สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
ไม่ใช่ธุดงค์ครับ ดูเอาละกันครับว่าเป็นข้อไหน
ธุดงควัตร คือข้อปฏิับัติเพื่อชำระกิเลส ธุดงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตมี 13 วิธีจัดเป็นข้อสมาทานละเว้น และข้อสมาทานปฏิบัติ คือ
ปังสุกูลิกังคะ ละเว้นใช้ผ้าที่ประณีตเหมือนที่คหบดีใช้ (พระป่านิยมใช้ผ้าท่อนเก่า) สมาทานถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้ว (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน)
เตจีวริตังคะ ละเว้นการมีผ้าครอบครองและใช้สอยผ้าเกิน 3 ผืน (วัดป่าสมาทานการใช้สอยผ้าไตรจีวร ในความหมายว่าผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าคลุมด้วย (ในทางปฏิบัติจะใช้ผ้าคลุมนุ่งเมื่อซักตากผ้านุ่งและผ้าห่มชั่วคราว) คือ ผ้าที่เป็นผืน ๆ ที่ไม่ได้ตัดเป็นชุด ตามหลักผ้าใช้นุ่งห่มเพื่อกันความร้อนความเย็นและปกปิดร่างกายกันความน่าอายเท่านั้น
ปิณฑปาติกังคะ ละเว้นรับอดิเรกลาภ (คือรับนิมนต์ไปฉันที่ได้มานอกจากบิณฑบาตรเช่นไปฉันที่บ้านที่โยมจัดไว้ต้อนรับ) สมาทาน เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน)
สปทานจาริปังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) เที่ยวจาริก (ภิกขาจาร) (เพื่อมิให้ผูกพันกับญาติโยม) สมาทานบิณฑบาตรตามลำดับ ลำดับบ้าน ไม่เลือกบ้านที่จะรับบิณฑบาต เดินแสวงหาบิณฑบาตไปตามลำดับ. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นบิณฑบาตซ้ำที่เดิม ถืออย่างเบาย้ายสายบิณฑบาตทุกวัน อย่างหนักออกเดินทางย้ายที่เที่ยวบิณฑบาตไม่ต่ำกว่าที่เดิมไม่เกินโยชน์ (16 กิโลเมตร) สมาทานบิณฑบาตตามลำดับบ้าน ลำดับอายุพรรษา ไม่เดินแซง (แย่งอาหาร) ซึ่งไม่ผิดจากพระไตรปิฎก-อรรถกถาแต่อย่างใด สามารถทำได้เช่นกัน.
เอกาสนิกังคะ ละเว้นอาสนะที่สอง สมาทานอาสนะเดียว (ฉันมื้อเดียว). ปกติมักถือการนั่งฉันเมื่อเคลื่อนก้นจากฐานอาสนะที่นั่งเป็นอันยุติการฉันหรือรับประทานอาหารในวันนั้น ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะกำหนดเวลาฉันในแต่ละวัน เช่นกำหนดฉันเวลา 9 นาฬิกา ก็จะฉันในเวลานั้นทุกวัน (จะไม่ฉันก่อนเวลานั้น หรือ หลังเวลานั้น เช่นเวลา 8 นาฬิกา หรือ 10 นาฬิกา) จะไม่เปลี่ยนเวลาฉันตามความอยากฉัน หรือ ไม่อยากฉันตามอารมณ์ แต่ฉันตามสัจจะตามเวลาที่อธิษฐานไว้
ปัตตปิณฑิกังคะ ละเว้นฉันภาชนะที่ 2 ใส่อาหารรวมในภาชนะเดียวกันทั้งหมด สมาทาน ฉันเฉพาะในบาตร. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะต้องคนอาหารรวมกันด้วย ซึ่งแม้จะไม่มีในข้อธุดงค์ตามคัมภีร์แต่ก็ทำได้ไม่ผิดอะไร.
ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ละเว้นการรับประทานอาหารเหลือ สมาทานเมื่อเริ่มลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นฉันเหลือให้เป็นเดน (ฉันเหลือเนื่องจากไม่ประมาณในการบริโภค) ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด ทั้งยังเป็นมรรยาทที่ดีงามและพบตัวอย่างของพระสมัยพุทธกาลที่ทำเช่นนี้ด้วย. (อติริตต อาหารอันเป็นเดน)
อารัญญิกังคะ ละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน สมาทานการอยู่ในป่าไกล 500 ชั่วคันธนู หรือ ราว 1 กิโลเมตร โดยจะต้องให้ตะวันขึ้นในป่า หากตัวอยู่ในบ้านตอนตะวันขึ้น เป็นอันธุดงค์แตก สมาทานถืออยู่ในป่า (วน - กลุ่มต้นไม้, อรัญญ - ป่าไกลบ้าน)
รุกขมูลิกังคะ ละเว้นนอนในที่มีที่มุงที่บัง (เช่นบ้าน ถ้ำ กุฏิ) สมาทานอยู่โคนไม้ แต่ท่านอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะต่างออกไปเล็กน้อย คือ จะใช้การปักกลดแทน ประเพณีนี้ไม่ทราบที่มาแน่ชัดนัก แต่ถ้าไม่เอาด้ามกลดปักดินก็ทำได้เพราะถึงอย่างไรกลดก็ไม่ใช่กุฏิ (ปักกลด คือการกางร่มกลด (ร่มที่พระใช้ขณะเดินทาง) ใต้ต้นไม้ เป็นวิธีการของพระสายวัดป่าไทยโดยเฉพาะแต่เดิมครั้งพุทธกาลไม่มีมาก่อน กลดมี 2 ลักษณะคือผูกเชือกแล้วแขวนกลด และใช้ด้ามกลดปักพื้น (มักทำพระอาบัติปาจิตตีย์กันบ่อยด้วยปฐวิขณนสิกขาบท เพราะจงใจขุดดินทั้งที่รู้ตัว) บางรูปวางกับพื้น เรียกว่ากางโลงศพเพราะได้แต่อิริยาบถนอนในกลดเท่านั้น ลุกมานั่งสมาธิไม่ได้ (แต่สามารถถือวางพาดบ่าก็ลุกนั่งได้) โดยปกติจะครอบคลุมด้วยผ้ามุงทรงกระบอกเพื่อกันยุง ในครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าเมื่อเดินลุยในน้ำ ไม่ทรงอนุญาตให้ใส่ที่อื่น เนื่องจากเดินลุยน้ำเรามองไม่เห็นว่าในน้ำมีอะไรจึงต้องใส่รองเท้า แต่บนพื้นเรามองเห็นอยู่จะพลาดเหยียบหนามก็เพราะขาดสติ (ทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าในวัด หรือป่า เป็นต้นได้ แต่ห้ามใส่เข้าในเขตหมู่บ้าน[8]) อีกทั้งทรงอนุญาตให้ใช้ร่มเมื่อเข้าไปในใต้ต้นไม้เพื่อป้องกันการร่วงหล่นใส่ของกิ่งไม้แต่ในเบื้องต้นยังไม่อนุญาตให้กางนอกต้นไม้เพื่อใช้กันแดดกันฝน ในคัมภีร์ท่านไม่ได้อนุญาตให้กางร่มกลดไว้ แต่หากเอาตามอัพโภกาสิกังคธุดงค์แล้วก็ทรงอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ (สันนิษฐานว่าคงเป็นผ้ามุ้งหูเดียวที่ผูกแขวนใต้ต้นไม้เพราะข้อธุดงค์รุกขมูลที่กำหนดไว้ให้อยู่ใต้ต้นไม้ ไม่น่าจะเป็นการเอาไม้มาพาดแล้วคลุมด้วยผ้าคล้ายเต็นท์ เพราะเต็นท์จะอยู่นอกใต้ต้นไม้ได้) อย่างไรก็ตามการใช้กลดก็ไม่ผิด เพราะก็อยู่โคนไม้ไม่ใช่กุฏิเหมือนกัน).
อัพโภกาสิกังคะ ละเว้นการเข้าในที่มีที่มุงที่บังและใต้ต้นไม้ สมาทานอยู่กลางแจ้ง คือการไม่เข้าไปพักในร่มไม้หรือชายคาหลังคาใด ๆ หรือแม้การกางร่มกลดเพื่อกันแดดกันฝนก็ไม่ได้ห้ามทั้งซุ้มจีวรและการใช้มุงใด ๆ.วัดป่าบางทีก็ถือการไม่ใช่อาสนะใด ๆ เลยเช่น เก้าอี้ เตียง ผ้าปูหรือ แม้แต่ผูกเปล รวมทั้งไม่นอนบนต้นไม้ โดยถือหลักการไม่อิงอาศัยสิ่งใดเกินจำเป็น แม้แต่รองเท้าก็ตาม
โสสานิกังคะ ละเว้นการอยูในสถานที่ไม่เปลี่ยว สมาทานอยู่ป่าช้า ในคัมภึร์หมายถึงป่าช้าเผาศพ ซึ่งต้องเคยมีการเผาศพมาก่อนอย่างน้อยครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ป่าช้าฝังผี ข้อนี้ก็เหมือนกับ 2 ข้อ ก่อน ตรงที่ถ้าไม่ได้อยู่ในป่าช้าตอนตะวันขึ้นธุดงค์ก็แตกเช่นกัน.วัดป่ามักถือการไม่อยู่ในป่าช้าใกล้ ๆกับที่มีมนุษย์อยู่ในบริเวณใกล้ๆกับสถานที่ตนอยู่ เพราะการอยู่ในป่าช้าก็เพื่อการทดสอบจิตใจต่อการกลัวในความมืดและความเงียบ โดยการอยู่ในที่เปลี่ยวในป่าช้าห่างไกลผู้คนและหมายถึงป่าทั้งที่ฝังและเผา (สน สงัด สุสาน มีปกติสงัดดี)
ยถาสันถติกังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) ในเสนาสนะ สมาทานอยู่ในที่ตามมีตามได้ เสนาสนคาหาปกะจัดให้อย่างไรก็อยู่ตามนั้น. ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการนอนซ้ำที่เดิม (เพื่อไม่หวงแหนในติดในสถานที่) โดย
ถืออย่างเบาคือนอนย้ายที่ในอาวาสทุกวัน
ถืออย่างหนักคือออกเดินทางย้ายที่นอนทุกวัน
ถ้านอกอาวาส ถ้าหลายรูปให้พรรษาที่สูงกว่าเลือกให้และให้พรรษาสูงกว่าเลือกก่อน (ข้อนี้เป็นสมาจาริกศีล ไม่ใช่ธุดงค์) และ
อยู่บนกุฏิวิหารให้ทำให้สะอาด ถ้าตามโคนไม้ไม่กวาดหรือทำอะไรเพราะใบไม้มีประโยชน์เช่นทำให้เท้าไม่ เปื้อนก่อนเข้าอาสนะ และสัตว์หรือคนเข้ามาย่อมได้ยินเสียง.
เนสัชชิกังคะ สมาทานถืออิริยาบถนั่ง-อิริยาบถยืน-อิริยาบถเดินเพียง 3 อิริยาบถไม่อยู่ในอิริยาบถนอน ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการหลับด้วย ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด (มักเรียกการประพฤตินี้ว่าเนสัชชิก)
ธุดงควัตร คือข้อปฏิับัติเพื่อชำระกิเลส ธุดงค์ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตมี 13 วิธีจัดเป็นข้อสมาทานละเว้น และข้อสมาทานปฏิบัติ คือ
ปังสุกูลิกังคะ ละเว้นใช้ผ้าที่ประณีตเหมือนที่คหบดีใช้ (พระป่านิยมใช้ผ้าท่อนเก่า) สมาทานถือใช้แต่ผ้าบังสุกุลที่เขาทิ้งแล้ว (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน)
เตจีวริตังคะ ละเว้นการมีผ้าครอบครองและใช้สอยผ้าเกิน 3 ผืน (วัดป่าสมาทานการใช้สอยผ้าไตรจีวร ในความหมายว่าผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าคลุมด้วย (ในทางปฏิบัติจะใช้ผ้าคลุมนุ่งเมื่อซักตากผ้านุ่งและผ้าห่มชั่วคราว) คือ ผ้าที่เป็นผืน ๆ ที่ไม่ได้ตัดเป็นชุด ตามหลักผ้าใช้นุ่งห่มเพื่อกันความร้อนความเย็นและปกปิดร่างกายกันความน่าอายเท่านั้น
ปิณฑปาติกังคะ ละเว้นรับอดิเรกลาภ (คือรับนิมนต์ไปฉันที่ได้มานอกจากบิณฑบาตรเช่นไปฉันที่บ้านที่โยมจัดไว้ต้อนรับ) สมาทาน เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ (ข้อนี้ตามคัมภีร์เมื่อเทียบกับวัดป่าไม่ต่างกัน)
สปทานจาริปังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) เที่ยวจาริก (ภิกขาจาร) (เพื่อมิให้ผูกพันกับญาติโยม) สมาทานบิณฑบาตรตามลำดับ ลำดับบ้าน ไม่เลือกบ้านที่จะรับบิณฑบาต เดินแสวงหาบิณฑบาตไปตามลำดับ. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นบิณฑบาตซ้ำที่เดิม ถืออย่างเบาย้ายสายบิณฑบาตทุกวัน อย่างหนักออกเดินทางย้ายที่เที่ยวบิณฑบาตไม่ต่ำกว่าที่เดิมไม่เกินโยชน์ (16 กิโลเมตร) สมาทานบิณฑบาตตามลำดับบ้าน ลำดับอายุพรรษา ไม่เดินแซง (แย่งอาหาร) ซึ่งไม่ผิดจากพระไตรปิฎก-อรรถกถาแต่อย่างใด สามารถทำได้เช่นกัน.
เอกาสนิกังคะ ละเว้นอาสนะที่สอง สมาทานอาสนะเดียว (ฉันมื้อเดียว). ปกติมักถือการนั่งฉันเมื่อเคลื่อนก้นจากฐานอาสนะที่นั่งเป็นอันยุติการฉันหรือรับประทานอาหารในวันนั้น ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะกำหนดเวลาฉันในแต่ละวัน เช่นกำหนดฉันเวลา 9 นาฬิกา ก็จะฉันในเวลานั้นทุกวัน (จะไม่ฉันก่อนเวลานั้น หรือ หลังเวลานั้น เช่นเวลา 8 นาฬิกา หรือ 10 นาฬิกา) จะไม่เปลี่ยนเวลาฉันตามความอยากฉัน หรือ ไม่อยากฉันตามอารมณ์ แต่ฉันตามสัจจะตามเวลาที่อธิษฐานไว้
ปัตตปิณฑิกังคะ ละเว้นฉันภาชนะที่ 2 ใส่อาหารรวมในภาชนะเดียวกันทั้งหมด สมาทาน ฉันเฉพาะในบาตร. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ จะต้องคนอาหารรวมกันด้วย ซึ่งแม้จะไม่มีในข้อธุดงค์ตามคัมภีร์แต่ก็ทำได้ไม่ผิดอะไร.
ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ละเว้นการรับประทานอาหารเหลือ สมาทานเมื่อเริ่มลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม. ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นฉันเหลือให้เป็นเดน (ฉันเหลือเนื่องจากไม่ประมาณในการบริโภค) ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด ทั้งยังเป็นมรรยาทที่ดีงามและพบตัวอย่างของพระสมัยพุทธกาลที่ทำเช่นนี้ด้วย. (อติริตต อาหารอันเป็นเดน)
อารัญญิกังคะ ละเว้นการอยู่ในเสนาสนะใกล้บ้าน สมาทานการอยู่ในป่าไกล 500 ชั่วคันธนู หรือ ราว 1 กิโลเมตร โดยจะต้องให้ตะวันขึ้นในป่า หากตัวอยู่ในบ้านตอนตะวันขึ้น เป็นอันธุดงค์แตก สมาทานถืออยู่ในป่า (วน - กลุ่มต้นไม้, อรัญญ - ป่าไกลบ้าน)
รุกขมูลิกังคะ ละเว้นนอนในที่มีที่มุงที่บัง (เช่นบ้าน ถ้ำ กุฏิ) สมาทานอยู่โคนไม้ แต่ท่านอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ ส่วนของวัดป่าบางที่นั้นจะต่างออกไปเล็กน้อย คือ จะใช้การปักกลดแทน ประเพณีนี้ไม่ทราบที่มาแน่ชัดนัก แต่ถ้าไม่เอาด้ามกลดปักดินก็ทำได้เพราะถึงอย่างไรกลดก็ไม่ใช่กุฏิ (ปักกลด คือการกางร่มกลด (ร่มที่พระใช้ขณะเดินทาง) ใต้ต้นไม้ เป็นวิธีการของพระสายวัดป่าไทยโดยเฉพาะแต่เดิมครั้งพุทธกาลไม่มีมาก่อน กลดมี 2 ลักษณะคือผูกเชือกแล้วแขวนกลด และใช้ด้ามกลดปักพื้น (มักทำพระอาบัติปาจิตตีย์กันบ่อยด้วยปฐวิขณนสิกขาบท เพราะจงใจขุดดินทั้งที่รู้ตัว) บางรูปวางกับพื้น เรียกว่ากางโลงศพเพราะได้แต่อิริยาบถนอนในกลดเท่านั้น ลุกมานั่งสมาธิไม่ได้ (แต่สามารถถือวางพาดบ่าก็ลุกนั่งได้) โดยปกติจะครอบคลุมด้วยผ้ามุงทรงกระบอกเพื่อกันยุง ในครั้งพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าเมื่อเดินลุยในน้ำ ไม่ทรงอนุญาตให้ใส่ที่อื่น เนื่องจากเดินลุยน้ำเรามองไม่เห็นว่าในน้ำมีอะไรจึงต้องใส่รองเท้า แต่บนพื้นเรามองเห็นอยู่จะพลาดเหยียบหนามก็เพราะขาดสติ (ทรงอนุญาตให้ใส่รองเท้าในวัด หรือป่า เป็นต้นได้ แต่ห้ามใส่เข้าในเขตหมู่บ้าน[8]) อีกทั้งทรงอนุญาตให้ใช้ร่มเมื่อเข้าไปในใต้ต้นไม้เพื่อป้องกันการร่วงหล่นใส่ของกิ่งไม้แต่ในเบื้องต้นยังไม่อนุญาตให้กางนอกต้นไม้เพื่อใช้กันแดดกันฝน ในคัมภีร์ท่านไม่ได้อนุญาตให้กางร่มกลดไว้ แต่หากเอาตามอัพโภกาสิกังคธุดงค์แล้วก็ทรงอนุญาตให้ทำซุ้มจีวรได้ (สันนิษฐานว่าคงเป็นผ้ามุ้งหูเดียวที่ผูกแขวนใต้ต้นไม้เพราะข้อธุดงค์รุกขมูลที่กำหนดไว้ให้อยู่ใต้ต้นไม้ ไม่น่าจะเป็นการเอาไม้มาพาดแล้วคลุมด้วยผ้าคล้ายเต็นท์ เพราะเต็นท์จะอยู่นอกใต้ต้นไม้ได้) อย่างไรก็ตามการใช้กลดก็ไม่ผิด เพราะก็อยู่โคนไม้ไม่ใช่กุฏิเหมือนกัน).
อัพโภกาสิกังคะ ละเว้นการเข้าในที่มีที่มุงที่บังและใต้ต้นไม้ สมาทานอยู่กลางแจ้ง คือการไม่เข้าไปพักในร่มไม้หรือชายคาหลังคาใด ๆ หรือแม้การกางร่มกลดเพื่อกันแดดกันฝนก็ไม่ได้ห้ามทั้งซุ้มจีวรและการใช้มุงใด ๆ.วัดป่าบางทีก็ถือการไม่ใช่อาสนะใด ๆ เลยเช่น เก้าอี้ เตียง ผ้าปูหรือ แม้แต่ผูกเปล รวมทั้งไม่นอนบนต้นไม้ โดยถือหลักการไม่อิงอาศัยสิ่งใดเกินจำเป็น แม้แต่รองเท้าก็ตาม
โสสานิกังคะ ละเว้นการอยูในสถานที่ไม่เปลี่ยว สมาทานอยู่ป่าช้า ในคัมภึร์หมายถึงป่าช้าเผาศพ ซึ่งต้องเคยมีการเผาศพมาก่อนอย่างน้อยครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่ป่าช้าฝังผี ข้อนี้ก็เหมือนกับ 2 ข้อ ก่อน ตรงที่ถ้าไม่ได้อยู่ในป่าช้าตอนตะวันขึ้นธุดงค์ก็แตกเช่นกัน.วัดป่ามักถือการไม่อยู่ในป่าช้าใกล้ ๆกับที่มีมนุษย์อยู่ในบริเวณใกล้ๆกับสถานที่ตนอยู่ เพราะการอยู่ในป่าช้าก็เพื่อการทดสอบจิตใจต่อการกลัวในความมืดและความเงียบ โดยการอยู่ในที่เปลี่ยวในป่าช้าห่างไกลผู้คนและหมายถึงป่าทั้งที่ฝังและเผา (สน สงัด สุสาน มีปกติสงัดดี)
ยถาสันถติกังคะ ละเว้นการโลเล (ยึดติด) ในเสนาสนะ สมาทานอยู่ในที่ตามมีตามได้ เสนาสนคาหาปกะจัดให้อย่างไรก็อยู่ตามนั้น. ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการนอนซ้ำที่เดิม (เพื่อไม่หวงแหนในติดในสถานที่) โดย
ถืออย่างเบาคือนอนย้ายที่ในอาวาสทุกวัน
ถืออย่างหนักคือออกเดินทางย้ายที่นอนทุกวัน
ถ้านอกอาวาส ถ้าหลายรูปให้พรรษาที่สูงกว่าเลือกให้และให้พรรษาสูงกว่าเลือกก่อน (ข้อนี้เป็นสมาจาริกศีล ไม่ใช่ธุดงค์) และ
อยู่บนกุฏิวิหารให้ทำให้สะอาด ถ้าตามโคนไม้ไม่กวาดหรือทำอะไรเพราะใบไม้มีประโยชน์เช่นทำให้เท้าไม่ เปื้อนก่อนเข้าอาสนะ และสัตว์หรือคนเข้ามาย่อมได้ยินเสียง.
เนสัชชิกังคะ สมาทานถืออิริยาบถนั่ง-อิริยาบถยืน-อิริยาบถเดินเพียง 3 อิริยาบถไม่อยู่ในอิริยาบถนอน ส่วนของวัดป่านั้นจะมีวิธีการเพิ่มออกนอกไปจากคัมภีร์อีก คือ ละเว้นการหลับด้วย ซึ่งก็ทำได้ไม่ผิด (มักเรียกการประพฤตินี้ว่าเนสัชชิก)
แสดงความคิดเห็น
พระ 1,128 รูป ที่เข้าร่วมกิจกรรม "เดินผ่าเมือง" เรียกว่า "ธุดงค์" ได้หรือไม่?
แต่นี่
2556 ธรรมกาย เดินเป็นสาย ทิวแถว ทั่ว 7 จังหวัด 446 กม. 26 วัน ใช้พระ 1,128 รูป
ดอกดาวเรือง (อ้างดอกดาวรวย) นับล้านดอก ทีมงานเป็นพันคน สาวกเรือนหมื่น
อีกด้านหนึ่ง คนเดือดร้อนจากการ "สัญจร" ทุกย่อมหญ้า เกิดผลกระทบกับคนนับล้านทั่วเมือง
ลูกเด็กเล็กแดง นักเรียน คนทำงาน คนชรา ผู้ป่วย คนพิการ และ จนท.ฝ่ายต่างๆ
ธุดงค์แท้ หรือ ธุดงค์เทียม ........