ตอนไปทานสะเต๊ะมาเลย์ ต้องนั่งโต๊ะร่วมกับชาวมะละกา เพราะร้านลูกค้าแน่น
ชาวมะละกาที่นั่งโต๊ะเดียวกันได้แนะนำให้ไปชิม Assam Pedas หรือ แกงเผ็ดมาเลย์
เพราะแกงเผ็ดมาเลย์ที่มะละกานี้มีชื่อเสียงมาก
แกงเผ็ดมาเลย์ก็ใช้พริกแกงคล้ายกับพริกแกงไทย เพียงแต่ใส่พริกน้อยกว่า
และแกงจะปรุงรสเปรี้ยวโดยใช้ มะขามเปียก ลูกตะลิงปิง หรือ สัปปะรด เป็นต้น
ใกล้ๆ โรงแรมที่พัก เดินผ่านร้านข้าวแกงมาเลย์ช่วงเที่ยง ร้านนี้มีลูกค้ามาอุดหนุนกันเต็มร้านทั้งๆ ที่ร้านมีขนาดใหญ่มาก ประมาณ 3 ห้องแถว มีลูกค้ายืนรอโต๊ะ ร้านชื่อ
Asam Pedas Selera Kampung น่าจะแปลว่า แกงเผ็ดมาเลย์จากหมู่บ้าน Selera (Kampung = หมู่บ้าน) ดูจากป้าย ร้านนี้เปิดมาตั้งแต่ปี 1971 เปิดมา 42 ปีแล้ว
ตอนเที่ยงลูกค้าอุดหนุนเต็มร้าน เป็นการยืนยันได้ว่า อาหารต้องอร่อยแน่ๆ
พอได้คำแนะนำจากชาวท้องถิ่นมะละกาให้ชิมแกงเผ็ดมาเลย์ก็นึกถึงร้าน Asam Pedas Selera Kampung ขี้นมาทันที มื้อค่ำก็แวะไปทานเลย
เข้าไปในร้านไปที่ตู้อาหาร มีอาหารบริการประมาณ 25 - 30 รายการ
อีกด้านจะเป็นเตาปิ้งขนมจาก และ หอยแครง
ตู้อาหารด้านซ้ายเป็นพวก Goreng (ผัด) บะหมี่ผัด ก๋วยเตี๋ยวผัด ข้าวผัด
ถัดจากข้าวผัดไป เป็น แกงเผ็ดปลาซาบะ
ตู้ด้านขวาจะเป็นกลุ่มอาหารแพง น่าทานทั้งนั้น ได้แก่ แกงหัวปลา แกงปูม้า แกงกุ้งแม่น้ำ(ตัวโตมาก) และ ไก่ทอด
แกงปูม้า ตัวโต แกะกระดองแล้ว ราคาตัวละ 30 ริงกิต เห็นแล้วบอกได้ว่า ต้องชิมปู
แกงกุ้งแม่น้ำตัวโต ขนาดกุ้งน่าจะอยู่ที่ 3 ตัว/กก. ราคาตัวละ 35 ริงกิต
แกงหัวปลาจะเสริฟในกระทะ (ราคา 35 ริงกิต)
ชมกุ้งและปูแล้ว ต้องสั่ง กุ้ง 1 ตัว ปู 1 ตัว แกงปลาซาบะอีก 1 ชิ้น
พอไปสั่งข้าว พนักงานก็ยื่นจานข้าวให้ พร้อมกับบอกว่า ให้ตักเอง อยากจะทานเท่าไรก็ตักตามชอบ เพราะจะมีพนักงานมีคิดราคาอาหารที่ตักไป
ตักข้าวผัดมา 1 จาน ทานข้าวไม่เยอะ เพราะอยากทาน ปูและกุ้งแม่น้ำ
แกงกุ้งแม่น้ำ 1 ตัว
แกะเปลือกที่หัวกุ้งดูว่ามีมันกุ้งเยอะหรือไม่ ไม่ผิดหวัง มันกุ้งเยอะมาก
แกงปู หยิบทานไป 1 ชิ้นก่อนเพราะมันน่าทานมากๆ แล้วถึงถ่ายภาพ เลยเห็นปูเพียงครึ่งตัว เนื้อปูหวาน อร่อย
แกงปลาซาบะ ท่อนหาง เนื้อปลาสดรสหวาน กลมกล่อม
พนักงานยกขนมจากมาที่โต๊ะ อยากทานกี่ชิ้นก็แกะเอา เดี๋ยวทางร้านมาคิดเงินเอง
จ่ายค่าอาหารไปทั้งหมดรวมทั้งน้ำ 1 ขวด 75 ริงกิต
ลูกค้าช่วงค่ำก็เยอะ แต่ไม่เยอะเท่าตอนกลางวัน
บริเวณร้านข้าวแกงนี้เป็นตลาดนัดกลางคืน พอออกจากร้านข้าวแกงเดินผ่านไปเห็นที่แผงขายของมีคนมุงอยู่หลายคน เป็นแผงขาย Nasi Lemak พร้อมไก่ทอด
Nasi Lemak (ข้าวมันกะทิ; Nasi = ข้าว, Lemak = กะทิ) ได้รับการยกย่องว่าเป็นอาหารประจำชาติมาเลย์ ที่บ้านเราก็มีข้าวมันกะทิทานเหมือนกัน แต่หาร้านขายยากมาก ต้องทำทานเอง ที่มาเลย์มีขายทั่วไป ตั้งแต่เช้ามืดถึงตอนบ่าย เขาทาน Nasi Lemak กับ น้ำพริกผัด พร้อมไข่ต้ม และอาจจะมี ไก่ทอด ปลาทอด หรือ อาหารอื่น เพิ่มเติม
แผงนี้ขาย Nasi Lemak พร้อม ไก่ทอด
ขาย แบบใส่ห่อ ดูแล้วน่าทาน
Nasi Lemak ราดน้ำพริกผัด ไก่ทอด ไข่ต้ม ราคา 4 ริงกิต
ไก่หมักเครื่องเทศทอด ดูแล้วคล้ายกับไก่ทอดหาดใหญ่
ข้าวมันกะทิใส่มาในถังไม้ขนาดใหญ่
น้ำพริกผัด
ทานข้าวมาอิ่มแล้ว ไม่งั้นจะชิม
แต่ก็ได้ทาน Nasi Lemak ที่โรงแรมตอนมื้อเช้าแล้ว
Nasi Lemak อาหารเช้าที่โรงแรม
Nasi Lemak ข้าวมันกะทิ ในหม้อหุงข้าว
เครื่องเคียงของ Nasi Lemak
Nasi Lemak พร้อมทั้ง Beef Rendang (แกงมัสมั่นเนื้อ)
มามะละกาก็ได้ทานอาหารหลากหลายชนิด สนุกดี
กลับเมืองไทยค่อยมาทำให้ที่บ้านทานกัน
สวัสดี
[CR] มะละกา: Assam Pedas ข้าวแกงมาเลย์ และ Nasi Lemak ข้าวมันกะทิ อาหารประจำชาติมาเลย์เซีย
ชาวมะละกาที่นั่งโต๊ะเดียวกันได้แนะนำให้ไปชิม Assam Pedas หรือ แกงเผ็ดมาเลย์
เพราะแกงเผ็ดมาเลย์ที่มะละกานี้มีชื่อเสียงมาก
แกงเผ็ดมาเลย์ก็ใช้พริกแกงคล้ายกับพริกแกงไทย เพียงแต่ใส่พริกน้อยกว่า
และแกงจะปรุงรสเปรี้ยวโดยใช้ มะขามเปียก ลูกตะลิงปิง หรือ สัปปะรด เป็นต้น
ใกล้ๆ โรงแรมที่พัก เดินผ่านร้านข้าวแกงมาเลย์ช่วงเที่ยง ร้านนี้มีลูกค้ามาอุดหนุนกันเต็มร้านทั้งๆ ที่ร้านมีขนาดใหญ่มาก ประมาณ 3 ห้องแถว มีลูกค้ายืนรอโต๊ะ ร้านชื่อ
Asam Pedas Selera Kampung น่าจะแปลว่า แกงเผ็ดมาเลย์จากหมู่บ้าน Selera (Kampung = หมู่บ้าน) ดูจากป้าย ร้านนี้เปิดมาตั้งแต่ปี 1971 เปิดมา 42 ปีแล้ว
ตอนเที่ยงลูกค้าอุดหนุนเต็มร้าน เป็นการยืนยันได้ว่า อาหารต้องอร่อยแน่ๆ
พอได้คำแนะนำจากชาวท้องถิ่นมะละกาให้ชิมแกงเผ็ดมาเลย์ก็นึกถึงร้าน Asam Pedas Selera Kampung ขี้นมาทันที มื้อค่ำก็แวะไปทานเลย
เข้าไปในร้านไปที่ตู้อาหาร มีอาหารบริการประมาณ 25 - 30 รายการ
อีกด้านจะเป็นเตาปิ้งขนมจาก และ หอยแครง
ตู้อาหารด้านซ้ายเป็นพวก Goreng (ผัด) บะหมี่ผัด ก๋วยเตี๋ยวผัด ข้าวผัด
ถัดจากข้าวผัดไป เป็น แกงเผ็ดปลาซาบะ
ตู้ด้านขวาจะเป็นกลุ่มอาหารแพง น่าทานทั้งนั้น ได้แก่ แกงหัวปลา แกงปูม้า แกงกุ้งแม่น้ำ(ตัวโตมาก) และ ไก่ทอด
แกงปูม้า ตัวโต แกะกระดองแล้ว ราคาตัวละ 30 ริงกิต เห็นแล้วบอกได้ว่า ต้องชิมปู
แกงกุ้งแม่น้ำตัวโต ขนาดกุ้งน่าจะอยู่ที่ 3 ตัว/กก. ราคาตัวละ 35 ริงกิต
แกงหัวปลาจะเสริฟในกระทะ (ราคา 35 ริงกิต)
ชมกุ้งและปูแล้ว ต้องสั่ง กุ้ง 1 ตัว ปู 1 ตัว แกงปลาซาบะอีก 1 ชิ้น
พอไปสั่งข้าว พนักงานก็ยื่นจานข้าวให้ พร้อมกับบอกว่า ให้ตักเอง อยากจะทานเท่าไรก็ตักตามชอบ เพราะจะมีพนักงานมีคิดราคาอาหารที่ตักไป
ตักข้าวผัดมา 1 จาน ทานข้าวไม่เยอะ เพราะอยากทาน ปูและกุ้งแม่น้ำ
แกงกุ้งแม่น้ำ 1 ตัว
แกะเปลือกที่หัวกุ้งดูว่ามีมันกุ้งเยอะหรือไม่ ไม่ผิดหวัง มันกุ้งเยอะมาก
แกงปู หยิบทานไป 1 ชิ้นก่อนเพราะมันน่าทานมากๆ แล้วถึงถ่ายภาพ เลยเห็นปูเพียงครึ่งตัว เนื้อปูหวาน อร่อย
แกงปลาซาบะ ท่อนหาง เนื้อปลาสดรสหวาน กลมกล่อม
พนักงานยกขนมจากมาที่โต๊ะ อยากทานกี่ชิ้นก็แกะเอา เดี๋ยวทางร้านมาคิดเงินเอง
จ่ายค่าอาหารไปทั้งหมดรวมทั้งน้ำ 1 ขวด 75 ริงกิต
ลูกค้าช่วงค่ำก็เยอะ แต่ไม่เยอะเท่าตอนกลางวัน
บริเวณร้านข้าวแกงนี้เป็นตลาดนัดกลางคืน พอออกจากร้านข้าวแกงเดินผ่านไปเห็นที่แผงขายของมีคนมุงอยู่หลายคน เป็นแผงขาย Nasi Lemak พร้อมไก่ทอด
Nasi Lemak (ข้าวมันกะทิ; Nasi = ข้าว, Lemak = กะทิ) ได้รับการยกย่องว่าเป็นอาหารประจำชาติมาเลย์ ที่บ้านเราก็มีข้าวมันกะทิทานเหมือนกัน แต่หาร้านขายยากมาก ต้องทำทานเอง ที่มาเลย์มีขายทั่วไป ตั้งแต่เช้ามืดถึงตอนบ่าย เขาทาน Nasi Lemak กับ น้ำพริกผัด พร้อมไข่ต้ม และอาจจะมี ไก่ทอด ปลาทอด หรือ อาหารอื่น เพิ่มเติม
แผงนี้ขาย Nasi Lemak พร้อม ไก่ทอด
ขาย แบบใส่ห่อ ดูแล้วน่าทาน
Nasi Lemak ราดน้ำพริกผัด ไก่ทอด ไข่ต้ม ราคา 4 ริงกิต
ไก่หมักเครื่องเทศทอด ดูแล้วคล้ายกับไก่ทอดหาดใหญ่
ข้าวมันกะทิใส่มาในถังไม้ขนาดใหญ่
น้ำพริกผัด
ทานข้าวมาอิ่มแล้ว ไม่งั้นจะชิม
แต่ก็ได้ทาน Nasi Lemak ที่โรงแรมตอนมื้อเช้าแล้ว
Nasi Lemak อาหารเช้าที่โรงแรม
Nasi Lemak ข้าวมันกะทิ ในหม้อหุงข้าว
เครื่องเคียงของ Nasi Lemak
Nasi Lemak พร้อมทั้ง Beef Rendang (แกงมัสมั่นเนื้อ)
มามะละกาก็ได้ทานอาหารหลากหลายชนิด สนุกดี
กลับเมืองไทยค่อยมาทำให้ที่บ้านทานกัน
สวัสดี