วิวาทะเดือด "รถคันแรก" "ใจคน" หรือ "ถนน" แคบ ? "รวย-จน" สิทธิบนถนนเท่ากัน ...มติชนออนไลน์

กระทู้สนทนา
มติชนสุดสัปดาห์ 11-17 มกราคม 2556


ผ่านมาร่วมสองสัปดาห์ นับตั้งแต่สิ้นวันสุดท้ายของปี 2555 กับการ
ปิดยื่นขอใช้สิทธิ์โครงการคืนภาษีรถยนต์คันแรก 100,000 บาท
ที่เริ่มโครงการมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2554

ผลตอบรับถล่มทลาย สำเร็จเกินเป้าคาด เมื่อยอดผู้มาลงทะเบียน
ขอใช้สิทธิ์ พุ่งถึง 1.3 ล้านราย

รวมเงินภาษีที่รัฐต้องสูญเสียประมาณ 9.1 หมื่นล้านบาท สูงกว่าเป้า
หมายที่ตั้งไว้ โดยที่ผ่านมามีผู้รับเงินคืนไปแล้ว 4.7 หมื่นราย คิดเป็น
เงิน 3.48 พันล้านบาท

เป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย ที่ถูก
จารึกไว้เป็นที่เรียบร้อย

อธิบดีกรมสรรพสามิต "สมชาย พูลสวัสดิ์" ออกมายืนยันว่า โครงการ
ดังกล่าว ช่วยให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ต้นน้ำ และ
อุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์
อุตสาหกรรมแร่โลหะ และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ กลับมาสดใสคึกคัก
ทั้งยังส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมปลายน้ำ อย่าง ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจ
สินเชื่อ ให้ได้รับผลพลอยได้ไปด้วย ซึ่งช่วยกระตุ้นภาวะการจ้างงาน
การลงทุน และการจับจ่ายของประชาชน ให้ดำเนินไปอย่างสะพัดสุดๆ

เป็นความสำเร็จที่เห็นผลทะลุเป้าของนโยบาย "ประชานิยม" ของรัฐบาล
ยิ่งลักษณ์ ที่สร้าง "สุขนิยม" เพื่อคนอยากมีรถ ให้สมหวัง ได้ "ครอบครอง"
ดังฝัน

พร้อมๆ กับเสียงบ่นที่ค่อยๆ ดังขึ้นๆ สร้างความหงุดหงิดมากขึ้นๆ
ของผู้คน ที่สัมผัสได้ถึงความเปลี่ยนไปของวิถีชีวิตประจำวัน เมื่อ
ต้องจมอยู่กับภาวะติดแหง็กบนท้องถนนที่ใช้เวลานานขึ้น ท้ายสะ
สมหางแถวในการเคลื่อนที่มากขึ้น โดยเฉพาะในเมืองหลวงอย่าง
กรุงเทพมหานครที่นับวันจะยิ่งทวีคูณปัญหาให้แน่นหนึบเข้าไปอีก

หรือนี่จะเป็นผลพวงจากโครงการ "รถคันแรก"?

เพราะถึงขนาดที่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอย่าง "กรณ์
จาติกวณิช ยังต้องออกมาวิพากษ์วิจารณ์ อย่างเป็นช่องฉากผ่าน
เฟซบุ๊กในชื่อ "Korn Chatikavanij"

รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เกริ่นออกตัว "อย่างเข้าใจ" ไม่ได้บอก
ว่าสาเหตุรถติดมาจากรถคันแรกอย่างเดียว และตัวเขาเอง "ยินดี"
ด้วยซ้ำ กับ 1.3 ล้านคนที่จะได้ภาษีคืน ก่อนจะร่ายยาวพุ่งเป้าตั้งคำถาม
ไปที่ "นโยบายของรัฐบาล" ที่มองว่า เป็นเพียง ประชานิยมหาเสียง
กระตุ้นให้ประชาชนซื้อรถยนต์ทั้งๆ ที่เดิมทีอาจไม่ได้คิดจะมีรถ
แต่ต้องรีบเข้าตามโครงการ เพราะกลัว "ขาดทุนกำไร" ทั้งๆ ที่ความ
พร้อมยังไม่มี ได้ลดภาษีหลายหมื่นบาท แต่กลายเป็นหนี้เกือบล้านบาท
บวกกับค่าใช้จ่ายที่ตามมาอีก...

ก่อนจะตบท้ายด้วยข้อเสนอแนะหน้าที่ของรัฐบาลที่ควรจะนำเงินไปช่วย
ชาวนาไร้ที่ทำกิน หรือคนยากคนจนที่ยังไม่มีบ้านที่อยู่อาศัยมากกว่า...

"ความเห็น" ของ อดีต รมว.คลัง ถูกใจฝ่ายสนับสนุนให้ต้องตามไปกดไลค์
กระจายแชร์ แต่ก็มีไม่น้อยที่ผู้ติดตาม ความเคลื่อนไหว แต่ไม่ได้เป็น
แฟนคลับในโลกออนไลน์ ก็แสดงเอฟเฟ็กต์ เขียนข้อความตอกกลับอย่าง
เจ็บแสบ

"ไอ้...ขอถามหน่อย ที่บ้านมีรถกี่คัน...

แล้วชาวบ้านเค้าอยากมีบ้าง มันไปหนักหัว...เหรอ

แล้วรถที่ติดตอนนี้ มันใช่รถคันแรกทั้งหมดหรือไม่

เอาสมองอันน้อยนิด...คิดบ้างนะ

อย่าออกมาโชว์โง่ให้มาก

จะรถคันแรกหรือคันไหนๆ มันก็ไม่เกี่ยว

ตอนนี้รถจะติดก็ต้องติด เพราะมันไม่ใช่สมัยก่อนแล้ว

รุ่นพ่อแม่...ขี่ควายอ่ะ"

หนึ่งในหลายร้อย "ข้อความโจมตี" ของผู้ไม่เห็นด้วย ที่ถูกโควตมาเป็นตัวอย่าง
ดุเดือด จนเจ้าตัวต้องรีบแจงกลับ โดยยังคงยืนยันที่จะบอกว่าเป็นการวิจารณ์ที่
"นโยบาย"

"ทำไมรัฐบาลจึงให้เป็นภาระภาษีของผู้ที่ซื้อรถในอดีต หรือผู้ที่จะซื้อรถในอนาคต
ที่จะเสียภาษีเพื่อบำรุงถนน พัฒนารถเมล์ ฯลฯ แต่เว้นให้กับผู้เข้าโครงการเท่านั้น

เพราะถ้าคิดว่าเป็นนโยบายที่ดี ทำไมไม่ลดภาษีให้ทุกคน ตลอดไป? คนซื้อรถปีหน้า
เขาก็จะต้องเสียภาษี ในขณะที่ผู้เข้าร่วมโครงการปีนี้ไม่ต้องรับผิดชอบเลย อย่าง
นี้สองมาตรฐานหรือไม่?

และถ้าเรายึดหลักว่า? มีได้กูก็ต้องมีได้? แลัวสำหรับอีกสิบๆ ล้านคนที่ยัง
ไม่มีรถ ตรรกะคือรัฐบาลควรมีนโยบายสนับสนุนให้ทุกคนมีรถหรือครับ ผมไม่
คิดว่ามีประเทศไหนเขาคิดอย่างนั้น และถึงคิดก็ทำไม่ได้ ..."

คำตอบ จากปลายนิ้วบนแป้นพิมพ์ของ "นักการเมือง" ที่เน้นย้ำความพิเศษ
ทางด้านอารมณ์ ในเรื่องของ "ความอดทน" ว่าไว้

พลังโซเชียลเน็ตเวิร์กมหาศาล กระเพื่อมแรงสั่นไหว และรวดเร็วกว่าสื่ออื่นๆ
เป็นไหนๆ

ไม่ทันไร ชาวเน็ตที่ต่างมีความสามารถในการขุดคุ้ย ก็เผยแพร่ข้อมูลบัญชี
ทรัพย์สินของ กรณ์ จาติกวณิช และคู่สมรส ที่ยื่นต่อ ป.ป.ช.

ในบัญชีดังกล่าว ชี้แจงไว้ว่า มีรถยนต์ในบ้าน 6 คัน แบ่งเป็น รถยนต์ส่วนตัว
ของกรณ์มีมูลค่า 9.9 ล้าน ขณะที่รถยนต์ของ "วรกร" ภรรยา มีมูลค่า 5.6 ล้าน
รวมมูลค่ากว่า 15 ล้านบาท

เป็นครอบครัวมหาเศรษฐีที่มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน จำนวนกว่า 879 ล้าน

ขณะที่พื้นที่ทีวีสาธารณะ ก็มีนักวิชาการดาหน้าออกมาอัดโครงการ
"ประชานิยม" ที่ว่านี้อย่างหนัก หลายต่อหลายคน

ตรงข้ามกับมุมมองที่ต่างออกไปของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ
ซึ่งเขียนบทความลงใน กระแสทรรศน์ มติชนรายวัน เมื่อ 7 มกราคม 2556
ที่ไม่ได้คิดว่า เป็นนโยบายที่เลวร้าย แม้หลายโปรเจ็กต์ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
จะมีข้อที่ควรตำหนิติติง แต่ควรติเพื่อเกิดทางเลือกที่สร้างสรรค์ ไม่ใช่เป็น
การติเพื่อจองล้างจองผลาญด้วยจุดประสงค์จะล้มรัฐบาล

"เมื่อมีรถในถนนมากขึ้น ก็ย่อมทำให้รถติดมากขึ้นตามไปด้วยเป็นธรรมดา
แต่สาเหตุที่ทำให้รถติดนั้น จะชี้ที่คันนั้นคันนี้ไม่ได้ รถคันแรกของคนจน
ก็เป็นเหตุให้รถติดเท่ากับรถคันที่ห้าสิบของคนรวย หากคิดจะเอารถออก
จากถนน ไม่ควรเจาะจงเอาแต่รถของคนจนออกไป เพื่อให้คนรวยได้ใช้รถ
คันที่ห้าสิบได้สะดวกขึ้น ขอประทานโทษ mungเป็นเจ้าของรถ ไม่ใช่เจ้าของถนน

ปัญหารถติดในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ทั่วประเทศไทยนั้น มีสาเหตุมาจาก
วิธีคิดอย่างนี้แหละครับ คนอื่นคือนรก รถยนต์ทั้งถนนทำให้รถติด ยกเว้นรถ
kooคันเดียว ฉะนั้น อ้ายเบื๊อกที่ไม่ควรขี่รถยนต์ แต่ขี่ได้เพราะนโยบายรถคันแรก
จึงต้องรับผิดชอบมากที่สุด อย่างน้อยก็เพราะมันเป็นอ้ายเบื๊อก"

"รถคันแรก" อาจมีส่วนทำให้ "ถนน" ดูคับแคบ แต่หาก "ใจคน" ไม่ "แคบ"
ตาม ทุกเส้นทางย่อมมีช่องว่างให้วิ่งซอกแซก ไปสู่จุดหมายเหมือนกัน...
เว้นเสียแต่ข้างหน้าจะเป็น "ทางตัน"

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1357975294&grpid=01&catid=&subcatid=


วิทยุ...เขามีรายการ "แฉแต่เช้า" แต่ ที่ รดน.  เราจะมีรายการ "อวยแต่เช้า"
เพราะคน "อวย"  ตื่นเช้าค่ะ
เก็บตกมามาให้อ่านกัน  จาก...มติชน  อ่านแล้วก็  อารมณ์ดีนะคะ ....
"อวยปู" ค่ะ  รถคันแรก  ก็ไม่ได้ใช้สิทธิ  แต่ดีใจกับคนที่อยากมีรถและ
พร้อมที่จะรับภาระ  ของการมีรถคันแรก ..
สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  การเมือง
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่