Note : เอาไว้กระทู้หน้าผมจะเอารูปมาลงให้นะครับ
เนื่องด้วยกระผมนั้นเป็นลูกศิษย์(ปลายแถว)ของหลวงปู่ชา ผมจึงมีความหวังว่า อย่างน้อยๆครั้งหนึ่งในชีวิต จะต้องไปร่วมพิธีอาจริยบูชาที่วัดหนองป่าพงให้ได้ และปีนี้ผมก็ได้มีวันหยุดพักร้อนยาวถึงวันที่ 16 พอดี ผมจึงตัดสินใจขอบอสลาเพิ่มอีกสองวัน (ผมทำงานที่เมืองนอก เลยต้องใช้เวลาบินกลับไปวันนึง)ซึ่งแกก็ให้ ผมจึงได้มีโอกาสไปในปีนี้เอง
........
เช้ามืดวันที่ 15 ม.ค. 56
ผมหลับๆตื่นๆอยู่บนรถบัสคันโต เหม่อมองออกไปนอกหน้าต่างของนครชัย"แอร์" ...
...ครับ ผมเน้นคำว่าแอร์ เพราะแอร์ที่นี่มันเย็น..ไม่สิ หนาวมาก หนาวขนาดที่ผ้าห่มที่เค้าแจกมาเอาไม่อยู่อะครับ (แฟนผมบ่นว่า สงสัยจะเปิดไว้เลี้ยงนกเพนกวิน - -") ไอ้ผมก็เอะใจตอนขึ้นรถนิดนึงว่า เอ๊ะ ทำไม คนขึ้นรถคันนี้เค้าแต่งตัวสุภาพเรียบร้อยกันจังหว่า แต่ละคนไม่ชุดสูท ก็เสื้อนอกแขนยาว รองเท้าหุ้มส้น ... ส่วนผมกับแฟน เสื้อยืดรองเท้าแตะครับ
ภายนอกหน้าต่าง เรียงรายไปด้วยบ้านคนหลังเล็กๆดูน่าอยู่สลับกับสวนต้นไม้ ...ผมดูเวลาจากมือถือ ราวๆตีห้าเศษๆ คะเนว่าคงจะถึงอุบลแล้ว ...ซักพักหนึ่งพนักงาน"บัสฮอสเทจ" ก็เริ่มเอานมกล่องกับผ้าเย็นมาแจกตามที่นั่ง ก็เอาเก็บๆใส่ถุงไป ผมปวดฉี่เลยค่อยๆเดินไปหลังรถเพื่อจะไปเข้าห้องน้ำ ก็เจอกับพนักงานพอดี เจ๊แกบอกว่า พี่ลงบิ๊กซีอุบล ใช่มั้ยคะ เดี๋ยวรถจะจอดแล้วค่ะ ....ผมก็เอ๋อแดรกไปซักพัก (ไม่คิดว่าจะถึงเร็วขนาดนี้) แล้วก็กลับไปที่ที่นั่งเพื่อบอกแฟน ...แล้วรถก็จอดพอดี เราเลยง่วนกับการเก็บข้าวของแล้วรีบลงรถไปอย่างงงๆ
หลังจากรับกระเป๋าสัมภาระมาหมดแล้ว เราก็หอบข้าวของ(ต้องใช้คำว่าหอบครับ เพราะของเยอะจริงๆครับ มีทั้งเป้เสื้อผ้า ถุงนอน เต๊น แผ่นปูรองนอน ไหนจะถุงเสบียงของแจกบนรถอีก ) เตรียมจะโทรเรียกแท็กซี่ไปวัด แต่ผมปวดฉี่ก็เลยว่าจะไปหาห้องน้ำเข้า ถามคนแถวป้ายรถเมล์ว่าแถวนี้มีห้องน้ำมั้ย เค้าก็บอกให้เดินไปหน่อย ไปเข้าที่ปั๊มตรงข้ามบิ๊กซี ผมกับแฟนก็เลยเดินไป
ด้วยความที่อยู่เมืองกรุงมานาน ไม่เคยรู้เลยว่าต่างจังหวัดตอนตีห้ากว่าๆนี่มันจะเงียบและเปลี่ยวขนาดนี้ (แฟนผมถามว่าแน่ใจนะว่าลงถูก แต่ผมก็ว่าไม่น่าผิด เพราะเคยอ่านจากรีวิวมา ) แถมหนาวอีกต่างหาก
เราพากันเดินไปถึงปั๊ม แล้วก็พบว่า ผู้คนที่นั่นล้วนแล้วแต่ใส่เสื้อหนาวกันทั้งสิ้น มี "ไอ้บ้านนอก" เอ้ย.. "ไอ้คนกรุง" เพียงสองคนเท่านั้นที่ใส่เสื้อยืด รองเท้าแตะ ในเวลาเช้าๆตอนหน้าหนาวแบบนี้ (เอ้า ก็กรุงเทพมันไม่หนาวนี่นา)
เราทำธุระ เข้าห้องน้ำห้องท่าที่ปั๊มขนเสร็จ แล้วผมก็เอาเบอร์"แท็กซี่อุบล"ที่จดไว้ ออกมาโทร ปรากฏว่า เค้าบอกว่าแถวนั้นอยู่นอกเขตให้บริการของเค้า อ้าว ...ทำไงล่ะครับทีนี้ จะออกไปโบกแท็กซี่หน้าปั๊ม เวลาเช้ามืด ตามตจว.แบบนี้ จะมีรถมั้ยเนี่ย ผมก็ได้แต่ภาวนาให้บารมีของหลวงปู่ชา ขอให้พวกเราได้เดินทางไปถึงวัดจนได้ .... แล้วในที่สุดก็สำเร็จครับ แฟนผมเค้าเสิร์ชในไอโฟน (ที่แต่ก่อนผมชอบอคติ) ไปเจอเบอร์โทรของแท็กซี่อีกเจ้า ชื่อ 'อุบลแท็กซี่มิเตอร์พัฒนา' (เอ้า ใครจะไป จำไว้ให้ดีนะครับ แท็กซี่ที่อุบลเค้ามีสามเจ้า เราต้องไปเจ้านี้นะครับ ) เค้าบอกว่าให้ข้ามไปรออีกฝั่งหนึ่ง เดี๋ยวรถจะออกไปรับ ...พวกเราต่างก็ดีอกดีใจ ขนข้าวของไปรอรถอีกฝั่งทันที
รอไม่นานนักแท็กซี่ก็มา...เราก็ขึ้นทันที แต่พอถามคนขับว่า ใช่คันที่โทรนัดไว้มั้ย คนขับบอกว่าไม่ใช่ เราก็เลยกำลังจะขนของออก แต่พอแฟนผมโทรไปถามที่ศูนย์เค้าบอกว่าคันนี้แหละ ก็เลยผุดลุกผุดนั่งเก้ๆกังๆกันอยู่ครู่ใหญ่(ต้องเข้าใจว่าของเยอะ )จนรถคันหลังเค้าบีบแตรไล่อยู่หลายปี๊น (เค้าคงงงว่าไอ้บ้าพวกนี้ทำอะไรกัน เดี๋ยวออกเดี๋ยวเข้าเป็นระวิง) กว่าจะได้ไปซักที
มาถึงหน้าวัดประมาณเกือบๆเจ็ดโมง(มั้ง) เห็นชาวบ้านนุ่งขาวห่มขาวมายืนรอใส่บาตรกันเต็มไปหมด หลังจากจ่ายค่ารถ (ห้าสิบกว่าบาทเอง รวมค่าเรียกอีก 20 ก็เป็นเจ็ดสิบกว่าๆ) และขอเบอร์ลุงคนขับเรียบร้อยแล้วก็ออกจากรถไป ... แหม่ เรามาได้จังหวะใส่บาตรพอดีเชียวครับ แม้ว่าพวกเราจะไม่ได้เตรียมอะไรมา ...แต่ด้วยด้วยแรงศรัทธาของเรา ก็เลยเอาขนมของกินที่เค้าแจกให้มาบนรถ(ที่เรายังไม่ได้กิน)นั่นแหละครับใส่ไป
เดินเข้าไปในวัด มีต้นไม้สองข้างทางร่มรื่น ป้าๆยายๆนุ่งห่มชุดขาวเดินกันขวักไขว่ พอมีพระเดินผ่านมาก็ลงไปนั่งพนมมือไหว้ เป็นภาพที่งดงามอันหาดูได้ยากในสังคมเมืองหลวงที่ผมอยู่ ...เบิ้องหน้ามีป้ายหินอ่อนขนาดใหญ่ เขียนว่าวัดหนองป่าพง ผมรู้สึกตื่นเต้นดีใจขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก ...นี่แหละ วัดหนองป่าพง สถานที่ครูบาอาจารย์ได้สร้างขึ้นด้วยความยากลำบาก สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เปรียบเสมือนแหล่งเพาะปลูกผืน"นาบุญ" เพื่อที่จะส่งออกแพร่ขยายไปทั่วโลก
เราไปลงทะเบียนที่โต๊ะอำนวยการ แล้วค่อยเดินไปยังสถานที่กางเต๊นที่ทางวัดจัดไว้ให้ ก็เดินถามคนนู้นคนนี้ไปเรื่อยจนเจอที่โล่งๆ ก็เอาเต๊นออกมากาง ปรากฏว่าเต๊นที่เตรียมมาให้แฟน( ของผมไม่มี เพราะตั้งใจจะอยู่เนสัชชิก) มันเล็กไปหน่อยครับ ให้แฟนเค้าเข้าไปนอนดูนี่พอดีตัวเป๊ะ แต่จะลุกขึ้นมานั่งไม่ได้ ต้องนอนอย่างเดียว - -" แถมเต๊นเป็นผ้าล้วนๆ ตาข่ายกันยุงก็ไม่มี ..ก็ตามมีตามเกิดอะครับทำไงได้ โชคยังดีที่พอออกไปเดินหาซื้อชุดขาวกับแฟนข้างนอก มีคนเอาเต๊นมาขายด้วย ก็เลยซื้อมาซะเลย
หลังจากกางเต๊นหลังใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ยินเสียงเทศน์ลอยมาตามสาย เราก็เลยเดินตามถนนใหญ่ไปที่หน้าศาลาการเปรียญแห่งหนึ่ง เดินเข้าไป ปรากฏมีแต่ผู้หญิงนั่งอยู่ตามสองข้างถนน มีเต๊นกางในสวนป่าข้างถนนเป็นช่วงๆ แถมมีป้ายติดไว้ว่า "ที่กางเต๊นสำหรับอุบาสิกา" ผมก็เลยชักไม่แน่ใจว่า ตกลงเรามาผิดที่รึเปล่า แต่ก็ทำเนียนๆ นั่งมันตรงหน้าบันไดทางขึ้นศาลานั่นแหละ พอเทศน์เสร็จก็ค่อยๆแอบลุกออกไป มารู้ตอนหลังว่า ผู้ชายเค้าจะให้ไปนั่งในศาลาการเปรียญฝั่งขวาใกล้กับธรรมาสพระเทศน์ บ้างก็นั่งฟังและกางเต๊นอยู่ทางด้านขวาของศาลานั่นแหละ แต่เนื่องจากสัดส่วนจำนวนของอุบาสกน้อยกว่าอุบาสิกาอยู่มาก ก็เลยไม่ค่อยเห็น (แต่ถ้าจะนั่งแถวนี้ก็ไม่ผิด)
เสร็จแล้วก็ได้เวลาพระฉันเช้า แล้วญาติโยมก็ค่อยรับอาหาร เราเห็นคนเดินถือกาละมังใส่ข้าวกันเต็มไปหมด บางคนถึงกับเอาเก็บไว้ที่เต๊น ก็เลยคิดว่าสงสัยคงต้องเตรียมกันมาเองรึเปล่า ถามไปถามมา ป้าๆแถวนั้นก็บอกว่า ไปเอาได้ที่โรงครัว เราก็เลยไปเอา แล้วก็แยกกันไปเข้าแถวของผู้หญิงผู้ชาย
เรื่องระเบียบการเข้าแถวตักอาหารนั้น ที่นี่เค้าก็จัดไว้เป็นอย่างดี ตอนแรกผมก็งงเหมือนกัน คนเยอะเป็นพันๆแบบนั้น ทางวัดเค้าจะจัดการยังไง ซึ่งเค้าก็ทำได้ดีครับ คือ จัดโต๊ะต่อกันยาว ซอยเป็นแถวๆ แต่ละแถวก็มีอาหารคาว หวาน ขนม ผลไม้คละๆกันไปอย่างทั่วถึง แล้วก็แบ่งประเภทคนในแต่ละแถว คือ อันดับแรก แบ่งโซนหญิงชาย แล้วแถวแรกก็ให้ผ้าขาวกับแม่ชีไปก่อน แล้วแถวต่อไปก็เป็นผู้ถือศีล 8 แถวต่อไปก็เป็นนักปฏิบัติธรรม(ศีล 5) แล้วแถวที่เหลือก็ค่อยเป็นของชาวบ้านทั่วไป ซึ่งใครต่อแถวไหนแล้วก็ต้องตักอาหารโต๊ะนั้นไป ไม่ข้ามไปข้ามมา ซึ่งผมก็เห็นว่าผู้คนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติกันได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยดีจริงๆ
พอกินเสร็จแล้ว ผมก็ไปเอาไม้กวาดมากวาดลานวัดซักพัก แล้วก็เดินเที่ยวชมวัด ...วัดหนองป่าพงเป็นวัดที่ร่มรื่นมากครับ มองไปทางไหนก็มีแต่ต้นไม้เต็มไปหมด อาณาบริเวณอันกว้างขวางของวัด แม้ตอนนี้ถูกจับจองเป็นที่กางเต๊นของบรรดาอุบาสกอุบาสิกาและพระทั้งหลายนับพันกว่าชีวิต แต่ก็ไม่ทำให้บริเวณวัดดูแออัดลงไปเท่าใดนัก อาจเป็นเพราะผู้คนต่างพร้อมใจกันอยู่อย่างสงบเสงี่ยมสำรวมกาย วาจา ใจ และตั้งที่พักกันเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยที่พักหญิงจะอยู่บริเวณโซนด้านหน้าของศาลา ซึ่งต้นไม้ไม่ค่อยเยอะ ส่วนพระก็จะปักกลดบริเวณรอบๆศาลาการเปรียญของพระ (ไม่แน่ใจว่าเรียกว่าอะไร แต่ที่นี่จะมีศาลาสองหลังติดกัน หลังนึงสำหรับโยม อีกหลังสำหรับพระ) และของผู้ชายจะอยู่เลยโซนของผู้หญิงไกลออกไป ซึ่งต้นไม้แถวนี้จะรกทึบกว่า แล้วก็ยังมีโซนแม่ชีซึ่งก็จะเลยไปทางด้านหลังของวัด แต่ผมไม่เคยเข้าไปเหมือนกัน เพราะไม่แน่ใจว่าเค้าให้เข้าไปรึเปล่า ส่วนถ้าใครมาด้วยกันเป็นครอบครัว ก็แนะนำให้ไปกางเต๊นบริเวณรอบนอกวัด ใกล้กับพิพิธภัณท์และศูนย์มรดกธรรมหลวงปู่ชา
ผมได้เดินไปดูกุฎิหลวงปู่ชา ที่ยังคงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ได้ไปดูแท่นหินบริเวณที่หลวงปู่ชามาปักกลดครั้งแรก และอุโบสถหลังแรกที่หลวงปู่ชาได้สร้างขึ้นมา เสร็จแล้วก็กลับออกไปเดินดูในพิพิธภัณท์หลวงปู่ชาที่ปากทางเข้าวัด ได้เห็นรถเข็นของหลวงปู่ โครงกระดูกที่ท่านชอบเอามาสอนลูกศิษย์ ไม้เท้า รองเท้า อัฐบริขารต่างๆของท่าน รวมถึงของจิปาถะที่ชาวบ้านนำมาถวายให้ท่าน บ้างก็ยังคงสภาพดี แต่หลายสิ่งก็ดูเก่าซอมซ่อไปตามกาล ...ของพวกนี้ ดูในรูปที่คนอื่นเค้าถ่ายกันมา มันก็ไม่รู้สึกอะไรเท่าไหร่หรอกครับ แต่พอได้ของจริงๆตรงหน้า มันเหมือนกับตอกย้ำความคิดของผมว่า ครั้งหนึ่งหลวงปู่ท่านก็เคยมีชีวิตอยู่เหมือนพวกเรานั่นแหละ ... อย่างตอนเดินเที่ยวชมวัด หากย้อนเวลาไปซักสามสิบกว่าปี ผมอาจจะได้เดินสวนทางกับหลวงปู่ในอดีตก็เป็นได้ ..ขณะที่ผมกำลังกวาดใบไม้ข้างๆกุฎิหลวงปู่ ท่านอาจกำลังนั่งรับแขกอยู่ใต้ถุนกุฎิอยู่ก็ได้ บางครั้งบางคราวผมยังคล้ายกับจะได้ยินเสียงของท่านลอยมาตามลมเลยด้วยซ้ำ............คือ จริงๆแล้วที่วัดเค้าเปิดซีดีเสียงเทศน์ของหลวงปู่เองแหละ(แหะ แหะ ^^")
ไม่รู้ว่าผมคิดไปเองหรือเปล่า ว่าแท้จริงแล้วพิพิธภัณท์หลวงปู่ชานั้นได้ถูกสร้างขึ้นอย่างมี 'นัยยะสำคัญ'เพื่อบอกอะไรบางอย่างกับเรา ซึ่งผมเองพอจะตีความออกมาคร่าวๆได้ว่า แม้หลายสิ่งหลายอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอันยาวนาน อย่าว่าแต่'ยาวนาน'เลยครับ เพียง 20 กว่าปีที่ผ่านก็ทำให้ไม้ผุ ผ้าเปื่อย เหล็กขึ้นสนิมกันแล้ว ...แต่สิ่งที่ยังอยู่คงทนก็ คือ ....ความดีของท่าน ปฎิปทาของท่าน คำสอนของท่านที่ยังเหลืออยู่ครบถ้วน และจะสืบทอดไปอีกต่อไปไม่รู้อีกกี่ปีข้างหน้า ... ทุกวันนี้หนังสือธรรมะของหลวงปู่ไม่รู้กี่ล้านเล่ม ที่ถูกพิมพ์แจกจ่ายไปทั่วโลก ไหนจะซีดี MP3 ให้ดาวน์โหลด เฟซบ๊งเฟซบุค (เฟซบ๊งไม่มีนะครับ - -" เดี๋ยวจะถูกฟ้องว่าแช่งให้'เจ๊งบ๊ง'ซะนี่ ) ไหนจะป้ายธรรมคำสอนสั้นๆของท่าน ที่แขวนทั่วไปตามวัดสาขาของท่านอีกล่ะ ... เห็นมั้ยครับแม้ท่านจะละสังขารไปแล้ว 21 ปี แต่ท่านก็ยังสอนพวกเราอยู่เลย ..นี่แหละครับเมตตาธรรมของครูบาอาจารย์พวกเรา
หลังจากเที่ยวชมพิพิธภัณท์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมก็ชวนแฟนไปโรงทานเพื่อไปหาอะไรกินก่อนเที่ยง เนื่องจากวันนี้พวกเราถือศีลแปดกันครับ ไม่(เริ่ม)กินอะไรหลังเที่ยง
โรงทานตอนนี้เริ่มจอแจไปด้วยผู้คน ทั้งชาวบ้านและผู้มาปฏิบัติธรรม พวกที่มาทำโรงทานส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มลูกศิษย์ของวัดสาขา บ้างก็ชาวบ้านแถวนั้น ดูๆไป ก็เป็นภาพที่น่ารักดีครับ ผู้แจกก็ยิ้มแย้มแจ่มใส ผู้รับก็ยกมือไหว้ขอบคุณ บางคนก็ช่วยเป็นเงินไปบ้าง ถึงแม้ตอนนี้แดดจะเริ่มร้อนเพราะใกล้เที่ยงแต่ก็กลับเย็นลงได้เพราะน้ำใจผู้คน
ผมจะเป็นชาวพุทธที่ดี ตอน ครั้งหนึ่งในชีวิตกับงานอาจริยบูชาหลวงปู่ชา (ตอนที่1)
เนื่องด้วยกระผมนั้นเป็นลูกศิษย์(ปลายแถว)ของหลวงปู่ชา ผมจึงมีความหวังว่า อย่างน้อยๆครั้งหนึ่งในชีวิต จะต้องไปร่วมพิธีอาจริยบูชาที่วัดหนองป่าพงให้ได้ และปีนี้ผมก็ได้มีวันหยุดพักร้อนยาวถึงวันที่ 16 พอดี ผมจึงตัดสินใจขอบอสลาเพิ่มอีกสองวัน (ผมทำงานที่เมืองนอก เลยต้องใช้เวลาบินกลับไปวันนึง)ซึ่งแกก็ให้ ผมจึงได้มีโอกาสไปในปีนี้เอง
........
เช้ามืดวันที่ 15 ม.ค. 56
ผมหลับๆตื่นๆอยู่บนรถบัสคันโต เหม่อมองออกไปนอกหน้าต่างของนครชัย"แอร์" ...
...ครับ ผมเน้นคำว่าแอร์ เพราะแอร์ที่นี่มันเย็น..ไม่สิ หนาวมาก หนาวขนาดที่ผ้าห่มที่เค้าแจกมาเอาไม่อยู่อะครับ (แฟนผมบ่นว่า สงสัยจะเปิดไว้เลี้ยงนกเพนกวิน - -") ไอ้ผมก็เอะใจตอนขึ้นรถนิดนึงว่า เอ๊ะ ทำไม คนขึ้นรถคันนี้เค้าแต่งตัวสุภาพเรียบร้อยกันจังหว่า แต่ละคนไม่ชุดสูท ก็เสื้อนอกแขนยาว รองเท้าหุ้มส้น ... ส่วนผมกับแฟน เสื้อยืดรองเท้าแตะครับ
ภายนอกหน้าต่าง เรียงรายไปด้วยบ้านคนหลังเล็กๆดูน่าอยู่สลับกับสวนต้นไม้ ...ผมดูเวลาจากมือถือ ราวๆตีห้าเศษๆ คะเนว่าคงจะถึงอุบลแล้ว ...ซักพักหนึ่งพนักงาน"บัสฮอสเทจ" ก็เริ่มเอานมกล่องกับผ้าเย็นมาแจกตามที่นั่ง ก็เอาเก็บๆใส่ถุงไป ผมปวดฉี่เลยค่อยๆเดินไปหลังรถเพื่อจะไปเข้าห้องน้ำ ก็เจอกับพนักงานพอดี เจ๊แกบอกว่า พี่ลงบิ๊กซีอุบล ใช่มั้ยคะ เดี๋ยวรถจะจอดแล้วค่ะ ....ผมก็เอ๋อแดรกไปซักพัก (ไม่คิดว่าจะถึงเร็วขนาดนี้) แล้วก็กลับไปที่ที่นั่งเพื่อบอกแฟน ...แล้วรถก็จอดพอดี เราเลยง่วนกับการเก็บข้าวของแล้วรีบลงรถไปอย่างงงๆ
หลังจากรับกระเป๋าสัมภาระมาหมดแล้ว เราก็หอบข้าวของ(ต้องใช้คำว่าหอบครับ เพราะของเยอะจริงๆครับ มีทั้งเป้เสื้อผ้า ถุงนอน เต๊น แผ่นปูรองนอน ไหนจะถุงเสบียงของแจกบนรถอีก ) เตรียมจะโทรเรียกแท็กซี่ไปวัด แต่ผมปวดฉี่ก็เลยว่าจะไปหาห้องน้ำเข้า ถามคนแถวป้ายรถเมล์ว่าแถวนี้มีห้องน้ำมั้ย เค้าก็บอกให้เดินไปหน่อย ไปเข้าที่ปั๊มตรงข้ามบิ๊กซี ผมกับแฟนก็เลยเดินไป
ด้วยความที่อยู่เมืองกรุงมานาน ไม่เคยรู้เลยว่าต่างจังหวัดตอนตีห้ากว่าๆนี่มันจะเงียบและเปลี่ยวขนาดนี้ (แฟนผมถามว่าแน่ใจนะว่าลงถูก แต่ผมก็ว่าไม่น่าผิด เพราะเคยอ่านจากรีวิวมา ) แถมหนาวอีกต่างหาก
เราพากันเดินไปถึงปั๊ม แล้วก็พบว่า ผู้คนที่นั่นล้วนแล้วแต่ใส่เสื้อหนาวกันทั้งสิ้น มี "ไอ้บ้านนอก" เอ้ย.. "ไอ้คนกรุง" เพียงสองคนเท่านั้นที่ใส่เสื้อยืด รองเท้าแตะ ในเวลาเช้าๆตอนหน้าหนาวแบบนี้ (เอ้า ก็กรุงเทพมันไม่หนาวนี่นา)
เราทำธุระ เข้าห้องน้ำห้องท่าที่ปั๊มขนเสร็จ แล้วผมก็เอาเบอร์"แท็กซี่อุบล"ที่จดไว้ ออกมาโทร ปรากฏว่า เค้าบอกว่าแถวนั้นอยู่นอกเขตให้บริการของเค้า อ้าว ...ทำไงล่ะครับทีนี้ จะออกไปโบกแท็กซี่หน้าปั๊ม เวลาเช้ามืด ตามตจว.แบบนี้ จะมีรถมั้ยเนี่ย ผมก็ได้แต่ภาวนาให้บารมีของหลวงปู่ชา ขอให้พวกเราได้เดินทางไปถึงวัดจนได้ .... แล้วในที่สุดก็สำเร็จครับ แฟนผมเค้าเสิร์ชในไอโฟน (ที่แต่ก่อนผมชอบอคติ) ไปเจอเบอร์โทรของแท็กซี่อีกเจ้า ชื่อ 'อุบลแท็กซี่มิเตอร์พัฒนา' (เอ้า ใครจะไป จำไว้ให้ดีนะครับ แท็กซี่ที่อุบลเค้ามีสามเจ้า เราต้องไปเจ้านี้นะครับ ) เค้าบอกว่าให้ข้ามไปรออีกฝั่งหนึ่ง เดี๋ยวรถจะออกไปรับ ...พวกเราต่างก็ดีอกดีใจ ขนข้าวของไปรอรถอีกฝั่งทันที
รอไม่นานนักแท็กซี่ก็มา...เราก็ขึ้นทันที แต่พอถามคนขับว่า ใช่คันที่โทรนัดไว้มั้ย คนขับบอกว่าไม่ใช่ เราก็เลยกำลังจะขนของออก แต่พอแฟนผมโทรไปถามที่ศูนย์เค้าบอกว่าคันนี้แหละ ก็เลยผุดลุกผุดนั่งเก้ๆกังๆกันอยู่ครู่ใหญ่(ต้องเข้าใจว่าของเยอะ )จนรถคันหลังเค้าบีบแตรไล่อยู่หลายปี๊น (เค้าคงงงว่าไอ้บ้าพวกนี้ทำอะไรกัน เดี๋ยวออกเดี๋ยวเข้าเป็นระวิง) กว่าจะได้ไปซักที
มาถึงหน้าวัดประมาณเกือบๆเจ็ดโมง(มั้ง) เห็นชาวบ้านนุ่งขาวห่มขาวมายืนรอใส่บาตรกันเต็มไปหมด หลังจากจ่ายค่ารถ (ห้าสิบกว่าบาทเอง รวมค่าเรียกอีก 20 ก็เป็นเจ็ดสิบกว่าๆ) และขอเบอร์ลุงคนขับเรียบร้อยแล้วก็ออกจากรถไป ... แหม่ เรามาได้จังหวะใส่บาตรพอดีเชียวครับ แม้ว่าพวกเราจะไม่ได้เตรียมอะไรมา ...แต่ด้วยด้วยแรงศรัทธาของเรา ก็เลยเอาขนมของกินที่เค้าแจกให้มาบนรถ(ที่เรายังไม่ได้กิน)นั่นแหละครับใส่ไป
เดินเข้าไปในวัด มีต้นไม้สองข้างทางร่มรื่น ป้าๆยายๆนุ่งห่มชุดขาวเดินกันขวักไขว่ พอมีพระเดินผ่านมาก็ลงไปนั่งพนมมือไหว้ เป็นภาพที่งดงามอันหาดูได้ยากในสังคมเมืองหลวงที่ผมอยู่ ...เบิ้องหน้ามีป้ายหินอ่อนขนาดใหญ่ เขียนว่าวัดหนองป่าพง ผมรู้สึกตื่นเต้นดีใจขึ้นมาอย่างบอกไม่ถูก ...นี่แหละ วัดหนองป่าพง สถานที่ครูบาอาจารย์ได้สร้างขึ้นด้วยความยากลำบาก สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เปรียบเสมือนแหล่งเพาะปลูกผืน"นาบุญ" เพื่อที่จะส่งออกแพร่ขยายไปทั่วโลก
เราไปลงทะเบียนที่โต๊ะอำนวยการ แล้วค่อยเดินไปยังสถานที่กางเต๊นที่ทางวัดจัดไว้ให้ ก็เดินถามคนนู้นคนนี้ไปเรื่อยจนเจอที่โล่งๆ ก็เอาเต๊นออกมากาง ปรากฏว่าเต๊นที่เตรียมมาให้แฟน( ของผมไม่มี เพราะตั้งใจจะอยู่เนสัชชิก) มันเล็กไปหน่อยครับ ให้แฟนเค้าเข้าไปนอนดูนี่พอดีตัวเป๊ะ แต่จะลุกขึ้นมานั่งไม่ได้ ต้องนอนอย่างเดียว - -" แถมเต๊นเป็นผ้าล้วนๆ ตาข่ายกันยุงก็ไม่มี ..ก็ตามมีตามเกิดอะครับทำไงได้ โชคยังดีที่พอออกไปเดินหาซื้อชุดขาวกับแฟนข้างนอก มีคนเอาเต๊นมาขายด้วย ก็เลยซื้อมาซะเลย
หลังจากกางเต๊นหลังใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ยินเสียงเทศน์ลอยมาตามสาย เราก็เลยเดินตามถนนใหญ่ไปที่หน้าศาลาการเปรียญแห่งหนึ่ง เดินเข้าไป ปรากฏมีแต่ผู้หญิงนั่งอยู่ตามสองข้างถนน มีเต๊นกางในสวนป่าข้างถนนเป็นช่วงๆ แถมมีป้ายติดไว้ว่า "ที่กางเต๊นสำหรับอุบาสิกา" ผมก็เลยชักไม่แน่ใจว่า ตกลงเรามาผิดที่รึเปล่า แต่ก็ทำเนียนๆ นั่งมันตรงหน้าบันไดทางขึ้นศาลานั่นแหละ พอเทศน์เสร็จก็ค่อยๆแอบลุกออกไป มารู้ตอนหลังว่า ผู้ชายเค้าจะให้ไปนั่งในศาลาการเปรียญฝั่งขวาใกล้กับธรรมาสพระเทศน์ บ้างก็นั่งฟังและกางเต๊นอยู่ทางด้านขวาของศาลานั่นแหละ แต่เนื่องจากสัดส่วนจำนวนของอุบาสกน้อยกว่าอุบาสิกาอยู่มาก ก็เลยไม่ค่อยเห็น (แต่ถ้าจะนั่งแถวนี้ก็ไม่ผิด)
เสร็จแล้วก็ได้เวลาพระฉันเช้า แล้วญาติโยมก็ค่อยรับอาหาร เราเห็นคนเดินถือกาละมังใส่ข้าวกันเต็มไปหมด บางคนถึงกับเอาเก็บไว้ที่เต๊น ก็เลยคิดว่าสงสัยคงต้องเตรียมกันมาเองรึเปล่า ถามไปถามมา ป้าๆแถวนั้นก็บอกว่า ไปเอาได้ที่โรงครัว เราก็เลยไปเอา แล้วก็แยกกันไปเข้าแถวของผู้หญิงผู้ชาย
เรื่องระเบียบการเข้าแถวตักอาหารนั้น ที่นี่เค้าก็จัดไว้เป็นอย่างดี ตอนแรกผมก็งงเหมือนกัน คนเยอะเป็นพันๆแบบนั้น ทางวัดเค้าจะจัดการยังไง ซึ่งเค้าก็ทำได้ดีครับ คือ จัดโต๊ะต่อกันยาว ซอยเป็นแถวๆ แต่ละแถวก็มีอาหารคาว หวาน ขนม ผลไม้คละๆกันไปอย่างทั่วถึง แล้วก็แบ่งประเภทคนในแต่ละแถว คือ อันดับแรก แบ่งโซนหญิงชาย แล้วแถวแรกก็ให้ผ้าขาวกับแม่ชีไปก่อน แล้วแถวต่อไปก็เป็นผู้ถือศีล 8 แถวต่อไปก็เป็นนักปฏิบัติธรรม(ศีล 5) แล้วแถวที่เหลือก็ค่อยเป็นของชาวบ้านทั่วไป ซึ่งใครต่อแถวไหนแล้วก็ต้องตักอาหารโต๊ะนั้นไป ไม่ข้ามไปข้ามมา ซึ่งผมก็เห็นว่าผู้คนส่วนใหญ่ก็ปฏิบัติกันได้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยดีจริงๆ
พอกินเสร็จแล้ว ผมก็ไปเอาไม้กวาดมากวาดลานวัดซักพัก แล้วก็เดินเที่ยวชมวัด ...วัดหนองป่าพงเป็นวัดที่ร่มรื่นมากครับ มองไปทางไหนก็มีแต่ต้นไม้เต็มไปหมด อาณาบริเวณอันกว้างขวางของวัด แม้ตอนนี้ถูกจับจองเป็นที่กางเต๊นของบรรดาอุบาสกอุบาสิกาและพระทั้งหลายนับพันกว่าชีวิต แต่ก็ไม่ทำให้บริเวณวัดดูแออัดลงไปเท่าใดนัก อาจเป็นเพราะผู้คนต่างพร้อมใจกันอยู่อย่างสงบเสงี่ยมสำรวมกาย วาจา ใจ และตั้งที่พักกันเป็นระเบียบเรียบร้อย โดยที่พักหญิงจะอยู่บริเวณโซนด้านหน้าของศาลา ซึ่งต้นไม้ไม่ค่อยเยอะ ส่วนพระก็จะปักกลดบริเวณรอบๆศาลาการเปรียญของพระ (ไม่แน่ใจว่าเรียกว่าอะไร แต่ที่นี่จะมีศาลาสองหลังติดกัน หลังนึงสำหรับโยม อีกหลังสำหรับพระ) และของผู้ชายจะอยู่เลยโซนของผู้หญิงไกลออกไป ซึ่งต้นไม้แถวนี้จะรกทึบกว่า แล้วก็ยังมีโซนแม่ชีซึ่งก็จะเลยไปทางด้านหลังของวัด แต่ผมไม่เคยเข้าไปเหมือนกัน เพราะไม่แน่ใจว่าเค้าให้เข้าไปรึเปล่า ส่วนถ้าใครมาด้วยกันเป็นครอบครัว ก็แนะนำให้ไปกางเต๊นบริเวณรอบนอกวัด ใกล้กับพิพิธภัณท์และศูนย์มรดกธรรมหลวงปู่ชา
ผมได้เดินไปดูกุฎิหลวงปู่ชา ที่ยังคงเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี ได้ไปดูแท่นหินบริเวณที่หลวงปู่ชามาปักกลดครั้งแรก และอุโบสถหลังแรกที่หลวงปู่ชาได้สร้างขึ้นมา เสร็จแล้วก็กลับออกไปเดินดูในพิพิธภัณท์หลวงปู่ชาที่ปากทางเข้าวัด ได้เห็นรถเข็นของหลวงปู่ โครงกระดูกที่ท่านชอบเอามาสอนลูกศิษย์ ไม้เท้า รองเท้า อัฐบริขารต่างๆของท่าน รวมถึงของจิปาถะที่ชาวบ้านนำมาถวายให้ท่าน บ้างก็ยังคงสภาพดี แต่หลายสิ่งก็ดูเก่าซอมซ่อไปตามกาล ...ของพวกนี้ ดูในรูปที่คนอื่นเค้าถ่ายกันมา มันก็ไม่รู้สึกอะไรเท่าไหร่หรอกครับ แต่พอได้ของจริงๆตรงหน้า มันเหมือนกับตอกย้ำความคิดของผมว่า ครั้งหนึ่งหลวงปู่ท่านก็เคยมีชีวิตอยู่เหมือนพวกเรานั่นแหละ ... อย่างตอนเดินเที่ยวชมวัด หากย้อนเวลาไปซักสามสิบกว่าปี ผมอาจจะได้เดินสวนทางกับหลวงปู่ในอดีตก็เป็นได้ ..ขณะที่ผมกำลังกวาดใบไม้ข้างๆกุฎิหลวงปู่ ท่านอาจกำลังนั่งรับแขกอยู่ใต้ถุนกุฎิอยู่ก็ได้ บางครั้งบางคราวผมยังคล้ายกับจะได้ยินเสียงของท่านลอยมาตามลมเลยด้วยซ้ำ............คือ จริงๆแล้วที่วัดเค้าเปิดซีดีเสียงเทศน์ของหลวงปู่เองแหละ(แหะ แหะ ^^")
ไม่รู้ว่าผมคิดไปเองหรือเปล่า ว่าแท้จริงแล้วพิพิธภัณท์หลวงปู่ชานั้นได้ถูกสร้างขึ้นอย่างมี 'นัยยะสำคัญ'เพื่อบอกอะไรบางอย่างกับเรา ซึ่งผมเองพอจะตีความออกมาคร่าวๆได้ว่า แม้หลายสิ่งหลายอย่างจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอันยาวนาน อย่าว่าแต่'ยาวนาน'เลยครับ เพียง 20 กว่าปีที่ผ่านก็ทำให้ไม้ผุ ผ้าเปื่อย เหล็กขึ้นสนิมกันแล้ว ...แต่สิ่งที่ยังอยู่คงทนก็ คือ ....ความดีของท่าน ปฎิปทาของท่าน คำสอนของท่านที่ยังเหลืออยู่ครบถ้วน และจะสืบทอดไปอีกต่อไปไม่รู้อีกกี่ปีข้างหน้า ... ทุกวันนี้หนังสือธรรมะของหลวงปู่ไม่รู้กี่ล้านเล่ม ที่ถูกพิมพ์แจกจ่ายไปทั่วโลก ไหนจะซีดี MP3 ให้ดาวน์โหลด เฟซบ๊งเฟซบุค (เฟซบ๊งไม่มีนะครับ - -" เดี๋ยวจะถูกฟ้องว่าแช่งให้'เจ๊งบ๊ง'ซะนี่ ) ไหนจะป้ายธรรมคำสอนสั้นๆของท่าน ที่แขวนทั่วไปตามวัดสาขาของท่านอีกล่ะ ... เห็นมั้ยครับแม้ท่านจะละสังขารไปแล้ว 21 ปี แต่ท่านก็ยังสอนพวกเราอยู่เลย ..นี่แหละครับเมตตาธรรมของครูบาอาจารย์พวกเรา
หลังจากเที่ยวชมพิพิธภัณท์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ผมก็ชวนแฟนไปโรงทานเพื่อไปหาอะไรกินก่อนเที่ยง เนื่องจากวันนี้พวกเราถือศีลแปดกันครับ ไม่(เริ่ม)กินอะไรหลังเที่ยง
โรงทานตอนนี้เริ่มจอแจไปด้วยผู้คน ทั้งชาวบ้านและผู้มาปฏิบัติธรรม พวกที่มาทำโรงทานส่วนใหญ่ก็จะเป็นกลุ่มลูกศิษย์ของวัดสาขา บ้างก็ชาวบ้านแถวนั้น ดูๆไป ก็เป็นภาพที่น่ารักดีครับ ผู้แจกก็ยิ้มแย้มแจ่มใส ผู้รับก็ยกมือไหว้ขอบคุณ บางคนก็ช่วยเป็นเงินไปบ้าง ถึงแม้ตอนนี้แดดจะเริ่มร้อนเพราะใกล้เที่ยงแต่ก็กลับเย็นลงได้เพราะน้ำใจผู้คน