นายวิเชียร จุ่งรุ่งเรือง อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ชี้หากไทยเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีการออกอากาศโทรทัศน์จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบทีวีดิจิตอล จะมีทีวี 20 ล้านเครื่อง ถูกทิ้งและกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่อันตราย โดยให้สัมภาษณ์ถึงกรณีดังกล่าวเมื่อวันที่ 20 มกราคม ว่า อีกประมาณ 5-6 เดือนข้างหน้า โทรทัศน์ประเทศไทย ทั้งหมดจะเปลี่ยนจากระบบอนาล็อก เป็นระบบดิจิตอล เป็นเหตุให้โทรทัศน์แบบเก่าซึ่งใช้ระบบอนาล็อกจำนวนหนึ่งราว 20 ล้านเครื่อง ถูกทิ้งและกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นขยะอันตราย ที่ยังไม่มีมาตรการชัดเจนที่จะไปรองรับปัญหานี้ จึงน่ากังวลในระดับหนึ่ง
"คพ.มีความคิดว่า เร็วๆ นี้จะเข้าหารือกับทางกระทรวงการคลัง เพื่อใช้มาตรการทางการคลัง ในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร คือหากบริษัทใดนำเข้า หรือผลิตสินค้า ที่จะก่อให้เกิดปัญหาขยะอันตรายในอนาคต บริษัทนั้นจะต้องเป็นผู้รับซื้อคืน หรือเป็นผู้จัดการกับขยะ ดังกล่าวด้วย ถ้าทำได้กระทรวงการคลังก็จะลดภาษีให้" นายวิเชียรกล่าว และว่า ตอนนี้ยังไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนสำหรับการจัดการเรื่องนี้ในอนาคตอันใกล้มาก อย่างไรก็ตาม คพ.มีข้อเสนอแนะว่าหน่วยงานท้องถิ่น จะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก เพราะเวลานี้ทุกครัวเรือนทั่วประเทศมีโทรทัศน์ใช้ทั้งหมดอยู่แล้ว เมื่อโทรทัศน์ส่วนหนึ่งถูกทิ้งไป เพราะใช้ไม่ได้ หรืออยากจะใช้แบบใหม่ เพราะมีระบบออกมาใหม่ที่ทำให้ภาพในโทรทัศน์คมชัดกว่าเดิม แต่อย่าลืมว่า หลายๆ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในโทรทัศน์ ยังมีค่าอยู่ หลายอย่างสามารถนำไปใช้ได้ หากมีโรงงานสำหรับคัดแยกสิ่งเหล่านี้อย่างน้อย จังหวัดละ 1 โรงงาน จะรองรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ได้
"ในอนาคต อาจจะไม่มีแค่โทรทัศน์เท่านั้น แต่จะมีคอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ด้วย เพราะเวลานี้อุปกรณ์ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์เปลี่ยนรุ่นรวดเร็วมาก เมื่อหมดอายุการใช้งานจะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ทันที ขยะพวกนี้ไม่สามารถกำจัดได้เหมือนขยะทั่วไป แต่จะมีวิธีการจัดการแบบพิเศษ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อคนกำจัดเองและต่อสิ่งแวดล้อม" นายวิเชียรกล่าว
นายพลาย ภิรมย์ ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นทีวีระบบดิจิตอล รัฐบาลควรจัดตั้งจุดรับคืนทีวีอนาล็อก หรือจุดรับซื้อทีวีเครื่องเก่าเพื่อไม่ให้เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการนี้จะทำให้รัฐบาลสามารถนำขยะเหล่านั้นไปกำจัดได้แบบ ถูกวิธี ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลยังปล่อยให้ทิ้งขยะกันเอง โดยไม่มีระบบการจัดการที่ดีพอจะทำ ให้เกิดอันตรายต่อประชาชนได้ โดยเฉพาะคนเก็บขยะหรือซาเล้งรับซื้อของเก่า
"หากนำทีวีเก่าไปแยกชิ้นส่วนเพื่อถอดโลหะที่มีค่า เช่น ทองแดงมาขาย อาจจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งหรือหากกองทีวีไว้รวมกันจำนวนมากบนพื้นดิน อาจจะทำให้สารเคมีต่างๆ ปนเปื้อนลงสู่น้ำใต้ดินได้ เนื่องจากตัวทีวีแบบเก่าจะมีโลหะหนักอยู่เยอะ ทั้งปรอทและตะกั่ว รวมทั้งพลาสติกที่เป็นอันตราย ฉะนั้น รัฐบาลจะต้องทำนโยบายเชิงรุกในการรับคืนทีวี อย่างน้อยจะได้ควบคุมการจัดการกับทีวีเก่าจำนวนมากได้ เพราะถ้าประชาชนไม่รู้ว่าจะเอาทีวีไปทิ้งที่ไหน จะต้องส่งขายซาเล้งแน่นอน" นายพลายกล่าว
นายพลาย กล่าวอีกว่า ห่วงเรื่องระบบการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ เนื่องจากที่ผ่านมาภาครัฐไม่ได้ให้ความสนใจในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์เท่าที่ควร และยังมีปัญหาต่างๆ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เช่น การที่รัฐไม่สามารถ เก็บรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่บริเวณเดียวกันได้ ทำให้ขยะกระจัดกระจายส่งผลต่อสภาพแวดล้อม ปัจจุบันประชาชนยังไม่ทราบว่าจะนำขยะดังกล่าวไปทิ้งที่ไหน "ก่อนหน้านี้กรมควบคุมมลพิษ เคยทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและขยะอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น แต่จนถึงขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวยังไม่มีการประกาศใช้ ทำให้ยังไม่มีกฎหมายมาจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างจริงจัง ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีเรื่องกองทุนที่นำมาจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ และภาษีที่ต้องเก็บจากผู้ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ" นายพลายกล่าว และว่า ภาครัฐควรกำจัดขยะอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากการผลักดันระบบการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองหลวงให้ได้ก่อน การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) ครั้งนี้ ผู้สมัครควรชูนโยบายการกำจัดขยะดังกล่าวด้วย เพื่อให้เกิดผลดีต่อสภาพแวดล้อมและคน กทม.
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358682792&grpid=&catid=19&subcatid=1904
แต่ละชิ้นส่วนของทีวีจะนำไปทำอะไรได้บ้าง ส่วนที่ใช้ไม่ได้จะต้องทำลายอย่างไรครับ
ทีวีอนาล็อก 20 ล้านเครื่องเป็นขยะ หลังเปลี่ยนไปสู่ทีวีดิจิตอล
"คพ.มีความคิดว่า เร็วๆ นี้จะเข้าหารือกับทางกระทรวงการคลัง เพื่อใช้มาตรการทางการคลัง ในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร คือหากบริษัทใดนำเข้า หรือผลิตสินค้า ที่จะก่อให้เกิดปัญหาขยะอันตรายในอนาคต บริษัทนั้นจะต้องเป็นผู้รับซื้อคืน หรือเป็นผู้จัดการกับขยะ ดังกล่าวด้วย ถ้าทำได้กระทรวงการคลังก็จะลดภาษีให้" นายวิเชียรกล่าว และว่า ตอนนี้ยังไม่มีมาตรการที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนสำหรับการจัดการเรื่องนี้ในอนาคตอันใกล้มาก อย่างไรก็ตาม คพ.มีข้อเสนอแนะว่าหน่วยงานท้องถิ่น จะมีบทบาทที่สำคัญอย่างมาก เพราะเวลานี้ทุกครัวเรือนทั่วประเทศมีโทรทัศน์ใช้ทั้งหมดอยู่แล้ว เมื่อโทรทัศน์ส่วนหนึ่งถูกทิ้งไป เพราะใช้ไม่ได้ หรืออยากจะใช้แบบใหม่ เพราะมีระบบออกมาใหม่ที่ทำให้ภาพในโทรทัศน์คมชัดกว่าเดิม แต่อย่าลืมว่า หลายๆ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในโทรทัศน์ ยังมีค่าอยู่ หลายอย่างสามารถนำไปใช้ได้ หากมีโรงงานสำหรับคัดแยกสิ่งเหล่านี้อย่างน้อย จังหวัดละ 1 โรงงาน จะรองรับขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ได้
"ในอนาคต อาจจะไม่มีแค่โทรทัศน์เท่านั้น แต่จะมีคอมพิวเตอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ด้วย เพราะเวลานี้อุปกรณ์ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์เปลี่ยนรุ่นรวดเร็วมาก เมื่อหมดอายุการใช้งานจะกลายเป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ทันที ขยะพวกนี้ไม่สามารถกำจัดได้เหมือนขยะทั่วไป แต่จะมีวิธีการจัดการแบบพิเศษ ที่ไม่เป็นอันตรายต่อคนกำจัดเองและต่อสิ่งแวดล้อม" นายวิเชียรกล่าว
นายพลาย ภิรมย์ ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ กรีนพีซเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นทีวีระบบดิจิตอล รัฐบาลควรจัดตั้งจุดรับคืนทีวีอนาล็อก หรือจุดรับซื้อทีวีเครื่องเก่าเพื่อไม่ให้เป็นขยะอิเล็กทรอนิกส์ วิธีการนี้จะทำให้รัฐบาลสามารถนำขยะเหล่านั้นไปกำจัดได้แบบ ถูกวิธี ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตามหากรัฐบาลยังปล่อยให้ทิ้งขยะกันเอง โดยไม่มีระบบการจัดการที่ดีพอจะทำ ให้เกิดอันตรายต่อประชาชนได้ โดยเฉพาะคนเก็บขยะหรือซาเล้งรับซื้อของเก่า
"หากนำทีวีเก่าไปแยกชิ้นส่วนเพื่อถอดโลหะที่มีค่า เช่น ทองแดงมาขาย อาจจะทำให้เกิดสารก่อมะเร็งหรือหากกองทีวีไว้รวมกันจำนวนมากบนพื้นดิน อาจจะทำให้สารเคมีต่างๆ ปนเปื้อนลงสู่น้ำใต้ดินได้ เนื่องจากตัวทีวีแบบเก่าจะมีโลหะหนักอยู่เยอะ ทั้งปรอทและตะกั่ว รวมทั้งพลาสติกที่เป็นอันตราย ฉะนั้น รัฐบาลจะต้องทำนโยบายเชิงรุกในการรับคืนทีวี อย่างน้อยจะได้ควบคุมการจัดการกับทีวีเก่าจำนวนมากได้ เพราะถ้าประชาชนไม่รู้ว่าจะเอาทีวีไปทิ้งที่ไหน จะต้องส่งขายซาเล้งแน่นอน" นายพลายกล่าว
นายพลาย กล่าวอีกว่า ห่วงเรื่องระบบการจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ เนื่องจากที่ผ่านมาภาครัฐไม่ได้ให้ความสนใจในการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์เท่าที่ควร และยังมีปัญหาต่างๆ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เช่น การที่รัฐไม่สามารถ เก็บรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้อยู่บริเวณเดียวกันได้ ทำให้ขยะกระจัดกระจายส่งผลต่อสภาพแวดล้อม ปัจจุบันประชาชนยังไม่ทราบว่าจะนำขยะดังกล่าวไปทิ้งที่ไหน "ก่อนหน้านี้กรมควบคุมมลพิษ เคยทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การจัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้าและขยะอิเล็กทรอนิกส์ขึ้น แต่จนถึงขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวยังไม่มีการประกาศใช้ ทำให้ยังไม่มีกฎหมายมาจัดการกับขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างจริงจัง ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะมีเรื่องกองทุนที่นำมาจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในพื้นที่ และภาษีที่ต้องเก็บจากผู้ซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ" นายพลายกล่าว และว่า ภาครัฐควรกำจัดขยะอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากการผลักดันระบบการกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเมืองหลวงให้ได้ก่อน การเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร (กทม.) ครั้งนี้ ผู้สมัครควรชูนโยบายการกำจัดขยะดังกล่าวด้วย เพื่อให้เกิดผลดีต่อสภาพแวดล้อมและคน กทม.
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1358682792&grpid=&catid=19&subcatid=1904
แต่ละชิ้นส่วนของทีวีจะนำไปทำอะไรได้บ้าง ส่วนที่ใช้ไม่ได้จะต้องทำลายอย่างไรครับ