ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556
นายกสมาคมผู้ปกครอง-ครูออกโรงจี้ผู้บริหารแจงยุบรวมโรงเรียนอัสสัมชัญบางรักประถม-มัธยม หวั่นถูกลอยแพ แฉบีบเซ็นลาออก แต่งดำประท้วง ขีดเส้น 17 ม.ค. นัดชุมนุมขอคำตอบ
ภายหลัง "หมอนิด" กิจจา ทวีกุลกิจ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2555 ระบุว่า "โรงเรียน (ร.ร.) ถูกยึด ครูถูกบีบให้เซ็นใบลาออก เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจมาก ที่ ร.ร. ชื่อดังและเก่าแก่ของประเทศไทยกำลังจะถูกยึด ไม่รู้ว่าเป็นความคิดของใคร หรือนโยบายของนักการเมืองคนไหน ครูทุกคนใน ร.ร. ถูกบีบบังคับให้เซ็นใบลาออกล่วงหน้า ถ้าครูคนไหนไม่ยอมเซ็นใบลาออกจะถูกให้ออก พร้อมจ่ายค่าชดเชยให้ เรื่องนี้ไม่มีสื่อไหนลงข่าวเลย ถูกปิดข่าวเงียบเหมือนอยู่ในแดนสนธยา ครูหลายคนแต่งชุดดำประท้วงเงียบๆ แต่คงไม่เป็นผล เพราะมีครูบางคนถูกเรียกเข้าไปกล่อมถึงในกระทรวง"
เกี่ยวกับเรื่องนี้ "คม ชัด ลึก" ได้รับการเปิดเผยจาก ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ว่า สาเหตุที่ครูโรงเรียนอัสสัมชัญบางรักแต่งชุดดำนั้น เป็นความจริง เพราะโรงเรียนอัสสัมชัญสมัยก่อนตั้งอยู่ที่บางรักแห่งเดียว แต่ด้วยจำนวนเด็กนักเรียนที่มากขึ้น ทำให้มีการแบ่งเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญฝ่ายมัธบม ตั้งอยู่ที่บางรัก ส่วนฝ่ายประถม ตั้งอยู่ที่ซอยเซนต์หลุยส์ พอมาตอนนี้ทางโรงเรียนต้องการยุบรวมทั้ง 2 แห่งเข้าด้วยกัน
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน ระบุไว้ว่า ถ้าจะยุบรวมกันก็สามารถทำได้ แต่การยุบรวมดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อครู เพราะยังไม่ได้รับความชัดเจนจากทางโรงเรียนว่า เมื่อยุบรวมแล้วครูจะทำงานต่อเนื่องได้หรือไม่ สถานภาพครู เงินเดือนครูที่จะได้รับเป็นอย่างไร แต่ที่ผ่านมาไม่มีคำอธิบาย หากครูไม่ได้ทำงานเนื่องจากเซ็นลาออก อาจจะทำให้เสียสิทธิในหลายเรื่อง ดังนั้นการที่ครูแต่งชุดดำเพื่อขอความชัดเจนที่เป็นลายลักษณ์อักษรบ่งบอกว่า ครูจะเป็นอย่างไรบ้าง ไม่ใช่มาบอกว่าให้เซ็นลาออก ครูรับไม่ได้
"ตอนนี้โรงเรียนอัสสัมชัญบางรักมีนักเรียน 5,000 คน มีครู 500 คน ยังไม่มีครูสักคนเซ็นใบลาออก เพราะครูบางคนที่ทำงานอยู่เป็นครูก่อนที่ พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ. 2542 จะออกมา และไม่ได้จบครู แต่พวกเขาสอนมายาวนาน มีประสบการณ์และความชำนาญในวิชาชีพ ถ้าพวกเขาเซ็นลาออกอาจจะไปเป็นครูอีกไม่ได้ อีกทั้งที่ผ่านมา แม้ทางประธานมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยจะได้มาพูดคุยทำความเข้าใจกับครูเรื่องของการยุบรวม แต่ไม่มีความชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร อีกทั้งต่อให้มีลายลักษณ์อักษร ครูก็ไม่มั่นใจว่าจะทำตามที่ระบุในลายลักษณ์อักษรหรือไม่ ก่อนหน้านี้ก็มีประกาศมูลนิธิ เรื่องปรับขึ้นเงินเดือนครูเป็นลายลักษณ์อักษร ยังไม่ปรับเงินเดือนให้ครู ทั้งที่โรงเรียนในเครือข่ายมูลนิธิ 10 กว่าแห่งปรับเงินเดือนให้ครู ยกเว้นโรงเรียนอัสสัมชัญ" ศ.ดร.เกื้อ กล่าว
ศ.ดร.เกื้อ กล่าวต่อว่า ตามประกาศมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยที่ 1/2555 เรื่องเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการปรับฐานเงินเดือนบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนตคาเบรียลแห่งประเทศ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2555 โดยมีภราดา ดร.ศิริชัย ฟอนซีกา ประธานมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีใจความตอนหนึ่งว่า เพื่อส่งเสริมขวัญและกำลังใจของบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเครอ และเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล คณะเซนต์คาเบรียลได้มีการกำหนดเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการปรับเพิ่มเงินเดือนบุคลากรทางการศึกษาในเครือดังนี้
1. ปรับอัตราเงินเดือนของบุคลากรทางการศึกษาให้ปรับที่ฐานเงินเดือนตามคุณวุฒิการศึกษา ได้แก่ คุณวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินในอัตราเดือนละ 11,680 บาท คุณวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาโท ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเดือนละ 15,300 บาท และคุณวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาเอกให้ได้รับเงินในอัตราเดือนละ 19,000 บาท คุณวุฒิการศึกษาอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น ให้โรงเรียนแต่ละแห่งบรรจุแต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือนตามเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติของโรงเรียน
2. บุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท ให้โรงเรียนในเครือจัดให้มีค่าครองชีพเพิ่มเเติมให้ได้เดือนละ 15,000 บาท
3. บุคลากรทางการศึกษาที่มีใบประกอบวิชาชีพครูให้ได้รับเงินเพิ่มอีกเดือนละ 500-1,000 บาท
3.1 บุคลากรทางการศึกษาที่มีใบประกอบวิชาชีพอยู่แล้ว และประสงค์จะได้รับเงินเพิ่มตามวรรคแรก ให้นำหลักฐานไปแสดงและแจ้งความจำนงต่อฝ่าย/แผนกธุรการ ภายใน 15 วัน นับแต่มีประกาศ
3.2 บุคลากรทางการศึกษาที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ต่อมาภายหลังมีใบประกอบวิชาชีพ และประสงค์ได้รับเงินเพิ่มตามวรรคแรก จะต้องนำหลักฐานไปแสดง และแจ้งความจำนงต่อฝ่าย/แผนกธุรการ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพ
4. การปรับเพิ่มเงินเดือนบุคลากรทางการศึกษาตามประกาศนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
5. โรงเรียนในเครือแห่งใดที่ยังไม่พร้อมจะปรับเพิ่มเงินเดือนบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม อาจใช้วิธีทยอยจ่ายเพิ่มค่าครองชีพตามอัตราและช่วงเวลาที่โรงเรียนกำหนดก็ได้ ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับความสามารถและศักยภาพความพร้อมของโรงเรียนแต่ละแห่งเป็นสำคัญ แต่การดำเนินการตามวรรคแรกนี้ จะต้องปรับเพิ่มเงินเดือนบุคลากรทางการศึกษาให้ได้เดือนละ 15,000 บาท ไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มกราคม 2557
ศ.ดร.เกื้อ กล่าวอีกว่า ภราดา ดร.อานันท์ ปรีชาวุฒิ ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ และอุปนายกสมาคม ให้เหตุผลที่ไม่ขึ้นเงินเดือนให้แก่ครู เนื่องจากตามประกาศมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยที่ 1/2555 เรื่องเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการปรับฐานเงินเดือนบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเครือมูลนิธิ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2555 ระบุว่า ปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่บุคลากรทางการศึกษา คำว่าบุคลากรทางการศึกษาไม่ได้เกี่ยวข้องอย่างใดกับบุคคลที่เป็นครู ทั้ง 2 คำนี้ ตาม พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน พ.ศ. 2556 มาตรา 4 ได้ระบุคำจำกัดความของคำว่า ครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ ฯลฯ แตกต่างกัน หรือเป็นคนละบุคคล ดังนั้นสิ่งที่โรงเรียนกำลังดำเนินการขณะนี้คือ การรอการชี้แจงเรื่องประกาศฉบับดังกล่าวจากมูลนิธิว่าเห็นควรปรับหรือเปลี่ยนคำที่ใช้ในประกาศใหม่หรือไม่ อย่างไร และความหมายของการขึ้นเงินเดือนและการปรับฐานเงินเดือนเหมือนกันหรือแตกต่างกันหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติที่ถูกต้อง
"ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่ปรับเพิ่มเงินเดือนให้ครู และทำไมต้องให้ครูเซ็นลาออก ซึ่งในวันที่ 17 มกราคมนี้ จะมีการประชุมสมาคมครูและผู้ปกครองฯ ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เวลา 18.30 น. ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนจะเป็นอุปนายกโดยตำแหน่ง ผมจะถามว่าครูทุกข์ร้อนเรื่องเหล่านี้จะแก้ปัญหาอย่างไรดี จากนั้นวันที่ 18 มกราคม ศิษย์เก่าจะจัดกิจกรรมยกย่องครูของโรงเรียน คาดว่าน่าจะมีการพูดคุยเกี่ยวกับการยุบรวมของโรงเรียน เพราะตอนนี้กระแสในโซเชียลมีเดียในกลุ่มของศิษยเก่าได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผมอยากให้ผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ออกมาชี้แจง ทำความเข้าใจกับครูและสังคมด้วย นอกจากนั้นอยากขอความร่วมมือจากทางนายชาญวิทย์ ทับสุวรรณ รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) กำกับดูแลโรงเรียนเอกชน เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว" ศ.ดร.เกื้อ กล่าว
ศ.ดร.เกื้อ กล่าวด้วยว่า ปลายปี 2555 นายชาญวิทย์ ทับสุวรรณ เคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ยืนยันว่ายังไม่มีการหลอมรวมโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมและแผนกมัธยมศึกษาเข้าด้วยกัน จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการหลอมรวมน่าจะสืบเนื่องมาจากกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ การกำหนดรายการ และการขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้ง และการกำหนดขนาดที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในระบบ พ.ศ. 2555 ระบุว่า การขอเพิ่มขนาดที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนในระบบที่ดินขอเพิ่ม จะต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 ตารางวา และอยู่ห่างจากที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบตามเส้นทางคมนาคมไม่เกิน 1 กิโลเมตร เป็นอำนาจของเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อนุมัติ
"แต่หากที่ดินอยู่ห่างเกิน 1 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 3 กิโลเมตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) แล้วแต่กรณี จะต้องส่งคำขอพร้อมเอกสาร ให้เลขาธิการ กช. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ฉะนั้น ส่งผลให้ขณะนี้มีผู้ถือใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จำนวน 2-3 โรง รวมถึงโรงเรียนอัสสัมชัญด้วย ขอหารือถึงการยุบรวมแผนกประถมและแผนกมัธยมศึกษาเข้าด้วยกัน แต่ยุบรวมต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการบริหารในโรงเรียน ตลอดจนครู ผู้ปกครอง นักเรียน ก็ต้องเห็นด้วย ถ้ามีเสียงคัดค้านแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะไม่สามารถยุบรวมได้ ที่สำคัญ เมื่อได้รับความยินยอมจากทุกฝ่ายแล้ว ทางโรงเรียนจะต้องทำแผนเพื่อช่วยเหลือเด็กและครูกรณีที่ได้รับผลกระทบด้วย" ศ.ดร.เกื้อ ย้ำ
ขณะที่นายศุภโชค โฆษ์วงศ์ ศิษย์เก่ารุ่นที่ 103 โรงเรียนอัสสัมชัญ กล่าวว่า การยุบรวมโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถมและมัธยมเข้าด้วยกัน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ เด็กที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ทันที ส่วนข้อเสียคือ ยังไม่มีความชัดเจนให้ครู ที่ผ่านมาผู้อำนวยการโรงเรียนไม่มีการแถลงวัตถุประสงค์ หรือบอกเหตุผลว่าจะยุบรวมทำไม รวมแล้วโรงเรียนจะเป็นอย่างไร
"เมื่อวันจันทร์ (7 ม.ค.) ผู้อำนวยการโรงเรียนได้ชี้แจงต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงการยุบรวมของโรงเรียน และกระแสข่าวการขายโรงเรียนว่า ไม่เป็นความจริง ขณะนี้การยุบรวมยังอยู่ในขั้นตอนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ไม่ได้จะมีการดำเนินการยุบรวมแต่อย่างไร" นายศุภโชคกล่าว
นายศุภโชคยืนยันว่า เรื่องนี้ศิษย์เก่าไม่มีสิทธิมีเสียงในโรงเรียน เพราะทางโรงเรียนไม่ได้ใส่ใจ อีกทั้งผู้อำนวยการโรงเรียนอยู่มา 9 ปี นโยบายต่างๆ ไม่ว่าจะขยายโรงเรียนไปพระราม 2 การลงทุนโครงการต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นโครงการใหญ่ทำได้ยาก และโรงเรียนมุ่งเน้นการรับค่าบำรุงต่างๆ มากเกินไป อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวไม่ได้มีปัญหา หรือไม่ชอบผู้อำนวยการโรงเรียน แต่เรื่องบางเรื่องที่ท่านได้ทำก็ไม่มีความชัดเจนให้แก่เด็ก ผู้ปกครอง ครู และศิษย์เก่า ทั้งนี้ในงานสมโภชครู วันที่ 18 มกราคมนี้ ศิษย์เก่าคงไม่มีการพูดคุยกันเรื่องยุบรวมหรือปัญหาต่างๆ ของโรงเรียน เพราะวันนั้นถือเป็นวันเคารพ ทำสิ่งดีๆ เพื่อครู
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล มีทั้งหมด 14 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย (ประถม) โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย (มัธยม) โรงเรียนอัสสัมชัญพานิชยการ โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา โรงเรียนเซนต์หลุยส์ฉะเชิงเทรา โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ และโรงเรียนอัสสัมชัญเทคนิคนครพนม
อึมครึมยุบ-ไม่ยุบ บุคลากรก่อหวอด ครูอัสสัมชัญแต่งดำประท้วง ผวาโดนลอยแพ! แถมกดเงินเดือน นัดชุมนุม 17 ม.ค.
นายกสมาคมผู้ปกครอง-ครูออกโรงจี้ผู้บริหารแจงยุบรวมโรงเรียนอัสสัมชัญบางรักประถม-มัธยม หวั่นถูกลอยแพ แฉบีบเซ็นลาออก แต่งดำประท้วง ขีดเส้น 17 ม.ค. นัดชุมนุมขอคำตอบ
ภายหลัง "หมอนิด" กิจจา ทวีกุลกิจ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2555 ระบุว่า "โรงเรียน (ร.ร.) ถูกยึด ครูถูกบีบให้เซ็นใบลาออก เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจมาก ที่ ร.ร. ชื่อดังและเก่าแก่ของประเทศไทยกำลังจะถูกยึด ไม่รู้ว่าเป็นความคิดของใคร หรือนโยบายของนักการเมืองคนไหน ครูทุกคนใน ร.ร. ถูกบีบบังคับให้เซ็นใบลาออกล่วงหน้า ถ้าครูคนไหนไม่ยอมเซ็นใบลาออกจะถูกให้ออก พร้อมจ่ายค่าชดเชยให้ เรื่องนี้ไม่มีสื่อไหนลงข่าวเลย ถูกปิดข่าวเงียบเหมือนอยู่ในแดนสนธยา ครูหลายคนแต่งชุดดำประท้วงเงียบๆ แต่คงไม่เป็นผล เพราะมีครูบางคนถูกเรียกเข้าไปกล่อมถึงในกระทรวง"
เกี่ยวกับเรื่องนี้ "คม ชัด ลึก" ได้รับการเปิดเผยจาก ศ.ดร.เกื้อ วงศ์บุญสิน รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะนายกสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนอัสสัมชัญ ว่า สาเหตุที่ครูโรงเรียนอัสสัมชัญบางรักแต่งชุดดำนั้น เป็นความจริง เพราะโรงเรียนอัสสัมชัญสมัยก่อนตั้งอยู่ที่บางรักแห่งเดียว แต่ด้วยจำนวนเด็กนักเรียนที่มากขึ้น ทำให้มีการแบ่งเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญฝ่ายมัธบม ตั้งอยู่ที่บางรัก ส่วนฝ่ายประถม ตั้งอยู่ที่ซอยเซนต์หลุยส์ พอมาตอนนี้ทางโรงเรียนต้องการยุบรวมทั้ง 2 แห่งเข้าด้วยกัน
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาเอกชน ระบุไว้ว่า ถ้าจะยุบรวมกันก็สามารถทำได้ แต่การยุบรวมดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อครู เพราะยังไม่ได้รับความชัดเจนจากทางโรงเรียนว่า เมื่อยุบรวมแล้วครูจะทำงานต่อเนื่องได้หรือไม่ สถานภาพครู เงินเดือนครูที่จะได้รับเป็นอย่างไร แต่ที่ผ่านมาไม่มีคำอธิบาย หากครูไม่ได้ทำงานเนื่องจากเซ็นลาออก อาจจะทำให้เสียสิทธิในหลายเรื่อง ดังนั้นการที่ครูแต่งชุดดำเพื่อขอความชัดเจนที่เป็นลายลักษณ์อักษรบ่งบอกว่า ครูจะเป็นอย่างไรบ้าง ไม่ใช่มาบอกว่าให้เซ็นลาออก ครูรับไม่ได้
"ตอนนี้โรงเรียนอัสสัมชัญบางรักมีนักเรียน 5,000 คน มีครู 500 คน ยังไม่มีครูสักคนเซ็นใบลาออก เพราะครูบางคนที่ทำงานอยู่เป็นครูก่อนที่ พ.ร.บ.การศึกษา พ.ศ. 2542 จะออกมา และไม่ได้จบครู แต่พวกเขาสอนมายาวนาน มีประสบการณ์และความชำนาญในวิชาชีพ ถ้าพวกเขาเซ็นลาออกอาจจะไปเป็นครูอีกไม่ได้ อีกทั้งที่ผ่านมา แม้ทางประธานมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยจะได้มาพูดคุยทำความเข้าใจกับครูเรื่องของการยุบรวม แต่ไม่มีความชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร อีกทั้งต่อให้มีลายลักษณ์อักษร ครูก็ไม่มั่นใจว่าจะทำตามที่ระบุในลายลักษณ์อักษรหรือไม่ ก่อนหน้านี้ก็มีประกาศมูลนิธิ เรื่องปรับขึ้นเงินเดือนครูเป็นลายลักษณ์อักษร ยังไม่ปรับเงินเดือนให้ครู ทั้งที่โรงเรียนในเครือข่ายมูลนิธิ 10 กว่าแห่งปรับเงินเดือนให้ครู ยกเว้นโรงเรียนอัสสัมชัญ" ศ.ดร.เกื้อ กล่าว
ศ.ดร.เกื้อ กล่าวต่อว่า ตามประกาศมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยที่ 1/2555 เรื่องเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการปรับฐานเงินเดือนบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนตคาเบรียลแห่งประเทศ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2555 โดยมีภราดา ดร.ศิริชัย ฟอนซีกา ประธานมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย มีใจความตอนหนึ่งว่า เพื่อส่งเสริมขวัญและกำลังใจของบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเครอ และเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล คณะเซนต์คาเบรียลได้มีการกำหนดเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการปรับเพิ่มเงินเดือนบุคลากรทางการศึกษาในเครือดังนี้
1. ปรับอัตราเงินเดือนของบุคลากรทางการศึกษาให้ปรับที่ฐานเงินเดือนตามคุณวุฒิการศึกษา ได้แก่ คุณวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี ให้ได้รับเงินในอัตราเดือนละ 11,680 บาท คุณวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาโท ให้ได้รับเงินเดือนในอัตราเดือนละ 15,300 บาท และคุณวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาเอกให้ได้รับเงินในอัตราเดือนละ 19,000 บาท คุณวุฒิการศึกษาอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น ให้โรงเรียนแต่ละแห่งบรรจุแต่งตั้งและกำหนดอัตราเงินเดือนตามเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติของโรงเรียน
2. บุคลากรทางการศึกษาที่ได้รับเงินเดือนต่ำกว่าเดือนละ 15,000 บาท ให้โรงเรียนในเครือจัดให้มีค่าครองชีพเพิ่มเเติมให้ได้เดือนละ 15,000 บาท
3. บุคลากรทางการศึกษาที่มีใบประกอบวิชาชีพครูให้ได้รับเงินเพิ่มอีกเดือนละ 500-1,000 บาท
3.1 บุคลากรทางการศึกษาที่มีใบประกอบวิชาชีพอยู่แล้ว และประสงค์จะได้รับเงินเพิ่มตามวรรคแรก ให้นำหลักฐานไปแสดงและแจ้งความจำนงต่อฝ่าย/แผนกธุรการ ภายใน 15 วัน นับแต่มีประกาศ
3.2 บุคลากรทางการศึกษาที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ ต่อมาภายหลังมีใบประกอบวิชาชีพ และประสงค์ได้รับเงินเพิ่มตามวรรคแรก จะต้องนำหลักฐานไปแสดง และแจ้งความจำนงต่อฝ่าย/แผนกธุรการ ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบประกอบวิชาชีพ
4. การปรับเพิ่มเงินเดือนบุคลากรทางการศึกษาตามประกาศนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม
5. โรงเรียนในเครือแห่งใดที่ยังไม่พร้อมจะปรับเพิ่มเงินเดือนบุคลากรทางการศึกษาให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม อาจใช้วิธีทยอยจ่ายเพิ่มค่าครองชีพตามอัตราและช่วงเวลาที่โรงเรียนกำหนดก็ได้ ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับความสามารถและศักยภาพความพร้อมของโรงเรียนแต่ละแห่งเป็นสำคัญ แต่การดำเนินการตามวรรคแรกนี้ จะต้องปรับเพิ่มเงินเดือนบุคลากรทางการศึกษาให้ได้เดือนละ 15,000 บาท ไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มกราคม 2557
ศ.ดร.เกื้อ กล่าวอีกว่า ภราดา ดร.อานันท์ ปรีชาวุฒิ ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ และอุปนายกสมาคม ให้เหตุผลที่ไม่ขึ้นเงินเดือนให้แก่ครู เนื่องจากตามประกาศมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยที่ 1/2555 เรื่องเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการปรับฐานเงินเดือนบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนในเครือมูลนิธิ เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2555 ระบุว่า ปรับเพิ่มเงินเดือนให้แก่บุคลากรทางการศึกษา คำว่าบุคลากรทางการศึกษาไม่ได้เกี่ยวข้องอย่างใดกับบุคคลที่เป็นครู ทั้ง 2 คำนี้ ตาม พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน พ.ศ. 2556 มาตรา 4 ได้ระบุคำจำกัดความของคำว่า ครู บุคลากรทางการศึกษา เจ้าหน้าที่ ฯลฯ แตกต่างกัน หรือเป็นคนละบุคคล ดังนั้นสิ่งที่โรงเรียนกำลังดำเนินการขณะนี้คือ การรอการชี้แจงเรื่องประกาศฉบับดังกล่าวจากมูลนิธิว่าเห็นควรปรับหรือเปลี่ยนคำที่ใช้ในประกาศใหม่หรือไม่ อย่างไร และความหมายของการขึ้นเงินเดือนและการปรับฐานเงินเดือนเหมือนกันหรือแตกต่างกันหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติที่ถูกต้อง
"ผมไม่เข้าใจว่าทำไมถึงไม่ปรับเพิ่มเงินเดือนให้ครู และทำไมต้องให้ครูเซ็นลาออก ซึ่งในวันที่ 17 มกราคมนี้ จะมีการประชุมสมาคมครูและผู้ปกครองฯ ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เวลา 18.30 น. ซึ่งผู้อำนวยการโรงเรียนจะเป็นอุปนายกโดยตำแหน่ง ผมจะถามว่าครูทุกข์ร้อนเรื่องเหล่านี้จะแก้ปัญหาอย่างไรดี จากนั้นวันที่ 18 มกราคม ศิษย์เก่าจะจัดกิจกรรมยกย่องครูของโรงเรียน คาดว่าน่าจะมีการพูดคุยเกี่ยวกับการยุบรวมของโรงเรียน เพราะตอนนี้กระแสในโซเชียลมีเดียในกลุ่มของศิษยเก่าได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผมอยากให้ผู้อำนวยการโรงเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ออกมาชี้แจง ทำความเข้าใจกับครูและสังคมด้วย นอกจากนั้นอยากขอความร่วมมือจากทางนายชาญวิทย์ ทับสุวรรณ รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) กำกับดูแลโรงเรียนเอกชน เข้ามาช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าว" ศ.ดร.เกื้อ กล่าว
ศ.ดร.เกื้อ กล่าวด้วยว่า ปลายปี 2555 นายชาญวิทย์ ทับสุวรรณ เคยให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ยืนยันว่ายังไม่มีการหลอมรวมโรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถมและแผนกมัธยมศึกษาเข้าด้วยกัน จุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการหลอมรวมน่าจะสืบเนื่องมาจากกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบ การกำหนดรายการ และการขอเปลี่ยนแปลงรายการในตราสารจัดตั้ง และการกำหนดขนาดที่ดินที่ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนในระบบ พ.ศ. 2555 ระบุว่า การขอเพิ่มขนาดที่ดินที่ใช้จัดตั้งโรงเรียนในระบบที่ดินขอเพิ่ม จะต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 200 ตารางวา และอยู่ห่างจากที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนในระบบตามเส้นทางคมนาคมไม่เกิน 1 กิโลเมตร เป็นอำนาจของเขตพื้นที่การศึกษาเป็นผู้อนุมัติ
"แต่หากที่ดินอยู่ห่างเกิน 1 กิโลเมตร แต่ไม่เกิน 3 กิโลเมตร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) แล้วแต่กรณี จะต้องส่งคำขอพร้อมเอกสาร ให้เลขาธิการ กช. เป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ฉะนั้น ส่งผลให้ขณะนี้มีผู้ถือใบอนุญาตจัดตั้งโรงเรียนเอกชนทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จำนวน 2-3 โรง รวมถึงโรงเรียนอัสสัมชัญด้วย ขอหารือถึงการยุบรวมแผนกประถมและแผนกมัธยมศึกษาเข้าด้วยกัน แต่ยุบรวมต้องได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการบริหารในโรงเรียน ตลอดจนครู ผู้ปกครอง นักเรียน ก็ต้องเห็นด้วย ถ้ามีเสียงคัดค้านแม้เพียงเล็กน้อย ก็จะไม่สามารถยุบรวมได้ ที่สำคัญ เมื่อได้รับความยินยอมจากทุกฝ่ายแล้ว ทางโรงเรียนจะต้องทำแผนเพื่อช่วยเหลือเด็กและครูกรณีที่ได้รับผลกระทบด้วย" ศ.ดร.เกื้อ ย้ำ
ขณะที่นายศุภโชค โฆษ์วงศ์ ศิษย์เก่ารุ่นที่ 103 โรงเรียนอัสสัมชัญ กล่าวว่า การยุบรวมโรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถมและมัธยมเข้าด้วยกัน มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ เด็กที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จะเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้ทันที ส่วนข้อเสียคือ ยังไม่มีความชัดเจนให้ครู ที่ผ่านมาผู้อำนวยการโรงเรียนไม่มีการแถลงวัตถุประสงค์ หรือบอกเหตุผลว่าจะยุบรวมทำไม รวมแล้วโรงเรียนจะเป็นอย่างไร
"เมื่อวันจันทร์ (7 ม.ค.) ผู้อำนวยการโรงเรียนได้ชี้แจงต่อนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนต้น ถึงการยุบรวมของโรงเรียน และกระแสข่าวการขายโรงเรียนว่า ไม่เป็นความจริง ขณะนี้การยุบรวมยังอยู่ในขั้นตอนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ไม่ได้จะมีการดำเนินการยุบรวมแต่อย่างไร" นายศุภโชคกล่าว
นายศุภโชคยืนยันว่า เรื่องนี้ศิษย์เก่าไม่มีสิทธิมีเสียงในโรงเรียน เพราะทางโรงเรียนไม่ได้ใส่ใจ อีกทั้งผู้อำนวยการโรงเรียนอยู่มา 9 ปี นโยบายต่างๆ ไม่ว่าจะขยายโรงเรียนไปพระราม 2 การลงทุนโครงการต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นโครงการใหญ่ทำได้ยาก และโรงเรียนมุ่งเน้นการรับค่าบำรุงต่างๆ มากเกินไป อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวไม่ได้มีปัญหา หรือไม่ชอบผู้อำนวยการโรงเรียน แต่เรื่องบางเรื่องที่ท่านได้ทำก็ไม่มีความชัดเจนให้แก่เด็ก ผู้ปกครอง ครู และศิษย์เก่า ทั้งนี้ในงานสมโภชครู วันที่ 18 มกราคมนี้ ศิษย์เก่าคงไม่มีการพูดคุยกันเรื่องยุบรวมหรือปัญหาต่างๆ ของโรงเรียน เพราะวันนั้นถือเป็นวันเคารพ ทำสิ่งดีๆ เพื่อครู
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียล มีทั้งหมด 14 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย (ประถม) โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย (มัธยม) โรงเรียนอัสสัมชัญพานิชยการ โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา โรงเรียนเซนต์หลุยส์ฉะเชิงเทรา โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ และโรงเรียนอัสสัมชัญเทคนิคนครพนม