โกลบอล ไทมส์ - จากการที่จีนทำการทดสอบเครื่องบินรบแบบสเตลธ์พร้อมกัน 2 รุ่น J-20 (เจียน-20) กับ J-31 (เจียน-31) และเปิดตัวเฮลิคอปเตอร์โจมตีรุ่นใหม่ WZ-10 (อู่จื๋อ-10), เครื่องบินไร้คนขับ (UAV) Wing Loong (อี้หลง), รวมถึงเครื่องบินขนส่งทางยุทธศาสตร์ Y-20 (อวิ้น-20) ในช่วงเวลาที่ห่างกันไม่นาน ส่งผลให้ตอนนี้อุตสาหกรรมผลิตอากาศยานที่ใช้ในกิจกรรมทางทหารของจีนดูจะพัฒนารุดหน้าไปจากในอดีตมาก ทั้งในส่วนของเทคโนโลยีเครื่องบินขับไล่, เฮลิคอปเตอร์, อากาศยานไร้คนขับ ตลอดจนเครื่องบินลำเลียงขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม กลับยังไม่มีข่าวความคืบหน้าใดๆ เกี่ยวกับโครงการผลิตเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่นใหม่ออกมาเลย เหตุนี้เว็บไซต์ “defensenews.com” ซึ่งเป็นเว็บไซต์เกาะติดข่าวสารทางทหารชื่อดังของอเมริกา ได้ตั้งข้อสังเกตและลงบทบรรณาธิการเชิงวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องนี้เมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา
โมเดล J-31
เครื่องต้นแบบ UAV Wing Loong
บทบรรณาธิการบนเว็บไซต์ดังกล่าวชี้ว่า กองทัพปลดแอกประชาชนจีน (PLA) กำลังอยู่ในระหว่างอัพเกรดเครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกลรุ่น (H-6 / ฮง-6) โดยทำการปรับเปลี่ยนและติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นใหม่เข้าไปแทน เครื่องที่ได้รับการปรับปรุงใหม่แล้วจะใช้ชื่อว่า H-6K ซึ่งมีรัศมีทำการไกล 3,500 กิโลเมตร อีกทั้งยังสามารถแบกจรวดร่อนนำวิถีและขีปนาวุธต่อต้านเรือรบได้ด้วย นอกจากนี้ริชาร์ด ฟิชเชอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลาโหมแห่งศูนย์ประเมินยุทธศาสตร์นานาชาติยังระบุด้วยว่า ตอนนี้จีนกำลังพัฒนาขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงต่อต้านเรือผิวน้ำ รุ่น YJ-12 (อิงจี-12) ซึ่งมีรัศมีทำการไกล 400 กิโลเมตรสำหรับติดตั้งบน H-6K ด้วย
ฟิชเชอร์ยังคาดคะเนด้วยว่า กองทัพพญามังกรยังอาจอยู่ในระหว่างปรับปรุงเทคโนโลยีเครื่องบินขับไล่กึ่งทิ้งระเบิดรุ่น JH-7 (เจียนฮง-7) หรือที่มีชื่อเล่นอีกชื่อว่า “เฟยเป้า (Flying Leopard)” ให้มีรูปทรงและขีดความสามารถลดการตรวจจับของเรดาร์ได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้รูปกราฟิกดีไซน์ที่สงสัยว่าเป็น JH-7 เวอร์ชั่นสเตลธ์นี้เคยปรากฏอยู่ในวิดีโอประชาสัมพันธ์งานนิทรรศการการบินนานาชาติที่จูไห่ หรือ จูไห่ แอร์โชว์มาแล้ว ไม่เพียงเท่านี้รายงานยังระบุด้วยว่า มีความเป็นไปได้ที่จีนอาจซุ่มพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่น J-17 โดยถอดแบบลักษณะภายนอกของ Su-34 ของรัสเซีย ในวิดีโองานจูไห่แอร์โชว์ปี 1998 เคยปรากฏรูปถ่ายของโมเดลเครื่องบินรูปร่างคล้ายกับ Su-34 กำลังถูกทดสอบอยู่ภายในอุโมงค์ลม ทว่าก็ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดใดๆ หรือการยืนยันความมีตัวตนของโครงการนี้ไม่ว่าจะจากทางรัฐบาลจีนหรืออุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินรบภายในจีน
JH-7
บทความนี้ยังลงความเห็นว่า ข่าวลือแพร่สะพัดเกี่ยวกับกรณีจีนติดต่อขอซื้อเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์แบบตูโปเลฟ Tu-22M3 จากรัสเซียนั้นไม่น่าจะเป็นความจริง เนื่องจากรัสเซียได้ปิดสายการผลิตเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบดังกล่าวไปนาน 20 ปีแล้ว ซึ่งหากจะรื้อฟื้นเปิดสายการผลิตขึ้นมาใหม่ก็จำเป็นจะต้องลงทุนมหาศาลหลายพันล้านดอลลาร์และยังต้องลงแรงในการวิจัยอีกมาก แต่มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จีนอาจขอซื้อ Su-34 แทน เนื่องจาก Su-34 สามารถปฏิบัติภารกิจในหลายๆด้านได้เทียบเท่ากับ Tu-22M3 แต่มีราคาถูกกว่า ซ้ำยังมีขนาดเล็กคล่องตัวกว่า และล้ำสมัยมากกว่า ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญในรัสเซียเห็นว่า Su-34 มีศักยภาพเหนือกว่า JH-7 ที่ผลิตเองในจีนอย่างชัดเจน
JH-7 เวอร์ชั่นสเตลธ์
สื่อนอกชี้ จีนซุ่มพัฒนา JH-7 เวอร์ชั่นสเตลธ์ และ J-17
โมเดล J-31
เครื่องต้นแบบ UAV Wing Loong
บทบรรณาธิการบนเว็บไซต์ดังกล่าวชี้ว่า กองทัพปลดแอกประชาชนจีน (PLA) กำลังอยู่ในระหว่างอัพเกรดเครื่องบินทิ้งระเบิดพิสัยไกลรุ่น (H-6 / ฮง-6) โดยทำการปรับเปลี่ยนและติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นใหม่เข้าไปแทน เครื่องที่ได้รับการปรับปรุงใหม่แล้วจะใช้ชื่อว่า H-6K ซึ่งมีรัศมีทำการไกล 3,500 กิโลเมตร อีกทั้งยังสามารถแบกจรวดร่อนนำวิถีและขีปนาวุธต่อต้านเรือรบได้ด้วย นอกจากนี้ริชาร์ด ฟิชเชอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกลาโหมแห่งศูนย์ประเมินยุทธศาสตร์นานาชาติยังระบุด้วยว่า ตอนนี้จีนกำลังพัฒนาขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงต่อต้านเรือผิวน้ำ รุ่น YJ-12 (อิงจี-12) ซึ่งมีรัศมีทำการไกล 400 กิโลเมตรสำหรับติดตั้งบน H-6K ด้วย
ฟิชเชอร์ยังคาดคะเนด้วยว่า กองทัพพญามังกรยังอาจอยู่ในระหว่างปรับปรุงเทคโนโลยีเครื่องบินขับไล่กึ่งทิ้งระเบิดรุ่น JH-7 (เจียนฮง-7) หรือที่มีชื่อเล่นอีกชื่อว่า “เฟยเป้า (Flying Leopard)” ให้มีรูปทรงและขีดความสามารถลดการตรวจจับของเรดาร์ได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้รูปกราฟิกดีไซน์ที่สงสัยว่าเป็น JH-7 เวอร์ชั่นสเตลธ์นี้เคยปรากฏอยู่ในวิดีโอประชาสัมพันธ์งานนิทรรศการการบินนานาชาติที่จูไห่ หรือ จูไห่ แอร์โชว์มาแล้ว ไม่เพียงเท่านี้รายงานยังระบุด้วยว่า มีความเป็นไปได้ที่จีนอาจซุ่มพัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิดรุ่น J-17 โดยถอดแบบลักษณะภายนอกของ Su-34 ของรัสเซีย ในวิดีโองานจูไห่แอร์โชว์ปี 1998 เคยปรากฏรูปถ่ายของโมเดลเครื่องบินรูปร่างคล้ายกับ Su-34 กำลังถูกทดสอบอยู่ภายในอุโมงค์ลม ทว่าก็ไม่มีการเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดใดๆ หรือการยืนยันความมีตัวตนของโครงการนี้ไม่ว่าจะจากทางรัฐบาลจีนหรืออุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินรบภายในจีน
JH-7
บทความนี้ยังลงความเห็นว่า ข่าวลือแพร่สะพัดเกี่ยวกับกรณีจีนติดต่อขอซื้อเครื่องบินทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์แบบตูโปเลฟ Tu-22M3 จากรัสเซียนั้นไม่น่าจะเป็นความจริง เนื่องจากรัสเซียได้ปิดสายการผลิตเครื่องบินทิ้งระเบิดแบบดังกล่าวไปนาน 20 ปีแล้ว ซึ่งหากจะรื้อฟื้นเปิดสายการผลิตขึ้นมาใหม่ก็จำเป็นจะต้องลงทุนมหาศาลหลายพันล้านดอลลาร์และยังต้องลงแรงในการวิจัยอีกมาก แต่มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จีนอาจขอซื้อ Su-34 แทน เนื่องจาก Su-34 สามารถปฏิบัติภารกิจในหลายๆด้านได้เทียบเท่ากับ Tu-22M3 แต่มีราคาถูกกว่า ซ้ำยังมีขนาดเล็กคล่องตัวกว่า และล้ำสมัยมากกว่า ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญในรัสเซียเห็นว่า Su-34 มีศักยภาพเหนือกว่า JH-7 ที่ผลิตเองในจีนอย่างชัดเจน
JH-7 เวอร์ชั่นสเตลธ์