"ทำบุญ" ยิ่งทำเยอะ ยิ่งรวย รู้สึกอย่างไร?

เดี๋ยวนี้ จตุปัจจัย ถือเป็นสิ่งล้ำค่า สำหรับ วัด หรือ พระสงฆ์
เพราะมันสามารถเนรมิต ทุกอย่างได้อย่างอัศจรรย์
เช่น ช่องดาวเทียม ที่ดินอาณาบริเวณ สถานที่ประกอบพิธีกรรม จำนวนสาวกเรือนหมื่น พรมแดงนับร้อยกิโลเมตร ชุดจีวรใหม่เอี่ยม ยานพาหนะสุดเลิศ ฯลฯ

จนวัดมีการแบ่งทีมงาน แบ่งหน้าที่การจัดหารายได้เข้าวัด แทบทุกรูปแบบ เช่น ดูดวง เสริมดวงชะตา ทำบุญ (กระเบื้อง น้ำไฟ หลอดไฟ ภัตตาหาร) ถังสังฆทานเวียน น้ำมนต์ น้ำมัน ธูปเทียนดอกไม้แผ่นทองเปลว (บูชา) สายถังกฐิน ข้าวสาร ใบยัตณ์ เซี่ยมซี่ เครื่องรางของขลัง ฯลฯ

ป่าวประกาศแทบทุกวัน ออกอากาศทุกวัน ตอนแรกก็เป็นฆราวาสฝีปากดี (พากษ์มวยเรือแข่งเป็นอาชีพเสริม)
พระก็เป็นพี่เลี้ยง มีบางส่วนปะพรมน้ำมนต์ ก็เชิญชวนตามวิสัย อยู่ไปเรื่อยๆ ชักสนุก

ก็แย่งไมค์ เชิญชวนเองเลย ..... ทำบุญ จร้า ทำบุญ เสริมสิริมงคล ทำแล้วดี ร่ำรวย ...... อะไรก็สุดแล้วแต่ .... (ดูแล้ว พิเคราะห์แล้ว ก็อดขำไม่ได้)

บางวัดเงินมาก ก็ทะเลาะกัน แบ่งกันไม่ลงตัว ระหว่าง คณะกรรมการวัด กับ พระสงฆ์ ก็ขัดแย้งกัน จนเป็นข่าวอยู่เนื่องๆ

ล่าสุด บางวัด หน้ามืดจัด มีจัดกิจกรรมแบบแปลกๆ ไม่สนใจหน้าอินทร์หน้าพรหมที่ไหน
แถมมีบริการ นวัตกรรม "ทำบุญ" ร่วมสมัย ผ่านบัตร
ก็ไม่รู้จะมีหน่วยงานไหนสามารถ มีสิทธิมีอำนาจ เข้าไปตรวจสอบเงินรายได้เหล่านี้บ้าง? ก็น่าแปลกใจ

เพราะ
-ทรัพย์สิน รายได้และค่าใช้จ่าย  ของ มูลนิธิ สมาคม บริษัท กิจการร่วมค้า ห้างร้าน นิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง (มรดกคนตาย) ฯลฯ ก็ต้องให้กรมสรรพากร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตรวจสอบ
-ทรัพย์สิน รายได้ และค่าใช้จ่าย ของตนเองและคู่สมรสของนักการเมืองที่ดำรงตำแหน่ง ก็ยังต้องให้ กกต. ปปช. ตรวจสอบ
-ทรัพย์สิน รายได้และค่าใช้จ่าย ของข้าราชการที่ทุจริตในหน้าที่ ก็ต้องให้ ปปช. ตรวจสอบ
-ทรัพย์สิน รายได้และค่าใช้จ่าย ของมิจฉาชีพที่คาดว่าได้จากการฟอกเงิน ก็ต้องให้ ปปง.ตรวจสอบ
-ทรัพย์สิน รายได้และค่าใช้จ่าย ของกระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอิสระ ก็ต้องให้ สตง. ตรวจสอบ

อยากจะเข้าวัด เพื่อทำให้ให้สงบจิตสงบใจ คงหมดหลายอัฐโข
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่