คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ในแง่ความชัดตื้นชัดลึก นั้น สายตามนุษย์ก็มีครับ เพียงแต่ไม่ได้ใช้หลักของรูรับแสงใหญ่เล็ก ใช้หลักของการจ้อง (ลองดูเองก็ได้ครับ) ถ้าจ้องของใกล้ตัว เราก็จะพบว่า ของที่อยู่ไกลออกไปจะเบลอ ถ้าจ้องของไกล ก็จะพบว่า ของที่อยู่ใกล้จะเบลอ เหตุที่เป็นเช่นนั้นเพราะ เวลาเราจ้องมองสิ่งใดก็ตาม แสงจะตกลงที่ fovea centralis (ตำแหน่งหนึ่งของเรตินา) ซึ่งจะเป็นตำแหน่งรับแสงที่ชัดเจนที่สุด บริเวณนอกจุดนี้จะไม่ชัด เราจะใช้วิธีการกรอกตามองวัตถุ เพื่อให้แสงที่สะท้อนจากวัตถุที่มองนั้นตกลงที่ fovea นั่นเองครับ
แต่ก็ยังมี หลักบางอย่างคล้ายกับกล้องคือ เวลาแสงมาก รูม่านตาจะหดเล็กลง เวลาแสงน้อย รูม่านตาจะขยายใหญ่ขึ้น แต่รูม่านตาที่หดหรือขยายนั้นไม่ได้มีผลต่อความชัดตื้นชัดลึก แต่มีผลต่อปริมาณแสงที่เข้าไปกระทบเรตินาเท่านั้น (เพราะร่างกายต้องป้องกันแสงกระทบเรตินามากเกินไป) อีกทั้งหากหยอดยาขยายรูม่านตา ทำให้รูม่านตาขยาย (จักษุแพทย์ใช้เพื่อสำหรับตรวจลูกตาหลังเลนส์ และ เรตินา) จะพบว่าขณะที่ยายังออกฤทธิ์ คนไข้จะสายตาเบลอ มองอะไรไม่ชัดเลย สักอย่าง !!! โฟกัสภาพใดๆไม่ได้
แต่ก็ยังมี หลักบางอย่างคล้ายกับกล้องคือ เวลาแสงมาก รูม่านตาจะหดเล็กลง เวลาแสงน้อย รูม่านตาจะขยายใหญ่ขึ้น แต่รูม่านตาที่หดหรือขยายนั้นไม่ได้มีผลต่อความชัดตื้นชัดลึก แต่มีผลต่อปริมาณแสงที่เข้าไปกระทบเรตินาเท่านั้น (เพราะร่างกายต้องป้องกันแสงกระทบเรตินามากเกินไป) อีกทั้งหากหยอดยาขยายรูม่านตา ทำให้รูม่านตาขยาย (จักษุแพทย์ใช้เพื่อสำหรับตรวจลูกตาหลังเลนส์ และ เรตินา) จะพบว่าขณะที่ยายังออกฤทธิ์ คนไข้จะสายตาเบลอ มองอะไรไม่ชัดเลย สักอย่าง !!! โฟกัสภาพใดๆไม่ได้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
หมอตามาตอบครับ
กลไกการโฟกัสภาพของลูกตาซับซ้อนกว่าในกล้องมากครับ มีหลายกระบวนการซ้อนทับกัน เพื่อจุดประสงค์เฉพาะอย่าง แต่บางทีผลออกมาก็คล้ายๆกันบ้างครับ คร่าวๆนะครับ เรียงจากด้านหน้าสุดไปถึงด้านหลังครับ
-น้ำตา เรียกภาษาเท่ๆว่า tear film ถือเป็นเลนส์อีกชิ้นที่มีผลต่อการมองภาพครับ สังเกตว่าบางทีเวลาเราตาแห้ง เราก็มองไม่ค่อยชัดครับ
-กระจกตา เปรียบเหมือนเลนส์ชิ้นใหญ่ มีค่า power ถึง +43 diopter คือเบี่ยงเบนแสงเข้าตา และต้องคงความใสไว้ตลอดครับ
-ช่องหน้าลูกตา เหมือนห้องมืดที่ต้องมีขนาดที่เหมาะสมให้แสงผ่านไปได้
-รูม่านตา ที่กำลังคุยกันครับ เปรียบเหมือน diaphragm ของเลนส์กล้อง หดขยายได้ แล้วแต่ปริมาณแสงที่เข้ามาในตา และแล้วแต่ "ระยะในการมอง" ด้วยครับ เดี๋ยวอธิบายต่อครับ กลไกการควบคุมขนาดรูม่านตา ขึ้นตรงกับเส้นประสาทสมองครับ เป็นกลไกอัตโนมัติ มันเจ๋งกว่า f-stop ของกล้องครับ
-เลนส์ตา มีกำลังเบี่ยงเบนแสง +20 diopter ครับ ถูกยึดกับลูกตาด้วย zonule ครับ ที่เจ๋งกว่าเลนส์กล้องมากๆคือ มันป่องแฟบตัวเองได้ครับ เปรียบเหมือนระบบ AF ในกล้อง และที่สำคัญ...
... มันรวมพลังกับรูม่านตา และกล้ามเนื้อลูกตา เกิดกระบวนการมองใกล้ขึ้นครับ... Accommodation reflex... คือ เวลาเราเพ่งมองใกล้ เช่นมองจอคอมพ์ หรืออ่านหนังสือ จะเกิด 3 สิ่งขึ้น พร้อมๆกัน คือ 1•เลนส์ตาป่อง ... 2• รูม่านตาหด และ 3•ตากลอกเข้าใน
... ลูกตาสุดยอดไหมล่ะครับ มีระบบวัดแสงและ AF รวมถึงปรับเป็น macro mode อัตโนมัติ โดยใช้การสั่งงานทีเดียว เร็วมากครับ....
แต่ๆๆๆๆ Accommodation reflex นี้ จะหมดพลังอย่างรวดเร็วมาก เมื่ออายุเลย 40 ปีครับ จริงๆมันค่อยๆลดลงเรื่อยๆครับ สังเกตว่าเด็กๆจะเพ่งมองใกล้ๆได้เก่งกว่าผู้ใหญ่ พอเริ่มแก่ ทีนี้มองใกล้ไม่ได้ละ ต้องยืดแขนออก ถึงจะอ่านออก
... แค่นี้ก่อนนะครับ พอดีแบตโทรจะหมดละ ... ไว้ถึ. บ้านจะพิมพ์ในคอมพ์เพิ่มเติมครับ
กลไกการโฟกัสภาพของลูกตาซับซ้อนกว่าในกล้องมากครับ มีหลายกระบวนการซ้อนทับกัน เพื่อจุดประสงค์เฉพาะอย่าง แต่บางทีผลออกมาก็คล้ายๆกันบ้างครับ คร่าวๆนะครับ เรียงจากด้านหน้าสุดไปถึงด้านหลังครับ
-น้ำตา เรียกภาษาเท่ๆว่า tear film ถือเป็นเลนส์อีกชิ้นที่มีผลต่อการมองภาพครับ สังเกตว่าบางทีเวลาเราตาแห้ง เราก็มองไม่ค่อยชัดครับ
-กระจกตา เปรียบเหมือนเลนส์ชิ้นใหญ่ มีค่า power ถึง +43 diopter คือเบี่ยงเบนแสงเข้าตา และต้องคงความใสไว้ตลอดครับ
-ช่องหน้าลูกตา เหมือนห้องมืดที่ต้องมีขนาดที่เหมาะสมให้แสงผ่านไปได้
-รูม่านตา ที่กำลังคุยกันครับ เปรียบเหมือน diaphragm ของเลนส์กล้อง หดขยายได้ แล้วแต่ปริมาณแสงที่เข้ามาในตา และแล้วแต่ "ระยะในการมอง" ด้วยครับ เดี๋ยวอธิบายต่อครับ กลไกการควบคุมขนาดรูม่านตา ขึ้นตรงกับเส้นประสาทสมองครับ เป็นกลไกอัตโนมัติ มันเจ๋งกว่า f-stop ของกล้องครับ
-เลนส์ตา มีกำลังเบี่ยงเบนแสง +20 diopter ครับ ถูกยึดกับลูกตาด้วย zonule ครับ ที่เจ๋งกว่าเลนส์กล้องมากๆคือ มันป่องแฟบตัวเองได้ครับ เปรียบเหมือนระบบ AF ในกล้อง และที่สำคัญ...
... มันรวมพลังกับรูม่านตา และกล้ามเนื้อลูกตา เกิดกระบวนการมองใกล้ขึ้นครับ... Accommodation reflex... คือ เวลาเราเพ่งมองใกล้ เช่นมองจอคอมพ์ หรืออ่านหนังสือ จะเกิด 3 สิ่งขึ้น พร้อมๆกัน คือ 1•เลนส์ตาป่อง ... 2• รูม่านตาหด และ 3•ตากลอกเข้าใน
... ลูกตาสุดยอดไหมล่ะครับ มีระบบวัดแสงและ AF รวมถึงปรับเป็น macro mode อัตโนมัติ โดยใช้การสั่งงานทีเดียว เร็วมากครับ....
แต่ๆๆๆๆ Accommodation reflex นี้ จะหมดพลังอย่างรวดเร็วมาก เมื่ออายุเลย 40 ปีครับ จริงๆมันค่อยๆลดลงเรื่อยๆครับ สังเกตว่าเด็กๆจะเพ่งมองใกล้ๆได้เก่งกว่าผู้ใหญ่ พอเริ่มแก่ ทีนี้มองใกล้ไม่ได้ละ ต้องยืดแขนออก ถึงจะอ่านออก
... แค่นี้ก่อนนะครับ พอดีแบตโทรจะหมดละ ... ไว้ถึ. บ้านจะพิมพ์ในคอมพ์เพิ่มเติมครับ
ความคิดเห็นที่ 11
มาต่อแล้วครับ
แล้วก็มาถึงส่วนที่สำคัญ เปรียบเหมือนฟิล์ม หรือ sensor ในกล้องดิจิตอล
จอตา หรือ เรติน่า ครับ
จอตามีความหนาที่สุด ประมาณครึ่งมม. หรือ 500 ไมครอน เท่านั้นครับ แต่ประกอบด้วยเซลล์ และเส้นประสาทต่างๆ 10 ชั้น โดยชั้นที่คล้ายกับ sensor ของกล้องคือ Photoreceptor
Photoreceptor มี 2 ชนิด คือ cone และ rod cell
Cone cell จะมี 3 ชนิด ที่ไวต่อความยาวคลื่่นแสงที่ไม่เท่ากัน ก็คืออยู่ในช่วงแดง เขียว น้ำเงิน
Rod cell จะไวต่อแสงมากกว่า cone ทำหน้าที่รับแสงในที่ที่มีแสงน้อย แต่ไม่สามารถแยกแยะแสงได้ เวลาเราเข้าที่มืด จึงเห็นสีต่างๆไม่ชัดเจน เนื่องจากแสงสะท้อนวัตถุมากระทบตาเราน้อย และแสงน้อยๆ กระตุ้น cone cell ได้ไม่ค่อยดีครับ
สิ่งที่น่าสนใจมากๆคือ จุดที่เห็นภาพชัดที่สุด เรียกว่า Fovea centralis เป็นจุดตรงกลางที่แสงผ่านรูม่านตามาตรงๆ จะมาตกที่จุดนี้ และเป็นเหมือน จุดโฟกัสที่ทำให้เกิดภาพที่ชัดที่สุดด้วยครับ
โดยแสงที่จะกระตุ้น cone cell บริเวณ fovea ได้ดีนั้น ต้องเป็นแสงที่ตก "ตั้งฉาก" .... อันนี้เหมือนระบบของกล้องมากๆ ครับ ... การออกแบบระบบเลนส์ และ sensor จะต้องพยายามให้แสงตกตั้งฉากกับ sensor ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด และแสงสีชัดเจน ก็เช่นกันว่า ตรงกลางภาพจะชัดที่สุด แต่ตรงขอบๆออกไปจะยิ่งเบลอ ... ยิ่งเปิด f-stop ให้กว้าง ที่ขอบก็จะยิ่งเบลอได้มากกว่า...ก็เหมือนกับรูม่านตาที่เปิดกว้าง ภาพที่ขอบๆของจอตาก็จะเบลอได้มากกว่าเช่นกัน แต่เราก็ไม่ค่อยได้สังเกตนัก เพราะเราใช้ fovea ในการมองภาพเป็นหลัก แสงที่ตกบน fovea ส่วนใหญ่มักจะเป็นแสงที่ตั้งฉาก เพราะระบบ optic ในตาเรา ออกแบบมาไว้เป็นอย่างดี ... คนที่อธิบายเรื่องนี้ไว้ คือ Stiles และ Crawford ทำให้เรียกว่า Stiles-Crawford effect
แล้วก็มาถึงส่วนที่สำคัญ เปรียบเหมือนฟิล์ม หรือ sensor ในกล้องดิจิตอล
จอตา หรือ เรติน่า ครับ
จอตามีความหนาที่สุด ประมาณครึ่งมม. หรือ 500 ไมครอน เท่านั้นครับ แต่ประกอบด้วยเซลล์ และเส้นประสาทต่างๆ 10 ชั้น โดยชั้นที่คล้ายกับ sensor ของกล้องคือ Photoreceptor
Photoreceptor มี 2 ชนิด คือ cone และ rod cell
Cone cell จะมี 3 ชนิด ที่ไวต่อความยาวคลื่่นแสงที่ไม่เท่ากัน ก็คืออยู่ในช่วงแดง เขียว น้ำเงิน
Rod cell จะไวต่อแสงมากกว่า cone ทำหน้าที่รับแสงในที่ที่มีแสงน้อย แต่ไม่สามารถแยกแยะแสงได้ เวลาเราเข้าที่มืด จึงเห็นสีต่างๆไม่ชัดเจน เนื่องจากแสงสะท้อนวัตถุมากระทบตาเราน้อย และแสงน้อยๆ กระตุ้น cone cell ได้ไม่ค่อยดีครับ
สิ่งที่น่าสนใจมากๆคือ จุดที่เห็นภาพชัดที่สุด เรียกว่า Fovea centralis เป็นจุดตรงกลางที่แสงผ่านรูม่านตามาตรงๆ จะมาตกที่จุดนี้ และเป็นเหมือน จุดโฟกัสที่ทำให้เกิดภาพที่ชัดที่สุดด้วยครับ
โดยแสงที่จะกระตุ้น cone cell บริเวณ fovea ได้ดีนั้น ต้องเป็นแสงที่ตก "ตั้งฉาก" .... อันนี้เหมือนระบบของกล้องมากๆ ครับ ... การออกแบบระบบเลนส์ และ sensor จะต้องพยายามให้แสงตกตั้งฉากกับ sensor ให้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้ เพื่อให้ได้ภาพที่คมชัด และแสงสีชัดเจน ก็เช่นกันว่า ตรงกลางภาพจะชัดที่สุด แต่ตรงขอบๆออกไปจะยิ่งเบลอ ... ยิ่งเปิด f-stop ให้กว้าง ที่ขอบก็จะยิ่งเบลอได้มากกว่า...ก็เหมือนกับรูม่านตาที่เปิดกว้าง ภาพที่ขอบๆของจอตาก็จะเบลอได้มากกว่าเช่นกัน แต่เราก็ไม่ค่อยได้สังเกตนัก เพราะเราใช้ fovea ในการมองภาพเป็นหลัก แสงที่ตกบน fovea ส่วนใหญ่มักจะเป็นแสงที่ตั้งฉาก เพราะระบบ optic ในตาเรา ออกแบบมาไว้เป็นอย่างดี ... คนที่อธิบายเรื่องนี้ไว้ คือ Stiles และ Crawford ทำให้เรียกว่า Stiles-Crawford effect
ความคิดเห็นที่ 12
เมื่อแสงตกบน photoreceptor ก็จะเกิดกระบวนการทางชีวเคมี เปลี่ยนพลังงานแสง เป็นพลังงานเคมี ส่งเป็นกระแสประสาทไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่สอง ไปที่สมองส่วนหลัง เพราะประมวลผล
สมองก็แสนจะฉลาดล้ำ...พื้นที่ที่ใช้รับข้อมูลจาก fovea จะกินพื้นที่ของสมองกว้างมาก เมื่อเทียบกับขนาดของ fovea และขนาดของเรติน่าโดยรวม
นอกจากนี้ สมองก็จะให้ความสำคัญกับข้อมูลจาก fovea มากกว่าที่อื่น โดยจะเบลอข้อมูลที่มาจากเรติน่าส่วนอื่นลง เรียกว่า Physiologic diplopia ทำให้เราเห็นภาพบริเวณนอก fovea ไม่คมชัดเท่ากับภาพที่ตกบน fovea
...ลึกล้ำไหมล่ะครับ...
ดังนั้น แค่ชัดลึก ชัดตื้น จาก diaphragm ของเลนส์ เทียบไม่ได้กับ ชัดลึก ชัดตื้นที่เกิดจากการมองเห็นจากตาของมนุษย์โลกครับ เพราะมันมีกระบวนการเกิดขึ้นตั้งแต่แสงที่ผ่านเข้ามา หักเห สะท้อนกลับ...ตกกระทบ...ส่งข้อมูล...ประมวลผล...แปลข้อมูล
นี่ยังไม่ได้เล่าถึงว่า คนเรามีสองตา ซึ่งสองตามองเห็นภาพที่ต่างกัน...ทำให้เกิดความเหลื่อมของภาพกัน...และทำให้เกิด "ความลึก" เกิดเป็นภาพ สามมิติ ขึ้นอีกนะครับ
สมองก็แสนจะฉลาดล้ำ...พื้นที่ที่ใช้รับข้อมูลจาก fovea จะกินพื้นที่ของสมองกว้างมาก เมื่อเทียบกับขนาดของ fovea และขนาดของเรติน่าโดยรวม
นอกจากนี้ สมองก็จะให้ความสำคัญกับข้อมูลจาก fovea มากกว่าที่อื่น โดยจะเบลอข้อมูลที่มาจากเรติน่าส่วนอื่นลง เรียกว่า Physiologic diplopia ทำให้เราเห็นภาพบริเวณนอก fovea ไม่คมชัดเท่ากับภาพที่ตกบน fovea
...ลึกล้ำไหมล่ะครับ...
ดังนั้น แค่ชัดลึก ชัดตื้น จาก diaphragm ของเลนส์ เทียบไม่ได้กับ ชัดลึก ชัดตื้นที่เกิดจากการมองเห็นจากตาของมนุษย์โลกครับ เพราะมันมีกระบวนการเกิดขึ้นตั้งแต่แสงที่ผ่านเข้ามา หักเห สะท้อนกลับ...ตกกระทบ...ส่งข้อมูล...ประมวลผล...แปลข้อมูล
นี่ยังไม่ได้เล่าถึงว่า คนเรามีสองตา ซึ่งสองตามองเห็นภาพที่ต่างกัน...ทำให้เกิดความเหลื่อมของภาพกัน...และทำให้เกิด "ความลึก" เกิดเป็นภาพ สามมิติ ขึ้นอีกนะครับ
แสดงความคิดเห็น
สายตามนุษย์ และ กล้องถ่ายรูป ต่างกันหรือไม่
ถ้ากล้องถ่ายรูป เปิดรูรับแสงกว้างๆ จะชัดตื้น คือระยะชัดจะอยู่แค่ใกล้ๆจุดโฟกัส ใกล้หรือไกลกว่านั้นจะเริ่มไม่ชัด
แต่ถ้า เปิดรูรับแสงแคบๆ ระยะชัดจะมากกว่า
แล้วถ้าสายตามนุษย์หละครับ
รูรับแสงกว้างๆ ก็คืออยู่ในที่มืดม่านตาจะขยาย ทำให้มองเห็นระยะชัดตื้น
รูรับแสงแคบๆ ก็คืออยู่ในทีแสงมากๆ ระยะชัดจะมากกว่า
คำถามครับ
สายตามนุษย์ และ กล้องถ่าย เหมือนกันไหมครับในแง่ ระยะชัด