ขอถามคำถามเกี่ยวกับ บทความ ในนิตยสารภาพยนตร์ในไทย

เมื่อก่อนเคยสงสัยว่า ทำไมคนเขียนพวสกู๊ปภาพยนตร์ถึงเก่งจัง เพราะบางอย่างมันก็ดูเหมือนเป็นข้อมูลที่ลึกมากแบบที่นิตยสารหรือแค่คนปกติทั่วไปไม่สามารถรู้ได้ เช่นภาพยนตร์ต่างประเทศบางเรื่อง สามารถนำเรื่องราวเบื้องลึกมาเขียนได้อย่างน่าอ่าน แบบที่เป็นเชิงลึกกว่า news feeds ทั่วไป

ทีนี้เราเคยเห็นบางบทความมีการให้เครดิตท้ายบทความสำหรับกรณีที่ "เรียบเรียงมาจาก.." ที่อื่น หรือ เรียบเรียงมาจากบทความภาษาอังกฤษอีกที
แบบนี้ยังพอเข้าใจ

หรือแบบบทสัมภาษณ์แบบเอ็กคลูซีฟสุดๆ ที่เราเดาว่า คงซื้อมาแล้วเอามาแปลเอา

แต่ไม่นานมานี้มานี้เราพึ่งไปอ่านบทความหนึ่งในเว็ปไซต์ภาพยนตร์แห่งหนึ่ง ซึ่งบทความนี้ได้ลงใน New York Magazine ตอนแรกๆเราก็อ่านไปเพลินๆ อ่านไปอ่านมา ทำไมรู้สึกว่าเหมือนเคยอ่านบทความแบบนี้เป็นภาษาไทยมาก่อน

เราเลยไปเปิดนิตยสารหนังเล่มหนึ่งที่พึ่งซื้อมามาลองเทียบ ปรากฏว่า บรรทัดแรกของบทความ เริ่มต้นแบบเดียวกันเป๊ะ แต่เนื้อหาของบทความจะค่อนข้างแตกต่างไปเล็กน้อย เพราะบทความในฉบับภาษาอังกฤษมันยาวมาก แต่ของไทยมันสั้น แต่เราอ่านแล้วรวมๆ เรื่องลำดับการเล่าเรื่องในบทความ ข้่อมูล หรือ สำนวนการเขียน เหมือนแปลออกมาจากบทความของ New York Magazine เลย..

ถ้าถามว่าเราคิดไปเองหรือเปล่า อาจจะใช่ก็ได้ แต่เท่าที่เราอ่านจากหลายๆเว็ป แม้จะเป็นข้อมูลชุดเดียวกัน แต่ก็ไม่รู้สึกว่าคล้ายกันเท่าบทความชิ้นนี้ที่เจอในนิตยสารของไทยเลย

แต่ทีนี้ บทความของไทยมันขึ้นชื่อคนเขียน โดดๆเลย ไม่มีเครดิตให้ที่อื่น

คำถามของเราคือ
1. แบบนี้เรียกว่าลอกได้ไหม หรือจริงๆแล้วเขาซื้อมาแล้วนำมาดัดแปลงเอา ?
2. บทความพวกนี้ถ้าซื้อมาแล้วเราสามารถเอามาดัดแปลงแล้วใส่ชื่อของตัวเองไปได้เลยหรือไม่ ?
3. ในเมื่อถ้าซื้อมาแล้วจริงๆทำไมไม่ลงแบบแปลแล้วขึ้นเครดิตนิตยสารหรือกองบรรณาธิการไปเลย ?
4. หรือที่ต้องตัดทอนเพราะ เนื้อที่ในการลงเนื้อหาของนิตยสารไม่อำนวย?

อยากทราบจริงๆ ไม่ได้จงใจจับผิด ใครมีความรู้ช่วยมาบอกกล่าวที จักเป็นพระคุณยิ่ง
(อยากทราบเรื่องบทความต่างๆในนิตยสารภาพยนตร์เหล่านี้มานานแล้ว)


ปล.ขออณุญาติไม่เอ่ยชื่อนิตยสารหรือชื่อบทความที่เราพาดพิงถึง เพราะเป็นแค่ความสงสัยส่วนตัว อาจเกิดความเสียหายแก่ผู้ที่ถูกพาดพิถึงได้
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
บทสัมภาษณ์คนในวงการภาพยนต์หาเจอใน youtube มีเยอะมากๆ ถ้าเขียนว่าใครให้สัมภาษณ์ว่าอะไรมันก็เหมือนเขียนข่าว แต่เอาข่าวมาจากไหนก็ควรให้แหล่งข้อมูล การเขียนภาษาไทยเรื่องราวที่ค้นคว้าเจอจากสื่อต่างๆและจาก websites ต่างประเทศ  ถ้าแปลตรงๆตัวโดยไม่ให้เครดิตแหล่งที่มาก็ถือว่าลอก

แต่ถ้าอ่านจับใจความแล้วเขียนใหม่ด้วยถ้อยคำตัวเอง (ไม่ใช่การแปล) โดยเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงๆ (ซึ่งใครๆก็รู้) เช่นใครสร้างหนังเรื่องอะไร ใครแสดงหนังเรื่องอะไร ทำไมถึงได้รับการคัดเลือกให้แสดง ใครได้รับรางวัลอะไร และประวัติคนพวกนี้เป็นมายังไง (ซึ่งเป็น facts) แล้วสอดแทรกบทวิจารณ์ของคนเขียนเข้าไป ไม่ถือว่าลอกนะ  เพราะคนที่จะเขียนหนังสือไม่ว่าเรื่องอะไรเขาก็ต้องค้นข้อมูลกันเหมือนกัน  

จะตัดสินว่าลอกหรือไม่ลอกก็ต้องวางภาษาไทยเทียบภาษาอังกฤษ

แม้กระทั่งตำราก็เหมือนกัน อย่างเช่นถ้าใครอ่านตำราภาษาอังกฤษที่แจกฟรีบน websites มากๆจนเข้าใจเนื้อหาเป็นอย่างดี  จะเอาหลักการพวกนั้นไปเขียนภาษาไทยเป็นตำราภาษาอังกฤษ แล้วคิดตัวอย่างประโยคภาษาอังกฤษขึ้นมาเอง ถ้าไม่วางลำดับเค้าโครงหนังสือภาษาไทยให้เหมือนภาษาอังกฤษเป๊ๆนะ ก็ไม่รู้จะไปพิสูจน์ยังไงว่าลอก  

จริงๆแล้วนักแปลนี่หละที่จะเป็นคนในอาชีพที่สามารถค้นข้อมูลจากภาษาอังกฤษ โดยอ่านจับใจความแล้วเขียนหนังสือภาษาไทยดีๆขึ้นใหม่ได้โดยไม่โดนข้อหาว่าลอก  เพราะนักแปลมีทักษะในการค้นข้อมูล และการปรับเปลี่ยนถ้อยคำ (ได้จากประสบการณ์ edit (ตรวจแก้) คำแปลของตนเอง และของเพื่อนร่วมงาน) ซึ่งทักษะนี้เอามาใช้เขียนหนังสือได้โดยไม่มีขอบเขตจำกัด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่