สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
กรณีไม่มีคนตาย...
สิ่งที่เรียกได้ คือ
๑ ค่าเสื่อมราคารถ
๒ ค่ารักษาพยาบาลทั้งในปัจจุบันและในอนาคต (หากมีการรักษาต่อเนื่อง)
๓ ค่าทำกายภาพบำบัด
๔ ค่ารถ หรือค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถ เช่น ใช้รถขายของได้กำไรวันละ ๑๐๐๐ บ. ก็สามารถเรียก ๑๐๐๐ บ.นั้นได้
๕ ค่าขาดการงานในครัวเรือน หมายถึงบาดเจ็บทำงานเองไม่ได้ ต้องจ้างคนมาทำให้
๖ ค่าซ่อมรถทั้งหมด
๗ ค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน เช่น หน้าเสียโฉมจากการถูกชน หรือ อื่นๆ เช่นถูกชนแล้วพิการ แขนขาใช้การได้ไม่เป็นปกติ
๘ ค่าใช้จ่ายในการจ้างลากจูงรถไปซ่อม
๙ ค่าจ้างพยาบาลมาดูแลในขณะเจ็บป่วย
๑๐ ค่าจ้างแรงงาน (เิงินเดือน) ที่ต้องหยุดงาน และไม่ได้รับเงินเดือน
๑๑.. อื่นๆ หากมี
สิ่งที่เรียกไม่ได้ คือ
๑ ค่าผ่อนรถ เพราะแม้ไม่ถูกชนยังไงก็ต้องผ่อน
๒ ค่าภาษีรถ
๓ เบี้ยประกันรถ
๔ ค่าตกใจ เศร้าใจเสียใจ
๕ ดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่ยืมมารักษาตัว (แต่ถ้าเป็นดอกเบี้ยปกติที่คาดหมายได้ ก็เรียกได้)
๖ ค่าผ่อนบ้าน เนื่องจากไม่ได้ทำงานหาเงิน (ตรงนี้จะเรียกได้ในส่วนของเงินเดือนอยู่แล้ว)
๗ ค่าทนายความในการดำเนินการฟ้องคดี (แต่ค่าทนายในชั้นศาลเรียกได้)
๘ ค่าที่ปรึกษาคดี
๙ ค่าเบี้ยประกันรถส่วนที่เพิ่มขึ้น..
๑๐ อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุละเมิด
การฟ้องร้องคู่กรณี ทำได้โดยฟ้อง
๑ ผู้ขับขี่
๒ นายจ้าง
๓ เจ้าของรถ (หากปรากฎว่าเจ้าของรถนั่งมาในรถด้วย)
๔ ประกัน ของคันที่ชน
อายุความในทางละเมิด คือ ๑ ปี โดยฟ้อง คนขับขี่ นายจ้าง เจ้าของรถ
อายุความในการเรียกร้องประกัน คือ ๒ ปี
ถ้าเรามีประกันของเรา เราสามารถฟ้องในส่วนที่เกินจากประกันของเราจ่ายให้แล้วได้ เช่น ประกันซ่อมรถให้เราแล้ว
เราก็ฟ้องในส่วนอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวกับค่าซ่อมรถ
สำหรับค่าซ่อมรถ ประกันของเราจะรับช่วงสิทธิจากเราไปฟ้องอีกที
หรือเรากับประกันเป็นโจทก์ร่วม ฟ้องคู่กรณีทั้งหมดทีเดียวก็ย่อมได้
แต่ว่าประกันของเราจะเป็นโจทก์ร่วมกับเราได้นั้น ต้องปรากฎว่ารับผิดชอบชดใช้ให้เราแล้วบางส่วนก่อน จึงจะมีอำนาจฟ้อง
หากประกันของเรา ยังไม่ชดใช้ให้เราเลย ประกันจะไม่มีอำนาจฟ้อง..
สิ่งที่เรียกได้ คือ
๑ ค่าเสื่อมราคารถ
๒ ค่ารักษาพยาบาลทั้งในปัจจุบันและในอนาคต (หากมีการรักษาต่อเนื่อง)
๓ ค่าทำกายภาพบำบัด
๔ ค่ารถ หรือค่าขาดประโยชน์ในการใช้รถ เช่น ใช้รถขายของได้กำไรวันละ ๑๐๐๐ บ. ก็สามารถเรียก ๑๐๐๐ บ.นั้นได้
๕ ค่าขาดการงานในครัวเรือน หมายถึงบาดเจ็บทำงานเองไม่ได้ ต้องจ้างคนมาทำให้
๖ ค่าซ่อมรถทั้งหมด
๗ ค่าเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน เช่น หน้าเสียโฉมจากการถูกชน หรือ อื่นๆ เช่นถูกชนแล้วพิการ แขนขาใช้การได้ไม่เป็นปกติ
๘ ค่าใช้จ่ายในการจ้างลากจูงรถไปซ่อม
๙ ค่าจ้างพยาบาลมาดูแลในขณะเจ็บป่วย
๑๐ ค่าจ้างแรงงาน (เิงินเดือน) ที่ต้องหยุดงาน และไม่ได้รับเงินเดือน
๑๑.. อื่นๆ หากมี
สิ่งที่เรียกไม่ได้ คือ
๑ ค่าผ่อนรถ เพราะแม้ไม่ถูกชนยังไงก็ต้องผ่อน
๒ ค่าภาษีรถ
๓ เบี้ยประกันรถ
๔ ค่าตกใจ เศร้าใจเสียใจ
๕ ดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบที่ยืมมารักษาตัว (แต่ถ้าเป็นดอกเบี้ยปกติที่คาดหมายได้ ก็เรียกได้)
๖ ค่าผ่อนบ้าน เนื่องจากไม่ได้ทำงานหาเงิน (ตรงนี้จะเรียกได้ในส่วนของเงินเดือนอยู่แล้ว)
๗ ค่าทนายความในการดำเนินการฟ้องคดี (แต่ค่าทนายในชั้นศาลเรียกได้)
๘ ค่าที่ปรึกษาคดี
๙ ค่าเบี้ยประกันรถส่วนที่เพิ่มขึ้น..
๑๐ อื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุละเมิด
การฟ้องร้องคู่กรณี ทำได้โดยฟ้อง
๑ ผู้ขับขี่
๒ นายจ้าง
๓ เจ้าของรถ (หากปรากฎว่าเจ้าของรถนั่งมาในรถด้วย)
๔ ประกัน ของคันที่ชน
อายุความในทางละเมิด คือ ๑ ปี โดยฟ้อง คนขับขี่ นายจ้าง เจ้าของรถ
อายุความในการเรียกร้องประกัน คือ ๒ ปี
ถ้าเรามีประกันของเรา เราสามารถฟ้องในส่วนที่เกินจากประกันของเราจ่ายให้แล้วได้ เช่น ประกันซ่อมรถให้เราแล้ว
เราก็ฟ้องในส่วนอื่น ซึ่งไม่เกี่ยวกับค่าซ่อมรถ
สำหรับค่าซ่อมรถ ประกันของเราจะรับช่วงสิทธิจากเราไปฟ้องอีกที
หรือเรากับประกันเป็นโจทก์ร่วม ฟ้องคู่กรณีทั้งหมดทีเดียวก็ย่อมได้
แต่ว่าประกันของเราจะเป็นโจทก์ร่วมกับเราได้นั้น ต้องปรากฎว่ารับผิดชอบชดใช้ให้เราแล้วบางส่วนก่อน จึงจะมีอำนาจฟ้อง
หากประกันของเรา ยังไม่ชดใช้ให้เราเลย ประกันจะไม่มีอำนาจฟ้อง..
แสดงความคิดเห็น
บาดเจ็บจากรถชน เรียกค่าเสียหายอะไรได้บ้างคะ
สามีเราพยายามหักหลบแต่ไม่พ้น รถเราถูกชนข้างที่นั่งข้าง ๆ คนขับเต็ม ๆ
ฝ่ายคู่กรณีถูกตำรวจแจ้งข้อหาขับรถโดยประมาณทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บ
**แต่ฝ่ายคู่กรณียอมรับความผิดค่ะ แต่เบี่ยงประเด็นว่าตนเองหักหลบรถมอเตอร์ไซด์
จึงทำให้มาชนรถเรา (แต่จริงๆเค้ายอมรับกับครอบครัวเราว่าเค้าหลับในค่ะ)
---ครอบครัวเราบาดเจ็บดังนี้---
1.สามีเรา ที่เป็นผู้ขับรถ ฟกช้ำ จากแรงกระแทก ทำกายภาพที่ รพ.แล้ว
2.เราค่ะ ที่เป็นผู้นั่งข้างคนขับ
-กรามหัก หมอทำการผ่าตัดกราม และใส่พลาสติก ไทเทเนียม ที่กราม
กินได้แต่อาหารเหลวเป็นเวลา 7-8 สัปดาห์ /ผลที่ตามมาคือ คางจะเบี้ยวเล็กน้อยไม่เหมือนคางเดิม
ยังไม่สามารถพูดได้ชัดเจนเหมือนเดิม เนื่องจากแผลยังไม่หายสนิท หมอให้พักรักษาตัว 2 เดือน
-ขากรรไกรค้าง อ้าปากได้เพียงนิดเดียว ติดตามอาการต่อ ไม่เช่นนั้นต้องผ่าตัดอีกครั้ง เพื่อง้างขากรรไกร
-ฟันแตก ร้าว บิ่น หลายซี่ จากการกระแทก
3.ลูกเราค่ะ อายุ 7 เดือนกว่า
-กระโหลกศรีษะ ร้าว
-เลือดคั่งในสมอง ต้องกินยากันชัก เนื่องจากลูกชักตอนเกิดเหตุ และต้องระวังอาการชักนี้ไปตลอด
-แขนหัก ต้องใส่เฝือก พอถอดเฝือกออก เค้ายังไม่สามารถ นั่ง คลาน เกาะยืนได้ด้วยตนเองเหมือนเดิม
หมอบอก อาจต้องใช้เวลาฟื้นตัวสักพัก
+++ส่วนรถยนต์เราพังยับค่ะ คงซ่อมไม่ต่ำกว่า 5-6 เดือน+++
ตอนรักษาตัวอยู่ รพ.หมอระบุเราและลูกเรียกว่าอาการสาหัส รวมนอน รพ.ทั้งหมด 14 วัน
ค่าใช้จ่ายทาง รพ.เบิกกับ พรบ.ทั้งหมด และระบุว่า พรบ.เต็มแล้วด้วย และมีค่าใช้จ่ายที่เกิน
ฝ่ายคู่กรณีมาชำระส่วนเกินให้ 2,400 บาท
***แต่หมอนัดติดตามอาการเรื่อย ๆ ทั้งของเรา และของลูก ซึ่งค่าใช้จ่ายเวลาไปหาหมอนี้ ฝ่ายคู่กรณีให้เราจ่ายเองไปก่อน
แล้วค่อยให้เรารวบรวมเอาไปเบิกกับประกันคู่กรณี เพราะเบิกกับ พรบ.ไม่ได้แล้ว***
ตลอดเวลาการรักษาตัวใน รพ. คู่กรณีมาเยี่ยมเราเพียงแค่ 2 ครั้ง หลังออกจาก รพ.
ไม่เคยโทรถามอาการเราอีกเลย เราออกจาก รพ.ได้ 15 วันแล้ว
เวลาเราโทรไป เพื่อบอกเค้าว่าเราต้องมีการรักษาตัวต่อ เราคงไม่สามารถชำระค่าใช้จ่ายได้เองทุกครั้ง
เค้าจะโยนเรื่องให้ประกันเสมอ ระยะหลัง เวลาโทรไปคนรับจะบอกว่าเบอร์นี้ไม่มีคนชื่อนี้แล้ว หรือรับแล้วไม่พูด เสียงเงียบตลอด
ตอนนี้เราเริ่มกังวลแล้วค่ะ เพราะเริ่มติดต่อคู่กรณีไม่ได้เลย กลัวว่าค่าใช้จ่ายที่เราออกเองเวลาไปหาหมอ
เพื่อติดตามอาการเราจะไม่ได้คืนด้วย
เพิ่มเติมค่ะ --เราและสามีเป็นพนักงานบริษัท เราต้องลาหยุดงาน 2 เดือนเพื่อพักรักษาตัว /สามีเราต้องลาหยุดงานเพื่อดูแลลูก
****เรารบกวนสอบถามหน่อยค่ะ ว่าเราสามารถเรียกร้องค่าเสียหายอะไรได้บ้างคะ จากคู่กรณี
ประกันรถของทั้งคู่เป็นประกันชั้น 1 ค่ะ
-----ขอบพระคุณทุกท่านมาก ๆ ค่ะ-----