[ที่มาของข่าวนี้ www.blacksheep.co.th]
ท่านผู้อ่านเคยถามตัวเองไหมครับว่าอะไรเกิดขึ้นกับบริษัท Nokia ที่ครั้งหนึ่งเป็น King maker ในวงการโทรศัพท์มือถือ พวกเขาเคยครองตําแหน่งอันดับหนึึ่งถึงสิบสี่ปีติดต่อกัน แต่ในปีนี้พวกเขาหลุดออกจากตําแหน่ง Top 5 ของผู้ผลิต Smart phone ในปี 1998 Nokia ก้าวขึ้นเป็นผู้นําตลาดโลกเป็นครั้งแรกด้วยการล้มยักษ์อย่าง Motorola ตอนนั้น Samsung เพิ่งเริ่มผลิตโทรศัพท์มือถือ ในปี 2007 เป็นปีที่ Apple วางตลาด iPhone ช่วงนั้น Nokia มีส่วนแบ่งตลาดถึง 40% ทําไมภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีพวกเขาถึงกลายเป็นเทวดาตกสวรรค์
คําตอบคือความหยิ่งผยองในความยิ่งใหญ่ของตนเองและการบริหารจัดการที่ผิดพลาดเป็นปัจจัยสองประการที่ทําให้ Nokia มีชีวิตที่ผกผัน และผมได้รวบรวมข้อมูลเหล่านั้นมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษาเป็นอุทธาหรณ์
1. มองไม่เห็นอนาคต
เชืึ่อหรือไม่ว่าเจ็ดปีก่อนที่ Apple จะวางตลาดโทรศัพท์มือถือ iPhone ทีมงานของ Nokia ผลิต Prototype ของโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบ Touch screen และมีปุ่มคําสั่งเพียงปุ่มเดียว ความสามารถของ Prototype เครื่องนี้มีความคล้ายคลึงกับ iPhone นอกจากนั้นทีม R&D ยังผลิตต้นแบบของสินค้าอีกตัวหนึ่งที่เป็น Tablet computer ที่ใช้ระบบ Touch screen และสามารถเชื่อมต่อกับ Internet ด้วยระบบ Wireless connection เช่นเดียวกันความสามารถของ Tablet computer ตัวนี้สามารถทํางานได้เหมือนกับ iPad ที่ขายดีเป็นเทน้ําเทท่าอย่างทุกวันนี้ Frank Nuovo ซึึ่งเป็นอดีต Chief designer ของ Nokia เล่าถึงความหลังว่าผลิตภัณฑ์ทั้งสองอยูู่ผิดที่ผิดเวลา เพราะผู้บริหารของ Nokia ในช่วงนั้นให้ความเห็นว่าสินค้าทั้งสองไม่มีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ ดังนั้นนวัตกรรมที่ล้ําหน้าจึงถูกทําแท้งกลางอากาศ Frank Nuovo บอกว่าเมืึ่อเขาเห็น iPhone วางตลาดในปี 2007 เขารู้สึกหัวใจสลายเพราะโดยข้อเท็จจริง Nokia คิดเรื่องนี้ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990
เชืึ่อหรือไม่ว่างบประมาณ Research & development ของ Nokia มีมูลค่าถึง 40,000 ล้านเหรียญในระยะเวลาสิบปีซึ่งสูงกว่างบ R&D ของ Apple ถึง 4 เท่าในระยะเวลาเดียวกัน แต่ปัญหาของ Nokia คือการทําวิจัยของ Nokia มีทิศทางกระจัดกระจาย ประกอบกับการไม่ประสานงานกันภายในบริษัททําให้ไม่สามารถสร้างนวัตกรรมที่นําตลาดได้
ที่หนักข้อมากที่สุดคือการมองตลาดผิดพลาด เมื่อ iPhone ออกวางตลาดในปี 2007 ผู้บริหารของNokia มีความเห็นว่า iPhone ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่จะมาคุกคามความเป็นผู้นําของ Nokia เพราะ iPhoneตั้งราคาขายแพงมาก ดังนั้นมันเป็นคนละตลาดกับฐานลูกค้า Nokia นอกจากนั้นNokia ยังเอา iPhone ไปทดสอบมาตราฐานของการทํา Drop test คือเอา iPhone วางสูงจากพื้นห้าฟุตแล้วโยนลงมา ปรากฏว่า iPhone ไม่ผ่านการทดสอบ ที่ผมพูดเรื่อง Drop test เพราะ iPhone เอานวัตกรรมใหม่ไปเทียบกับมาตราฐานของตัวเอง ซึึ่งมันเป็นคนละเรื่องเลย ในความเป็นจริงผู้บริโภคมีความหลงใหลกับ iPhone ที่ดีไซน์ไม่ใช่ความทนทาน
ที่ตลาดตอบรับกับ iPhone อย่างเกินความคาดหมายมาจากสองปัจจัย หนึ่งหน้าจอที่เป็นระบบ Touch screen ทําให้จอมีขนาดใหญ่กว่าโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบกดปุ่ม สองระบบปฏิบัติการ iOS ของ Apple ที่เป็น Platform ให้ Application developer พัฒนา Application ต่างๆให้ลูกค้า iPhone ใช้ทําสิ่งต่างๆอย่างมากมายเกินกว่าที่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ เช่นเลือกร้านอาหาร ทําธุรกรรมทางการเงิน เป็นแผ่นที่ใช้เดินทาง
Nokia เป็นพวกความรู้สึกซ้า กว่าจะมารู้ซึ้งถึงแสนยานุภาพของ iPhone ต้องใช้เวลาเกือบหนึ่งปี ในปี 2008 Nokia จึงระดมทีมงานมาปัดฟุ่นพัฒนา Operating system ของตัวเองที่มีอายุใช้งานมานานมากชืึ่อ Symbian ให้สามารถแข่งกับ iOS ได้ เท่านั้นไม่พอ Nokia ติดต่อ Intel เพื่อพัฒนา OS ใหม่อีกตัวหนึ่งชื่อ Meego พูดง่ายๆ Nokia ตึ่นตระหนกกับความสําเร็จของ iPhone เลยใช้ Dual track strategy ในการสู้กับ iPhone
วิบากกรรมของ Nokia ยังไม่หมด ในปี 2005 Google ซื้อกิจการของบริษัท Android ซึึ่งเป็นบริษัทผลิต Operating system ให้กับ Mobile device สาเหตุที่ Google ซี้อ Android เพราะ Googleต้องการใช้ Android เป็นตัวเจาะตลาดโทรศัพท์มือถือ วิธีคิดของ Google ต้องบอกว่าสุดยอด พวกเขาเป็นตัวตั้งตัวตีตั้งบริษัทร่วมกิจการค้า (Consortium) ที่มีชื่อว่า Open handset alliance แล้วเชิญบริษัทที่อยู่ในธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่มีชืึ่อเสียงมาอยู่ใน Consortium ตัวอย่างเช่น Samsung, HTC, Sony, T-mobile, Sprint, Qualcomm คนเหล่านี้ประกอบด้วยผู้ผลิต Handset, Mobile operator,Chip maker ไปจนถึง Application developer แล้ว Google ให้บริษัท Android พัฒนา Operatingsystem สําหรับ Smartphone
ความพิเศษของ Android คือมันเป็น Open source license ที่เปิดให้คนนอกเข้ามาพัฒนา Mobile application ผลทําให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือใช้งาน Handset device ให้กลายเป็น Lifestyle enabler device ผมยกตัวอย่างง่ายๆ ล่าสุดที่เมือง New York มี Taxi application ที่ผู้โดยสารเพียงกด App นี้ แล้วมันจะส่งสัญญาณไปยัง Taxi ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง คนขับคนไหนที่ตอบกลัับระบบจะส่งสัญญาณไปยังที่ผู้โดยสารว่าอีกสักครู่จะมี Taxi หมายเลขอะไรมารับผู้โดยสาร Open
source platform เป็นเครื่องมือที่สร้างความได้เปรียบให้กับ Android เพราะมันเชิญชวนให้มี Application developer เข้ามาพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพอย่างร้อยเท่าทวีคูณ โดยที่ Android ไม่ต้องลงแรงมาก
โดยสรุป Google มี Killing strategy อยู่ 3 ประการ
a) ชักชวน Key players มาอยู่ใน Consortium เพื่อรุมกันล้มยักษ์อย่าง iPhone กับ Nokia
b) สร้าง Android ให้เป็น Open source platform ทําให้ศักยภาพของระบบพัฒนาแบบไม่รู้จบ
c) Google ให้ผู้ผลิตมือถือเอา Android ไปใช้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ถามว่าทําอย่างนี้ด้วยวัตถุประสงค์อะไร เพราะ Google ต้องการให้ Android มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนรายได้ของ Android มาจากค่าโฆษณา เพราะผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต้องใช้ Google เป็น Search engine แล้วGoogle ขายเนื้อที่โฆษณา พูดให้เข้าใจง่ายๆคือยิ่งมีผู้ใช้ Android มากเท่าไรเท่ากับเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้เป็นเงาตามตัว ฐานรายได้ที่สองคีอการแบ่งรายได้จาก Application developer ที่เอา App เอามาขายใน Android ฐานรายได้ที่สามคือ Location based marketing revenue โทรศัพท์มือถือสามารถระบุว่าเจ้าของมือถืออยู่ที่แห่งหนตําบลใด สมมติว่าท่านผู้อ่านเดินเข้าไปใน Shopping mall ทาง Google จะนําข้อมูลน้ีไปขายให้กับร้านค้าที่อยู่ใน Shopping mall แล้วระบบ Android จะส่งข่าวสารจากร้านค้านั้นเพื่อกระตุ้นให้เจ้าของโทรศัพท์มือถือไปซื้อสินค้าของร้านนั้นๆ
ด้วยวิธีคิดที่ล้ําลึก ภายในเวลาอันสั้น Android กลายเป็นเจ้าตลาดของระบบปฏิบัติการมือถือ ในไตรมาสแรกของปี 2010 Symbian มีส่วนแบ่งตลาด 44.2% ในขณะที่ Android มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 9.6% หนึ่งปีให้หลังสถานการณ์พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ในไตรมาสแรกของปี 2011 Symbian มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 27.4% ส่วน Android มีส่วนแบ่งตลาดพุ่งเป็น 36.0% ทุกวันนี้ Android มีส่วนแบ่งตลาด 75%
ความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของ Nokia คือมองตลาดผิด พวกเขาสนใจแต่การผลิตมือถือ ในขณะที่ตลาดเกิด Paradigm shift ไปที่คําว่า Platform กับ Software development
2. ความเชื่องช้าต่อการเปลี่ยนแปลงและปัญหาการเมือง
ถึงแม้จะรู้ว่าปัจจัยสําคัญในการแข่งขันมาอยู่ที่คําว่า Platform กับ Software แต่ Nokia เคลื่อนตัวช้ามาก Nokia ทํางานแบบรวมศูนย์และเวลาประชุมจะมีผู้เข้าร่วมในการตัดสินใจแบบมืดฟ้ามัวดิน มีคนพูดกันเล่นๆว่าผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือสัญชาติจีนออกแบบมือถือหนึ่งรุ่นใช้เวลาเท่ากับทีมงานของ Nokia ทํา Powerpoint presentation หนึ่งชุด ส่วนเรื่องปัญหาการเมืองทีม R&D สองทีมที่พัฒนา Symbianกับ Meego ต่างคนต่างชิงดีชิงเด่นกัน ทําให้งานคืบคลานไปได้ช้ามาก
การที่ Nokia เลือดไหลไม่หยุดทําให้ในปี 2010 คณะกรรมการของบริษัทตัดสินใจเปลี่ยน CEO มาเป็น Stephen Elop ซึ่งเป็นอดีตผู้บริหารของ Microsoft มาแก้ไขสถานการณ์ Elop กล่าวถึงสถานการณ์ของ Nokia ว่าเปรียบเสมือนหนึ่งว่าเช้าวันหนึ่งคนของ Nokia ตื่นมาอยู่บนแท่นขุดเจาะน้ํามันกลางทะเล และตัวแท่นกําลังไฟไหม้ ทางเลือกมีอยู่ทางเดียวคือทุกคนต้องสละแท่นด้วยการกระโดดลงในทะเล
Elop บอกว่า Nokia คือ Burning platform เขาตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ประการแรกยกเลิกระบบปฏิบัติการ Symbian ที่ล้าสมัย และ Meego ที่พัฒนาไปได้ช้ามาก ประการที่สอง Nokia ต้องเลือกระบบปฏิบัติการใหม่มาทดแทน ซึ่งมีเพียงสองทางเลือกคือ Android หรือ Microsoft Window ปรากฏว่าผลการเจรจากับ Google ไม่ประสบความสําเร็จ เพราะ Android กลายเป็นผู้นําตลาดแล้ว Google จึงไม่ได้ให้สิทธิพิเศษอะไรกับ Nokia ทําให้ Nokia หันไปเจรจากับ Microsoft ซึ่งในที่สุดผลประโยชน์ลงตัว เพราะต่างคนต่างก็ต้องพึ่งซึึ่งกันและกัน เพราะ Window ก็มีส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจโทรศัพท์มือถือน้อยมาก เลยหวังที่จะใช้ Nokia เป็นหนทางลัดไปสู่ความสําเร็จ
Elop ยังให้นโยบายอีกสองอย่างกับทีมงาน ข้อที่หนึ่งต้องพัฒนาโทรศัพท์มือถือราคาถูกให้สามารถสู้กับผู้ผลิตในประเทศจีนได้อย่างตาต่อตาฟันต่อฟัน นโยบายที่สองคือให้ทีม R&D พัฒนาสิ่งที่เขาเรียกว่า “The next big thing” เพื่อให้ Nokia สามารถ Outperform iPhone กับ Android
ข่าวล่าสุดสถานการณ์ทางการเงินของ Nokia ย่ําแย่ขนาดหนักต้องขายสํานักงานใหญ่ของตัวเองที่เมือง Epsoo แปรเปลี่ยนเป็นเงิน 170 ล้านยูโรเพืึ่อใช้ในการทําธุรกิจ เพราะ Cash position ของNokia หดหายภายในเวลาอันรวดเร็ว และทุกวันนี้ Credit rating ของ Nokia อยู่ที่ Junk status นี่ถือได้ว่าเป็น World class case study ของบริษัทที่หลงระเริงกับความสําเร็จของตัวเองและยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
...เวบนี้มีข่าวเจ๋งๆ ทุกวัน เช้ากับเเย็น (08.00 และ20.00 น.) ค่ะ
ส่วนตัวชอบมาก เพราะเป็นข่าวที่เจาะลึก และหาไม่ได้ง่ายๆ จากสื่อรายวันที่เราเสพ
ลองเข้าไปอ่านกันค่ะ อย่างน้อย คุณต้องได้ไอเดียอะไรสักอย่างหลังจากเข้าเวบนี้แน่ๆ...เชื่อสิ!!!
www.blacksheep.co.th
ความจริงของ Nokia ว่าทำไมถึงกลายเป็นเทวดาตกสวรรค์...!!!
ท่านผู้อ่านเคยถามตัวเองไหมครับว่าอะไรเกิดขึ้นกับบริษัท Nokia ที่ครั้งหนึ่งเป็น King maker ในวงการโทรศัพท์มือถือ พวกเขาเคยครองตําแหน่งอันดับหนึึ่งถึงสิบสี่ปีติดต่อกัน แต่ในปีนี้พวกเขาหลุดออกจากตําแหน่ง Top 5 ของผู้ผลิต Smart phone ในปี 1998 Nokia ก้าวขึ้นเป็นผู้นําตลาดโลกเป็นครั้งแรกด้วยการล้มยักษ์อย่าง Motorola ตอนนั้น Samsung เพิ่งเริ่มผลิตโทรศัพท์มือถือ ในปี 2007 เป็นปีที่ Apple วางตลาด iPhone ช่วงนั้น Nokia มีส่วนแบ่งตลาดถึง 40% ทําไมภายในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปีพวกเขาถึงกลายเป็นเทวดาตกสวรรค์
คําตอบคือความหยิ่งผยองในความยิ่งใหญ่ของตนเองและการบริหารจัดการที่ผิดพลาดเป็นปัจจัยสองประการที่ทําให้ Nokia มีชีวิตที่ผกผัน และผมได้รวบรวมข้อมูลเหล่านั้นมาเล่าให้ท่านผู้อ่านได้ศึกษาเป็นอุทธาหรณ์
1. มองไม่เห็นอนาคต
เชืึ่อหรือไม่ว่าเจ็ดปีก่อนที่ Apple จะวางตลาดโทรศัพท์มือถือ iPhone ทีมงานของ Nokia ผลิต Prototype ของโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบ Touch screen และมีปุ่มคําสั่งเพียงปุ่มเดียว ความสามารถของ Prototype เครื่องนี้มีความคล้ายคลึงกับ iPhone นอกจากนั้นทีม R&D ยังผลิตต้นแบบของสินค้าอีกตัวหนึ่งที่เป็น Tablet computer ที่ใช้ระบบ Touch screen และสามารถเชื่อมต่อกับ Internet ด้วยระบบ Wireless connection เช่นเดียวกันความสามารถของ Tablet computer ตัวนี้สามารถทํางานได้เหมือนกับ iPad ที่ขายดีเป็นเทน้ําเทท่าอย่างทุกวันนี้ Frank Nuovo ซึึ่งเป็นอดีต Chief designer ของ Nokia เล่าถึงความหลังว่าผลิตภัณฑ์ทั้งสองอยูู่ผิดที่ผิดเวลา เพราะผู้บริหารของ Nokia ในช่วงนั้นให้ความเห็นว่าสินค้าทั้งสองไม่มีความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ ดังนั้นนวัตกรรมที่ล้ําหน้าจึงถูกทําแท้งกลางอากาศ Frank Nuovo บอกว่าเมืึ่อเขาเห็น iPhone วางตลาดในปี 2007 เขารู้สึกหัวใจสลายเพราะโดยข้อเท็จจริง Nokia คิดเรื่องนี้ตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990
เชืึ่อหรือไม่ว่างบประมาณ Research & development ของ Nokia มีมูลค่าถึง 40,000 ล้านเหรียญในระยะเวลาสิบปีซึ่งสูงกว่างบ R&D ของ Apple ถึง 4 เท่าในระยะเวลาเดียวกัน แต่ปัญหาของ Nokia คือการทําวิจัยของ Nokia มีทิศทางกระจัดกระจาย ประกอบกับการไม่ประสานงานกันภายในบริษัททําให้ไม่สามารถสร้างนวัตกรรมที่นําตลาดได้
ที่หนักข้อมากที่สุดคือการมองตลาดผิดพลาด เมื่อ iPhone ออกวางตลาดในปี 2007 ผู้บริหารของNokia มีความเห็นว่า iPhone ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ที่จะมาคุกคามความเป็นผู้นําของ Nokia เพราะ iPhoneตั้งราคาขายแพงมาก ดังนั้นมันเป็นคนละตลาดกับฐานลูกค้า Nokia นอกจากนั้นNokia ยังเอา iPhone ไปทดสอบมาตราฐานของการทํา Drop test คือเอา iPhone วางสูงจากพื้นห้าฟุตแล้วโยนลงมา ปรากฏว่า iPhone ไม่ผ่านการทดสอบ ที่ผมพูดเรื่อง Drop test เพราะ iPhone เอานวัตกรรมใหม่ไปเทียบกับมาตราฐานของตัวเอง ซึึ่งมันเป็นคนละเรื่องเลย ในความเป็นจริงผู้บริโภคมีความหลงใหลกับ iPhone ที่ดีไซน์ไม่ใช่ความทนทาน
ที่ตลาดตอบรับกับ iPhone อย่างเกินความคาดหมายมาจากสองปัจจัย หนึ่งหน้าจอที่เป็นระบบ Touch screen ทําให้จอมีขนาดใหญ่กว่าโทรศัพท์มือถือที่ใช้ระบบกดปุ่ม สองระบบปฏิบัติการ iOS ของ Apple ที่เป็น Platform ให้ Application developer พัฒนา Application ต่างๆให้ลูกค้า iPhone ใช้ทําสิ่งต่างๆอย่างมากมายเกินกว่าที่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ เช่นเลือกร้านอาหาร ทําธุรกรรมทางการเงิน เป็นแผ่นที่ใช้เดินทาง
Nokia เป็นพวกความรู้สึกซ้า กว่าจะมารู้ซึ้งถึงแสนยานุภาพของ iPhone ต้องใช้เวลาเกือบหนึ่งปี ในปี 2008 Nokia จึงระดมทีมงานมาปัดฟุ่นพัฒนา Operating system ของตัวเองที่มีอายุใช้งานมานานมากชืึ่อ Symbian ให้สามารถแข่งกับ iOS ได้ เท่านั้นไม่พอ Nokia ติดต่อ Intel เพื่อพัฒนา OS ใหม่อีกตัวหนึ่งชื่อ Meego พูดง่ายๆ Nokia ตึ่นตระหนกกับความสําเร็จของ iPhone เลยใช้ Dual track strategy ในการสู้กับ iPhone
วิบากกรรมของ Nokia ยังไม่หมด ในปี 2005 Google ซื้อกิจการของบริษัท Android ซึึ่งเป็นบริษัทผลิต Operating system ให้กับ Mobile device สาเหตุที่ Google ซี้อ Android เพราะ Googleต้องการใช้ Android เป็นตัวเจาะตลาดโทรศัพท์มือถือ วิธีคิดของ Google ต้องบอกว่าสุดยอด พวกเขาเป็นตัวตั้งตัวตีตั้งบริษัทร่วมกิจการค้า (Consortium) ที่มีชื่อว่า Open handset alliance แล้วเชิญบริษัทที่อยู่ในธุรกิจโทรศัพท์มือถือที่มีชืึ่อเสียงมาอยู่ใน Consortium ตัวอย่างเช่น Samsung, HTC, Sony, T-mobile, Sprint, Qualcomm คนเหล่านี้ประกอบด้วยผู้ผลิต Handset, Mobile operator,Chip maker ไปจนถึง Application developer แล้ว Google ให้บริษัท Android พัฒนา Operatingsystem สําหรับ Smartphone
ความพิเศษของ Android คือมันเป็น Open source license ที่เปิดให้คนนอกเข้ามาพัฒนา Mobile application ผลทําให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือใช้งาน Handset device ให้กลายเป็น Lifestyle enabler device ผมยกตัวอย่างง่ายๆ ล่าสุดที่เมือง New York มี Taxi application ที่ผู้โดยสารเพียงกด App นี้ แล้วมันจะส่งสัญญาณไปยัง Taxi ที่อยู่บริเวณใกล้เคียง คนขับคนไหนที่ตอบกลัับระบบจะส่งสัญญาณไปยังที่ผู้โดยสารว่าอีกสักครู่จะมี Taxi หมายเลขอะไรมารับผู้โดยสาร Open
source platform เป็นเครื่องมือที่สร้างความได้เปรียบให้กับ Android เพราะมันเชิญชวนให้มี Application developer เข้ามาพัฒนาระบบให้มีประสิทธิภาพอย่างร้อยเท่าทวีคูณ โดยที่ Android ไม่ต้องลงแรงมาก
โดยสรุป Google มี Killing strategy อยู่ 3 ประการ
a) ชักชวน Key players มาอยู่ใน Consortium เพื่อรุมกันล้มยักษ์อย่าง iPhone กับ Nokia
b) สร้าง Android ให้เป็น Open source platform ทําให้ศักยภาพของระบบพัฒนาแบบไม่รู้จบ
c) Google ให้ผู้ผลิตมือถือเอา Android ไปใช้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ถามว่าทําอย่างนี้ด้วยวัตถุประสงค์อะไร เพราะ Google ต้องการให้ Android มีฐานลูกค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนรายได้ของ Android มาจากค่าโฆษณา เพราะผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต้องใช้ Google เป็น Search engine แล้วGoogle ขายเนื้อที่โฆษณา พูดให้เข้าใจง่ายๆคือยิ่งมีผู้ใช้ Android มากเท่าไรเท่ากับเพิ่มศักยภาพในการสร้างรายได้เป็นเงาตามตัว ฐานรายได้ที่สองคีอการแบ่งรายได้จาก Application developer ที่เอา App เอามาขายใน Android ฐานรายได้ที่สามคือ Location based marketing revenue โทรศัพท์มือถือสามารถระบุว่าเจ้าของมือถืออยู่ที่แห่งหนตําบลใด สมมติว่าท่านผู้อ่านเดินเข้าไปใน Shopping mall ทาง Google จะนําข้อมูลน้ีไปขายให้กับร้านค้าที่อยู่ใน Shopping mall แล้วระบบ Android จะส่งข่าวสารจากร้านค้านั้นเพื่อกระตุ้นให้เจ้าของโทรศัพท์มือถือไปซื้อสินค้าของร้านนั้นๆ
ด้วยวิธีคิดที่ล้ําลึก ภายในเวลาอันสั้น Android กลายเป็นเจ้าตลาดของระบบปฏิบัติการมือถือ ในไตรมาสแรกของปี 2010 Symbian มีส่วนแบ่งตลาด 44.2% ในขณะที่ Android มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 9.6% หนึ่งปีให้หลังสถานการณ์พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ ในไตรมาสแรกของปี 2011 Symbian มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 27.4% ส่วน Android มีส่วนแบ่งตลาดพุ่งเป็น 36.0% ทุกวันนี้ Android มีส่วนแบ่งตลาด 75%
ความผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงของ Nokia คือมองตลาดผิด พวกเขาสนใจแต่การผลิตมือถือ ในขณะที่ตลาดเกิด Paradigm shift ไปที่คําว่า Platform กับ Software development
2. ความเชื่องช้าต่อการเปลี่ยนแปลงและปัญหาการเมือง
ถึงแม้จะรู้ว่าปัจจัยสําคัญในการแข่งขันมาอยู่ที่คําว่า Platform กับ Software แต่ Nokia เคลื่อนตัวช้ามาก Nokia ทํางานแบบรวมศูนย์และเวลาประชุมจะมีผู้เข้าร่วมในการตัดสินใจแบบมืดฟ้ามัวดิน มีคนพูดกันเล่นๆว่าผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือสัญชาติจีนออกแบบมือถือหนึ่งรุ่นใช้เวลาเท่ากับทีมงานของ Nokia ทํา Powerpoint presentation หนึ่งชุด ส่วนเรื่องปัญหาการเมืองทีม R&D สองทีมที่พัฒนา Symbianกับ Meego ต่างคนต่างชิงดีชิงเด่นกัน ทําให้งานคืบคลานไปได้ช้ามาก
การที่ Nokia เลือดไหลไม่หยุดทําให้ในปี 2010 คณะกรรมการของบริษัทตัดสินใจเปลี่ยน CEO มาเป็น Stephen Elop ซึ่งเป็นอดีตผู้บริหารของ Microsoft มาแก้ไขสถานการณ์ Elop กล่าวถึงสถานการณ์ของ Nokia ว่าเปรียบเสมือนหนึ่งว่าเช้าวันหนึ่งคนของ Nokia ตื่นมาอยู่บนแท่นขุดเจาะน้ํามันกลางทะเล และตัวแท่นกําลังไฟไหม้ ทางเลือกมีอยู่ทางเดียวคือทุกคนต้องสละแท่นด้วยการกระโดดลงในทะเล
Elop บอกว่า Nokia คือ Burning platform เขาตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ประการแรกยกเลิกระบบปฏิบัติการ Symbian ที่ล้าสมัย และ Meego ที่พัฒนาไปได้ช้ามาก ประการที่สอง Nokia ต้องเลือกระบบปฏิบัติการใหม่มาทดแทน ซึ่งมีเพียงสองทางเลือกคือ Android หรือ Microsoft Window ปรากฏว่าผลการเจรจากับ Google ไม่ประสบความสําเร็จ เพราะ Android กลายเป็นผู้นําตลาดแล้ว Google จึงไม่ได้ให้สิทธิพิเศษอะไรกับ Nokia ทําให้ Nokia หันไปเจรจากับ Microsoft ซึ่งในที่สุดผลประโยชน์ลงตัว เพราะต่างคนต่างก็ต้องพึ่งซึึ่งกันและกัน เพราะ Window ก็มีส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจโทรศัพท์มือถือน้อยมาก เลยหวังที่จะใช้ Nokia เป็นหนทางลัดไปสู่ความสําเร็จ
Elop ยังให้นโยบายอีกสองอย่างกับทีมงาน ข้อที่หนึ่งต้องพัฒนาโทรศัพท์มือถือราคาถูกให้สามารถสู้กับผู้ผลิตในประเทศจีนได้อย่างตาต่อตาฟันต่อฟัน นโยบายที่สองคือให้ทีม R&D พัฒนาสิ่งที่เขาเรียกว่า “The next big thing” เพื่อให้ Nokia สามารถ Outperform iPhone กับ Android
ข่าวล่าสุดสถานการณ์ทางการเงินของ Nokia ย่ําแย่ขนาดหนักต้องขายสํานักงานใหญ่ของตัวเองที่เมือง Epsoo แปรเปลี่ยนเป็นเงิน 170 ล้านยูโรเพืึ่อใช้ในการทําธุรกิจ เพราะ Cash position ของNokia หดหายภายในเวลาอันรวดเร็ว และทุกวันนี้ Credit rating ของ Nokia อยู่ที่ Junk status นี่ถือได้ว่าเป็น World class case study ของบริษัทที่หลงระเริงกับความสําเร็จของตัวเองและยึดถือตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล
...เวบนี้มีข่าวเจ๋งๆ ทุกวัน เช้ากับเเย็น (08.00 และ20.00 น.) ค่ะ
ส่วนตัวชอบมาก เพราะเป็นข่าวที่เจาะลึก และหาไม่ได้ง่ายๆ จากสื่อรายวันที่เราเสพ
ลองเข้าไปอ่านกันค่ะ อย่างน้อย คุณต้องได้ไอเดียอะไรสักอย่างหลังจากเข้าเวบนี้แน่ๆ...เชื่อสิ!!!
www.blacksheep.co.th