'ตาดูดาว เท้าติดดิน'ละครถูกทิ้ง? : มนุษย์สองหน้า โดยแคน สาริกา
ละครแนวเหนือจริงกลายเป็น "เรื่องจริง" ในสังคมไทย ทุกวงสนทนาต้องพูดถึง "ละครไม่มีตอนจบ" กันอย่างเอาจริงเอาจัง แต่หลายคนคงลืมไปแล้วว่ามี "ละครไม่ได้ออกอากาศ" อยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้สร้างเองก็อยากให้มันจมหายไปในกาลเวลา
ละครเรื่องนั้นคือ "ตาดูดาว เท้าติดติด" ฉบับภาคปฐมวัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถ่ายทำเสร็จในปี 2548 แต่รอแล้วรอเล่าก็ไม่ได้ออกอากาศ จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ละครเรื่องนี้ก็ถูกทิ้งไว้ในกรุมายาวิกหมอชิต
บังเอิญเหลือเกินว่า "มิ้นท์" ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง นางเอกดาวรุ่งเรื่อง "เหนือเมฆ 2 ตอนมือปราบจอมขมังเวทย์" เธอเริ่มแสดงละครเรื่องแรกในชีวิต จาก "ตาดูดาว เท้าติดดิน" โดยรับบทเป็น "เอม" พินทองทา ชินวัตร ลูกสาวคนโตของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ในละคร "เหนือเมฆ 2" มินท์รับบทเป็น "แพรไพลิน" ลูกสาวนักธุรกิจใหญ่ที่ทำมาหากินกับนักการเมืองชั่ว
ย้อนเวลาไปเมื่อวันที่ "คุณแดง" สุรางค์ เปรมปรีดิ์ ยังมีอำนาจในช่อง 7 สี ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือ "ตาดูดาว เท้าติดดิน" ที่เขียนโดย "วัลยา" มาให้ "ดาราวิดีโอ" เป็นผู้ดำเนินการสร้างนั้น เป็นช่วง "กระแสทักษิณ" มาแรง สะท้อนได้จากแผงหนังสือ ซึ่งมากมายด้วยหนังสือชีวประวัติ และแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ว่ากันว่า อดีตนายกฯ ทักษิณเลือก "ชาคริต แย้มนาม" เป็นพระเอก เพราะมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัว สุขุม ความหยิ่งทระนง ไม่ค่อยแคร์อะไรอยู่ในบุคลิก แถมยังเป็นชายที่มีแววตามุ่งมั่นซุกซ่อนอยู่ แต่ชาคริตก็ไม่ได้เป็นพระเอก เพราะคิวละครแน่น
บทนายตำรวจหนุ่มทายาทคหบดีสันกำแพง จึงตกเป็นของ "พอล" ภัทรพล ศิลปาจารย์ ส่วนนางเอก "จุ๋ย" วรัทยา นิลคูหา รับบทคุณหญิงพจมาน
เมื่อ "คุณแดง" สุรางค์ เปรมปรีดิ์ มอบภาระให้ "หลุยส์" สยาม สังวริบุตร แห่งดาราวิดีโอ ผลิตละคร "ตาดูดาว เท้าติดดิน" ภาคปฐมวัย ก็ดำเนินการสร้างอย่างรวดเร็ว เพราะต้องการให้ออนแอร์ได้ในช่วงกลางปี 2548
จริงๆ แล้ว ตอนที่มีข่าวการสร้างละครเรื่องนี้ ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายว่าเป็น "ละครการเมือง" ทางช่อง 7 สี ได้อธิบายความว่า เป็นภาคปฐมวัย เป็นจุดเริ่มนับหนึ่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งฐานะทางการเมืองยังเป็นวุ้น
เมื่อการถ่ายทำและตัดต่อเสร็จราวเดือนมิถุนายน 2548 แฟนคลับพรรคไทยรักไทยก็เฝ้ารอละครชีวิตนักการเมืองเรื่องแรกของช่อง 7 สี จนแล้วจนรอดละครเรื่องนี้ก็ยังไม่ออกอากาศ กระทั่งต้นปี 2549 "โหน่ง" วีรชัย รุ่งเรือง ผู้กำกับละครตาดูดาวฯ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อเป็นครั้งแรก ซึ่งเวลานั้นทีมงานดาราวิดีโอรอมา 9 เดือนแล้ว
"ผมไม่ทราบว่าเป็นเพราะเรื่องการเมืองหรือเปล่า แต่ก่อนหน้าที่มันจะร้อนระอุ ก็ยังไม่ได้มีแนวโน้มนะว่าจะได้ออกอากาศเหมือนกัน ผมก็ยังไม่ทราบ.."
คำว่า "เป็นเพราะเรื่องการเมืองหรือเปล่า" ก็เนื่องจากตอนนั้นมีการนัดชุมนุมใหญ่ของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรมาเป็นระยะๆ ตั้งแต่ปลายปี 2548 ก่อนหน้าจะเกิดองค์กรพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยา ก็มีข่าวเล็กๆ ในหน้าบันเทิงไทยรัฐว่า มีการทำลายเทปละครเรื่องนี้ทิ้งไปแล้ว แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากประชาสัมพันธ์ของดาราวิดีโอ และให้สื่อไปถามทางช่อง 7 สีเอง
ละครตาดูดาวฯ เป็นอีกบทเรียนหนึ่งของคนบันเทิงทีวีเมืองไทย แม้ผู้สร้างจะบอกว่าเป็นเรื่องชีวิตคนคนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่สาเหตุที่ทำให้ละครเรื่องนี้จมหายไปก็คือการเมือง
..........
(หมายเหตุ : 'ตาดูดาว เท้าติดดิน'ละครถูกทิ้ง? : มนุษย์สองหน้า โดยแคน สาริกา)
จาก : นสพ.คม ชัด ลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20130109/148978/ตาดูดาวเท้าติดดินละครถูกทิ้ง.html
'ตาดูดาว เท้าติดดิน'ละครถูกทิ้ง?
'ตาดูดาว เท้าติดดิน'ละครถูกทิ้ง? : มนุษย์สองหน้า โดยแคน สาริกา
ละครแนวเหนือจริงกลายเป็น "เรื่องจริง" ในสังคมไทย ทุกวงสนทนาต้องพูดถึง "ละครไม่มีตอนจบ" กันอย่างเอาจริงเอาจัง แต่หลายคนคงลืมไปแล้วว่ามี "ละครไม่ได้ออกอากาศ" อยู่เรื่องหนึ่ง ซึ่งผู้สร้างเองก็อยากให้มันจมหายไปในกาลเวลา
ละครเรื่องนั้นคือ "ตาดูดาว เท้าติดติด" ฉบับภาคปฐมวัยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถ่ายทำเสร็จในปี 2548 แต่รอแล้วรอเล่าก็ไม่ได้ออกอากาศ จนกระทั่งเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ละครเรื่องนี้ก็ถูกทิ้งไว้ในกรุมายาวิกหมอชิต
บังเอิญเหลือเกินว่า "มิ้นท์" ชาลิดา วิจิตรวงศ์ทอง นางเอกดาวรุ่งเรื่อง "เหนือเมฆ 2 ตอนมือปราบจอมขมังเวทย์" เธอเริ่มแสดงละครเรื่องแรกในชีวิต จาก "ตาดูดาว เท้าติดดิน" โดยรับบทเป็น "เอม" พินทองทา ชินวัตร ลูกสาวคนโตของ พ.ต.ท.ทักษิณ แต่ในละคร "เหนือเมฆ 2" มินท์รับบทเป็น "แพรไพลิน" ลูกสาวนักธุรกิจใหญ่ที่ทำมาหากินกับนักการเมืองชั่ว
ย้อนเวลาไปเมื่อวันที่ "คุณแดง" สุรางค์ เปรมปรีดิ์ ยังมีอำนาจในช่อง 7 สี ซื้อลิขสิทธิ์หนังสือ "ตาดูดาว เท้าติดดิน" ที่เขียนโดย "วัลยา" มาให้ "ดาราวิดีโอ" เป็นผู้ดำเนินการสร้างนั้น เป็นช่วง "กระแสทักษิณ" มาแรง สะท้อนได้จากแผงหนังสือ ซึ่งมากมายด้วยหนังสือชีวประวัติ และแนวคิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
ว่ากันว่า อดีตนายกฯ ทักษิณเลือก "ชาคริต แย้มนาม" เป็นพระเอก เพราะมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัว สุขุม ความหยิ่งทระนง ไม่ค่อยแคร์อะไรอยู่ในบุคลิก แถมยังเป็นชายที่มีแววตามุ่งมั่นซุกซ่อนอยู่ แต่ชาคริตก็ไม่ได้เป็นพระเอก เพราะคิวละครแน่น
บทนายตำรวจหนุ่มทายาทคหบดีสันกำแพง จึงตกเป็นของ "พอล" ภัทรพล ศิลปาจารย์ ส่วนนางเอก "จุ๋ย" วรัทยา นิลคูหา รับบทคุณหญิงพจมาน
เมื่อ "คุณแดง" สุรางค์ เปรมปรีดิ์ มอบภาระให้ "หลุยส์" สยาม สังวริบุตร แห่งดาราวิดีโอ ผลิตละคร "ตาดูดาว เท้าติดดิน" ภาคปฐมวัย ก็ดำเนินการสร้างอย่างรวดเร็ว เพราะต้องการให้ออนแอร์ได้ในช่วงกลางปี 2548
จริงๆ แล้ว ตอนที่มีข่าวการสร้างละครเรื่องนี้ ก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากมายว่าเป็น "ละครการเมือง" ทางช่อง 7 สี ได้อธิบายความว่า เป็นภาคปฐมวัย เป็นจุดเริ่มนับหนึ่งของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งฐานะทางการเมืองยังเป็นวุ้น
เมื่อการถ่ายทำและตัดต่อเสร็จราวเดือนมิถุนายน 2548 แฟนคลับพรรคไทยรักไทยก็เฝ้ารอละครชีวิตนักการเมืองเรื่องแรกของช่อง 7 สี จนแล้วจนรอดละครเรื่องนี้ก็ยังไม่ออกอากาศ กระทั่งต้นปี 2549 "โหน่ง" วีรชัย รุ่งเรือง ผู้กำกับละครตาดูดาวฯ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อเป็นครั้งแรก ซึ่งเวลานั้นทีมงานดาราวิดีโอรอมา 9 เดือนแล้ว
"ผมไม่ทราบว่าเป็นเพราะเรื่องการเมืองหรือเปล่า แต่ก่อนหน้าที่มันจะร้อนระอุ ก็ยังไม่ได้มีแนวโน้มนะว่าจะได้ออกอากาศเหมือนกัน ผมก็ยังไม่ทราบ.."
คำว่า "เป็นเพราะเรื่องการเมืองหรือเปล่า" ก็เนื่องจากตอนนั้นมีการนัดชุมนุมใหญ่ของรายการเมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรมาเป็นระยะๆ ตั้งแต่ปลายปี 2548 ก่อนหน้าจะเกิดองค์กรพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
หลังจากการรัฐประหาร 19 กันยา ก็มีข่าวเล็กๆ ในหน้าบันเทิงไทยรัฐว่า มีการทำลายเทปละครเรื่องนี้ทิ้งไปแล้ว แต่ก็ได้รับการปฏิเสธจากประชาสัมพันธ์ของดาราวิดีโอ และให้สื่อไปถามทางช่อง 7 สีเอง
ละครตาดูดาวฯ เป็นอีกบทเรียนหนึ่งของคนบันเทิงทีวีเมืองไทย แม้ผู้สร้างจะบอกว่าเป็นเรื่องชีวิตคนคนหนึ่งไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่สาเหตุที่ทำให้ละครเรื่องนี้จมหายไปก็คือการเมือง
..........
(หมายเหตุ : 'ตาดูดาว เท้าติดดิน'ละครถูกทิ้ง? : มนุษย์สองหน้า โดยแคน สาริกา)
จาก : นสพ.คม ชัด ลึก
http://www.komchadluek.net/detail/20130109/148978/ตาดูดาวเท้าติดดินละครถูกทิ้ง.html