อัคลาค : จริยธรรมในอิสลาม

จริยะ  ในภาษาอาหรับตรงกับคำว่า   الأخلاق ( อัล-อัคลาค )  ซึ่งในรูปศัพท์แล้ว  คำว่า “ อัคลาก” เป็น พหูพจน์ของ الخلق ( อัล-คุลุก )  หมายถึง สัญชาติญาณ ความเคยชิน ธรรมชาติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์  สิ่งที่ประพฤติปฏิบัติอยู่เป็นประจำ  


คำว่า “ คุลุก” มีปรากฏอยู่ในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานอยู่ 2 ที่
หนึ่งในนั้นคือดังในบท อัล-กอลัม ดำรัสที่ว่า "และแท้จริงเจ้านั้น อยู่บนคุณธรรมอันยิ่งใหญ่"  ( 68/4 )       


เป็นการกล่าวในลักษณะสรรเสริญ ชมเชย ในฐานะเป็นบรรทัดฐานพฤติกรรม  

คุณธรรมหรือจริยธรรมในที่นี้มาจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงประทานผ่านเทวทูตแห่งพระองค์ แก่หัวใจของท่านศาสดามุฮัมหมัด  ซล. เพื่อบัญชาให้ท่านยึดถือเป็นคุณธรรมประจำตัวท่านและเป็นแบบฉบับอันดีงามแก่ผู้ติดตามท่านในภายหลัง              

นั่นคือหมายถึงเมื่อพระองค์ทรงประทานอัลกุรอานเป็นบทบัญญัติแห่งพระองค์แก่ท่านศาสดาแล้ว  ท่านศาสดามีหน้าที่โดยสมบูรณ์ในการปฏิบัติตามสิ่งที่พระองค์ทรงบอกกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ ซึ่งแน่นอนว่าพฤติกรรมทั้งหมดของท่านล้วนเป็นอรรถาธิบายที่ลึกซึ้ง ละเอียดลออแก่พระคัมภีร์  

จึงสรุปได้ว่า คำว่า “คุลุก” ในความหมายนี้ หมายถึง ธรรมชาติประจำตัวมนุษย์ ความเคยชิน สัญชาติญาณ ที่อัลลอฮ  ทรงกำหนดไว้เป็นธรรมชาติของความเป็นมนุษย์นั่นเอง

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่