช้ให้กระทำ แบ่งเป็น 2 ข้อ
ใช้ให้กระทำอย่างจริงจัง คือ วาญิบ (จำเป็น)
ใช้ให้กระทำอย่างส่งเสริม คือ มันดูบ (ส่งเสริมให้ทำ)

    ประเภทที่ 2 ใช้ให้ละทิ้ง แบ่งเป็น 2 ข้อ
ใช้ให้ละทิ้งอย่างเด็ดขาด คือ ฮะรอม
ใช้ให้ละทิ้งแบบส่งเสริม คือ มักรูฮ์

    ส่วนอีกข้อหนึ่ง คือ การเลือกกระทำ คือ มุบาฮ์


ดังนั้นกฏเกณฑ์ของศาสนาจึงประกอบด้วย 5 กฏ คือ วาญิบ , มันดูบ , ฮะรอม , มักรูฮ์ , มุบาฮ์
ส่วนการกำหนด คือ กฏเกณฑ์ที่ศาสนากำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติ เช่น การกำหนดสาเหตุ ข้อห้าม และเงื่อนไข เป็นต้น

          การที่จะยืนยันถึงการกระทำอย่างหนึ่ง อย่างใด ให้เข้าอยู่ในกฏเกณฑ์ทางศาสนา จำเป็นต้องอาศัยหลักฐานที่มีความถูกต้องทางด้านสายสืบ และมีความชัดเจนทางด้านตัวบท และตัวบ่งชี้  หมายความว่า สิ่งใด การกระทำใดที่ไม่มีพื้นฐานทางศาสนา ให้งดการปฏิบัติจนกว่าจะมีหลักฐานมายืนยันเสียก่อน ด้วยเหตุนี้จึงไม่อนุญาตให้ผู้หนึ่งผู้ใดอ้างว่าการกระทำที่ปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์ของศาสนา จนกว่าจะมีหลักฐานที่ถูกต้องและชัดเจนมายืนยัน

          เพราะการยืนยันสิ่งหนึ่งให้เข้าอยู่ในเกณฑ์ของศาสนาเป็นสิทธิเฉพาะทางศาสนาเท่านั้น หากมีคนใดกล่าวว่าสิ่งที่น่าสงสัยว่าเป็นวาญิบ จงกล่าวถามว่า "หลักฐานอยู่ที่ไหน ?" เพราะเรื่องของศาสนา และการตัดสิน(ฮุก่ม) ยืนยันว่ามีหลักฐาน ต้องแน่ชัดถึงหลักฐานที่มี โดยมิได้พูดลอยๆขึ้นมาว่า "มีหลักฐาน" แต่มิได้แสดงหลักฐานให้ชัดแจ้ง

        การยืนยันเรื่องศาสนา ทั้งหมดนั้นต้องพิสูจน์ และถูกตรวจวัดโดยใช้มาตรวัดของอัลกุรอานและซุนนะฮ์นะบีมุฮัมมัด  เมื่อสอดคล้องกับอัลกุรอานและซุนนะฮ์ท่านนะบีมุฮัมมัด  เรื่องนั้นจะถูกตอบรับ แต่ถ้าไม่สอดคล้องและขัดแย้งจะถูกปฏิเสธทันที

          ความเห็น คำพูด จะต้องถูกพิสูจน์และตรวจวัดที่ความจริง  ความจริงนั้นมิได้พิสูจน์กันที่มัสฮับ(แนวทาง) ไม่ได้พิสูจน์ที่ตัวบุคคลที่พูด ผู้ใดที่กล่าวคำพูดค้านกับอัลกุรอาน หรือซุนนะฮ์นะบีมุฮัมมัด  คำพูดดังกล่าวถือเป็นโมฆะ ไม่ว่าเจ้าของคำพูดจะเป็นใครก็ตาม และบรรดามัสฮับต่างๆ ที่มีความเห็นที่ค้านกับหลักฐาน ก็ให้ถือว่าเป็นโมฆะ ไม่ว่าจะเป็นมัสฮับใดก็ตาม ถ้าหากว่าค้านกับตัวบทและหลักฐาน


         หลักฐาน คือ รากฐาน สิ่งอื่นๆถือว่าเป็นข้อปลีกย่อย จะไม่นำหน้ารากฐาน  หลักฐานเปรียบเสมือนเจ้านายที่ต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม ส่วนข้อปลีกย่อยเป็นเสมือนบ่าวทาสที่ต้องเชื่อฟังเจ้านาย และจะไม่สามารถนำหน้าเจ้านายได้เป็นอันขาด

          หลักฐาน เป็นเครื่องมือตรวจวัด ข้อปลีกย่อยเป็นสิ่งที่ถูกตรวจวัด จึงไม่สมควรที่จะยึดถือสิ่งที่ถูกตรวจวัด โดยละเลยเครื่องมือตรวจวัด


บทความโดย
http://www.islammore.com/main/content.php?page=sub&category=26&id=1698
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่