ในตอนที่ 1/4 ได้นำเสนอที่ไปที่มา หลักการและเหตุผล ของการ upgrade Notebook DELL Latitude D630 จาก boot drive ที่เป็น HDD ธรรมดา ให้เป็น SSD ขนาดความจุ 60 GB ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไปจะได้ประหยัดเงิน และจัดหา DELL HDD modular bay มาถอดสลับกับ DVD/RW modular bay นำ HDD ลูกเดิมมาเป็น HDD ลูกที่ 2 ทำให้ไม่ต้องซื้อ SSD ขนาดใหญ่ และสามารถใช้ HDD drive เดิมควบคู่กับ SSD drive ผลที่ได้คือ Notebook เก่ากลับฟื้นคืนชีพ มีพลังความเร็วมากขึ้น อาจเร็วกว่า Notebook รุ่นใหม่ๆ ที่ใช้ CPU , mainboard เทคโนโลยีใหม่แต่ยังไม่ได้หันมาใช้ SSD เป็น boot disk ของเครื่อง ส่วนตอนที่ 2/4 ได้นำวีดิโอที่จับเวลาเปรียบเทียบความเร็วโดยใช้ Notebook ตัวเดียวกัน ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เท่ากัน ต่างกันเพียง boot drive เป็น HDD เดิม กับ boot drive เป็น SSD ซึ่งมีโปรแกรม ข้อมูล ติดตั้งอยู่ตามที่ใช้งานจริงเหมือนกัน ผู้สนใจสามารถย้อนกลับไปอ่านหรือชมวีดิโอว่า notebook ทำงานเร็วขึ้นมากอย่างไร
http://www.ppantip.com/tech/techblog/article.php?articleID=HM3026808
http://www.ppantip.com/tech/techblog/article.php?articleID=HM3027310
ในตอนที่ 3/4 นี้ จะนำข้อมูลจาก HD Tune Pro ของ HDD ทั้งแบบ SATA-I, SATA-II จะเป็น operation IDE, AHCI , Ultra DMA รวมทั้ง SSD มาให้ดูกันในตารางสรุป เพื่อความเข้าใจและนำไปเลือกปรับตั้งค่าให้เหมาะสมอย่างถูกต้อง ที่เคยเห็นกันมา การนำเสนอข้อมูลจาก HD Tune Pro นั้นจะแสดงเพียงหน้าของ Benchmark เท่านั้น จะขาดการนำเสนอหน้า Info ที่มีความสำคัญเช่นกัน
ในบทความนี้จะมีภาพทั้งหมดจาก HD Tune Pro ที่นำเสนอทั้ง Benchmark และ Info มาคู่กันไป สังเกตข้อมูล partition และ usage ด้วยa. HDD เดิมที่ใช้เป็น Boot disk คือ Hitachi ขนาด 120 GB interface แบบ SATA-I ความเร็วรอบ 5400 rpm หลังจาก upgrade รอบนี้ จะถอดนำมาเป็น backup disk ใช้ผ่าน enclosure/USB external HDD
b. HDD เดิมที่ติดตั้งมากับ D630 เมื่อสามปีก่อน คือ WDC ขนาด 80 GB interface แบบ SATA-II ความเร็วรอบ 7200 rpm เดิมใช้เป็น backup disk ผ่าน enclosure/USB external HDD หลังจาก upgrade รอบนี้ จะถอดนำมาเป็น HDD ใส่ใน HDD modular bay สำหรับติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้เป็นประจำและโปรแกรมที่ไม่ต้องการความเร็วแรง
c. SSD จาก OCZ Vertex2 ขนาด 60 GB interface แบบ SATA-II นำมาใช้เป็น boot disk (drive C; และ D)
ความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลของแต่ละแบบParallel ATA (IDE)
Ultra DMA mode 5 = 100 MB/sec
Ultra DMA mode 6 = 133 MB/sec
Serial ATA
SATA-I = 150 MB/sec
SATA-II = 300 MB/sec
SATA rev 3 = 600 MB/sec
USB
USB 2.0 = 60 MB/sec
USB 3.0 = 400 MB/sec
ข้อสรุปจากการ benchmark นี้
1. boot disk จะติดตั้งผ่าน SATA controller port 0 รองรับได้ระดับ SATA-II ความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลจะกำหนดจากระบบฮาร์ดแวร์นั่นคือ ถ้าใช้กับ HDD/SSD แบบ SATA-I จะได้สูงสุด 150 MB/s ถ้าใช้กับ HDD/SSD แบบ SATA-II จะได้สูงสุด 300 MB/s แต่ HDD โดยทั่วไปที่มีหัวอ่านขยับตัวไปมาและมีจานแม่เหล็กหมุนรอบ ไม่สามารถทำความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลได้มากพอ ทำให้การส่งผ่านข้อมูลไปได้เพียง < 120 MB/s (รุ่นที่เร็วๆ หน่อย) ส่วนการตั้งค่าที่ BIOS เป็นการกำหนดรูปแบบการติดต่อ Operations mode ไม่ได้เป็นตัวกำหนดความเร็วสูงสุด ตัวเลือกเป็น ATA(IDE) หรือ AHCI จะต้องใช้ driver ให้ถูกต้องตรงกับการเลือกค่าที่ Bios AHCI เป็นวิธีทางที่ออกแบบมาให้ทำงานได้ความสามารถตรงกับฮาร์ดแวร์แบบ SATA เช่น ไม่มี master/slave อีกต่อไป มีคำสั่งการทำงานแบบใหม่ที่ IDE ไม่มี และยังสามารถทำ hot plug ได้
1.1 ภาพที่ 1,2 HDD Hitachi ซึ่งเป็น SATA-I ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลทำได้เพียง 20-30 ms จะเลือก operation IDE หรือ AHCI ก็ไม่แตกต่างกันมาก แต่ AHCI จะให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลกระจายตัวสม่ำเสมอ ความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลทำได้เพียง 54 MB/s
1.2 ภาพที่ 3, 4 HDD WDC ซึ่งเป็น SATA-II ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลดีกว่า Hitachi เล็กน้อยขยับมาเป็น 14 ms ทำให้ความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลดีขึ้นเป็น 87 MB/s จะเลือก operation IDE หรือ AHCI ก็ไม่แตกต่างกันมาก
1.3 ภาพที่ 5, 6 และ 10,9 SSD OCZ Vertex2 ซึ่งเป็น SATA-II ความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 250 MB/s เพราะความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเร็วมากเพียง 0.2 ms เลือก operation AHCI จะเร็วกว่า IDE บ้าง ส่วนข้อมูลจาก Info: Supported mode UDMA6, Active Mode UDMA5, UDMA6 ไม่เกี่ยวข้องกับความเร็วสูงสุดเพราะระบบฮาร์ดแวร์ไม่ใช่ Parallel ATA (IDE)
2. HDD modular bay จะติดตั้งผ่าน Parallel ATA (IDE) ซึ่งตาม Data sheet เป็น Ultra DMA mode 5 สำหรับทำงานกับ DVD/RW modular bay ไม่สามารถเปลี่ยน operations เป็น AHCI จะมีค่า Active mode เป็น UDMA mode 5 เสมอ
2.1 ภาพที่ 13, 14 HDD WDC ซึ่งเป็น SATA-II แต่ต่อผ่าน HDD modular bay ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเท่าเดิมคือ 14 ms ทำความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลลดลงเป็น 80 MB/s
2.2 ภาพที่ 11, 12 SSD OCZ Vertex2 ซึ่งเป็น SATA-II แต่ต่อผ่าน HDD modular bay ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเท่าเดิมคือ 0.2 ms ทำความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลลดลงเป็น 80 MB/s ทั้งนี้เพราะใช้งานผ่าน Parallel ATA (IDE) ที่รองรับได้แค่ UDMA mode 5 (ไม่เกิน 100MB/s)
3 ภาพที่ 15 WDC ที่นำมาต่อผ่าน enclosure/ USB external hard disk นั้น จะถูกจำกัดความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลตามข้อกำหนดของ USB ซึ่งช้ากว่า SATA
4. SSD OCZ Vertex2 ขนาด 60 gB จะหมายถึง หกหมื่นล้านไบท์ตรงไปตรงมา แต่ถ้าใช้หลักว่า 1KB หมายถึง 1024 ไบท์ตามวิธีของคอมพิวเตอร์ Vertex2 ก็จะมีความจุ 55.9 GB (แปรงสูตร 1 gB = 0.93 GB) ฉะนั้นจึงไม่ต้องตกใจหรือหาสาเหตุว่า ทำไมความจุของ SSD 60 gB จึงเหลือเพียง 55.9 GB
5. ภาพที่เคยเห็น benchmark SSD ตาม web ต่างๆ นั้น จะเป็น SSD ตัวใหม่หรือที่ผ่าน Secure Erase มา จะมี access time เร็วสุดๆ ต่ำกว่า 0.1 ms ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลเท่ากันตลอด เป็นภาพในอุดมคติ (ภาพที่ 7 ดู Info ด้วย) เพราะไม่มีความยุ่งยากในการจัดส่ง เมื่อนำ SSD มาติดตั้ง Windows 7 home premium เพียงอย่างเดียว ใช้เนื้อที่ข้อมูลประมาณ 8 GB ก็จะได้ภาพจาก HD Tune Pro ตามภาพที่ 8 (ดู info ด้วย) สังเกตว่า ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลในส่วน 8 GB มีเร็วมีช้ากันบ้างเพราะมีข้อมูลจริงที่ต้องจัดเตรียม แต่ในส่วนที่ยังไม่มีข้อมูลก็จะทำความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้สูงเกือบ 250 MB/sec และกรณีที่ทำ HDD copy จาก boot disk เดิม (Hitachi) มา clone ให้กับ SSD เป็น drive C:, D; (ภาพที่ 9) ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลก็จะเริ่มกระจายเร็วบ้างช้าบ้างไปทั่วทุกๆ ตำแหน่ง แต่ก็ลดลงมาไม่มาก ดังนั้นไม่ต้องเครียดมากถ้า SSD ของคุณดูกราฟไม่งามเท่ากับตอนซื้อมาใหม่ๆ
ทั้งหมดนี้น่าจะอนุมานได้ว่า หากท่านซื้อ OCZ Agility3 หรือ OCZ Vertex3 มาใช้กับ Notebook หรือ PC ที่มีเพียง SATA-II Controller แล้ว ความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลคงได้แค่ 300 MB/s ไม่ใช่ 525 MB/s ตาม spec ข้างกล่อง
ตอนที่ 4/4 ต้องรอกันหน่อย จะ upgrade เครื่อง desktop เครื่องประกอบที่มี USB 3.0 , SATA-3 อยู่สอง port มี HDD SATA-3 ใช้ไปหนึ่ง port จะจัดซื้อ SSD SATA-3 มาเพิ่มความเร็วสุดๆ แต่ขอรองบประมาณหน่อย จะซื้อ SSD ขนาดใหญ่ต้องใช้ทุนมาก คาดว่าช่วงปลายปี ราคาคงพอจัดหาได้
กรณีศึกษา Upgrade notebook เก่า 3 ปี ติดตั้ง SSD ด้วยงบ 4,400 บาท (ตอนที่ 3/4)
http://www.ppantip.com/tech/techblog/article.php?articleID=HM3026808
http://www.ppantip.com/tech/techblog/article.php?articleID=HM3027310
ในตอนที่ 3/4 นี้ จะนำข้อมูลจาก HD Tune Pro ของ HDD ทั้งแบบ SATA-I, SATA-II จะเป็น operation IDE, AHCI , Ultra DMA รวมทั้ง SSD มาให้ดูกันในตารางสรุป เพื่อความเข้าใจและนำไปเลือกปรับตั้งค่าให้เหมาะสมอย่างถูกต้อง ที่เคยเห็นกันมา การนำเสนอข้อมูลจาก HD Tune Pro นั้นจะแสดงเพียงหน้าของ Benchmark เท่านั้น จะขาดการนำเสนอหน้า Info ที่มีความสำคัญเช่นกัน ในบทความนี้จะมีภาพทั้งหมดจาก HD Tune Pro ที่นำเสนอทั้ง Benchmark และ Info มาคู่กันไป สังเกตข้อมูล partition และ usage ด้วย
a. HDD เดิมที่ใช้เป็น Boot disk คือ Hitachi ขนาด 120 GB interface แบบ SATA-I ความเร็วรอบ 5400 rpm หลังจาก upgrade รอบนี้ จะถอดนำมาเป็น backup disk ใช้ผ่าน enclosure/USB external HDD
b. HDD เดิมที่ติดตั้งมากับ D630 เมื่อสามปีก่อน คือ WDC ขนาด 80 GB interface แบบ SATA-II ความเร็วรอบ 7200 rpm เดิมใช้เป็น backup disk ผ่าน enclosure/USB external HDD หลังจาก upgrade รอบนี้ จะถอดนำมาเป็น HDD ใส่ใน HDD modular bay สำหรับติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ได้ใช้เป็นประจำและโปรแกรมที่ไม่ต้องการความเร็วแรง
c. SSD จาก OCZ Vertex2 ขนาด 60 GB interface แบบ SATA-II นำมาใช้เป็น boot disk (drive C; และ D)
ความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลของแต่ละแบบ
Parallel ATA (IDE)
Ultra DMA mode 5 = 100 MB/sec
Ultra DMA mode 6 = 133 MB/sec
Serial ATA
SATA-I = 150 MB/sec
SATA-II = 300 MB/sec
SATA rev 3 = 600 MB/sec
USB
USB 2.0 = 60 MB/sec
USB 3.0 = 400 MB/sec
ข้อสรุปจากการ benchmark นี้
1. boot disk จะติดตั้งผ่าน SATA controller port 0 รองรับได้ระดับ SATA-II ความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลจะกำหนดจากระบบฮาร์ดแวร์นั่นคือ ถ้าใช้กับ HDD/SSD แบบ SATA-I จะได้สูงสุด 150 MB/s ถ้าใช้กับ HDD/SSD แบบ SATA-II จะได้สูงสุด 300 MB/s แต่ HDD โดยทั่วไปที่มีหัวอ่านขยับตัวไปมาและมีจานแม่เหล็กหมุนรอบ ไม่สามารถทำความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลได้มากพอ ทำให้การส่งผ่านข้อมูลไปได้เพียง < 120 MB/s (รุ่นที่เร็วๆ หน่อย) ส่วนการตั้งค่าที่ BIOS เป็นการกำหนดรูปแบบการติดต่อ Operations mode ไม่ได้เป็นตัวกำหนดความเร็วสูงสุด ตัวเลือกเป็น ATA(IDE) หรือ AHCI จะต้องใช้ driver ให้ถูกต้องตรงกับการเลือกค่าที่ Bios AHCI เป็นวิธีทางที่ออกแบบมาให้ทำงานได้ความสามารถตรงกับฮาร์ดแวร์แบบ SATA เช่น ไม่มี master/slave อีกต่อไป มีคำสั่งการทำงานแบบใหม่ที่ IDE ไม่มี และยังสามารถทำ hot plug ได้
1.1 ภาพที่ 1,2 HDD Hitachi ซึ่งเป็น SATA-I ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลทำได้เพียง 20-30 ms จะเลือก operation IDE หรือ AHCI ก็ไม่แตกต่างกันมาก แต่ AHCI จะให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลกระจายตัวสม่ำเสมอ ความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลทำได้เพียง 54 MB/s
1.2 ภาพที่ 3, 4 HDD WDC ซึ่งเป็น SATA-II ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลดีกว่า Hitachi เล็กน้อยขยับมาเป็น 14 ms ทำให้ความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลดีขึ้นเป็น 87 MB/s จะเลือก operation IDE หรือ AHCI ก็ไม่แตกต่างกันมาก
1.3 ภาพที่ 5, 6 และ 10,9 SSD OCZ Vertex2 ซึ่งเป็น SATA-II ความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลสูงถึง 250 MB/s เพราะความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลเร็วมากเพียง 0.2 ms เลือก operation AHCI จะเร็วกว่า IDE บ้าง ส่วนข้อมูลจาก Info: Supported mode UDMA6, Active Mode UDMA5, UDMA6 ไม่เกี่ยวข้องกับความเร็วสูงสุดเพราะระบบฮาร์ดแวร์ไม่ใช่ Parallel ATA (IDE)
2. HDD modular bay จะติดตั้งผ่าน Parallel ATA (IDE) ซึ่งตาม Data sheet เป็น Ultra DMA mode 5 สำหรับทำงานกับ DVD/RW modular bay ไม่สามารถเปลี่ยน operations เป็น AHCI จะมีค่า Active mode เป็น UDMA mode 5 เสมอ
2.1 ภาพที่ 13, 14 HDD WDC ซึ่งเป็น SATA-II แต่ต่อผ่าน HDD modular bay ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเท่าเดิมคือ 14 ms ทำความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลลดลงเป็น 80 MB/s
2.2 ภาพที่ 11, 12 SSD OCZ Vertex2 ซึ่งเป็น SATA-II แต่ต่อผ่าน HDD modular bay ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลเท่าเดิมคือ 0.2 ms ทำความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลลดลงเป็น 80 MB/s ทั้งนี้เพราะใช้งานผ่าน Parallel ATA (IDE) ที่รองรับได้แค่ UDMA mode 5 (ไม่เกิน 100MB/s)
3 ภาพที่ 15 WDC ที่นำมาต่อผ่าน enclosure/ USB external hard disk นั้น จะถูกจำกัดความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลตามข้อกำหนดของ USB ซึ่งช้ากว่า SATA
4. SSD OCZ Vertex2 ขนาด 60 gB จะหมายถึง หกหมื่นล้านไบท์ตรงไปตรงมา แต่ถ้าใช้หลักว่า 1KB หมายถึง 1024 ไบท์ตามวิธีของคอมพิวเตอร์ Vertex2 ก็จะมีความจุ 55.9 GB (แปรงสูตร 1 gB = 0.93 GB) ฉะนั้นจึงไม่ต้องตกใจหรือหาสาเหตุว่า ทำไมความจุของ SSD 60 gB จึงเหลือเพียง 55.9 GB
5. ภาพที่เคยเห็น benchmark SSD ตาม web ต่างๆ นั้น จะเป็น SSD ตัวใหม่หรือที่ผ่าน Secure Erase มา จะมี access time เร็วสุดๆ ต่ำกว่า 0.1 ms ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลเท่ากันตลอด เป็นภาพในอุดมคติ (ภาพที่ 7 ดู Info ด้วย) เพราะไม่มีความยุ่งยากในการจัดส่ง เมื่อนำ SSD มาติดตั้ง Windows 7 home premium เพียงอย่างเดียว ใช้เนื้อที่ข้อมูลประมาณ 8 GB ก็จะได้ภาพจาก HD Tune Pro ตามภาพที่ 8 (ดู info ด้วย) สังเกตว่า ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลในส่วน 8 GB มีเร็วมีช้ากันบ้างเพราะมีข้อมูลจริงที่ต้องจัดเตรียม แต่ในส่วนที่ยังไม่มีข้อมูลก็จะทำความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลได้สูงเกือบ 250 MB/sec และกรณีที่ทำ HDD copy จาก boot disk เดิม (Hitachi) มา clone ให้กับ SSD เป็น drive C:, D; (ภาพที่ 9) ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลก็จะเริ่มกระจายเร็วบ้างช้าบ้างไปทั่วทุกๆ ตำแหน่ง แต่ก็ลดลงมาไม่มาก ดังนั้นไม่ต้องเครียดมากถ้า SSD ของคุณดูกราฟไม่งามเท่ากับตอนซื้อมาใหม่ๆ
ทั้งหมดนี้น่าจะอนุมานได้ว่า หากท่านซื้อ OCZ Agility3 หรือ OCZ Vertex3 มาใช้กับ Notebook หรือ PC ที่มีเพียง SATA-II Controller แล้ว ความเร็วสูงสุดในการส่งผ่านข้อมูลคงได้แค่ 300 MB/s ไม่ใช่ 525 MB/s ตาม spec ข้างกล่อง
ตอนที่ 4/4 ต้องรอกันหน่อย จะ upgrade เครื่อง desktop เครื่องประกอบที่มี USB 3.0 , SATA-3 อยู่สอง port มี HDD SATA-3 ใช้ไปหนึ่ง port จะจัดซื้อ SSD SATA-3 มาเพิ่มความเร็วสุดๆ แต่ขอรองบประมาณหน่อย จะซื้อ SSD ขนาดใหญ่ต้องใช้ทุนมาก คาดว่าช่วงปลายปี ราคาคงพอจัดหาได้