เนื่องจากเมื่อวานนี้ (21 ม.ค.) เป็น "วันซึมเศร้าที่สุดแห่งปี 2013" ทั้งนี้เนื่องจาก ดร.คลิฟ อาร์นัลล์ (Dr. Cliff Arnall) อาจารย์มหาวิทยาลัยคาร์ดีฟชาวอังกฤษ ผู้คิดสูตร Blue Monday ขึ้นเมื่อปี 2005 ซึ่ง เป็นการนำอุณหภูมิ, จำนวนหนี้สิน, สภาพจิตใจหลังทำปณิธานปีใหม่ไม่สำเร็จ มาบวก ลบ คูณ หาร และได้คำตอบว่า "วันที่เศร้าที่สุดในรอบปี คือ วันจันทร์ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมที่มีวันครบ 7 วัน" ซึ่งในปี 2556 วันที่มีคนเศร้ามากที่สุดในรอบปีคือวันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2013
Thailand Only ที่นี่ที่เดียว ทางสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ จึงได้เชิญดาราและนักแสดง แหม่ม อลิษา ขจรไชยกุล ในฐานะผู้ที่เคยเป็น "โรคซึมเศร้า" และสามารถรักษาจนหายได้แล้วนั้นให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับ "โรคซึมเศร้า" ว่ามีสาเหตุจากอะไร ผลเสียอย่างไร และจะมีทางแก้ไขอย่างไร?
แหม่ม อลิษา ขจรไชยกุล เล่าว่า ตนเองเคยเป็น "โรคซึมเศร้า" ซึ่งอาการของโรคนั้นจะทำให้ผู้ที่เป็นไม่อยากที่จะเจอหรือพูดคุยกับใคร และไม่นำตัวเองออกไปหาผู้อื่น เก็บตัวจากผู้อื่น จนทำให้เกิดความคิดฟุ้งซ่าน และด้วยนิสัยส่วนตัวที่ ตนเองเป็นคนที่ไม่ชอบไปพบหมอ และเลือกที่จะรักษาด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด ซึ่งกว่าจะรักษาจนหายได้ ตนเองต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี
แหม่ม อลิษา เล่าต่อว่า สำหรับการรักษาของตนเองนั้น จะเลือกหลีกหนีจากสถานที่ที่ทำให้ตัวเองเป็นทุกข์ หรือรู้สึกไม่สบายใจ โดยจะเร่งออกจากสถานที่นั้นให้เร็ว และเลือกที่จะอยู่กับคนที่เข้าใจในตัวเอง โดยที่ตนจะบอกกับบุคคลที่เข้าใจและอยู่ด้วยว่าปัญหาที่เป็นอยู่คือ ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า จะพูดเรื่องซ้ำๆ เดิมๆ พูดเรื่องความเจ็บช้ำ ปวดร้าว และจะวนเวียนอยู่อย่างนั้น
ในเวลาต่อมา ตนเองเข้าไปพบกับคุณหมอ ซึ่งหลังจากที่รักษาด้วยตนเองมาสักระยะหนึ่ง ทั้งนี้ขอแนะนำสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ว่า อย่าได้กลัวกับการเข้าไปพบแพทย์จิตเวช เพราะปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแค่ รพ.ศรีธัญญา เพียงแห่งเดียว ยังมีคลีนิคด้านจิตเวชอีกหลายแห่งที่สามารถให้คำปรึกษา โดยที่แพทย์จะมีวิธีที่จะดึงความคิดให้ไปอยู่ที่อื่น ไม่ฝักใฝ่อยู่กับปัญหาที่เป็น ทำให้เราสบายใจขึ้น ซึ่งการหาหมอจิตเวชนั้นเป็นเพียงแค่การพูดคุยกัน ให้เรามีความสบายใจและออกมาจากปัญหาที่คิดอยู่ภายในใจ
ทั้งนี้ ตนขอฝากให้ผู้ที่เป็นบุคคลใกล้ชิดคอยสังเกตุุอาการของผู้ที่คาดว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า เบื้องต้นจะมีอาการเก็บตัว ไม่ค่อยพูดคุยสนทนากับใคร สำหรับโรคซึมเศร้านั้นบุคคลรอบข้างไม่ได้ช่วยให้หายได้ แต่สามารถทำให้อาการของโรคนั้นมีความทุเลาลงได้ และอยากฝากให้ "มองทุกอย่างให้เป็นบวก หลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ อย่าไปสนใจคำพูดของคนอื่น มีความสุขกับตัวเอง"
ข่าวจาก : ข่าวสด
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU9EZzBNell3Tnc9PQ==&subcatid=
“10 ปีกับโรคซึมเศร้า“ แหม่ม อลิษา มองชีวิตด้านบวก
เนื่องจากเมื่อวานนี้ (21 ม.ค.) เป็น "วันซึมเศร้าที่สุดแห่งปี 2013" ทั้งนี้เนื่องจาก ดร.คลิฟ อาร์นัลล์ (Dr. Cliff Arnall) อาจารย์มหาวิทยาลัยคาร์ดีฟชาวอังกฤษ ผู้คิดสูตร Blue Monday ขึ้นเมื่อปี 2005 ซึ่ง เป็นการนำอุณหภูมิ, จำนวนหนี้สิน, สภาพจิตใจหลังทำปณิธานปีใหม่ไม่สำเร็จ มาบวก ลบ คูณ หาร และได้คำตอบว่า "วันที่เศร้าที่สุดในรอบปี คือ วันจันทร์ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมกราคมที่มีวันครบ 7 วัน" ซึ่งในปี 2556 วันที่มีคนเศร้ามากที่สุดในรอบปีคือวันจันทร์ที่ 21 มกราคม 2013
Thailand Only ที่นี่ที่เดียว ทางสถานีโทรทัศน์สปริงนิวส์ จึงได้เชิญดาราและนักแสดง แหม่ม อลิษา ขจรไชยกุล ในฐานะผู้ที่เคยเป็น "โรคซึมเศร้า" และสามารถรักษาจนหายได้แล้วนั้นให้สัมภาษณ์ เกี่ยวกับ "โรคซึมเศร้า" ว่ามีสาเหตุจากอะไร ผลเสียอย่างไร และจะมีทางแก้ไขอย่างไร?
แหม่ม อลิษา ขจรไชยกุล เล่าว่า ตนเองเคยเป็น "โรคซึมเศร้า" ซึ่งอาการของโรคนั้นจะทำให้ผู้ที่เป็นไม่อยากที่จะเจอหรือพูดคุยกับใคร และไม่นำตัวเองออกไปหาผู้อื่น เก็บตัวจากผู้อื่น จนทำให้เกิดความคิดฟุ้งซ่าน และด้วยนิสัยส่วนตัวที่ ตนเองเป็นคนที่ไม่ชอบไปพบหมอ และเลือกที่จะรักษาด้วยวิธีธรรมชาติบำบัด ซึ่งกว่าจะรักษาจนหายได้ ตนเองต้องใช้เวลาประมาณ 10 ปี
แหม่ม อลิษา เล่าต่อว่า สำหรับการรักษาของตนเองนั้น จะเลือกหลีกหนีจากสถานที่ที่ทำให้ตัวเองเป็นทุกข์ หรือรู้สึกไม่สบายใจ โดยจะเร่งออกจากสถานที่นั้นให้เร็ว และเลือกที่จะอยู่กับคนที่เข้าใจในตัวเอง โดยที่ตนจะบอกกับบุคคลที่เข้าใจและอยู่ด้วยว่าปัญหาที่เป็นอยู่คือ ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้า จะพูดเรื่องซ้ำๆ เดิมๆ พูดเรื่องความเจ็บช้ำ ปวดร้าว และจะวนเวียนอยู่อย่างนั้น
ในเวลาต่อมา ตนเองเข้าไปพบกับคุณหมอ ซึ่งหลังจากที่รักษาด้วยตนเองมาสักระยะหนึ่ง ทั้งนี้ขอแนะนำสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาเป็นโรคซึมเศร้าอยู่ว่า อย่าได้กลัวกับการเข้าไปพบแพทย์จิตเวช เพราะปัจจุบันไม่ได้มีเพียงแค่ รพ.ศรีธัญญา เพียงแห่งเดียว ยังมีคลีนิคด้านจิตเวชอีกหลายแห่งที่สามารถให้คำปรึกษา โดยที่แพทย์จะมีวิธีที่จะดึงความคิดให้ไปอยู่ที่อื่น ไม่ฝักใฝ่อยู่กับปัญหาที่เป็น ทำให้เราสบายใจขึ้น ซึ่งการหาหมอจิตเวชนั้นเป็นเพียงแค่การพูดคุยกัน ให้เรามีความสบายใจและออกมาจากปัญหาที่คิดอยู่ภายในใจ
ทั้งนี้ ตนขอฝากให้ผู้ที่เป็นบุคคลใกล้ชิดคอยสังเกตุุอาการของผู้ที่คาดว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า เบื้องต้นจะมีอาการเก็บตัว ไม่ค่อยพูดคุยสนทนากับใคร สำหรับโรคซึมเศร้านั้นบุคคลรอบข้างไม่ได้ช่วยให้หายได้ แต่สามารถทำให้อาการของโรคนั้นมีความทุเลาลงได้ และอยากฝากให้ "มองทุกอย่างให้เป็นบวก หลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ อย่าไปสนใจคำพูดของคนอื่น มีความสุขกับตัวเอง"
ข่าวจาก : ข่าวสด
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU9EZzBNell3Tnc9PQ==&subcatid=