อุทาหรณ์ 14 ปีคดี ปรส. ลูกหนี้ไทยตายแล้วตายอีก ต่างชาติได้สิทธิ์ปล้นตาม กม.!
คดีสืบเนื่องมาจากศาลอาญาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2555 ให้จำคุกนายอมเรศ ศิลาอ่อน และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ คนละ 2 ปี แต่เนื่องจากนายอมเรศ กับพวกมีอายุมากแล้ว ศาลอาญาเห็นว่าให้โอกาสเป็นพลเมืองดีจึงให้รอการลงโทษ รายละเอียดในคำพิพากษามีสิ่งที่เป็นสาระสำคัญคือมูลแห่งหนี้ที่ ปรส.ขายทรัพย์ให้แก่ต่างชาตินั้นศาลอาญาพิพากษาว่าเป็นการมิชอบ
ปัญหานี้เป็นอุทาหรณ์ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำกับดูแล 58 ไฟแนนซ์ ในภาพรวมแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยผลักภาระให้ ปรส.เป็นผู้ขายหนี้ดังกล่าว แม้ตามพระราชกำหนดฉบับแรกลูกหนี้ไม่สามารถเข้าไปซื้อหนี้ได้ด้วยตนเอง และฉบับที่ 2 ถึงลูกหนี้จะออกเสียงได้แต่ก็เป็นการยากที่จะเข้าซื้อหนี้ตัวเองได้ในราคาถูก บริษัทต่างชาติเพียงหอบเอกสารเข้ามาฉบับเดียวอ้างว่าธนาคารต่างชาติรับรองสถานะทางการเงินโดยไม่ต้องใช้เงิน คนไทยไม่ได้เห็นเงินตราแม้บาทเดียวก็สามารถซื้อหนี้ใน ปรส.ได้ในราคาตั้งแต่ร้อยละ 6 ถึงร้อยละ 55 แม้จะมีกฎหมายห้ามเรียกหนี้ที่ซื้อมาแบบค้ากำไรเกินควรก็ตาม แต่ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายที่บัญญัติไว้ไม่สามารถบังคับเอากับนายทุนต่างชาติหรือสถาบันการเงินต่างๆ ในไทยได้ เช่น กรณีซื้อหนี้มาร้อยละ 6 เงิน 100 ล้านบาทต่างชาติซื้อแค่ 6 ล้านแล้วมาเรียกหนี้ 100 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยรวมค่าทนายความแล้วลูกหนี้จะเอาที่ไหนไปชำระ มีหลักประกันอะไรในการควบคุมเจ้าหนี้ต่างชาติมิให้เรียกเงินและค้ากำไรเกินควรเอากับคนไทย รัฐไม่ดำเนินการจริงจังกับสิ่งเหล่านี้แต่กลับไปเอื้อประโยชน์ให้แก่นายทุนซึ่งสร้างปัญหาให้คนไทยในชาติ โดยหวังเพียงผลประโยชน์หรือค่าคอมมิชชันที่ไม่มีใบเสร็จ และหวังความเจริญก้าวหน้าในทางการเมืองเท่านั้น เคราะห์กรรมของประชาชนจะเป็นเช่นไรย่อมแขวนอยู่บนเส้นด้าย ประชาชนไม่มีสิทธิ์กำหนดชีวิตตนเองจากการเป็นหนี้เพราะชาวต่างชาติเข้ามารับซื้อหนี้จาก ปรส. แล้วรัฐเองยังไปออกกฎหมายคุ้มครอง ปรส. ว่าการกระทำของ ปรส.นั้นไม่ว่าด้วยเหตุผลใดห้ามนำคดีไปฟ้อง ปรส.เพราะ ปรส.ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐ การตีความของกฎหมายเรื่องการเป็นหน่วยงานของรัฐดังกล่าวนี้ต้องขอปรบมือให้กับ คตส. ซึ่งมีท่านอุดม เฟื่องฟุ้ง ซึ่งเป็นปรมาจารย์ด้านกฎหมายตีความว่าที่ห้ามฟ้อง ปรส.นั้น เขาห้ามมาฟ้องแค่ศาลปกครอง ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดห้ามฟ้องต่อศาลยุติธรรมหากมีการทุจริตเกิดขึ้นและมีการกระทำที่ไม่ชอบ เช่นเมื่อมีการผ่านขั้นตอนการสอบสวนของ คตส. หรือโอนคดีมายัง ป.ป.ช.ก็ตาม กฎหมายบอกว่าให้ศาลตัดสินไปตามแนวการสอบสวนของ ป.ป.ช. เว้นแต่จะมีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลเห็นสมควรก็คือ การวินิจฉัยให้รอการลงโทษหรือวินิจฉัยว่าผู้กระทำเจตนากระทำผิดเท่านั้น.........."
ที่มา...
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000123904
?????????????????????????????????
ศาลพิพากษาจำคุกนายอมเรศ ศิลาอ่อน และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ คนละ 2 ปี ไปแล้ว
ในฐานะผู้รับผิดชอบเบื้องต้นในคดีดังกล่าว.....
แล้วใครที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับคดีนี้ได้รับผิดชอบเพียงพอกับความผิดหรือยัง
หรือยังลอยนวลอยู่....
ปปฃ.ต้องมีคำตอบให้สังคมก่อนที่คดีจะหมดอายุความ....
อุทาหรณ์ 14 ปีคดี ปรส. ลูกหนี้ไทยตายแล้วตายอีก ต่างชาติได้สิทธิ์ปล้นตาม กม...เอาข่าวในอดีตมาแปะให้อ่าน ย้อนรอย ปรส.
คดีสืบเนื่องมาจากศาลอาญาได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2555 ให้จำคุกนายอมเรศ ศิลาอ่อน และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ คนละ 2 ปี แต่เนื่องจากนายอมเรศ กับพวกมีอายุมากแล้ว ศาลอาญาเห็นว่าให้โอกาสเป็นพลเมืองดีจึงให้รอการลงโทษ รายละเอียดในคำพิพากษามีสิ่งที่เป็นสาระสำคัญคือมูลแห่งหนี้ที่ ปรส.ขายทรัพย์ให้แก่ต่างชาตินั้นศาลอาญาพิพากษาว่าเป็นการมิชอบ
ปัญหานี้เป็นอุทาหรณ์ให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำกับดูแล 58 ไฟแนนซ์ ในภาพรวมแล้ว ธนาคารแห่งประเทศไทยผลักภาระให้ ปรส.เป็นผู้ขายหนี้ดังกล่าว แม้ตามพระราชกำหนดฉบับแรกลูกหนี้ไม่สามารถเข้าไปซื้อหนี้ได้ด้วยตนเอง และฉบับที่ 2 ถึงลูกหนี้จะออกเสียงได้แต่ก็เป็นการยากที่จะเข้าซื้อหนี้ตัวเองได้ในราคาถูก บริษัทต่างชาติเพียงหอบเอกสารเข้ามาฉบับเดียวอ้างว่าธนาคารต่างชาติรับรองสถานะทางการเงินโดยไม่ต้องใช้เงิน คนไทยไม่ได้เห็นเงินตราแม้บาทเดียวก็สามารถซื้อหนี้ใน ปรส.ได้ในราคาตั้งแต่ร้อยละ 6 ถึงร้อยละ 55 แม้จะมีกฎหมายห้ามเรียกหนี้ที่ซื้อมาแบบค้ากำไรเกินควรก็ตาม แต่ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายที่บัญญัติไว้ไม่สามารถบังคับเอากับนายทุนต่างชาติหรือสถาบันการเงินต่างๆ ในไทยได้ เช่น กรณีซื้อหนี้มาร้อยละ 6 เงิน 100 ล้านบาทต่างชาติซื้อแค่ 6 ล้านแล้วมาเรียกหนี้ 100 ล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยรวมค่าทนายความแล้วลูกหนี้จะเอาที่ไหนไปชำระ มีหลักประกันอะไรในการควบคุมเจ้าหนี้ต่างชาติมิให้เรียกเงินและค้ากำไรเกินควรเอากับคนไทย รัฐไม่ดำเนินการจริงจังกับสิ่งเหล่านี้แต่กลับไปเอื้อประโยชน์ให้แก่นายทุนซึ่งสร้างปัญหาให้คนไทยในชาติ โดยหวังเพียงผลประโยชน์หรือค่าคอมมิชชันที่ไม่มีใบเสร็จ และหวังความเจริญก้าวหน้าในทางการเมืองเท่านั้น เคราะห์กรรมของประชาชนจะเป็นเช่นไรย่อมแขวนอยู่บนเส้นด้าย ประชาชนไม่มีสิทธิ์กำหนดชีวิตตนเองจากการเป็นหนี้เพราะชาวต่างชาติเข้ามารับซื้อหนี้จาก ปรส. แล้วรัฐเองยังไปออกกฎหมายคุ้มครอง ปรส. ว่าการกระทำของ ปรส.นั้นไม่ว่าด้วยเหตุผลใดห้ามนำคดีไปฟ้อง ปรส.เพราะ ปรส.ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นหน่วยงานของรัฐ การตีความของกฎหมายเรื่องการเป็นหน่วยงานของรัฐดังกล่าวนี้ต้องขอปรบมือให้กับ คตส. ซึ่งมีท่านอุดม เฟื่องฟุ้ง ซึ่งเป็นปรมาจารย์ด้านกฎหมายตีความว่าที่ห้ามฟ้อง ปรส.นั้น เขาห้ามมาฟ้องแค่ศาลปกครอง ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดห้ามฟ้องต่อศาลยุติธรรมหากมีการทุจริตเกิดขึ้นและมีการกระทำที่ไม่ชอบ เช่นเมื่อมีการผ่านขั้นตอนการสอบสวนของ คตส. หรือโอนคดีมายัง ป.ป.ช.ก็ตาม กฎหมายบอกว่าให้ศาลตัดสินไปตามแนวการสอบสวนของ ป.ป.ช. เว้นแต่จะมีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลเห็นสมควรก็คือ การวินิจฉัยให้รอการลงโทษหรือวินิจฉัยว่าผู้กระทำเจตนากระทำผิดเท่านั้น.........."
ที่มา...http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000123904
?????????????????????????????????
ศาลพิพากษาจำคุกนายอมเรศ ศิลาอ่อน และนายวิชรัตน์ วิจิตรวาทการ คนละ 2 ปี ไปแล้ว
ในฐานะผู้รับผิดชอบเบื้องต้นในคดีดังกล่าว.....
แล้วใครที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับคดีนี้ได้รับผิดชอบเพียงพอกับความผิดหรือยัง
หรือยังลอยนวลอยู่....
ปปฃ.ต้องมีคำตอบให้สังคมก่อนที่คดีจะหมดอายุความ....