สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
ธรรมยุติกับมหานิกายเป็นนานาสังวาสต่อกันครับ ไม่ถึงสังฆเภท
จริงๆแล้วธรรมยุติถือว่าเป็นรามัญนิกายครับเพราะพระที่บวชให้ก็นับว่าเป็นพระมอญ
ถือว่าเป็นนานาสังวาสกับมหานิกายเพียงแต่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นธรรมยุติ
มูลเหตุก็คือ ร 4 ไม่พอใจความประพฤติของพระไทยในสมัยนั้น ที่ประพฤติดีก็บอกไม่ได้
ว่าทำไมต้องทำอย่างนี้ เพราะทำตามๆกันมาจน มาพบพระเถระชาวรามัญ(มอญ)รูปหนึ่ง
คือท่าน พระสุเมธมุนี (ซาย พุทธฺวังโส) พระภิกษุมอญ ซึ่งมีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใสเคร่งครัดพระธรรมวินัย
และไขข้อข้องใจเกี่ยวกับพระวินัยได้อย่างดีเยี่ยม จึงบวชใหม่และตั้งคณะสงฆ์ที่ประพฤติตามอย่างมอญขึ้น
ภายหลังจึงแพร่หลายและกลายเป็นธรรมยุตินิกายขึ้น
จากบันทึกของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา ระบุไว้ว่าวันหนึ่งพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎได้นิมนต์พระมหาโตไปสนทนาด้วย มีนัยว่าจะทรงชักชวนให้ถือปฏิบัติตามอย่างนิกายใหม่ที่พระองค์ได้ประดิษฐานขึ้น โดยทรงยกอุทาหรณ์ว่า “มีบุรุษสองคนเป็นเพื่อนเดินทางแบกปอไปด้วยกัน เมื่อทั้งสองคนไปพบไหมเข้า คนหนึ่งจึงละทิ้งปอแลกเอาไหมไป แต่อีกคนไม่เอาไหมคงแบกปอต่อไป จึงทรงถามพระมหาโตว่า คนไหนดีกว่ากัน” พระมหาโต เมื่อได้ฟังอุทาหรณ์ดังกล่าว แทนที่จะเฉลยปัญหานั้น กลับยกอุทาหรณ์ขึ้นทูลถามว่า “ ยังมีกระต่ายสองตัว สีขาวตัวหนึ่ง สีดำตัวหนึ่ง วันหนึ่งขณะที่เล็มหญ้ากินอยู่ด้วยกันนั้น กระต่ายขาวได้เห็นหญ้าอ่อน ๆ ขึ้นอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามเป็นอันมาก จึงว่ายน้ำข้ามฟากไปกินหญ้าที่ฝั่งตรงข้ามนั้นเป็นอาจิณ แต่กระต่ายดำไม่ยอมไปคงเล็มหญ้ากินอยู่ที่เดิม วันหนึ่งขณะที่กระต่ายขาวกำลังว่ายน้ำจะข้ามฟากอยู่นั้น ได้เกิดลมพายุจัดมีคลื่นปั่นป่วน และกระแสน้ำไหลเชี่ยวมาก พัดเอากระต่ายขาวที่กำลังว่ายน้ำข้ามฟากอยู่นั้นลอยไปตามน้ำ จะว่ายเข้าฝั่งไหนก็ไม่ได้ เลยจมน้ำตายที่สุด จึงทูลถามพระองค์ว่า กระต่ายตัวไหน
ดีกว่ากัน” จึงเป็นเรื่องเข้าใจต่อกัน
สมัยหลวงปู่มั่น เมื่อหลวงปู่ชาถามว่าควรจะญัตติหรือบวชใหม่เป็นธรรมยุติดีหรือไม่
"ถ้าถือพระวินัย เป็นหลัก ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็น ต้องญัตติเข้าธรรมยุตินิกาย ด้วยทางมหานิกาย จำเป็นต้องมีพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเช่นเดียวกัน"
องค์ประกอบของสังฆเภทมีดังต่อไปนี้
๑. กมฺเมน กล่าวยุยงให้พระภิกษุสงฆ์ที่หลงเชื่อคำของตนแยกทำสังฆกรรมเป็นพวกๆ ต่างหาก
๒. อุทฺเทเสน กล่าวยุยงให้พระภิกษุสงฆ์ที่หลงเชื่อคำตน แยกสวดปาติโมกข์
๓. โวหรนฺโต กล่าวถ้อยคำทำให้แตกแยก ๑๘ ประการคือ
๓.๑ กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม
๓.๒ กล่าวสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม
๓.๓ กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย
๓.๔ กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย
๓.๕ กล่าวสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ว่าไม่ได้ตรัสไว้
๓.๖ กล่าวสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสไว้ ว่าตรัสไว้
๓.๗ กล่าวสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเคยกระทำ ว่าไม่เคยกระทำ
๓.๘ กล่าวสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงไม่เคยกระทำ ว่าเคยกระทำ
๓.๙ กล่าวสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ว่าไม่ทรงปัญญัติไว้
๓.๑๐ กล่าวสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงไม่บัญญัติไว้ ว่าทรงปัญญัติไว้
๓.๑๑ กล่าววัตถุที่เป็นอาบัติ ว่าไม่เป็นอาบัติ
๓.๑๒ กล่าววัตถุที่ไม่เป็นอาบัติ ว่าเป็นอาบัติ
๓.๑๓ กล่าวอาบัติที่เบา ว่าเป็นอาบัติหนัก
๓.๑๔ กล่าวอาบัติที่หนัก ว่าเป็นอาบัติเบา
๓.๑๕ กล่าวอาบัติที่พอจะแก้ไขได้ ว่าแก้ไขไม่ได้
๓.๑๖ กล่าวอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ ว่าแก้ไขได้
๓.๑๗ กล่าวอาบัติชั่วหยาบ ว่าไม่ชั่วหยาบ
๓.๑๘ กล่าวอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าชั่วหยาบ
จริงๆแล้วธรรมยุติถือว่าเป็นรามัญนิกายครับเพราะพระที่บวชให้ก็นับว่าเป็นพระมอญ
ถือว่าเป็นนานาสังวาสกับมหานิกายเพียงแต่ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นธรรมยุติ
มูลเหตุก็คือ ร 4 ไม่พอใจความประพฤติของพระไทยในสมัยนั้น ที่ประพฤติดีก็บอกไม่ได้
ว่าทำไมต้องทำอย่างนี้ เพราะทำตามๆกันมาจน มาพบพระเถระชาวรามัญ(มอญ)รูปหนึ่ง
คือท่าน พระสุเมธมุนี (ซาย พุทธฺวังโส) พระภิกษุมอญ ซึ่งมีวัตรปฏิบัติน่าเลื่อมใสเคร่งครัดพระธรรมวินัย
และไขข้อข้องใจเกี่ยวกับพระวินัยได้อย่างดีเยี่ยม จึงบวชใหม่และตั้งคณะสงฆ์ที่ประพฤติตามอย่างมอญขึ้น
ภายหลังจึงแพร่หลายและกลายเป็นธรรมยุตินิกายขึ้น
จากบันทึกของ มหาอำมาตย์ตรี พระยาทิพโกษา ระบุไว้ว่าวันหนึ่งพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎได้นิมนต์พระมหาโตไปสนทนาด้วย มีนัยว่าจะทรงชักชวนให้ถือปฏิบัติตามอย่างนิกายใหม่ที่พระองค์ได้ประดิษฐานขึ้น โดยทรงยกอุทาหรณ์ว่า “มีบุรุษสองคนเป็นเพื่อนเดินทางแบกปอไปด้วยกัน เมื่อทั้งสองคนไปพบไหมเข้า คนหนึ่งจึงละทิ้งปอแลกเอาไหมไป แต่อีกคนไม่เอาไหมคงแบกปอต่อไป จึงทรงถามพระมหาโตว่า คนไหนดีกว่ากัน” พระมหาโต เมื่อได้ฟังอุทาหรณ์ดังกล่าว แทนที่จะเฉลยปัญหานั้น กลับยกอุทาหรณ์ขึ้นทูลถามว่า “ ยังมีกระต่ายสองตัว สีขาวตัวหนึ่ง สีดำตัวหนึ่ง วันหนึ่งขณะที่เล็มหญ้ากินอยู่ด้วยกันนั้น กระต่ายขาวได้เห็นหญ้าอ่อน ๆ ขึ้นอยู่ที่ฝั่งตรงข้ามเป็นอันมาก จึงว่ายน้ำข้ามฟากไปกินหญ้าที่ฝั่งตรงข้ามนั้นเป็นอาจิณ แต่กระต่ายดำไม่ยอมไปคงเล็มหญ้ากินอยู่ที่เดิม วันหนึ่งขณะที่กระต่ายขาวกำลังว่ายน้ำจะข้ามฟากอยู่นั้น ได้เกิดลมพายุจัดมีคลื่นปั่นป่วน และกระแสน้ำไหลเชี่ยวมาก พัดเอากระต่ายขาวที่กำลังว่ายน้ำข้ามฟากอยู่นั้นลอยไปตามน้ำ จะว่ายเข้าฝั่งไหนก็ไม่ได้ เลยจมน้ำตายที่สุด จึงทูลถามพระองค์ว่า กระต่ายตัวไหน
ดีกว่ากัน” จึงเป็นเรื่องเข้าใจต่อกัน
สมัยหลวงปู่มั่น เมื่อหลวงปู่ชาถามว่าควรจะญัตติหรือบวชใหม่เป็นธรรมยุติดีหรือไม่
"ถ้าถือพระวินัย เป็นหลัก ก็ไม่ต้องสงสัยในนิกายทั้งสอง ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็น ต้องญัตติเข้าธรรมยุตินิกาย ด้วยทางมหานิกาย จำเป็นต้องมีพระผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบเช่นเดียวกัน"
องค์ประกอบของสังฆเภทมีดังต่อไปนี้
๑. กมฺเมน กล่าวยุยงให้พระภิกษุสงฆ์ที่หลงเชื่อคำของตนแยกทำสังฆกรรมเป็นพวกๆ ต่างหาก
๒. อุทฺเทเสน กล่าวยุยงให้พระภิกษุสงฆ์ที่หลงเชื่อคำตน แยกสวดปาติโมกข์
๓. โวหรนฺโต กล่าวถ้อยคำทำให้แตกแยก ๑๘ ประการคือ
๓.๑ กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรม
๓.๒ กล่าวสิ่งที่เป็นธรรม ว่าไม่เป็นธรรม
๓.๓ กล่าวสิ่งที่ไม่เป็นวินัย ว่าเป็นวินัย
๓.๔ กล่าวสิ่งที่เป็นวินัย ว่าไม่เป็นวินัย
๓.๕ กล่าวสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ ว่าไม่ได้ตรัสไว้
๓.๖ กล่าวสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ตรัสไว้ ว่าตรัสไว้
๓.๗ กล่าวสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงเคยกระทำ ว่าไม่เคยกระทำ
๓.๘ กล่าวสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงไม่เคยกระทำ ว่าเคยกระทำ
๓.๙ กล่าวสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ว่าไม่ทรงปัญญัติไว้
๓.๑๐ กล่าวสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงไม่บัญญัติไว้ ว่าทรงปัญญัติไว้
๓.๑๑ กล่าววัตถุที่เป็นอาบัติ ว่าไม่เป็นอาบัติ
๓.๑๒ กล่าววัตถุที่ไม่เป็นอาบัติ ว่าเป็นอาบัติ
๓.๑๓ กล่าวอาบัติที่เบา ว่าเป็นอาบัติหนัก
๓.๑๔ กล่าวอาบัติที่หนัก ว่าเป็นอาบัติเบา
๓.๑๕ กล่าวอาบัติที่พอจะแก้ไขได้ ว่าแก้ไขไม่ได้
๓.๑๖ กล่าวอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ ว่าแก้ไขได้
๓.๑๗ กล่าวอาบัติชั่วหยาบ ว่าไม่ชั่วหยาบ
๓.๑๘ กล่าวอาบัติไม่ชั่วหยาบ ว่าชั่วหยาบ
แสดงความคิดเห็น
ร.4 กับ "สังฆเภท"