เด็กไม่มีหน้าที่นำพาไทยสู่อาเซียน
.โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล | Somkiat Onwimon เมื่อ 11 มกราคม 2013 เวลา 23:58 น.
คำขวัญวันเด็กปี 2556 ปีนี้คือ “รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน”
“รักษาวินัย” แปลว่า มีวินัยแล้วพึงรักษาเอาไว้อย่าให้เสื่อมถอย
“ใฝ่เรียนรู้” เป็นวลีที่หวังจะให้เด็ก ใส่ใ่จในการศึกษาหาความรู้
“เพิ่มพูนปัญญา” สะท้อนว่าควรเกิดความคิดอันเป็นผลพวงของการ “ใฝ่เรียนรู้” ถือเป็นเรื่องต่อเนื่องกัน
“นำพาไทยสู่อาเซียน” วลีสุดท้าย เป็นส่วนของคำขวัญที่ไม่เกี่ยวกับเด็กมากที่สุด
หรือถ้าจะบอกว่า “การรักษาวินัย...การใฝ่เรียนรู้...และ...การเพิ่มพูนปัญญา” จะเป็นการ “นำพาไทยไปสู่อาเซียน” ก็ไม่ถูกต้อง เพราะ:
1.แผนการสร้างประชาคมอาเซียนนั้นไม่ได้มีเรื่องรักษาวินัย ไม่มีเรื่องการใฝ่เรียนรู้ ไม่มีเรื่องเพิ่มพูนปัญญา
2.และหากจะมีการนำพาประเทศไทยไปสู่(ประชาคม)อาเซียน ตามคำขวัญ ก็ไม่ใช่หน้าที่ของเด็กซึ่งยังไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับอาเซียนกันถึงขนาดจะเป็นผู้นำประเทศไทยไปสู่อาเซียนได้
3.
การพูดว่านำไทยไป “สู่อาเซียน” ก็พูดผิด เพราะอาเซียนไม่ได้อยู่ข้างหน้ารอให้เราเดินทางไปหา อาเซียนคือประชาคมของ 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงซึ่งเกิดเป็นประชาคมมา 45 ปีเศษแล้ว และเราก็เข้าอยู่ในประชาคมนี้มา 45 แล้ว คำขวัญนี้ผิดในเรื่องที่จะพาประเทศหรือใครๆไป “สู่” อาเซียนที่ไหน เพราะเราอยู่ในประชาคมอาเซียนอยู่แล้ว และอยู่มานานแล้ว
หากเด็กๆเชื่อคำขวัญของรัฐบาลเด็กๆก็จะได้ความรู้และความรู้สึกที่ผิดติดตัวไปจนโตเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะนำพาพลเมืองไทยให้พัฒนาเพื่อการดำรงอยู่ในประชาคมอาเซียนอย่างเข้มแข็ง มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ไม่ใช่หน้าที่ของเด็กที่จะนำพาประเทศไปหาอาเซียนที่ไหน เฉพาะเรื่องเด็กกับอาเซียนนั้น
หากรัฐบาลปัจจุบันจะใส่ใจเรื่องอาเซียนจริงจังบ้างก็จะรู้ว่ารัฐบาลนั้นยังไม่ได้ทำเรื่องการส่งเสริมการตระหนักรู้เรื่องอาเซียนในหมู่เยาวชนอย่างจริงจัง รัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไรในเรื่องการเตรียมพร้อมเยาวชนไทยให้สามารถแข่งขันกับเยาวชนชาติอื่นในอาเซียนได้อย่างเป็นระบบเลย
ในเรื่องการศึกษา อาเซียนมีความตกลงร่วมกันไว้หลายเรื่องที่เป็นหัวใจสำคัญ:
1.อาเซียนกำหนดให้การศึกษาอย่างมีคุณภาพกระจายทั่วถึงเด็กทุกคน ทุกความแตกต่าง แต่การศึกษาของเด็กไทยยังมิได้มาตรฐานเท่าเทียมทั่วถึงกันทั้งประเทศทุกโรงเรียน
ไม่มีคำประกาศจากรัฐบาลเลยว่าจะทำเรื่องนี้เมื่อไร? หรือไม่? อย่างไร?
2.อาเซียนมีความตกลงให้ทุกโรงเรียนเข้าถึงเทคโนโลยีการศึกษาโดยเฉพาะให้เด็กทุกคนทุกชั้นปีทุกโรงเรียนทุกประเทศได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเสมอเหมือนเท่าเทียมกัน ใก้เด็กได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ประจำตัวทุกคน ได้ใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงทุกคนทุกโรงเรียน เด็กที่บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาแบบนี้ไปนานแล้ว บรูไนเริ่มใช้การสื่อสารระบบ 4G ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว สวนสาธารณะเกือบทุกแห่งในกรุงจาการ์ตาให้บริการฟรี WiFi ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วเช่นกัน แต่รัฐบาลไทยปัจจุบันทำได้เพียงจัดหาคอมพิวเตอร์แบบกระดานแผ่นเล็กให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1 บางคน บางโรงเรียน และบางจังหวัดเท่านั้นเอง เด็กไทยตามเด็กชาติอื่นไม่ทันแน่นอนอยู่แล้วในเรื่องเทคโลโนยีการศึกษา รัฐบาลไม่ได้เตรียมอะไรเลยที่จะให้เยาวชนไทยไปแข่งขันกับใครได้ในอาเซียน ไม่ต้องพูดถึงการแข่งขันในระดับในโลก
3.กฎบัตรอาเซียนบัญญัติว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาทำงานในอาเซียน เด็กไทยไม่เคยได้รับการจัดการเรื่องการพัฒนาภาษาอังกฤษให้ใช้ชีวิตรอดในอาเซียนได้เลย ยกเว้นเด็กที่พ่อแม่จัดการเองได้เพราะฐานะดีมีโอกาสเรียนภาษาอังกฤษเองหรือเรียนในโรงเรียนระดับนานาชาติได้ หากรัฐบาลยังไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เพียงแต่สร้างคำขวัญให้เด็กท่องจำ เด็กที่มีโอกาสก็จะเป็นลูกคนรวย เด็กด้อยโอกาสคือเด็กส่วนใหญ่ในประเทศจะทำได้เพียงท่องจำคำขวัญได้อย่างน้อยหนึ่งเดือน ทั้งเด็กนักเรียนและครูไทยสื่อสารพูดคุยกับคนชาติอื่นเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วเด็กและครูของเราจะแข่งกับใครได้ในอาเซียน
4.อาเซียนมีปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาฯ (ชะอำ-หัวหิน 2552) ซึ่งกำหนดให้มีการจัดทำหลักสูตรพื้นฐานร่วมกัน 2 วิชา คือ วิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และ วิชาอาเซียนศึกษา จนบัดนี้ก็ยังไม่มีหลักสูตรนี้ เรืืองนี้เป็นความผิดของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ซึ่งควรจะต้องทำงานร่วมกัน เท่านี้ก็ยังทำไม่สำเร็จ แต่มีประเทศที่ไม่คอยหลักสูตรร่วม เช่นประเทศลาว ก็ทำหลักสูตรสองวิชานี้เองไปจนเสร็จและใช้เรียนได้มานาน 3 ปีแล้ว เด็กไทยและโรงเรียนไทยเรียนเรื่องอาเซียนกันตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่สั่งให้ครู “บูรณาการ” การสอนแทรกเรื่องอาเซียนกันเอาเอง ซึ่งครูจำนวนหนึ่งกล่าวประชดว่าเป็นการสั่งให้ “มั่ว” กันไปพลางก่อนในการเรียนการสอนหลักสูตรอาเซียนศึกษาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษานี้
อนาคตของเด็กเรื่องการตระหนักรู้เกี่ยวอาเซียนนั้นยัง “มองไม่เห็นจุดเริ่มต้น” ไม่ต้องพูดเรื่อง”มองไม่เป็นฝั่ง” เพราะยังไม่เริ่มก้าวเดิน ถนนก็ยังไม่เห็น แล้วจะไปเห็นฝั่งที่ไหนกัน!
5.ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาฯ กำหนดให้มีโครงการแลกเปลี่ยนครูและนักเรียนระหว่างโรงเรียนต่างๆในอาเซียน และให้ทำกิจกรรมข้ามชาติต่างๆมากมาย ให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดความรู้ระหว่างครูด้วยกันในอาเซียน ทั้งครูสาขาวิชาเดียวกัน และผู้บริหารโรงเรียนระดับเดียวกัน ให้เด็กนักเรียนได้เดินทางแลกเปลี่ยนกิจกรรมค่ายเยาวชน และสรรพกิจกรรมเชิงแข่งขันชิงรางวัลและทุนการศึกษาในอาเซียน แต่โรงเรียนไทยไม่กี่โรงเรียนที่มีขีดความสามารถทำได้ มีโรงเรียนทั่วประเทศกว่า 30,000 โรง แต่กระทรวงศึกษาธิการมีโครงการพัฒนาโรงเรียนให้มีศูนย์อาเซียนในโรงเรียนได้เพียงประมาณ 50 โรง ยังเหลืออีกกว่าสามหมื่นโรงเรียนที่เด็กไทยไม่มีอนาคตในอาเซียนเลย
6.ผู้นำและนักการเมืองของเราก็ด้อยคุณภาพทั้งด้านการศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และ ปรัชญา ส่วนภาษาอังกฤษของผู้นำทางการเมืองของเราโดยรวมก็ไม่มีคุณภาพที่จะสื่อสารกับใครได้ในอาเซียน เมื่อนักการเมืองเป็นผู้กำหนดคำขวัญวันเด็ก แล้วเน้นให้เด็กนำประเทศไปสู่อาเซียน...อาเซียนที่นักการเมืองเองก็ยังไม่รู้จักดีพอ แถมมิได้ทำอะไรเป็นรูปธรรมในการสร้างความตระหนักรู้และความตื่นตัวเรื่องอาเซียนทั้งในตัวนักการเมืองเอง และในหมู่เด็กและเยาวชน
คำขวัญวันเด็กปีนี้ออกมาอย่างผิดเพี้ยน ห่างไกลไปจากความเป็นจริง และไม่มีความเป็นไปได้
คำขวัญวันเด็กปีนี้เป็นคำขวัญที่ไร้สาระและไร้พลังใดๆที่จะเชื่อมโยงให้เกิดการตระหนักรู้เพื่อร่วมสร้างประชาคมอาเซียนแต่อย่างใดเลย
สมเกียรติ อ่อนวิมล
วันเด็กแห่งชาติ
12 มกราคม 2556
เลือกตั้งเป็นกระทู้ข่าว ที่เห็นว่ามีสาระที่สุดในสามโลก และยังทันเหตุการณ์ อ่านเจอในเฟซเลยนำมาฝาก "ชาวพันทิป" ค่ะ
สำหรับ "ชาวราชดำเนินบางคน" ที่ชอบปกป้องนักการเมือง ก็ลดดีกรีความแรงของภาษาลงหน่อยนะคะ
เพราะ จขกท.ตั้งใจ tag ไปยังหมวดอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
เดี๋ยวผู้ไม่คุ้นชินกับวัฒนธรรมราชดำเนินจะช๊อคซะก่อน
**คำขวัญวันเด็กปีนี้ออกมาอย่างผิดเพี้ยน ห่างไกลไปจากความเป็นจริง และไม่มีความเป็นไปได้
.โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล | Somkiat Onwimon เมื่อ 11 มกราคม 2013 เวลา 23:58 น.
คำขวัญวันเด็กปี 2556 ปีนี้คือ “รักษาวินัย ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มพูนปัญญา นำพาไทยสู่อาเซียน”
“รักษาวินัย” แปลว่า มีวินัยแล้วพึงรักษาเอาไว้อย่าให้เสื่อมถอย
“ใฝ่เรียนรู้” เป็นวลีที่หวังจะให้เด็ก ใส่ใ่จในการศึกษาหาความรู้
“เพิ่มพูนปัญญา” สะท้อนว่าควรเกิดความคิดอันเป็นผลพวงของการ “ใฝ่เรียนรู้” ถือเป็นเรื่องต่อเนื่องกัน
“นำพาไทยสู่อาเซียน” วลีสุดท้าย เป็นส่วนของคำขวัญที่ไม่เกี่ยวกับเด็กมากที่สุด
หรือถ้าจะบอกว่า “การรักษาวินัย...การใฝ่เรียนรู้...และ...การเพิ่มพูนปัญญา” จะเป็นการ “นำพาไทยไปสู่อาเซียน” ก็ไม่ถูกต้อง เพราะ:
1.แผนการสร้างประชาคมอาเซียนนั้นไม่ได้มีเรื่องรักษาวินัย ไม่มีเรื่องการใฝ่เรียนรู้ ไม่มีเรื่องเพิ่มพูนปัญญา
2.และหากจะมีการนำพาประเทศไทยไปสู่(ประชาคม)อาเซียน ตามคำขวัญ ก็ไม่ใช่หน้าที่ของเด็กซึ่งยังไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับอาเซียนกันถึงขนาดจะเป็นผู้นำประเทศไทยไปสู่อาเซียนได้
3.การพูดว่านำไทยไป “สู่อาเซียน” ก็พูดผิด เพราะอาเซียนไม่ได้อยู่ข้างหน้ารอให้เราเดินทางไปหา อาเซียนคือประชาคมของ 10 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงซึ่งเกิดเป็นประชาคมมา 45 ปีเศษแล้ว และเราก็เข้าอยู่ในประชาคมนี้มา 45 แล้ว คำขวัญนี้ผิดในเรื่องที่จะพาประเทศหรือใครๆไป “สู่” อาเซียนที่ไหน เพราะเราอยู่ในประชาคมอาเซียนอยู่แล้ว และอยู่มานานแล้ว หากเด็กๆเชื่อคำขวัญของรัฐบาลเด็กๆก็จะได้ความรู้และความรู้สึกที่ผิดติดตัวไปจนโตเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะนำพาพลเมืองไทยให้พัฒนาเพื่อการดำรงอยู่ในประชาคมอาเซียนอย่างเข้มแข็ง มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ไม่ใช่หน้าที่ของเด็กที่จะนำพาประเทศไปหาอาเซียนที่ไหน เฉพาะเรื่องเด็กกับอาเซียนนั้น หากรัฐบาลปัจจุบันจะใส่ใจเรื่องอาเซียนจริงจังบ้างก็จะรู้ว่ารัฐบาลนั้นยังไม่ได้ทำเรื่องการส่งเสริมการตระหนักรู้เรื่องอาเซียนในหมู่เยาวชนอย่างจริงจัง รัฐบาลยังไม่ได้ทำอะไรในเรื่องการเตรียมพร้อมเยาวชนไทยให้สามารถแข่งขันกับเยาวชนชาติอื่นในอาเซียนได้อย่างเป็นระบบเลย
1.อาเซียนกำหนดให้การศึกษาอย่างมีคุณภาพกระจายทั่วถึงเด็กทุกคน ทุกความแตกต่าง แต่การศึกษาของเด็กไทยยังมิได้มาตรฐานเท่าเทียมทั่วถึงกันทั้งประเทศทุกโรงเรียน ไม่มีคำประกาศจากรัฐบาลเลยว่าจะทำเรื่องนี้เมื่อไร? หรือไม่? อย่างไร?
2.อาเซียนมีความตกลงให้ทุกโรงเรียนเข้าถึงเทคโนโลยีการศึกษาโดยเฉพาะให้เด็กทุกคนทุกชั้นปีทุกโรงเรียนทุกประเทศได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเสมอเหมือนเท่าเทียมกัน ใก้เด็กได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ประจำตัวทุกคน ได้ใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงทุกคนทุกโรงเรียน เด็กที่บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาแบบนี้ไปนานแล้ว บรูไนเริ่มใช้การสื่อสารระบบ 4G ไปเมื่อปลายปีที่แล้ว สวนสาธารณะเกือบทุกแห่งในกรุงจาการ์ตาให้บริการฟรี WiFi ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วเช่นกัน แต่รัฐบาลไทยปัจจุบันทำได้เพียงจัดหาคอมพิวเตอร์แบบกระดานแผ่นเล็กให้เด็กนักเรียนชั้น ป.1 บางคน บางโรงเรียน และบางจังหวัดเท่านั้นเอง เด็กไทยตามเด็กชาติอื่นไม่ทันแน่นอนอยู่แล้วในเรื่องเทคโลโนยีการศึกษา รัฐบาลไม่ได้เตรียมอะไรเลยที่จะให้เยาวชนไทยไปแข่งขันกับใครได้ในอาเซียน ไม่ต้องพูดถึงการแข่งขันในระดับในโลก
3.กฎบัตรอาเซียนบัญญัติว่าภาษาอังกฤษเป็นภาษาทำงานในอาเซียน เด็กไทยไม่เคยได้รับการจัดการเรื่องการพัฒนาภาษาอังกฤษให้ใช้ชีวิตรอดในอาเซียนได้เลย ยกเว้นเด็กที่พ่อแม่จัดการเองได้เพราะฐานะดีมีโอกาสเรียนภาษาอังกฤษเองหรือเรียนในโรงเรียนระดับนานาชาติได้ หากรัฐบาลยังไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เพียงแต่สร้างคำขวัญให้เด็กท่องจำ เด็กที่มีโอกาสก็จะเป็นลูกคนรวย เด็กด้อยโอกาสคือเด็กส่วนใหญ่ในประเทศจะทำได้เพียงท่องจำคำขวัญได้อย่างน้อยหนึ่งเดือน ทั้งเด็กนักเรียนและครูไทยสื่อสารพูดคุยกับคนชาติอื่นเป็นภาษาอังกฤษไม่ได้ แล้วเด็กและครูของเราจะแข่งกับใครได้ในอาเซียน
4.อาเซียนมีปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาฯ (ชะอำ-หัวหิน 2552) ซึ่งกำหนดให้มีการจัดทำหลักสูตรพื้นฐานร่วมกัน 2 วิชา คือ วิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา และ วิชาอาเซียนศึกษา จนบัดนี้ก็ยังไม่มีหลักสูตรนี้ เรืืองนี้เป็นความผิดของรัฐสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ซึ่งควรจะต้องทำงานร่วมกัน เท่านี้ก็ยังทำไม่สำเร็จ แต่มีประเทศที่ไม่คอยหลักสูตรร่วม เช่นประเทศลาว ก็ทำหลักสูตรสองวิชานี้เองไปจนเสร็จและใช้เรียนได้มานาน 3 ปีแล้ว เด็กไทยและโรงเรียนไทยเรียนเรื่องอาเซียนกันตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการที่สั่งให้ครู “บูรณาการ” การสอนแทรกเรื่องอาเซียนกันเอาเอง ซึ่งครูจำนวนหนึ่งกล่าวประชดว่าเป็นการสั่งให้ “มั่ว” กันไปพลางก่อนในการเรียนการสอนหลักสูตรอาเซียนศึกษาและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษานี้ อนาคตของเด็กเรื่องการตระหนักรู้เกี่ยวอาเซียนนั้นยัง “มองไม่เห็นจุดเริ่มต้น” ไม่ต้องพูดเรื่อง”มองไม่เป็นฝั่ง” เพราะยังไม่เริ่มก้าวเดิน ถนนก็ยังไม่เห็น แล้วจะไปเห็นฝั่งที่ไหนกัน!
5.ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือทางการศึกษาฯ กำหนดให้มีโครงการแลกเปลี่ยนครูและนักเรียนระหว่างโรงเรียนต่างๆในอาเซียน และให้ทำกิจกรรมข้ามชาติต่างๆมากมาย ให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความคิดความรู้ระหว่างครูด้วยกันในอาเซียน ทั้งครูสาขาวิชาเดียวกัน และผู้บริหารโรงเรียนระดับเดียวกัน ให้เด็กนักเรียนได้เดินทางแลกเปลี่ยนกิจกรรมค่ายเยาวชน และสรรพกิจกรรมเชิงแข่งขันชิงรางวัลและทุนการศึกษาในอาเซียน แต่โรงเรียนไทยไม่กี่โรงเรียนที่มีขีดความสามารถทำได้ มีโรงเรียนทั่วประเทศกว่า 30,000 โรง แต่กระทรวงศึกษาธิการมีโครงการพัฒนาโรงเรียนให้มีศูนย์อาเซียนในโรงเรียนได้เพียงประมาณ 50 โรง ยังเหลืออีกกว่าสามหมื่นโรงเรียนที่เด็กไทยไม่มีอนาคตในอาเซียนเลย
6.ผู้นำและนักการเมืองของเราก็ด้อยคุณภาพทั้งด้านการศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และ ปรัชญา ส่วนภาษาอังกฤษของผู้นำทางการเมืองของเราโดยรวมก็ไม่มีคุณภาพที่จะสื่อสารกับใครได้ในอาเซียน เมื่อนักการเมืองเป็นผู้กำหนดคำขวัญวันเด็ก แล้วเน้นให้เด็กนำประเทศไปสู่อาเซียน...อาเซียนที่นักการเมืองเองก็ยังไม่รู้จักดีพอ แถมมิได้ทำอะไรเป็นรูปธรรมในการสร้างความตระหนักรู้และความตื่นตัวเรื่องอาเซียนทั้งในตัวนักการเมืองเอง และในหมู่เด็กและเยาวชน
คำขวัญวันเด็กปีนี้ออกมาอย่างผิดเพี้ยน ห่างไกลไปจากความเป็นจริง และไม่มีความเป็นไปได้
คำขวัญวันเด็กปีนี้เป็นคำขวัญที่ไร้สาระและไร้พลังใดๆที่จะเชื่อมโยงให้เกิดการตระหนักรู้เพื่อร่วมสร้างประชาคมอาเซียนแต่อย่างใดเลย
สมเกียรติ อ่อนวิมล
วันเด็กแห่งชาติ
12 มกราคม 2556
เลือกตั้งเป็นกระทู้ข่าว ที่เห็นว่ามีสาระที่สุดในสามโลก และยังทันเหตุการณ์ อ่านเจอในเฟซเลยนำมาฝาก "ชาวพันทิป" ค่ะ
สำหรับ "ชาวราชดำเนินบางคน" ที่ชอบปกป้องนักการเมือง ก็ลดดีกรีความแรงของภาษาลงหน่อยนะคะ
เพราะ จขกท.ตั้งใจ tag ไปยังหมวดอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
เดี๋ยวผู้ไม่คุ้นชินกับวัฒนธรรมราชดำเนินจะช๊อคซะก่อน