เปิดกระบวนการปล้นผู้บริโภคของ สินเชื่อรถยนต์(ไฟแนนซ์) รู้ก่อนโดนยึด

กระทู้ข่าว
รถหนอรถคันแรกอยู่ไหน  เฮาจะตามไปยึดคืนมีการประเมินกันออกมาจากภาคธุรกิจสินเชื่อรถยนต์ว่าปลายปีนี้จะเริ่มเกิดมหกรรมยึุดคืนรถคันแรกเพราะผ่อนกันไม่ไหว  ก็จะผ่อนไหวได้ยังไงล่ะครับ(ตามภาพ)


ตามรายงานข่าวคือช่วงนโยบายนี้เต๊นรถมือสองยอดขายหดตัวอย่างรุนแรง  แต่ว่าเจ้าของเต๊นรถรอรถหลุดจากโครงการนี้มาขายต่อในส่วนรถมือสอง  และประเมินกันหลายฝ่ายว่าปลายปีนี้จะเริ่มเห็นรถหลุดเยอะ  ไอ้ตรงรถหลุดนี่แหละมันหลุดจากการนำยึดและนำขายของไฟแนน  ปัญหาที่ต้องมาเขียนในบทความเชิงวิเคราะห์แบบขัดใจ ใครหลายคน





กระบวนการปล้นผู้บริโภคของไฟแนน แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้น 1
การติดตามทางถามหนี้ในกรณีเราขาดการส่งค่างวดรถ  ในส่วนนี้ให้สังเกตุดีๆจะมีการบวกเพิ่มค่าส่งหนังสือ(กระดาษแผ่นเดียว)  แล้วบอกค่าทวงถาม 500 บาทให้จ่ายเพิ่มในการชำระครั้งต่อๆไปด้วยนะ เจ้าคนซื้อรถหน้าโง่  เพราะค่าทวงหนี้กฎหมายไม่มีให้นะครับ  แม้ตกลงกันไว้ในสัญญาก็อาจจะถือได้ว่าเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม(ที่เห็นในการฟ้องคดีต่อศาลเงินในส่วนนี้ศาลไม่ให้นะครับเพราะถือว่าเอาเปรียบคู่สัญญาเกินควร)แถมเวลาเราผ่อนไปในยอดค่าชำระเท่าเดิมไม่เพิ่มค่าทวงหนี้ให้เขา  เขาหักค่าทวงหนี้ก่อนเอาไปจ่ายค่างวดรถให้เราอีกนะบ้างบริษัท   หรือบ้างบริษัทให้เราจ่ายค่าทวงหนี้ก่อนถึงจะให้ผ่อนค่างวดรถได้โดยอ้างการยึดรถยนต์มาขู่  

ขั้น 2
เอาล่ะถึงช่วงสำคัญแล้วเจ้าหน้าที่ถือกุญแจจะมายึดรถทำไงต่อดีหว่าาาา   รถแสนรักขับอวดชาวบ้านอยู่ทุกวันกำลังจะถูกเจ้าหน้าที่ไฟแนนยึด  จุดนี้สำคัญมากขอดูเอกสารทุกอย่างก่อนนะครับ  เรามีสิทธิไม่ให้รถยนต์ได้นะโดยอ้างว่า "ไม่รู้ใช่เจ้าหน้าที่ของบริษัทจริงๆหรือเปล่า"  อ้าวหัวหมออีกนิ  ทนายนี่  ก็มันทำได้จริงๆโดยบังคับให้เขาไปเรียกตำรวจมาและไปลงบันทึกประจำวันก่อนและตอนมายึดรถให้มาพร้อมตำรวจด้วย  เราถึงเชื่อจนปล่อยรถไป  จุดนี้หลายคนไม่รู้  แต่สำคัญมากเกิดเจ้าหน้าที่ๆมาแอบอ้างล่ะ  รถคุณหายเลยนะ  ผมเลยแนะนำว่า 1)บอกไปให้ลงบันทึกประจำวันก่อนว่าจะมายึดรถยนต์คันนี้  พร้อมแสดงเอกสารตัวแทนของบริษัทอย่างละเอียดตามกฎหมาย(หนังสือรับรองบริษัท  ตลอดจนหนังสือมอบอำนาจให้กระทำการแทนบริษัทได้  พร้อมบัตรพนักงาน)ถ้าทำครบสามข้อแล้วค่อยปล่อยรถให้มันยึดไป  แต่ขอเตือนไฟแนนซ์นี่ทำตัวอย่างโจร  คนทวงรถบางคนพกปืนมาขู่เราอีก  ถ้าเจอแบบนี้แจงความคดีอาญาจับพนักงานกับบริษัทไฟแนนซ์เลย  เพราะไม่มีกฎหมายให้เอาปืนมาขู่เราได้   หรือถ้าจะทำร้างร่างกายเราก็ผิดอาญา(รถแสนรักยอมโดนตบเพื่อเธอ) กรณีอยู่ๆตื่นมาแล้วรถยนต์หายนี่เรื่องใหญ่นะ  หายที่ว่าคือกรณีไฟแนนซ์ยึดรถยนต์เราไปแล้วนะโดยไม่แจ้งด้วยอยู่ๆมาขับไป  ถามว่าเขามีสิทธิทำได้ตามกฎหมายไหม  คำตอบคือไม่มีนะแต่เพราะผลของสัญญาที่เราเขียนไปตอนซื้อรถทำให้เขาทำอย่างนั้นได้เท่านั้นเอง  แต่ทำได้ระดับหนึ่งคือถ้ารถแสนรักจอดอยู่ในบ้านเจ้าหน้าที่ทวงรถยนต์ไม่มีสิทธิ์บุกเข้ามายึดรถเราไปนะครับ  ถ้าเข้ามามากกว่าสองคนก็ถือว่าร่วมกันบุกรุกในเคหสถานโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี  เพราะฉะนั้นท่านที่กำลังหาช่องไม่ให้โดยยึดรถแสนรักอยู่อีกวิธีหนึ่งคือจอดรถในบริเวณมีรั้วเปิดปิดได้จะดีที่สุด  อย่างน้อยก็สร้างภาระให้เขาเอารถเราออกไปได้ยากกว่าจอดตามหอพักหรือริมถนน  เพราะที่จอดรถหอพักบ้างที่ก็เป็นที่สาธารณะบุกรุกเข้ามาได้ไม่ผิดกฎหมายแต่บางที่ก็ผิดแต่คนเอาผิดได้คือเ้จ้าของหอพักไม่ใช่เรา  

ขั้น 3
รถที่ได้ไฟแนนซ์เขาเอาไปทำไรหว่า
เขาก็เอาขายดิครับ  ถามได้  เขาจะเอามาขับเองก็ไม่ได้ทำให้เงินต้นที่ปล่อยกู้ลูกค้าคืนไปได้คืนมาแต่อย่างใด  จะเอาไปทำธุรกิจให้เช่ารถยนต์ก็ไม่ได้เพราะไม่มีที่จอด(นี่เรื่องจริง)
เขาจะมีการจัดประมูลราคารถยนต์พวกนี้อยู่ในสถานที่ใดซักที่หนึ่ง  ซึ่งเจ้าของรถไม่สามารถไปรับรู้ได้นอกจากจะติดตามรถแสนรักอย่างสุดใจ  ประหนึ่งเมียหนีแล้วออกตามหา  ประเด็นมันอยู่ตรงราคาครับ  คุณคิดว่าราคารถที่ยึดไปจะเอาไปขายได้เท่าไร  ตรงนี้สำคัญนะเราจะเคยได้ยินว่ามีคนวงในไฟแนนซ์รับซื้อรถหลุดพวกนี้ไว้เองเพราะจะเอามาประมูลขายราคาถูกกว่าท้องตลาด  เนื่องจากระบบการประมูลรถไม่ได้เปิดเผยให้เจ้าของทราบนี่ว่าจะขายที่ไหน  ราคาเริ่มต้นที่เท่าไร  และขายเมื่อไร  ตลอดจนสำคัญที่สุดไม่แจ้งให้ทราบว่าราคาประมูลหากขาดเท่าไรจะดำเนินการฟ้องเอากับคนเช่าซื้อและคนค้ำประกันต่อ  แต่ผมยังไม่เคยเห็นกรณีขายราคาดีเกินจนคนเช่าซื้อได้เงินคืนจากไฟแนนซ์นะ(หรืออาจจะะมีแต่ผมไม่รู้)
ผมไม่แน่ใจว่าภาษีรถคันแรกเรียกคืนตรงนี้เลยหรือเปล่าเพราะยังไม่เห็นประกาศชัดๆ  แต่ตามข่าวคิดว่าขายได้เท่าไรหักคืนภาษีก่อนเลยขั้น 4
ฟ้องคดีต่อศาล  เรียกค่านั้นค่านี่  สารพัด  โดยคิดบนฐานว่ายอดจัดไฟแนนซ์เท่าไร  ผ่อนมาเท่าไร  เริ่มเบี้ยวค่างวดตั้งแต่เมื่อไร(ระยะเวลาดอกเบี้ยนี่ผมไม่ชัวร์แต่ละบริษัทเริ่มนับวันไหนกันเพราะขึ้นอยู่กับนโยบายด้วยแต่ปกติจะหลังขายรถไปแล้ว)  รถยนต์ขายได้เท่าไร  ค่าติดตามทวงถามกี่ครั้งๆล่ะกี่บาท  ค่าทนายความ ค่าขึ้นศาล  ค่าขาดโอกาศทางธุรกิจ  

ถ้ายอดไฟแนนซ์ 6 แสน  ผ่อนไปสองแสนรถขายได้สามแสน หักภาษีรถคันแรกไป 1 แสน เหลือ 2 แสน เท่ากับต้องจ่ายคืนไฟแนนซ์เปล่าๆ 2 แสนบาทไม่รวมค่าขาดโอกาศและค่าอื่นๆพร้อมดอกเบี้ยชั้นศาลถ้ามาถึงขั้นนี้สู้ได้ไม่กี่ประเด็น คือ
ไปดูว่าราคาตอนขายรถไปขายตามราคาตลาดจริงๆหรือเปล่า  สำคัญนะรถสี่แสน มันไปขายสามแสนไม่ได้เพราะส่วนต่างนี้เขามาฟ้องเราอีก  

ที่สำคัญดูด้วยว่าค่าอย่างอื่นที่เรียกว่าเป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือไม่  ซึ่งไม่เป็นธรรมอยู่แ้ล้วเพราะเป็นสัญญาฝ่ายเดียว  ค่านั้นค่านี่ที่ฟ้องมานะศาลไม่ค่อยให้หรอกเพราะศาลสงสารประชาชนผู้บริโภค  จะให้ก็ให้ส่วนของดอกเบี้ย  ส่วนค่าอย่างอื่นต้องมาพิสูจน์กันว่าเสียหายจริงไหมคนซื้อและคนค้ำประกันโดนกันทั่วหน้า  เพราะถือว่าเป็นลูกหนี้ร่วม  ตามกฎหมายคนค้ำประกันก็เหมือนคนซื้อเอง  ถ้าคนซื้อไม่จ่ายคนค้ำก็ต้องจ่ายแทน  ที่สำคัญถ้ามีหมายศาลมาอย่าลืมหาทนายไปศาลเพื่อให้ช่วยดูนั้นดูนี่ให้  หมอกับเหมือนทนายความ  มีปัญหาก็ต้องเสียเงินให้ไปดูให้เพียงแต่มันไม่มีทนายความ 30 บาทเท่านั้นแหละครับ

copyมาจากเฟสของ ทนายรณณรงค์  แก้วเพ็ชร์
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่