ตอนก่อนหน้า
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ตอนที่ 13 ยังไม่จบ -
http://ppantip.com/topic/30054067
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กระทู้รวมทุกตอนที่ผ่านมา -
http://ppantip.com/topic/30017844
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ตอนที่ 14 “จนถึงวันสุดท้ายที่ศิริราช”
8 วันมาแล้วนับจากวันที่หน่องคลอด พวกเรายังคงอยู่ที่โรงพยาบาลกันเช่นเดิม แม้ว่าลูกได้กลับมาพักที่ห้องพักผู้ป่วยกับเราได้ตามปกติแล้วก็ตาม คุณหมอยังขอดูอาการของลูกไปอีก เพื่อให้มั่นใจว่าอาการตัวเหลืองจะไม่กลับมาเยือนอีก และหลังจากนั้นลูกยังต้องรักษาโรคพังผืดใต้ลิ้นก่อน คุณหมอได้ทำการส่งเคสของลูกไปที่คลินิกพังผืดใต้ลิ้น โรงพยาบาลศิริราช ตึกสยามินทร์ ชั้น 5 เพื่อทำการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นโดยที่คุณแม่หน่องจะเป็นคนพาลูกไปรับการรักษาด้วยตัวเอง และผมก็ได้ความรู้ใหม่มาเพิ่มว่า คลินิกพังผืดใต้ลิ้น มีอยู่ที่ศิริราชที่เดียวเท่านั้น ถ้าคุณแม่คนไหนก็ตามต้องการพาลูกมารักษาพังผืดใต้ลิ้น ก็ต้องมาที่ศิริราชเท่านั้นครับ โดยที่จะมีทั้งผู้ป่วยภายในและภายนอกเข้าคิวกันเพื่อให้ลูกได้ทำการรักษา
“โชคดีจังที่หน่องได้มาคลอดที่ศิริราชนี่ เพราะถ้าไม่ได้คลอดที่นี่ เค้าอาจจะไม่มีการมาตรวจเรื่องพังผืดใต้ลิ้นให้ ไอ้เราสองคนก็เป็นพ่อแม่ที่ยังไม่ประสีประสา กว่าจะรู้ว่าลูกกินนมได้ไม่เต็มที่เพราะสาเหตุนี้ ลูกก็คงผอมไปเยอะแล้ว ” ผมแสดงความคิดเห็นให้หน่องฟัง
“พี่ตี้พูดถูกเลย เราโชคดีมากๆเลย ดูหน่องซิ อะไรก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเลย วันก่อนพึ่งโดนคุณพยาบาลดุเอา” หน่องบอก
“ดุเรื่องอะไรเหรอ” ผมถาม
“ก็หน่องชอบถามโน้นถามนี่ตลอดเกี่ยวกับลูก จนคุณพยาบาลมาดุนิดนึงว่า หน่องไม่ได้เตรียมความพร้อมเรื่องพวกนี้มาก่อนคลอดเลยเหรอ” หน่องเล่า
“ก็ไม่ได้เตรียมมาจริงๆละ ยอมรับ แต่เอาแค่ที่หน่องทำมาพี่ว่าดีมากแล้ว เผลอๆหน่องไปอ่านพวกข้อมูลแบบนี้มากๆ เดี๋ยวเครียด ท้องก็มีอาการเกร็งอีก” ผมบอก
“แล้วพยาบาลที่ประจำชั้นนี้เค้าไม่รู้อะไรหรอกว่าหน่องเจออะไรมาตั้งแต่อายุครรภ์ที่ 26 เค้าคงคิดว่าในฐานะว่าที่คุณแม่ควรจะมีการเตรียมตัวดีกว่านี้” ผมแสดงความคิดเห็น
“แต่หน่องก็สุดๆเลยนะ” หน่องบอก
“ใช่พี่รู้ เดี๋ยวเราก็จะรู้เรื่องขึ้นเรื่อยๆเองละ หน่องเองก็เตรียมความพร้อมไปเยอะแล้วนี่” ผมถาม
หน่องพยักหน้า
“ดังนั้นก็ไม่ต้องคิดเยอะ เราดูแลลูกเราที่อยู่ตรงหน้าดีกว่า มีอีกหลายอย่างที่เราจะสอนเขาได้” ผมบอกพร้อมกับมองดูหน่องที่กำลังมองลูกด้วยสายตาแห่งความอ่อนโยน
การจะไปคลินิกพังผืดใต้ลิ้นในขณะที่หน่องยังคงเดินไม่ได้ ก็ต้องนั่งรถเข็น แล้วลงลิฟท์ไปชั้นล่างสุดของอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ เพื่อจะไปที่ตึกสยามินทร์ชั้น 5 เมื่อลิฟท์ลงมาถึงชั้นล่าง บุรุษพยาบาลก็ค่อยๆเข็นหน่องเพื่อไปที่ตึกสยามินทร์
“อ๋อ หน่องอยู่ตึกนี้เองเหรอ” หน่องพูดไปขณะมองไปรอบๆ
ผมจึงนึกขึ้นมาได้ว่า นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 84 วันของหน่องที่ได้ลงมาอยู่ชั้นล่างสุดของตึกที่หน่องอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่ก่อนคลอด
“ลูกคับ ....... เดี๋ยวหม่ามี๊กำลังพาลูกไปผ่าตัดพังผืดที่ลิ้นนะคับ เราอยู่ด้วยกันนะ” หน่องอุ้มลูกไปพูดไป
ลูกเป็นพังผืดใต้ลิ้นแบบ Severe (ขั้นรุนแรง) นั่นหมายความว่าลูกมีเนื้อเยื่อที่ควรจะติดอยู่ตรงโคนลิ้นมันยาวและหนาติดไปจนถึงเกือบปลายลิ้นเลยทีเดียว ซึ่งถ้าไม่มีการรักษา ลูกก็จะไม่สามารถอ้าปากเพื่อทาบกับหัวนมคุณแม่ได้ลึก ไม่สามารถใช้ลิ้นเพื่อช่วยในการดูดน้ำนมจากคุณแม่ได้ และเมื่อโตขึ้นลูกก็จะพูดไม่ชัดด้วยเพราะลิ้นจะกระดกไม่ได้ วิธีเดียวที่ทำได้คือ การผ่าตัดครับ
เมื่อมาถึงที่คลินิกก็พบว่าคนเยอะมากครับ แต่โชคดีที่ว่าคุณหมอที่ผ่าตัดวันนี้ไม่ใช่คุณหมอทั่วๆไป
“วันนี้คุณแม่โชคดีนะค่ะ อาจารย์ใหญ่มาเอง คุณหมอคนนี้เชี่ยวชาญเรื่องนี้มากๆ” พยาบาลประจำคลินิกเล่าให้ฟัง
เราใช้เวลาอยู่ที่คลินิกประมาณ 4 ชั่วโมงได้ การผ่าตัดเรียบร้อยดี พอผ่าตัดเสร็จก็มีการทดลองให้ลูกดูดนมแม่เลย ซึ่งเห็นคุณแม่บอกว่าลูกดูดได้ดีขึ้น ดูดนมแม่ใหญ่เลย
หลังจากที่ลูกได้ทำการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลานับถอยหลังกลับบ้านกันเสียที อาการระบมที่ต้นขาด้านในของหน่องก็เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ ขณะที่ทางพยาบาลก็ให้เราเข้าสู่โหมดเลี้ยงลูกด้วยตัวเองอย่างจริงจัง โดยที่ทางพยาบาลจะเข็นลูกมาให้คุณแม่เลี้ยงเองที่ห้องเลยตลอด 24 ชั่วโมง คือให้ลองเองทุกอย่างหมด ตั้งแต่การให้นม ซึ่งต้องตื่นมาให้นมตลอดเวลา การใส่ผ้าอ้อม พับผ้าอ้อม การดูแลเวลาลูกนอน การอาบน้ำให้ลูก การเช็ดปัสสาวะและอุจจาระของลูก วิธีการสังเกตอาการต่างๆของลูก โดยที่ทางพยาบาลจะให้คำแนะนำและคอยช่วยเหลือ หรือแม้แต่ฝากลูกให้อยู่กับพยาบาลไปเลย ในกรณีที่ทั้งพ่อและแม่ดูแลลูกจนหมดแรงไปแล้วทั้งคู่ การเลี้ยงลูกแรกคลอดนี่ มันเหนื่อยมากนะครับ เพราะลูกจะร้องเป็นระยะๆตลอด แทบไม่มีเวลาได้พักผ่อนเลย
จนถึงวันสุดท้ายวันที่เราได้กลับบ้านเสียที 86 วัน หรือเกือบๆ 3 เดือนกับการใช้ชีวิตในศิริราชในฐานะคุณแม่ที่พร้อมจะทำทุกๆอย่างเพื่อให้ลูกคนนี้เกิดขึ้นมา ผมกับหน่องช่วยกันเก็บข้าวของที่มีอยู่มากมาย อาการเหมือนกับวันที่ย้ายออกจากห้องคลอดพิเศษเลย ดูเยอะไปหมด ผมก็เลยใช้วิธีค่อยๆทยอยขนลงไปก่อน พอจะกลับจริงๆจะได้ไม่เป็นบ้าหอบฟางไปซะก่อน และระหว่างที่ค่อยๆเก็บกันอยู่นั้นทางพยาบาลก็เดินเข้ามาที่ห้อง
“เดี๋ยวขอให้คุณพ่อคุณแม่ไปพบคุณหมอที่แผนกเด็กหน่อยนะค่ะ” พยาบาลบอก
“มีอะไรหรือเปล่าครับ” ผมถาม
“เห็นว่าจะมีสรุปเรื่องผลเลือดของน้องเค้าให้ฟังค่ะ” พยาบาลตอบ
ผมกับหน่องมองหน้ากันด้วยความไม่ค่อยเข้าใจว่าผลเลือดอะไร ทำไมไม่เห็นมีใครบอกมาก่อนว่าต้องรอผลเลือดอะไรอีก
“เป็นเลือดที่เจาะมาตอนที่น้องกัตส์มีภาวะตัวเหลืองค่ะ ผลโดยละเอียดออกมาแล้ว” พยาบาลอธิบาย
ผมกับหน่องก็ลงมาที่ชั้น 2 ของตึก ซึ่งเป็นทีๆเดียวกับที่หน่องมาให้นมลูกในช่วงที่ลูกมีภาวะตัวเหลืองและต้องได้รับการฉายแสงนั่นเอง อย่างที่ผมเคยบอกครับว่า พื้นที่ตรงนี้ผมอยู่ได้แค่หน้าประตูเท่านั้น ผู้ชายห้ามเข้าเลยครับเพราะมีเฉพาะคุณแม่ที่จะมาให้นมลูกเท่านั้นถึงเข้าไปได้ แต่คราวนี้พยาบาลให้ผมและหน่องเดินเข้าไปเลย พยาบาลพาผมกับหน่องเข้าไปที่ห้องๆหนึ่ง
“พี่ตี้ห้องนี้ละ ที่หน่องต้องมาให้นมลูก” หน่องรีบบอก
ห้องมันดูเล็กจริงๆครับ ผมลองจินตนาการต่อเวลาที่หน่องบอกว่า มีคุณแม่มาให้นมลูกจนเต็มห้องนั้น มันต้องเป็นห้องที่อึดอัดพอสมควรเลย เสียงเด็กร้อง เสียงคุณแม่คุยกับลูกรับรองได้ยินกันหมดแน่นอน เฮ้อ! คิดแล้วก็รู้สึกเห็นใจเวลาที่มีคุณแม่มาให้นมลูกแต่ลูกไม่ยอมดูด ลูกง่วงนอนเพราะอาการตัวเหลือง ขณะที่อาจจะเห็นคุณแม่อีกคน ลูกดูดเอาดูดเอา มันเป็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นได้ในห้องเล็กๆห้องนี้
พวกเรารออยู่ในห้องนั้นสักพักก็มีคุณหมอคนหนึ่งเดินเข้ามา
“ขอโทษนะคะที่ต้องให้รอ” คุณหมอบอก
“หลังจากที่ทางน้องกัตส์มีภาวะตัวเหลืองและได้ทำการฉายแสงไปแล้ว ทางเราก็นำเลือดของน้องกัตส์ไปตรวจอย่างละเอียด เพื่อจะได้รู้ต้นตอของปัญหาจริงๆ” คุณหมอแจกแจง
“ตัวเหลืองของเด็กเกิดได้หลายสาเหตุด้วยกัน เช่น เกิดจากเลือดแม่กับเลือดลูกอยู่คนละกลุ่มกัน ก็สามารถเป็นสาเหตุของการที่ลูกมีภาวะตัวเหลืองได้” คุณหมออธิบาย
“แต่ในกรณีของน้องกัตส์ไม่ได้เกิดจากเลือดคนละกลุ่มกัน แต่เกิดจากโรคเลือด G6PD” คุณหมอบอก
“ชื่ออะไรนะครับ” ผมถามคุณหมออีกครั้งเนื่องจากไม่แน่ใจว่ามันคืออะไรและตัวผมเองพึ่งเคยได้ยินชื่อนี้เป็นครั้งแรกด้วยซ้ำไป
“G6PD ค่ะ” คุณหมอพูดย้ำอีกที
“ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กผู้ชาย เม็ดเลือดแดงจะมีการแตกง่าย ทำให้เกิดภาวะซีดขึ้นถ้าน้องเค้าไม่สบายก็จะเป็นหนัก ถ้าเป็นมากก็อาจจะถึงช็อคได้” คุณหมออธิบาย
ผมเหลียวไปมองหน้าหน่องเล็กน้อย ผมก็เห็นแล้วว่าหน้าหน่องดูไม่สู้ดีเลย หน่องคงไม่อยากได้ยินอะไรที่แย่ๆอีกแล้วโดยเฉพาะวันนี้ วันที่กำลังจะกลับบ้าน
“น้องกัตส์เป็น G6PD ได้ยังไงครับ” ผมหันไปถามคุณหมอ
“มันเป็นโรคทางพันธุกรรม มีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ผ่านทางโครโมโซมเอกซ์ ในกรณีนี้มาจากทางคุณแม่ค่ะ” คุณหมอบอก
“โอกาสหายก็มีค่ะ ประมาณ 10%เด็กจะหายจากโรคนี้เมื่ออายุ 5 ปี” คุณหมอให้กำลังใจ
“ต้องรักษาลูกยังไงครับ” ผมถามด้วยความรู้สึกหดหู่ใจอย่างบอกไม่ถูก
“หลังจากที่น้องกัตส์ได้ทำการรักษาภาวะตัวเหลืองไปแล้ว ทารกก็จะแข็งแรงเติบโตได้เป็นปกติ ขอให้หลีกเลี่ยงยาและอาหารที่ทำให้มีการสลายของเม็ดเลือดแดง เช่น ไม่ให้ทานถั่วปากอ้าหรือมะรุม หรือยาบางอย่าง ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ไม่เกิดปัญหาใด ๆ” คุณหมอตอบด้วยเสียงที่เรียบง่าย ฟังดูไม่น่ากลัวอะไร
“เวลาไม่สบายไปหาหมอต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอว่าเป็นโรคนี้ ที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์ และไม่ซื้อยากินเอง” คุณหมอเตือน
“แล้วก็อย่าไปทำให้น้องเค้าอยู่ในภาวะเครียด ความเครียดก็จะไปกระตุ้นอาการของโรคได้ ” คุณหมอบอก
“เม็ดเลือดแดงแตกง่ายหมายความว่า ต้องระวังไม่ให้ลูกมีแผลเลือดออกใช่ไหมครับ” ผมถามคุณหมอ
“ไม่เกี่ยวกันค่ะ การเป็น G6PD ไม่ได้หมายความว่าเลือดจะออกเยอะเวลามีแผลเลือดไหล แต่เวลาที่เด็กไม่สบายเป็นไข้ก็จะไม่สบายเป็นไข้สูงมากกว่าคนอื่น อาจจะถึงกับช็อคได้เพราะเม็ดเลือดแดงมีการแตกตัวมากกว่าปกติ” คุณหมออธิบาย
ผมกับหน่องได้แต่อึ้งกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ................................ นี่คือบทพิสูจน์อะไรอีกหนอ
“ไม่ต้องวิตกกังวลนะคะ ให้เลี้ยงลูกเหมือนเด็กปกติทั่วไปเพียงแต่ให้ทราบไว้ว่าลูกเป็นภาวะนี้ และหลีกเลี่ยงสารที่เป็นอันตรายต่อเม็ดเลือดแดง เช่น ยากลุ่มซัลฟา แอสไพริน ลูกเหม็น ถั่วปากอ้า เป็นต้น และถ้าลูกมีไข้ให้ดูแลลดไข้และรักษาตามสาเหตุเพื่อไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก โดยทั่วไปผู้ที่มีภาวะนี้สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป แต่ให้ทราบว่าตัวเองมีภาวะนี้อยู่และหลีกเลี่ยงยาและสารบางอย่างที่แพทย์แนะนำ” คุณหมอให้คำแนะนำ
“ทางศิริราชจะมีแจกคู่มือเล็กๆที่เกี่ยวกับ G6PD นี้ไว้ให้ด้วย ทุกครั้งที่ไปพบแพทย์เวลาลูกไม่สบายควรพกติดตัวและแสดงให้ทางแพทย์ดูนะค่ะ ทางแพทย์จะได้สั่งยาที่ไม่มีผลข้างเคียงให้” คุณหมอบอก
“ยังไงวันนี้น้องกัตส์ก็กลับบ้านได้ ไม่ต้องห่วงแล้วนะคะ” คุณหมอยิ้มและขอตัวไปดูแลคนไข้คนอื่นต่อไป
เราทั้งคู่ก็กลับกันมาที่ห้องพักผู้ป่วยห้องเดิม ......................... หน่องแสดงอาการซึมๆอย่างเห็นได้ชัด
ครั้งหนึ่งที่ศิริราช - ตอนที่ 14 “จนถึงวันสุดท้ายที่ศิริราช” <<ตอนจบ>>
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ตอนที่ 13 ยังไม่จบ - http://ppantip.com/topic/30054067
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
กระทู้รวมทุกตอนที่ผ่านมา - http://ppantip.com/topic/30017844
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ตอนที่ 14 “จนถึงวันสุดท้ายที่ศิริราช”
8 วันมาแล้วนับจากวันที่หน่องคลอด พวกเรายังคงอยู่ที่โรงพยาบาลกันเช่นเดิม แม้ว่าลูกได้กลับมาพักที่ห้องพักผู้ป่วยกับเราได้ตามปกติแล้วก็ตาม คุณหมอยังขอดูอาการของลูกไปอีก เพื่อให้มั่นใจว่าอาการตัวเหลืองจะไม่กลับมาเยือนอีก และหลังจากนั้นลูกยังต้องรักษาโรคพังผืดใต้ลิ้นก่อน คุณหมอได้ทำการส่งเคสของลูกไปที่คลินิกพังผืดใต้ลิ้น โรงพยาบาลศิริราช ตึกสยามินทร์ ชั้น 5 เพื่อทำการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นโดยที่คุณแม่หน่องจะเป็นคนพาลูกไปรับการรักษาด้วยตัวเอง และผมก็ได้ความรู้ใหม่มาเพิ่มว่า คลินิกพังผืดใต้ลิ้น มีอยู่ที่ศิริราชที่เดียวเท่านั้น ถ้าคุณแม่คนไหนก็ตามต้องการพาลูกมารักษาพังผืดใต้ลิ้น ก็ต้องมาที่ศิริราชเท่านั้นครับ โดยที่จะมีทั้งผู้ป่วยภายในและภายนอกเข้าคิวกันเพื่อให้ลูกได้ทำการรักษา
“โชคดีจังที่หน่องได้มาคลอดที่ศิริราชนี่ เพราะถ้าไม่ได้คลอดที่นี่ เค้าอาจจะไม่มีการมาตรวจเรื่องพังผืดใต้ลิ้นให้ ไอ้เราสองคนก็เป็นพ่อแม่ที่ยังไม่ประสีประสา กว่าจะรู้ว่าลูกกินนมได้ไม่เต็มที่เพราะสาเหตุนี้ ลูกก็คงผอมไปเยอะแล้ว ” ผมแสดงความคิดเห็นให้หน่องฟัง
“พี่ตี้พูดถูกเลย เราโชคดีมากๆเลย ดูหน่องซิ อะไรก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเลย วันก่อนพึ่งโดนคุณพยาบาลดุเอา” หน่องบอก
“ดุเรื่องอะไรเหรอ” ผมถาม
“ก็หน่องชอบถามโน้นถามนี่ตลอดเกี่ยวกับลูก จนคุณพยาบาลมาดุนิดนึงว่า หน่องไม่ได้เตรียมความพร้อมเรื่องพวกนี้มาก่อนคลอดเลยเหรอ” หน่องเล่า
“ก็ไม่ได้เตรียมมาจริงๆละ ยอมรับ แต่เอาแค่ที่หน่องทำมาพี่ว่าดีมากแล้ว เผลอๆหน่องไปอ่านพวกข้อมูลแบบนี้มากๆ เดี๋ยวเครียด ท้องก็มีอาการเกร็งอีก” ผมบอก
“แล้วพยาบาลที่ประจำชั้นนี้เค้าไม่รู้อะไรหรอกว่าหน่องเจออะไรมาตั้งแต่อายุครรภ์ที่ 26 เค้าคงคิดว่าในฐานะว่าที่คุณแม่ควรจะมีการเตรียมตัวดีกว่านี้” ผมแสดงความคิดเห็น
“แต่หน่องก็สุดๆเลยนะ” หน่องบอก
“ใช่พี่รู้ เดี๋ยวเราก็จะรู้เรื่องขึ้นเรื่อยๆเองละ หน่องเองก็เตรียมความพร้อมไปเยอะแล้วนี่” ผมถาม
หน่องพยักหน้า
“ดังนั้นก็ไม่ต้องคิดเยอะ เราดูแลลูกเราที่อยู่ตรงหน้าดีกว่า มีอีกหลายอย่างที่เราจะสอนเขาได้” ผมบอกพร้อมกับมองดูหน่องที่กำลังมองลูกด้วยสายตาแห่งความอ่อนโยน
การจะไปคลินิกพังผืดใต้ลิ้นในขณะที่หน่องยังคงเดินไม่ได้ ก็ต้องนั่งรถเข็น แล้วลงลิฟท์ไปชั้นล่างสุดของอาคาร 100 ปี สมเด็จพระศรีนครินทร์ เพื่อจะไปที่ตึกสยามินทร์ชั้น 5 เมื่อลิฟท์ลงมาถึงชั้นล่าง บุรุษพยาบาลก็ค่อยๆเข็นหน่องเพื่อไปที่ตึกสยามินทร์
“อ๋อ หน่องอยู่ตึกนี้เองเหรอ” หน่องพูดไปขณะมองไปรอบๆ
ผมจึงนึกขึ้นมาได้ว่า นี่เป็นครั้งแรกในรอบ 84 วันของหน่องที่ได้ลงมาอยู่ชั้นล่างสุดของตึกที่หน่องอยู่มาโดยตลอดตั้งแต่ก่อนคลอด
“ลูกคับ ....... เดี๋ยวหม่ามี๊กำลังพาลูกไปผ่าตัดพังผืดที่ลิ้นนะคับ เราอยู่ด้วยกันนะ” หน่องอุ้มลูกไปพูดไป
ลูกเป็นพังผืดใต้ลิ้นแบบ Severe (ขั้นรุนแรง) นั่นหมายความว่าลูกมีเนื้อเยื่อที่ควรจะติดอยู่ตรงโคนลิ้นมันยาวและหนาติดไปจนถึงเกือบปลายลิ้นเลยทีเดียว ซึ่งถ้าไม่มีการรักษา ลูกก็จะไม่สามารถอ้าปากเพื่อทาบกับหัวนมคุณแม่ได้ลึก ไม่สามารถใช้ลิ้นเพื่อช่วยในการดูดน้ำนมจากคุณแม่ได้ และเมื่อโตขึ้นลูกก็จะพูดไม่ชัดด้วยเพราะลิ้นจะกระดกไม่ได้ วิธีเดียวที่ทำได้คือ การผ่าตัดครับ
เมื่อมาถึงที่คลินิกก็พบว่าคนเยอะมากครับ แต่โชคดีที่ว่าคุณหมอที่ผ่าตัดวันนี้ไม่ใช่คุณหมอทั่วๆไป
“วันนี้คุณแม่โชคดีนะค่ะ อาจารย์ใหญ่มาเอง คุณหมอคนนี้เชี่ยวชาญเรื่องนี้มากๆ” พยาบาลประจำคลินิกเล่าให้ฟัง
เราใช้เวลาอยู่ที่คลินิกประมาณ 4 ชั่วโมงได้ การผ่าตัดเรียบร้อยดี พอผ่าตัดเสร็จก็มีการทดลองให้ลูกดูดนมแม่เลย ซึ่งเห็นคุณแม่บอกว่าลูกดูดได้ดีขึ้น ดูดนมแม่ใหญ่เลย
หลังจากที่ลูกได้ทำการผ่าตัดพังผืดใต้ลิ้นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้เวลานับถอยหลังกลับบ้านกันเสียที อาการระบมที่ต้นขาด้านในของหน่องก็เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ ขณะที่ทางพยาบาลก็ให้เราเข้าสู่โหมดเลี้ยงลูกด้วยตัวเองอย่างจริงจัง โดยที่ทางพยาบาลจะเข็นลูกมาให้คุณแม่เลี้ยงเองที่ห้องเลยตลอด 24 ชั่วโมง คือให้ลองเองทุกอย่างหมด ตั้งแต่การให้นม ซึ่งต้องตื่นมาให้นมตลอดเวลา การใส่ผ้าอ้อม พับผ้าอ้อม การดูแลเวลาลูกนอน การอาบน้ำให้ลูก การเช็ดปัสสาวะและอุจจาระของลูก วิธีการสังเกตอาการต่างๆของลูก โดยที่ทางพยาบาลจะให้คำแนะนำและคอยช่วยเหลือ หรือแม้แต่ฝากลูกให้อยู่กับพยาบาลไปเลย ในกรณีที่ทั้งพ่อและแม่ดูแลลูกจนหมดแรงไปแล้วทั้งคู่ การเลี้ยงลูกแรกคลอดนี่ มันเหนื่อยมากนะครับ เพราะลูกจะร้องเป็นระยะๆตลอด แทบไม่มีเวลาได้พักผ่อนเลย
จนถึงวันสุดท้ายวันที่เราได้กลับบ้านเสียที 86 วัน หรือเกือบๆ 3 เดือนกับการใช้ชีวิตในศิริราชในฐานะคุณแม่ที่พร้อมจะทำทุกๆอย่างเพื่อให้ลูกคนนี้เกิดขึ้นมา ผมกับหน่องช่วยกันเก็บข้าวของที่มีอยู่มากมาย อาการเหมือนกับวันที่ย้ายออกจากห้องคลอดพิเศษเลย ดูเยอะไปหมด ผมก็เลยใช้วิธีค่อยๆทยอยขนลงไปก่อน พอจะกลับจริงๆจะได้ไม่เป็นบ้าหอบฟางไปซะก่อน และระหว่างที่ค่อยๆเก็บกันอยู่นั้นทางพยาบาลก็เดินเข้ามาที่ห้อง
“เดี๋ยวขอให้คุณพ่อคุณแม่ไปพบคุณหมอที่แผนกเด็กหน่อยนะค่ะ” พยาบาลบอก
“มีอะไรหรือเปล่าครับ” ผมถาม
“เห็นว่าจะมีสรุปเรื่องผลเลือดของน้องเค้าให้ฟังค่ะ” พยาบาลตอบ
ผมกับหน่องมองหน้ากันด้วยความไม่ค่อยเข้าใจว่าผลเลือดอะไร ทำไมไม่เห็นมีใครบอกมาก่อนว่าต้องรอผลเลือดอะไรอีก
“เป็นเลือดที่เจาะมาตอนที่น้องกัตส์มีภาวะตัวเหลืองค่ะ ผลโดยละเอียดออกมาแล้ว” พยาบาลอธิบาย
ผมกับหน่องก็ลงมาที่ชั้น 2 ของตึก ซึ่งเป็นทีๆเดียวกับที่หน่องมาให้นมลูกในช่วงที่ลูกมีภาวะตัวเหลืองและต้องได้รับการฉายแสงนั่นเอง อย่างที่ผมเคยบอกครับว่า พื้นที่ตรงนี้ผมอยู่ได้แค่หน้าประตูเท่านั้น ผู้ชายห้ามเข้าเลยครับเพราะมีเฉพาะคุณแม่ที่จะมาให้นมลูกเท่านั้นถึงเข้าไปได้ แต่คราวนี้พยาบาลให้ผมและหน่องเดินเข้าไปเลย พยาบาลพาผมกับหน่องเข้าไปที่ห้องๆหนึ่ง
“พี่ตี้ห้องนี้ละ ที่หน่องต้องมาให้นมลูก” หน่องรีบบอก
ห้องมันดูเล็กจริงๆครับ ผมลองจินตนาการต่อเวลาที่หน่องบอกว่า มีคุณแม่มาให้นมลูกจนเต็มห้องนั้น มันต้องเป็นห้องที่อึดอัดพอสมควรเลย เสียงเด็กร้อง เสียงคุณแม่คุยกับลูกรับรองได้ยินกันหมดแน่นอน เฮ้อ! คิดแล้วก็รู้สึกเห็นใจเวลาที่มีคุณแม่มาให้นมลูกแต่ลูกไม่ยอมดูด ลูกง่วงนอนเพราะอาการตัวเหลือง ขณะที่อาจจะเห็นคุณแม่อีกคน ลูกดูดเอาดูดเอา มันเป็นความแตกต่างที่เกิดขึ้นได้ในห้องเล็กๆห้องนี้
พวกเรารออยู่ในห้องนั้นสักพักก็มีคุณหมอคนหนึ่งเดินเข้ามา
“ขอโทษนะคะที่ต้องให้รอ” คุณหมอบอก
“หลังจากที่ทางน้องกัตส์มีภาวะตัวเหลืองและได้ทำการฉายแสงไปแล้ว ทางเราก็นำเลือดของน้องกัตส์ไปตรวจอย่างละเอียด เพื่อจะได้รู้ต้นตอของปัญหาจริงๆ” คุณหมอแจกแจง
“ตัวเหลืองของเด็กเกิดได้หลายสาเหตุด้วยกัน เช่น เกิดจากเลือดแม่กับเลือดลูกอยู่คนละกลุ่มกัน ก็สามารถเป็นสาเหตุของการที่ลูกมีภาวะตัวเหลืองได้” คุณหมออธิบาย
“แต่ในกรณีของน้องกัตส์ไม่ได้เกิดจากเลือดคนละกลุ่มกัน แต่เกิดจากโรคเลือด G6PD” คุณหมอบอก
“ชื่ออะไรนะครับ” ผมถามคุณหมออีกครั้งเนื่องจากไม่แน่ใจว่ามันคืออะไรและตัวผมเองพึ่งเคยได้ยินชื่อนี้เป็นครั้งแรกด้วยซ้ำไป
“G6PD ค่ะ” คุณหมอพูดย้ำอีกที
“ส่วนใหญ่เกิดกับเด็กผู้ชาย เม็ดเลือดแดงจะมีการแตกง่าย ทำให้เกิดภาวะซีดขึ้นถ้าน้องเค้าไม่สบายก็จะเป็นหนัก ถ้าเป็นมากก็อาจจะถึงช็อคได้” คุณหมออธิบาย
ผมเหลียวไปมองหน้าหน่องเล็กน้อย ผมก็เห็นแล้วว่าหน้าหน่องดูไม่สู้ดีเลย หน่องคงไม่อยากได้ยินอะไรที่แย่ๆอีกแล้วโดยเฉพาะวันนี้ วันที่กำลังจะกลับบ้าน
“น้องกัตส์เป็น G6PD ได้ยังไงครับ” ผมหันไปถามคุณหมอ
“มันเป็นโรคทางพันธุกรรม มีการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ผ่านทางโครโมโซมเอกซ์ ในกรณีนี้มาจากทางคุณแม่ค่ะ” คุณหมอบอก
“โอกาสหายก็มีค่ะ ประมาณ 10%เด็กจะหายจากโรคนี้เมื่ออายุ 5 ปี” คุณหมอให้กำลังใจ
“ต้องรักษาลูกยังไงครับ” ผมถามด้วยความรู้สึกหดหู่ใจอย่างบอกไม่ถูก
“หลังจากที่น้องกัตส์ได้ทำการรักษาภาวะตัวเหลืองไปแล้ว ทารกก็จะแข็งแรงเติบโตได้เป็นปกติ ขอให้หลีกเลี่ยงยาและอาหารที่ทำให้มีการสลายของเม็ดเลือดแดง เช่น ไม่ให้ทานถั่วปากอ้าหรือมะรุม หรือยาบางอย่าง ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็จะสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ ไม่เกิดปัญหาใด ๆ” คุณหมอตอบด้วยเสียงที่เรียบง่าย ฟังดูไม่น่ากลัวอะไร
“เวลาไม่สบายไปหาหมอต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอว่าเป็นโรคนี้ ที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์ และไม่ซื้อยากินเอง” คุณหมอเตือน
“แล้วก็อย่าไปทำให้น้องเค้าอยู่ในภาวะเครียด ความเครียดก็จะไปกระตุ้นอาการของโรคได้ ” คุณหมอบอก
“เม็ดเลือดแดงแตกง่ายหมายความว่า ต้องระวังไม่ให้ลูกมีแผลเลือดออกใช่ไหมครับ” ผมถามคุณหมอ
“ไม่เกี่ยวกันค่ะ การเป็น G6PD ไม่ได้หมายความว่าเลือดจะออกเยอะเวลามีแผลเลือดไหล แต่เวลาที่เด็กไม่สบายเป็นไข้ก็จะไม่สบายเป็นไข้สูงมากกว่าคนอื่น อาจจะถึงกับช็อคได้เพราะเม็ดเลือดแดงมีการแตกตัวมากกว่าปกติ” คุณหมออธิบาย
ผมกับหน่องได้แต่อึ้งกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น ................................ นี่คือบทพิสูจน์อะไรอีกหนอ
“ไม่ต้องวิตกกังวลนะคะ ให้เลี้ยงลูกเหมือนเด็กปกติทั่วไปเพียงแต่ให้ทราบไว้ว่าลูกเป็นภาวะนี้ และหลีกเลี่ยงสารที่เป็นอันตรายต่อเม็ดเลือดแดง เช่น ยากลุ่มซัลฟา แอสไพริน ลูกเหม็น ถั่วปากอ้า เป็นต้น และถ้าลูกมีไข้ให้ดูแลลดไข้และรักษาตามสาเหตุเพื่อไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก โดยทั่วไปผู้ที่มีภาวะนี้สามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป แต่ให้ทราบว่าตัวเองมีภาวะนี้อยู่และหลีกเลี่ยงยาและสารบางอย่างที่แพทย์แนะนำ” คุณหมอให้คำแนะนำ
“ทางศิริราชจะมีแจกคู่มือเล็กๆที่เกี่ยวกับ G6PD นี้ไว้ให้ด้วย ทุกครั้งที่ไปพบแพทย์เวลาลูกไม่สบายควรพกติดตัวและแสดงให้ทางแพทย์ดูนะค่ะ ทางแพทย์จะได้สั่งยาที่ไม่มีผลข้างเคียงให้” คุณหมอบอก
“ยังไงวันนี้น้องกัตส์ก็กลับบ้านได้ ไม่ต้องห่วงแล้วนะคะ” คุณหมอยิ้มและขอตัวไปดูแลคนไข้คนอื่นต่อไป
เราทั้งคู่ก็กลับกันมาที่ห้องพักผู้ป่วยห้องเดิม ......................... หน่องแสดงอาการซึมๆอย่างเห็นได้ชัด