101 ปฏิบัติการพลิกชีวิต

กระทู้ข่าว
เมื่อคุณมีอายุล่วงเลยมาถึงวัยกลางคนอย่างผม (48 ปี)
       ไม่ว่าคุณจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในชีวิต แต่บ่อยครั้งที่หลายๆคนคงอดไม่ได้ที่จะมองย้อนกลับไปสู่อดีต และหวนคิดถึงเหตุและปัจจัยแห่งความสำเร็จ หรือล้มเหลวของแต่ละคน
         
            สำหรับบางคนเมื่อมาถึงวันนี้ คุณอาจจะกำลังชื่นชมและภาคภูมิใจกับความสำเร็จในอดีตที่ทำให้มีชีวิตที่ดีขึ้นในวันนี้ แต่อีกหลายๆคนก็อาจจะฟูมฟายโทษชะตากรรมหรือโทษคนอื่น ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้ชีวิตต้องประสบความล้มเหลว แต่จะมีสักกี่คนที่จะตระหนักว่า ความสำเร็จหรือล้มเหลวในชีวิตของแต่ละคนนั้น ถึงแม้ในบางครั้งเราอาจจะต้องพึ่งพาจังหวะโอกาส (โชคชะตา) ที่เข้ามาในชีวิต แต่คนที่สำคัญที่สุดที่มีส่วนในการตัดสินชะตาชีวิตของแต่ละคนก็คือ “ตัวเอง”
       
             หลายวันก่อนมีโอกาสหยิบ DVD ภาพยนต์เรื่อง Invictus หรือ จิตวิญญาณของผู้ไม่แพ้ ที่สะท้อนอัตตชีวิตบางส่วนของ เนลสัน เมนเดลา ประธานาธิบดีของอาฟริกาใต้ ในการหลอมรวมจิตใจของคนในชาติ โดยอาศัยกีฬารักบี้ เป็นเครื่องมือ
       
             ในภาพยนต์ แมนเดลา พยายามกระตุ้นและสร้างแรงบันดาลใจ ให้กับ ฟรังซัวร์ พีนาร์  กัปตันทีมรักบี้ สปริงบอกซ์ (Springboks) ในการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลกเมื่อปี 1995 ที่อาฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ โดยผ่านบทกวี วิลเลียม เออร์เนส เฮนรี่William Earnest Henley (1849-1903) ชาวอังกฤษ
       
                                 “I thank whatever gods may be  
                                     For my unconquered soul
                                    I am the master of my fate
                                    I am the captain of my soul.”
       
            บทกวีชิ้นนี้ สะท้อนให้เห็นอย่างชัดเจนถึง ความหมายของ จิตวิญญาณของผู้ไม่แพ้  ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดความสำเร็จและล้มเหลวในชีวิตของคนแต่ละคน
       
            คุณเคยสงสัยเหมือนผมไหมว่า ทำไมทุกวันนี้ประเทศไทยมีประชากรประมาณ 65 ล้านคน แต่มีผู้คนที่อยู่ส่วนบนของยอดปิรามิดที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเราจริงๆเพียงไม่เกิน 5 แสนคนเท่านั้น เมื่อวัดจาก 90% ของยอดการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มาจากคนกลุ่มนี้ เทียบกับฐานของผู้เสียภาษีที่อยู่ในระบบประมาณ 6 ล้านคน
       
            ขณะเดียวกันคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มียอดเงินฝากที่อยู่ในบัญชีออมทรัพย์เกินกว่า 1 ล้านบาท และมียอดเงินรวมกันถึงกว่า 90% ของยอดเงินฝากทั้งระบบที่มีกว่า 7 ล้านล้านบาท ในขณะที่อีก 70 ล้านบัญชีที่เหลือ มียอดเงินฝากต่ำกว่า 1 แสนบาท
       
            สำหรับบางคนอาจจะบอกว่าตัวเลขพวกนี้สะท้อนถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม การขาดโอกาสของประชาชนที่มีต้นตอมาจากปัญหาเรื่องระบบอุปถัมภ์ ไปจนถึงการคอรัปชั่นที่กัดกินสังคมไทยมายาวนาน จนนำไปสู่ความขัดแย้งกันทุกวันนี้ ที่ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อแก้ปัญหาและหาทางลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
       
            แต่ถ้ามองในมุมกลับ คุณเคยคิดเหมือนผมไหมว่า ทำไมคนบางคนที่เป็น “เศรษฐี” เขาถึงรู้วิธีที่จะหาเงิน แต่คนอีกจำนวนมากที่เป็น  “คนจน”  ไม่ว่าจะทำอย่างไร ก็ยังคงไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้เสียที
         
            เคยมีคนบอกว่า ถ้าวันหนึ่งเพื่อให้ทุกคนเสมอภาค รัฐบาลตัดสินใจปฏิวัติยึดทรัพย์สินของพวกเราทุกคนไปหมด แล้วเอามาแบ่งให้เท่าเทียมกันให้กับทุกๆคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว คนละ 1 ล้านบาท หลังจากนั้น 1 ปี ถ้าลองมาตรวจสอบทรัพย์สินกัน เราจะพบว่าคนที่เคยจนก็จะเริ่มกลับไปจนเหมือนเดิม ในขณะที่คนที่เคยเป็นเศรษฐีก็จะกลับมารวยทันตาเห็นได้อีกเช่นกัน
       
             คำตอบมันจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับ การปฏิวัติหรือปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ แต่มันขึ้นอยู่กับ การปฏิรูปตัวคุณเองมากกว่า
       
            ทำไมจึงเป็นเช่นนั้นก็เพราะทั้งหมดมันขึ้นอยู่กับ ทัศนคติในการใช้ชีวิตของ “ตัวคุณเอง”   ที่พร้อมจะ “เปลี่ยนแปลง” ให้ดีขึ้น และมี “จิตวิญญาณของผู้ไม่แพ้” หรือไม่ ?

**คงมีประโยชน์กับเพื่อนสมาชิกบ้างนะค่ะ"

ขอบคุณที่มา บทความจากเวบเมเนเจอร์: http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9560000000535
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  การลงทุน
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่