ผลงานของผู้กำกับ ภาม รังสี กับการขยายประกายคิดตั้งต้นซึ่งเป็นเพียงหนังสั้นฉายฟรีทีวี พล็อตว่าด้วยการแข่งขันทำอาหารซึ่งถือว่ายังสดใหม่สำหรับวงการหนังไทย แต่ด้วยชื่อเรื่อง “เมนูของพ่อ” ที่หนังเลือกใช้ เชื่อมโยงอัตโนมัติกับวาทกรรมทางสังคมแล้วปฏิเสธได้ยากว่านี่คืออีกหนึ่ง “ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ” ซึ่งเป็นควันหลงมาจากช่วงปลายปี
เมนูของพ่อมีวิธีการเล่าเรื่องคล้ายหนังอิสระ กล่าวคือ ไม่ลำดับเวลาและลำเลียงอารมณ์ผู้ชม เหมือนภาพปะติดหรือจิ๊กซอร์ที่จะครบถ้วนสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อหนังจบ (แต่ก็ไม่สุดโต่งเหมือนที่เห็นจากหนังของ อเลฮานโดร กอนซาเลซ อินาริตู) สร้างความรู้สึกแตกต่างจากหนังตลาดซึ่งมีไวยากรณ์ในการสื่อสารชัดเจนและง่ายแก่การทำความเข้าใจ ส่วนตัวรู้สึกชื่นชมผู้กำกับในจุดนี้ที่พยายามนำเสนออะไรที่แปลกใหม่ ไม่จำเจ แต่ก็ต้องพร้อมเสี่ยงว่าวิธีการนี้อาจไม่ถูกปากผู้ชมในวงกว้าง
หนังออกรสกลางๆ เบาๆ ระดับเดียวกับดนตรีประกอบแนวชิวๆ สบายๆ ไม่ชัดเจนนักระหว่างความเป็นดราม่าและตลก เรื่องราวว่าด้วยเชฟเอียน พิธีกรรายการอาหารชื่อดังของเมืองไทย จัดกิจกรรมพิเศษเชิญชวนผู้ชมทางบ้านให้ร่วมแข่งขันทำอาหารภายใต้หัวข้อ “เมนูของพ่อ” เนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติ หนังโฟกัสไปที่ 3 กลุ่มตัวละครหลัก ได้แก่ ครอบครัวของโทนี่ (สายเชีย วงศ์วิโรจน์ จากโฆษณา “จน เครียด กินเหล้า”) หนุ่มเลือดอีสานเจ้าของร้านอาหารตามสั่งที่ลงแข่งขันเพื่อนำเงินรางวัลมาใช้หนี้ ครอบครัวของสุนทร (พิง ลำพระเพลิง) สามีขี้เล่นวัย 47 กับภรรยาเด็กอายุ 23 ปลายๆ ซึ่งรักและผูกพันกันมาก และครอบครัวของมงคล (บิลลี่โอแกน) ผู้ซึ่งลูกสาวสุดรักแอบส่งเมนูเข้าแข่งขันแทนโดยเจ้าตัวไม่ได้ร่วมตัดสินใจ
เมนูหลากหลายจากทางบ้านได้รับการพิจารณาและคัดเลือกเหลือเพียง 3 เมนู แต่ก่อนที่จะถึงรอบตัดสินหาผู้ชนะ มงคลเจ้าของเมนูกะเพราทะเลก็ตัดสินใจถอนตัวออกจากการแข่งขัน เนื่องจากต้องการทำเมนูนี้ให้กับลูกสาวสุดรักเพียงคนเดียว ประกอบกับความเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเองเมื่อต้องถูกจับจ้องจากสายตาของสังคม
ฝั่งของโทนี่ก็คิดหาวิธีการต่างๆ เพื่อเอาใจกรรมการโดยเฉพาะอาจารย์สิงโตผู้เป็นที่นับถือของเชฟเอียน (เห็นแล้วอมยิ้มทุกครั้งที่ปรากฏตัว) แม้ว่าอาจารย์สิงโตจะอาร์ตจัดและยากแก่การเข้าถึง แต่กลเม็ดเรื่องหางเครื่องที่โทนี่เลือกใช้ก็น่าจะจูงใจอยู่ไม่น้อย ในขณะเดียวกัน สุนทรก็เครียดจัดกับการแข่งขัน (ทั้งที่ก่อนนั้นเค้าเป็นคนตลก สนุกสนาน) รสมือเลยตกไม่อร่อยเหมือนเดิม โชคดีที่ภรรยาสุดรักเป็นคนตรงไปตรงมา วิจารณ์รสชาติอาหารของสุนทรพร้อมวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาแบบมองขาด ตรงประเด็น
หนังให้ภาพคล้ายชี้ชวนผู้ชม ว่าโดยส่วนตัวแล้ว เชฟเอียนชื่นชอบและซาบซึ้งกับอาหารของสุนทรเป็นพิเศษ เหตุผลเดียวกันกับจุดผลักผันในการ์ตูนเรื่อง Ratatouille คืออารมณ์ระลึกถึงรสมือแม่ในวัยเด็ก แต่สุดท้ายโทนี่กลับเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน ตัวหนังก็ไม่ได้มอบคำอธิบายใดๆ แก่ผู้ชม ยิ่งกว่านั้น ยังทำให้เรารู้สึกว่าตัวเชฟเอียนก็อาจไม่เข้าใจในเหตุผลนั้นเหมือนกัน (หนังมีฉากให้นักวิจารณ์อีกคนมาลองชิม แต่เขากลับเชื่อมโยงไปหาเรื่องประโยชน์ของไข่และผัก)
ประสบการณ์การแข่งขันครั้งนี้ทำให้ท่าทีของโทนี่เปลี่ยนไป จากที่เคยอ่อนน้อมน่ารักกับคนอื่น เถลิงขั้นเป็นคนอาร์ตจัดเหมือนอาจารย์สิงโตและภาคภูมิใจในเมนูไข่เจียวของตนเป็นที่ยิ่ง
แม้หนังจะชื่อ “เมนูของพ่อ” แต่เนื้อหาโดยตลอดกลับไม่สัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับวันพ่อโดยตรง มีแค่ซับพล็อตของมงคลและลูกสาว และฉากสุนทรเล่นกีต้าเพลงพระราชนิพนธ์เท่านั้นที่พอจะเข้าเค้า ในทางตรงข้าม หนังสื่อสารถึงข้อความคิดทางการเมืองในสังคมไทยอย่างชัดเจน ลดทอนความสลับซับซ้อนของเหตุการณ์และนำเสนอผ่านระบบสัญลักษณ์ เราอาจแทนค่าได้สนิทตามเจตนารมณ์ของบท ระหว่างการเลือกตั้งกับการแข่งขันทำอาหาร โทนี่ซึ่งเป็นผู้ชนะกับเสียงส่วนใหญ่ซึ่งชนะการเลือกตั้ง การถอนตัวของมงคลออกจากการแข่งขันกับการไม่ลงเลือกตั้งของพรรคการเมืองหนึ่ง เป็นต้น
อีกฉากซึ่งน่าสนใจมาก ตอนที่เชฟเอียนเสิร์ฟขนมถังแตกในสไตล์ที่แปลกประหลาด คือนำใบตองมาปูเป็นพื้น ละเลงครีมรสผลไม้สีแดงและสีเหลืองลงในนั้น ก่อนจะกระแทกถัง (เข้าใจว่าเป็นดินเผา) ลงไปจนแตกกระจาย ในระหว่างการเสิร์ฟ หนังปล่อยเสียงดนตรีไทยรองพื้นอยู่ด้วยตลอดเวลา เข้าใจว่าผู้กำกับต้องการสื่อให้เห็นถึงความแตกแยกในสังคมอันเกิดมาจากวิกฤติทางการเมือง
งานภาพและเสียงถือว่าอยู่ในมาตรฐาน ส่วนการแสดงโดยรวมค่อนข้างแปลกแปร่ง ดูล้นๆ ไม่เป็นธรรมชาติ เช่น การแสดงความรักต่อกันไม่ว่าระหว่างคนรักหรือพ่อลูก คล้ายเป็นการปั้นหน้าง่ายๆ ในละครทีวี แห้งแล้งจิตวิญญาณและไม่อาจสร้างความรู้สึกร่วมให้เกิดขึ้นกับผู้ชม การแสดงในบทของโทนี่ก็ออกมาในสไตล์ของการ์ตูนที่เยอะๆ แรงๆ โดยตัวหนังเองก็เจืออารมณ์เหนือจริงหรือแฟนตาซีอยู่ไม่น้อย ส่วนเชฟเอียนเอาตัวรอดไปได้ด้วยการแสดงเป็นตัวเองอย่างที่เห็นในรายการทีวี
หนังเต็มไปด้วยโฆษณาจากผู้สนับสนุนแบบโจ่งแจ้ง ไม่อ้อมค้อม (ล้อเลียนตัวเองด้วยซ้ำในบางฉาก) ไม่ต่างจากอุดมการณ์ในเรื่องที่หนังต้องการจะขายและป้อนเราด้วยวาทกรรมเดิมๆ ว่าด้วยความสกปรกของการเมืองไทย ผลพวงจากระบอบการปกครองใหม่ซึ่งทำลายรสชาติอันหอมหวานของชนชั้นนำในอดีตกาล
ที่มา : www.kornang.com ครับ
เมนูของพ่อ : รสนิยมของคนไทย ? (เปิดเผยเนื้อหาสำคัญ)
ผลงานของผู้กำกับ ภาม รังสี กับการขยายประกายคิดตั้งต้นซึ่งเป็นเพียงหนังสั้นฉายฟรีทีวี พล็อตว่าด้วยการแข่งขันทำอาหารซึ่งถือว่ายังสดใหม่สำหรับวงการหนังไทย แต่ด้วยชื่อเรื่อง “เมนูของพ่อ” ที่หนังเลือกใช้ เชื่อมโยงอัตโนมัติกับวาทกรรมทางสังคมแล้วปฏิเสธได้ยากว่านี่คืออีกหนึ่ง “ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ” ซึ่งเป็นควันหลงมาจากช่วงปลายปี
เมนูของพ่อมีวิธีการเล่าเรื่องคล้ายหนังอิสระ กล่าวคือ ไม่ลำดับเวลาและลำเลียงอารมณ์ผู้ชม เหมือนภาพปะติดหรือจิ๊กซอร์ที่จะครบถ้วนสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อหนังจบ (แต่ก็ไม่สุดโต่งเหมือนที่เห็นจากหนังของ อเลฮานโดร กอนซาเลซ อินาริตู) สร้างความรู้สึกแตกต่างจากหนังตลาดซึ่งมีไวยากรณ์ในการสื่อสารชัดเจนและง่ายแก่การทำความเข้าใจ ส่วนตัวรู้สึกชื่นชมผู้กำกับในจุดนี้ที่พยายามนำเสนออะไรที่แปลกใหม่ ไม่จำเจ แต่ก็ต้องพร้อมเสี่ยงว่าวิธีการนี้อาจไม่ถูกปากผู้ชมในวงกว้าง
หนังออกรสกลางๆ เบาๆ ระดับเดียวกับดนตรีประกอบแนวชิวๆ สบายๆ ไม่ชัดเจนนักระหว่างความเป็นดราม่าและตลก เรื่องราวว่าด้วยเชฟเอียน พิธีกรรายการอาหารชื่อดังของเมืองไทย จัดกิจกรรมพิเศษเชิญชวนผู้ชมทางบ้านให้ร่วมแข่งขันทำอาหารภายใต้หัวข้อ “เมนูของพ่อ” เนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติ หนังโฟกัสไปที่ 3 กลุ่มตัวละครหลัก ได้แก่ ครอบครัวของโทนี่ (สายเชีย วงศ์วิโรจน์ จากโฆษณา “จน เครียด กินเหล้า”) หนุ่มเลือดอีสานเจ้าของร้านอาหารตามสั่งที่ลงแข่งขันเพื่อนำเงินรางวัลมาใช้หนี้ ครอบครัวของสุนทร (พิง ลำพระเพลิง) สามีขี้เล่นวัย 47 กับภรรยาเด็กอายุ 23 ปลายๆ ซึ่งรักและผูกพันกันมาก และครอบครัวของมงคล (บิลลี่โอแกน) ผู้ซึ่งลูกสาวสุดรักแอบส่งเมนูเข้าแข่งขันแทนโดยเจ้าตัวไม่ได้ร่วมตัดสินใจ
เมนูหลากหลายจากทางบ้านได้รับการพิจารณาและคัดเลือกเหลือเพียง 3 เมนู แต่ก่อนที่จะถึงรอบตัดสินหาผู้ชนะ มงคลเจ้าของเมนูกะเพราทะเลก็ตัดสินใจถอนตัวออกจากการแข่งขัน เนื่องจากต้องการทำเมนูนี้ให้กับลูกสาวสุดรักเพียงคนเดียว ประกอบกับความเป็นคนไม่มั่นใจในตัวเองเมื่อต้องถูกจับจ้องจากสายตาของสังคม
ฝั่งของโทนี่ก็คิดหาวิธีการต่างๆ เพื่อเอาใจกรรมการโดยเฉพาะอาจารย์สิงโตผู้เป็นที่นับถือของเชฟเอียน (เห็นแล้วอมยิ้มทุกครั้งที่ปรากฏตัว) แม้ว่าอาจารย์สิงโตจะอาร์ตจัดและยากแก่การเข้าถึง แต่กลเม็ดเรื่องหางเครื่องที่โทนี่เลือกใช้ก็น่าจะจูงใจอยู่ไม่น้อย ในขณะเดียวกัน สุนทรก็เครียดจัดกับการแข่งขัน (ทั้งที่ก่อนนั้นเค้าเป็นคนตลก สนุกสนาน) รสมือเลยตกไม่อร่อยเหมือนเดิม โชคดีที่ภรรยาสุดรักเป็นคนตรงไปตรงมา วิจารณ์รสชาติอาหารของสุนทรพร้อมวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาแบบมองขาด ตรงประเด็น
หนังให้ภาพคล้ายชี้ชวนผู้ชม ว่าโดยส่วนตัวแล้ว เชฟเอียนชื่นชอบและซาบซึ้งกับอาหารของสุนทรเป็นพิเศษ เหตุผลเดียวกันกับจุดผลักผันในการ์ตูนเรื่อง Ratatouille คืออารมณ์ระลึกถึงรสมือแม่ในวัยเด็ก แต่สุดท้ายโทนี่กลับเป็นผู้ชนะในการแข่งขัน ตัวหนังก็ไม่ได้มอบคำอธิบายใดๆ แก่ผู้ชม ยิ่งกว่านั้น ยังทำให้เรารู้สึกว่าตัวเชฟเอียนก็อาจไม่เข้าใจในเหตุผลนั้นเหมือนกัน (หนังมีฉากให้นักวิจารณ์อีกคนมาลองชิม แต่เขากลับเชื่อมโยงไปหาเรื่องประโยชน์ของไข่และผัก)
ประสบการณ์การแข่งขันครั้งนี้ทำให้ท่าทีของโทนี่เปลี่ยนไป จากที่เคยอ่อนน้อมน่ารักกับคนอื่น เถลิงขั้นเป็นคนอาร์ตจัดเหมือนอาจารย์สิงโตและภาคภูมิใจในเมนูไข่เจียวของตนเป็นที่ยิ่ง
แม้หนังจะชื่อ “เมนูของพ่อ” แต่เนื้อหาโดยตลอดกลับไม่สัมพันธ์อย่างมีนัยยะสำคัญกับวันพ่อโดยตรง มีแค่ซับพล็อตของมงคลและลูกสาว และฉากสุนทรเล่นกีต้าเพลงพระราชนิพนธ์เท่านั้นที่พอจะเข้าเค้า ในทางตรงข้าม หนังสื่อสารถึงข้อความคิดทางการเมืองในสังคมไทยอย่างชัดเจน ลดทอนความสลับซับซ้อนของเหตุการณ์และนำเสนอผ่านระบบสัญลักษณ์ เราอาจแทนค่าได้สนิทตามเจตนารมณ์ของบท ระหว่างการเลือกตั้งกับการแข่งขันทำอาหาร โทนี่ซึ่งเป็นผู้ชนะกับเสียงส่วนใหญ่ซึ่งชนะการเลือกตั้ง การถอนตัวของมงคลออกจากการแข่งขันกับการไม่ลงเลือกตั้งของพรรคการเมืองหนึ่ง เป็นต้น
อีกฉากซึ่งน่าสนใจมาก ตอนที่เชฟเอียนเสิร์ฟขนมถังแตกในสไตล์ที่แปลกประหลาด คือนำใบตองมาปูเป็นพื้น ละเลงครีมรสผลไม้สีแดงและสีเหลืองลงในนั้น ก่อนจะกระแทกถัง (เข้าใจว่าเป็นดินเผา) ลงไปจนแตกกระจาย ในระหว่างการเสิร์ฟ หนังปล่อยเสียงดนตรีไทยรองพื้นอยู่ด้วยตลอดเวลา เข้าใจว่าผู้กำกับต้องการสื่อให้เห็นถึงความแตกแยกในสังคมอันเกิดมาจากวิกฤติทางการเมือง
งานภาพและเสียงถือว่าอยู่ในมาตรฐาน ส่วนการแสดงโดยรวมค่อนข้างแปลกแปร่ง ดูล้นๆ ไม่เป็นธรรมชาติ เช่น การแสดงความรักต่อกันไม่ว่าระหว่างคนรักหรือพ่อลูก คล้ายเป็นการปั้นหน้าง่ายๆ ในละครทีวี แห้งแล้งจิตวิญญาณและไม่อาจสร้างความรู้สึกร่วมให้เกิดขึ้นกับผู้ชม การแสดงในบทของโทนี่ก็ออกมาในสไตล์ของการ์ตูนที่เยอะๆ แรงๆ โดยตัวหนังเองก็เจืออารมณ์เหนือจริงหรือแฟนตาซีอยู่ไม่น้อย ส่วนเชฟเอียนเอาตัวรอดไปได้ด้วยการแสดงเป็นตัวเองอย่างที่เห็นในรายการทีวี
หนังเต็มไปด้วยโฆษณาจากผู้สนับสนุนแบบโจ่งแจ้ง ไม่อ้อมค้อม (ล้อเลียนตัวเองด้วยซ้ำในบางฉาก) ไม่ต่างจากอุดมการณ์ในเรื่องที่หนังต้องการจะขายและป้อนเราด้วยวาทกรรมเดิมๆ ว่าด้วยความสกปรกของการเมืองไทย ผลพวงจากระบอบการปกครองใหม่ซึ่งทำลายรสชาติอันหอมหวานของชนชั้นนำในอดีตกาล
ที่มา : www.kornang.com ครับ