คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ลองอ่านแนวทางเลือกดูเผื่อสนใจ พอดีเคยได้อ่านมาจาก momypedia เลยก๊ิอปมาให้อ่านครับ
http://community.momypedia.com/webboard_topic.aspx?tid=478168
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มิถุนายน 2553 15:14 น.
ภาพประกอบจากอิน เทอร์เน็ต
เชื่อได้เลยว่า คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกใกล้เข้าวัยเรียน คงต้องคิดหนักเรื่องของการเลือกโรงเรียนให้กับลูกไม่น้อย เนื่องจากสมัยนี้ มีโรงเรียนมากมาย และผุดขึ้นอีกไม่รู้กี่แห่ง ทำให้พ่อแม่ต้องปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน โดยเฉพาะการหาโรงเรียนที่ดี มีระบบการเรียนการสอนที่ตรงกับพัฒนาการของลูก
ทั้งนี้ เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลือกโรงเรียนอนุบาลให้กับพ่อแม่ยุคใหม่ ทีมงาน Life and Family ขอเป็นตัวกลางส่ง ผ่านข้อมูลการศึกษาแนวทางเลือก (Alternative Education) ที่เก็บได้จากงาน Emporium Smart Kids ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นมาเพื่อถอดสลักความเป็นโรงเรียนในระบบเดิม เน้นการเรียนรู้ใหม่อย่างมีชีวิตชีวา ไม่หยุดนิ่ง โดยความพิเศษของการศึกษาทางเลือกนี้มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ และต่างแนวคิดกันตามที่ทีมงานจะนำเสนอดังต่อไปนี้
มอนเตสซอรี่ (Montessori Method)
เริ่มเก็บข้อมูลกันที่ แนวการเรียนการสอนแบบ "มอนเตสซอรี่" เป็นหลักการสอนที่ยึดหลักตามพัฒนาการและความต้องการของเด็กวัย 0-6 ปี ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ "สภาพแวดล้อม" โดยมีครูเป็นผู้เตรียมสภาพแวดล้อม ดังนั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่ดูแลเด็กจะต้องมีสัมพันธภาพที่ดี มีความรัก เอื้ออาทร มีเสรีภาพ ให้เด็กมีโอการเลือกและสิ่งที่สำคัญของการเรียนแบบมอนเตสซอรี่ คือ "มือ" เพราะมือคือครูที่สำคัญคนหนึ่ง เด็กสามารถเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างผ่านมือตัวเอง โดยคุณพ่อคุณแม่และคุณครู เป็นผู้เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้และทำทุกอย่างด้วยตัวเอง
แนวการสอน จะเน้นการใช้สื่ออุปกรณ์ให้เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง สร้างความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เด็กๆ จะมีอิสระในการหยิบอุปกรณ์ชิ้นใดก็ได้มาทำ เขาอาจจะเลือกหยิบชิ้นที่ยากเกินความสามารถของตัวเอง เมื่อพบว่าตัวเองทำไม่ได้ เขาก็จะนำไปเก็บและหยิบอุปกรณ์ชิ้นใหม่ขึ้นมาแทน ทั้งนี้การฝึกฝนจากอุปกรณ์ที่ง่ายและขยับขึ้นไปสู่อุปกรณ์ที่ยากจะเป็นไปตาม พัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก โดยกิจกรรมหลักของแนวทางนี้ มีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มคือ กลุ่มประสบการณ์ชีวิต เพื่อฝึกให้เด็กมีสมาธิ ระเบียบวินัย กิจกรรมในกลุ่มประสาทสัมผัส และกิจกรรมในกลุ่มวิชาการ
อย่างไรก็ดี การสอนแนวนี้ จะเน้นการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและเป็นไปอย่างมีขั้นตอน เพราะเชื่อว่าเด็กปฐมวัยชอบความเป็นระเบียบ แต่จุดอ่อน คือแง่ทักษะในสังคม เด็กจะขาดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและครู เพราะเด็กต้องทำกิจกรรมของใครของมัน ปล่อยให้เด็กคิดอย่างอิสระ ทำด้วยตัวเอง ส่วนจุดแข็งที่ทำให้เราเห็นความแตกต่าง คือความเชื่อในเรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งช่วยพัฒนาการเด็กได้มาก
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการให้ลูกเป็นเด็กเรียบร้อย แล้วอยากจะเลือกการศึกษาแนวนี้ ควรต้องดูให้ถึงแก่นว่าโรงเรียนที่บอกนั้นได้ยึดหลัก "เด็กเป็นศูนย์กลาง" (Child Center) หรือไม่ และอุปกรณ์ที่ให้เด็กใช้เป็นอย่างไร รวมถึงครูผู้สอนผ่านการฝึกอบรมมานักแค่ไหน
สำหรับโรงเรียนอนุบาลที่นำแนวคิดมาใช้ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลกรแก้ว www.kornkaew.th.edu และโรงเรียนอนุบาลสาริน www.anubansarin.com
วอล์ดอร์ฟ (Waldorf method)
เป็นการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็กๆ ที่ควรได้เล่นอย่างอิสระ มีชีวิตเรียบง่ายกลมกลืนกับธรรมชาติ เน้นให้เด็กๆ รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตัวเองในการใช้ชีวิตอยู่บนโลก ผ่านกิจกรรม 3 อย่าง คือ กิจกรรมทางกายหรือการกระทำ กิจกรรมทางอารมณ์ความรู้สึก และกิจกรรมผ่านความคิดหรือสมอง โดยเน้นให้เด็กใช้พลังทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญา หรือศาสตร์ของศิลปะ
แนวนี้เชื่อว่า "จินตนาการของเด็กคือการเรียน รู้" โดยจะสอนตามพัฒนาการของเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 0-7 ปี ที่ถือว่าเป็นวัยที่มีพัฒนาการทางร่างกายมากที่สุด เน้นไปที่การเรียนรู้แบบธรรมชาติ ไม่มีการสอนแบบชั้นเรียน ห้องเรียน จะมีมุมต่างๆ ให้เด็กได้เรียนรู้จากการเล่นของธรรมชาติ ใช้ของง่ายๆ พื้นๆ เช่นการวาดรูปด้วยสีน้ำ การปั้นดินเหนียว การปลูกผัก ทำอาหาร ประดิษฐ์งานฝีมือ ล้างจานและทำความสะอาดอื่นๆ
อย่างไรก็ดี การเรียนการสอนในแนวนี้ เป็นการสอนเพื่อพัฒนามนุษย์ให้ได้ถึงส่วนลึกที่สุดของจิตใจ การนำวิธีการสอนแบบวอล์ดอร์ฟ จำเป็นต้องนำทั้งระบบการศึกษาไปใช้ควบคู่กับรูปแบบ ดังนั้นพ่อแม่ต้องพิจารณาความเหมาะสมของสถานศึกษาอย่างรอบคอบก่อนส่งลูกไป เรียนในหลักสูตรนี้
สำหรับโรงเรียนอนุบาลไทยที่นำแนวคิดนี้ไปใช้ ได้แก่ โรงเรียนปัญโญทัย www.panyotai.com โรงเรียนอนุบาลบ้านรัก www.baanrakk.th.edu และโรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะ www.tridhaksa.ac.th
การทำกิจกรรมของ เด็กๆ /ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
เรกจิโอเอมิเลีย (Reggio Emilia Approach)
เป็นหลักการสอนที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ และบริบทของสังคมที่เด็กอยู่เป็นตัวกำหนด จะต้องเรียนรู้ว่าสังคมรอบตัวเป็นอย่างไร ผลงานที่เด็กทำจึงต้องเกิดจากความสนใจของเด็กที่ลองผิดลองถูกเองทั้งหมด
โดยการศึกษาแนวนี้ เชื่อเสมอว่า เด็กมีความ สามารถในตัวอยู่แล้ว ครูจึงมีบทบาทที่จะเข้ามาขยายความสามารถนั้น เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้าเรียนรู้ และความสนใจของเด็กต้องได้รับการสานต่อและเชื่อมโยง ซึ่งมีหลายข้อที่น่าสนใจดังนี้
1. วิธีการมองเด็ก เด็กแต่ละคนมีลักษณะที่เป็นตัวของตัวเอง มีศักยภาพและความสามารถในตัวเองมาตั้งแต่เกิด คุณครูต้องรับรู้ถึงศักยภาพ ส่งเสริม สร้างสิ่งแวดล้อมที่จะสนองตอบต่อศักยภาพเด็กอย่างเหมาะสม
2.โรงเรียนเป็นแหล่งการบูรณาการสิ่ง มีชีวิตที่หลากหลาย การดำเนินการจึงต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง 3 คือ เด็ก ครอบครัว และครู สภาพแวดล้อมในโรงเรียน ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและเป็นมิตรสำหรับทุกคนที่ได้เข้าสัมผัส
3. ครูและเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน การเรียนรู้ที่มีคุณค่าสำหรับเด็กไม่ใช่การสอนจากครูที่เป็นการบอกเล่าโดย ตรง แต่เป็นการจัดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
4. ครูต้องปฏิบัติตัวเป็นนักศึกษา ค้นคว้า วิจัย และสำรวจ พูดง่ายๆ คือ ครูต้องเป็นมากกว่าครู เพื่อนำพาเด็กไปสู่การเรียน ที่ก้าวหน้า พัฒนาสติปัญญาในขั้นต่อไป
สำหรับโรงเรียนอนุบาลไทยที่นำแนวคิดนี้ไปใช้ ได้แก่ โรงเรียนมณีรัตน์ www.maneerut.com
การเรียนการสอนภาษาแบบ ธรรมชาติ (Whole Language Approach)
แนวการสอนนี้ ถูกนำมาสอดแทรกไปกับการเรียนรู้ภาษา ทั้งการพูด การเขียน และการอ่าน เป็นการเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ เด็กจึงไม่มีความรู้สึกว่ายากลำบากในการเรียน เพราะเด็กเกิดมาพร้อมกับความสามารถที่จะเรียนรู้ภาษา
โดยในห้องเรียน จะต้องมีกิจกรรมที่มีความหมายต่อเด็ก มีลักษณะสร้างสิ่งแวดล้อมให้เด็กคุ้นกับหนังสือ ควรมีหนังสือให้เด็กเลือกอ่านตามความสนใจ อ่านหนังสือให้ฟังทุกวัน ให้เด็กเล่าเรื่องจาก การพูด การเขียน การวาด หรือการแสดง โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลางสอนเด็กตามระดับความสามารถที่แตกต่างกัน ซึ่งครูจะมีบทบาทมากในการกระตุ้นให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เป็นภาษา กระตุ้นให้เด็กลองเขียน ผิดๆ ถูกๆ ให้กำลังใจ ส่วนพ่อแม่ต้องสร้างเจตคติให้ลูกรู้จักการสื่อสาร รักในการพูด อ่าน เขียนไปพร้อมๆ กัน ไม่ใช่ตั้งเป้าเอาไว้ว่า ลูกอยู่อนุบาล 3 แล้วจะต้องอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด
สำหรับโรงเรียนอนุบาลไทยที่นำแนวคิดนี้ไปใช้ ได้แก่ โรงเรียนทอรัก www.taurakschool.net และ โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต www.wattanasatitschool.com
ให้เด็กได้สัมผัส ประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน
การ เรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach)
โดยหลักคิดของแนวการสอนแบบนี้ เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา พัฒนาการทางสังคมของเด็ก หากเด็กจะเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หัวข้อนั้นๆ ไม่ได้มาจากครู แต่มาจากตัวของเด็กเอง เป็นแนวการสอนที่ดึงศักยภาพเด็กออกมา เพราะฉะนั้นเด็กเก่งก็สามารถช่วยเด็กอ่อนได้ ในขณะที่เด็กอ่อนก็ไม่รู้สึกแปลกที่ไม่เป็นการเรียนแบบแพ้คัดออก ทั้งยังเน้นให้เด็กคิดเอง ที่สำคัญเด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ หู ตา มือ ปาก และความรู้สึก
อย่างไรก็ดี ในประเทศไทยนั้นมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกันคือ 1. รูปแบบโครงการที่ให้เด็กตั้งสมมติฐานในสิ่งที่สนใจอยากเรียนรู้ จากนั้นให้ทดลองว่าเป็นไปตามที่คาดคะเนไว้หรือไม่ 2.รูปแบบ Reggio เป็นโครงการที่ไม่มีโครงสร้างจำกัดมากนัก และ 3. โครงการแบบมีกระบวนการครบทั้ง 5 ขั้น คือ อภิปรายกลุ่ม ออกภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์เดิม การสืบค้น และการจัดแสดง อย่างไรก็ดี การเรียนแนวนี้ ก็มีข้อจำกัดถ้าหากไม่มีการพาเด็กออกภาคสนามหรือทัศนศึกษา จะทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรง
สำหรับโรงเรียนอนุบาลไทยที่นำแนวคิดนี้ไปใช้ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลธีรานุรักษ์ www.teeranurakschool.com โรงเรียนวรรณสว่างจิต www.wsc.ac.th และโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ http://kukai.ac.th
นีโอ-ฮิ วแมนนิสต์ (Neo-Humanist Education)
เป็นการเรียนการสอนที่นำศาสตร์ทางตะวันออกกับความทันสมัยของตะวันตก มาผสมผสานเข้าด้วยกัน มีการให้เด็กๆ ฝึกสมาธิ ทำโยคะโดยมีเสียงเพลงประกอบ และได้รวบรวมวิธีการสอนใหม่ๆ เข้าไปด้วย โดยให้ความสำคัญกับ ความเก่ง ความฉลาด ที่เป็นศักยภาพที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ พร้อมกับเชื่อว่าความเป็นคนที่สมบูรณ์เกิดจากศักยภาพที่สำคัญทั้ง 4 ด้าน คือ
ด้านร่างกายจะต้องแข็งแรง ด้านจิตใจ ถ้าร่างกายแข็งแรงแต่จิตใจกลับอ่อนแอ เด็กก็จะขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการมีน้ำใจ มีความรักและความเมตตาให้กับคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน และสุดท้ายด้านวิชาการ จะต้องมีความรู้ไว้พัฒนาการตนเอง แนวคิดนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของเด็ก 95 % มาจากสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการเด็ก อีก 5 % เป็นเรื่องกรรมพันธุ์ที่ได้รับจากพ่อแม่ ซึ่งในหมู่นักการศึกษากลับมองว่า หลักความเชื่อเช่นนี้ ค่อนข้างชี้ชัดเกินไป เพราะในวิถีของเด็กยังมีปัจจัยอีกมากที่ส่งผลต่อการเรียนรู้
สำหรับโรงเรียนอนุบาลที่นำแนวคิดนี้ไปใช้ คือ โรงเรียนอมาตยกุล โทร.02-972-8894-5 หรือ 02-986-1663
การ เรียนการสอนแบบไฮ/สโคป (High/Scope Approach)
เป็นการเรียนที่ใช้หลักการให้เด็กริเริ่มกิจกรรมด้วยตัวเอง ได้ลงมือปฏิบัติ และเลือกสื่อที่เกี่ยวข้องกับการเรียน โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการทำกิจกรรม เน้นกระบวนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน คือ การวางแผน, การปฏิบัติ และการทบทวน โดยต้องระวังว่ากระบวนการต้องมาจากความคิดของเด็กๆ ไม่ใช่การชี้นำของครูผู้สอน
การ เรียนการสอนแบบวิถีพุทธ (Buddhist Education)
ส่วนแนวการเรียนการสอนสุดท้าย เป็นแนวคิดที่ทีมงานได้เคยนำไปเสนอไปแล้ว ถ้าพ่อแม่ท่านใดสนใจแนวทางวิถีพุทธ สามารถเข้าไปอ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "ส่งลูกเข้าเรียน "วิถีพุทธ" ใครว่าเด็กจะล้าหลังคร่ำครึ! http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000085869
*** บ้านไหนที่สนใจแนวโรงเรียนทางเลือกแบบใด และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อไปตามโรงเรียนได้ หรือติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2269-1091-50 หรือ www.emporiumthailand.com
http://community.momypedia.com/webboard_topic.aspx?tid=478168
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มิถุนายน 2553 15:14 น.
ภาพประกอบจากอิน เทอร์เน็ต
เชื่อได้เลยว่า คุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกใกล้เข้าวัยเรียน คงต้องคิดหนักเรื่องของการเลือกโรงเรียนให้กับลูกไม่น้อย เนื่องจากสมัยนี้ มีโรงเรียนมากมาย และผุดขึ้นอีกไม่รู้กี่แห่ง ทำให้พ่อแม่ต้องปวดเศียรเวียนเกล้าไปตามๆ กัน โดยเฉพาะการหาโรงเรียนที่ดี มีระบบการเรียนการสอนที่ตรงกับพัฒนาการของลูก
ทั้งนี้ เพื่อเป็นตัวช่วยในการเลือกโรงเรียนอนุบาลให้กับพ่อแม่ยุคใหม่ ทีมงาน Life and Family ขอเป็นตัวกลางส่ง ผ่านข้อมูลการศึกษาแนวทางเลือก (Alternative Education) ที่เก็บได้จากงาน Emporium Smart Kids ซึ่งเป็นแนวทางที่เกิดขึ้นมาเพื่อถอดสลักความเป็นโรงเรียนในระบบเดิม เน้นการเรียนรู้ใหม่อย่างมีชีวิตชีวา ไม่หยุดนิ่ง โดยความพิเศษของการศึกษาทางเลือกนี้มีอยู่ด้วยกันหลายรูปแบบ และต่างแนวคิดกันตามที่ทีมงานจะนำเสนอดังต่อไปนี้
มอนเตสซอรี่ (Montessori Method)
เริ่มเก็บข้อมูลกันที่ แนวการเรียนการสอนแบบ "มอนเตสซอรี่" เป็นหลักการสอนที่ยึดหลักตามพัฒนาการและความต้องการของเด็กวัย 0-6 ปี ซึ่งหัวใจสำคัญอยู่ที่ "สภาพแวดล้อม" โดยมีครูเป็นผู้เตรียมสภาพแวดล้อม ดังนั้นผู้ใหญ่หรือผู้ที่ดูแลเด็กจะต้องมีสัมพันธภาพที่ดี มีความรัก เอื้ออาทร มีเสรีภาพ ให้เด็กมีโอการเลือกและสิ่งที่สำคัญของการเรียนแบบมอนเตสซอรี่ คือ "มือ" เพราะมือคือครูที่สำคัญคนหนึ่ง เด็กสามารถเรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่างผ่านมือตัวเอง โดยคุณพ่อคุณแม่และคุณครู เป็นผู้เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้และทำทุกอย่างด้วยตัวเอง
แนวการสอน จะเน้นการใช้สื่ออุปกรณ์ให้เด็กๆ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง สร้างความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เด็กๆ จะมีอิสระในการหยิบอุปกรณ์ชิ้นใดก็ได้มาทำ เขาอาจจะเลือกหยิบชิ้นที่ยากเกินความสามารถของตัวเอง เมื่อพบว่าตัวเองทำไม่ได้ เขาก็จะนำไปเก็บและหยิบอุปกรณ์ชิ้นใหม่ขึ้นมาแทน ทั้งนี้การฝึกฝนจากอุปกรณ์ที่ง่ายและขยับขึ้นไปสู่อุปกรณ์ที่ยากจะเป็นไปตาม พัฒนาการเรียนรู้ของเด็ก โดยกิจกรรมหลักของแนวทางนี้ มีอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่มคือ กลุ่มประสบการณ์ชีวิต เพื่อฝึกให้เด็กมีสมาธิ ระเบียบวินัย กิจกรรมในกลุ่มประสาทสัมผัส และกิจกรรมในกลุ่มวิชาการ
อย่างไรก็ดี การสอนแนวนี้ จะเน้นการเรียนรู้เป็นรายบุคคลและเป็นไปอย่างมีขั้นตอน เพราะเชื่อว่าเด็กปฐมวัยชอบความเป็นระเบียบ แต่จุดอ่อน คือแง่ทักษะในสังคม เด็กจะขาดปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนและครู เพราะเด็กต้องทำกิจกรรมของใครของมัน ปล่อยให้เด็กคิดอย่างอิสระ ทำด้วยตัวเอง ส่วนจุดแข็งที่ทำให้เราเห็นความแตกต่าง คือความเชื่อในเรื่องประสาทสัมผัสทั้ง 5 ซึ่งช่วยพัฒนาการเด็กได้มาก
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการให้ลูกเป็นเด็กเรียบร้อย แล้วอยากจะเลือกการศึกษาแนวนี้ ควรต้องดูให้ถึงแก่นว่าโรงเรียนที่บอกนั้นได้ยึดหลัก "เด็กเป็นศูนย์กลาง" (Child Center) หรือไม่ และอุปกรณ์ที่ให้เด็กใช้เป็นอย่างไร รวมถึงครูผู้สอนผ่านการฝึกอบรมมานักแค่ไหน
สำหรับโรงเรียนอนุบาลที่นำแนวคิดมาใช้ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลกรแก้ว www.kornkaew.th.edu และโรงเรียนอนุบาลสาริน www.anubansarin.com
วอล์ดอร์ฟ (Waldorf method)
เป็นการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของเด็กๆ ที่ควรได้เล่นอย่างอิสระ มีชีวิตเรียบง่ายกลมกลืนกับธรรมชาติ เน้นให้เด็กๆ รู้จักจุดยืนที่สมดุลของตัวเองในการใช้ชีวิตอยู่บนโลก ผ่านกิจกรรม 3 อย่าง คือ กิจกรรมทางกายหรือการกระทำ กิจกรรมทางอารมณ์ความรู้สึก และกิจกรรมผ่านความคิดหรือสมอง โดยเน้นให้เด็กใช้พลังทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านสติปัญญา หรือศาสตร์ของศิลปะ
แนวนี้เชื่อว่า "จินตนาการของเด็กคือการเรียน รู้" โดยจะสอนตามพัฒนาการของเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 0-7 ปี ที่ถือว่าเป็นวัยที่มีพัฒนาการทางร่างกายมากที่สุด เน้นไปที่การเรียนรู้แบบธรรมชาติ ไม่มีการสอนแบบชั้นเรียน ห้องเรียน จะมีมุมต่างๆ ให้เด็กได้เรียนรู้จากการเล่นของธรรมชาติ ใช้ของง่ายๆ พื้นๆ เช่นการวาดรูปด้วยสีน้ำ การปั้นดินเหนียว การปลูกผัก ทำอาหาร ประดิษฐ์งานฝีมือ ล้างจานและทำความสะอาดอื่นๆ
อย่างไรก็ดี การเรียนการสอนในแนวนี้ เป็นการสอนเพื่อพัฒนามนุษย์ให้ได้ถึงส่วนลึกที่สุดของจิตใจ การนำวิธีการสอนแบบวอล์ดอร์ฟ จำเป็นต้องนำทั้งระบบการศึกษาไปใช้ควบคู่กับรูปแบบ ดังนั้นพ่อแม่ต้องพิจารณาความเหมาะสมของสถานศึกษาอย่างรอบคอบก่อนส่งลูกไป เรียนในหลักสูตรนี้
สำหรับโรงเรียนอนุบาลไทยที่นำแนวคิดนี้ไปใช้ ได้แก่ โรงเรียนปัญโญทัย www.panyotai.com โรงเรียนอนุบาลบ้านรัก www.baanrakk.th.edu และโรงเรียนแสนสนุกไตรทักษะ www.tridhaksa.ac.th
การทำกิจกรรมของ เด็กๆ /ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
เรกจิโอเอมิเลีย (Reggio Emilia Approach)
เป็นหลักการสอนที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ และบริบทของสังคมที่เด็กอยู่เป็นตัวกำหนด จะต้องเรียนรู้ว่าสังคมรอบตัวเป็นอย่างไร ผลงานที่เด็กทำจึงต้องเกิดจากความสนใจของเด็กที่ลองผิดลองถูกเองทั้งหมด
โดยการศึกษาแนวนี้ เชื่อเสมอว่า เด็กมีความ สามารถในตัวอยู่แล้ว ครูจึงมีบทบาทที่จะเข้ามาขยายความสามารถนั้น เปิดโอกาสให้เด็กค้นคว้าเรียนรู้ และความสนใจของเด็กต้องได้รับการสานต่อและเชื่อมโยง ซึ่งมีหลายข้อที่น่าสนใจดังนี้
1. วิธีการมองเด็ก เด็กแต่ละคนมีลักษณะที่เป็นตัวของตัวเอง มีศักยภาพและความสามารถในตัวเองมาตั้งแต่เกิด คุณครูต้องรับรู้ถึงศักยภาพ ส่งเสริม สร้างสิ่งแวดล้อมที่จะสนองตอบต่อศักยภาพเด็กอย่างเหมาะสม
2.โรงเรียนเป็นแหล่งการบูรณาการสิ่ง มีชีวิตที่หลากหลาย การดำเนินการจึงต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง 3 คือ เด็ก ครอบครัว และครู สภาพแวดล้อมในโรงเรียน ที่ให้ความรู้สึกอบอุ่นและเป็นมิตรสำหรับทุกคนที่ได้เข้าสัมผัส
3. ครูและเด็กเรียนรู้ไปด้วยกัน การเรียนรู้ที่มีคุณค่าสำหรับเด็กไม่ใช่การสอนจากครูที่เป็นการบอกเล่าโดย ตรง แต่เป็นการจัดสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้
4. ครูต้องปฏิบัติตัวเป็นนักศึกษา ค้นคว้า วิจัย และสำรวจ พูดง่ายๆ คือ ครูต้องเป็นมากกว่าครู เพื่อนำพาเด็กไปสู่การเรียน ที่ก้าวหน้า พัฒนาสติปัญญาในขั้นต่อไป
สำหรับโรงเรียนอนุบาลไทยที่นำแนวคิดนี้ไปใช้ ได้แก่ โรงเรียนมณีรัตน์ www.maneerut.com
การเรียนการสอนภาษาแบบ ธรรมชาติ (Whole Language Approach)
แนวการสอนนี้ ถูกนำมาสอดแทรกไปกับการเรียนรู้ภาษา ทั้งการพูด การเขียน และการอ่าน เป็นการเรียนรู้ภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ เด็กจึงไม่มีความรู้สึกว่ายากลำบากในการเรียน เพราะเด็กเกิดมาพร้อมกับความสามารถที่จะเรียนรู้ภาษา
โดยในห้องเรียน จะต้องมีกิจกรรมที่มีความหมายต่อเด็ก มีลักษณะสร้างสิ่งแวดล้อมให้เด็กคุ้นกับหนังสือ ควรมีหนังสือให้เด็กเลือกอ่านตามความสนใจ อ่านหนังสือให้ฟังทุกวัน ให้เด็กเล่าเรื่องจาก การพูด การเขียน การวาด หรือการแสดง โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลางสอนเด็กตามระดับความสามารถที่แตกต่างกัน ซึ่งครูจะมีบทบาทมากในการกระตุ้นให้เกิดสิ่งแวดล้อมที่เป็นภาษา กระตุ้นให้เด็กลองเขียน ผิดๆ ถูกๆ ให้กำลังใจ ส่วนพ่อแม่ต้องสร้างเจตคติให้ลูกรู้จักการสื่อสาร รักในการพูด อ่าน เขียนไปพร้อมๆ กัน ไม่ใช่ตั้งเป้าเอาไว้ว่า ลูกอยู่อนุบาล 3 แล้วจะต้องอ่านออกเขียนได้ ซึ่งเป็นวิธีที่ผิด
สำหรับโรงเรียนอนุบาลไทยที่นำแนวคิดนี้ไปใช้ ได้แก่ โรงเรียนทอรัก www.taurakschool.net และ โรงเรียนอนุบาลวัฒนาสาธิต www.wattanasatitschool.com
ให้เด็กได้สัมผัส ประสบการณ์จริงนอกห้องเรียน
การ เรียนการสอนแบบโครงการ (Project Approach)
โดยหลักคิดของแนวการสอนแบบนี้ เป็นการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญา พัฒนาการทางสังคมของเด็ก หากเด็กจะเรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หัวข้อนั้นๆ ไม่ได้มาจากครู แต่มาจากตัวของเด็กเอง เป็นแนวการสอนที่ดึงศักยภาพเด็กออกมา เพราะฉะนั้นเด็กเก่งก็สามารถช่วยเด็กอ่อนได้ ในขณะที่เด็กอ่อนก็ไม่รู้สึกแปลกที่ไม่เป็นการเรียนแบบแพ้คัดออก ทั้งยังเน้นให้เด็กคิดเอง ที่สำคัญเด็กได้เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 คือ หู ตา มือ ปาก และความรู้สึก
อย่างไรก็ดี ในประเทศไทยนั้นมีอยู่ 3 รูปแบบด้วยกันคือ 1. รูปแบบโครงการที่ให้เด็กตั้งสมมติฐานในสิ่งที่สนใจอยากเรียนรู้ จากนั้นให้ทดลองว่าเป็นไปตามที่คาดคะเนไว้หรือไม่ 2.รูปแบบ Reggio เป็นโครงการที่ไม่มีโครงสร้างจำกัดมากนัก และ 3. โครงการแบบมีกระบวนการครบทั้ง 5 ขั้น คือ อภิปรายกลุ่ม ออกภาคสนาม การนำเสนอประสบการณ์เดิม การสืบค้น และการจัดแสดง อย่างไรก็ดี การเรียนแนวนี้ ก็มีข้อจำกัดถ้าหากไม่มีการพาเด็กออกภาคสนามหรือทัศนศึกษา จะทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรง
สำหรับโรงเรียนอนุบาลไทยที่นำแนวคิดนี้ไปใช้ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลธีรานุรักษ์ www.teeranurakschool.com โรงเรียนวรรณสว่างจิต www.wsc.ac.th และโรงเรียนอนุบาลกุ๊กไก่ http://kukai.ac.th
นีโอ-ฮิ วแมนนิสต์ (Neo-Humanist Education)
เป็นการเรียนการสอนที่นำศาสตร์ทางตะวันออกกับความทันสมัยของตะวันตก มาผสมผสานเข้าด้วยกัน มีการให้เด็กๆ ฝึกสมาธิ ทำโยคะโดยมีเสียงเพลงประกอบ และได้รวบรวมวิธีการสอนใหม่ๆ เข้าไปด้วย โดยให้ความสำคัญกับ ความเก่ง ความฉลาด ที่เป็นศักยภาพที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ พร้อมกับเชื่อว่าความเป็นคนที่สมบูรณ์เกิดจากศักยภาพที่สำคัญทั้ง 4 ด้าน คือ
ด้านร่างกายจะต้องแข็งแรง ด้านจิตใจ ถ้าร่างกายแข็งแรงแต่จิตใจกลับอ่อนแอ เด็กก็จะขาดความมั่นใจในตัวเอง ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการมีน้ำใจ มีความรักและความเมตตาให้กับคนอื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน และสุดท้ายด้านวิชาการ จะต้องมีความรู้ไว้พัฒนาการตนเอง แนวคิดนี้เชื่อว่าการเรียนรู้ของเด็ก 95 % มาจากสิ่งแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาการเด็ก อีก 5 % เป็นเรื่องกรรมพันธุ์ที่ได้รับจากพ่อแม่ ซึ่งในหมู่นักการศึกษากลับมองว่า หลักความเชื่อเช่นนี้ ค่อนข้างชี้ชัดเกินไป เพราะในวิถีของเด็กยังมีปัจจัยอีกมากที่ส่งผลต่อการเรียนรู้
สำหรับโรงเรียนอนุบาลที่นำแนวคิดนี้ไปใช้ คือ โรงเรียนอมาตยกุล โทร.02-972-8894-5 หรือ 02-986-1663
การ เรียนการสอนแบบไฮ/สโคป (High/Scope Approach)
เป็นการเรียนที่ใช้หลักการให้เด็กริเริ่มกิจกรรมด้วยตัวเอง ได้ลงมือปฏิบัติ และเลือกสื่อที่เกี่ยวข้องกับการเรียน โดยมีครูเป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้นให้เกิดการทำกิจกรรม เน้นกระบวนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน คือ การวางแผน, การปฏิบัติ และการทบทวน โดยต้องระวังว่ากระบวนการต้องมาจากความคิดของเด็กๆ ไม่ใช่การชี้นำของครูผู้สอน
การ เรียนการสอนแบบวิถีพุทธ (Buddhist Education)
ส่วนแนวการเรียนการสอนสุดท้าย เป็นแนวคิดที่ทีมงานได้เคยนำไปเสนอไปแล้ว ถ้าพ่อแม่ท่านใดสนใจแนวทางวิถีพุทธ สามารถเข้าไปอ่านข่าวย้อนหลังได้ที่ "ส่งลูกเข้าเรียน "วิถีพุทธ" ใครว่าเด็กจะล้าหลังคร่ำครึ! http://www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9530000085869
*** บ้านไหนที่สนใจแนวโรงเรียนทางเลือกแบบใด และหากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อไปตามโรงเรียนได้ หรือติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0-2269-1091-50 หรือ www.emporiumthailand.com
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
โรงเรียนอนุบาล
อยากสอบถามเรื่องรร.แนวบูรณาการค่ะ มาช่วยกันแชร์หน่อย
ตอนแรกๆคิดเอาไว้ว่าอยากให้ลูกเรียน รร.ที่ค่อนข้างเก่งเรื่องภาษาอังกฤษ ที่สนใจก็คือเด่นหล้า สารสาสน์วิเทศบางบอน
แต่ตอนนี้โอนเอียงไปทางรร.แนวบูรณาการ
ที่คิดเอาไว้คือ วรรณสว่างจิต (ใกล้บ้านค่าเทอมกำลังโอเคมีถึงประถม) รุ่งอรุณ(ใกล้เหมือนกัน มีถึงม.6) เพลินพัฒนา(ไกลออกมาหน่อยไม่มากมีถึงม.6)
แม่ๆที่มีลูกเรียนรร.แนวนี้หรือ รู้จักเด็กๆที่เรียนรร.แนวบูรณาการ รบกวนแชร์กันหน่อย
เราอยากทราบว่าเรื่องภาษาอังกฤษเค้าเป็นอย่างไรกันบ้างค่ะเก่งหรือเปล่า หรือว่าต้องมาเสริมกันอีกที
สังคมผู้ปกครองเป็นยังไงกันบ้าง?? แล้วส่วนมากเด็กๆวรรณสว่างจิตจบป.6แล้วไปต่อไหนกัน(มีใครพอจะทราบไหมค่ะ)
ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ