ดอกกันภัยมหิดล ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล

กระทู้สนทนา


ภาพวาดสีน้ำดอกกันภัยมหิดล (วาดเสร็จสักที)
ผู้วาด พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม
วาดเอาไปร่วมแสดงงานนิทรรศการพืชสวนไทย ที่จะจัดขึ้นในเดือนแห่งความรักที่จะถึง ถือเป็นภาพวาดอีกภาพที่ใช้เวลาวาดนานมาก ตั้งแต่ขั้นร่างภาพ และขั้นตอนการลงสี เป็นงานเลี้ยงฝันที่ใช้เวลาการวาด และวัสดุอุปกรณ์มาก มีคุณค่าในใจเสมอ
งานประจำทำเลี้ยงชีพ งานอดิเรกทำเลี้ยงฝัน
กันภัยมหิดล หรือ กันภัย เป็นชื่อไม้เถาชนิด Afgekia mahidolae Burtt et Chermsir.[1] ในวงศ์ Leguminosae พบทางจังหวัดกาญจนบุรี ใบเป็นใบประกอบ ช่อหนึ่งมีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีน้ำตาล ดอกเป็นช่อตั้ง สีขาวปนม่วง ฝักสั้นป้อมแบน ๆ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[1]
ไม้เถาชนิดนี้ เกษม จันทรประสงค์ ค้นพบครั้งแรกที่ประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ พระราชทานนามว่า กันภัยมหิดล ให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542[ต้องการอ้างอิง] ด้วยเหตุว่า เป็นต้นไม้ที่พบในประเทศไทย ปลูกง่าย นามเป็นมงคลและพ้องกับชื่อมหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเป็นไม้เถาแต่ก็มีลักษณะสวยงาม สามารถจัดแต่งเป็นทรงพุ่มได้หลายแบบ อายุยืน โดยเมื่อเถาแห้งไปก็สามารถงอกขึ้นใหม่ได้ ซึ่งความเป็นไม้เถาแสดงถึงความเจริญก้าวหน้าและความสามารถปรับตัวให้พัฒนาไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างดี
กันภัยมหิดลนี้ได้รับการเสนอเข้าประกวด[ที่ไหน?] โดยภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ รศ.วงศ์สถิตย์ ถั่วกุล และ ผศ.นพมาศ สรรพคุณ จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อาณาจักร:    Plantae  ดิวิชั่น:    Magnoliophyta  ชั้น:    Magnoliopsida  อันดับ:    Fabales  วงศ์:    Fabaceae
วงศ์ย่อย:    Faboideae  เผ่า:    Millettieae  สกุล:    Afgekia  สปีชีส์:    A. mahidolae
ข้อมูลความรู้ดีดีจาก  วิกิพีเดีย
ภาพวาดสีน้ำ พัลลภ อนุสนธิ์พรเพิ่ม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่