เด็กมหิดลคนเหงา ๆ เอาภาพวาดการแพทย์และวิทยาศาสตร์ดีดีพร้อมสาระดีดีกิจกรรมดีดีมาแก้เหงาเหมือนเดิมครับ

กระทู้สนทนา

เสื้อขายในงานเกษตรแฟร์เริ่มวันนี้นะครับ ถึงวันที่ 9 กพ และจากนั้นจะนำไปขายที่คณะสัตว์แพทย์หลังจบงาน รายได้จากการจำหน่ายช่วยสัตว์อนาถา

แบบร่างปกวิชาจุลกายวิภาพศาสตร์ ด้วยเทคนิคปากกา 5 บาท

ได้มีโอกาสไปจัดแสดงไปบรรยาย พร้อมแสดงนิทรรศการเนื่องในวันมหิดลที่ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจณบุรี มหาวิทยาลัยบนยอดเขาที่สุงสง่า และสวยงาม ก้าวแรกที่ลงจากรถ คือความประทับใจในความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ และสถานที่ตั้งที่สวยงาม เด็ก ๆ มีวินัย และความตังใจ น่ารักทุกคน เป็นอีกวิทยาเขตที่สวยงามน่าพักอาศัยมากเลยครับ ระหว่างนี้เลยขอนำภาพน้องช้างที่ไปสาธิตมาให้ชมกันครับ ข้อมูลภาพสวย ๆ จากครอบครัวนักดูนกใจดี ครอบครัว kmm และนัองมาย์ดนักดูนกน้อย ขอบคุณที่อนุเคราะห์ข้อมูลการวาดครับ

ได้มีโอกาสไปแสดงงานเดี่ยว นิทรรศการสีน้ำที่มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะศิษย์เก่าเลยขออนุญาตินำผลงานสีน้ำ ปลาบู่มหิดล มาฝากครับ พร้อมความรู้ดีดี
ปลาบู่มหิดล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mahidolia mystacina) เป็นปลาบู่ที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ที่อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เมื่อ พ.ศ. 2475 โดย ดร. ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ และได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ตามพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ [2] และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ในฐานะที่ได้ทรงอุปถัมภ์ และพระราชทานทุนสำหรับส่งนักเรียนไปศึกษาต่อด้านการประมงในต่างประเทศ [3] และทรงได้รับถวายสมัญญานามว่า "พระประทีปแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย"[4]
ในราวปี พ.ศ. 2469 ซึ่งเป็นช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ได้มีการจัดตั้งกรมรักษาสัตว์น้ำขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการ โดยมีชาวอเมริกัน ชื่อ ดร. ฮิว แมคคอร์มิค สมิธ เข้ามาปฏิบัติงานด้านการเพาะเลี้ยง และการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในประเทศไทย ในตำแหน่งเจ้ากรมรักษาสัตว์น้ำคนแรก
ผลงานในหน้าที่รับผิดชอบของฮิว แมคคอร์มิค สมิธ ที่เกี่ยวกับทรัพยากรสัตว์น้ำของไทย โดยเฉพาะพันธุ์ปลา มีรวมกว่า 60 เรื่อง อีกทั้งยังได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์สำหรับปลาที่ค้นพบใหม่รวม 67 ชนิด เป็นสกุลใหม่รวม 21 สกุล ในจำนวนนี้ได้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ปลาบู่ โดยให้ชื่อสกุลว่า Mahidolia เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ซึ่งขณะนั้นทรงดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ ในการที่พระองค์ทรงสนพระทัย ทรงใคร่ติดตาม และเปี่ยมด้วยพระมหากรุณาธิคุณต่อการประมงของประเทศไทย พระองค์ได้พระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์สำหรับคนไทย เพื่อที่จะได้มาทำงานด้านการประมงต่อจากฮิว แมคคอร์มิค สมิธ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยง และการอนุรักษ์พันธุ์ปลา
และจนถึงปัจจุบัน ปลาบู่มหิดลนับเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Mahidolia[5]
ภาพวาดสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม
เนื้อหา จาก วิกิพีเดีย

ว่าง ๆ นั่งวาดดอกศรีตรังสีม่วงสด แบบชิล ๆ ด้วยเทคนิคสีน้ำ ชอบดอกไม้ชนิดนี้จังสีม่วงสดใส ดอกเป็นช่อ และถือว่าเป็นดอกไม้มงคลอีกชนิดหนึ่งและเป็นดอกไม้ประจำ มอ ซึ่งถือเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยพี่น้องกับมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นลูกพระราชบิดาเหมือนกัน ที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือเป็นคนดีของสังคม นอกจากนี้ต้นศรีตรังยังเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดตรังและเป็นต้นไม้สถานศึกษาต่าง ๆ มากมาย
โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง
โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม
โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์
รวมทั้งในอดีตมหาวิทยาลัยมหิดลก็เคยใช้ศรีตรังเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแต่เมื่อศ.ดร.สตางค์ มงคลสุข ได้นำต้นไม้นี้ไปปลูกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และกลายเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยที่นั่นไปแล้ว มหาวิทยาลัยมหิดลจึงเปลี่ยนไปใช้ต้นกันภัยมหิดลเป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัยแทน

นกอีโก้ง ชื่อสามัญ          Purple Swamphen
ชื่อวิทยาศาสตร์          Porphyrio pophyrio

บีเกิล (อังกฤษ: Beagle)

น้องแมวเปอร์เซียจาคอป

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่