** เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ **
บทความนี้รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลจากหลายแหล่ง หากมีความผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว
เคยมีเด็กคนหนึ่งตั้งคำถามว่า
ระบบพรรคการเมืองอเมริกันแตกต่างจากของไทยอย่างไร
หากเทียบกับของไทยแล้ว เดโมแครตคือ ประชาธิปัตย์ และ รีพับลิกันคือ เพื่อไทยได้หรือไม่?
แม้เป็นคำถามที่ไม่น่าตอบนัก สุดท้ายก็ต้องตอบ ว่า "ไม่ใช่" และ "ต่างกันอย่างสิ้นเชิง"
และแม้มันจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่นิดหน่อย แต่ความเหมือนหรือแตกต่างของทั้งสองระบบพรรคการเมืองไทยและอเมริกา
ไม่ใช่สาระสำคัญของบทความนี้..
Barack Obama ประธานาธิบดีจากพรรค
Democrat ที่สามารถชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีจาก
George W. Bush แห่ง
Republican ได้ในปี 2008 ซึ่งภายในปีนั้น ชีวิตทางการเมืองของบุชตกต่ำถึงขีดสุด โดยบุชถูกโหวตให้เป็นประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐ อันเนื่องมาจาก
Saddam Mission และ การคว้าน้ำเหลวรอบแล้วรอบเล่ากับการตามล่าตัว
Bin Laden ทำให้ประเทศชาติสูญเสียทั้งงบประมาณและกำลังทหาร ที่มีทหารและพลเมืองล้มตายในหลักแสนคน กับการเปิดฉากสงครามกับกลุ่มตาลีบัน
มีหลักการจำอันหนึ่งที่บอกกันมาปากต่อปาก แบบทีเล่นทีจริง ว่าเราจะรู้ได้ไงว่าประธานธิบดีคนไหนมาจากพรรคอะไร
"จำง่ายๆ เดโมแครตเป็นเสรีนิยม ส่วนรีพับริกันบ้าสงคราม*"
(*หมายเหตุ ประโยคนี้เป็นมุมมอง/ความเข้าใจทางการเมืองส่วนตัวของผู้เขียน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
และเนื่องจากคุณ kdunagin ในความเห็นที่ 2-1 แก้ว่าที่ถูกต้องควรเป็น เดโมแครตเป็นเสรีนิยม ผู้เขียนจึงขออณุญาติ
แก้ข้อความจาก อนุรักษ์นิยม เป็น เสรีนิยม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และ ขออภัยเรื่องความเข้าใจที่ผิดพลาดมา ณ ทีนี้)
โอบาม่าก้าวเข้ามาในช่วงรอยต่อของภารกิจ เด็ดหัวบิน ลาเดน เขายังมีงานต้องสะสางต่อจากบุชอยู่อีกมาก
แต่แนวคิดของโอบาม่าคือ "เขาจะไม่ทำอะไรโฉ่งฉ่างแบบบุช"
โอบาม่าเลือกประกาศจุดยืนว่า
"รัฐบาลอเมริกาจะไม่ทรมานผู้ก่อการร้าย และจะดำรงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชน" ---
--- "ผมพยายามจะบอกซ้ำๆว่า อเมริกาจะไม่ทำการทรมานนักโทษ ผมจะทำให้มั่นใจว่ามันจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เอง จะทำให้อเมริกาเป็นรัฐที่มีคุณธรรมสูงส่งที่สุดในโลก..."
ปาถกฐาที่เรียกขวัญกำลังใจคืนมาสู่อเมริกันชน และ กับประชาคมโลก ซึ่งแนวคิดนี้ขัดแย้งกับ จุดยืนของประธานาธิบดีคนก่อนอย่างสิ้นเชิง
ในช่วงปีที่ 3 ของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของ โอบาม่า
โอซามา บิน ลาเดน ถูกสังหาร
Kathryn Bigelow ผู้กำกับหญิงแกร่งที่มีดีกรี ผู้กำกับยอดเยี่ยม จากเวทีออสการ์ปี 2008 จากหนังทหารหน่วยกู้ระเบิดในอิรักอย่าง
The Hurt Locker ได้ให้ความสนใจกับหนังสือสุดอื้อฉาวแห่งวงการทหารเล่มหนึ่่ง ที่กำลังขึ้นแท่นขายดีแทนที่
Fifty shades of Gray ในช่วงเดือนกันยายน ปี 2012 มันเป็นการเปิดเผยเบื้องลึกเบื้องหลังของการทำงานในฐานะ
"หน่วยซีล" และข้อเท็จจริงเบื้องหลัง ภารกิจ
"ล่าบิน ลาเดน" ของ
Matt Bissonnette เรื่อง
"No Easy Day"
ซึ่งหากตั้งข้อสังเกตุดีๆว่า ตัวหนังสือ
No Easy Day วางจำหน่ายในเดือน กันยายน แต่ทำไม
Zero Dark Thirty ที่ดูเหมือนจะหยิบพลอตเกือบทั้งหมดมาจากตัวหนังสือ ถึงมีกำหนดฉายภายในเดือนตุลาคม ที่ระยะเวลาห่างกันเพียงเดือนเดียว ?
Mark Boal นักเขียนบทคู่บุญของบิเกโลว์สนใจพลอตเรื่อง
"การตามล่าบิน ลาเดน" มาแต่ไหนแต่ไร เขาจึงเขียนพลอตเรื่องการตามล่าบินลาเดนในภารกิจ
Battle Of Tora Bora โดยหวังว่า อยากทำหนังที่พูดถึง "ภารกิจที่ไม่มีทางสำเร็จ" ของ CIA ในการตามล่า บุคคลที่อันตรายที่สุดของโลกคนนี้
การต่อสู้ที่ Tora Bora (Battle Of Tora Bora)
ย้อนกลับไปใน ปี 2001 เดือนธันวาคม หลังเหตุการณ์ 9/11 เพียง 3 เดือนใน ปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน Operation Enduring Freedom สหรัฐอเมริกาเข้าจู่โจมจุดที่ "คาดว่า" เป็นฐานที่มั่นของกองกำลังตาลีบันผู้ให้การคุ้มครองบิน ลาเดนในขณะนั้นภายในเขต โทราโบรา ซึ่งปฏิบัติการครั้งแรก "ล้มเหลว" และ บินลาเดน หนีไปได้
ยุทธการอนาคอนดา (Operation Anaconda)
ในปี 2002 ที่นับเป็นปฏิบัติการครั้งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรกกับการเปิดฉากสงครามกับอัฟ ฟานิสถานโดยสมบูรณ์แบบ ปฏิบัติการนี้ถือว่าเป็นความอัปยศของอเมริกาอย่างแท้จริง เพราะมีหลักฐานและข้อมูล "ที่เชื่อถือได้" จากหน่วยข่าวกรองอย่างชัดเจน แต่ยุทธการอนาคอนดาก็ประสบความล้มเหลวอีกครั้ง และ สหรัฐอเมริกาสูญเสียทหารหลายร้อยนาย จากการเข้าปิดล้อมหุบขา "ชาฮีคอต" โดยที่บิน ลาเดนอาศัยความชำนาญภูมิประเทศ หนีไปได้อีกครั้ง...
"... การรบใน ยุทธาการอนาคอนดาเกิดขึ้นในช่วงที่สหรัฐกำลังเตรียมการบุกอิรักเพื่อขับไล่ ซัดดัม ฮุสเซน ออกจากอำนาจ สหรัฐจึงมีความสับสนหลายอย่างในการใช้คน การกำหนดโครงสร้างการบังคับบัญชา ความขัดแย้งทางบุึคลิกของผู้บังคับบัญชาที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อมาใน สนามรบ
แม้สหรัฐจะมียุทโธปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูงกว่า แต่มิได้หมายความว่ากลไกสงครามเหล่านั้นจะมาทดแทนความสำคัญของคนลงไปได้ นี่คือสิ่งที่ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ความจริงอีกครั้ง..."
- ยุทธการ, ผู้แปล ยุทธการอนาคอนดา Not A Good Day To Die หน้า 9 (คำนำ)
Not A Good Day To Die ยุทธการอนาคอนด้า ของ Sean Naylor มีฉบับแปลไทยแล้ว
สำนักพิมพ์มติชน เป็นผู้จัดจำหน่าย
ขณะที่บทหนังของบิเกโลว์และโบลกำลังพัฒนาไปเรื่อยๆ พวกเขาก็ต้องพบกับข่าว "ช็อคโลก" ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2011 เมื่อบนหน้าจอทีวีตัดเข้าสู่รายการด่วน การประกาศของประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า
"หน่วยซีลได้สังหารบิน ลาเดน เมื่อวานนี้ บริเวณจังหวัดแอบบอตทาบัต ในปากีสถาน..."
โบลและบิเกโลว์ต้องกลับมารื้อบทหนังใหม่อีกครั้ง และเตรียมหาแผนสองทันที
และโชคก็เข้าข้างเมื่อทั้งคู่พบว่า อดีตหน่วยซีลนายหนึ่งกำลังจะเขียนหนังสือ เกี่ยวกับ "ปฏิบัติการเด็ดหัวบินลาเดน" ในครั้งนี้ นั่นคือ Matt Bissonnette ผู้แต่ง "No Easy Day" นั่นเอง
และก็เหมือนเป็น โชคสองชั้นของ บิเกโลว์และโบล เมื่อได้พบว่า "หัวใจสำคัญ" ของภารกิจครั้งนี้
ไม่ใช่หน่วยซีลหุ่นล้ำบึ้ก หรือ CIA หนุ่มจอมมุทะลุ
แต่เป็น CIA สาว คนหนึ่งเท่านั้น...
นี่คือตัวละครที่ ผู้กำกับและคนเขียนบททุกคนบนโลกนี้ตามหา...
"เจน -- ผู้ฉลาดเป็นกรด น่าเกรงขาม และมาพร้อมกับส้นสูงแพงๆเสมอ"
คือคำนิยามที่ แมตพูดถึง CIA สาวที่ทำภารกิจตามล่าบิน ลาเดน มาเกือบ 10 ปี
หนังถูกเปลี่ยนเป็นเรื่องราวของ CIA สาวคนหนึ่งกับการตามล่าบิน ลาเดน และอุปสรรคสุดโหดที่พวกเขาต้องเจอ กว่าจะ
"เด็ดหัว บิน ลาเดน" ได้ในที่สุด
ทันทีที่ข่าวนี้แพร่ออกไป ก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างต่อเนื่อง ว่า บิเกโลว์อาจใช้หนังเรื่องนี้ช่วยโปรโมตการเลือกตั้งของบารัค (กำหนดการฉายหนังครั้งแรกคือเดือน ตุลาคม 2012) เพราะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ภารกิจ ล่าบินลาเดนที่ทำสำเร็จในรัฐบาลเดโมแครตและ หากได้ฉายตามโปรแกรมจริง จะเป็นช่วงก่อนการเลือกตั้งพอดิบพอดี
สตูดิโออย่าง โคลัมเบียร์ พิคเจอร์จึงไม่อยากเสี่ยงกับแรงต้าน จึงเลื่อนการออกฉายของ
Zero Dark Thirty มาเป็นสิ้นปี 2012 ที่การเลือกตั้งสิ้นสุดลงแล้ว (และบารัคก็คว้าตำแหน่ง 2 สมัยซ้อน) ซึ่งในคราวนั้นบิเกโลว์ได้พยายามปฏิเสธว่า นี่ไม่ได้เป็นหนังที่เข้าข้างอเมริกาหรือพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งแต่อย่างใด
ใครได้ดู คงพิสูจน์แล้วว่า คำพูดของบิเกโลว์นั้นจริงหรือไม่?
Zero Dark Thirty พาเราไปเริ่มต้นที่
"ภารกิจรีดความลับ" ของผู้ต้องสงสัยรายหนึ่งในปี 2003 ที่คาดว่ามีส่วนเกี่ยวพันกับกลุ่มอัลเคดาห์ ภายหลัง เหตุการณ์ 9/11 ใน ปี 2001
ที่ดูจากวิธีการแล้วดูเหมือนจะสวนทางกับ Speech ของ บารัค โอบาม่าอย่างสิ้นเชิง...
อ้อ ลืมไป ตอนนั้นมันสมัยรัฐบาล บุช นี่นะ...
บุชเคยออกมาให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าว ถึงการ
"ยืนกราน" ที่จะใช้
"วิธีรุนแรง" ในการรีดความลับจากผู้ก่อการร้าย เช่นวิธี
Waterboarding ที่ได้รับการยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า
"โหด" แบบที่นักโทษอยากจะตายไปซะ เพราะคิดว่าตัวเองใกล้ตายเต็มทีแล้ว แต่สุดท้ายก็ยังไม่ยอมให้ตาย
วิธี
Waterboarding คือการจับนักโทษวางบนกระดาน มัดแขนขา เอาผ้าคลุมหน้า แล้วราดน้ำลงไปบนหน้าของนักโทษ (วิธีโบราณที่ใช้กันมาเกือบ 300 ปี และยังเป็นวิธีประหารชีวิตของเชื้อพระวงศ์ของจีนด้วย) ซีลนายหนึ่งเคยทดลองวิธีนี้เพราะอยากรู้ว่ามันโหดสักแค่ไหน เค้าทนได้เพียงไม่นาน และได้กล่าวว่า
"มันเหมือนคุณถูกมัดมือ มัดเท้า จมอยู่ก้นสระ และกำลังจะตาย ด้วยวิธีนั้น ไม่ว่าคุณรู้อะไรมา คุณจะพูดมันออกมาทั้งหมด เพราะคุณไม่อยากกลับไปทรมานอีกแล้ว"
สำหรับบุชแล้ว บุชยังคงเส้นคงวาเรื่องตอบคำถามนักข่าวได้ ดี เหมือนเดิม ..
"คุณรู้ไหมว่าการทรมานนักโทษเหล่านี้เพื่อรีดข้อมูล--ข้อมูลที่เราได้มามีประโยชน์และสามารถช่วยเหลือผู้บริสุทธิ์ได้มากแค่ไหน"
... คำสัมภาษณ์สุดตราตรึงของบุช ที่พาคะแนนความนิยมดิ่งลงเหว..
แต่ทว่าหลังจากบุชไปแล้ว มันก็ยากเหลือเกิน ที่โอบาม่าจะ หยุดใช้ วิธีรีดข้อมูล
"แบบบุชๆ" ตามที่ประกาศออกสื่อ เพราะวิธีมันได้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลจริงๆ ..
วิธีการทรมานนักโทษก่อการร้ายเป็นที่ต่อต้านจากประชาคมโลก แต่มันก็
"เลี่ยงไม่ได้" เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า จริงๆหรือ?
ท้ายที่สุด เบาะแสหนึ่งหลุดออกมาจากปากนักโทษ คือ เรา
"ต้องติดตามคนส่งสาร"
มีผู้ต้องสงสัยอีกคนที่ดูเหมือนว่ามีความใกล้ชิดกับ บิน ลาเดน โดย เขาเป็น
"คนส่งสาร" จากบิน ลาเดน โดยตรงถึงคนอื่นๆ แม้ CIA จะรู้ชื่อของเขา แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า นั่นเป็นชื่อจริงๆ และ ตัวตนจริงๆหรือไม่? หรือ CIA กำลังถูกจูงไปผิดทางอีกครั้ง?
กลางปี 2005 เกิดเหตุระเบิดพลีชีพใน ลอนดอน
ขณะที่ CIA กำลังควานหาตัว "คนส่งสาร" อย่างเอาเป็นเอาตาย เหตุระเบิดทำให้ทุกอย่างเขม็งเกลียวขึ้นไปอีก นั่นทำให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงต้องขอสอบสวน นักโทษคนหนึ่ง ในปากีสถาน เป็นกรณีพิเศษ
แต่ยิ่งสืบ ยิ่งค้นหาพยานและผู้ต้องสงสัยเท่าไหร่ ดูเหมือนขอ้มูลก็ยิ่งบานปลาย และเลยเถิดไปไกลจากที่คาดไว้ และ ดูเหมือน CIA จะ ไม่มีความคืบหน้าอะไรเลยในระยะเวลา 3 ปี ขณะที่สหรัฐสูญเสียงบประมาณทางการทหารไปมากมายมหาศาล
ปี 2008 เกิดเหตุระเบิดภายในโรงแรม มาริออต ปากีสถาน โรงแรมที่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้าพักเยอะที่สุดในกรุงอิสรามาบัด
สิ้นปี 2009 CIA ควานหาตัวคนที่คาดว่า
"อาจเป็นผู้ใกล้ชิดบิน ลาเดน" ได้อีกครั้ง พวกเขาทำข้อตกลงนัดพบกันที่ Chapman Camp ทางชายแดนของอัฟกานิสถาน และที่นั่น นับเป็นการ "เหยียบจมูก" อเมริกาครั้งยิ่งใหญ่ เพราะจากการนัดหมาย กลายเป็นการ
"ระเบิดพลีชีพ" ภายในฐานทัพอเมริกัน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 10 คนอันได้แก่เจ้าหน้าที่ CIA และทหารอเมริกัน รวมถึงมือระเบิด ผู้บาดเจ็บอีก 7 คน
... กว่าจะเจอ บิน ลาเดน ใน Zero Dark Thirty ..
** เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ **
บทความนี้รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูลจากหลายแหล่ง หากมีความผิดพลาดประการใด ผู้เขียนขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียว
เคยมีเด็กคนหนึ่งตั้งคำถามว่า
ระบบพรรคการเมืองอเมริกันแตกต่างจากของไทยอย่างไร
หากเทียบกับของไทยแล้ว เดโมแครตคือ ประชาธิปัตย์ และ รีพับลิกันคือ เพื่อไทยได้หรือไม่?
แม้เป็นคำถามที่ไม่น่าตอบนัก สุดท้ายก็ต้องตอบ ว่า "ไม่ใช่" และ "ต่างกันอย่างสิ้นเชิง"
และแม้มันจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอยู่นิดหน่อย แต่ความเหมือนหรือแตกต่างของทั้งสองระบบพรรคการเมืองไทยและอเมริกา
ไม่ใช่สาระสำคัญของบทความนี้..
Barack Obama ประธานาธิบดีจากพรรค Democrat ที่สามารถชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีจาก George W. Bush แห่ง Republican ได้ในปี 2008 ซึ่งภายในปีนั้น ชีวิตทางการเมืองของบุชตกต่ำถึงขีดสุด โดยบุชถูกโหวตให้เป็นประธานาธิบดีที่ได้รับความนิยมน้อยที่สุดเป็นอันดับ 2 ในประวัติศาสตร์การเมืองสหรัฐ อันเนื่องมาจาก Saddam Mission และ การคว้าน้ำเหลวรอบแล้วรอบเล่ากับการตามล่าตัว Bin Laden ทำให้ประเทศชาติสูญเสียทั้งงบประมาณและกำลังทหาร ที่มีทหารและพลเมืองล้มตายในหลักแสนคน กับการเปิดฉากสงครามกับกลุ่มตาลีบัน
มีหลักการจำอันหนึ่งที่บอกกันมาปากต่อปาก แบบทีเล่นทีจริง ว่าเราจะรู้ได้ไงว่าประธานธิบดีคนไหนมาจากพรรคอะไร
"จำง่ายๆ เดโมแครตเป็นเสรีนิยม ส่วนรีพับริกันบ้าสงคราม*"
(*หมายเหตุ ประโยคนี้เป็นมุมมอง/ความเข้าใจทางการเมืองส่วนตัวของผู้เขียน โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน
และเนื่องจากคุณ kdunagin ในความเห็นที่ 2-1 แก้ว่าที่ถูกต้องควรเป็น เดโมแครตเป็นเสรีนิยม ผู้เขียนจึงขออณุญาติ
แก้ข้อความจาก อนุรักษ์นิยม เป็น เสรีนิยม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง และ ขออภัยเรื่องความเข้าใจที่ผิดพลาดมา ณ ทีนี้)
โอบาม่าก้าวเข้ามาในช่วงรอยต่อของภารกิจ เด็ดหัวบิน ลาเดน เขายังมีงานต้องสะสางต่อจากบุชอยู่อีกมาก
แต่แนวคิดของโอบาม่าคือ "เขาจะไม่ทำอะไรโฉ่งฉ่างแบบบุช"
โอบาม่าเลือกประกาศจุดยืนว่า
"รัฐบาลอเมริกาจะไม่ทรมานผู้ก่อการร้าย และจะดำรงไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชน" ---
--- "ผมพยายามจะบอกซ้ำๆว่า อเมริกาจะไม่ทำการทรมานนักโทษ ผมจะทำให้มั่นใจว่ามันจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้เอง จะทำให้อเมริกาเป็นรัฐที่มีคุณธรรมสูงส่งที่สุดในโลก..."
ปาถกฐาที่เรียกขวัญกำลังใจคืนมาสู่อเมริกันชน และ กับประชาคมโลก ซึ่งแนวคิดนี้ขัดแย้งกับ จุดยืนของประธานาธิบดีคนก่อนอย่างสิ้นเชิง
ในช่วงปีที่ 3 ของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของ โอบาม่า
โอซามา บิน ลาเดน ถูกสังหาร
Kathryn Bigelow ผู้กำกับหญิงแกร่งที่มีดีกรี ผู้กำกับยอดเยี่ยม จากเวทีออสการ์ปี 2008 จากหนังทหารหน่วยกู้ระเบิดในอิรักอย่าง The Hurt Locker ได้ให้ความสนใจกับหนังสือสุดอื้อฉาวแห่งวงการทหารเล่มหนึ่่ง ที่กำลังขึ้นแท่นขายดีแทนที่ Fifty shades of Gray ในช่วงเดือนกันยายน ปี 2012 มันเป็นการเปิดเผยเบื้องลึกเบื้องหลังของการทำงานในฐานะ "หน่วยซีล" และข้อเท็จจริงเบื้องหลัง ภารกิจ "ล่าบิน ลาเดน" ของ Matt Bissonnette เรื่อง "No Easy Day"
ซึ่งหากตั้งข้อสังเกตุดีๆว่า ตัวหนังสือ No Easy Day วางจำหน่ายในเดือน กันยายน แต่ทำไม Zero Dark Thirty ที่ดูเหมือนจะหยิบพลอตเกือบทั้งหมดมาจากตัวหนังสือ ถึงมีกำหนดฉายภายในเดือนตุลาคม ที่ระยะเวลาห่างกันเพียงเดือนเดียว ?
Mark Boal นักเขียนบทคู่บุญของบิเกโลว์สนใจพลอตเรื่อง "การตามล่าบิน ลาเดน" มาแต่ไหนแต่ไร เขาจึงเขียนพลอตเรื่องการตามล่าบินลาเดนในภารกิจ Battle Of Tora Bora โดยหวังว่า อยากทำหนังที่พูดถึง "ภารกิจที่ไม่มีทางสำเร็จ" ของ CIA ในการตามล่า บุคคลที่อันตรายที่สุดของโลกคนนี้
การต่อสู้ที่ Tora Bora (Battle Of Tora Bora)
ย้อนกลับไปใน ปี 2001 เดือนธันวาคม หลังเหตุการณ์ 9/11 เพียง 3 เดือนใน ปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน Operation Enduring Freedom สหรัฐอเมริกาเข้าจู่โจมจุดที่ "คาดว่า" เป็นฐานที่มั่นของกองกำลังตาลีบันผู้ให้การคุ้มครองบิน ลาเดนในขณะนั้นภายในเขต โทราโบรา ซึ่งปฏิบัติการครั้งแรก "ล้มเหลว" และ บินลาเดน หนีไปได้
ยุทธการอนาคอนดา (Operation Anaconda)
ในปี 2002 ที่นับเป็นปฏิบัติการครั้งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรกกับการเปิดฉากสงครามกับอัฟ ฟานิสถานโดยสมบูรณ์แบบ ปฏิบัติการนี้ถือว่าเป็นความอัปยศของอเมริกาอย่างแท้จริง เพราะมีหลักฐานและข้อมูล "ที่เชื่อถือได้" จากหน่วยข่าวกรองอย่างชัดเจน แต่ยุทธการอนาคอนดาก็ประสบความล้มเหลวอีกครั้ง และ สหรัฐอเมริกาสูญเสียทหารหลายร้อยนาย จากการเข้าปิดล้อมหุบขา "ชาฮีคอต" โดยที่บิน ลาเดนอาศัยความชำนาญภูมิประเทศ หนีไปได้อีกครั้ง...
"... การรบใน ยุทธาการอนาคอนดาเกิดขึ้นในช่วงที่สหรัฐกำลังเตรียมการบุกอิรักเพื่อขับไล่ ซัดดัม ฮุสเซน ออกจากอำนาจ สหรัฐจึงมีความสับสนหลายอย่างในการใช้คน การกำหนดโครงสร้างการบังคับบัญชา ความขัดแย้งทางบุึคลิกของผู้บังคับบัญชาที่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อมาใน สนามรบ
แม้สหรัฐจะมียุทโธปกรณ์ที่มีเทคโนโลยีสูงกว่า แต่มิได้หมายความว่ากลไกสงครามเหล่านั้นจะมาทดแทนความสำคัญของคนลงไปได้ นี่คือสิ่งที่ประวัติศาสตร์ได้พิสูจน์ความจริงอีกครั้ง..."
- ยุทธการ, ผู้แปล ยุทธการอนาคอนดา Not A Good Day To Die หน้า 9 (คำนำ)
Not A Good Day To Die ยุทธการอนาคอนด้า ของ Sean Naylor มีฉบับแปลไทยแล้ว
สำนักพิมพ์มติชน เป็นผู้จัดจำหน่าย
ขณะที่บทหนังของบิเกโลว์และโบลกำลังพัฒนาไปเรื่อยๆ พวกเขาก็ต้องพบกับข่าว "ช็อคโลก" ในวันที่ 2 พฤษภาคม 2011 เมื่อบนหน้าจอทีวีตัดเข้าสู่รายการด่วน การประกาศของประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า
"หน่วยซีลได้สังหารบิน ลาเดน เมื่อวานนี้ บริเวณจังหวัดแอบบอตทาบัต ในปากีสถาน..."
โบลและบิเกโลว์ต้องกลับมารื้อบทหนังใหม่อีกครั้ง และเตรียมหาแผนสองทันที
และโชคก็เข้าข้างเมื่อทั้งคู่พบว่า อดีตหน่วยซีลนายหนึ่งกำลังจะเขียนหนังสือ เกี่ยวกับ "ปฏิบัติการเด็ดหัวบินลาเดน" ในครั้งนี้ นั่นคือ Matt Bissonnette ผู้แต่ง "No Easy Day" นั่นเอง
และก็เหมือนเป็น โชคสองชั้นของ บิเกโลว์และโบล เมื่อได้พบว่า "หัวใจสำคัญ" ของภารกิจครั้งนี้
ไม่ใช่หน่วยซีลหุ่นล้ำบึ้ก หรือ CIA หนุ่มจอมมุทะลุ
แต่เป็น CIA สาว คนหนึ่งเท่านั้น...
นี่คือตัวละครที่ ผู้กำกับและคนเขียนบททุกคนบนโลกนี้ตามหา...
"เจน -- ผู้ฉลาดเป็นกรด น่าเกรงขาม และมาพร้อมกับส้นสูงแพงๆเสมอ"
คือคำนิยามที่ แมตพูดถึง CIA สาวที่ทำภารกิจตามล่าบิน ลาเดน มาเกือบ 10 ปี
หนังถูกเปลี่ยนเป็นเรื่องราวของ CIA สาวคนหนึ่งกับการตามล่าบิน ลาเดน และอุปสรรคสุดโหดที่พวกเขาต้องเจอ กว่าจะ "เด็ดหัว บิน ลาเดน" ได้ในที่สุด
ทันทีที่ข่าวนี้แพร่ออกไป ก็เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ตามมาอย่างต่อเนื่อง ว่า บิเกโลว์อาจใช้หนังเรื่องนี้ช่วยโปรโมตการเลือกตั้งของบารัค (กำหนดการฉายหนังครั้งแรกคือเดือน ตุลาคม 2012) เพราะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ภารกิจ ล่าบินลาเดนที่ทำสำเร็จในรัฐบาลเดโมแครตและ หากได้ฉายตามโปรแกรมจริง จะเป็นช่วงก่อนการเลือกตั้งพอดิบพอดี
สตูดิโออย่าง โคลัมเบียร์ พิคเจอร์จึงไม่อยากเสี่ยงกับแรงต้าน จึงเลื่อนการออกฉายของ Zero Dark Thirty มาเป็นสิ้นปี 2012 ที่การเลือกตั้งสิ้นสุดลงแล้ว (และบารัคก็คว้าตำแหน่ง 2 สมัยซ้อน) ซึ่งในคราวนั้นบิเกโลว์ได้พยายามปฏิเสธว่า นี่ไม่ได้เป็นหนังที่เข้าข้างอเมริกาหรือพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่งแต่อย่างใด
ใครได้ดู คงพิสูจน์แล้วว่า คำพูดของบิเกโลว์นั้นจริงหรือไม่?
Zero Dark Thirty พาเราไปเริ่มต้นที่ "ภารกิจรีดความลับ" ของผู้ต้องสงสัยรายหนึ่งในปี 2003 ที่คาดว่ามีส่วนเกี่ยวพันกับกลุ่มอัลเคดาห์ ภายหลัง เหตุการณ์ 9/11 ใน ปี 2001
ที่ดูจากวิธีการแล้วดูเหมือนจะสวนทางกับ Speech ของ บารัค โอบาม่าอย่างสิ้นเชิง...
อ้อ ลืมไป ตอนนั้นมันสมัยรัฐบาล บุช นี่นะ...
บุชเคยออกมาให้สัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าว ถึงการ "ยืนกราน" ที่จะใช้ "วิธีรุนแรง" ในการรีดความลับจากผู้ก่อการร้าย เช่นวิธี Waterboarding ที่ได้รับการยืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า "โหด" แบบที่นักโทษอยากจะตายไปซะ เพราะคิดว่าตัวเองใกล้ตายเต็มทีแล้ว แต่สุดท้ายก็ยังไม่ยอมให้ตาย
วิธี Waterboarding คือการจับนักโทษวางบนกระดาน มัดแขนขา เอาผ้าคลุมหน้า แล้วราดน้ำลงไปบนหน้าของนักโทษ (วิธีโบราณที่ใช้กันมาเกือบ 300 ปี และยังเป็นวิธีประหารชีวิตของเชื้อพระวงศ์ของจีนด้วย) ซีลนายหนึ่งเคยทดลองวิธีนี้เพราะอยากรู้ว่ามันโหดสักแค่ไหน เค้าทนได้เพียงไม่นาน และได้กล่าวว่า
"มันเหมือนคุณถูกมัดมือ มัดเท้า จมอยู่ก้นสระ และกำลังจะตาย ด้วยวิธีนั้น ไม่ว่าคุณรู้อะไรมา คุณจะพูดมันออกมาทั้งหมด เพราะคุณไม่อยากกลับไปทรมานอีกแล้ว"
สำหรับบุชแล้ว บุชยังคงเส้นคงวาเรื่องตอบคำถามนักข่าวได้ ดี เหมือนเดิม ..
"คุณรู้ไหมว่าการทรมานนักโทษเหล่านี้เพื่อรีดข้อมูล--ข้อมูลที่เราได้มามีประโยชน์และสามารถช่วยเหลือผู้บริสุทธิ์ได้มากแค่ไหน"
... คำสัมภาษณ์สุดตราตรึงของบุช ที่พาคะแนนความนิยมดิ่งลงเหว..
แต่ทว่าหลังจากบุชไปแล้ว มันก็ยากเหลือเกิน ที่โอบาม่าจะ หยุดใช้ วิธีรีดข้อมูล "แบบบุชๆ" ตามที่ประกาศออกสื่อ เพราะวิธีมันได้ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลจริงๆ ..
วิธีการทรมานนักโทษก่อการร้ายเป็นที่ต่อต้านจากประชาคมโลก แต่มันก็ "เลี่ยงไม่ได้" เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า จริงๆหรือ?
ท้ายที่สุด เบาะแสหนึ่งหลุดออกมาจากปากนักโทษ คือ เรา "ต้องติดตามคนส่งสาร"
มีผู้ต้องสงสัยอีกคนที่ดูเหมือนว่ามีความใกล้ชิดกับ บิน ลาเดน โดย เขาเป็น "คนส่งสาร" จากบิน ลาเดน โดยตรงถึงคนอื่นๆ แม้ CIA จะรู้ชื่อของเขา แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่า นั่นเป็นชื่อจริงๆ และ ตัวตนจริงๆหรือไม่? หรือ CIA กำลังถูกจูงไปผิดทางอีกครั้ง?
กลางปี 2005 เกิดเหตุระเบิดพลีชีพใน ลอนดอน
ขณะที่ CIA กำลังควานหาตัว "คนส่งสาร" อย่างเอาเป็นเอาตาย เหตุระเบิดทำให้ทุกอย่างเขม็งเกลียวขึ้นไปอีก นั่นทำให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงต้องขอสอบสวน นักโทษคนหนึ่ง ในปากีสถาน เป็นกรณีพิเศษ
แต่ยิ่งสืบ ยิ่งค้นหาพยานและผู้ต้องสงสัยเท่าไหร่ ดูเหมือนขอ้มูลก็ยิ่งบานปลาย และเลยเถิดไปไกลจากที่คาดไว้ และ ดูเหมือน CIA จะ ไม่มีความคืบหน้าอะไรเลยในระยะเวลา 3 ปี ขณะที่สหรัฐสูญเสียงบประมาณทางการทหารไปมากมายมหาศาล
ปี 2008 เกิดเหตุระเบิดภายในโรงแรม มาริออต ปากีสถาน โรงแรมที่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้าพักเยอะที่สุดในกรุงอิสรามาบัด
สิ้นปี 2009 CIA ควานหาตัวคนที่คาดว่า "อาจเป็นผู้ใกล้ชิดบิน ลาเดน" ได้อีกครั้ง พวกเขาทำข้อตกลงนัดพบกันที่ Chapman Camp ทางชายแดนของอัฟกานิสถาน และที่นั่น นับเป็นการ "เหยียบจมูก" อเมริกาครั้งยิ่งใหญ่ เพราะจากการนัดหมาย กลายเป็นการ "ระเบิดพลีชีพ" ภายในฐานทัพอเมริกัน ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตทันที 10 คนอันได้แก่เจ้าหน้าที่ CIA และทหารอเมริกัน รวมถึงมือระเบิด ผู้บาดเจ็บอีก 7 คน