“แขนขาดข้างเดียว แต่ทุกอย่างยังเหมือนเดิม เพื่อนชีวิตยังเหมือนเดิม ชีวิตไม่ได้ลำบาก ถ้าเรามีความพยายาม ชีวิตคนเราเหมือนดนตรี ทำให้มันมีจังหวะ จังหวะที่ค่อยเป็นค่อยไป เวลาที่ท้อจะนึกถึงพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไม่ต้องสนใจว่าอดีตจะเป็นอย่างไร ไม่ต้องสนใจว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร เมื่อยังมาไม่ถึง ทำปัจจุบันให้ดีที่สุด และสิ่งดีๆ ทุกอย่างจะตามมาเอง" “กี้” สิทธิศักดิ์ อมรศักดิ์ อายุ 23 ปี นักศึกษาปี 4 สาขาดุริยางค์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี มือทรัมเป็ต วงดุริยางคศิลป์ของมหาวิทยาลัย
กี้ อาศัยอยู่กับย่า ย่านบางกะปิ เพราะพ่อเกรียงศักดิ์ อมรศักดิ์ และแม่หนูสิน สงฆ์พิมพ์ ผู้ให้กำเนิด แยกทางกันตั้งแต่เด็กๆ ตอนเขาอายุได้ 8 ขวบ ย่าประสบอุบัติเหตุรถยนต์ชนจนเสียชีวิต ขณะจูง กี้ ข้ามถนนไปส่งโรงเรียน เป็นเหตุให้เขาแขนซ้ายขาดจากแรงชนของรถทำให้รถกระฉากแขนจนขาด ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เขาก็เหลือแขนขวาเพียง 1 ข้าง หลังจากย่าเสียชีวิต ป้าสมสกุล ถนอมทรัพย์ และอาวัชรี อมรศักดิ์ เป็นคนส่งเสียกี้เรียนหนังสือ และเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ได้รับทุนการศึกษาจากกองทุนพระราชกุศลสำหรับการศึกษา สวนจิตรลดา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ช่วยเหลือทุนการศึกษาจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาโรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ จนจบ ม.6 ต่อเนื่องจนจบปริญญาตรี โดยได้รับเงินช่วยเหลือค่าเทอมและรายเดือนตอนมัธยมเดือนละ 2,000 บาท อุดมศึกษาเดือนละ 3,000 บาท
"สมัยก่อนโรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิไม่มีวงโยธวาทิต กระทั่งอยู่ ม.3 ได้ร่วมกิจกรรมกีฬาสี โรงเรียนจ้างวงโยธวาทิตโรงเรียนประชานิเวศน์มาแสดง รู้สึกชอบอยากเล่นมาก พอขึ้น ม.4 จึงไปสมัครเป็นสมาชิกวงโยธวาทิตประจำโรงเรียน ครูเห็นตัวใหญ่เลยให้ทำหน้าที่ตีกลอง ได้เข้าร่วมประกวดแข่งขันกับโรงเรียนหลายรายการ พอจบ ม.6 จึงมาสมัครเรียนสาขาดุริยางค์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยเลือกเอกกลอง คือ กลองใหญ่ (เบรกดัม) เพราะอยากเป็นครูสอนดนตรี" กี้ เล่า
การเรียนกลองในระดับสูงขึ้นต้องใช้ร่างกายมาก ครูจึงแนะนำให้ลองเล่นทรัมเป็ต โดยใช้มือซ้ายเป็นตัวประคอง ส่วนมือขวากดโน้ตเมโลดี้ กว่า 1 ปี ที่หัดเป่าทรัมเป็ต ยากที่สุดคือการห่อปากให้ได้เสียงตามตัวโน้ต ปัจจุบันกี้มีทรัมเป็ตที่ได้จาก อ.การุ บริษัทพีซี มิวสิคอินสทรูเมนต์แห่งประเทศไทย เป็นเครื่องดนตรีประจำตัว เคยเข้าร่วมแข่งขันกับวงดุริยางค์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลเช่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ประเภท Junior Division การประกวดวงโยธวาทิต ธนาคารกรุงเทพ-ยามาฮ่าแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2555 การประกวดวงโยธวาทิต ทรูวิชั่นส์-ยามาฮ่าแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2554
กี้ ทำงานพิเศษหารายได้มาโดยตลอด ตอน ม.6 สมัครเป็นยามช่วงปิดเทอม ได้ค่าตอบแทนวันละ 250 บาท แจกใบปลิวตอนเรียนอยู่ชั้นปีที่ 1 ได้วันละ 300 บาท ปัจจุบันเป็นวิทยากรสอนวงดุริยางค์โรงเรียนสุดใจวิทยา อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ร่วมกับ นาถนที ปรีประทุม, พงศกร นิ่มเอี่ยม และชนากานต์ ชัยพฤกษ์ชัยศรี ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น. ได้ค่าตอบแทนคนละ 300-500 บาท ก่อนหน้านี้เขาสอนที่โรงเรียนสวนรัฐ ร่วมกับ ภรัณยู อมรนพคุณ และ นพพล สกุลโรจน์กรัณย์ บางครั้งอาสาสอนฟรี “เป็นการฝึกฝีมือของตัวเอง เพราะในอนาคตต้องออกไปเป็นครู"
"เวลาสอนก็จะแบ่งงานกัน กี้ สอนทรัมเป็ต สอนตีกลอง การเดินแถว ส่วนนาถนที สอนโลบลาส พงศกร สอนวู้ดวิน และชนากานต์ สอนไฮบลาส เรียนไปด้วยทำงานไปด้วยถือเป็นประสบการณ์ที่ดีในการใช้ชีวิต เกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ 2. 95 เวลาว่างนอกจากเล่นดนตรี เล่นกีฬา ฟุตบอล ตีแบด เวลาว่างจะใช้โปรแกรม “Sibelius 6” ทำโน้ตเพลงไว้ใช้เล่นวงดุริยางค์ ที่ มทร.ธัญบุรีด้วย" กี้เล่า
อีก 1 ปี หลังเรียนจบ กี้บอกว่าจะทำงานหาเลี้ยงพ่อ และอยากเจอแม่ ตอบแทนบุญคุณของอาและป้า เหนือสิ่งอื่นใดต้องตอบแทนบุญคุณแม่ของแผ่นดิน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานทุนการศึกษาให้แก่เขา ถ้าไม่ได้รับโอกาสนั้นก็คงไม่มีโอกาส ไม่มีใครรู้จัก ทรัมเป็ตแขนเดียว อย่างกี้” สิทธิศักดิ์ อมรศักดิ์ ในวันนี้เช่นกัน
............................................
('กี้'-ทรัมเป็ตแขนเดียว ชีวิตนี้ไม่เคยมีคำว่า'ท้อ' : คอลัมน์เปิดโลกเรียนรู้ : โดย..หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ)
คมชัดลึก
กี้'-ทรัมเป็ตแขนเดียว ชีวิตนี้ไม่เคยมีคำว่า'ท้อ'
กี้ อาศัยอยู่กับย่า ย่านบางกะปิ เพราะพ่อเกรียงศักดิ์ อมรศักดิ์ และแม่หนูสิน สงฆ์พิมพ์ ผู้ให้กำเนิด แยกทางกันตั้งแต่เด็กๆ ตอนเขาอายุได้ 8 ขวบ ย่าประสบอุบัติเหตุรถยนต์ชนจนเสียชีวิต ขณะจูง กี้ ข้ามถนนไปส่งโรงเรียน เป็นเหตุให้เขาแขนซ้ายขาดจากแรงชนของรถทำให้รถกระฉากแขนจนขาด ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา เขาก็เหลือแขนขวาเพียง 1 ข้าง หลังจากย่าเสียชีวิต ป้าสมสกุล ถนอมทรัพย์ และอาวัชรี อมรศักดิ์ เป็นคนส่งเสียกี้เรียนหนังสือ และเป็นพระมหากรุณาธิคุณ ได้รับทุนการศึกษาจากกองทุนพระราชกุศลสำหรับการศึกษา สวนจิตรลดา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ช่วยเหลือทุนการศึกษาจนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มัธยมศึกษาโรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ จนจบ ม.6 ต่อเนื่องจนจบปริญญาตรี โดยได้รับเงินช่วยเหลือค่าเทอมและรายเดือนตอนมัธยมเดือนละ 2,000 บาท อุดมศึกษาเดือนละ 3,000 บาท
"สมัยก่อนโรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิไม่มีวงโยธวาทิต กระทั่งอยู่ ม.3 ได้ร่วมกิจกรรมกีฬาสี โรงเรียนจ้างวงโยธวาทิตโรงเรียนประชานิเวศน์มาแสดง รู้สึกชอบอยากเล่นมาก พอขึ้น ม.4 จึงไปสมัครเป็นสมาชิกวงโยธวาทิตประจำโรงเรียน ครูเห็นตัวใหญ่เลยให้ทำหน้าที่ตีกลอง ได้เข้าร่วมประกวดแข่งขันกับโรงเรียนหลายรายการ พอจบ ม.6 จึงมาสมัครเรียนสาขาดุริยางค์สากล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยเลือกเอกกลอง คือ กลองใหญ่ (เบรกดัม) เพราะอยากเป็นครูสอนดนตรี" กี้ เล่า
การเรียนกลองในระดับสูงขึ้นต้องใช้ร่างกายมาก ครูจึงแนะนำให้ลองเล่นทรัมเป็ต โดยใช้มือซ้ายเป็นตัวประคอง ส่วนมือขวากดโน้ตเมโลดี้ กว่า 1 ปี ที่หัดเป่าทรัมเป็ต ยากที่สุดคือการห่อปากให้ได้เสียงตามตัวโน้ต ปัจจุบันกี้มีทรัมเป็ตที่ได้จาก อ.การุ บริษัทพีซี มิวสิคอินสทรูเมนต์แห่งประเทศไทย เป็นเครื่องดนตรีประจำตัว เคยเข้าร่วมแข่งขันกับวงดุริยางค์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลเช่น รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ประเภท Junior Division การประกวดวงโยธวาทิต ธนาคารกรุงเทพ-ยามาฮ่าแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2555 การประกวดวงโยธวาทิต ทรูวิชั่นส์-ยามาฮ่าแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ประจำปี 2554
กี้ ทำงานพิเศษหารายได้มาโดยตลอด ตอน ม.6 สมัครเป็นยามช่วงปิดเทอม ได้ค่าตอบแทนวันละ 250 บาท แจกใบปลิวตอนเรียนอยู่ชั้นปีที่ 1 ได้วันละ 300 บาท ปัจจุบันเป็นวิทยากรสอนวงดุริยางค์โรงเรียนสุดใจวิทยา อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ ร่วมกับ นาถนที ปรีประทุม, พงศกร นิ่มเอี่ยม และชนากานต์ ชัยพฤกษ์ชัยศรี ทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.00-17.00 น. ได้ค่าตอบแทนคนละ 300-500 บาท ก่อนหน้านี้เขาสอนที่โรงเรียนสวนรัฐ ร่วมกับ ภรัณยู อมรนพคุณ และ นพพล สกุลโรจน์กรัณย์ บางครั้งอาสาสอนฟรี “เป็นการฝึกฝีมือของตัวเอง เพราะในอนาคตต้องออกไปเป็นครู"
"เวลาสอนก็จะแบ่งงานกัน กี้ สอนทรัมเป็ต สอนตีกลอง การเดินแถว ส่วนนาถนที สอนโลบลาส พงศกร สอนวู้ดวิน และชนากานต์ สอนไฮบลาส เรียนไปด้วยทำงานไปด้วยถือเป็นประสบการณ์ที่ดีในการใช้ชีวิต เกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ที่ 2. 95 เวลาว่างนอกจากเล่นดนตรี เล่นกีฬา ฟุตบอล ตีแบด เวลาว่างจะใช้โปรแกรม “Sibelius 6” ทำโน้ตเพลงไว้ใช้เล่นวงดุริยางค์ ที่ มทร.ธัญบุรีด้วย" กี้เล่า
อีก 1 ปี หลังเรียนจบ กี้บอกว่าจะทำงานหาเลี้ยงพ่อ และอยากเจอแม่ ตอบแทนบุญคุณของอาและป้า เหนือสิ่งอื่นใดต้องตอบแทนบุญคุณแม่ของแผ่นดิน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานทุนการศึกษาให้แก่เขา ถ้าไม่ได้รับโอกาสนั้นก็คงไม่มีโอกาส ไม่มีใครรู้จัก ทรัมเป็ตแขนเดียว อย่างกี้” สิทธิศักดิ์ อมรศักดิ์ ในวันนี้เช่นกัน
............................................
('กี้'-ทรัมเป็ตแขนเดียว ชีวิตนี้ไม่เคยมีคำว่า'ท้อ' : คอลัมน์เปิดโลกเรียนรู้ : โดย..หทัยรัตน์ ดีประเสริฐ)
คมชัดลึก