New Characters ประวัติ Jupiter เนื้อเรื่องตอนจบของเกมดิไอดอลมาสเตอร์: เอสพี กล่าวถึงคุณโปรดิวเซอร์จากบริษัท 765 โปรดักชั่นสามารถผลักดันเด็กสาวในสังกัดของตนอยู่ฐานะสุดยอดไอดอลเป็นผลสำเร็จ
จนทำให้คุณทาคาโอะ(Takao) ผู้มีตำแหน่งเจ้าของบริษัท 961 โปรดักชั่นรู้สึกผิดหวังไอดอลของตนอย่างรุนแรง
เขาจึงฝากฝังเด็กสาวที่สังกัดบริษัท 961 โปรดักชั่นทั้งหมดคือทีมทรีโอ(Trio) ชื่อว่า Project Fairy คือ
ทากาเนะ ชิโจว(Takane Shijou), ฮิบิกิ กานาฮะ(Hibiki Ganaha) และมิกิ โฮชิอิ(Miki Hoshii)
เข้ามาสังกัด 765 โปรดักชั่นแทน และต่อมาไม่นานนัก(ไม่เกิน 1 ปี) คุณทาคาโอะได้เริ่มวางแผนงานใหม่คือจัดทีม Boyband
โดยมีไอดอลเพศชายในสังกัดจำนวน 3 คนใช้ชื่อทีม Trio นี้ว่า Jupiter ซึ่งทางเว็บของบริษัทคือ 961pro.jp มีการประกาศข้อมูลข้างต้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2010
พร้อมกับโฆษณาตัวแรกของบริษัทโดยเปิดเผยชื่อเพลงว่า \'Alice or Guilty\'
ชื่อ : ชูว์ตะ มิตะไร(御手洗翔太, Mitarai Shouta)
อายุ : 14
ส่วนสูง : 163 เซนติเมตร
น้ำหนัก : 49 กิโลกรัม
วันเกิด : 20 เมษายน
กลุ่มเลือด : AB
สัดส่วนร่างกาย (หน้าอก-เอว-สะโพก) : 77-60-79
งานอดิเรก : นอน
เพลงที่ถนัดเฉพาะตัว (Personal songs) : -
เพลงประจำตัว (Image songs) : -
สีประจำตัว : -
สมาชิกครอบครัว : -
ประวัติ ชูว์ตะมีอายุน้อยที่สุดในกลุ่ม Jupiter หลายคนคิดว่าเขาเป็นเด็กที่ซื่อๆ แต่แท้จริงแล้วเขาเป็นเด็กแก่แดดเหมือนฝาแฝดฟุตามิ(Futami)
ชื่อ : โทวมะ อะมากาเซะ(天ヶ瀬冬馬, Amagase Touma)
อายุ : 17 ปี
ส่วนสูง : 175 ซ.ม.
น้ำหนัก : 57 กิโลกรัม
วันเกิด : 03 มีนาคม
กลุ่มเลือด : B
สัดส่วนร่างกาย (หน้าอก-เอว-สะโพก) : 81-65-80
งานอดิเรก : เล่นฟุตบอล, ทำอาหาร และสะสม Figure
เพลงที่ถนัดเฉพาะตัว (Personal songs) : -
เพลงประจำตัว (Image songs) : -
สีประจำตัว : -
สมาชิกครอบครัว : -
ประวัติ โทวมะเป็นไอดอลสังกัดบริษัท 961 โปรดักชั่นและเป็นหัวหน้ากลุ่ม Jupiter
เขามีความสามารถที่ยอดเยี่ยมมากจนถูกคาดหมายได้รับรางวัลในงาน Idol Academy
เพราะเขาสามารถต่อสู้เอาชนะกลุ่ม Ryuuguu Komachi ด้วยตัวคนเดียวจนเขาได้รับความนิยมจากสาวๆมาก
และเขาอาจสามารถเอาชนะกลุ่มไอดอลของบริษัท 765 โปรดักชั่นได้ ถ้าระบบเสียงของเวทีไม่เสียหายจากการที่เกิดฝนตกและฟ้าฝ่าจนต้องหยุดการแข่งขันกลางคัน
โทวมะมีนิสัยขี้หงุดหงิด และจริงจังในเรื่องการแข่งขันมาก เขาไม่ชอบให้คนอื่นมาขัดขวางเป้าหมายหนึ่งเดียวคือเป็นสุดยอดไอดอล
และไม่ชอบเห็นหน้าไอดอลที่ไม่มีความสามารถ โดยเฉพาะไอดอลจากบริษัท 765 โปรดักชั่นที่โทวมะเรียกพวกเธอว่า ด้อยความสามารถ และ อยู่ในระดับต่ำ
ซึ่งโทวมะคิดว่าตัวเขากำลังเล่นเกมแบบเด็กๆกับไอดอลจากบริษัท 765 โปรดักชั่น อนึ่งตัวโทวมะมีบุคลิคภาพแบบ ซึนเดเระ(Tsundere)
ชื่อ : โฮกุโตะ อิจุนิน(伊集院北斗, Ijuuin Hokuto)
อายุ : 20
ส่วนสูง : 180 เซนติเมตร
น้ำหนัก : 64 กิโลกรัม
วันเกิด : 14 กุมภาพันธ์
กลุ่มเลือด : O
สัดส่วนร่างกาย (หน้าอก-เอว-สะโพก) : 86-76-87
งานอดิเรก : เล่นเปียโน, ไวโอลิน และจีบสาว
เพลงที่ถนัดเฉพาะตัว (Personal songs) : -
เพลงประจำตัว (Image songs) : -
สีประจำตัว : -
สมาชิกครอบครัว : -
ประวัติ โฮกุโตะเป็นคนที่มีอายุมากที่สุดในกลุ่ม Jupiter เขาเป็นคนใจเย็นและมีอารมณ์สุนทรีย์มากโดยเฉพาะเวลาที่เขากำลังจีบสาว
สำหรับสาวๆที่เขาหมายปองเช่น มาโคโตะ(Makoto) เขาจึงหาเวลาว่างๆเดินทางไปหาเธอเสมอไม่เว้นแม้แต่ที่บริษัท 765 โปรดักชั่น
แต่สำหรับมาโคโตะแล้ว เธอไม่ถูกชะตากับโฮกุโตะเท่าใดนัก
หมายเหตุ : มีเนื้อหาในรายการวิทยุ The Idolmaster Station
ซึ่งเล่าเรื่องราวชีวิตประจำวันของกลุ่มจูปิเตอร์ สำหรับภาพวิดีโอนี้ทางแฟนเกมเป็นผู้ทำขึ้น... (ฮาสุดๆ)
Idol Profile ตารางความสามารถและข้อมูลส่วนตัวของไอดอลที่สังกัดบริษัท 765 โปรดักชั่น List of Musical Composition ตารางรายชื่อเพลงและองค์ประกอบของเพลง อธิบาย Image(ภาพลักษณ์) หมายถึง เพลงนั้นให้ความสำคัญกับสิ่งใด ยกตัวอย่างเช่น เพลง my song เป็นเพลงที่ให้ความสำคัญกับเสียงร้องมาก เป็นต้น
BPM ย่อมาจาก Beat Per Minute หรือความเร็วของจังหวะเพลงที่ปรากฏต่อนาที
Appeal Number คือ จำนวนปุ่มที่ปรากฏในเพลงนั้นๆ
QUINTET หมายถึง เพลงนี้สามารถทำการแสดง 5 คนได้หรือไม่?
Main Menu 1. プロデュース (Purodeyuusu) Produce
1.1活動開始 (Katsudou Kaishi) Start Activity : เลือกเล่นเกมใหม่(มีทั้งหมด 12 ช่อง) และเลือกเล่นเกมต่อจากที่เล่นค้างไว้
1.2活動報告 (Katsudou Houkoku) Activity Report : รายงานรายละเอียดต่างๆของเกมที่ผู้เล่นทำได้
2. ステージフォーユー (Suteji fo yu) Stage4you : เมื่อเล่นเกม The Idolm@ster2 เป็นครั้งแรก
ผู้เล่นต้องเล่นเกมผ่านไป 2 สัปดาห์ก่อนจึงมีการปลดล็อคส่วนนี้ เมื่อผู้เล่นปลดล็อคเรียบร้อยจึงพบว่ามีเวทีแสดงทั้งหมด 6 ฉากและ 14 เพลง
ในส่วนของเสื้อผ้าการแต่งตัว มีการแบ่งออกเป็น 5 ช่องใหญ่ซึ่งผู้เล่นสามารถจัดชุดเสื้อผ้าล่วงหน้าได้ตามใจชอบ
สำหรับเสื้อผ้าตอนเริ่มต้นของเกมมีทั้งหมด 4 ชุดให้เลือก ส่วนเครื่องประดับส่วนหัว, ลำตัว, แขน และขามี 6 ชิ้นในแต่ละส่วน
(
หมายเหตุ : มีหางแมวและมือแมวมาให้ตั้งแต่ต้นเกม ส่วนเท้าแมวและหูแมวต้องซื้อที่ร้านขายเสื้อผ้าเท่านั้น)
3. 765ショップカタログ (Narokugo Shoppu Katarogu) 765 Shop Catalog :
เป็นรายละเอียดสินค้าของ 765 โปรดักชั่น เช่น เสื้อผ้าหรือเพลงใหม่ของไอดอล ผู้เล่นสามารถเลือกซื้อสินค้าผ่านทาง XboxLive เท่านั้น
สรุปเป็น DLC (DownLoadable Content) ที่ต้องเสียเงินจริงซื้อสินค้า
4. アルバム (Arubamu) Album : แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เก็บรวมรูปภาพ และส่วนที่เก็บวีดีโอบันทึกการแสดง
5. メール (Me ru) E-mail : ตามเนื้อเรื่องของเกม เมื่อผู้เล่นได้รับอีเมล์เข้ามาทางโทรศัพท์มือถือ อีเมล์นั่นจะถูกรวบรวมเก็บเอาไว้ในส่วนนี้
6. ランキング (Rankingu) Ranking : เป็นการโชว์กลุ่มไอดอลของเราทาง XboxLive ว่ามีแฟนเพลงไอดอลจำนวนเท่าไร เป็นต้น
7. オプション (Opushon) Option : เป็นส่วนปรับแต่งของเกม
Stage4you เป็นส่วนของการจัดแสดงไอดอลที่ผู้เล่นสามารถปรับแต่งสิ่งต่างๆที่ผู้เล่นต้องการชม ได้แก่
การจัดกลุ่มไอดอล เลือกเพลง เลือกเสื้อผ้าเครื่องประดับ และเลือกเวทีการแสดง
สำหรับรายชื่อคำสั่งมีดังนี้
Unit Editing (ユニット編集 Yunitto Henshuu)
Coordinates Selection (コーディネート選択 Ko-deine-to Sentaku)
Song Selection (楽曲選択 Gakkyoku Sentaku) Song Selection
Stage Selection (ステージ選択 Sute-ji Sentaku)
Game System CD singles Sales Detail จำนวนยอดขาย CD singles มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากและเป็นหนึ่งในเป้าหมายอันสำคัญที่จะส่งผลต่อฉากจบของเกม
ดังนั้นผ่นควรทำความเข้าใจปัจจัยพื้นฐานก่อน
ยอดขาย CD singles มีปัจจัยพื้นฐานคือ - จำนวนแฟนเพลง(Number of Fans)
- จำนวนคะแนนที่ผู้เล่นทำได้ในการแสดง(Stage Performance Score)
ส่วนนี้ส่งผลเฉพาะเพลงที่ idol ทำการแสดงนั้นๆ
- ยอดขายพิเศษ(Sales Bonus)
ยอดขายพิเศษส่งผลต่อยอดขาย CD singles ยกตัวอย่างเช่น
กลุ่มไอดอลเปิดตัวเพลงที่หนึ่ง ซึ่งทำให้คนทั่วไปเริ่มรู้จักและเริ่มมีแฟนเพลงจำนวน 5,000 คน มียอดขายอัลบั้มเพลงอยู่ที่ 2,500 แผ่น
เมื่อกลุ่มไอดอลออกจำหน่ายเพลงที่สอง แฟนเพลงเดิมจำนวน 5,000 คนกลายเป็นแฟนเพลงเต็มตัว และต้องมาซื้ออัลบั้มเพลงที่สองจำนวน 2,500 แผ่นในช่วงแรกทันที เป็นต้น
อนึ่ง ยอดขายพิเศษนี้เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อมีการเปิดตัวเพลงใหม่เท่านั้น
- ยอดขายที่คำนวณตามค่าสัมประสิทธิ์(Sales Coefficient)
ยอดจำหน่าย CD singles มากที่สุดในสัปดาห์แรก และสัปดาห์ต่อมายอดขายจะลดลงไปเรื่อยๆทุกสัปดาห์
วิธีเพิ่มยอดขาย CD Singles ตามปกติ ยอดขาย CD singles ลดลงนับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 เป็นต้นไปจนกระทั่งยอดขายหยุดลง
ดังนั้นผู้เล่นต้องผลักดันยอดขาย CD singles ของคุณคือ การแสดงบนเวทีต่างๆ
รายละเอียดเวทีการแสดง(List of stage performance) คำแนะนำ : ข้อมูลวิธีเพิ่มยอดขาย CD Singles ที่ปรากฏนี้ อาจเป็นข้อมูลที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง
เพราะอาจไม่ใช่ข้อมูลที่แท้จริง ดังนั้นผู้เขียนขอแนะนำว่าผู้เล่นควรอ่านเอาไว้เป็นแนวทางในการเล่น
- Keep(การควบคุมยอดขาย)
เป็นการควบคุมยอดขายไม่ให้ลดลง วิธีการควบคุมยอดขายคือ เลือกการแสดง Live
อนึ่ง ผู้เล่นไม่ควรเลือกเพลงเก่า ต้องเลือกเพลงล่าสุดที่แสดงเท่านั้น ยกเว้นผู้เล่นเลือกเพลงเก่าให้เป็นเพลงที่แสดงอยู่ล่าสุดก่อนหน้าที่จะเลือกการแสดง Live)
- Break(ระเบิดยอดขาย)
เป็นการเพิ่มยอดขายโดยผู้เล่นเลือก Festival เพื่อต่อสู้กับไอดอลกลุ่มอื่น
อนึ่ง ผู้เล่นไม่ควรเลือกเพลงใหม่ ต้องเลือกเพลงเก่าที่แสดงอยู่ล่าสุดเท่านั้น และต้องเป็นเพลงที่มีการวางจำหน่ายมากกว่า 10 สัปดาห์ขึ้นไป
- Revival(การฟื้นฟูเพิ่มยอดขาย)
ถ้า CD singles เพลงนั้นมีการวางจำหน่ายมากกว่า 10 สัปดาห์ขึ้นไป
ผู้เล่นสามารถเลือกฟื้นฟูยอดขายด้วยการเลือกการแสดง National Auditions หรือ Area-specific Auditions
และเลือกเพลงเก่าๆเพื่อฟื้นฟูเพิ่มยอดขายเพลงเก่าทั้งหมด ยกเว้นเพลงใหม่ล่าสุดที่ไม่มีการฟื้นฟูยอดขาย ดังนั้นผู้เล่นไม่ควรเลือกเพลงใหม่ล่าสุดทำการแสดง
- Super Break(ระเบิดยอดขายถึงขีดสุด)
เป็นการเพิ่มยอดขายอย่างรวดเร็วมาก มีเฉพาะในการแสดง Quintet Live เท่านั้น ซึ่งเป็นการแสดงบนเวทีทั้งหมด 5 คน
ผู้เล่นจำเป็นต้องเลือกเพลงใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวตั้งแต่สัปดาห์แรกจนถึงสัปดาห์ที่สี่เท่านั้น
แต่มีข้อเสียคือ การแสดงบนเวทีทั้ง 5 คนอาจล้มเหลวได้ง่ายถ้าไอดอลคนที่ 4 และคนที่ 5 ไม่มาทำการแสดงด้วย
เนื่องจากเธอคนนั้นอาจไม่ได้รับความนิยมและไม่ชอบบางสิ่งบางอย่าง (ตอนเลือกไอดอลคนที่ 4-5 สังเกตสัญลักษณ์ใบหน้าที่อยู่ด้านล่างของจอ)
คำถาม : เหตุผลอะไรที่ไม่มีการเพิ่มยอดขายเพลงใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่กี่สัปดาห์?
ผู้เขียนสันนิฐานว่าการเปิดตัวเพลงใหม่ย่อมมียอดจำหน่ายที่สูงขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่สัปดาห์แรกจนถึงสัปดาห์ที่สี่
และผู้เล่นสามารถใช้ช่วงเวลานี้ผลักดันยอดขายเพลงเก่าหรือฝึกความสามารถของไอดอลให้สูงขึ้น
ดังนั้นผู้เล่นจึงไม่จำเป็นต้องเพิ่มยอดขายเพลงใหม่ ยกเว้นผู้เล่นเลือกการแสดง Quintet Live เท่านั้น
คำแนะนำ : วิธีดูรายละเอียดจำนวนยอดขายเพลงและจำนวนแฟนเพลงไอดอลอย่างง่ายคือ
ผู้เล่นต้องกดปุ่ม Start และเลือกดูหัวข้อที่ 3 ซึ่งส่วนนี้เริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่สามเป็นต้นไป
Idol Compatibility วิธีการจัดกลุ่มไอดอล ผู้เล่นควรเลือกไอดอลที่มีความเข้ากันได้
เพราะไอดอลบางคนอาจไม่ถูกชะตากับไอดอลคนอื่นๆ เนื่องจากคิดว่าไอดอลคนนั้นไม่เหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้ากลุ่มหรือสมาชิกในกลุ่ม
ถ้าผู้เล่นเลือกสลับตำแหน่งหัวหน้าไอดอลคนที่รู้สึกไม่ดีต่อไอดอลอีกคน
บทสนทนาจะต่างจากเดิมและอารมณ์ของไอดอลไม่ดีเล็กน้อยจนถึงมากที่สุด
อนึ่งการจัดกลุ่มที่ไม่เข้ากัน ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของไอดอลมากกว่าการแข่งขัน
ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง จิฮายะเป็นหัวหน้ากลุ่มไอดอลอยู่เดิม
แต่ต่อมาผู้เล่นเลือกที่จะเปลี่ยนให้ยูกิโฮะ หรือมามิเข้ามาเป็นหัวหน้ากลุ่มแทน
เมื่อผู้เล่นเปลี่ยนหัวหน้ากลุ่มเสร็จ จิฮายะรู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างมากที่ยูกิโฮะ หรือมามิได้เป็นหัวหน้า เป็นต้น
ตารางความเข้ากันได้ของไอดอล หมายเหตุ : - แถบสีชมพู(Pink Bar) หมายถึง หัวหน้ากลุ่ม(Leader)
- แถบสีส้ม(Orange Bar) หมายถึง สมาชิกกลุ่ม(Member)
- Good หมายถึง ระดับความรู้สึกที่ดี
- Normal หมายถึง ระดับความรู้สึกธรรมดา
- X หมายถึง ระดับความรู้สึกที่ไม่ดี
คำแนะนำ : การจัดกลุ่มไอดอลที่ดีควรจัดกลุ่มให้ตรงกับภาพลักษณ์ของเพลงอย่างน้อย 2 คน
สำหรับรายชื่อไอดอลที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆมีดังนี้
ไอดอลที่เชี่ยวชาญ Vocal ได้แก่ จิฮายะ(Chihaya) ทากาเนะ(Takane) และ ฮารุกะ(Haruka)
ไอดอลที่เชี่ยวชาญ Dance ได้แก่ ฮิบิกิ(Hibiki) มาโคโตะ(Mokoto) และ จิฮายะ(Chihaya)
ไอดอลที่เชี่ยวชาญ Visual ได้แก่ มิกิ(Miki) ทากาเนะ(Takane) และ ยูกิโฮะ(Yukiho)
The Relationship between Producer and Idol ความสัมพันธ์ระหว่างคุณโปรดิวเซอร์และไอดอลมีผลต่อการวางแผนงานของคุณโปรดิวเซอร์
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อไอดอลมีอารมณ์ไม่ดีมากๆ พวกเธออาจไม่มาทำกิจกรรมทั้งสัปดาห์ เป็นต้น
เหตุการณ์ความสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงเช้าและช่วงกลางคืน โดยแต่ละช่วงมีความแตกต่างดังนี้
- ช่วงเช้า ผู้เล่นสนใจพูดคุยกับไอดอลคนไหนหรือไอดอลคนใดที่มีอารมณ์ไม่ดีอยู่ ผู้เล่นควรเลือกไอดอลคนนั้น
เมื่อเลือกเสร็จ ไอดอลคนนั้นอาจบ่นเรื่องงานหรืออยากทำกิจกรรมบางอย่างในสัปดาห์นี้
ผู้เล่นมีหน้าที่ต้องเลือกคำตอบให้ถูกต้อง โดยมีการสุ่มคำตอบ 2 รูปแบบคือ
1. เลือกคำตอบไอดอลทั้ง 3 คนพอใจ หรือไอดอลทั้ง 3 คนไม่พอใจ
2. เลือกคำตอบไอดอลสองคนพอใจแต่ไอดอลที่ผู้เล่นเลือกไม่พอใจ หรือไอดอลที่ผู้เล่นเลือกพอใจแต่ไอดอลทั้งสองคนไม่พอใจ
คำตอบที่ถูกต้องคือ 1. ไอดอลทั้ง 3 คนพอใจ
2. ไอดอลสองคนพอใจแต่ไอดอลที่ผู้เล่นเลือกไม่พอใจ
- ช่วงกลางคืน เป็น Minigame จำนวน 2 เกมโดยมีการสุ่มแต่ละเกมคือ
1. เกมเป่ายิ้งฉุบกับไอดอล
2. เดาน้ำเสียงของไอดอล ซึ่งจะมีการแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
2.1 ไอดอลพูดคนเดียว ผู้เล่นต้องเลือกว่าไอดอลคนนั้นคือใคร
2.2 ไอดอลพูดพร้อมกันสองคน ผู้เล่นต้องเลือกว่าไอดอลที่ไม่ออกเสียงนั้นคือใคร
เพิ่มอารมณ์เชิงบวก - เลือกคำตอบสนทนาที่ไอดอลทั้ง 3 คนพอใจในตอนเช้า
- เลือกคำตอบสนทนาเชิงลบในตอนเช้า โดยที่ไอดอลสองคนพอใจแต่ไอดอลที่ผู้เล่นเลือกไม่พอใจ
- เวลากลางคืน ผู้เล่นเลือกคำตอบ Minigame ถูกต้อง(เป่ายิ้งฉุบหรือเดาน้ำเสียงของไอดอลถูกต้อง)
- ชนะในงานแสดง Audition, Festival และ Live
- ยอดขาย CD Singles เพิ่มขึ้น
- เลือกไป ショップ (Shoppu) Shop
- เลือกไป おやすみ (Oyasumi) Holiday or Rest(ไอดอลไม่ทำกิจกรรมทั้งสัปดาห์)
เกิดอารมณ์เชิงลบ - เลือกคำตอบสนทนาเชิงลบในตอนเช้า
- เวลากลางคืน ผู้เล่นเลือกคำตอบ Minigame ไม่ถูกต้อง(เป่ายิ้งฉุบหรือเดาน้ำเสียงของไอดอลไม่ถูกต้อง)
- แพ้ในงานแสดง Audition, Festival และ Live
- ยอดขาย CD Singles ลดลง
Unit Combination/Mood Statuses (ความเข้ากันได้และอารมณ์ของกลุ่มไอดอล) ความสัมพันธ์ในกลุ่มไอดอลคล้ายคลึงกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคุณโปรดิวเซอร์และไอดอล
แต่มีการเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับอารมณ์ของไอดอล ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้เล่นให้ไอดอลทำกิจกรรมหนักๆหลายสัปดาห์ พวกเธออาจทำหน้าตาเหนื่อยไม่ยิ้ม
หรือผู้เล่นให้กลุ่มไอดอลฝึกร้องเพลง 2-3 สัปดาห์ติดต่อกันโดยที่มีคนหนึ่งไม่ถนัดร้องเพลง จึงทำให้ค่าความสามารถของเธอน้อยและเรียนรู้ตามไม่ทันคนอื่น เป็นต้น
かしましい (Kashimashii) Noisy : ทุกคนในกลุ่มมีความสามารถอยู่ในระดับดี และทำกิจกรรมต่างๆได้ดี
小躍り (Koodori) Dancing of joy : ไอดอลบางคนในกลุ่มมีความเชี่ยวชาญเรื่องการเต้น ถ้าคุณโปรดิวเซอร์นำเธอไปเรียนเต้นมาแล้ว
きらり (Kirari) Sparkle, Shining : ไอดอลบางคนในกลุ่มมีความเชี่ยวชาญเรื่องการใช้สายตา(Visual) ถ้าคุณโปรดิวเซอร์นำเธอไปเรียนเต้นมาแล้ว
鼻歌 (Hanauta) Humming : ไอดอลบางคนในกลุ่มมีความเชี่ยวชาญเรื่องการร้องเพลง ถ้าคุณโปรดิวเซอร์นำเธอไปเรียนเต้นมาแล้ว
普通 (Futsuu) Normal : กลุ่มไอดอลมีความสมดุล และทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ
どん引き (Donhiki) Turn off : มีไอดอลคนหนึ่งมีระดับความสามารถมาก แต่ไอดอลที่เหลือสองคนเรียนรู้ตามไม่ทัน
らぶすね (Rabusune) Lab Leg : มีไอดอลสองคนที่มีระดับความสามารถมาก และทำกิจกรรมได้ดีขึ้นกว่าปกติ แต่มีไอดอลคนหนึ่งที่เรียนรู้ตามไม่ทัน
喧嘩 (Kenka) Quarrel : มีไอดอลสองคนในกลุ่มที่ร่วมต่อสู้และทำงานกันได้ดี แต่มีไอดอลคนหนึ่งที่เรียนรู้ตามไม่ทัน
倦怠 (Kentai) Fatigue : ไอดอลบางคนรู้สึกเหนื่อยล้า และทำกิจกรรมต่างๆไม่ดีนัก
ちょー倦怠 (Chirukentai) Extreme Fatique : เลวร้ายที่สุด!!
ぎすぎす (Gisugisu) Strained Atmosphere : กลุ่มไอดอลไม่มีความสามัคคี และทำกิจกรรมต่างๆไม่ดีนัก
Idol Academy (IA) Idol Academy คืองานประกาศรางวัลไอดอลแห่งปีของประเทศญี่ปุ่น
และเป็นเป้าหมายสูงสุดของเกมคือ กลุ่มไอดอลของผู้เล่นได้รับรางวัลในงาน Idol Academy
โดยแต่ละรางวัลส่งผลต่อฉากจบของเกม คือ
Bad Ending : ไม่ได้รับรางวัลแม้แต่ชิ้นเดียว
Normal Ending : ได้รับรางวัลอื่นที่ไม่ใช่ IA Big prize (Grand Prix)
Good Ending : ได้รับรางวัล IA Big prize (Grand Prix) เพียงรางวัลเดียว
True Ending : ได้รับรางวัลทั้งหมด
เงื่อนไขรางวัล Idol Academy Producer Estimation (プロデューサー評価 Purodeyu-sa- Hyouka) เมื่อผู้เล่นจบเกม มีการรายงานผลคะแนนทั้งหมดที่ผู้เล่นสามารถทำได้ โดยคิดอันดับ Rank ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ตารางการจัดอันดับ Rank หมายเหตุ : - Level image Group คือ ระดับของกลุ่มไอดอล
- High Score คือ รายงานจำนวนคะแนนสูงสุดที่ผู้เล่นสามารถทำได้ในการแข่งขัน
- Total Music Sales คือ จำนวนยอดขาย CD singles ทั้งหมดจำนวน 5 เพลง
- Highest Chart Ranking คือ อันดับเพลงที่มียอดขายสูงที่สุด ซึ่งนับเพลงที่มียอดขายสูงที่สุดเพียง 1 เพลงเท่านั้น
- Total Roll back คือ จำนวนที่ผู้เล่นย้อนกลับไปเริ่มเล่นเกมสัปดาห์ใหม่ก่อนหน้านั้น ซึ่งเกิดขึ้นเพียง 2 เหตุการณ์คือ
สัปดาห์ที่ 21 ผู้เล่นไม่สามารถเอาชนะกลุ่มริวโกว โคมาจิ และสัปดาห์ที่ 54 ผู้เล่นไม่สามารถเอาชนะกลุ่มจูปิเตอร์
โดยตัวเกมทำการย้อนเวลากลับไปหนึ่งหรือสองสัปดาห์ ซึ่งคราวนี้มีเหตุการณ์เพิ่มความสามารถของไอดอลมากยิ่งขึ้นเพื่อกลับไปแข่งขันอีกครั้ง
การย้อนเวลากลับไปหนึ่งหรือสองสัปดาห์มีการฝึกพิเศษที่ชื่อว่า การฝึกสุดโหด(Training from Hell)
วิธีการฝึกคือ ผู้เล่นมีหน้าที่สั่งให้ไอดอลลดความเร็วหรือเพิ่มความเร็วในการวิ่ง เพื่อให้ไอดอลทั้งสามคนวิ่งอยู่ใกล้ๆกันตามภาพ
ส่วนค่า Stamina คือค่าแรงกายของไอดอล ผู้เล่นต้องสังเกตว่าไอดอลมีแรงกายเหลืออยู่เท่าไร
แต่ถ้าแรงกายของไอดอลไม่เหลือเลย ผู้เล่นไม่ควรสั่งไอดอลคนนั้นจนกว่าค่าแรงกายของไอดอลเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ
อนึ่ง ถ้าไอดอลของผู้เล่นมียอดขายเพลงและจำนวนแฟนเพลงอยู่ในระดับต่ำจนถึงสัปดาห์ที่ 20 และสัปดาห์ที่ 53
ตัวเกมอาจบังคับให้ผู้เล่นเลือกการฝึกสุดโหดโดยอัตโนมัติ
GamePlay Coordinates Selection ผู้เล่นสามารถเลือกเสื้อผ้าให้แก่ไอดอลเพื่อสวมใส่โดยเสื้อผ้าแต่ละชุดมีภาพลักษณ์แตกต่างกันไป เช่น เสื้อผ้าแบบ Luxury มีภาพลักษณ์ Dance เมื่อไอดอลสวมใส่จึงเป็นการเพิ่มค่า Dance เป็นต้น และเสื้อผ้าเครื่องประดับทุกชิ้นส่งผลต่อการเพิ่มระดับความสามารถของกลุ่มไอดอล(Image level Unit) นอกจากนี้ผู้เล่นสามารถจัดเสื้อผ้าล่วงหน้าตามต้องการเพราะมีช่องเก็บเสื้อผ้าไอดอลถึง 5 ช่อง สำหรับรายละเอียดเสื้อผ้าและเครื่องประดับมีทั้งหมด 6 ส่วนคือ - Costume (เสื้อผ้า) - Accessory/Head (เครื่องประดับส่วนหัว) - Accessory/Body (เครื่องประดับลำตัว) - Accessory/Hand (เครื่องประดับแขน) - Accessory/Leg (เครื่องประดับขา) - Amulet (เครื่องราง) จำนวนเสื้อผ้าตอนเริ่มต้นของเกมมีทั้งหมด 4 ชุดให้ผู้เล่นเลือก ส่วนเครื่องประดับส่วนหัว, ลำตัว, แขน และขามี 6 ชิ้นในแต่ละส่วน (มีหางแมวและมือแมวมาให้ตั้งแต่ต้นเกม ส่วนเท้าแมวและหูแมวต้องซื้อที่ร้านขายเสื้อผ้าเท่านั้น) เมื่อผู้เล่นเลือกเสื้อผ้าเสร็จ พวกเธอจึงลองสวมใส่ชุดที่ผู้เล่นเลือกทันที ถ้าไอดอลคนไหนไม่ชอบชุดที่ใส่ เธอคนนั้นอาจบอกว่าชุดนี้มันดูแปลกๆหรือไม่เหมาะกับตัวเลย... วิธีการซื้อเสื้อผ้าเพิ่มเติมคือ ผู้เล่นต้องเลือกกิจกรรม ショップ(Shoppu) Shop เท่านั้น ยกเว้นเครื่องรางที่ไม่มีการวางขายอยู่ตามร้านค้าในเกม ผู้เล่นสามารถซื้อได้ต่อเมื่อไอดอลของผู้เล่นทำการแข่งขันจนได้รับชัยชนะหรือผ่านเงื่อนไข ซึ่งเมื่อถึงตอนจบของงาน ผู้เล่นได้พบคนมาเสนอขายเครื่องราง โดยมีการอธิบายสรรพคุณเครื่องรางของเขาว่ามีความสามารถอย่างไร ผู้เล่นอาจเลือกคำตอบว่าซื้อหรือไม่ซื้อเครื่องรางของเขา อนึ่ง ถ้าผู้เล่นไม่ซื้อเครื่องรางของเขา ผู้เล่นต้องเสียสิทธิ์ในการซื้อเครื่องรางนี้ทันที ยกตัวอย่าง เมื่อไอดอลของผู้เล่นชนะการแข่งขันในจังหวัด AA ต่อมามีผู้เสนอขายเครื่องรางชื่อว่า A ถ้าผู้เล่นไม่ซื้อเครื่องรางของเขา ผู้เล่นจึงไม่มีสิทธิ์ในการซื้อเครื่องรางที่ชื่อว่า A อีกต่อไป จนกว่าผู้เล่นเลือกเล่นเกมรอบใหม่และแข่งขันในจังหวัดที่ชื่อ AA เท่านั้น เป็นต้น สำหรับราคาเครื่องรางค่อนข้างแพง เพราะเครื่องรางราคาเริ่มต้นที่ 15,000 และมีราคาสูงสุดถึง 50,000 แต่เมื่อคำนวณค่าเฉลี่ยทั้งหมดมีประมาณ 22,340 เท่านั้น หมายเหตุ : เสื้อผ้า เครื่องประดับ และเครื่องรางที่ผู้เล่นซื้อไว้ไม่หายไปในการเล่นเกมรอบใหม่ ดังนั้นผู้เล่นสามารถแต่งตัวไอดอลได้ตั้งแต่เริ่มเกมใหม่ทันที Schedule Select(เลือกกิจกรรม) ผู้เล่นสามารถเลือกสถานที่(จังหวัดหรือภูมิภาค)ในประเทศญี่ปุ่นว่าผู้เล่นต้องการให้ไอดอลทำกิจกรรมใด เช่น งานแสดง Concert ทาง TV หรือแม้กระทั่งเลือกกิจกรรมการโชว์ตัวไอดอลเพื่อเพิ่มแฟนเพลง และเพิ่มยอดจำหน่าย Album ในแต่ละสัปดาห์ レッスン (ressun) Lesson ちょーレッスン (Cho- ressun) Super Lesson 全国オーディション (Zengoku O-deishon) Nation Audition エリアオーディション (Eria O-deishon) Area Audition トリオライブ (Torio Raibu) Trio Live クインテットライブ (Kuintetto Raibu) Quintet Live フェス(ティバル) (fesuteibaru) Festival 通常営業 (Tsuujou Eigyoubu) Promotion 資金営業 (Shikin Eigyoubu) Publicity ショップ (Shoppu) Shop おやすみ (Oyasumi) Holiday or RestLesson(การฝึกซ้อม) เป็นส่วนของการฝึกซ้อมรูปแบบต่างๆให้แก่ไอดอล ซึ่งผู้เล่นต้องวางแผนกิจกรรมว่าควรให้ไอดอลต้องฝึกซ้อมในเรื่องใด โดยมีตัวเลือกการฝึกซ้อม 3 รูปแบบคือ 1. ฝึกร้องเพลง(ボーカルレッスン Vocal Lesson) สัญลักษณ์สีแดง วิธีฝึกคือ ผู้เล่นต้องกดปุ่ม A, B, X หรือ Y ตามจังหวะที่เกมกำหนด 2. ฝึกเต้นรำ(ダンスレッスン Dance Lesson) สัญลักษณ์สีน้ำเงิน วิธีฝึกคือ ผู้เล่นต้องกดปุ่ม LB หรือ RB ที่อยู่ด้านบนของ Microsoft Xbox 360 Controller ตามที่เกมกำหนด 3. ฝึกการใช้สายตา(ビジュアルレッスン Visual Lesson) สัญลักษณ์สีเหลือง วิธีฝึกคือ ผู้เล่นต้องกดปุ่มสี่เหลี่ยม 3 ช่องที่เคลื่อนไหวอยู่ให้ถูกต้องตามกำหนด สำหรับระดับการฝึกมีอยู่ 2 รูปแบบคือ - 中央(Chuuou) Central เวลาการฝึก 1 ช่วงเวลา เสียค่าใช้จ่าย 100 : เพิ่มค่าความสามารถจำนวนปานกลาง - 首都(Shuto) Capital เวลาการฝึก 2 ช่วงเวลา เสียค่าใช้จ่าย 1,000 : เพิ่มค่าความสามารถจำนวนมาก เมื่อผู้เล่นเข้าสู่การฝึกซ้อม ตัวเกมจะทำการคิดคะแนนตามความสามารถที่ผู้เล่นทำได้ โดยจะมีการคิดคะแนนทุกช่วงของการฝึกซ้อมจนกว่าจะมีการประกาศหมดเวลา ซึ่งผู้เล่นสามารถสังเกตตรงแถบคะแนนที่อยู่ทางซ้ายบนของจอ สำหรับวิธีการคิดคะแนนมีการแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ - ระดับที่ 1 : Bad (สัญลักษณ์สีฟ้า) - ระดับที่ 2 : Normal (สัญลักษณ์สีเขียว) - ระดับที่ 3 : Good (สัญลักษณ์สีเหลือง) - ระดับที่ 4 : Perfect (สัญลักษณ์สีชมพู) เมื่อผู้เล่นจบการฝึกซ้อม จึงมีการเพิ่มค่าระดับความสามารถของกลุ่มไอดอล(Image level Unit) โดยมีระดับสูงสุดที่ 16 เท่านั้นตามภาพ อนึ่ง ระดับ 16 มีการคิดแถบค่าความสามารถของกลุ่มไอดอลเพียง 60% ของแถบทั้งหมด(สีอ่อน) ส่วนสีเข้มคือ แถบค่าความสามารถที่เพิ่มขึ้นจากการฝึกซ้อมเพิ่มเติม หรือใส่เสื้อผ้าที่เพิ่มความสามารถ หมายเหตุ : ระดับความสามารถของกลุ่มไอดอล(Image level Unit) มีส่วนสำคัญต่อการฝึกมาก ยกตัวอย่างเช่น ค่า Visual ของกลุ่มไอดอลมีระดับที่สูงมาก และผู้เล่นเลือกให้ไอดอลฝึกซ้อม Visual ซึ่งทำให้แถบคะแนนของการฝึกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว กลับกัน ถ้าค่า Visual ของกลุ่มไอดอลมีระดับที่ต่ำ และผู้เล่นเลือกให้ไอดอลฝึกซ้อม Visual อันทำให้แถบคะแนนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้นContest การแข่งขันของภาคนี้คือการนำกลุ่มไอดอลของผู้เล่นมาแข่งขันกับกลุ่มไอดอลของฝ่ายคู่แข่งเพื่อสร้างความนิยมในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ วิธีการตัดสินคือทีมไหนได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้รับชัยชนะ ส่วนการทำคะแนนคือ ผู้เล่นต้องกดปุ่มหนึ่งในสามปุ่มว่าผู้เล่นต้องการเพิ่มคะแนน Dance Visual หรือ Vocal ซึ่งการกดปุ่มแบบนี้นี้เรียกว่า Regular Appeals สำหรับวิธีที่ทำให้คะแนนมากที่สุดคือ การกดปุ่มให้ตรงกับวงกลมรอบนอกสุด จึงได้รับคะแนนพิเศษคือ Perfect +15 คะแนน (The Idolm@ster ภาคแรกเป็นการกดปุ่มที่คณะกรรมการต้องการ จึงได้คะแนนพิเศษ)Burst Appeal(ระเบิดความสนใจ) Burst Appeal มีความสำคัญต่อการแข่งขันมากจนถือว่าการตัดสินแพ้ชนะขึ้นอยู่กับจังหวะการใช้ Burst Appeal เลยทีเดียว เพราะการทำ Burst Appeal เป็นวิธีการเพิ่มคะแนนการแข่งขันจำนวนมากและเป็นการลดแถบ Voltage ของไอดอลฝ่ายคู่แข่ง - Appeal แปลว่า ความดึงดูดใจ ส่วนชื่อตัวละครที่อยู่ด้านหลังคำนี้คือ ไอดอลที่ถูกตั้งเป็น Appeal ซึ่งผู้เล่นสามารถเปลี่ยนตัวได้โดยการกดปุ่ม LB บน Xbox 360 Controller - Voltage แปลตรงตัวคือ แรงดันไฟฟ้า แต่ถ้าแปลเป็นความหมายในที่นี้คือ การเกิดประกายไฟยั่วยวน เมื่อไอดอลทำการแข่งขันและแถบ Voltage เต็มเมื่อไร ตัวเกมเริ่มปรากฏคำว่า Voltage Max ขึ้นบนกลางหน้าจอ ซึ่งผู้เล่นสามารถกดปุ่น LB เพื่อใช้ Burst Appeal ทันที - สัญลักษณ์รูปหัวใจคือ Memory Appeals(ค่าความทรงจำ) ผู้เล่นต้องสะสมแถบค่าพลังหัวใจให้เต็ม 1 ดวงจึงจะสามารถใช้บริการในโหมดนี้ได้ วิธีใช้งานคือ เมื่อผู้เล่นกดปุ่ม A บน Xbox 360 Controller ไอดอลที่ถูกตั้งเป็น Appeal เริ่มทำท่าทางดึงดูดความสนใจและค่า Voltage เพิ่มขึ้นจำนวนมาก (และบางครั้งอาจลดค่า Voltage ของไอดอลคู่แข่งลง) วีธีเพิ่มค่า Memory Appeals จำนวนมากคือ ผู้เล่นให้ไอดอลทำกิจกรรม Promotion หรือ Publicity ถ้าผู้เล่นเลือกตอบคำถามไอดอลไม่ดี การเพิ่มค่า Memory Appeals เพียงเล็กน้อย แต่ถ้าผู้เล่นตอบคำถามดี การเพิ่มค่า Memory Appeals เป็นจำนวนมาก สำหรับวิธีการคิดคะแนนมีการแบ่งออกเป็น 4 ระดับเช่นเดียวกับการฝึกซ้อม(Lesson) คือ ระดับที่ 1: Bad(ตัวอักษรสีฟ้า), ระดับที่ 2: Normal(ตัวอักษรสีเขียว), ระดับที่ 3: Good(ตัวอักษรสีเหลือง) และระดับที่ 4: Perfect(ตัวอักษรสีชมพู)
คำแนะนำ : การเลือกคำตอบที่ดี ผู้เล่นสามารถอ่านรายละเอียดการตอบคำถามได้ทาง
http://www44.atwiki.jp/idolmasterim2 อนึ่ง ผู้เล่นควรทราบว่าคำตอบบางประโยคไม่ตรงกับตัวเกม กล่าวคือบทสรุปใน Wiki บอกเพียง คำสำคัญ
แต่ไม่บอกประโยคที่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้เล่นจำเป็นต้องสังเกตประโยคต่างๆให้เรียบร้อย
การเพิ่มของ Voltage มีปัจจัยพื้นฐานคือ 1. ภาพลักษณ์เพลงที่เล่น(Image Song) และการกดคำสั่งตามภาพลักษณ์ของเพลง ยกตัวอย่างเช่นเพลง The world is all one!! เป็นเพลงที่มีภาพลักษณ์ Vocal
เมื่อไอดอลทำการแข่งขัน ผู้เล่นต้องกดปุ่มคำสั่ง Vocal ให้ได้แบบ Perfect จึงเป็นการเพิ่มค่า Voltage อย่างรวดเร็ว
2. การทำคอมโบ(Combo) เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มค่า Voltage
3. การใช้ค่า Memory Appeals(ค่าความทรงจำ) ที่เป็นสัญลักษณ์รูปหัวใจ วิธีใช้งานคือ ผู้เล่นกดปุ่ม A บน Xbox 360 Controller
ไอดอลที่ถูกตั้งเป็น Appeal เริ่มทำท่าทางดึงดูดความสนใจและค่า Voltage เพิ่มขึ้นจำนวนมาก(และบางครั้งอาจลดค่า Voltage ของไอดอลคู่แข่งลง)
4. เปลี่ยนตัวไอดอลที่ถูกตั้งเป็น Appeal ทุกครั้งที่ทำ Voltage Max ในแต่ละรอบของการใช้งาน
ยกตัวอย่างเช่น จิฮายะ(Chihaya) ทำ Voltage Max ครั้งแรกและครั้งต่อไปต้องเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่จิฮายะ
มิเช่นนั้นค่า Voltage เพิ่มขึ้นจำนวนที่ลดน้อยลง ดังนั้นเมื่อใดที่ไอดอลทำ Voltage Max เสร็จสิ้น ผู้เล่นควรเปลี่ยนตัวไอดอลทันที
คำแนะนำ : การจัดกลุ่มไอดอลที่ดีควรจัดกลุ่มให้ตรงกับภาพลักษณ์ของเพลงอย่างน้อย 2 คน
สำหรับรายชื่อไอดอลที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆมีดังนี้
ไอดอลที่เชี่ยวชาญ Vocal ได้แก่ จิฮายะ(Chihaya) ทากาเนะ(Takane) และ ฮารุกะ(Haruka)
ไอดอลที่เชี่ยวชาญ Dance ได้แก่ ฮิบิกิ(Hibiki) มาโคโตะ(Mokoto) และ จิฮายะ(Chihaya)
ไอดอลที่เชี่ยวชาญ Visual ได้แก่ มิกิ(Miki) ทากาเนะ(Takane) และ ยูกิโฮะ(Yukiho)
ตารางปุ่มคำสั่งในการทำ Burst Appeal หมายเหตุ : - Order(คำสั่ง) เป็นคำสั่งที่ผู้เล่นต้องกดปุ่มตามกำหนดตามที่ผู้เล่นเลือกไอดอลให้เป็นผู้ทำ Burst Appeal ซึ่งมีอยู่ 10 คำสั่ง
- Total(ผลรวม) คือผลรวมจำนวนคำสั่งของไอดอล ยกตัวอย่างเช่น ปุ่มคำสั่งของ Chihaya ผู้เล่นต้องกดปุ่ม Vocal จำนวน 6 ครั้ง
ปุ่ม Dance จำนวน 2 ครั้ง และปุ่่ม Visual จำนวน 2 ครั้ง รวมทั้งหมดคือ 10 ครั้ง/คำสั่ง
- Rate(อัตราคำนวน) เป็นอัตราเริ่มต้นของการแข่งขัน เมื่อผู้เล่นกดปุ่มมากเท่าไร อัตราคำนวนมีการลดลงเท่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น Chihaya มีอัตราคำนวนค่า Vocal เริ่มต้นจำนวน 1.30
เมื่อผู้เล่นเริ่มกดปุ่ม Vocal เป็นครั้งแรก อัตราคำนวนค่อยๆเริ่มลดลงตามจำนวนที่ผู้เล่นกด
ถึงกระนั้นตัวเกมวิธีฟื้นฟูอัตราคำนวนคือการใช้ Burst Appeal
Minigames The communication between Producer and Idol ช่วงเวลาเช้าตรู่ในแต่ละสัปดาห์ ผู้เล่นสนใจพูดคุยกับไอดอลคนไหนหรือไอดอลคนใดที่มีอารมณ์ไม่ดีอยู่ ผู้เล่นควรเลือกไอดอลคนนั้น
เมื่อเลือกเสร็จ ไอดอลคนนั้นอาจบ่นเรื่องงานหรืออยากทำกิจกรรมบางอย่างในสัปดาห์นี้
ผู้เล่นมีหน้าที่ต้องเลือกคำตอบให้ถูกต้อง โดยมีการสุ่มคำตอบ 2 รูปแบบคือ
1. เลือกคำตอบไอดอลทั้ง 3 คนพอใจ หรือไอดอลทั้ง 3 คนไม่พอใจ
2. เลือกคำตอบไอดอลสองคนพอใจแต่ไอดอลที่ผู้เล่นเลือกไม่พอใจ หรือไอดอลที่ผู้เล่นเลือกพอใจแต่ไอดอลทั้งสองคนไม่พอใจ
คำตอบที่ถูกต้องคือ 1. ไอดอลทั้ง 3 คนพอใจ
2. ไอดอลสองคนพอใจแต่ไอดอลที่ผู้เล่นเลือกไม่พอใจ
ตารางคำตอบที่ถูกต้องในการสนทนา หมายเหตุ : สัญลักษณ์ + คืออารมณ์ของไอดอลเชิงบวก
สัญลักษณ์ - คืออารมณ์ของไอดอลเชิงลบ
Shout ก่อนที่ไอดอลเริ่มงานแสดง Audition, Festival หรือ Live
ทางกลุ่มไอดอลและคุณโปรดิวเซอร์(หรือผู้เล่น)มีการตะโกนให้กำลังใจภายในกลุ่มของตน
ผู้เล่นมีหน้าที่สังเกตจังหวะที่มุมปากของไอดอลว่าเธอกำลังออกเสียงคำว่าอะไร
ซึ่งผู้เล่นต้องเลือกคำที่ไอดอลเปล่งเสียงให้ถูกต้อง
ตารางการขยับปากของไอดอล หมายเหตุ : สัญลักษณ์วงกลมคือ จังหวะที่ไอดอลเปิดปากพูด
สัญลักษณ์ขีดคือ จังหวะที่ไอดอลปิดปาก
Rock-Paper-Scissors Game(じゃんけん Janken) เมื่อถึงช่วงการสนทนาในเวลากลางคืน ผู้เล่นอาจเลือกเล่นเกมเป่ายิ้งฉุบกับไอดอล
หน้าที่ของผู้เล่นคือต้องเลือกหนึ่งใน 3 ตัวเลือกคือ ค้อน กรรไกร และกระดาษ
ซึ่งผู้เล่นต้องเป่ายิ้งฉุบ
แพ้(Defeated) ไอดอลให้ได้เพื่อให้เป็นกำลังใจให้แก่ไอดอลของผู้เล่น
การเป่ายิ้งฉุบมีเคล็ดลับตอนที่ไอดอลกำลังเสี่ยงมือไว้ด้านหลัง
ผู้เล่นสามารถสังเกตหน้าตาของไอดอลว่าเธอทำหน้าตาเป็นแบบไหน
และเมื่อเธอทำหน้าตาแบบนี้ เธอจะออกค้อน กรรไกร หรือกระดาษแบบตายตัว
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อใดที่มาโคโตะเสี่ยงมือไว้ด้านหลังและมีดวงตาเศร้า เมื่อนั้นเธอออกแสดงมือเป็นรูปกรรไกรทุกครั้ง เป็นต้น
ตารางลักษณะหน้าตาของไอดอลตอนเป่ายิ้งฉุบ คำแปล : グー (gu-) Rock
チョキ (choki) Scissors
パー (pa-) Paper
หมายเหตุ : ตัวสัญลักษณ์คือ สัญลักษณ์หน้าตา
มุมปากขึ้นบนคือ ปากโค้งขึ้นบนเล็กน้อย
มุมปากตกคือ ปากโค้งลงล่างเล็กน้อยเหมือนยิ้ม
ปากตรงคือ เส้นปากตรง
Choose Province in Japan(เลือกจังหวัดประเทศญี่ปุ่น) เมื่อผู้เล่นเลือกกิจกรรม Promotion ให้แก่ไอดอล ผู้เล่นต้องเลือกตอบคำถามธรณีศาสตร์(Earth Science) ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบคำถามคือ
1. ถามลักษณะแผ่นดินของประเทศญี่ปุ่นนี้มีชื่อจังหวัดอะไร ซึ่งมีคำตอบให้เลือก 3 คำตอบ ผู้เล่นต้องเลือกคำตอบให้ถูกต้อง
2. ตัวเกมให้ชมแผนที่ประเทศญี่ปุ่นทั้งประเทศ ผู้เล่นต้องเลือกจังหวัดในแผนที่ให้ถูกต้องตามที่เกมกำหนด
เมื่อผู้เล่นตอบถามได้ถูกต้อง กลุ่มไอดอลจึงรวมตัวออกเสียงให้กำลังใจภายในกลุ่มตน และเพิ่มค่า Memory Appeals(ค่าความทรงจำ) ตรงสัญลักษณ์หัวใจ
The Idolm@ster 2 : Game Guide [1]
สวัสดีครับ,
วันนี้(06 June 2011) ผู้เขียนพึ่งเขียนบทความเสร็จพอดี...ไม่สิ...เรียกว่าเขียนบทสรุปเกม The Idolm@ster2 เสร็จพอดีน่าจะถูกต้องกว่า
สำหรับบทสรุปนี้ ผู้เขียนขอไม่ลงตารางรายละเอียดข้อมูลของเครื่องราง(Amulet)ภายในเกม The Idolm@ster2 เนื่องจากมีเครื่องรางบางตัวที่ผู้เขียนแปลไม่ได้
ดังนั้นผู้เขียนจึงขอเสนอรายละเอียดบทความเพียงแค่นี้ครับ
ปล. อันที่จริงบทสรุปนี้ ผู้เขียนใช้เวลาเขียนนานมากจนมันใกล้ถึงวันเกิดผู้เขียน(วันที่ 10) ดังนั้นต้นเดือนมิถุนายน ผู้เขียนทุ่มเทงานนี้สุดตัวจนเสร็จพอดี!!
ปล.2 ผู้เขียนเล่นเกม The Idolm@ster2 ถึง 105 ชั่วโมงและจบเกมไป 9 รอบ
Detail :
Name (Japanese) : アイドルマスター2
Name (English) : The Idolm@ster 2
Release Date : 24 February 2011
Platform : XBOX360
Genre : Simulation
Version : Japan
Official Website : http://www.bandainamcogames.co.jp/cs/list/idolmaster/im2/
Other Website : Play-Asia.com
Play-Asia.com
CDjapan.com.jp
Rating : CERO B (12+)
Catalog No. : R5J-00002
Item Code : 4988648770522
Price (Japanese) : 8,800 Yen
Price (US) : US$ 99.67 (Asia Version US$ 54.00)
Price (Thai) : 3,125.63 Baht
The Idolm@ster ภาคแรก มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับผู้เล่นรับบทเป็นโปรดิวเซอร์และมีหน้าที่รับผิดชอบไอดอลเพียงคนเดียว ซึ่งให้ความสำคัญเนื้อเรื่องเฉพาะตัวของไอดอลแต่ละคน
แต่ในภาค The Idolm@ster2 มีเนื้อหาหลักให้ความสำคัญกับไอดอลทั้งสามคน(Trio) ที่คุณโปรดิวเซอร์ต้องรับผิดชอบ
สำหรับเนื้อหารายละเอียดอื่นๆก่อนเกิดเกม The Idolm@ster2 มีดังนี้...
หมายเหตุ : ถ้าผู้อ่านต้องการทราบประวัติตัวละคร และภูมิหลังตัวละคร เชิญที่นี่ครับ
http://www.facebook.com/pages/The-Idolmster-Talk/175950885790809
What is The Idolm@ster
ดิไอดอลมาสเตอร์ (アイドルマスター Aidorumasuta THE iDOLM@STER) ปรากฏครั้งแรกบนเครื่องเกมอาณาเขต(Arcade Game) เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
ผู้ผลิตคือบริษัทนัมโค(Namco) จนกระทั่งเมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2549 ทางบริษัทนัมโคทำการควบรวมกิจการกับบริษัทบันได(Bandai) จึงเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็นนัมโคบันได(NamcoBandai) จนถึงปัจจุบัน[1]
ลักษณะเกมดิไอดอลมาสเตอร์เป็นเกมจำลอง(Simulation Game) ผู้เล่นต้องสวมบทบาทรับบทเป็นโปรดิวเซอร์(Producer)
มีหน้าที่เป็นผู้จัดการส่วนตัวของไอดอลและทำงานในบริษัทบันเทิงชื่อ 765 Production (อ่านแบบภาษาญี่ปุ่นว่า Narokugo Production)
เมื่อเริ่มเกม ผู้เล่นต้องเลือกเด็กสาว 1 คนจากทั้งหมด 10 คน อนึ่งจำนวนคนที่เป็นไอดอลในบริษัทมีทั้งหมด 10 คนแต่ผู้เล่นเลือกได้เพียง 9 คน
เนื่องจากถ้าเมื่อผู้เล่นเลือกตัวละครชื่อ ฟุตามิ อามิ(Futami Ami) จะได้พร้อมกับฟุตามิ มามิ(Futami mami) ซึ่งทั้ง 2 คนเป็นฝาแฝด[2]
ช่วงเริ่มต้นของเกม ผู้เล่นและเด็กสาวที่ถูกเลือกมีสถานะ ไร้ชื่อเสียงและไม่มีใครรู้จัก
ผู้เล่นต้องวางแผนจัดการให้เด็กสาวเป็นผู้มีชื่อเสียงหรือมีสถานะเป็นไอดอล จนกระทั่งถึงจุดมุ่งหมายสูงสุดของเกมคือ เด็กสาวมีตำแหน่งสุดยอดไอดอลอย่างแท้จริง
หรือผู้เล่นอยู่ระดับโปรดิวเซอร์สูงสุดคือ ชินไอดอลมาสเตอร์(真アイドルマスター Shinidorumasuta)[3]
ปัจจัยพื้นฐานของเกม ผู้เล่นต้องมีบัตรบันทึกข้อมูลเกม(Save Game Data) สำหรับการเล่นแต่ละครั้ง และเครื่องเกมอาณาเขตนี้มีการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของบริษัทนัมโคบันไดโดยตรง
ดังนั้นผู้เล่นจึงสามารถเล่นเกมแข่งขันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตกับผู้เล่นคนอื่น โดยผู้เล่นเลือกตัวละครที่เราเป็นผู้จัดการอยู่
และให้ผู้เล่นเข้าแข่งขันในส่วนของทดสอบการแสดง(Audition) สำหรับวิธีแข่งขันคือ ผู้เล่นกดปุ่มถูกต้องตามที่กรรมการต้องการมากที่สุด
และเมื่อจบในส่วนของทดสอบการแสดง ตัวเกมจึงคิดคะแนนผลรวมของผู้เล่นทั้งหมด ผู้ใดที่ได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้รับชัยชนะ
จนกระทั่งเมื่อถึงวันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2553 ทางเว็บหลักของเกมเดอะไอดอลมาสเตอร์
ประกาศเรื่องยกเลิกเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของบริษัทนัมโคบันไดกับเครื่องเกมอาณาเขตนี้เมื่อเวลา 01:59 น.
และขอบคุณผู้สนับสนุนทุกคนที่ดีเสมอมา[4] ถึงแม้ว่ามีการยกเลิกการให้บริการอินเทอร์เน็ตแต่ผู้เล่นยังสามารถเล่นเกมต่อไปได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต[5]
สำหรับการวางจำหน่ายเกมดิไอดอลมาสเตอร์ บนเครื่องคอนโซล(Console)
มีการปรับปรุงกราฟฟิกระดับความละเอียดสูง(High Definition) และเพิ่มตัวละครใหม่หนึ่งคนชื่อว่ามิกิ โฮชิอิ(Hoshii Miki) ลงบนเครื่อง Xbox360 เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2550
จนกระทั่งมีการออกจำหน่ายภาคล่าสุดคือดิไอดอลมาสเตอร์2 ลงบนเครื่อง Xbox360 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554
หมายเหตุ :
- ดิไอดอลมาสเตอร์ ชุดแพลทินั่ม คอลเลกชั่น(Platinum Collection) ออกจำหน่ายเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 01 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550
- ดิไอดอลมาสเตอร์ : เอสพี ทางเว็บแฟมิซึบันทึกยอดจำหน่ายสัปดาห์แรกทั้งหมด 121,271 ชุด
1. The Idolm@ster SP : Perfect Sun มียอดจำหน่าย 46,000(46,474) ชุด
2. The Idolm@ster SP : Wandering Sun มียอดจำหน่าย 35,000(35,376) ชุด
3. The Idolm@ster SP : Missing Moon มียอดจำหน่าย 39,000(39,523) ชุด
ต่อมาชุด The Best ทั้ง 3 ชุด ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553
- ดิไอดอลมาสเตอร์ : ดีเอส มีข้อมูลรายละเอียดยอดจำหน่ายสัปดาห์แรกนับตั้งแต่วันที่ 14 20 กันยายน 2009
Timeline of the Idolm@ster
เกมดิไอดอลมาสเตอร์ของเครื่องเกมอาณาเขตกับเครื่องเอกซ์บอกซ์360 และเกมดิไอดอลมาสเตอร์: ลิฟ ฟอร์ ยู
เนื้อเรื่องเกมดิไอดอลมาสเตอร์: เอสพีกล่าวถึงตัวละครที่มีชื่อว่า มิกิ โฮชิอิ(Miki Hoshii)เดิมสังกัด 765 โปรดักชั่น
เนื้อเรื่องเกมดิไอดอลมาสเตอร์: ดีเอส ผู้เล่นมีโอกาสพบกับอดีตเด็กสาวจากบริษัท 961 โปรดักชั่นทั้งหมด
เนื้อเรื่องเกมดิไอดอลมาสเตอร์2 ถัดจากเนื้อเรื่องภาคแรก 1 ปี ผู้เล่นรับบทบาทเป็นโปรดิวเซอร์คนใหม่
อนึ่ง แม้ว่าเนื้อเรื่องเกมดิไอดอลมาสเตอร์2 มีกาลเวลาผ่านไป 1 ปีนับตั้งแต่ภาคแรก
สรุป ลำดับเหตุการณ์เนื้อเรื่องของเกมดิไอดอลมาสเตอร์ เรียงตามลำดับดังนี้คือ
- ดิ ไอดอลมาสเตอร์ : เอสพี
- ดิ ไอดอลมาสเตอร์ : ดีเอส
- ดิ ไอดอลมาสเตอร์ 2
หมายเหตุ :
1. เกมดิไอดอลมาสเตอร์ภาคแรกบนเครื่องเอกซ์บอกซ์360 มีเนื้อเรื่องลับของตัวละครชื่อโฮชิอิ มิกิ(Hoshii Miki)
เนื้อเรื่องกล่าวถึงมิกิ มีสถานะชื่อเสียงไอดอลอยู่ระดับ C(Rank C) วันหนึ่งในตอนกลางคืน
(Sorakaichudentou at pixiv.net)
เมื่อถึงช่วงสุดท้ายของเกม เนื้อเรื่องกล่าวว่ากาลเวลาผ่านไป 2 ปี นับจากที่เธอเป็นสุดยอดไอดอล
สำหรับเนื้อเรื่องข้างต้นนี้ปรากฏอยู่ในเกมดิไอดอลมาสเตอร์ภาคแรกบนเครื่องเอกซ์บอกซ์360 เท่านั้น
2. สาวดุ้นที่มีชื่อว่าเรียว อากิซึกิ(Ryo Akizuki) เป็นไอดอลของภาคดีเอส
Product & Release Date
เมื่อวันที่ 18 November 2010 ทางบริษัท Bandainamco ประกาศวันวางจำหน่ายเกม The Idolm@ster 2 คือวันที่ 24 February 2010
ราคาจำหน่ายรวมภาษีคือ 8,800 Yen(ราคานี้เท่ากับเกม Final Fantasy 13 -Japan Version- ของเครื่อง PlayStation 3 แบบไม่รวมภาษี เมื่อรวมภาษีมีราคาจำหน่ายถึง 9,240 Yen)
และผู้ที่สั่งซื้อเกม The Idolm@ster 2 ชุดแรก(First Print Edition) และผู้ที่สั่งจองเกมล่วงหน้า(Pre-order Edition) มีสิทธิ์รับสิ่งของพิเศษซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
First Print Edition มีของแถม 3 ชุดดังนี้
- ปกกล่องเกมแบบระยิบระยับ (เหมือนปกเกม The Idolm@ster : Live For You [Limited Edition])
- Photos Idols จากบริษัท 765 Production จำนวน 4 แผ่น (ภาพแต่ละแผ่นคือกลุ่ม Trio Idol ของบริษัท 765 Production)
- Employee Card ของบริษัท 765 Production จำนวน 1 ใบ ซึ่งมีการระบุ Serial number และ ID Card ว่าคุณเป็นพนักงานลำดับที่เท่าไร(อันที่จริงมันหมายถึง คุณได้เกมนี้เป็นชุดลำดับที่เท่าไร)
Pre-order Edition มีของแถม 2 ชุดดังนี้คือ
- DownloadCard เพลงใหม่ที่ชื่อว่า "Little Match Girl" (นำไปใช้ใน XboxLive เท่านั้น)
- Weiß Schwarz : PR Card จำนวน 2 ใบ
First print Exclusives premium
http://www.bandainamcogames.co.jp/cs/list/idolmaster/im2/product/shop.html
มีการเปิดเผยภาพทั้งหมดเมื่อวันที่ 18 December 2010
(เรียงจากซ้ายไปขวา)
1. Animate Shop ราคาจำหน่าย 8,800 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Phone Card(บัตรโทรศัพท์) จำนวน 1 ใบ
2. AmiAmi Shop ราคาจำหน่าย 8,200 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Original Playing Card จำนวน 1 สำรับ
3. ImaJin Shop ราคาจำหน่าย 8,800 Yen(รวมภาษี)
Package 1
ของแถม : Library Card(บัตรห้องสมุด) จำนวน 1 ใบ
Package 2
ของแถม : Phone Card(บัตรโทรศัพท์) จำนวน 1 ใบ
หมายเหตุ : เว็บนี้เมื่อจำหน่ายสินค้าหมด ทางเว็บจึงลบรายละเอียดสินค้านั้น
4. Chara-ani Shop ราคาจำหน่าย 8,800 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Desk Calendar(ปฏิทินตั้งโต๊ะ) จำนวน 1 ชุด
5. Takarajima Shop ราคาจำหน่าย 7,480 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Phone Card(บัตรโทรศัพท์) จำนวน 1 ใบ
6. Comg! Shop ราคาจำหน่าย 8,800 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Phone Card(บัตรโทรศัพท์) จำนวน 1 ใบ
หมายเหตุ : เว็บนี้เมื่อจำหน่ายสินค้าหมด ทางเว็บจึงลบรายละเอียดสินค้านั้น
7. Circleksunkus Shop ราคาจำหน่าย ?,??? Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Sticker(สติ๊กเกอร์) จำนวน ? แผ่น
8. Seagull Shop ราคาจำหน่าย 8,800 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Phone Car (บัตรโทรศัพท์) จำนวน 1 ใบ
หมายเหตุ : เว็บนี้เมื่อจำหน่ายสินค้าหมด ทางเว็บจึงลบรายละเอียดสินค้านั้น
9. Comroad ราคาจำหน่าย ?,??? Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Phone Card(บัตรโทรศัพท์) จำนวน 1 ใบ
10. Sofmap ราคาจำหน่าย 8,800 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Phone Card (บัตรโทรศัพท์) จำนวน 1 ใบ
11. Toranoana ราคาจำหน่าย ?,??? Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Phone Card (บัตรโทรศัพท์) จำนวน 1 ใบ
12. Happinet ราคาจำหน่าย 8,800 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : 765 Pro Card Case(กล่องการ์ด) จำนวน 1 ชิ้น
13. Fammys ราคาจำหน่าย 8,800 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Phone Card (บัตรโทรศัพท์) จำนวน 1 ใบ
14. Messe Sanon ราคาจำหน่าย 8,800 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Phone Card (บัตรโทรศัพท์) จำนวน 1 ใบ
15. Media Land ราคาจำหน่าย 8,800 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Phone Card (บัตรโทรศัพท์) จำนวน 1 ใบ
หมายเหตุ : เว็บนี้เมื่อจำหน่ายสินค้าหมด ทางเว็บจึงลบรายละเอียดสินค้านั้น
16. Rakuten ราคาจำหน่าย 8,800 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : Card จำนวน 1 ใบ
17. Lawson
Package 1 ราคาจำหน่าย 8,280 Yen (รวมภาษี)
ของแถม : Hand Towel (ผ้าขนหนูเช็ดมือ)
Package 2 ราคาจำหน่าย 11,280 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : มี 4 ชิ้นคือ
- Hand Towel (ผ้าขนหนูขนาดเช็ดมือ)
- Producer Note (สมุดของโปรดิวเซอร์)
- Pen (ปากกา)
- Company badge (เข็มบริษัท)
18. E WonderGoo ราคาจำหน่าย 10,825 Yen(รวมภาษี)
ของแถม : มี 2 ชิ้นคือ
- Tapestry(120X45 cm.) Takatsuki Yayoi(ผ้าม่านลาย Yayoi Takatsuki)
- Cushion(หมอนอิง)
หมายเหตุ : เว็บนี้เมื่อจำหน่ายสินค้าหมด ทางเว็บจึงลบรายละเอียดสินค้านั้น
หมายเหตุ 2: ราคาเกม 8800 yen + Shipping 1500 Yen + Package 525 Yen รวมทั้งหมด 10,825 Yen
Story Intro
หมายเหตุ : เวลาภายในเกมนับเป็นสัปดาห์
สัปดาห์ที่หนึ่ง(1st Week) "จุดเริ่มต้นของแสงทองแห่งดวงดาว"
วันนี้อากาศแจ่มใส ผู้เล่นเดินไปพบเด็กสาวกำลังพูดคุยอยู่คนเดียวบริเวณสวนสาธารณะ (มีการเปลี่ยนตัวเด็กสาวทุกครั้งถ้าผู้เล่นเลือกเล่นเกมรอบใหม่)
เมื่อผู้เล่นเดินทางมาที่บริษัทเพื่อทำงานในตำแหน่งโปรดิวเซอร์เป็นวันแรก
ผู้เล่นได้พบกับคุณจุนจิโร่ ทากาจิ(Junjirou Takagi) เขาแนะนำตัวเองว่าเป็นประธานบริษัทชื่อ 765 โปรดักชั่น(อ่านแบบภาษาญี่ปุ่นว่า Narokugo Production)
เป็นบริษัททำธุรกิจทางด้านบันเทิง คุณ(หรือผู้เล่น)มีหน้าที่ช่วยเหลือและวางแผนงานให้แก่ไอดอลเพื่อให้พวกเธอมีชื่อเสียงโด่งดังทั่วประเทศญี่ปุ่นให้ได้
แต่ตอนนี้คุณโปรดิวเซอร์ต้องเลือกเด็กสาวที่สนใจมาทำงานร่วมกัน
- ผู้เล่นเลือกไอดอล 1 คนจาก 9 คน (ผู้เล่นสามารถชมวีดีโอแนะนำตัวของไอดอล โดยการกดปุ่ม Y)
หมายเหตุ : ตั้งแต่เนื้อเรื่องส่วนนี้เป็นต้นไป ผู้เล่นจะพบเนื้อเรื่องเฉพาะตัวของไอดอลตามที่ผู้เล่นเลือกนั้น แต่การดำเนินเรื่องหลักของเกมมีเนื้อหาเหมือนกันทุกคน
เมื่อผู้เล่นเลือกไอดอลเสร็จแล้ว คุณจุนจิโร่จึงอธิบายลักษณะนิสัยส่วนตัวเล็กๆของไอดอลคนนั้น จนสุดท้ายเขาบอกว่าไอดอลคนนั้นคงอยู่ที่สวนสาธารณะล่ะมั่ง? คุณลองไปหาเธอดูล่ะกัน...
ต่อมาผู้เล่นพบตัวไอดอลและแนะนำตัวว่า ผมเป็นโปรดิวเซอร์และสาเหตุที่มาพูดคุยกับเธอวันนี้เพราะเธอเป็นคนที่ถูกเลือกยังไงล่ะ!
เมื่อผู้เล่นและไอดอลเดินทางกลับมาถึงที่บริษัท พอดีที่คุณโคโทริ โอโตนาชิ(Kotori Otonashi) ตำแหน่งพนักงานของบริษัท 765 โปรดักชั่นเข้ามาแนะนำตัวกับโปรดิวเซอร์
และเธอบอกกับคุณโปรดิวเซอร์ว่า ตอนนี้เธอมารับหน้าที่เป็นผู้ฝึกสอนงานต่างๆให้แก่คุณโปรดิวเซอร์
บทเรียนแรก คุณต้องวางแผนจัดกิจกรรมของไอดอลเสียก่อนคิอ งานเปิดตัวครั้งแรกและฝึกร้องเพลง(Vocal Lesson)
- เลือกกิจกรรมงานเปิดตัวครั้งแรกและฝึกร้องเพลง(Vocal Lesson) โดยผู้เล่นสามารถเลือกเรียงลำดับตามใจชอบ
- คุณโคโทริแนะนำวิธีฝึกร้องเพลง(Vocal Lesson) โดยผู้เล่นต้องกดปุ่ม A, B, X หรือ Y ตามจังหวะที่เกมกำหนด
จบสัปดาห์ที่หนึ่ง
สัปดาห์ที่สอง(2nd Week) "กำเนิด Trio Idol"
เมื่อผู้เล่นเดินเข้ามาที่สำนักงาน คุณจุนจิโร่บอกกับคุณโปรดิวเซอร์ว่า ตอนนี้คุณโปรดิวเซอร์ต้องตั้งกลุ่ม 3 คน(Trio)แล้วนะ
เพราะการที่มีเจ้าหญิงเพียงคนเดียวในกลุ่ม ค่อนข้างที่จะสร้างความนิยมให้แก่ตัวไอดอลลำบาก ดังนั้นคุณต้องเลือกไอดอลอีก 2 คน รวมเป็น 3 คน
- เลือกไอดอลอีก 2 คน
เมื่อผู้เล่นเลือกไอดอล 2 คนเป็นที่เรียบร้อย พวกเธอเข้ามาแนะนำตัวเองกับคุณโปรดิวเซอร์
เมื่อพวกเธอแนะนำตัวเสร็จ มีการพูดคุยกันในกลุ่มเล็กน้อยและต่อมาผู้เล่นต้องตั้งชื่อกลุ่มไอดอล
- ตั้งชื่อกลุ่มไอดอล
เมื่อคุณโปรดิวเซอร์ตั้งชื่อกลุ่มเสร็จเรียบร้อย คุณโคโทริจึงเดินมาให้คำแนะนำว่า
กิจกรรมในสัปดาห์นี้ คุณโปรดิวเซอร์ต้องเลือกให้ไอดอลฝึกเต้นรำ(Dance Lesson) และฝึกการใช้สายตา(Visual Lesson)เพื่อการออกท่วงท่าเต้นรำ
- เลือกกิจกรรมฝึกเต้นรำ(Dance Lesson) และฝึกการใช้สายตา(Visual Lesson) โดยผู้เล่นสามารถเลือกเรียงลำดับตามใจชอบ
หลังจากนั้นจึงเป็นการอธิบายเลือกเสื้อผ้าให้ไอดอลสวมใส่
-เลือกเสื้อผ้าให้ไอดอลสวมใส่
เมื่อเลือกเสื้อผ้าเสร็จ พวกเธอจึงลองสวมใส่ชุดที่ผู้เล่นเลือกทันที ถ้าไอดอลคนไหนไม่ชอบชุดที่ใส่ เธอคนนั้นอาจบอกว่าชุดนี้มันดูแปลกๆหรือไม่เหมาะกับตัวเลย...
เหตุการณ์ถัดมา คุณโปรดิวเซอร์พาไอดอลไปฝึกเต้นรำ(Dance Lesson) และฝึกการใช้สายตา(Visual Lesson)
- คุณโคโทริแนะนำวิธีฝึกเต้นรำ(Dance Lesson) โดยผู้เล่นต้องกดปุ่ม LT หรือ RT ที่อยู่ด้านบนของ Microsoft Xbox 360 Controller ตามที่เกมกำหนด
- คุณโคโทริแนะนำวิธีฝึกการใช้สายตา(Visual Lesson) โดยผู้เล่นต้องกดปุ่มสี่เหลี่ยม 3 ช่องที่เคลื่อนไหวอยู่ให้ถูกต้องตามกำหนด
จบสัปดาห์ที่สอง
สัปดาห์ที่สาม(3rd Week) "เปิดตัว Trio Idol"
เมื่อผู้เล่นไปถึงสำนักงานไม่นานนัก อิโอริ มินาเซะ(Iori Minase) คิดว่าคุณโปรดิวเซอร์เป็นแขกของทางบริษัท เธอจึงพูดจาสุภาพแบบน่ารักมาก
คุณโปรดิวเซอร์บอกว่าผมเป็นพนักงานของบริษัทนี้ในตำแหน่งโปรดิวเซอร์
เมื่ออิโอริได้ยินดังนี้จึงประหลาดใจเล็กน้อยและเธอพูดกับคุณโปรดิวเซอร์แบบไม่ค่อยดีนักจนอาซึสะ มิอุระ(Azusa Miura) เดินเข้ามาเตือนแบบใจดีมาก
ต่อมาไอดอลที่ชื่อมามิ ฟุตามิ(Mami Futami) เข้ามาร่วมวงสนทนาด้วยจนกระทั่งคุณริทสึโกะ อาคิซึกิ(Ritsuko Akizuki) เดินเข้ามาแนะนำตัวเองว่า
เธอคือโปรดิวเซอร์ของกลุ่มริวโกว โคมาจิ(Ryuuguu Komachi) และต้องขอโทษคุณโปรดิวเซอร์ด้วยที่สมาชิกในวงสร้างความวุ่นวาย
เหตุการณ์ถัดมา คุณโคโทริแนะนำการเลือกเพลงว่าต้องเลือกเพลงที่เหมาะสมกับความถนัดของไอดอล เช่น ไอดอลถนัดการเต้น ผู้เล่นต้องเลือกเพลงที่เน้นการเต้น เป็นต้น
- เลือกเพลง 1 เพลงจากทั้งหมด 14 เพลง (มีเพลงที่สามารถแสดงบนเวทีได้ 5 คนคือ The Idolm@ster 2nd-mix, MEGARE! และ The world is all one!!)
- เลือกงานแสดงเปิดตัวครั้งแรกที่ชื่อ The Debut
- เลือกเสื้อผ้าให้เด็กสาวสวมใส่อีกครั้ง
- ผู้เล่นต้องดูริมฝีปากของไอดอลว่าเธอกำลังออกจังหวะการเปล่งเสียงคำว่าอะไร และผู้เล่นต้องเลือกคำตอบให้ถูกต้อง(ซึ่งเป็นคำที่ให้กำลังใจกลุ่มของตน)
- เงื่อนไขของการแข่งขันนี้คือ กลุ่มไอดอลของผู้เล่นต้องอยู่อันดับที่ 1-3 จากจำนวนผู้แข่งขันทั้งหมด 30 กลุ่ม
(แต่ตัวเกมบังคับให้อยู่อันดับสูงสุดแค่ 2 เนื่องจากอันดับหนึ่งของรายการนี้คือไอดอลจาก 961 โปรดักชั่น)
แต่ต้องใช้เสื้อผ้าและเครื่องประดับที่เพิ่มเพิ่มระดับความสามารถของกลุ่มไอดอล(Image level Unit)สูงมาก)
เมื่อการแสดงจบลง พวกเรากำลังสนทนาอยู่บริเวณหน้าลิฟต์(Lift)
โทวมะ อะมากาเซะ(Touma Amagase) เป็นไอดอลจาก 961 โปรดักชั่นโผล่มาบอกให้ไอดอลของผู้เล่นหลีกทาง
ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้เธอค่อนข้างตกใจเล็กน้อย เมื่อโทวมะเดินจากไป ไอดอลของผู้เล่นด่าโทวมะลับหลัง แต่คุณโปรดิวเซอร์กล่าวห้ามทันที
ต่อมาเมื่อพวกเรากลับไปถึงสำนักงาน คุณจุนจิโร่ชื่นชมการแสดงไอดอลของผู้เล่นและบอกกับคุณโปรดิวเซอร์ว่า...
ตอนนี้บริษัทของเรามีคู่แข่งสำคัญคือบริษัท 961 โปรดักชั่น ซึ่งแน่นอนว่างานนี้คุณโปรดิวเซอร์ต้องเหนื่อยแน่นอน
จบสัปดาห์ที่สาม
สัปดาห์ที่สี่ (4th Week) "เครื่องดื่มสะดุดรัก"
เมื่อผู้เล่นเดินทางมาถึงสำนักงานในตอนเช้า อิโอริเดินเข้ามาคุยกับผู้เล่นและสั่งให้ไปซื้อน้ำผลไม้(น้ำส้ม)ให้เธอหน่อย...
(ถ้าเลือกซื้อน้ำผลไม้ให้เธอ ผู้เล่นจะพบเหตุการณ์อิโอริ Tsundere แตกเป็นช่วงๆ แต่ถ้าเลือกไม่ซื้อน้ำผลไม้ให้ อิโอริจะโกรธมาก)
- เลือกซื้อน้ำส้มที่เครื่องขายน้ำดื่มอัตโนมัติ
เมื่อผู้เล่นเลือกซื้อน้ำผลไม้เสร็จ คุณโคโทริขอร้องให้คุณโปรดิวเซอร์ช่วยซื้อกาแฟให้เธอหน่อย ขอแบบใส่น้ำตาลน้อยๆนะค่ะ...
ตอนนี้ผู้เล่นควรทราบว่า การซื้อกาแฟที่เครื่องขายน้ำดื่มอัตโนมัติต้องเลือกจำนวนน้ำตาลที่ต้องการใส่ในกาแฟก่อน ต่อมาจึงค่อยเลือกชนิดของกาแฟ
หัวข้อขวา(Right Topic) : น้ำตาล(砂糖 satou)
ปุ่มซ้าย(Left Buttons) แปลว่า ใส่น้อย(少なめ Shouname)
ปุ่มขวา(Right Buttons) แปลว่า ใส่มาก(多め Tame)
- กดปุ่มซ้ายรัวๆจนกว่าจะได้ยินเสียง ติ๊ง
หัวข้อซ้าย(Left Topic)
กาแฟ(コーヒー kouhii )
ชาฝรั่ง(紅茶 koucha)
- เลือกกาแฟโดยการกดปุ่มค้างไว้จนกว่าจะได้ยินเสียง ติ๊ง
เมื่อคุณโปรดิวเซอร์กำลังนำกาแฟและน้ำผลไม้มาให้ แต่เผลอทำกาแฟหกจนอิโอริเตือนว่าคุณโปรดิวเซอร์ทำกาแฟหกแล้วนะ...
- กดปุ่ม A ค้างและเช็ดน้ำกาแฟ
คุณโคโทริขอบคุณที่ช่วยทำความสะอาด ส่วนอิโอริรู้สึกเขินอายที่จะกล่าวคำว่าขอบคุณ あ, あり, ありがとう (Arigatou แปลว่า ขอบคุณ)
ต่อมากลุ่มไอดอลของผู้เล่นเเดินข้ามาทักทาย และผู้เล่นต้องเลือกว่าจะสนทนากับใคร...
- เลือกไอดอลที่ผู้เล่นต้องการคุย (คำตอบสนทนาที่ผู้เล่นเลือกจะส่งผลให้ไอดอลชอบหรือไม่ชอบ ซึ่งมันส่งผลต่อกำลังใจของไอดอลคนๆนั้น)
- เลือกกิจกรรมที่ต้องการให้ไอดอลทำ
- เมื่อทำกิจกรรมทั้งหมดเสร็จ ผู้เล่นต้องเลือกไอดอลที่จะเล่นเป่่ายิ้งฉุบและต้องชนะให้ได้ (การเป่ายิ้งฉุบชนะหรือแพ้ ย่อมส่งผลต่อกำลังใจของไอดอลทั้งหมด 3 คน)
จบสัปดาห์ที่สี่
ประวัติ Jupiter
เนื้อเรื่องตอนจบของเกมดิไอดอลมาสเตอร์: เอสพี กล่าวถึงคุณโปรดิวเซอร์จากบริษัท 765 โปรดักชั่นสามารถผลักดันเด็กสาวในสังกัดของตนอยู่ฐานะสุดยอดไอดอลเป็นผลสำเร็จ
จนทำให้คุณทาคาโอะ(Takao) ผู้มีตำแหน่งเจ้าของบริษัท 961 โปรดักชั่นรู้สึกผิดหวังไอดอลของตนอย่างรุนแรง
เขาจึงฝากฝังเด็กสาวที่สังกัดบริษัท 961 โปรดักชั่นทั้งหมดคือทีมทรีโอ(Trio) ชื่อว่า Project Fairy คือ
ทากาเนะ ชิโจว(Takane Shijou), ฮิบิกิ กานาฮะ(Hibiki Ganaha) และมิกิ โฮชิอิ(Miki Hoshii)
เข้ามาสังกัด 765 โปรดักชั่นแทน และต่อมาไม่นานนัก(ไม่เกิน 1 ปี) คุณทาคาโอะได้เริ่มวางแผนงานใหม่คือจัดทีม Boyband
โดยมีไอดอลเพศชายในสังกัดจำนวน 3 คนใช้ชื่อทีม Trio นี้ว่า Jupiter ซึ่งทางเว็บของบริษัทคือ 961pro.jp มีการประกาศข้อมูลข้างต้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2010
พร้อมกับโฆษณาตัวแรกของบริษัทโดยเปิดเผยชื่อเพลงว่า \'Alice or Guilty\'
ชื่อ : ชูว์ตะ มิตะไร(御手洗翔太, Mitarai Shouta)
อายุ : 14
ส่วนสูง : 163 เซนติเมตร
น้ำหนัก : 49 กิโลกรัม
วันเกิด : 20 เมษายน
กลุ่มเลือด : AB
สัดส่วนร่างกาย (หน้าอก-เอว-สะโพก) : 77-60-79
งานอดิเรก : นอน
เพลงที่ถนัดเฉพาะตัว (Personal songs) : -
เพลงประจำตัว (Image songs) : -
สีประจำตัว : -
สมาชิกครอบครัว : -
ประวัติ
ชูว์ตะมีอายุน้อยที่สุดในกลุ่ม Jupiter หลายคนคิดว่าเขาเป็นเด็กที่ซื่อๆ แต่แท้จริงแล้วเขาเป็นเด็กแก่แดดเหมือนฝาแฝดฟุตามิ(Futami)
ชื่อ : โทวมะ อะมากาเซะ(天ヶ瀬冬馬, Amagase Touma)
อายุ : 17 ปี
ส่วนสูง : 175 ซ.ม.
น้ำหนัก : 57 กิโลกรัม
วันเกิด : 03 มีนาคม
กลุ่มเลือด : B
สัดส่วนร่างกาย (หน้าอก-เอว-สะโพก) : 81-65-80
งานอดิเรก : เล่นฟุตบอล, ทำอาหาร และสะสม Figure
เพลงที่ถนัดเฉพาะตัว (Personal songs) : -
เพลงประจำตัว (Image songs) : -
สีประจำตัว : -
สมาชิกครอบครัว : -
ประวัติ
โทวมะเป็นไอดอลสังกัดบริษัท 961 โปรดักชั่นและเป็นหัวหน้ากลุ่ม Jupiter
เขามีความสามารถที่ยอดเยี่ยมมากจนถูกคาดหมายได้รับรางวัลในงาน Idol Academy
เพราะเขาสามารถต่อสู้เอาชนะกลุ่ม Ryuuguu Komachi ด้วยตัวคนเดียวจนเขาได้รับความนิยมจากสาวๆมาก
และเขาอาจสามารถเอาชนะกลุ่มไอดอลของบริษัท 765 โปรดักชั่นได้ ถ้าระบบเสียงของเวทีไม่เสียหายจากการที่เกิดฝนตกและฟ้าฝ่าจนต้องหยุดการแข่งขันกลางคัน
โทวมะมีนิสัยขี้หงุดหงิด และจริงจังในเรื่องการแข่งขันมาก เขาไม่ชอบให้คนอื่นมาขัดขวางเป้าหมายหนึ่งเดียวคือเป็นสุดยอดไอดอล
และไม่ชอบเห็นหน้าไอดอลที่ไม่มีความสามารถ โดยเฉพาะไอดอลจากบริษัท 765 โปรดักชั่นที่โทวมะเรียกพวกเธอว่า ด้อยความสามารถ และ อยู่ในระดับต่ำ
ซึ่งโทวมะคิดว่าตัวเขากำลังเล่นเกมแบบเด็กๆกับไอดอลจากบริษัท 765 โปรดักชั่น อนึ่งตัวโทวมะมีบุคลิคภาพแบบ ซึนเดเระ(Tsundere)
ชื่อ : โฮกุโตะ อิจุนิน(伊集院北斗, Ijuuin Hokuto)
อายุ : 20
ส่วนสูง : 180 เซนติเมตร
น้ำหนัก : 64 กิโลกรัม
วันเกิด : 14 กุมภาพันธ์
กลุ่มเลือด : O
สัดส่วนร่างกาย (หน้าอก-เอว-สะโพก) : 86-76-87
งานอดิเรก : เล่นเปียโน, ไวโอลิน และจีบสาว
เพลงที่ถนัดเฉพาะตัว (Personal songs) : -
เพลงประจำตัว (Image songs) : -
สีประจำตัว : -
สมาชิกครอบครัว : -
ประวัติ
โฮกุโตะเป็นคนที่มีอายุมากที่สุดในกลุ่ม Jupiter เขาเป็นคนใจเย็นและมีอารมณ์สุนทรีย์มากโดยเฉพาะเวลาที่เขากำลังจีบสาว
สำหรับสาวๆที่เขาหมายปองเช่น มาโคโตะ(Makoto) เขาจึงหาเวลาว่างๆเดินทางไปหาเธอเสมอไม่เว้นแม้แต่ที่บริษัท 765 โปรดักชั่น
แต่สำหรับมาโคโตะแล้ว เธอไม่ถูกชะตากับโฮกุโตะเท่าใดนัก
หมายเหตุ : มีเนื้อหาในรายการวิทยุ The Idolmaster Station
ซึ่งเล่าเรื่องราวชีวิตประจำวันของกลุ่มจูปิเตอร์ สำหรับภาพวิดีโอนี้ทางแฟนเกมเป็นผู้ทำขึ้น... (ฮาสุดๆ)
Idol Profile
ตารางความสามารถและข้อมูลส่วนตัวของไอดอลที่สังกัดบริษัท 765 โปรดักชั่น
List of Musical Composition
ตารางรายชื่อเพลงและองค์ประกอบของเพลง
อธิบาย
Image(ภาพลักษณ์) หมายถึง เพลงนั้นให้ความสำคัญกับสิ่งใด ยกตัวอย่างเช่น เพลง my song เป็นเพลงที่ให้ความสำคัญกับเสียงร้องมาก เป็นต้น
BPM ย่อมาจาก Beat Per Minute หรือความเร็วของจังหวะเพลงที่ปรากฏต่อนาที
Appeal Number คือ จำนวนปุ่มที่ปรากฏในเพลงนั้นๆ
QUINTET หมายถึง เพลงนี้สามารถทำการแสดง 5 คนได้หรือไม่?
Main Menu
1. プロデュース (Purodeyuusu) Produce
1.1活動開始 (Katsudou Kaishi) Start Activity : เลือกเล่นเกมใหม่(มีทั้งหมด 12 ช่อง) และเลือกเล่นเกมต่อจากที่เล่นค้างไว้
1.2活動報告 (Katsudou Houkoku) Activity Report : รายงานรายละเอียดต่างๆของเกมที่ผู้เล่นทำได้
2. ステージフォーユー (Suteji fo yu) Stage4you : เมื่อเล่นเกม The Idolm@ster2 เป็นครั้งแรก
ผู้เล่นต้องเล่นเกมผ่านไป 2 สัปดาห์ก่อนจึงมีการปลดล็อคส่วนนี้ เมื่อผู้เล่นปลดล็อคเรียบร้อยจึงพบว่ามีเวทีแสดงทั้งหมด 6 ฉากและ 14 เพลง
ในส่วนของเสื้อผ้าการแต่งตัว มีการแบ่งออกเป็น 5 ช่องใหญ่ซึ่งผู้เล่นสามารถจัดชุดเสื้อผ้าล่วงหน้าได้ตามใจชอบ
สำหรับเสื้อผ้าตอนเริ่มต้นของเกมมีทั้งหมด 4 ชุดให้เลือก ส่วนเครื่องประดับส่วนหัว, ลำตัว, แขน และขามี 6 ชิ้นในแต่ละส่วน
(หมายเหตุ : มีหางแมวและมือแมวมาให้ตั้งแต่ต้นเกม ส่วนเท้าแมวและหูแมวต้องซื้อที่ร้านขายเสื้อผ้าเท่านั้น)
3. 765ショップカタログ (Narokugo Shoppu Katarogu) 765 Shop Catalog :
เป็นรายละเอียดสินค้าของ 765 โปรดักชั่น เช่น เสื้อผ้าหรือเพลงใหม่ของไอดอล ผู้เล่นสามารถเลือกซื้อสินค้าผ่านทาง XboxLive เท่านั้น
สรุปเป็น DLC (DownLoadable Content) ที่ต้องเสียเงินจริงซื้อสินค้า
4. アルバム (Arubamu) Album : แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนที่เก็บรวมรูปภาพ และส่วนที่เก็บวีดีโอบันทึกการแสดง
5. メール (Me ru) E-mail : ตามเนื้อเรื่องของเกม เมื่อผู้เล่นได้รับอีเมล์เข้ามาทางโทรศัพท์มือถือ อีเมล์นั่นจะถูกรวบรวมเก็บเอาไว้ในส่วนนี้
6. ランキング (Rankingu) Ranking : เป็นการโชว์กลุ่มไอดอลของเราทาง XboxLive ว่ามีแฟนเพลงไอดอลจำนวนเท่าไร เป็นต้น
7. オプション (Opushon) Option : เป็นส่วนปรับแต่งของเกม
Stage4you
เป็นส่วนของการจัดแสดงไอดอลที่ผู้เล่นสามารถปรับแต่งสิ่งต่างๆที่ผู้เล่นต้องการชม ได้แก่
การจัดกลุ่มไอดอล เลือกเพลง เลือกเสื้อผ้าเครื่องประดับ และเลือกเวทีการแสดง
สำหรับรายชื่อคำสั่งมีดังนี้
Unit Editing (ユニット編集 Yunitto Henshuu)
Coordinates Selection (コーディネート選択 Ko-deine-to Sentaku)
Song Selection (楽曲選択 Gakkyoku Sentaku) Song Selection
Stage Selection (ステージ選択 Sute-ji Sentaku)
Game System
CD singles Sales Detail
จำนวนยอดขาย CD singles มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากและเป็นหนึ่งในเป้าหมายอันสำคัญที่จะส่งผลต่อฉากจบของเกม
ดังนั้นผ่นควรทำความเข้าใจปัจจัยพื้นฐานก่อน
ยอดขาย CD singles มีปัจจัยพื้นฐานคือ
- จำนวนแฟนเพลง(Number of Fans)
- จำนวนคะแนนที่ผู้เล่นทำได้ในการแสดง(Stage Performance Score)
ส่วนนี้ส่งผลเฉพาะเพลงที่ idol ทำการแสดงนั้นๆ
- ยอดขายพิเศษ(Sales Bonus)
ยอดขายพิเศษส่งผลต่อยอดขาย CD singles ยกตัวอย่างเช่น
กลุ่มไอดอลเปิดตัวเพลงที่หนึ่ง ซึ่งทำให้คนทั่วไปเริ่มรู้จักและเริ่มมีแฟนเพลงจำนวน 5,000 คน มียอดขายอัลบั้มเพลงอยู่ที่ 2,500 แผ่น
เมื่อกลุ่มไอดอลออกจำหน่ายเพลงที่สอง แฟนเพลงเดิมจำนวน 5,000 คนกลายเป็นแฟนเพลงเต็มตัว และต้องมาซื้ออัลบั้มเพลงที่สองจำนวน 2,500 แผ่นในช่วงแรกทันที เป็นต้น
อนึ่ง ยอดขายพิเศษนี้เกิดขึ้นเฉพาะเมื่อมีการเปิดตัวเพลงใหม่เท่านั้น
- ยอดขายที่คำนวณตามค่าสัมประสิทธิ์(Sales Coefficient)
ยอดจำหน่าย CD singles มากที่สุดในสัปดาห์แรก และสัปดาห์ต่อมายอดขายจะลดลงไปเรื่อยๆทุกสัปดาห์
วิธีเพิ่มยอดขาย CD Singles
ตามปกติ ยอดขาย CD singles ลดลงนับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 5 เป็นต้นไปจนกระทั่งยอดขายหยุดลง
ดังนั้นผู้เล่นต้องผลักดันยอดขาย CD singles ของคุณคือ การแสดงบนเวทีต่างๆ
รายละเอียดเวทีการแสดง(List of stage performance)
คำแนะนำ : ข้อมูลวิธีเพิ่มยอดขาย CD Singles ที่ปรากฏนี้ อาจเป็นข้อมูลที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในภายหลัง
เพราะอาจไม่ใช่ข้อมูลที่แท้จริง ดังนั้นผู้เขียนขอแนะนำว่าผู้เล่นควรอ่านเอาไว้เป็นแนวทางในการเล่น
- Keep(การควบคุมยอดขาย)
เป็นการควบคุมยอดขายไม่ให้ลดลง วิธีการควบคุมยอดขายคือ เลือกการแสดง Live
อนึ่ง ผู้เล่นไม่ควรเลือกเพลงเก่า ต้องเลือกเพลงล่าสุดที่แสดงเท่านั้น ยกเว้นผู้เล่นเลือกเพลงเก่าให้เป็นเพลงที่แสดงอยู่ล่าสุดก่อนหน้าที่จะเลือกการแสดง Live)
- Break(ระเบิดยอดขาย)
เป็นการเพิ่มยอดขายโดยผู้เล่นเลือก Festival เพื่อต่อสู้กับไอดอลกลุ่มอื่น
อนึ่ง ผู้เล่นไม่ควรเลือกเพลงใหม่ ต้องเลือกเพลงเก่าที่แสดงอยู่ล่าสุดเท่านั้น และต้องเป็นเพลงที่มีการวางจำหน่ายมากกว่า 10 สัปดาห์ขึ้นไป
- Revival(การฟื้นฟูเพิ่มยอดขาย)
ถ้า CD singles เพลงนั้นมีการวางจำหน่ายมากกว่า 10 สัปดาห์ขึ้นไป
ผู้เล่นสามารถเลือกฟื้นฟูยอดขายด้วยการเลือกการแสดง National Auditions หรือ Area-specific Auditions
และเลือกเพลงเก่าๆเพื่อฟื้นฟูเพิ่มยอดขายเพลงเก่าทั้งหมด ยกเว้นเพลงใหม่ล่าสุดที่ไม่มีการฟื้นฟูยอดขาย ดังนั้นผู้เล่นไม่ควรเลือกเพลงใหม่ล่าสุดทำการแสดง
- Super Break(ระเบิดยอดขายถึงขีดสุด)
เป็นการเพิ่มยอดขายอย่างรวดเร็วมาก มีเฉพาะในการแสดง Quintet Live เท่านั้น ซึ่งเป็นการแสดงบนเวทีทั้งหมด 5 คน
ผู้เล่นจำเป็นต้องเลือกเพลงใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวตั้งแต่สัปดาห์แรกจนถึงสัปดาห์ที่สี่เท่านั้น
แต่มีข้อเสียคือ การแสดงบนเวทีทั้ง 5 คนอาจล้มเหลวได้ง่ายถ้าไอดอลคนที่ 4 และคนที่ 5 ไม่มาทำการแสดงด้วย
เนื่องจากเธอคนนั้นอาจไม่ได้รับความนิยมและไม่ชอบบางสิ่งบางอย่าง (ตอนเลือกไอดอลคนที่ 4-5 สังเกตสัญลักษณ์ใบหน้าที่อยู่ด้านล่างของจอ)
คำถาม : เหตุผลอะไรที่ไม่มีการเพิ่มยอดขายเพลงใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไปไม่กี่สัปดาห์?
ผู้เขียนสันนิฐานว่าการเปิดตัวเพลงใหม่ย่อมมียอดจำหน่ายที่สูงขึ้นเรื่อยๆตั้งแต่สัปดาห์แรกจนถึงสัปดาห์ที่สี่
และผู้เล่นสามารถใช้ช่วงเวลานี้ผลักดันยอดขายเพลงเก่าหรือฝึกความสามารถของไอดอลให้สูงขึ้น
ดังนั้นผู้เล่นจึงไม่จำเป็นต้องเพิ่มยอดขายเพลงใหม่ ยกเว้นผู้เล่นเลือกการแสดง Quintet Live เท่านั้น
คำแนะนำ : วิธีดูรายละเอียดจำนวนยอดขายเพลงและจำนวนแฟนเพลงไอดอลอย่างง่ายคือ
ผู้เล่นต้องกดปุ่ม Start และเลือกดูหัวข้อที่ 3 ซึ่งส่วนนี้เริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่สามเป็นต้นไป
Idol Compatibility
วิธีการจัดกลุ่มไอดอล ผู้เล่นควรเลือกไอดอลที่มีความเข้ากันได้
เพราะไอดอลบางคนอาจไม่ถูกชะตากับไอดอลคนอื่นๆ เนื่องจากคิดว่าไอดอลคนนั้นไม่เหมาะสมที่จะเป็นหัวหน้ากลุ่มหรือสมาชิกในกลุ่ม
ถ้าผู้เล่นเลือกสลับตำแหน่งหัวหน้าไอดอลคนที่รู้สึกไม่ดีต่อไอดอลอีกคน
บทสนทนาจะต่างจากเดิมและอารมณ์ของไอดอลไม่ดีเล็กน้อยจนถึงมากที่สุด
อนึ่งการจัดกลุ่มที่ไม่เข้ากัน ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของไอดอลมากกว่าการแข่งขัน
ผู้เขียนขอยกตัวอย่าง จิฮายะเป็นหัวหน้ากลุ่มไอดอลอยู่เดิม
แต่ต่อมาผู้เล่นเลือกที่จะเปลี่ยนให้ยูกิโฮะ หรือมามิเข้ามาเป็นหัวหน้ากลุ่มแทน
เมื่อผู้เล่นเปลี่ยนหัวหน้ากลุ่มเสร็จ จิฮายะรู้สึกไม่พอใจเป็นอย่างมากที่ยูกิโฮะ หรือมามิได้เป็นหัวหน้า เป็นต้น
ตารางความเข้ากันได้ของไอดอล
หมายเหตุ :
- แถบสีชมพู(Pink Bar) หมายถึง หัวหน้ากลุ่ม(Leader)
- แถบสีส้ม(Orange Bar) หมายถึง สมาชิกกลุ่ม(Member)
- Good หมายถึง ระดับความรู้สึกที่ดี
- Normal หมายถึง ระดับความรู้สึกธรรมดา
- X หมายถึง ระดับความรู้สึกที่ไม่ดี
คำแนะนำ : การจัดกลุ่มไอดอลที่ดีควรจัดกลุ่มให้ตรงกับภาพลักษณ์ของเพลงอย่างน้อย 2 คน
สำหรับรายชื่อไอดอลที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆมีดังนี้
ไอดอลที่เชี่ยวชาญ Vocal ได้แก่ จิฮายะ(Chihaya) ทากาเนะ(Takane) และ ฮารุกะ(Haruka)
ไอดอลที่เชี่ยวชาญ Dance ได้แก่ ฮิบิกิ(Hibiki) มาโคโตะ(Mokoto) และ จิฮายะ(Chihaya)
ไอดอลที่เชี่ยวชาญ Visual ได้แก่ มิกิ(Miki) ทากาเนะ(Takane) และ ยูกิโฮะ(Yukiho)
The Relationship between Producer and Idol
ความสัมพันธ์ระหว่างคุณโปรดิวเซอร์และไอดอลมีผลต่อการวางแผนงานของคุณโปรดิวเซอร์
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อไอดอลมีอารมณ์ไม่ดีมากๆ พวกเธออาจไม่มาทำกิจกรรมทั้งสัปดาห์ เป็นต้น
เหตุการณ์ความสัมพันธ์แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ ช่วงเช้าและช่วงกลางคืน โดยแต่ละช่วงมีความแตกต่างดังนี้
- ช่วงเช้า ผู้เล่นสนใจพูดคุยกับไอดอลคนไหนหรือไอดอลคนใดที่มีอารมณ์ไม่ดีอยู่ ผู้เล่นควรเลือกไอดอลคนนั้น
เมื่อเลือกเสร็จ ไอดอลคนนั้นอาจบ่นเรื่องงานหรืออยากทำกิจกรรมบางอย่างในสัปดาห์นี้
ผู้เล่นมีหน้าที่ต้องเลือกคำตอบให้ถูกต้อง โดยมีการสุ่มคำตอบ 2 รูปแบบคือ
1. เลือกคำตอบไอดอลทั้ง 3 คนพอใจ หรือไอดอลทั้ง 3 คนไม่พอใจ
2. เลือกคำตอบไอดอลสองคนพอใจแต่ไอดอลที่ผู้เล่นเลือกไม่พอใจ หรือไอดอลที่ผู้เล่นเลือกพอใจแต่ไอดอลทั้งสองคนไม่พอใจ
คำตอบที่ถูกต้องคือ
1. ไอดอลทั้ง 3 คนพอใจ
2. ไอดอลสองคนพอใจแต่ไอดอลที่ผู้เล่นเลือกไม่พอใจ
- ช่วงกลางคืน เป็น Minigame จำนวน 2 เกมโดยมีการสุ่มแต่ละเกมคือ
1. เกมเป่ายิ้งฉุบกับไอดอล
2. เดาน้ำเสียงของไอดอล ซึ่งจะมีการแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
2.1 ไอดอลพูดคนเดียว ผู้เล่นต้องเลือกว่าไอดอลคนนั้นคือใคร
2.2 ไอดอลพูดพร้อมกันสองคน ผู้เล่นต้องเลือกว่าไอดอลที่ไม่ออกเสียงนั้นคือใคร
เพิ่มอารมณ์เชิงบวก
- เลือกคำตอบสนทนาที่ไอดอลทั้ง 3 คนพอใจในตอนเช้า
- เลือกคำตอบสนทนาเชิงลบในตอนเช้า โดยที่ไอดอลสองคนพอใจแต่ไอดอลที่ผู้เล่นเลือกไม่พอใจ
- เวลากลางคืน ผู้เล่นเลือกคำตอบ Minigame ถูกต้อง(เป่ายิ้งฉุบหรือเดาน้ำเสียงของไอดอลถูกต้อง)
- ชนะในงานแสดง Audition, Festival และ Live
- ยอดขาย CD Singles เพิ่มขึ้น
- เลือกไป ショップ (Shoppu) Shop
- เลือกไป おやすみ (Oyasumi) Holiday or Rest(ไอดอลไม่ทำกิจกรรมทั้งสัปดาห์)
เกิดอารมณ์เชิงลบ
- เลือกคำตอบสนทนาเชิงลบในตอนเช้า
- เวลากลางคืน ผู้เล่นเลือกคำตอบ Minigame ไม่ถูกต้อง(เป่ายิ้งฉุบหรือเดาน้ำเสียงของไอดอลไม่ถูกต้อง)
- แพ้ในงานแสดง Audition, Festival และ Live
- ยอดขาย CD Singles ลดลง
Unit Combination/Mood Statuses
(ความเข้ากันได้และอารมณ์ของกลุ่มไอดอล)
ความสัมพันธ์ในกลุ่มไอดอลคล้ายคลึงกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคุณโปรดิวเซอร์และไอดอล
แต่มีการเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับอารมณ์ของไอดอล ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผู้เล่นให้ไอดอลทำกิจกรรมหนักๆหลายสัปดาห์ พวกเธออาจทำหน้าตาเหนื่อยไม่ยิ้ม
หรือผู้เล่นให้กลุ่มไอดอลฝึกร้องเพลง 2-3 สัปดาห์ติดต่อกันโดยที่มีคนหนึ่งไม่ถนัดร้องเพลง จึงทำให้ค่าความสามารถของเธอน้อยและเรียนรู้ตามไม่ทันคนอื่น เป็นต้น
かしましい (Kashimashii) Noisy : ทุกคนในกลุ่มมีความสามารถอยู่ในระดับดี และทำกิจกรรมต่างๆได้ดี
小躍り (Koodori) Dancing of joy : ไอดอลบางคนในกลุ่มมีความเชี่ยวชาญเรื่องการเต้น ถ้าคุณโปรดิวเซอร์นำเธอไปเรียนเต้นมาแล้ว
きらり (Kirari) Sparkle, Shining : ไอดอลบางคนในกลุ่มมีความเชี่ยวชาญเรื่องการใช้สายตา(Visual) ถ้าคุณโปรดิวเซอร์นำเธอไปเรียนเต้นมาแล้ว
鼻歌 (Hanauta) Humming : ไอดอลบางคนในกลุ่มมีความเชี่ยวชาญเรื่องการร้องเพลง ถ้าคุณโปรดิวเซอร์นำเธอไปเรียนเต้นมาแล้ว
普通 (Futsuu) Normal : กลุ่มไอดอลมีความสมดุล และทำกิจกรรมต่างๆได้ตามปกติ
どん引き (Donhiki) Turn off : มีไอดอลคนหนึ่งมีระดับความสามารถมาก แต่ไอดอลที่เหลือสองคนเรียนรู้ตามไม่ทัน
らぶすね (Rabusune) Lab Leg : มีไอดอลสองคนที่มีระดับความสามารถมาก และทำกิจกรรมได้ดีขึ้นกว่าปกติ แต่มีไอดอลคนหนึ่งที่เรียนรู้ตามไม่ทัน
喧嘩 (Kenka) Quarrel : มีไอดอลสองคนในกลุ่มที่ร่วมต่อสู้และทำงานกันได้ดี แต่มีไอดอลคนหนึ่งที่เรียนรู้ตามไม่ทัน
倦怠 (Kentai) Fatigue : ไอดอลบางคนรู้สึกเหนื่อยล้า และทำกิจกรรมต่างๆไม่ดีนัก
ちょー倦怠 (Chirukentai) Extreme Fatique : เลวร้ายที่สุด!!
ぎすぎす (Gisugisu) Strained Atmosphere : กลุ่มไอดอลไม่มีความสามัคคี และทำกิจกรรมต่างๆไม่ดีนัก
Idol Academy (IA)
Idol Academy คืองานประกาศรางวัลไอดอลแห่งปีของประเทศญี่ปุ่น
และเป็นเป้าหมายสูงสุดของเกมคือ กลุ่มไอดอลของผู้เล่นได้รับรางวัลในงาน Idol Academy
โดยแต่ละรางวัลส่งผลต่อฉากจบของเกม คือ
Bad Ending : ไม่ได้รับรางวัลแม้แต่ชิ้นเดียว
Normal Ending : ได้รับรางวัลอื่นที่ไม่ใช่ IA Big prize (Grand Prix)
Good Ending : ได้รับรางวัล IA Big prize (Grand Prix) เพียงรางวัลเดียว
True Ending : ได้รับรางวัลทั้งหมด
เงื่อนไขรางวัล Idol Academy
Producer Estimation (プロデューサー評価 Purodeyu-sa- Hyouka)
เมื่อผู้เล่นจบเกม มีการรายงานผลคะแนนทั้งหมดที่ผู้เล่นสามารถทำได้ โดยคิดอันดับ Rank ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ตารางการจัดอันดับ Rank
หมายเหตุ :
- Level image Group คือ ระดับของกลุ่มไอดอล
- High Score คือ รายงานจำนวนคะแนนสูงสุดที่ผู้เล่นสามารถทำได้ในการแข่งขัน
- Total Music Sales คือ จำนวนยอดขาย CD singles ทั้งหมดจำนวน 5 เพลง
- Highest Chart Ranking คือ อันดับเพลงที่มียอดขายสูงที่สุด ซึ่งนับเพลงที่มียอดขายสูงที่สุดเพียง 1 เพลงเท่านั้น
- Total Roll back คือ จำนวนที่ผู้เล่นย้อนกลับไปเริ่มเล่นเกมสัปดาห์ใหม่ก่อนหน้านั้น ซึ่งเกิดขึ้นเพียง 2 เหตุการณ์คือ
สัปดาห์ที่ 21 ผู้เล่นไม่สามารถเอาชนะกลุ่มริวโกว โคมาจิ และสัปดาห์ที่ 54 ผู้เล่นไม่สามารถเอาชนะกลุ่มจูปิเตอร์
โดยตัวเกมทำการย้อนเวลากลับไปหนึ่งหรือสองสัปดาห์ ซึ่งคราวนี้มีเหตุการณ์เพิ่มความสามารถของไอดอลมากยิ่งขึ้นเพื่อกลับไปแข่งขันอีกครั้ง
การย้อนเวลากลับไปหนึ่งหรือสองสัปดาห์มีการฝึกพิเศษที่ชื่อว่า การฝึกสุดโหด(Training from Hell)
วิธีการฝึกคือ ผู้เล่นมีหน้าที่สั่งให้ไอดอลลดความเร็วหรือเพิ่มความเร็วในการวิ่ง เพื่อให้ไอดอลทั้งสามคนวิ่งอยู่ใกล้ๆกันตามภาพ
ส่วนค่า Stamina คือค่าแรงกายของไอดอล ผู้เล่นต้องสังเกตว่าไอดอลมีแรงกายเหลืออยู่เท่าไร
แต่ถ้าแรงกายของไอดอลไม่เหลือเลย ผู้เล่นไม่ควรสั่งไอดอลคนนั้นจนกว่าค่าแรงกายของไอดอลเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติ
อนึ่ง ถ้าไอดอลของผู้เล่นมียอดขายเพลงและจำนวนแฟนเพลงอยู่ในระดับต่ำจนถึงสัปดาห์ที่ 20 และสัปดาห์ที่ 53
ตัวเกมอาจบังคับให้ผู้เล่นเลือกการฝึกสุดโหดโดยอัตโนมัติ
GamePlay
Coordinates Selection
ผู้เล่นสามารถเลือกเสื้อผ้าให้แก่ไอดอลเพื่อสวมใส่โดยเสื้อผ้าแต่ละชุดมีภาพลักษณ์แตกต่างกันไป
เช่น เสื้อผ้าแบบ Luxury มีภาพลักษณ์ Dance เมื่อไอดอลสวมใส่จึงเป็นการเพิ่มค่า Dance เป็นต้น
และเสื้อผ้าเครื่องประดับทุกชิ้นส่งผลต่อการเพิ่มระดับความสามารถของกลุ่มไอดอล(Image level Unit)
นอกจากนี้ผู้เล่นสามารถจัดเสื้อผ้าล่วงหน้าตามต้องการเพราะมีช่องเก็บเสื้อผ้าไอดอลถึง 5 ช่อง
สำหรับรายละเอียดเสื้อผ้าและเครื่องประดับมีทั้งหมด 6 ส่วนคือ
- Costume (เสื้อผ้า)
- Accessory/Head (เครื่องประดับส่วนหัว)
- Accessory/Body (เครื่องประดับลำตัว)
- Accessory/Hand (เครื่องประดับแขน)
- Accessory/Leg (เครื่องประดับขา)
- Amulet (เครื่องราง)
จำนวนเสื้อผ้าตอนเริ่มต้นของเกมมีทั้งหมด 4 ชุดให้ผู้เล่นเลือก
ส่วนเครื่องประดับส่วนหัว, ลำตัว, แขน และขามี 6 ชิ้นในแต่ละส่วน
(มีหางแมวและมือแมวมาให้ตั้งแต่ต้นเกม ส่วนเท้าแมวและหูแมวต้องซื้อที่ร้านขายเสื้อผ้าเท่านั้น)
เมื่อผู้เล่นเลือกเสื้อผ้าเสร็จ พวกเธอจึงลองสวมใส่ชุดที่ผู้เล่นเลือกทันที
ถ้าไอดอลคนไหนไม่ชอบชุดที่ใส่ เธอคนนั้นอาจบอกว่าชุดนี้มันดูแปลกๆหรือไม่เหมาะกับตัวเลย...
วิธีการซื้อเสื้อผ้าเพิ่มเติมคือ ผู้เล่นต้องเลือกกิจกรรม ショップ(Shoppu) Shop เท่านั้น
ยกเว้นเครื่องรางที่ไม่มีการวางขายอยู่ตามร้านค้าในเกม
ผู้เล่นสามารถซื้อได้ต่อเมื่อไอดอลของผู้เล่นทำการแข่งขันจนได้รับชัยชนะหรือผ่านเงื่อนไข
ซึ่งเมื่อถึงตอนจบของงาน ผู้เล่นได้พบคนมาเสนอขายเครื่องราง
โดยมีการอธิบายสรรพคุณเครื่องรางของเขาว่ามีความสามารถอย่างไร
ผู้เล่นอาจเลือกคำตอบว่าซื้อหรือไม่ซื้อเครื่องรางของเขา
อนึ่ง ถ้าผู้เล่นไม่ซื้อเครื่องรางของเขา ผู้เล่นต้องเสียสิทธิ์ในการซื้อเครื่องรางนี้ทันที
ยกตัวอย่าง เมื่อไอดอลของผู้เล่นชนะการแข่งขันในจังหวัด AA ต่อมามีผู้เสนอขายเครื่องรางชื่อว่า A
ถ้าผู้เล่นไม่ซื้อเครื่องรางของเขา ผู้เล่นจึงไม่มีสิทธิ์ในการซื้อเครื่องรางที่ชื่อว่า A อีกต่อไป
จนกว่าผู้เล่นเลือกเล่นเกมรอบใหม่และแข่งขันในจังหวัดที่ชื่อ AA เท่านั้น เป็นต้น
สำหรับราคาเครื่องรางค่อนข้างแพง เพราะเครื่องรางราคาเริ่มต้นที่ 15,000 และมีราคาสูงสุดถึง 50,000
แต่เมื่อคำนวณค่าเฉลี่ยทั้งหมดมีประมาณ 22,340 เท่านั้น
หมายเหตุ : เสื้อผ้า เครื่องประดับ และเครื่องรางที่ผู้เล่นซื้อไว้ไม่หายไปในการเล่นเกมรอบใหม่
ดังนั้นผู้เล่นสามารถแต่งตัวไอดอลได้ตั้งแต่เริ่มเกมใหม่ทันที
Schedule Select(เลือกกิจกรรม)
ผู้เล่นสามารถเลือกสถานที่(จังหวัดหรือภูมิภาค)ในประเทศญี่ปุ่นว่าผู้เล่นต้องการให้ไอดอลทำกิจกรรมใด
เช่น งานแสดง Concert ทาง TV หรือแม้กระทั่งเลือกกิจกรรมการโชว์ตัวไอดอลเพื่อเพิ่มแฟนเพลง และเพิ่มยอดจำหน่าย Album ในแต่ละสัปดาห์
レッスン (ressun) Lesson
ちょーレッスン (Cho- ressun) Super Lesson
全国オーディション (Zengoku O-deishon) Nation Audition
エリアオーディション (Eria O-deishon) Area Audition
トリオライブ (Torio Raibu) Trio Live
クインテットライブ (Kuintetto Raibu) Quintet Live
フェス(ティバル) (fesuteibaru) Festival
通常営業 (Tsuujou Eigyoubu) Promotion
資金営業 (Shikin Eigyoubu) Publicity
ショップ (Shoppu) Shop
おやすみ (Oyasumi) Holiday or Rest
Lesson(การฝึกซ้อม)
เป็นส่วนของการฝึกซ้อมรูปแบบต่างๆให้แก่ไอดอล ซึ่งผู้เล่นต้องวางแผนกิจกรรมว่าควรให้ไอดอลต้องฝึกซ้อมในเรื่องใด
โดยมีตัวเลือกการฝึกซ้อม 3 รูปแบบคือ
1. ฝึกร้องเพลง(ボーカルレッスン Vocal Lesson) สัญลักษณ์สีแดง
วิธีฝึกคือ ผู้เล่นต้องกดปุ่ม A, B, X หรือ Y ตามจังหวะที่เกมกำหนด
2. ฝึกเต้นรำ(ダンスレッスン Dance Lesson) สัญลักษณ์สีน้ำเงิน
วิธีฝึกคือ ผู้เล่นต้องกดปุ่ม LB หรือ RB ที่อยู่ด้านบนของ Microsoft Xbox 360 Controller ตามที่เกมกำหนด
3. ฝึกการใช้สายตา(ビジュアルレッスン Visual Lesson) สัญลักษณ์สีเหลือง
วิธีฝึกคือ ผู้เล่นต้องกดปุ่มสี่เหลี่ยม 3 ช่องที่เคลื่อนไหวอยู่ให้ถูกต้องตามกำหนด
สำหรับระดับการฝึกมีอยู่ 2 รูปแบบคือ
- 中央(Chuuou) Central เวลาการฝึก 1 ช่วงเวลา เสียค่าใช้จ่าย 100 : เพิ่มค่าความสามารถจำนวนปานกลาง
- 首都(Shuto) Capital เวลาการฝึก 2 ช่วงเวลา เสียค่าใช้จ่าย 1,000 : เพิ่มค่าความสามารถจำนวนมาก
เมื่อผู้เล่นเข้าสู่การฝึกซ้อม ตัวเกมจะทำการคิดคะแนนตามความสามารถที่ผู้เล่นทำได้
โดยจะมีการคิดคะแนนทุกช่วงของการฝึกซ้อมจนกว่าจะมีการประกาศหมดเวลา
ซึ่งผู้เล่นสามารถสังเกตตรงแถบคะแนนที่อยู่ทางซ้ายบนของจอ สำหรับวิธีการคิดคะแนนมีการแบ่งออกเป็น 4 ระดับคือ
- ระดับที่ 1 : Bad (สัญลักษณ์สีฟ้า)
- ระดับที่ 2 : Normal (สัญลักษณ์สีเขียว)
- ระดับที่ 3 : Good (สัญลักษณ์สีเหลือง)
- ระดับที่ 4 : Perfect (สัญลักษณ์สีชมพู)
เมื่อผู้เล่นจบการฝึกซ้อม จึงมีการเพิ่มค่าระดับความสามารถของกลุ่มไอดอล(Image level Unit)
โดยมีระดับสูงสุดที่ 16 เท่านั้นตามภาพ
อนึ่ง ระดับ 16 มีการคิดแถบค่าความสามารถของกลุ่มไอดอลเพียง 60% ของแถบทั้งหมด(สีอ่อน)
ส่วนสีเข้มคือ แถบค่าความสามารถที่เพิ่มขึ้นจากการฝึกซ้อมเพิ่มเติม หรือใส่เสื้อผ้าที่เพิ่มความสามารถ
หมายเหตุ : ระดับความสามารถของกลุ่มไอดอล(Image level Unit) มีส่วนสำคัญต่อการฝึกมาก
ยกตัวอย่างเช่น ค่า Visual ของกลุ่มไอดอลมีระดับที่สูงมาก และผู้เล่นเลือกให้ไอดอลฝึกซ้อม Visual ซึ่งทำให้แถบคะแนนของการฝึกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
กลับกัน ถ้าค่า Visual ของกลุ่มไอดอลมีระดับที่ต่ำ และผู้เล่นเลือกให้ไอดอลฝึกซ้อม Visual อันทำให้แถบคะแนนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
Contest
การแข่งขันของภาคนี้คือการนำกลุ่มไอดอลของผู้เล่นมาแข่งขันกับกลุ่มไอดอลของฝ่ายคู่แข่งเพื่อสร้างความนิยมในพื้นที่จังหวัดนั้นๆ
วิธีการตัดสินคือทีมไหนได้คะแนนมากที่สุดเป็นผู้รับชัยชนะ ส่วนการทำคะแนนคือ
ผู้เล่นต้องกดปุ่มหนึ่งในสามปุ่มว่าผู้เล่นต้องการเพิ่มคะแนน Dance Visual หรือ Vocal ซึ่งการกดปุ่มแบบนี้นี้เรียกว่า Regular Appeals
สำหรับวิธีที่ทำให้คะแนนมากที่สุดคือ การกดปุ่มให้ตรงกับวงกลมรอบนอกสุด จึงได้รับคะแนนพิเศษคือ Perfect +15 คะแนน
(The Idolm@ster ภาคแรกเป็นการกดปุ่มที่คณะกรรมการต้องการ จึงได้คะแนนพิเศษ)
Burst Appeal(ระเบิดความสนใจ)
Burst Appeal มีความสำคัญต่อการแข่งขันมากจนถือว่าการตัดสินแพ้ชนะขึ้นอยู่กับจังหวะการใช้ Burst Appeal เลยทีเดียว
เพราะการทำ Burst Appeal เป็นวิธีการเพิ่มคะแนนการแข่งขันจำนวนมากและเป็นการลดแถบ Voltage ของไอดอลฝ่ายคู่แข่ง
- Appeal แปลว่า ความดึงดูดใจ ส่วนชื่อตัวละครที่อยู่ด้านหลังคำนี้คือ ไอดอลที่ถูกตั้งเป็น Appeal ซึ่งผู้เล่นสามารถเปลี่ยนตัวได้โดยการกดปุ่ม LB บน Xbox 360 Controller
- Voltage แปลตรงตัวคือ แรงดันไฟฟ้า แต่ถ้าแปลเป็นความหมายในที่นี้คือ การเกิดประกายไฟยั่วยวน
เมื่อไอดอลทำการแข่งขันและแถบ Voltage เต็มเมื่อไร ตัวเกมเริ่มปรากฏคำว่า Voltage Max ขึ้นบนกลางหน้าจอ
ซึ่งผู้เล่นสามารถกดปุ่น LB เพื่อใช้ Burst Appeal ทันที
- สัญลักษณ์รูปหัวใจคือ Memory Appeals(ค่าความทรงจำ) ผู้เล่นต้องสะสมแถบค่าพลังหัวใจให้เต็ม 1 ดวงจึงจะสามารถใช้บริการในโหมดนี้ได้
วิธีใช้งานคือ เมื่อผู้เล่นกดปุ่ม A บน Xbox 360 Controller ไอดอลที่ถูกตั้งเป็น Appeal เริ่มทำท่าทางดึงดูดความสนใจและค่า Voltage เพิ่มขึ้นจำนวนมาก
(และบางครั้งอาจลดค่า Voltage ของไอดอลคู่แข่งลง)
วีธีเพิ่มค่า Memory Appeals จำนวนมากคือ ผู้เล่นให้ไอดอลทำกิจกรรม Promotion หรือ Publicity
ถ้าผู้เล่นเลือกตอบคำถามไอดอลไม่ดี การเพิ่มค่า Memory Appeals เพียงเล็กน้อย
แต่ถ้าผู้เล่นตอบคำถามดี การเพิ่มค่า Memory Appeals เป็นจำนวนมาก
สำหรับวิธีการคิดคะแนนมีการแบ่งออกเป็น 4 ระดับเช่นเดียวกับการฝึกซ้อม(Lesson) คือ
ระดับที่ 1: Bad(ตัวอักษรสีฟ้า), ระดับที่ 2: Normal(ตัวอักษรสีเขียว), ระดับที่ 3: Good(ตัวอักษรสีเหลือง) และระดับที่ 4: Perfect(ตัวอักษรสีชมพู)
อนึ่ง ผู้เล่นควรทราบว่าคำตอบบางประโยคไม่ตรงกับตัวเกม กล่าวคือบทสรุปใน Wiki บอกเพียง คำสำคัญ
แต่ไม่บอกประโยคที่สมบูรณ์ ดังนั้นผู้เล่นจำเป็นต้องสังเกตประโยคต่างๆให้เรียบร้อย
การเพิ่มของ Voltage มีปัจจัยพื้นฐานคือ
1. ภาพลักษณ์เพลงที่เล่น(Image Song) และการกดคำสั่งตามภาพลักษณ์ของเพลง ยกตัวอย่างเช่นเพลง The world is all one!! เป็นเพลงที่มีภาพลักษณ์ Vocal
เมื่อไอดอลทำการแข่งขัน ผู้เล่นต้องกดปุ่มคำสั่ง Vocal ให้ได้แบบ Perfect จึงเป็นการเพิ่มค่า Voltage อย่างรวดเร็ว
2. การทำคอมโบ(Combo) เป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่มค่า Voltage
3. การใช้ค่า Memory Appeals(ค่าความทรงจำ) ที่เป็นสัญลักษณ์รูปหัวใจ วิธีใช้งานคือ ผู้เล่นกดปุ่ม A บน Xbox 360 Controller
ไอดอลที่ถูกตั้งเป็น Appeal เริ่มทำท่าทางดึงดูดความสนใจและค่า Voltage เพิ่มขึ้นจำนวนมาก(และบางครั้งอาจลดค่า Voltage ของไอดอลคู่แข่งลง)
4. เปลี่ยนตัวไอดอลที่ถูกตั้งเป็น Appeal ทุกครั้งที่ทำ Voltage Max ในแต่ละรอบของการใช้งาน
ยกตัวอย่างเช่น จิฮายะ(Chihaya) ทำ Voltage Max ครั้งแรกและครั้งต่อไปต้องเป็นคนอื่นที่ไม่ใช่จิฮายะ
มิเช่นนั้นค่า Voltage เพิ่มขึ้นจำนวนที่ลดน้อยลง ดังนั้นเมื่อใดที่ไอดอลทำ Voltage Max เสร็จสิ้น ผู้เล่นควรเปลี่ยนตัวไอดอลทันที
คำแนะนำ : การจัดกลุ่มไอดอลที่ดีควรจัดกลุ่มให้ตรงกับภาพลักษณ์ของเพลงอย่างน้อย 2 คน
สำหรับรายชื่อไอดอลที่เชี่ยวชาญในด้านต่างๆมีดังนี้
ไอดอลที่เชี่ยวชาญ Vocal ได้แก่ จิฮายะ(Chihaya) ทากาเนะ(Takane) และ ฮารุกะ(Haruka)
ไอดอลที่เชี่ยวชาญ Dance ได้แก่ ฮิบิกิ(Hibiki) มาโคโตะ(Mokoto) และ จิฮายะ(Chihaya)
ไอดอลที่เชี่ยวชาญ Visual ได้แก่ มิกิ(Miki) ทากาเนะ(Takane) และ ยูกิโฮะ(Yukiho)
ตารางปุ่มคำสั่งในการทำ Burst Appeal
หมายเหตุ :
- Order(คำสั่ง) เป็นคำสั่งที่ผู้เล่นต้องกดปุ่มตามกำหนดตามที่ผู้เล่นเลือกไอดอลให้เป็นผู้ทำ Burst Appeal ซึ่งมีอยู่ 10 คำสั่ง
- Total(ผลรวม) คือผลรวมจำนวนคำสั่งของไอดอล ยกตัวอย่างเช่น ปุ่มคำสั่งของ Chihaya ผู้เล่นต้องกดปุ่ม Vocal จำนวน 6 ครั้ง
ปุ่ม Dance จำนวน 2 ครั้ง และปุ่่ม Visual จำนวน 2 ครั้ง รวมทั้งหมดคือ 10 ครั้ง/คำสั่ง
- Rate(อัตราคำนวน) เป็นอัตราเริ่มต้นของการแข่งขัน เมื่อผู้เล่นกดปุ่มมากเท่าไร อัตราคำนวนมีการลดลงเท่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น Chihaya มีอัตราคำนวนค่า Vocal เริ่มต้นจำนวน 1.30
เมื่อผู้เล่นเริ่มกดปุ่ม Vocal เป็นครั้งแรก อัตราคำนวนค่อยๆเริ่มลดลงตามจำนวนที่ผู้เล่นกด
ถึงกระนั้นตัวเกมวิธีฟื้นฟูอัตราคำนวนคือการใช้ Burst Appeal
Minigames
The communication between Producer and Idol
ช่วงเวลาเช้าตรู่ในแต่ละสัปดาห์ ผู้เล่นสนใจพูดคุยกับไอดอลคนไหนหรือไอดอลคนใดที่มีอารมณ์ไม่ดีอยู่ ผู้เล่นควรเลือกไอดอลคนนั้น
เมื่อเลือกเสร็จ ไอดอลคนนั้นอาจบ่นเรื่องงานหรืออยากทำกิจกรรมบางอย่างในสัปดาห์นี้
ผู้เล่นมีหน้าที่ต้องเลือกคำตอบให้ถูกต้อง โดยมีการสุ่มคำตอบ 2 รูปแบบคือ
1. เลือกคำตอบไอดอลทั้ง 3 คนพอใจ หรือไอดอลทั้ง 3 คนไม่พอใจ
2. เลือกคำตอบไอดอลสองคนพอใจแต่ไอดอลที่ผู้เล่นเลือกไม่พอใจ หรือไอดอลที่ผู้เล่นเลือกพอใจแต่ไอดอลทั้งสองคนไม่พอใจ
คำตอบที่ถูกต้องคือ
1. ไอดอลทั้ง 3 คนพอใจ
2. ไอดอลสองคนพอใจแต่ไอดอลที่ผู้เล่นเลือกไม่พอใจ
ตารางคำตอบที่ถูกต้องในการสนทนา
หมายเหตุ :
สัญลักษณ์ + คืออารมณ์ของไอดอลเชิงบวก
สัญลักษณ์ - คืออารมณ์ของไอดอลเชิงลบ
Shout
ก่อนที่ไอดอลเริ่มงานแสดง Audition, Festival หรือ Live
ทางกลุ่มไอดอลและคุณโปรดิวเซอร์(หรือผู้เล่น)มีการตะโกนให้กำลังใจภายในกลุ่มของตน
ผู้เล่นมีหน้าที่สังเกตจังหวะที่มุมปากของไอดอลว่าเธอกำลังออกเสียงคำว่าอะไร
ซึ่งผู้เล่นต้องเลือกคำที่ไอดอลเปล่งเสียงให้ถูกต้อง
ตารางการขยับปากของไอดอล
หมายเหตุ :
สัญลักษณ์วงกลมคือ จังหวะที่ไอดอลเปิดปากพูด
สัญลักษณ์ขีดคือ จังหวะที่ไอดอลปิดปาก
Rock-Paper-Scissors Game(じゃんけん Janken)
เมื่อถึงช่วงการสนทนาในเวลากลางคืน ผู้เล่นอาจเลือกเล่นเกมเป่ายิ้งฉุบกับไอดอล
หน้าที่ของผู้เล่นคือต้องเลือกหนึ่งใน 3 ตัวเลือกคือ ค้อน กรรไกร และกระดาษ
การเป่ายิ้งฉุบมีเคล็ดลับตอนที่ไอดอลกำลังเสี่ยงมือไว้ด้านหลัง
ผู้เล่นสามารถสังเกตหน้าตาของไอดอลว่าเธอทำหน้าตาเป็นแบบไหน
และเมื่อเธอทำหน้าตาแบบนี้ เธอจะออกค้อน กรรไกร หรือกระดาษแบบตายตัว
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อใดที่มาโคโตะเสี่ยงมือไว้ด้านหลังและมีดวงตาเศร้า เมื่อนั้นเธอออกแสดงมือเป็นรูปกรรไกรทุกครั้ง เป็นต้น
ตารางลักษณะหน้าตาของไอดอลตอนเป่ายิ้งฉุบ
คำแปล :
グー (gu-) Rock
チョキ (choki) Scissors
パー (pa-) Paper
หมายเหตุ :
ตัวสัญลักษณ์คือ สัญลักษณ์หน้าตา
มุมปากขึ้นบนคือ ปากโค้งขึ้นบนเล็กน้อย
มุมปากตกคือ ปากโค้งลงล่างเล็กน้อยเหมือนยิ้ม
ปากตรงคือ เส้นปากตรง
Choose Province in Japan(เลือกจังหวัดประเทศญี่ปุ่น)
เมื่อผู้เล่นเลือกกิจกรรม Promotion ให้แก่ไอดอล ผู้เล่นต้องเลือกตอบคำถามธรณีศาสตร์(Earth Science) ซึ่งมีอยู่ 2 รูปแบบคำถามคือ
1. ถามลักษณะแผ่นดินของประเทศญี่ปุ่นนี้มีชื่อจังหวัดอะไร ซึ่งมีคำตอบให้เลือก 3 คำตอบ ผู้เล่นต้องเลือกคำตอบให้ถูกต้อง
2. ตัวเกมให้ชมแผนที่ประเทศญี่ปุ่นทั้งประเทศ ผู้เล่นต้องเลือกจังหวัดในแผนที่ให้ถูกต้องตามที่เกมกำหนด
เมื่อผู้เล่นตอบถามได้ถูกต้อง กลุ่มไอดอลจึงรวมตัวออกเสียงให้กำลังใจภายในกลุ่มตน และเพิ่มค่า Memory Appeals(ค่าความทรงจำ) ตรงสัญลักษณ์หัวใจ
---------------------------------------------------------------------------
อันที่จริงผู้เขียนอยากรวมเป็นบทความเดียว แต่เว็บบล็อคพันทิปรับข้อมูลได้จำกัด ดังนั้นผู้เขียนขอแยกไว้สองส่วนครับ
บทความส่วนที่สอง : http://www.ppantip.com/tech/techblog/article.php?articleID=GS3009854
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ